RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13286449
ทั้งหมด:13597773
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 105, 106, 107 ... 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2021 10:58 pm    Post subject: Reply with quote

หลังเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อ + รถไฟสายสีแดง
สถานีรถไฟทางไกล (ออกต่างจังหวัด) จะยกเลิกการให้บริการสถานีด้างล่างทั้งหมด แล้วจะให้บริการเฉพาะสถานีในกรอบสีเขียวเท่านั้น เป็นสถานีร่วมกับรถไฟสายสีแดง สังเกตกันไหมว่าสถานีรถไฟสายมีแดงมีชานชาลารางถึง 4 ทาง โดย 2 รางตรงกลางให้รถไฟทางไกลวิ่ง
ข้อดีคือ
1. รถไฟทำเวลาได้ดีขึ้น (มาก) ใครเคยนั่งรถไฟออกต่างจังหวัดจะรู้ดีว่า หัวลำโพง-รังสิต แม่งลอไป 1 ชั่วโมงกว่าๆ ยกตัวอย่าง กรุงเทพ-นครสวรรค์ ใช้เวลา 5 ชั่วโมงเต็มๆ แค่รถไฟอยู่ในเมืองหลวงล่อไปชั่วโมงนึง ทั้งจอดรับคนถี่เพราะสถานีถี่, รถติด ปิดถนนไม่ได้ รอหลีก โอ้ยยย ทางแยกเยอะเหลือเกิน หลังจากนี้รถไฟออกต่างจังหวัดจะใช้เวลาพอๆกับรถยนต์
2. คนเหนือ-อีสาน น่าจะแฮปปี้กับสถานีกลางบางซื่อมาก ขอตอบในฐานะคนเหนือที่นั่งรถไฟกลับบ้านตลอดช่วงปิดเทอม ตอนที่สถานีอยู่หัวลำโพง นรกมากกกกก เพราะศูนย์รวมรถไฟทุกภูมิภาค รถไฟสายเหนือชอบจอดแช่สถานีบางซื่อสุด รอหลีกอิรถไฟสายใต้ อิเวร บางทีก็ตีกับรถไฟอีสานที่เข้ามาพร้อมกัน คือสถานีบางซื่อมันเป็นทางแยกไปสายใต้ พอจะนั่งเข้ากทม.โอ้ยหัวลำโพงชานชาลาเต็มรถเข้าไปจอดไม่ได้อีก ต้องจอดแช่ตามบางซื่อ สามเสนรอรถออกจากหัวลำโพงให้ทางว่าง
3. ถนนตามแยกตัดทางรถไฟ รถคงไม่ติดแล้วหละ โดยเฉพาะแยกยมราช นรกอิสคอลลิ่ง
ต้องยอมรับว่าโปรเจ็ค สถานีกลางบางซื่อ & รถไฟสายสีแดง คืออภิมหาโปรเจ็คใหญ่ที่เข้ามาแก้ปัญหาเลยทีเดียว คนนั่งรถไฟเท่านั้นที่เก็ต คนไม่นั่งจะพูดอะไรก็ได้ หลายคนถามนั่งเครื่องบินไวกว่า แต่สนามบินไม่ได้มีทุกจังหวัด จะไปหาอีย้อยที่ชุมแสงจะไปยังไง
https://www.facebook.com/groups/2072238029680391/permalink/2980425565528295/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2021 11:10 pm    Post subject: Reply with quote

หลักหก - รังสิต ที่ 145 กม./ชม. ใน 3 นาที
https://www.facebook.com/PChaiwangyen/posts/4238075142917749

·
รถไฟฟ้าสายสีแดงโชว์ศักยภาพ “คนรุ่นใหม่” ขับรถไฟฟ้า
Thaimotnews
22 มิถุนายน 2564 เวลา 17:04 น.

นับถอยหลังเหลืออีกราวไม่กี่วันต่อการเริ่มเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรีรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต/บางซื่อ-ตลิ่งชัน ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ก่อนที่จะเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้บริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด เข้าทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยได้มีเจ้าหน้าที่แอร์พอร์ตลิ้งค์สนใจขอโอนย้ายมาบางส่วนในช่วงแรกนี้ประมาณ 50 คนเพื่อทำหน้าที่ “เจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้า” ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบความพร้อมด้านต่างๆที่จะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป หลังจากช่วงก่อนหน้านี้พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและคณะได้มานั่งทดสอบเรียบร้อยแล้ว
“รถไฟฟ้าสายสีแดง” ได้เปิดโอกาสให้น้องๆคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นลูกหลานของพี่น้องประชาชนคนไทยได้แสดงความรู้ความสามารถในการขับรถไฟฟ้า นอกเหนือจากที่น้องๆหลายคนได้ทำหน้าที่ในสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน (MRT) สายสีม่วง และแอร์พอร์ตลิ้งค์มาแล้ว ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีแดง มีความแตกต่างจากรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้า MRT และแอร์พอร์ตลิ้งค์ตรงที่ผู้ขับขี่จะต้องมีทักษะการขับขี่มากกว่าเนื่องจากระบบควบคุมไม่ได้กำกับจากศูนย์ควบคุมกลางเช่นรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้า MRT และแอร์พอร์ตลิ้งค์ นั่นเอง
วันนี้ ThaiMOT News จะพาไปทำความรู้จักกับน้องๆคนรุ่นใหม่ที่ผันตัวเองเข้ามาสู่วงการระบบรางเพื่อค้นหาเป้าหมายความสำเร็จในชีวิต หวังสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเองจนก้าวขึ้นมาสู่ระดับผู้นำการฝึกอบรม(เทรนเนอร์) สู่รุ่นน้องๆ ให้พร้อมทำหน้าที่ให้บริการประชาชนในการขับรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจัดเป็นระบบรถไฟฟ้าสายที่ 2 ของการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อจากแอร์พอร์ตลิ้งค์
“เจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้า” ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ทั้งหมด แต่โอกาสมีเปิดกว้างมากน้อยแค่ไหน ยาก - ง่ายอย่างไร ลองมารับฟังความเห็นและเคล็ดลับของทั้ง 3 คนว่าพวกเค้าเหล่านี้คิดกันในมุมมองใดบ้างในความประทับใจกับบทบาทผู้นำรุ่นน้องๆ ในการเทรนเนอร์เจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้าสายสีแดง
จากรั้วม.สยามสู่ “มือ 1 เทรนเนอร์หญิงสายสีแดง”
“ป็อบ” น.ส.ภูษณิศา กลิ่นอุบล “มือ 1 เทรนเนอร์หญิง” ของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แนะนำการขับรถไฟสายสีแดงให้กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่มาทดสอบความพร้อมเดินรถเมื่อวันก่อน ซึ่งหญิงเก่งคนนี้ศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจว่า รู้สึกชอบและสนใจเป็นพิเศษในอาชีพเจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้า เมื่อแอร์พอร์ตลิ้งค์เปิดรับสมัคร จึงรีบคว้าโอกาสนี้ทันที
เดิมนั้นเคยปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำสถานีของรถไฟฟ้าแอร์พอร์เรลลิ้งค์ เมื่อร.ฟ.ท.เปิดโอกาสได้มาทำหน้าที่ให้กับสายสีแดงจะเห็นได้จากวันสัมภาษณ์ว่า เจ้าหน้าที่คนไหนสามารถขับรถไฟฟ้าได้ดี แล้วยังต้องฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน หากผ่านการอบรมถ้ามีความสามารถก็จะก้าวไปสู่ระดับต่อไป ทักษะจึงเป็นความสำคัญ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ไม่ค่อยเห็นผู้หญิงเข้ามาสมัครทำหน้าที่นี้ แต่เธอยังเชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้เมื่อประเทศไทยมีรถไฟฟ้ามากขึ้นเจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้าคงจะมีเพศหญิงเพิ่มมากขึ้นได้อีก
“สมัครเองตั้งแต่เข้ามาสังกัดแอร์พอร์ตลิ้งค์ จากเจ้าหน้าที่ภาคพื้นขยับมาสู่เจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ เพราะอยากขับรถไฟ เมื่อเปิดให้โอนย้ายมาขับสายสีแดงจึงรีบสมัครทันที ยอมรับว่าช่วงแรกที่เข้ามาจะรู้สึกงงๆ เพราะมีศัพท์เฉพาะบางคำของรถไฟ จำได้บ้าง ลืมบ้าง ช่วงแรกจึงเครียดพอสมควร พอนานวันก็จะชินไปเองเพราะซึมซับแล้ว ประเด็นหลักคือเน้นความปลอดภัยและขับส่งผู้โดยสารถึงปลายทางเป็นหลัก”
ทั้งนี้ตอนทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ให้แอร์พอร์ตลิ้งค์เธอยังเคยไปศึกษาดูงานที่มาเลเซีย รูปแบบราง 1 เมตรตรงกับสายสีแดงพอดี จึงเข้ามารับงานต่อเนื่องคิดว่าน่าจะไม่เป็นปัญหาในการปฏิบัติงานพร้อมทั้งต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีรถไฟสายสีแดงมากขึ้น

