RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274361
ทั้งหมด:13585657
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 109, 110, 111 ... 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2021 8:02 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีเเดงวิ่งเเล้ว | THAN TALK | 2 ส.ค.64
หน้า Than Digital
THAN TALK TV
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 15:30 น.
นายกฯ กดปุ่มเที่ยวปฐมฤกษ์ รถไฟฟ้าสายสีแดง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - คมนาคม
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 14:22 น.


นายกฯ กดปุ่มเที่ยวปฐมฤกษ์ รถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของระบบรางไทย สู่จุดเชื่อมต่อระบบรางของอาเซียน

เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการระบบ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (soft opening) วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 9.30 น. ที่สถานีกลางบางซื่อ โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด


วันนี้ (2 ส.ค. 64) ณ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (Soft Opening) ผ่านระบบออนไลน์ มายังสถานีกลางบางซื่อ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม รับหน้าที่ส่งประชาชนเที่ยวปฐมฤกษ์ ณ สถานีกลางบางซื่อ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบบคมนาคมขนส่งทางราง”

ที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งพัฒนาระบบคมนาคมทางรางอย่างต่อเนื่อง ทั้งรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รวมถึงโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน


เพื่อเชื่อมต่อทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพิ่มประสิทธิภาพด้านการเดินทาง ขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสนใจ เร่งรัด และติดตามความก้าวหน้าของทุกโครงการมาโดยตลอด

สำหรับสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการเดินทางด้วยรถไฟยุคใหม่ ซึ่งมีศักยภาพเทียบเท่าสถานีรถไฟชั้นนำของโลก และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง นอกจากจะเป็นทางเลือกให้ประชาชนสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ สู่ปริมณฑล และทั่วทุกภูมิภาคของประเทศได้โดยสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ

ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจตลอดแนวเส้นทาง นับเป็นก้าวย่างสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการพัฒนาระบบรางและการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายของรัฐบาล

ด้าน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนด้านการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับสถานีกลางบางซื่อเป็นโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2556 และแล้วเสร็จในปี 2564 สถานีกลางบางซื่อ (Grand Station) มีพื้นที่ใช้สอยรวม 298,200 ตารางเมตร โดยภายในสถานี ประกอบด้วย อาคารทั้งหมด 3 ชั้น คือ ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสาร ร้านค้า ศูนย์อาหาร สำนักงาน พื้นที่พักคอย และจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 87,200 ตารางเมตร

ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลา ประกอบด้วย รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา มีพื้นที่ใช้สอยรวม 58,900 ตารางเมตร และชั้นที่ 3 มีพื้นที่ใช้สอยรวม 58,900 ตารางเมตร เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูง

เชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศและทางราง โดยแบ่งเป็นชานชาลาสำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวน 4 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 12 ชานชาลา

นอกจากนี้ ยังมีชั้นลอย เป็นพื้นที่ร้านค้าและห้องควบคุม พื้นที่ใช้สอยกว่า 20,700 ตารางเมตร และชั้นใต้ดินพื้นที่ใช้สอยกว่า 72,500 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถ ที่สามารถจอดรถยนต์ได้ถึง 1,681 คัน ที่จอดรถคนพิการ 19 คัน รวม 1,700 คัน และยังมีพื้นที่อื่นๆ

เช่น ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดพื้นที่ 18,630 ตารางเมตร พร้อมบึงน้ำขนาด 14,000 ตารางเมตร โดยเป็นลานน้ำพุประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้ง “นาฬิกาประจำสถานี” ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ให้บนหน้าปัดมีเลข “๙” เลขไทยเพียงเลขเดียว เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถานีกลางบางซื่อ และแสดงถึงการเดินทางที่เที่ยงตรง

ตัวเรือนนาฬิกามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร ติดตั้งบนผนังกระจกของทางเข้าสถานีสูงจากระดับพื้นดิน 21 เมตร ผลิตโดย บริษัท Electric Time Company, Inc. สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทผลิตนาฬิกาที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงในการออกแบบและผลิตนาฬิกากลางแจ้งขนาดใหญ่ ทั้งเคยได้รับการว่าจ้างให้ผลิตนาฬิกาประดับสถานที่สำคัญต่าง ๆ อีกด้วย

สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่เปิดให้บริการ ประกอบด้วย รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต จำนวน 10 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก และสถานีรังสิต ระยะทางรวม 26 กิโลเมตร และรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน 3 สถานี

ประกอบด้วย สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน ระยะทางรวม 15 กิโลเมตร ส่วนขบวนรถไฟเป็นรถไฟฟ้าแบบ Electric Multiple Unit หรือ EMU ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดปัญหามลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้ระบบควบคุมการเดินรถและระบบให้บริการต่าง ๆ ตามมาตรฐานสากล

มีความปลอดภัยและทันสมัยในทุกขบวน มีพื้นที่รองรับการให้บริการและอำนวยความสะดวกกับผู้พิการตามหลักอารยสถาปัตย์ หรือ universals design ด้านการเดินรถไฟ การรถไฟฯ มอบหมายให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟฯ

ที่มีประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้ามามากกว่า 10 ปี เป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟสายสีแดง โดยในช่วงการทดลองเปิดให้ใช้บริการจะเดินรถทุก 30 นาทีระหว่างเวลา 06.00 น. ถึง 20.00 น. และทุก ๆ 15 นาที ในช่วงเวลาเร่งด่วน รวมเส้นทางละ 78 เที่ยวต่อวันรองรับผู้โดยสารในช่วงบางซื่อ-รังสิตได้ 1,710 คนต่อเที่ยว ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ได้ 1,120 คนต่อเที่ยว โดยการรถไฟฯ จะจำกัดจำนวนผู้โดยสารทุกประเภท ในขบวนรถและสถานีไม่เกินร้อยละ 50 เพื่อเป็นไปตามมาตรการรักษาระยะห่าง และป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - 19

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดบูรณาการความร่วมมือ ดำเนินงานส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางในทุกรูปแบบการเชื่อมต่อสถานีกับระบบขนส่งมวลชนอื่น กรมการขนส่งทางบก

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรมการขนส่งทางราง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันปรับปรุงการเดินทางในทุกโหมดเพื่อรองรับการเชื่อมต่อสถานีรถไฟสายสีแดง ไม่ว่าจะเป็น การปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทางรองรับการเชื่อมต่อสถานีรถไฟสายสีแดง การบริหารจัดระเบียบรถแท็กซี่ และรถโดยสารสาธารณะ การเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ได้แก่ สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเชื่อมต่อที่สถานีกลางบางซื่อ รถไฟฟ้าสายสีม่วงเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อน