สำหรับไอดอลของเธอนั้น ป็อบเลือก “ครูอู๊ด” นายโอฬาร อิฐวัฒนถาวรกุล ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้เมื่อครั้งทำหน้าที่ขับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ เธอทั้งโดนเข้มงวดเพราะชอบลืมในช่วงแรกจนเกิดเป็นความจำในที่สุด ความรู้เหล่านั้นจึงต่อยอดมาจวบจนทุกวันนี้ด้วยการถ่ายทอดความรู้สู่น้องๆจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป
ดีกรีอักษรศาสตร์สู่เทรนเนอร์รถไฟสายสีแดง
เช่นเดียวกับ “ด้อม” นายปิยาภัสร์ สะสุนทร ดีกรีปริญญาตรีอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวชัดเจนว่าโอกาสยังเป็นของน้องๆทุกคนที่สนใจ ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพัฒนาโครงข่ายระบบรางเป็นจำนวนหลายเส้นทาง จึงมีความต้องการบุคลากรด้านนี้จำนวนมาก ส่วนคำถามที่ว่าจะต้องเรียนอะไร มีความรู้เฉพาะทางหรือไม่ จบวิศวะหรือไม่ วันนี้มีคำตอบให้ทุกคนแล้ว เพราะเราทั้งสามคนก็ไม่ได้เรียนจบมาทางด้านวิศวะทั้งสามคน เพียงแต่ช่วงสัมภาษณ์จะดูจากบุคลิก ท่าทาง ความสนใจ ฯลฯ ว่าเหมาะสมที่จะเข้าทำหน้าที่ได้หรือไม่เท่านั้น
ประการหนึ่งนั้นจะมีระบุไว้ว่าหากทำหน้าที่ฝ่ายบริการจะต้องศึกษาจบขั้นต่ำปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ และทุกคนจะต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ทั้งหมด ปูทางตั้งแต่เริ่มต้น มีการฝึกอบรมแล้วจึงค่อยก้าวสู่ระดับภาคปฏิบัติ จะมีการพิจารณาว่าสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆได้มากน้อยเพียงใดตามตำแหน่งที่สมัครเข้ามา อาทิ เจ้าหน้าที่ขายตั๋ว เจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถ เป็นต้น ประการสำคัญปัจจุบันสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยหลายแห่งก็ได้เปิดหลักสูตรวิศวกรรมระบบรางเพื่อป้อนให้กับการพัฒนาระบบรางของไทย อีกทั้งยังเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ อีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนั้นในการปฏิบัติงานมีโอกาสเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อวิจัยเกี่ยวกับการขนส่งระบบของ JR ที่เมืองโอซาก้าตนจึงมีองค์ความรู้เรื่องระบบรถไฟมาพอสมควร แรงบันดาลใจบวกกับความชื่นชอบส่วนตัวด้านรถไฟจึงได้โอกาสเข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับรถไฟมาจนถึงทุกวันนี้
“มาจากพื้นที่ราชบุรี มีโอกาสเดินทางด้วยรถไฟบ่อยๆซึมซับบรรยากาศมานาน จึงสัมผัสทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ธรรมชาติสองข้างทาง การนั่งรถไฟจึงไม่ได้เป็นเพียงการนั่งอีกจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆรายรอบสถานีและตามแนวเส้นทางรถไฟได้อีกด้วย ยอมรับว่าความชื่นชอบบรรยากาศเหล่านี้ยังเป็นแรงบันดาลใจหนึ่งของการเข้าศึกษาด้านอักษรศาสตร์อีกด้วย”
“ด้อม” ยังเลือกทำวิจัยเกี่ยวกับระบบรถไฟ ส่วนการเข้าสู่สังกัดแอร์พอร์ตลิ้งค์ได้นั้นเป็นเพราะเดิมข้อมูลข่าวสารด้านระบบรางยังอยู่ในวงจำกัด ปัจจุบันเปิดกว้างมากขึ้น ให้ผู้สนใจเข้าถึงความเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น ช่วงจบออกมา “ด้อม” ได้สมัครเข้าทำงานเอกชนเป็นระยะเวลาสองปีแล้วมีเพื่อนแนะนำให้มาสมัครที่แอร์พอร์ตลิ้งค์ โดยได้แจ้งความประสงค์ตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้า” จนผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติแล้วส่งเข้ารับการฝึกอบรมจึงสามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้สำเร็จ กระทั่งต่อเนื่องกับสายสีแดงเพราะทำหน้าที่ให้แอร์พอร์ตลิ้งค์กว่า 5 ปีจึงขอโอนย้ายมารับหน้าที่สายสีแดงเพื่ออยากเรียนรู้ระบบใหม่ พร้อมกับมั่นใจว่ายังมีน้องๆคนรุ่นใหม่จะได้เข้ามาเรียนรู้อีกมากมาย
จากวิศวะยานยนต์สู่วิศวะระบบราง
สอดคล้องกับ “นก” นายศักดิ์ จักรชัย จากคณะวิศวกรรมยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พื้นเพนั้นเติบโตในกรุงเทพฯ จึงสัมผัสกับระบบรางไม่น้อยไปกว่าใคร กล่าวว่า ปลื้มใจมากในวันต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรีและคณะ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ทำหน้าที่ขับรถไฟสายสีแดง
สำหรับน้องๆที่สนใจบอกเลยว่าทุกสาขาวิชาจะเปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามาทำหน้าที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ขับรถไฟฟ้าไม่จำเป็นจะต้องระบุว่าจบมาทางด้านวิศวะเท่านั้น แต่หากจะเข้าไปทำงานด้านซ่อมบำรุงคงต้องจบมาตรงสายบ้าง อาทิ วิศวกรรมรถไฟ หรือวิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องใช้เทคนิคเฉพาะ
การสัมผัสระบบรถไฟของ “นก” เกิดขึ้นเมื่อครั้งวัยเด็กได้เดินทางด้วยรถไฟบ่อยครั้งจากกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ จึงชื่นชอบบรรยากาศเสียงเครื่องยนต์ เสียงล้อกระทบราง เสียงเบรก เมื่อเข้าสู่วัยเรียนจึงหาโอกาสที่จะเข้าเรียนรู้ด้านระบบรถไฟ ความใฝ่ฝันในขณะนั้นคืออยากขับรถไฟ แต่ก็ทราบกันดีว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้เปิดรับสมัครในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ประการหนึ่งนั้นตนชื่นชอบเรื่องรถไฟอยู่แล้วจึงอยากมาหาประสบการณ์ใหม่ๆด้านการขับรถไฟฟ้า สั่งสมประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีระบบสายสีแดง เพราะระหว่างสายสีแดงกับแอร์พอร์ตลิ้งค์จะแตกต่างกัน พ่วงด้วยการเพิ่มทักษะการสอนให้กับน้องๆที่จะเข้ามาเรียนรู้
“การขับรถไฟไม่ได้มีการใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมากนัก เน้นการบริการเป็นหลัก เมื่อเข้ามาเรียนจะมีการสอบภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ดูการควบคุมรถ ความปลอดภัย ไหวพริบ การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เมื่อมีความเหมาะสมก็จะได้รับการพิจารณาให้เข้าทำหน้าที่นี้ได้ทันที บอกเลยว่าไม่ยาก ขอให้มีใจสู้ ไม่ย่อท้อในการฝึกอบรมเท่านั้นก็สามารถทำได้สำเร็จแล้ว”
ดังนั้นนับตั้งแต่กรกฎาคม 2564 นี้เป็นต้นไปน้องๆทั้งสามคนจึงขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจร่วมทดสอบให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีแดงแล้วทุกท่านจะได้สัมผัสกับบริการใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่นำรถไฟสายสีแดงเปิดให้บริการ อีกทั้งยังจะได้ชื่นชมความสามารถการขับรถไฟฟ้าของน้องๆคนไทยให้บริการทุกท่านในครั้งนี้อีกด้วย

https://www.facebook.com/thaimotnews/posts/593365165400816
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/06/2021 7:32 am    Post subject: Reply with quote

คนรถไฟร้องศาลปกครองชี้ขาดคดีโฮปเวลล์
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รถไฟแห่งประเทศไทย นําโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ เข้ายื่นหนังสือถึงเลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง ขอให้เสนอ คําร้องขอพิจารณาคดีใหม่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยให้กับบริษัทโฮปเวลล์ ประเทศไทย จํากัด ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้พิจารณาคดีนี้ด้วยความรอบคอบ หลังศาล รัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยที่ 5/2564 ลงวันที่ 17 มี.ค.64 ว่ามติที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18/2555 ลงวันที่ 27 พ.ย.56 เรื่องเกี่ยวกับระยะเวลา และการนับอายุความการฟ้องคดี ที่ศาลปกครองนํามาเป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยคดีจ่ายค่าเสียหายโฮปเวลล์ขัดรัฐธรรมนูญ