สนามบินนานาชาติดอนเมืองเชื่อมต่อด้วยทางเดิน Skywalk ที่สถานีดอนเมือง และในอนาคตจะมี Skywalk เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูและโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ที่สถานีหลักสี่ รวมถึง Skywalk เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีบางเขน นอกจากนี้ ยังเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา และระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2568

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาส่วนต่อขยายไปยังสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) สถานีศาลายา (มหาวิทยาลัยมหิดล) สถานีธนบุรี-ศิริราช สถานีหัวหมาก และสถานีหัวลำโพง และยังมีแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทั้งในอาคารสถานีและพื้นที่รอบสถานีเพื่อให้มีการพัฒนาสถานี และพัฒนาเมืองในรูปแบบ Smart City ควบคู่ไปด้วย



ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ได้รับการสนับสนุนด้านเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ามาแล้วหลายโครงการ นับเป็นความร่วมมือที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

สำหรับการเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงครั้งนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดและลดระยะเวลาในการเดินทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยใช้เวลาเดินทางจากสถานีกลางบางซื่อถึงสถานีรังสิต เพียง 25 นาที และจากสถานีกลางบางซื่อถึงสถานีตลิ่งชัน เพียง 15 นาที เท่านั้น

โดยการรถไฟฯ จะเปิดให้ประชาชนใช้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสารไปจนถึงปลายปี 2564 หลังจากนั้นจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีที่สุดในอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยคิดค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 12 บาท และค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท ซึ่งการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อในครั้งนี้

ถือเป็นปฐมบทของการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย ที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำและจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญและทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งเสริมการเดินทางของผู้ใช้บริการ ช่วยเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความสุขให้พี่น้องคนไทยตลอดไป
https://www.youtube.com/watch?v=MgDaYocjbYI


สายสีแดงฟรีถึง พ.ย.! “ศักดิ์สยาม” เร่งเซตระบบตั๋วเดือนคุมราคา 12-42 บาท สั่งลุยสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง 6.7 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เผยแพร่: วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 15:12 น.
ปรับปรุง: วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 15:12 น.


รถไฟสีแดงใช้ฟรี 3 เดือน “ศักดิ์สยาม” เร่ง รฟท.เซตตั๋วเดือนคุมราคา 12-42 บาท เผยจ่ายแรกเข้าครั้งเดียวนั่งจาก MRT สีน้ำเงินเข้าสีแดง สั่งลุยประมูลส่วนต่อขยาย 4 สาย 6.7 หมื่นล้านปลายปีนี้ ส่วนระบบ O&M บริหารเดินรถ คาด 2-3 ปีเปิด PPP ได้

วันนี้ (2 ส.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (Soft Opening) ผ่านระบบออนไลน์จากทำเนียบรัฐบาลมายังสถานีกลางบางซื่อ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม รับหน้าที่ส่งประชาชนเที่ยวปฐมฤกษ์ ณ สถานีกลางบางซื่อ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบบคมนาคมขนส่งทางราง” ที่ผ่านมารัฐบาลได้เร่งพัฒนาระบบคมนาคมทางรางอย่างต่อเนื่อง ทั้งรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รวมถึงโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อเชื่อมต่อทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพิ่มประสิทธิภาพด้านการเดินทาง ขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสนใจ เร่งรัด และติดตามความก้าวหน้าของทุกโครงการมาโดยตลอด

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟสายสีแดงจะเปิดบริการให้ประชาชนร่วมทดลองนั่งฟรี ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงปลายเดือน พ.ย. 2564 จากนั้นจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบเดือน พ.ย. 2564 โดยจะต้องรอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อีกครั้งว่าจะเป็นอย่างไรด้วย

ทั้งนี้ สถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางในการเดินทางระบบรางของประเทศไทย ซึ่งนอกจากรถไฟสายสีแดงจะมีบริการรถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนแล้ว ยังมีทางเดินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินเพื่ออำนวยความสะดวก และตลอดแนวเส้นทางของสายสีแดง ยังมีจุดเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง สีเขียวในอนาคตอีกด้วย เป็นเส้นทางที่มีเครือข่ายที่สมบูรณ์ยกระดับการคมนาคมทางรางและจะเป็นระบบหลักในการเดินทางของคนไทย เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย และแก้ปัญหาจราจรติดขัด และลดฝุ่น PM 2.5

“รฟท.ต้องพิจารณารายละเอียดมากกว่าปกติ โดยเฉพาะการบริหารความถี่เดินรถที่เหมาะสม ในช่วงที่มีคนเดินทางมาก ช่วงมีคนใช้น้อย เพื่อความคุ้มค่า เพราะการเดินรถแต่ละเที่ยวจะมีค่าใช้จ่ายคงที่ ต้องดูรายได้ที่จะเข้ามาด้วย อย่างไรก็ตาม ขอเชิญชวนประชาชนมาร่วมทดลองใช้เส้นทางบางซื่อ-รังสิตใช้เวลา 25 นาที เส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน ใช้เวลา 15 นาทีเท่านั้น ขณะที่รถยนต์ใช้เวลามากกว่า 1 ชม.”

สำหรับอัตราค่าโดยสารรถไฟสายสีแดงนั้น กระทรวงคมนาคมได้ประชุมร่วมกับการรรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งหลักการคิดค่าโดยสารต้องเริ่มจากอัตราค่าแรกเข้า ซึ่งอ้างอิงจาก Standardization ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ให้ตัวเลขไว้เมื่อปี 2544 ที่ 10 บาท และคูณด้วย CPI Non- Food and Beverage ค่าดัชนี CPI อยู่ที่ 1.88 บาท จึงปัดเป็นค่าแรกเข้าที่ 12 บาท ส่วนราคาในการเดินทางแต่ละสถานีจะอยู่ที่ประมาณ 2.1 บาท/กม. ปัดเศษเหลือ 2 บาท ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ในแต่ละเส้นทาง

นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ สนข.และกรมรางศึกษาตั๋วพิเศษ ตั๋วเดือน สำหรับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ด้อยโอกาส เพื่อช่วยลดค่าครองชีพได้อีก อย่างไรก็ตาม ในการเดินทางเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน มายังสายสีแดงนั้นจะไม่คิดค่าแรกเข้าหรือจ่ายค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวที่ต้นทาง ส่วนการเดินทางจากสีแดงเชื่อมเข้าระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินนั้นเบื้องต้นยังคงต้องจ่ายค่าแรกเข้า MRT โดยจะมีการเจรจากับเอกชนเพื่อให้เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว

ทั้งนี้ ให้ รฟท.ศึกษาในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อนำรายได้มาชดเชยค่าโดยสาร รวมถึงให้ดูแลค่าใช้จ่ายของรถไฟสายสีแดงได้คุ้มทุน โดยมอบหมายให้ นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงศ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิจารณาหลัก คือ ให้โครงการบริการได้และอยู่รอด ซึ่งโครงการรถไฟสายสีแดง รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนหมด และประมาณ 2-3 ปีข้างหน้าจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)

@คาดประมูลก่อสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นทางปลายปี 64-ต้นปี 65

นายศักดิ์สยามกล่าวถึงรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 4 เส้นทางว่า ขณะนี้ได้ให้ รฟท.เร่งรัดดำเนินการประมูลก่อสร้างงานโยธาตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติแล้ว คาดว่าจะประมูลได้ช่วงปลายปี 2564-ต้นปี 2565 ส่วนรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) สายสีแดงซึ่ง รฟท.อยู่ระหว่างศึกษานั้น จะปรับเป็นการ PPP เฉพาะงานเดินรถและซ่อมบำรุง (Operation & Maintenance : O&M) ทั้งส่วนแรกและส่วนต่อขยาย

สำหรับรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงินกว่า 6.7 หมื่นล้านบาท ได้แก่ 1. สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท, 2. สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. กรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท 3. สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท ครม.อนุมัติเมื่อปี 2562 และ 4. สีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท ครม.อนุมัติตั้งแต่ปี 2559

@จัดความถี่ช่วงทดลองฟรี เส้นทางละ 78 เที่ยวต่อวัน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท. กล่าวว่า ในช่วงการทดลองเปิดให้ใช้บริการสายสีแดงนั้นจะให้บริการ ระหว่างเวลา 06.00-20.00 น. โดยเดินรถในช่วงเวลาเร่งด่วน 07.00-09.30 น. และ 16.30-19.30 น. ทุก 15 นาที นอกเวลาเร่งด่วน ทุก 30 นาที รวมเส้นทางละ 78 เที่ยวต่อวัน ทั้งนี้ รฟท.จะจำกัดจำนวนผู้โดยสารทุกประเภทในขบวนรถ และสถานีไม่เกิน 50% ตามมาตรการรักษาระยะห่าง ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งในช่วงบางซื่อ-รังสิต จะรองรับผู้โดยสารได้ 855 คนต่อเที่ยว จากปกติรองรับได้ 1,710 คนต่อเที่ยว และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน รองรับได้ 560 คนต่อเที่ยว จากปกติรองรับได้ 1,120 คนต่อเที่ยว

สายสีแดงเปิดหวูดฝ่าวิกฤต! “ศักดิ์สยาม” ปิดประตูขาดทุน รฟท.งัดทุกกลยุทธ์ปั้นรายได้-เพิ่มผู้โดยสาร
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 06:36 น.
ปรับปรุง: วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 06:36 น.



ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรง ทำให้มีความกังวลว่าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน อาจจะต้องเลื่อนเปิดให้บริการจากวันที่ 2 ส.ค. 2564 ออกไปก่อนหรือไม่ ซึ่ง “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รีบยืนยันว่ารถไฟสายสีแดงปักหมุดเปิดให้บริการ (Soft Opening) วันที่ 2 ส.ค. 2564 แน่นอนไม่เลื่อน โดยตามกำหนดการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดผ่านระบบออนไลน์ จากตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 10.00 น. โดยจะให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรีเป็นเวลา 3 เดือน (ส.ค.-ต.ค. 2564)

สำหรับรถไฟสายสีแดงถือเป็นตำนานโครงการรถไฟฟ้าที่ใช้ระยะเวลาก่อสร้างยาวนานมากที่สุดเส้นทางหนึ่ง และเป็นรถไฟฟ้าสายที่ประชาชนคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลจับตา และรอคอยสายหนึ่ง

โดยช่วงบางซื่อ-รังสิต หากนับจากวันที่เริ่มต้นสัญญาก่อสร้างงานโยธาเมื่อ 10 ก.พ. 2556 จนถึง 2 ส.ค. 2564 ที่รถไฟสายสีแดงขบวนแรกจะเปิดหวูดให้ประชาชนได้ทดลองนั่งฟรี ใช้ระยะเวลากว่า 8 ปี โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาโครงการมีปัญหาอุปสรรคมากมาย จนทำให้ต้องมีการขยายระยะเวลาสัญญาก่อสร้าง และปรับเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างมาแล้ว 5 ครั้ง จากกรอบเริ่มต้น 52,220 ล้านบาท เป็น 93,950 ล้านบาท ซึ่งยังเหลือครั้งล่าสุดที่จะเสนอขอปรับอีก 10,345 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าก่อสร้างเพิ่มเติม (Variation Order : VO) โดยจะทำให้กรอบวงเงินโครงการสายสีแดงรวมช่วงบางซื่อ-รังสิต เพิ่มเป็น 104,295 ล้านบาท


“ศักดิ์สยาม” ปักหมุดเปิดให้บริการ จี้ รฟท.เร่งแก้ปัญหาติดขัดทุกมิติ

ก่อนหน้านี้ รฟท.กำหนดเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงอย่างไม่เป็นทางการในเดือน ม.ค. 2564 “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” ประกาศนโยบายปักหมุดเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงภายในปี 2564 หลังจากตรวจเช็กการก่อสร้างงานโยธา 2 สัญญา และความก้าวหน้าสัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล วางไทม์ไลน์ ปิดจ็อบ และเมื่อรถไฟฟ้า 2 ขบวนแรกเดินทางมาถึง ณ ท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2562 และเข้าประจำการ ณ โรงซ่อมบำรุงสถานีกลางบางซื่อ ในเดือนพ.ย. 2562 รฟท.เดินหน้าเข้าสู่โหมดการทดสอบระบบตามขั้นตอน

นอกจากนี้ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ยังได้มีการติดตามการดำเนินการในทุกๆ ด้านอย่างใกล้ชิด โดยตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อจำนวน 5 คณะ ประกอบด้วย

1. ด้านการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งระบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง 2. ด้านสถานี 3. ด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร 4. ด้านการสื่อสารสาธารณะ 5. ด้านการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Gateway/Hub)

นอกจากนี้ ยังมีคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และพื้นที่ช่วงสถานีกลางบางซื่อ และคณะอนุกรรมการด้านการพิจารณาดำเนินการขอพระราชทานชื่อโครงการ 2 สายทาง สายทางละ 3 ชื่อ ซึ่ง รฟท.ได้จัดทำหนังสือถึงสำนักงานราชบัณฑิตยสภาและกรมศิลปากรเพื่อพิจารณาชื่อที่จะขอพระราชทาน

โครงการสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) เสนอ 3 ชื่อ ได้แก่ เฉลิมมหามงคล อาทรวัฒนวิถี และสวัสดิลีลาศ

โครงการสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) เสนอ 3 ชื่อ ได้แก่ ฉลองมหานคร สิทธิรังสีรัถยา และ ประพาสภิรมย์