นายสาวิทย์ กล่าวว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยว่ากระบวนการพิจารณาคดีนี้ของ ศาลปกครองขัดรัฐธรรมนูญ ทําให้ประชาชนเริ่มมีความมั่นใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่จําเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับบริษัทโฮปเวลล์ฯ แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงข้อกฎหมายที่ทําให้เรื่อง นี้ไม่ชัดเจน และยังมีความพยายามที่จะให้มีการจ่ายเงินให้กับบริษัทโฮปเวลล์ฯ ทั้งที่คําวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ทางสหภาพฯจึงอยากให้ศาลปกครองได้ยกคดีนี้ขึ้นมา พิจารณาใหม่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ เพราะก่อนหน้านี้ทั้ง รฟท. และกระทรวงคมนาคมก็ได้มีการยื่นขอรื้อคดีใหม่อยู่แล้ว และหากเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนมูลค่าความ เสียหายก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2021 11:24 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คนรถไฟร้องศาลปกครองชี้ขาดคดีโฮปเวลล์
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564


“คนรถไฟ”ยื่นศาลปกครองขอนำเรื่องจ่าย“ค่าโง่โฮปเวลล์”เข้าที่ประชุมใหญ่
วันอังคาร ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:45 น.

สหภาพรถไฟ ยื่นศาลปค.ขอนำเรื่องรื้อคดีจ่าย “ค่าโง่โฮปเวลล์” เข้าที่ประชุมใหญ่ หลังศาลรธน.มีมติ ชี้ยิ่งช้าดอกเบี้ยวิ่งทำประเทศเสียหาย ให้รฟท.ชำระไม่เป็นธรรม

วันนี้( 22 มิ.ย.64) สหภาพแรงงานรัฐวิสากิจ รถไฟแห่งประเทศไทย นำโดย นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ เข้ายื่นหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ขอให้เสนอคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยให้กับบริษัทโฮปเวลล์ ประเทศไทย จำกัด ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้พิจารณาคดีนี้ด้วยความรอบคอบ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 5 /2564 ลงวันที่ 17 มี.ค. 64 ว่า มติที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 18/2555 ลงวันที่ 27 พ.ย. 56 เรื่องเกี่ยวกับระยะเวลา และการนับอายุความการฟ้องคดี ที่ศาลปกครองนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยคดีจ่ายค่าเสียหายโฮปเวลล์ขัดรัฐธรรมนูญ


นายสาวิทย์ กล่าวว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ากระบวนการพิจารณาคดีนี้ของศาลปกครองขัดรัฐธรรมนูญทำให้ประชาชนเริ่มมีความมั่นใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับบริษัทโฮปเวลล์ฯ แต่ก็ยังมีข้อถกเถียง ข้อกฎหมายที่ทำให้เรื่องนี้ไม่ชัดเจน และยังมีความพยายามที่จะให้มีการจ่ายเงินให้กับบริษัทโฮปเวลล์ฯ ทั้งที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ทางสหภาพฯจึงอยากให้ศาลปกครองได้ยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ เพราะก่อนหน้านี้ทั้งรฟท. และกระทรวงคมนาคมก็ได้มีการยื่นขอรื้อคดีใหม่อยู่แล้ว



“หากเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน มูลค่าความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากอัตราดอกเบี้ยถ้าเรายังไม่มีการชำระ ตอนนี้ยอดรวมน่าจะเกือบ 3 หมื่นล้าน เงินจำนวนนี้แน่นอนว่า รฟท.ไม่มีจ่าย ก็ต้องเป็นการเอาเงินภาษีซึ่งเป็นของประชาชนทุกคนมาจ่าย และในข้อเท็จจริงโครงการนี้เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล ถ้าจำเป็นต้องแพ้คดีจะให้การรถไฟชำระฝ่ายเดียวก็ไม่เป็นธรรมกับ รฟท. ดังนั้น รัฐบาลแต่ละยุคสมัยควรต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย ที่สำคัญเรามีความเชื่อว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยดังกล่าวออกมาแล้ว น่าจะเป็นแนวทางให้ส่วนต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ เดินไปในทางที่เป็นการรักษาผลประโยชน์ของบ้านเมือง เช่นเดียวกับคดีค่าโง่บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ที่สุดท้ายรัฐบาลไม่ต้องมีการจ่ายให้กับเอกชน”

สหภาพรถไฟ ยื่นศาลปค.ให้นำเรื่องรื้อคดีค่าโง่โฮปเวลล์ เข้าที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
วันอังคาร ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 15.02 น.

สหภาพรถไฟ ยื่นศาลปค.ขอให้นำเรื่องรื้อคดีจ่ายค่าโง่โฮปเวลล์ เข้าที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด หลังศาลรธน.มีมติ ชี้ยิ่งช้าดอกเบี้ยยิ่งวิ่งทำประเทศเสียหาย ยันหากต้องจ่ายให้รฟท.ชำระไม่เป็นธรรม เหตุโครงการเป็นนโยบายรัฐบาล



วันที่ 22 มิ.ย.64 สหภาพแรงงานรัฐวิสากิจรถไฟแห่งประเทศไทย นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ เข้ายื่นหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ขอให้เสนอคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยให้กับบริษัทโฮปเวลล์ ประเทศไทย จำกัด ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้พิจารณาคดีนี้ด้วยความรอบคอบ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 5 /2564 ลงวันที่ 17 มี.ค. 64 ว่า มติที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 18/2555 ลงวันที่ 27 พ.ย. 56 เรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาและการนับอายุความการฟ้องคดีที่ศาลปกครองนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยคดีจ่ายค่าเสียหายโฮปเวลล์ขัดรัฐธรรมนูญ

นายสาวิทย์ กล่าวว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ากระบวนการพิจารณาคดีนี้ของศาลปกครองขัดรัฐธรรมนูญทำให้ประชาชนเริ่มมีความมั่นใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับบริษัทโฮปเวลล์ฯ แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงข้อกฎหมายที่ทำให้เรื่องนี้ไม่ชัดเจนและยังมีความพยายามที่จะให้มีการจ่ายเงินให้กับบริษัทโฮปเวลล์ฯ ทั้งที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ทางสหภาพฯจึงอยากให้ศาลปกครองได้ยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ เพราะก่อนหน้านี้ทั้งรฟท.และกระทรวงคมนาคมก็ได้มีการยื่นขอรื้อคดีใหม่อยู่แล้ว



“หากเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนมูลค่าความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากอัตราดอกเบี้ยถ้าเรายังไม่มีการชำระ ตอนนี้ยอดรวมน่าจะเกือบ 3 หมื่นล้าน ซึ่งเงินจำนวนนี้แน่นอนว่ารฟท.ไม่มีจ่าย ก็ต้องเป็นการเอาเงินภาษีซึ่งเป็นของประชาชนทุกคนมาจ่าย และในข้อเท็จจริงโครงการนี้เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล ถ้าจำเป็นต้องแพ้คดีจะให้การรถไฟชำระฝ่ายเดียวก็ไม่เป็นธรรมกับรฟท. ดังนั้นรัฐบาลแต่ละยุคสมัยควรต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย ที่สำคัญเรามีความเชื่อว่าเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยดังกล่าวออกมาแล้ว น่าจะเป็นแนวทางให้ส่วนต่าง ๆที่มีหน้าที่เดินไปในทางที่เป็นการรักษาผลประโยชน์ของบ้านเมือง เช่นเดียวกับคดีค่าโง่บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ที่สุดท้ายรัฐบาลไม่ต้องมีการจ่ายให้กับเอกชน”นายสาวิทย์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2021 11:37 am    Post subject: Reply with quote

นำรถดีเซลรางระหว่างเมืองวิ่งบนทางลอยฟ้า เพื่อทดสอบระบบ ECTS-1 พบว่าแม้จะช่วยการห้ามล้อจาก 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเหลือ 0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามเวลาที่กำหนดได้จริงๆ แต่เกิดปัญหาห้ามล้อไม่คลายตัวขึ้นมา คงต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป
https://www.facebook.com/100005709941559/posts/1642088219324827/?d=n
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

ว๊าววว!! รถไฟฟ้าสายสีแดงวิ่งเข้าธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
*”ศักดิ์สยาม” สั่งกรมรางปรับแนวเส้นทางเดินรถ
*พลังอธิการบดีมธ.เข้าพบขอเร่งทำส่วนต่อขยาย
*ปักธงเปิดบริการปี68/เอาใจระหว่างรอก่อสร้าง
*จัดรถไฟดีเซลรางรังสิต-เชียงรากน้อยเริ่ม ธ.ค.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2936693103218855

รองศาสตรจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขอเข้าพบ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 13.30 น. เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และการพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม
...ในการนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร รองอธิบดีกรมทางหลวง (นายมนตรี เดชาสกุลสม) และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับและหารือในรายละเอียดร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นสมควรดำเนินการพัฒนาร่วมกัน ดังนี้
1.ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยเร่งดำเนินการงานโยธาและระบบรางเป็นลำดับแรกก่อน ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ ภายในปี 2568 ทั้งนี้ ในระหว่างการก่อสร้าง การรถไฟ แห่งประเทศไทยจะได้จัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิตไปถึงสถานีเชียงรากน้อย เพื่อรองรับการเดินทางไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไปก่อน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือนธันวาคม 2564
2. กรมทางหลวงได้พิจารณาปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งมีแผนการพัฒนาในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายถนนและการคมนาคมบริเวณพื้นที่รังสิต เป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในภาพรวม จึงได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมบริเวณพื้นที่รังสิต เพื่อพิจารณาผลักดันการดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ต่อไป
3.กรมการขนส่งทางบกได้ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถเพื่อรองรับพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากมีนักศึกษาและประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการของมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะปรับแนวเส้นทางเข้าไปในมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลธรรมศาสตร์โดยตรงด้วย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แสดงความสนใจที่จะร่วมพัฒนาพื้นที่กับกระทรวงคมนาคม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนา Transit Oriented Development ของกระทรวงคมนาคม ดังนั้น ทั้งสองฝ่าย จึงเห็นควรจะร่วมมือกัน ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรพิจารณายกร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในรายละเอียด เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างกันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
ทั้งสองฝ่ายตกลงในหลักการที่จะร่วมกันพัฒนาบุคลาการด้านอุตสาหกรรมระบบราง โดยอาจขยายผลไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งอื่นๆ เช่น ด้านพาณิชยนาวี เป็นต้น โดยทั้งสองฝ่ายจะได้หารือในรายละเอียดถึงกรอบความร่วมมืออีกครั้งหนึ่ง
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4184035571643356

ส่องความคืบหน้ารถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ถึงไหนแล้ว
25 มิถุนายน 2564 เวลา 17:51 น.


“คมนาคม” จับมือ มธ. เร่ง รฟท.เดินหน้าโครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ลุยงานด้านโยธา-ระบบราง คาดเปิดให้บริการปี 68 เล็งจัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิต-เชียงรากน้อย เข้ามธ.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟ โครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า เบื้องต้นที่ประชุมในครั้งนี้ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นสมควรดำเนินการพัฒนาร่วมกัน ดังนี้ ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยเร่งดำเนินการงานโยธาและระบบรางเป็นลำดับแรกก่อน คาดว่าจะสามารถปิดให้บริการได้ ภายในปี 2568


ทั้งนี้ในช่วงการก่อสร้างการก่อสร้าง รฟท.จะจัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิต-สถานีเชียงรากน้อย เพื่อรองรับการเดินทางไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไปก่อน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ขณะเดียวกันในส่วนของกรมทางหลวง (ทล.) ได้พิจารณาปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งมีแผนการพัฒนาในอนาคตด้วย นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนโครงข่ายการคมนาคมบริเวณพื้นที่รังสิต เพื่อพิจารณาผลักดันการดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ต่อไปเพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายถนนและการคมนาคมบริเวณพื้นที่รังสิต เป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในภาพรวม รวมทั้งได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะปรับแนวเส้นทางการเดินรถเพื่อรองรับพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต เนื่องจากมีนักศึกษาและประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการของมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สนข.พิจารณายกร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างกันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ รวมทั้งตกลงในหลักการที่จะร่วมกันพัฒนาบุคลาการด้านอุตสาหกรรมระบบราง โดยอาจขยายผลไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการขนส่งอื่นๆ เช่น ด้านพาณิชยนาวี เป็นต้น โดยทั้งสองฝ่ายจะได้หารือในรายละเอียดถึงกรอบความร่วมมือในครั้งถัดไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2021 10:37 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเดินหน้าเต็มสูบ สร้างส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 ทิศทางรอบกรุง
เศรษฐกิจการตลาด-ธุรกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 มิถุนายน 2564 เวลา 06:01 น.

“ศักดิ์สยาม” ยันเดินหน้าสร้างส่วนต่อขยายรถไฟชานเมือง สายสีแดง 4 ทิศทางรอบกรุงเทพฯไปปริมณฑล พร้อมปรับรูปแบบการร่วมลงทุนจาก พีพีพี มาเป็นประกวดราคาทั่วไป มั่นใจเปิดประกวดราคาได้สิ้นปี 64 นี้ ก่อนได้ผู้รับจ้างต้นปี 65 สร้างแล้วเสร็จปี 68 พร้อมได้ข้อสรุปรถไฟไทย–จีน ช่วงเส้นทางทับซ้อนกับรถไฟเชื่อม 3 สนามบินช่วงบางซื่อ–ดอนเมือง สรุปให้ ซีพีสร้าง


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาหารือถึงแนวทางการพัฒนาก่อสร้าง โครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมือง สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตว่า ทางกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนที่จะก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีแดงเพิ่มเติมทั้ง 4 ส่วนต่อขยาย 4 ทิศทางรอบกรุงเทพฯ ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงรังสิต -ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) วงเงินโครงการ 6,570 ล้านบาท 2.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา) วงเงิน 10,200 ล้านบาท 3.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช) วงเงิน 6,640 ล้านบาท และ 4.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-หัวหมาก) วงเงิน 44,100 ล้านบาท เบื้องต้นได้ให้นโยบาย รฟท.ปรับแผนการก่อสร้างในโครงการใหม่ แยกการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานออกมาประกวดราคา จากเดิม รฟท.จะเปิดลงทุนในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) ซึ่งจะทำให้ รฟท.สามารถเปิดประกวดราคาก่อสร้างได้ภายในสิ้นปี 64 นี้ คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างในต้นปี 65 และก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 68


ทั้งนี้ ในระหว่างการก่อสร้าง รฟท.จะได้จัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิตไปถึงสถานีเชียงรากน้อย เพื่อรองรับการเดินทางไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตไปก่อน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ช่วงเดือน ธ.ค.นี้ นอกจากนั้นกรมทางหลวง (ทล.) ได้พิจารณาปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเบื้องต้นแล้ว และเพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายถนนและการคมนาคม บริเวณพื้นที่รังสิต เป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในภาพรวม โดยได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม บริเวณพื้นที่รังสิต เพื่อผลักดันการดำเนินการไปสู่เป้าหมายต่อไป
นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)ได้ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถเพื่อรองรับพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เนื่องจากมีนักศึกษาและประชาชนจำนวนมากมาใช้บริการของมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล

ขณะเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แสดงความสนใจที่จะร่วมพัฒนาพื้นที่กับกระทรวงคมนาคม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนา Transit Oriented Development ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร พิจารณายกร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในรายละเอียด เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างกันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

นายศักดิ์สยาม ยังได้กล่าวต่อถึงความคืบหน้า การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ว่า ฝ่ายไทยได้แจ้งความก้าวหน้างานโยธาระยะแรกสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งงานโยธาส่วนใหญ่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ส่วนช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ฝ่ายไทยได้ข้อสรุปสำหรับงานออกแบบรายละเอียดแล้ว นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยฝ่ายไทยเสนอให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย สปป.ลาว และจีน เพื่อหารือเกี่ยวกับเส้นทางการเชื่อมโยงรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะหารือกับฝ่ายลาวเพื่อผลักดันให้มีการประชุมระดับคณะทำงานสามฝ่าย และจัดการประชุมทุกเดือนเพื่อให้มีความคืบหน้าในการเชื่อมโยงต่อไป

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงช่วงทับซ้อนของการก่อสร้างระหว่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กับโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งช่วงดังกล่าวจะต้องมีการใช้ทางวิ่งและโครงสร้างร่วมกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะปรับงานออกแบบ ส่วนการก่อสร้างในส่วนที่ทับซ้อน จะให้เป็นความรับผิดชอบของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร กลุ่ม CP ที่สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน.