ช่วงทดลองให้บริการฟรี วิ่งความถี่ 15-30 นาที

รถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. มี 10 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ, สถานีจตุจักร, สถานีวัดเสมียนนารี, สถานีบางเขน, สถานีทุ่งสองห้อง, สถานีหลักสี่, สถานีการเคหะ, สถานีดอนเมือง, สถานีหลักหก และสถานีรังสิต ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 25 นาที ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 15 นาที

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา รฟท.โดยบริษัท รฟฟท. จำกัด ได้มีการทดลองระบบการเดินรถ มีการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุต่างๆ ตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยวิศวกรที่ปรึกษาอิสระ (Independent Certification Engineer : ICE) ของโครงการได้เข้าตรวจสอบและออกใบรับรองให้แล้ว พร้อมที่จะเปิดให้ประชาชนร่วมใช้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสารตามแผนงาน

ในช่วงทดลองตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.นี้จะกำหนดความถี่ในการให้บริการเวลาเร่งด่วน 15 นาที นอกเวลาเร่งด่วน 30 นาที วิ่งเฉลี่ย 78 เที่ยว/วัน ใช้รถประมาณ 12 ขบวน โดยสายบางซื่อ-รังสิตจะใช้รถแบบ 6 ตู้/ขบวน จำนวน 8 ขบวน สายบางซื่อ-ตลิ่งชันใช้รถแบบ 4 ตู้/ขบวน จำนวน 4 ขบวน

ตารางการเดินรถสายบางซื่อ-รังสิต เที่ยวแรกออกจากบางซื่อ เวลา 06.00 น. ส่วนเที่ยวแรกออกจากรังสิต เวลา 06.00 น. เที่ยวสุดท้ายออกจากบางซื่อ เวลา 19.30 น. เที่ยวสุดท้ายออกจากรังสิต เวลา 19.30 น.

สายบางซื่อ-ตลิ่งชัน เที่ยวแรกออกจากบางซื่อ เวลา 06.00 น. ส่วนเที่ยวแรกออกจากตลิ่งชัน เวลา 06.06 น. เที่ยวสุดท้ายออกจากบางซื่อ เวลา 19.30 น. เที่ยวสุดท้ายออกจากตลิ่งชัน เวลา 19.36 น.



ระบบฟีดเดอร์เชื่อมเข้าสถานียังไม่สมบูรณ์

สำหรับการเดินทางเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อและสถานีรายทางนั้น ต้องยอมรับว่าการจัดระบบฟีดเดอร์และโครงสร้างพื้นฐานยังไม่สมบูรณ์ 100% ซึ่งคาดว่าก่อนจะถึงกำหนดเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์เดือน พ.ย.จะมีความพร้อมมากขึ้น

โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้จัดรถเมล์ 4 สาย ได้แก่ สาย 49 สาย 67 สาย 79 และ สาย 522 ปรับปรุงเส้นทางเดินรถให้เชื่อมเข้าสถานีสายสีแดง

ขณะที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก่อสร้างทางเดินเชื่อมต่อกับบริเวณทางเดินชั้นใต้ดินของสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 2 จุด คือ บริเวณทางเดินผู้โดยสารของสถานีรถไฟฟ้า MRT บางซื่อ และทางเดินเชื่อมต่อบริเวณชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารของสถานีรถไฟฟ้า MRT บางซื่อ

“ขณะที่สถานีกลางบางซื่อนั้นมีลานจอดรถใต้ดินรองรับได้ถึง 1,600 คัน คาดว่าจะเพียงพอต่อจำนวนผู้โดยสารในช่วงแรกที่คาดว่ายังมีไม่มากนัก”



เร่งปรับปรุงถนนเชื่อมเข้าสถานีรังสิต เกตเวย์ด้านเหนือ

สำหรับสถานีรังสิต ซึ่งเป็นเกตเวย์จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการดำเนินการพัฒนาโครงข่ายจุดเชื่อมต่อผู้โดยสารเสร็จแล้ว คือ ปรับปรุงถนนหน้าสถานี (ฝั่งตะวันตก) รฟท.ดำเนินการ และการปรับปรุงทางเข้าสถานีจาก ทล.346 (ทิศทางจากรังสิต) วงเงิน 4 แสนบาท (กรมทางหลวง ดำเนินการ)

ส่วนที่จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมอีกคือ ก่อสร้างสะพานกลับรถด้านทิศใต้ วงเงินรวม 206 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 12 เดือน คาดแล้วเสร็จเดือน มี.ค. 2566, ปรับปรุงจุดกลับรถใต้สะพานข้ามทางรถไฟ ทางเท้า และระบบระบายน้ำ (ทิศทางจากปทุมธานี) วงเงิน 4.6 ล้านบาท ดำเนินการช่วงปี 2565 โดยกรมทางหลวง (ทล.)

ในส่วนของการจ้างบริการเพื่อเตรียมความพร้อมการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้า 12 สถานี ประกอบด้วย 1. จ้างงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) และจราจร 2. จ้างบริการทำความสะอาดอาคารและบริเวณสถานี 3. งานบริหารจัดการงานอาคารและสถานที่บริเวณสถานี 4. จ้างบริการรักษาความปลอดภัยและทำความสะอาดภายในอาคารและพื้นที่โดยรอบของโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีแดง (CT Depot) และทำความสะอาดขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง 5. จ้างติดตั้งระบบจัดการจราจรภายในบริเวณลานจอดรถสถานีกลางบางซื่อ และจัดเก็บค่าบริการจอดรถ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดหาตามขั้นตอน

ด้านการจัดประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ อยู่ระหว่างจัดทำร่างประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกเอกชนดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์และป้ายโฆษณาบริเวณอาคารสถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 12 สถานี คาดว่าจะเสนอบอร์ด รฟท.พิจารณาอนุมัติร่างทีโออาร์ในเดือน ส.ค.นี้ คาดว่าจะได้เซ็นสัญญาและเริ่มดำเนินการในเดือน พ.ย. 64 โดยจะแบ่งเป็นเฟสเพื่อเปิดให้บริการได้รวดเร็วขึ้น

โดยมี 4 ฉบับ คือ
1. ประกาศเชิญชวน เสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีกลางบางซื่อ

2. ประกาศเชิญชวน เสนอผลตอบแทนการเช่าสิทธิติดตั้งป้ายโฆษณาบริเวณอาคารสถานีกลางบางซื่อ

3. ประกาศเชิญชวน เสนอผลตอบแทนการใช้ประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟฟ้า 12 สถานี

4. ประกาศเชิญชวน เสนอผลตอบแทนการเช่าสิทธิติดตั้งป้ายโฆษณาบริเวณสถานีรถไฟฟ้า 12 สถานี



โจทย์สุดหิน...ห้ามขาดทุน

การให้บริการโครงการรถไฟฟ้ารายได้มาจาก 2 ส่วน คือ จากค่าโดยสาร และจากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งรายได้จากค่าโดยสารจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณผู้โดยสาร แต่... สถานการณ์ในปัจจุบัน ปริมาณการเดินทางลดลงไปอย่างมาก โดยล่าสุดพบว่าผู้โดยสารระบบรางทั้งระบบเหลือเพียง 98,453 คน/วันเท่านั้น หรือลดลงถึง 91.82% เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณผู้โดยสารช่วงปี 2562 ก่อนที่จะเกิดโรคโควิด-19 ที่ระบบรางมีผู้โดยสารรวมถึงกว่า 1.2 ล้านคน/วัน

ขณะที่ปริมาณผู้โดยสารและอัตราค่าโดยสารจะผันแปรโดยตรงกับรายได้ ซึ่งรถไฟสายสีแดงมี 13 สถานี ระยะทาง 41.56 กม. กำหนดอัตราเริ่มต้นที่ 12 บาท สูงสุด 42 เฉลี่ย 1.01 บาท/กม.

ทั้งนี้ ตามผลการศึกษาเดิม คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในปีแรกที่เปิดให้บริการเฉลี่ยที่ 86,620 คน/วัน โดยคาดว่าจะมีรายได้ในปีแรกรวมประมาณ 1,153 ล้านบาท โดยมาจากค่าโดยสารราว 673 ล้านบาท และมีรายได้เชิงพาณิชย์ 480 ล้านบาท

ส่วนรายจ่ายรวมอยู่ที่ 1,267 ล้านบาท หลักๆ จะเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรประมาณ 376.6 ล้านบาท ค่าไฟฟ้าประมาณ 327 ล้านบาท ค่าประปา 7.5 ล้านบา ค่ารักษาความปลอดภัยและรักษาความสะอาดอีกราว 284.1 ล้านบาท ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา 90.3 ล้านบาท

ภายใต้สมมติฐานรายรับ รายจ่ายนี้ เท่ากับในปีแรกสายสีแดงจะยังขาดทุนประมาณ 113 ล้านบาท โดยยังไม่หักค่าดอกเบี้ย เงินกู้งานไฟฟ้าและเครื่องกลอีกกว่า 317 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีผลขาดทุนสุทธิ 431 ล้านบาท

สำหรับประมาณการผู้โดยสารนั้น ในข้อเท็จจริงมีการปรับลดลงมากกว่าครึ่ง ประกอบกับในช่วงสถานการณ์โควิด-19 รุนแรงหนักหน่วงเช่นนี้ คงไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารได้เลย ...คงได้แต่รอลุ้นว่าในเดือน พ.ย. 2564 ที่จะมีการเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ และเริ่มเก็บค่าโดยสารสถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายลงแล้วหรือไม่

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์กลับคืนปกติ รฟท.คาดหวังว่าจะสามารถใช้โปรโมชันการปรับลดอัตราค่าโดยสาร การจัดทำตั๋วเดือน เข้ามาใช้เพื่อจูงใจให้เพิ่มผู้ใช้บริการรถไฟสายสีแดง

หากมีการเปิดประเทศ การเดินทางกลับสู่ปกติ สนามบินดอนเมืองเปิด สายการบินให้บริการนักท่องเที่ยวกลับมา คาดหมายว่าสนามบินดอนเมืองจะป้อนผู้โดยสารเข้าสายสีแดงอย่างน้อย 10,000 คน/วัน ขณะที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ทุบโต๊ะห้ามสีแดงขาดทุน...โจทย์สุดหิน! ที่ รฟท.ต้องหาคำตอบให้เจอ...


Last edited by Wisarut on 04/08/2021 8:22 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2021 8:07 am    Post subject: Reply with quote

สายสีแดงที่เพิ่งเปิดวันนี้ มีระยะทางแค่เสี้ยวเล็ก ๆ ของทั้งโครงการ แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นให้พัฒนาส่วนต่อขยายต่อไปครับ
Render Thailand
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 20:12 น.

ตามแผนแม่บท สายสีแดงจะเป็นรถไฟฟ้าชานเมือง เชื่อมเมืองรอบ ๆ กับกรุงเทพมหานคร
สายสีแดงเข้ม แนวเส้นทางเหนือ-ใต้ เริ่มตั้งแต่ สถานีบ้านภาชี ผ่านรังสิต สถานีกลางบางซื่อ หัวลำโพง วงเวียนใหญ่ มหาชัย แม่กลอง สิ้นสุดที่สถานีปากท่อ
สายสีแดงอ่อน แนวเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก เริ่มตั้งแต่สถานีฉะเชิงเทรา ผ่านลาดกระบัง พญาไท สถานีกลางบางซื่อ ตลิ่งชัน ศาลายา สิ้นสุดที่สถานีนครปฐม
ก็ได้แต่หวังว่าส่วนต่อขยายจะรีบดำเนินการต่อทันที

รถไฟที่ใช้กับสายสีแดง ผลิตโดย HITACHI ทั้งหมด 25 ขบวน
Render Thailand
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 20:12 น.

แบ่งเป็น ขบวนละ 6 ตู้ 15 ขบวน สำหรับเส้นทางบางซื่อ-รังสิต
ขบวนละ 4 ตู้ 10 ขบวน สำหรับเส้นทาง บางซื่อ-ตลิ่งชัน
รถวิ่งได้ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วที่ให้บริการ 110-145 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
วัสดุขบวนรถไฟเป็น Aluminium Plate, Aluminium Extrusion
วิ่งบนทางรถไฟขนาด 1 เมตร
ระบบอาณัติสัญญาณ ควบคุมการเดินรถใช้ระบบ ETCS Level 1
และใช้ไฟจากสายส่งไฟเหนือศรีษะ แรงดันไฟฟ้า 25 kV
ขบวนละ 6 ตู้ รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,710 คน
ขบวนละ 4 ตู้ รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1,120 คน

นายกฯเปิดหวูดกระหึ่ม!! รถไฟฟ้าสายสีแดงเที่ยวปฐมฤกษ์
*ปลายปีประมูลต่อขยาย4เส้น53กม.6.7หมื่นล้าน
*รังสิตไปถึงศูนย์ธรรมศาสตร์/ ตลิ่งชัน – ศาลายา
*ตลิ่งชัน – ศิริราช/ยืดหัวลำโพง-บางซื่อ–หัวหมาก
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2966585050229660

ขึ้น “รถไฟสายสีแดง” ฟรี เชื่อมสนามบินดอนเมือง-รถไฟฟ้า 3 สาย เส้นทางไหนบ้าง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 13:14 น.