“ศักดิ์สยาม”กลับลำสั่งเร่งประมูลสร้างสายสีแดงต่อขยาย 6.7 หมื่นล.ปรับ PPP เหลือแค่ระบบ O&M
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 มิถุนายน 2564 เวลา 10:14 น.
ปรับปรุง: 28 มิถุนายน 2564 เวลา 10:14 น.
“ศักดิ์สยาม”สั่งปรับแผนลงทุนรถไฟสายสีแดงต่อขยาย 4 เส้นทางลดไซด์ PPP เหลือแค่ O&M ยอมรับมัดรวมโยธาจะล่าช้า สั่งรฟท.แยกประมูลก่อสร้าง 6.7 หมื่นล้านตามมติครม. ภายในปีนี้ สร้างเสร็จปี 68 วิ่งสีแดงทะลุรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ส่วนต่อขยายจำนวน 4 เส้นทางว่า ขณะนี้ได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดดำเนินการประมูลก่อสร้างงานโยธาก่อน ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติให้รฟท.ดำเนินโครงการสายสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นทางวงเงินกว่า 6.7 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้รวดเร็วและสอดคล้องกับการเปิดเดินรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน

ส่วนรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) สายสีแดงซึ่งรฟท.อยู่ระหว่างศึกษานั้น จะเป็นการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในส่วนของงานเดินรถและซ่อมบำรุง (Operation & Maintenance : O&M ) ทั้งช่วงแรกและส่วนต่อขยาย ไม่รวมงานโยธา

ส่วนเงินลงทุนก่อสร้าง สายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 4 เส้นทางนั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า สามารถใช้เงินกู้ หรือ กองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน) ซึ่งทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะพิจารณา

“ผมหารือกับ ผู้ว่าฯรฟท. ให้ไปดำเนินการ รูปแบบเดิมตามที่ครม.อนุมัติ ให้ก่อสร้างงานก่อสร้างโยธาก่อนเพราะการเอา งานโยธาไปผูกไว้กับO&M อาจทำให้โครงการยิ่งล่าช้า ซึ่ง คาดว่า หากรฟท.แยกงานโยธามาดำเนินการจะเปิดประมูล ได้ภายในปีนี้ และจะก่อสร้างเสร็จในปี 2568 ซึ่งจะสามารถเปิดเดินรถสีแดงส่วนต่อขยายได้เลย เพราะรถไฟสายสีแดง ช่วงแรกและส่วนต่อขยายเป็นระบบเดียวกันทั้งหมด ดังนั้นระหว่างรอ PPP เอกชนเข้ามารับงาน O&M เดินรถสายสีแดงตลอดสาย ซึ่งคาดว่าเป็นช่วงปี 2569 รฟท.จะสามารถให้บริการส่วนขยายไปได้ไปก่อน ประชาชนจะได้รับประโยชน์”นายศักดิ์สยามกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ สายสีแดง ส่วนต่อขยายพร้อมดำเนินการ เนื่องจากได้รับอนุมัติจากครม. แล้ว รวมถึงสบน.ได้เตรียมแผนก่อหนี้ไว้แล้ว

แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้ให้นโยบายรฟท. ศึกษาการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) รถไฟสายสีแดง ทั้งก่อสร้างงานโยธาและเดินรถ ซ่อมบำรุง (O&M) จึงต้องปรับแผนงานรอการศึกษา PPP ก่อน ขณะที่แนวคิด PPP ให้เอกชนลงทุน 100% ทั้งโยธา และ O&M เอกชนอาจรับภาระไม่ไหวอีกด้วย

โดย รถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม.กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท , สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. กรอบวงเงิน10,202.18 ล้านบาท และ สายสีแดงอ่อน ช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาทครม.อนุมัติเมื่อปี 2562

ส่วน สีแดงอ่อน (Missing Link ) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท ครม.อนุมัติตั้งแต่ปี 2559แต่เนื่องจากมีการปรับรูปแบบของการก่อสร้างช่วงสถานีจิตรลดา-พญาไท ที่จะต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างร่วมกับ โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ซึ่งปัจจุบันคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การที่รฟท.จะประมูลก่อสร้างเอง จะสามารถประสานแผนในการเปิดหน้าดินก่อสร้างครั้งเดียว เพื่อลดผลกระทบระหว่างก่อสร้าง

โดยเมื่อ วันที่ 25 มิ.ย. รองศาสตรจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้า รมว.คมนาคมเพื่อหารือ ถึงแนวทางการการพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และการพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม ซึ่งรมว.คมนาคมได้สั่งรฟท.เร่งก่อสร้างงานโยธาและระบบรางส่วนต่อขยาย รังสิต- ม.ธรรมศาสตร์ ก่อน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ ในปี 2568

ขณะที่เดือนธ.ค. 2564 รฟท.จะจัดรถไฟดีเซลรางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างสถานีรังสิตไปถึงสถานีเชียงรากน้อย เพื่อรองรับการเดินทางไป ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไปก่อน นอกจากนี้ กรมทางหลวง (ทล.) ได้พิจารณาปรับปรุงโครงข่ายถนนบริเวณโดยรอบม.ธรรมศาสตร์และทำ แผนพัฒนาโครงข่ายถนนรอบพื้นที่รังสิตในอนาคตด้วย เพื่อให้ประชาชน เดินทางเชื่อมต่อสะดวก ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในภาพรวม ส่วนกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถเพื่อรองรับพื้นที่โดยรอบด้วย


คมนาคม เร่งประมูลงานโยธารถไฟสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นรวม 6.7 หมื่นลบ.ในปีนี้

ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
จันทร์ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 11:14 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ส่วนต่อขยาย จำนวน 4 เส้นทาง ว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดการประมูลก่อสร้างงานโยธาก่อน ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติให้ รฟท.ดำเนินโครงการสายสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงินกว่า 6.7 หมื่นล้านบาท เพื่อให้รวดเร็วและสอดคล้องกับการเปิดเดินรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-ตลิ่งชัน

ส่วนรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) สายสีแดง ซึ่ง รฟท.อยู่ระหว่างศึกษานั้น จะเป็นการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในส่วนของงานเดินรถ และซ่อมบำรุง (Operation & Maintenance : O&M ) ทั้งช่วงแรกและส่วนต่อขยาย ไม่รวมงานโยธา

สำหรับเงินลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 4 เส้นทางนั้น นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า สามารถใช้เงินกู้ หรือ การระดมทุนเงินทุนจากกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน) ซึ่งทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) อยู่ระหว่างการพิจารณา

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ รฟท.ไปดำเนินการก่อสร้างงานโยธาก่อน เพราะเกรงว่าหากนำงานโยธาผูกไว้กับ O&M อาจทำให้โครงการยิ่งล่าช้า โดยคาดว่าหาก รฟท.แยกงานโยธามาเปิดประมูลได้ภายในปีนี้ จะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ภายในปี 68 ซึ่งจะสามารถเปิดเดินรถสีแดงส่วนต่อขยายได้เลย เพราะรถไฟสายสีแดงช่วงแรกและส่วนต่อขยายเป็นระบบเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ระหว่างรอ PPP คัดเลือกเอกชนเข้ามารับงาน O&M เดินรถตลอดสาย ดว่าเป็นช่วงปี 69 จะทำให้ รฟท.สามารถให้บริการส่วนขยายไปได้ไปก่อน ซึ่งประชาชนจะได้รับประโยชน์มากกว่า


รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รถไฟสายสีแดงช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม.กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. กรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท และ ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท โดย ครม.อนุมัติให้ดำเนินการไว้ตั้งแต่ปี 62

ส่วนต่อขยายรถไฟสีแดง (Missing Link ) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท ครม.อนุมัติตั้งแต่ปี 59 แต่เนื่องจากมีการปรับรูปแบบการก่อสร้างช่วงสถานีจิตรลดา-พญาไท ที่จะต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ซึ่งปัจจุบันคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การเร่งรัดก่อสร้างเพื่อให้มีการเปิดหน้าดินก่อสร้างครั้งเดียวลดผลกระทบระหว่างก่อสร้าง
Wisarut wrote:
ว๊าววว!! รถไฟฟ้าสายสีแดงวิ่งเข้าธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2936693103218855
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4184035571643356

ส่องความคืบหน้ารถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ถึงไหนแล้ว
25 มิถุนายน 2564 เวลา 17:51 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2021 11:37 pm    Post subject: Reply with quote

สายสีแดงส่วนต่อขยาย เปลี่ยนจาก PPP มาเป็นลงทุนเอง (ตามเดิม) สมฉายา #แซ่รื้อ รื้อได้ทุกอย่าง ค้านแล้วก็ไม่ฟัง เสียเวลาอยู่กับอะไรมาเป็นปี!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
28 มิถุนายน 2564 เวลา 21:24 น.