รฟท.เปิดให้ประชาชนนั่งรถไฟสายสีแดง ฟรี 4 เดือน เล็งเก็บค่าโดยสารภายในเดือนพ.ย.นี้ ลุยเชื่อมต่อระบบขนส่งรถไฟฟ้า 3 สาย-สนามบินดอนเมือง คาด3-5 ปี ดึงเอกชนร่วมประมูลพีพีพี เตรียมสร้างต่อขยายเพิ่ม 4 เส้นทาง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายในงานพิธีเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการระบบรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและช่วงบางซื่อตลิ่งชัน ว่า สำหรับการเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงทั้ง 2 เส้นทาง ประกอบด้วย ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 10 สถานี ใช้ระยะเวลาการเดินทางประมาณ 25 นาที และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 3 สถานี ใช้ระยะเวลาการเดินทางประมาณ 15 นาที เบื้องต้นรฟท.ได้มอบหมายให้บริษัทรถไฟฟ้า รฟท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นผู้บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าในช่วงแรก เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ในการเดินรถ หลังจากนั้นจะเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาบริหารต่อไป


ส่วนตารางการเดินรถไฟสายสีแดง จะเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.-ปลายเดือนพ.ย. 2564 ตั้งแต่เวลา 6.00-20.00น.โดยขบวนรถจะให้บริการทุกๆ 15-30 นาที สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,710 คนต่อเที่ยว ขณะเดียวกันรฟท.ได้กำหนดจำนวนผู้โดยสารภายในขบวนรถไม่เกิน 50%ของที่นั่ง ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังจากนั้นจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบต่อไป


นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า รฟท.ได้ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ปรับเส้นทางการดินรถโดยสารประจำทางและจัดระเบียบรถแท็กซี่พื่อรองรับประชาชนใช้บริการรถไฟสายสีแดง ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.จุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้า MRT บางซื่อ สายสีน้ำเงินและสถานีกลางบางซื่อ 2.จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT บางซ่อน สายสีม่วง 3.จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าโมโนเรลสถานีหลักสี่ สายสีชมพู และ 4.จุดเชื่อมทางเดินลอยฟ้า (Sky Walk) ของสนามบินดอนเมือง



ขณะเดียวกันความคืบหน้าโครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ปัจจุบันรฟท.เร่งดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด 4 เส้นทาง ประกอบด้วย ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง โดยเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และรถไฟไทย-จีน (ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในปี 2568 ทั้งนี้รฟท.มีแผนบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีกลางบางซื่อ โดยขอรับเงินกู้จากองค์การความมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า)

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ส่วนค่าโดยสารรถไฟสายสีแดง ที่ผ่านมาทางกระทรวงคมนาคมได้ประชุมร่วมกับรฟท.,กรมการขนส่งทางราง,สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แล้วพบว่า หลักในการคิดค่าโดยสารใช้สูตรการคิดค่าแรกข้าวของสถานี โดยใช้สูตรการคำนวณของ ADB ในปี 2544 อยู่ที่ 10 บาทx ดัชนีผู้บริโภค (CPI non food and Beverage) ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 1.88 บาท+10 บาท= 11.83 บาท ทำให้อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 12-42 บาท เฉลี่ยการเดินทางอยู่ที่ 2 บาทต่อกิโลเมตร (กม.)


“ได้มอบหมายให้รฟท.,กรมการขนส่งทางราง,สนข. ศึกษาตั๋วโดยสารพิเศษรายเดือน สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ,นักเรียน,ผู้ด้อยโอกาส เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน ทั้งนี้ได้มีการศึกษาการเก็บอัตราค่าโดยสารแล้วจะทำให้ผลประกอบการรถไฟสายสีแดง พบว่า หากมีการเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์สามารถนำรายได้มาชดเชยให้กับค่าโดยสารดังกล่าวได้ เนื่องจากการดูแลค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคภายในสถานีกลางบางซื่อในแต่ละเดือนค่อนข้างสูง ซึ่งจะต้องรายงานให้กระทรวงคมนาคมทราบ โดยคำนึงถึงประชาชนเป็นหลักและโครงการฯ สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากเป็นการกู้เงินลงทุนของรัฐบาล ทั้งนี้ตามแผนภายใน 3-5 ปี จะเปิดประมูลในรูปแบบพีพีพีโดยให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ต่อไป”


ทั้งนี้โครงการรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงทั้ง 4 โครงการ ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้-ต้นปี 2565 เนื่องจากทั้ง 4 โครงการถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 1:30 pm    Post subject: Reply with quote

IRJ รายงานเรื่องการเปืดการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงแบบ trial run

Trial operation begins on Bangkok’s Red Line
Aug 3, 2021
Written by
David Burroughs
Commercial services are due to begin in November.

https://www.railjournal.com/passenger/commuter-rail/trial-operation-begins-on-bangkoks-red-line/

รถไฟชานเมืองสายสีแดงให้บริการฟรีแล้ว!!

การรถไฟฯ เปิดให้ประชาชนใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งการเดินทางจากรังสิต-บางซื่อ จะใช้เวลาเพียง 25 นาที และจากตลิ่งชัน-บางซื่อ ใช้เวลาเพียง 15 นาที ทำให้สามารถเดินทางจากย่านชานเมืองเข้าสู่ใจการเมืองเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=OQodbOEAtlQ
twitter : https://twitter.com/pr_srt/status/1422825885485334528?s=29
Facebook Bang sue grand station : https://fb.watch/79-H638ppN/
Facebook ทีมพีอาร์การรถไฟฯ : https://fb.watch/79-FZODgPJ/
tiktok : https://vt.tiktok.com/ZGJAoSHxj/
https://www.youtube.com/watch?v=OQodbOEAtlQ

เล็งเปิด “สายสีแดง” เต็มรูปแบบ พ.ย. 64 “ศักดิ์สยาม” สั่งลุยประมูลส่วนต่อขยาย
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา- 19:47 น.


“ศักดิ์สยาม” วางกำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ พ.ย. 64 นี้ เผยต้องจับตาโควิดใกล้ชิดด้วย ด้านค่าโดยสารย้ำอยู่ที่ 12-42 บาท ส่วนการข้ามระบบสายสีน้ำเงินยังมีรอยต่อ พร้อมสั่ง “รถไฟ” ลุยประมูลส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทางช่วงปลายปี 64-ต้นปี 65

วันที่ 2 สิงหาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า แผนการเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน แบบเต็มรูปแบบ คาดว่าจะอยู่ในช่วงเดือน พ.ย. 2564 แต่ขอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อีกครั้งว่าจะเป็นอย่างไรด้วย เพราะมีผลกับการให้บริการ



ย้ำชัด 12-42 บาท
ส่วนอัตราค่าโดยสาร กระทรวงคมนาคมได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งหลักการคิดค่าโดยสารต้องเริ่มจากอัตราค่าแรกเข้า อ้างอิงตามมาตรฐานของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ให้ตัวเลขไว้เมื่อปี 2544 ที่ 10 บาท และคูณด้วย CPI Non- Food and Beverage (ค่าดัชนี CPI) ที่ 1.88 บาท จึงปัดเป็นค่าแรกเข้าที่ 12 บาท ส่วนราคาในการเดินทางแต่ละสถานีจะอยู่ที่ประมาณ 2.1 บาท/กม. ปัดเศษเหลือ 2 บาท ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ในแต่ละเส้นทาง


นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ สนข.และกรมรางศึกษาตั๋วพิเศษ ตั๋วเดือน สำหรับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ด้อยโอกาส เพื่อช่วยลดค่าครองชีพได้อีก อย่างไรก็ตาม ในการเดินทางเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มายังสายสีแดงนั้นจะไม่คิดค่าแรกเข้าหรือจ่ายค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวที่ต้นทาง

รับข้ามระบบสายสีน้ำเงินมีรอยต่อ 1 ขา
ส่วนการเดินทางจากสีแดงเชื่อมเข้าระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น เบื้องต้นยังคงต้องจ่ายค่าแรกเข้าให้กับระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยจะมีการเจรจากับเอกชนเพื่อให้เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวต่อไป

ทั้งนี้ ให้ ร.ฟ.ท.ศึกษาในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อนำรายได้มาชดเชยค่าโดยสาร รวมถึงให้ดูแลค่าใช้จ่ายของรถไฟสายสีแดงได้คุ้มทุน โดยมอบหมายให้ นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงศ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิจารณาหลัก คือ ให้โครงการบริการได้และอยู่รอด ซึ่งโครงการรถไฟสายสีแดง รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนหมด และประมาณ 2-3 ปีข้างหน้าจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)

สั่งลุยส่วนต่อขยาย ปลายปี’64-ต้นปี’65
ขณะที่การดำเนินการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 4 เส้นทาง ขณะนี้ได้ให้ ร.ฟ.ท.เร่งรัดดำเนินการประมูลก่อสร้างงานโยธาตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติแล้ว คาดว่าจะประมูลได้ช่วงปลายปี 2564-ต้นปี 2565


ส่วนรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) สายสีแดง ซึ่งคาดว่าจะปรับเป็นการ PPP เฉพาะงานเดินรถและซ่อมบำรุง (Operation & Maintenance : O&M) ทั้งส่วนแรกและส่วนต่อขยาย

สำหรับรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงินกว่า 6.7 หมื่นล้านบาท ได้แก่ 1.สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท 2.สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. กรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท 3.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท ครม.อนุมัติเมื่อปี 2562 และ 4.สีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท ครม.อนุมัติตั้งแต่ปี 2559

อัดความถี่รถสูงสุด 78 เที่ยว/วัน
ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ในช่วงการทดลองเปิดให้ใช้บริการสายสีแดงนั้นจะให้บริการ ระหว่างเวลา 06.00-20.00 น. โดยเดินรถในช่วงเวลาเร่งด่วน 07.00-09.30 น. และ 16.30-19.30 น. ทุก 15 นาที นอกเวลาเร่งด่วน ทุก 30 นาที รวมเส้นทางละ 78 เที่ยวต่อวัน ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะจำกัดจำนวนผู้โดยสารทุกประเภทในขบวนรถ และสถานีไม่เกิน 50% ตามมาตรการรักษาระยะห่าง ป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งในช่วงบางซื่อ-รังสิต จะรองรับผู้โดยสารได้ 855 คนต่อเที่ยว จากปกติรองรับได้ 1,710 คนต่อเที่ยว และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน รองรับได้ 560 คนต่อเที่ยว จากปกติรองรับได้ 1,120 คนต่อเที่ยว

ท่าอากาศยานดอนเมืองเปิด SKYWALK เชื่อมต่อรถไฟสายสีแดงเข้าสนามบิน
หน้าธุรกิจ ธุรกิจท่องเที่ยว
วันที่ 5 สิงหาคม 2564 เวลา 11:20 น.

สนามบินดอนเมือง เปิดให้บริการทางเดินลอยฟ้า SKY WALK เชื่อมต่อโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต สถานีดอนเมือง เข้ามายังสนามบิน ณ บริเวณชั้น2 อาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น และเชื่อมต่อไปยังอาคารผู้โดยสารในประเทศ

ส่วนกิจการพิเศษและมวลชนสัมพันธ์ ฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง เปิดเผยว่า หลังจากรถไฟสายสีแดงได้เปิดให้บริการแล้ว ล่าสุดท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.)ได้เปิดให้บริการทางเดินลอยฟ้า (SKY WALK) เชื่อมต่อโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต สถานีดอนเมือง เข้ามายังสนามบินดอนเมืองแล้ว



ณ บริเวณชั้น 2 อาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น และเชื่อมต่อไปยังอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ อาคาร 2 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม2564 โดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเปิดให้บริการ ตั้งแต่ 06.30 น. - 20.00 น.


ทั้งนี้ทางเดินลอยฟ้าของสนามบินดอนเมือง จะเริ่มตั้งแต่แนวเขตรั้วสนามบินดอนเมือง จากนั้นเรียบขนานไปกับแนวรั้วของสนามบิน และเลี้ยวขวาเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับทางเดินบริเวณ ชั้น 2 อาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ความยาว 110 เมตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

ได้แก่ ป้ายบอกทาง ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง กล้องวงจรปิดระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ทางหนีไฟ รวมถึงติดระบบปรับอากาศตลอดทางเดิน นอกจากนี้ยังมีทางลาด พร้อมลิฟต์ 1 ตัว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ รวมทั้งยังมีบันไดเดินลงระดับพื้นถนน สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางต่อด้วยรถโดยสารสาธารณะบริเวณริมถนนวิภาวดีรังสิตด้วย


โดยสนามบินดอนเมืองมั่นใจว่าจะสามารถช่วยอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการเดินทางมายังอาคารผู้โดยสารให้กับผู้ใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้เป็นอย่างดี และมุ่งมั่นพัฒนาระดับการบริการให้ดียิ่งขึ้น เตรียมความพร้อมในการเปิดให้บริการเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก ปลอดภัย และสร้างความประทับใจ


หากพบเห็นปัญหาในการให้บริการ หรือปัญหาอื่นๆ สามารถติดต่อไปยัง AOT Contact Center 1722 หรือศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทดม. โทร 0 2535 1192 ตลอด 24 ชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 4:58 pm    Post subject: Reply with quote

#ข่าวร้อนในญี่ปุ่น 🇹🇭 สื่อญี่ปุ่นลง ไทยเปิดสายสีแดง เป็นรถไฟที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ชาวเนทร่วมชื่นชม แห่คอมเมนต์กันมากมาย (ขอยกมาบางส่วน)
ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น
วันที่ 4 สิงหาคม 2564 เวลา 19:54 น.