วันนี้ผมขอเอาข่าวของสายสีแดงล่าสุด ซึ่งรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ เรื่องการทำส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทาง คือ
- รังสิต - ธรรมศาสตร์
- ตลิ่งชัน - ศาลายา
- ตลิ่งชัน - ธนบุรี
- บางซื่อ - หัวลำโพง - มักกะสัน (Missing link)
รัฐบาลจะลงทุนงานโยงเองทั้งหหมด!!! มูลค่ากว่า 67,000 ล้านบาท!!! หันหลังกลับ 360 องศา ไปทำตามมติเดิม ก่อนรื้อ!!!!
สรุปประเด็นที่สำคัญง่ายๆคือ
- รัฐบาลลงทุนงานโยธาเองทั้งหมด มูลค่ากว่า 67,000 ล้านบาท
- ใช้เงินลงทุนงานโยธา จากกองทุน TTIF
- จะเปิดให้เอกชนมาทำ PPP เฉพาะงานเดินรถ (O&M) น่าจะหวยออกเป็น Gross Cost เอกชนรับจ้างเดินรถ รัฐบาลรับความเสี่ยง และขาดทุนเองทั้งหมด (เหมือนสายสีม่วง)
- จากเดิมจะให้เอกชนลงทุนเองทั้งหมด “เอกชนไม่ไหว” (ไปถามกันมาแล้วเหรอ???)
ผมบอกได้คำเดียวว่า “ค้านแล้วไม่ฟัง”
ใครอยากอ่านข่าวต้นทางจาก MGROnline Live ตามลิ้งค์นี้
https://mgronline.com/business/detail/9640000062265...
—————————
เพื่อนๆที่ติดตามกันมานาน คงจำ ที่ผมเคยค้านการที่รัฐมนตรี แซ่รื้อ จะเปิดให้เอกชนมาร่วมทุน PPP สายสีแดง ทั้งโครงการ
โดยจะเป็นคนก่อนสร้างงานโยธาในเส้นทางส่วนต่อขยาย และจ่ายค่าระบบ (O&M) ของทั้งโครงการไปอยู่ในมือ
ซึ่งตอนนั้นเราก็เขียนค้านกันอย่างชัดเจน พร้อมข้อมูลแน่น มากๆ เทียบทั้งข้อดี-ข้อเสีย ต่างๆ ของการให้ SRTET เดินรถและบริหารเองแบบเอกชน ใครยังไม่อ่าน ลองอ่านดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/916421968796283/?d=n
ซึ่งรัฐมนตรี แซ่รื้อ ก็ว่าถ้าเอกชนเข้ามาร่วมทุนรัฐบาลจะลดการลงทุนไปกว่า 100,000 ล้านบาท
แต่แล้ววันนี้ กลับลำ มาบอกว่า เอกชนเค้าคงรับภาระทั้งโครงการไม่ไหวหรอก???
คือสงสัยว่าพึ่งคุยกันเหรอ??? ตอนนั้นบอกไหวๆ ตอนนี้ไหง บอกไม่ไหว??
เราเสียเวลาอยู่กับอะไรมาเป็นปี??? รื้อโครงการแบบลักกะปิดกลักกะเปิด!!!
ผมก็ค้านมาตั้งแต่ต้น และตั้งข้อสังเกตเรื่องเอกชนที่จะมาร่วมทุนตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะมีรายไหนที่ ลงทุนก้อนเดียวแสนล้านไหว?? ก็ได้แต่เฮ้อ และถามหาเวลาที่เสียปยปีกว่า!!!
—————————
ทำไมผมถึงค้าน สายสีแดง ร่วมทุนเอกชน!!!!
ก่อนอื่นมารู้จักแผนสายสีแดงจริงๆก่อน
เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงเมื่อพัฒนาเต็มโครงการ คือ
เส้นเหนือ-ใต้
ชุมทางบ้านภาชี-อยุธยา-ธรรมศาสตร์(รังสิต)-รังสิต-ดอนเมือง-บางซื่อ-ราชวิถี-หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย-แม่กลอง-ปากท่อ
เส้นตะวันออก-ตะวันตก
ฉะเชิงเทรา-ลาดกระบัง-หัวหมาก-มักกะสัน-พญาไท-ราชวิถี-บางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา-นครปฐม
และสายแยก ธนบุรี(ศิริราช)-ตลิ่งชัน
ดูรายละเอียดจากโพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/622405301531286?sfns=mo
———————————————
สถานะโครงการในปัจจุบัน
- โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
1.บางซื่อ-ตลิ่งชัน : โครงสร้างโยธาแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบเดินรถไฟฟ้า
2.บางซื่อ-รังสิต : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และติดตั้งระบบเดินรถไฟฟ้า
รายละเอียดโครงการในช่วงนี้ตามลิงค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/575590849546065?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/697322047372944?sfns=mo
สองส่วนนี้จะเริ่มเปิดให้บริการ ต้นปี 2564
———————————————
- โครงการที่ ครม. อนุมัติแล้ว
1.บางซื่อ-หัวลำโพง-หัวหมาก (Missing Link)
ครม. อนุมัติไปแล้วในปี 59 แต่อยู่ระหว่างปรับรายละเอียดโครงการ และให้โครงการรถไฟฟ้า 3 สนามบิน เป็นผู้ก่อสร้างให้ในช่วงทับซ้อน บางซื่อ-มักกะสัน ในรูปแบบคลองแห้ง
รายละเอียดตามโพสต์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/756066624831819?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/756658528105962?sfns=mo
2.ธนบุรี(ศิริราช)-ตลิ่งชัน-ศาลายา
ครม. พึ่งอนุมัติไปตอนต้นปี 62 คาดว่าจะเปิดประมูลในปี 63
รายละเอียดในโพสต์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/626617247776758?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/624977717940711?sfns=mo
3.รังสิต-ธรรมศาสตร์(รังสิต)
ครม. พึ่งอนุมัติไปตอนต้นปี 62 คาดว่าจะเปิดประมูลในปี 63
รายละเอียดในโพสต์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/622993761472440?sfns=mo
—————————
ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีแดงคือระบบรถไฟฟ้าชานเมือง เชื่อมระหว่างเมือง จะมีความถี่ต่ำ และมีปริมาณสถานีน้อย แต่มีจำนวนตู้มากกว่าระบบรถไฟฟ้า Metro อย่าง BTS และ MRT
ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/749456705492811?sfns=mo
ในระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง จะมีการใช้ทางร่วมกับรถไฟฟ้าทางไกล เดิมของการรถไฟ เพื่อจะแก้ปัญหาจุดตัดของรถไฟในเขตเมืองและชานเมือง
—————————
เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสีย รัฐบาลลงทุน VS เอกชน PPP
— 1 —
เนื่องจากว่าในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงที่กำหนดไว้ไว้ตั้งแต่ต้นว่าจะใช้ทางรถไฟร่วมกับรถไฟทางไกล จึงใช้ทางรถไฟขนาด 1 เมตรเท่ากับของการรถไฟ เพื่อแชร์เส้นทางกัน โดยการรถไฟเป็นผู้บริหารเส้นทางและจัดตารางเดินรถร่วมกันทั้งหมด
ซึ่งตามการศึกษาเดิม(อันแรก) ระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง จะเป็นสมบัติของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งหมด โดยจ้างบริษัทลูง (SRTET) บริหาร ให้บริการ และซ่อมบำรุง เหมือนกับที่ทำกับ Airport Link
— 2 —
แต่เนื่องจากปัญหาต่างๆของการรถไฟ และการขาดทุนต่อเนื่องของการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร) จึงมีการสั่งให้ศึกษา วิธีการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงใหม่ แต่ต้องเร่งเพื่อให้ได้รูปแบบการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงใหม่ ตามมติ คนร. ครั้งที่ 2/2562
สรุปได้ตามนี้