🥰 ญี่ปุ่น-ไทย เราคือเพื่อนกัน !!
🤔 ความแข็งของเก้าอี้ในรุ่น E231 เอาเรื่องเลยนะ
😊 สุดท้ายแล้วของญี่ปุ่น ด้วยเทคโนโลยีและคุณภาพที่ดี ใช้ไม่ต้องกังวล
😊 ผลิตในญี่ปุ่น ถึงว่าดูดีเชียว
😊 ได้ยินคำว่าผลิตในญี่ปุ่นแล้ว มันชื่นใจ !!
😊 อย่าทำให้คนไทยเสียใจนะ จงดูแลรักษามันดีๆ
😊 สีขาวและแดงนี่ ธงชาติญี่ปุ่นเลยนะ ขอบคุณประเทศไทย
😊 ผมอยากไปนั่ง หากได้ไปเมืองไทย
🙄 MRT และ BTS ทำในเยอรมัน น่ากลัวนะ ตอนประตูจะปิด ดังปิ๊ดๆๆ
😅 160 เยน จากไทยถึงชิบูย่า
🤔 ฉันอยากให้นำรถไฟ Made in Japan ไปขายเวียดนามและสิงค์โปร์ด้วย
😮 โอว รถไฟในไทย เท่ห์มาก
🤔 สายสีม่วงก็เพิ่งเปิดไปไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในที่ชุมชน รถไฟใช้ได้ดีเลยละ
🤔 ถ้าคุณขึ้นรถไฟในประเทศที่ร้อน ต้องมีเครื่องดื่มเย็นๆ จะสดชื่น
🤔 ของฮิตาชิใช่ไหม อยากให้คาวาซากิทำรถไฟไปขายบ้าง
😊 เจ๋งไปเลย
🤔 ประเทศไหนวางรางให้เค้าอ่ะ ?
🤔 Dejavu เหมือน A-Train เลย
🤔 เพราะสถานีอยู่ใต้ดิน เลยรู้สึกเหมือนรถไฟใต้ดินมากกว่านะ
🤔 น่าจะเอาเบาะมารองก่อนนั่งนะ
🙂 ในต่างประเทศมีคนนิสัยไม่ดีเยอะ เก้าอี้พลาสติกน่าจะดีกว่า
😅 เก้าอี้ไม่มีเบาะเหรอ ฮ่าๆๆ
😊 ไทยใช้รถไฟจากญี่ปุ่นมานานกว่า 124 ปีแล้วนะ
😊 เหมือนรถไฟจากเกาหลีเลย Hyundai Rotem
😊 ภูมิใจๆ
🤔 มันต่างจากรถไฟที่อินโดนีเซียนะ
😊 ฉันชอบๆ
🤔 ฉันชอบฮิตาชินะ ไม่ชอบของมิตซูบิชิเลย
😃 ขายอีกๆ
😁 อันนี้ยกเครดิตให้กับรัฐบาลทหารใช่ไหม?
😮 เส้นทางยาว 40 กม !
😅 เก้าอี้พลาสติก ฮ่าๆๆ
🤔 ทำไมรถไฟต่างประเทศมีเสากลางด้วย?
🤔 เก้าอี้น่าจะแข็งนะ
😘 อาริกาโตะ คิโมจิ สุโก้ย เน้..
🤔 คล้าย Tobu 70000 series นิดหน่อย
🤔 ก้นจะเจ็บไหม ?
🤔 ทำไมมีแต่ลูกเสือนั่ง?
😮 เฮ้ย พลาสติก?
😮 ประเทศไทยกำลังจะดูทันสมัยแล้ว
.
🙏 ขอบคุณภาพและที่มาจาก https://www.youtube.com/watch?v=yWdogpZb_BI
https://www.youtube.com/watch?v=Tk-2PwATG90
https://www.youtube.com/watch?v=5O1UgZiEKuA
https://www.facebook.com/KrobkruengJAPAN/posts/2514885138651539


Last edited by Wisarut on 06/08/2021 8:22 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 7:01 pm    Post subject: Reply with quote

🚝เส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงกับการเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะ
Airport Link
5 สิงหาคม 2564 เวลา 14:19 น.

🚝ให้การเดินทางเป็นเรื่องง่ายๆ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง กับการเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอื่นๆ ที่เข้ากันอย่างลงตัว เพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น...
💙รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
💜รถไฟฟ้าสายสีม่วง
💗รถไฟฟ้าสายสีชมพู
✈️ท่าอากาศยานดอนเมือง
🚞รถไฟทางไกล
🚌รถประจำทางสายต่างๆ
🔺RED LINE BKK 🔺
โครงการระบบรถไฟชานเมืองที่ทันสมัย รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต
🚝#การเดินทางที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และสบาย พร้อมเปิดให้คนไทยได้ทดลองใช้บริการแล้ววันนี้ ทดลองนั่งโดยสารฟรี 3 เดือน❗
🙏🏻ก่อนเข้าใช้บริการอย่าลืม Scan QR Code บริเวณก่อนทางเข้าภายในระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง เพื่อพัฒนาในการให้บริการที่ดียิ่งขึ้นค่ะ❤️
https://www.facebook.com/AirportRailLink/posts/4357664604255143


Last edited by Wisarut on 07/08/2021 7:06 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 9:08 pm    Post subject: Reply with quote

สาวที่เป็น พขร. รถไฟฟ้า สายสีแดง
https://www.facebook.com/DeDubaiFlyEmaratiEtihad/posts/4126248784097328
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2021 7:57 am    Post subject: Reply with quote

สรุปการให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงวันแรก (2 ส.ค.64) ให้บริการช่วงบางซื่อ-รังสิต ให้บริการ 4 ขบวน รวม 77 เที่ยวตามแผนเดินรถ ส่วนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ให้บริการ 3 ขบวน รวม 76 เที่ยว จากแผน 78 เที่ยว (งด 2เที่ยวเนื่องจากเกิดเหตุระบบจ่ายไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีบางซื่อชานชาลาสายตะวันตก) มีผู้ใช้บริการจำนวน 2,205 คน
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4294382990608613
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2021 8:18 am    Post subject: Reply with quote

รีวิวการได้ใช้งานสายสีแดงในวันเปิดจริงแล้ว เอาแบบคร่าวๆ
https://www.facebook.com/Thaitrainstory/posts/375872963895347
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2021 8:17 pm    Post subject: Reply with quote


ญี่ปุ่นทดลองนั่งหนูแดงจากสถานีจตุจักรไปด่อนเมือง
https://www.youtube.com/watch?v=dr01JbzWMLE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2021 8:25 pm    Post subject: Reply with quote


ได้ทีอาจารย์สามารถก็เคลมผลงานเลยเชียวนา
https://www.youtube.com/watch?v=HqkQ8AFpMFc
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 109, 110, 111 ... 149, 150, 151  Next
Page 110 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©