- ทำการแก้ไขพันธกิจ ของ บริษัท รถไฟฟ้าไทย จำกัด (SRTET) ให้มาบริหาร ในรูปแบบ Net Cost หรือ SRTET รับพื้นที่โครงการไปทั้งหมดยกเว้น สถานีบางซื่อ และ ดอนเมือง รวมถึงบริหาร และซ่อมบำรุง ด้วยตัวเอง และรับการขาดทุนด้วยตัวเอง ไม่เหมือนกับการบริหาร Airport Link ซึ่งเป็นการรับจ้างเดินรถเท่านั้นไม่มีสิทธิ์ในการบริหารพื้นที่เช่าต่างๆในสถานี
- ถอนตัวจาก Airport link เพื่อให้รวมกับโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เข้าบริหารต่อ
- อนุมัติวงเงินหมุนเวียนให้กับ SRTET 3,800 ล้านบาทเพื่อให้เริ่มงานและบริหาร โครงการ รถไฟฟ้าสายสีแดงได้ เพียงพอใน ช่วง 5 ปีแรก
- SRTET จะมี เป้าหมาย (KPI) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้
- ซึ่งถ้าทำไม่ได้จะต้องหาเอกชนมาเดินรถแทนภายในเวลา 5 ปี
ซึ่งตาม มติ คนร. อันนี้ จะทำให้สามารถเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงเต็มรูปแบบได้ตามกำหนดการหรืออาจจะช้านิดหน่อยจากเรื่อง COVID19 แต่ก็ยังพอเข้าใจได้
— 3 —
หลังจากที่เปลี่ยนรัฐบาล ก็ได้ยินข่าวว่า รัฐมนตรีคมนาคม คนใหม่ก็มีการสั่งการให้ศึกษาการให้เอกชนเข้ามาเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง แทน SRTET ที่อนุมัติไว้
ล่าสุด จากการข่าวเมื่อวันที่ 24 เมษายน 63 ก็เป็นข่าวออกมาชัดเจน ว่า รัฐมนตรีคมนาคม มีการสั่งการให้ เปลี่ยนรูปแบบการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ให้เปิดประมูล PPP หาเอกชนมาเดินรถแทน รวมกับการรวบสัญญาก่อสร้างส่วนต่อขยายทุกช่วงออกไปด้วย
ตามข่าวนี้
https://www.prachachat.net/property/news-454974
ซึ่งผมสรุปข้อมูลจากข่าวได้ดังนี้
- ให้เอกชนมาร่วมลงทุนกับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ที่ขาดอยู่ โดยมาช่วยส่วนต่างๆ คือ
1. จ่ายในส่วนปัจจุบัน ที่ก่อสร้างไปแล้ว และเอกชนขอขยายวงเงิน ค่าก่อสร้าง 3 สัญญาเพิ่ม 10,345 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้รวมแล้ว โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้งหมดลงทุนไป ร่วม 100,000 ล้านบาทแล้ว
2. จ่ายในส่วนส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทาง วงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาท ได้แก่
- ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท
- ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท มีระยะทาง 14.8 กม
- ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท
- Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท
แต่การรวบส่วนต่อขยายที่ว่านี้จะเท่ากับว่าต้องเลื่อนระยะเวลาการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ว่านี้ทุกสาย ที่เตรียมจะประมูลในปี 63 ออกไปให้เอกชนเป็นผู้ก่อสร้างแทนหลังจากที่ได้เอกชนร่วมทุน
3. เอกชนจะต้องจ่ายคืนส่วนสัญญาที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนของระบบเดินรถไฟฟ้าให้รัฐ วงเงินประมาณ 32,000 ล้านบาท
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ จะทำให้โครงการช้าไปอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อจะประมูลหาผู้ร่วมทุน
ซึ่งเราจะเสียเวลา เสียโอกาสอีกมหาศาลระหว่างรอให้เอกชนเข้ามาเดินรถ
———————
ลองมาเทียบกันระหว่างผู้เดินรถ SRTET VS เอกชน
ถ้าให้ SRTET เป็นผู้เดินรถตามมติ คนร. เดิม
ข้อดี
- เดินรถได้ทันที
- สิทธิในทางรถไฟทั้งหมดยังเป็นของการรถไฟ มีสิทธิ์ในการจัดตารางการเดินรถไฟด้วยตัวเอง 100%
- มีอิสระในการขยายเส้นทางไปตามโครงการที่ศึกษาไว้ไ้ด้ด้วยตัวเอง
- ในอนาคตการขยายสายสีแดงช่วงต่อไปสามารถใช้ทางรถไฟทางไกลปรับมาเป็นเส้นทางเดินรถ สายสีแดงได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน
- มีสิทธิ์ในการควบคุมราคาค่าโดยสารได้ด้วยตัวเอง
- ไม่ต้องเจรจาขยายสัมปทานทุกครั้งเพื่อขยายโครงการและ
ข้อเสีย
- ต้องจ่ายค่าก่อสร้าง เพิ่ม 10,000 ล้านบาท
- เพิ่มทุนหมุนเวียนให้กับ SRTET 3,800 ล้านบาท
- SRTET ต้องรับความขาดทุนของสายสีแดงเอง
- ในอนาคตที่จะต้องลงทุนส่วนต่อขยายเอง
ถ้าให้ เอกชนเดินรถไฟฟ้าตามนโยบายใหม่ของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม
(อ้างอิง จากในข่าว แต่ถ้าทำ Market Sounding แล้วเอกชนจะเอาด้วยรึเปล่าไม่รู้นะครับ)
ข้อดี
- ลดการลงทุนเพิ่มเติมในช่วงเดิม 10,000 ล้านบาท
- เอกชนร่วมทุนแทนการรถไฟ ในส่วนต่อขยาย ทั้งหมด 67,575
- เอกชนจ่ายคืนค่าระบบรถไฟฟ้า 32,000
- ส่วนแบ่งรายได้ รัฐบาล(การรถไฟ) 60% เอกชน 40%
ข้อเสีย
- หลังจากที่ โอน Airport Link ให้เอกชน จะต้องยุบ SRTET ซึ่งจะต้องจ่ายค่าเลิกจ้างอีกหลายร้อยล้าน
- ในอนาคตจะมีปัญหาเรื่องส่วนต่อขยายเฟสต่อไปที่ไม่อยู่ในสัญญาแรก ไม่ว่าจะเป็นต้องอุดหนุนการลงทุน หรือต่อขยายสัมปทานเหมือนสายสีน้ำเงิน และเขียว
- อาจจะมีประเด็นเรื่อง Slot การเดินรถในอนาคต ถ้าสายสีแดงต้องเพิ่มความถี่ แต่ไปชนกับเวลาของรถไฟทางไกล หรือ รถไฟทางไกลต้องการจะเพิ่มขบวน แล้วไปชน ก็ต้องไปเคลียร์ Slot กัน ถ้าไม่ลงตัว อาจจะมีความเสี่ยงเรื่องค่าโง่อีก
- ถ้าเมื่อไหร่มีการร่วมทุน ก็มีความเสี่ยงเรื่องค่าโง่ โดยเฉพาะมีการใช้ทางร่วมกันระหว่างรถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าสายสีแดง
- เฟสถัดไป ถ้าเอกชนเป็นคนทำ ก็คงจะแยกระบบกันกับรถไฟทางไกล เพราะป้องกันการแย่ง slot กันซึ่งทำให้มูลค่าโครงการส่วนต่อขยายแพงขึ้น แล้วสร้างยากขึ้นอีก
- รัฐบาลไม่สามารถควบคุมราคาค่าโดยรายได้ ซึ่งต้องปรับขึ้นตามข้อกำหนดในสัมปทาน เหมือนปัญหากับรถไฟฟ้าหรือทางด่วนที่มีประเด็นกันอยู่
- รัฐบาลไม่มีทางเลือกให้กับประชาชนในการเดินทางที่ราคาถูก เพื่อเป็นทางเลือกซึ่งคู่ขนานกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ เช่นสายสีแดงเหนือ ที่วิ่งขนานกับสายสีเขียว รัฐบาลสามารถลดราคาค่าโดยสาร เหลือ 30 บาท โดยสายสีเขียวในระยะเท่ากัน 40 บาท
ดังนั้น ทางเอกชนก็ไม่สามารถขึ้นราคาได้มากเพื่อไม่ให้ลูกค้าหนีไปในสายสีแดง
ซึ่งสายสีแดง เป็นเครื่องหมายบวกกลางกรุงเทพทุกสายสามารถเข้ามาต่อได้ จะเป็นตัวกำหนดให้ราคาของทั้งกรุงเทพอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ตามหลักเศรษฐศาสตร์
————————
ถ้าจะรื้อรอบนี้ขอให้เป็นรอบสุดท้าย และกลับไปใช้มติ คนร. ครั้งที่ 2/2562 ซึ่งจะให้ SRTET เดินรถรูปแบบ เสมือนเอกชน PPP Netcost
เพื่อบริหารโครงการทั้งการโดยสารและพื้นที่ ให้มีกำไรเลี้ยงตัวเองได้ในช่วงระยะเวลา 3 ปีถ้าไม่ได้ค่อยเปิดให้เอกชนเข้ามร่วมทุน!!!


Wisarut wrote:
คมนาคมเดินหน้าเต็มสูบ สร้างส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 ทิศทางรอบกรุง
เศรษฐกิจการตลาด-ธุรกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 มิถุนายน 2564 เวลา 06:01 น.

“ศักดิ์สยาม”กลับลำสั่งเร่งประมูลสร้างสายสีแดงต่อขยาย 6.7 หมื่นล.ปรับ PPP เหลือแค่ระบบ O&M
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 มิถุนายน 2564 เวลา 10:14 น.
ปรับปรุง: 28 มิถุนายน 2564 เวลา 10:14 น.


คมนาคม เร่งประมูลงานโยธารถไฟสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นรวม 6.7 หมื่นลบ.ในปีนี้

ว๊าววว!! รถไฟฟ้าสายสีแดงวิ่งเข้าธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2936693103218855
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4184035571643356

ส่องความคืบหน้ารถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ถึงไหนแล้ว
25 มิถุนายน 2564 เวลา 17:51 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/06/2021 10:28 am    Post subject: Reply with quote

2ส.ค.นายกฯเปิดรถไฟฟ้าสายสีแดง
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สิ้นสุดการรอคอยยาวนาน31ปี ฟรี3เดือนก่อนจ่าย12-42บาท

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 2 ส.ค.64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะมาเป็นประธานพิธีเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อรังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (Soft Opening) แบบไม่เก็บค่าโดยสาร(ฟรี) ประมาณ 3 เดือน (ส.ค.-ต.ค. 64) ก่อนจะเปิดบริการอย่างเป็นทางการแบบเก็บค่าโดยสารในเดือน พ.ย. 64 ขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมทุกด้านแล้ว โดยเฉพาะเรื่องสถานที่ เนื่องจากพื้นที่บางส่วนของสถานีกลางบางซื่อใช้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีน โควิด-19 ให้กับประชาชน ดังนั้นในการให้บริการทั้ง 2 ส่วนจะต้องทำให้ประชาชนทุกคนได้รับความสะดวก และปลอดภัย

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า เบื้องต้นได้ออกแบบพื้นที่ใช้งานสำหรับการให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อไว้แล้ว แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.พื้นที่โซนด้านซ้ายทางทิศใต้ของสถานีฯ จะใช้สำหรับให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง จะให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการผ่านทางประตูที่ 1 และ 2.พื้นที่โซนตรงกลางและด้านขวาทางทิศเหนือของสถานีฯ จะใช้สำหรับให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยกั้นพื้นที่แยกส่วนกันอย่างชัดเจน ไม่ให้ประชาชนทั้งสองส่วนมาปะปนกันเด็ดขาด เพื่อความสะดวก และความปลอดภัยของทุกคน

ส่วนความพร้อมของขบวนรถไฟฟ้าที่จะให้บริการนั้น ขณะนี้ได้ทดสอบเดินรถทั้ง 2 เส้นทางอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงฝึกซ้อมเพื่อรับมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ซึ่งทุกการทดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่พบปัญหาใด ๆ เบื้องต้นในการเปิดให้บริการได้กำหนดปล่อยความถี่ของขบวนรถในชั่วโมงเร่งด่วน (พีค) อยู่ที่ 15 นาที ต่อขบวน ส่วนนอกชั่วโมงเร่งด่วน (ออฟพีค) หากมีประชาชนใช้บริการน้อย อาจต้องใช้ความถี่ในการปล่อยขบวนรถให้ช้าลง จะพิจารณาเมื่อเปิดบริการจริงอีกครั้ง รวมถึงช่วงพีคด้วย หากประชาชนมาใช้บริการจำนวนมากอาจเพิ่มความถี่ในการปล่อยขบวนรถให้เร็วขึ้น โดยที่ผ่านมาเคยทดสอบปล่อยขบวนรถด้วยความถี่สูงสุด 6 นาที ต่อขบวนมาแล้ว สามารถเดินรถได้ดีไม่มีปัญหา

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งด้วยว่า วันที่ 14 ก.ค.นี้ นายศักดิ์สยาม จะเป็นประธานประชุมติดตามความพร้อมในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่ออีกครั้ง ก่อนเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการ เพื่อติดตามทุกด้าน อาทิ การเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทั้งระบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง, ราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร และการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Gateway/Hub) เป็นต้น

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดง แบ่งเป็น ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร (กม.) มี 10 สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ, สถานีจตุจักร, สถานีวัดเสมียนนารี, สถานีบางเขน, สถานีทุ่งสองห้อง, สถานีหลักสี่, สถานีการเคหะ, สถานีดอนเมือง, สถานีหลักหก และสถานีรังสิต ระยะเวลาเดินทางประมาณ 25 นาที และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางทั้ง 2 ช่วงได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งอำนวยความสะดวกประชาชนบริเวณชานเมืองเดินทางเข้าใจกลางกรุงเทพฯ ได้ภายใน 30-45 นาที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้นายศักดิ์สยาม สั่ง รฟท. ทบทวนค่าโดยสารตลอดสายเหลือ 12-42 บาท จากที่เสนอมา 14-42 บาท โดยช่วงบางซื่อ-รังสิต 12-38 บาท และบางซื่อ-ตลิ่งชัน 12-27 บาท สามารถนั่งจากรังสิตและเปลี่ยนขบวนที่สถานีกลางบางซื่อไปสถานีตลิ่งชั่นโดยไม่ต้องออกจากระบบ เมื่อเปิดให้บริการประชาชนได้ ถือว่าสิ้นสุดการรอคอยโครงการที่มีมาอย่างยาวนานหากนับตั้งแต่เป็นโครงการโฮปเวลล์ที่เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2533 รวมแล้วถึง 31 ปี.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2021 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
2ส.ค.นายกฯเปิดรถไฟฟ้าสายสีแดง
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564


นี่ครับ ลิงก์
https://www.facebook.com/1860889064132603/posts/2940336602854505/


คมนาคมเตรียมเปิด” รถไฟฟ้า สายสีแดง”2 ส.ค. นี้
หน้าเศรษฐกิจ
วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564


คมนาคมเตรียมพร้อมเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ทดลองประชาชนใช้ฟรี 3 เดือน เริ่ม 2 ส.ค.นี้ ก่อนเก็บค่าโดยสาร พ.ย.2564 “ศักดิ์สยาม” สั่งเคลียร์พื้นที่แบ่งโซนบริการฉีดวัคซีนโควิด-19
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเปิดทดลองเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (Soft Opening) โดยระบุว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมทุกด้าน เพื่อเปิดให้ประชาชนเริ่มเข้าทดลองใช้บริการรถไฟสายสีแดงในวันที่ 2 ส.ค.นี้ โดยเฉพาะเรื่องของสถานที่ เนื่องจากสถานีกลางบางซื่อยังต้องจัดสรรเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชน



“วันที่ 2 ส.ค.นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะมาเป็นประธานในพิธีเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรีประมาณ 3 เดือน ช่วงระหว่างเดือน ส.ค. - ต.ค.2564 ซึ่งเราต้องเตรียมพร้อมบริหารจัดการให้ดี เพราะพื้นที่สถานีกลางบางซื่อต้องให้บริการทั้งผู้โดยสารรถไฟฟ้า และประชาชนเข้ารับวัคซีน ประชาชนทุกคนต้องได้รับความสะดวก และปลอดภัย”


รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ขณะนี้ได้ออกแบบพื้นที่ใช้งานสำหรับการให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1.พื้นที่โซนด้านซ้ายทางทิศใต้ของสถานี จะใช้สำหรับให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ประชาชนจะเข้ามาใช้บริการผ่านทางประตูที่ 1และ
2.พื้นที่โซนตรงกลางและด้านขวาทางทิศเหนือของสถานี จะใช้สำหรับให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างไรก็ตาม การให้บริการทั้งส่วนจะมีการกั้นพื้นที่แยกส่วนกันอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้ประชาชนทั้งสองส่วนมาปะปนกัน สร้างความความสะดวก และความปลอดภัยให้กับทุกคนที่เข้ามาใช้บริการสถานีกลางบางซื่อ



ส่วนความพร้อมของขบวนรถไฟฟ้าที่จะให้บริการ ปัจจุบันได้ดำเนินการทดสอบเดินรถทั้ง 2 เส้นทางอย่างต่อเนื่อง ทุกการทดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่พบปัญหาติดขัด เบื้องต้นในการเปิดให้บริการได้กำหนดปล่อยความถี่ของขบวนรถในชั่วโมงเร่งด่วน (พีค) อยู่ที่ 15 นาทีต่อขบวน ส่วนนอกชั่วโมงเร่งด่วน (ออฟพีค) หากมีประชาชนใช้บริการจำนวนน้อย อาจต้องใช้ความถี่ในการปล่อยขบวนรถให้ช้าลง



อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเป็นประธานในการประชุมติดตามความพร้อมในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่ออีกครั้ง ก่อนจะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการ ซึ่งจะมีการหารือในประเด็น อาทิ การเตรียมความพร้อมด้านการเดินรถของ ร.ฟ.ท.ทั้งระบบ, การเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง, ราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร และการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า เป็นต้น


สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดง แบ่งเป็น ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร มี 10 สถานีกลางบางซื่อ, สถานีจตุจักร, สถานีวัดเสมียนนารี, สถานีบางเขน, สถานีทุ่งสองห้อง, สถานีหลักสี่, สถานีการเคหะ, สถานีดอนเมือง, สถานีหลักหก และสถานีรังสิต ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 25 นาที และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 15 นาที
https://www.youtube.com/watch?v=vosegDjj4v0
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 105, 106, 107 ... 149, 150, 151  Next
Page 106 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©