RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272924
ทั้งหมด:13584220
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122 ... 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/12/2021 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยกเลิกจุดจอด 3 สถานีดีเดย์ 23 ธ.ค.นี้
TNN 19 ธันวาคม 2564, 12:11 น.

รฟท.ยกเลิกจุดจอด 3 สถานีดีเดย์ 23 ธ.ค.นี้
รฟท.ประกาศหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง ตั้งแต่ 23 ธ.ค.นี้ หลังกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมดเดินรถบนทางยกระดับรถไฟฟ้าชานเมือง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งว่า ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ รฟท.กำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมด เดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมือง จะย้ายการให้บริการไปที่สถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ธ.ค. เป็นต้นไป ซึ่งผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทาง สามารถใช้บริการที่สถานีของระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

สำหรับการบริการเปิดเดินรถไฟทางไกลเส้นทางสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งบนทางยกระดับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเริ่มวันที่ 21 ธ.ค.เป็นต้นไป ทำให้ไม่มีขบวนรถโดยสารวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบางเขน หลักสี่ และดอนเมือง ที่ระดับพื้นบนทางประธานสายเหนืออีกต่อไป แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับการเดินขบวนรถสินค้าและขบวนรถอื่นๆในช่วงเวลากลางคืนหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ทั้งนี้รฟท.จะปิดสถานีบางเขน สถานีหลักสี่ และสถานีดอนเมือง ตลอด 24 ชั่วโมง และให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติในการเดินรถตามคำสั่งทั่วไป เรื่องกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีการปิดสถานีชั่วคราวในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง และคำสั่งทั่วไป เรื่องกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินรถในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง โดยเคร่งครัด ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง



ลุ้นปรับแผนวิ่งรถไฟเชิงสังคม 52 ขบวนเข้า”หัวลำโพง”หลังฟังเสียงประชาชนเดือดร้อนหนัก
เผยแพร่: 19 ธ.ค. 2564 19:16 ปรับปรุง: 19 ธ.ค. 2564 19:16 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

จับตา 20 ธ.ค. คมนาคม-รฟท.ถกแผนปิด”หัวลำโพง”รฟท.จ่อชง วิ่งรถเชิงสังคม 52 ขบวนต่อ ลดผลกระ ด้านสหภาพฯ ชี้ระบบสถานีกลางบางซื่อไม่พร้อม แถมยังมี 14 ขบวนรถเชิงสังคม หยุดแค่ดอนเมือง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าหลังจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็น หัวข้อ “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564 ขณะนี้รฟท.กำลงรวบรวมข้อมูล สรุปความเห็นคิดจากทุกภาคส่วน ซึ่งกระทรวงคมนาคมนั้นพร้อมรับฟังทุกฝ่ายและนำมาประมวลผล ว่าหากดำเนินการแล้วจะเกิด ประโยชน์อะไรกับประชาชนอย่างไรบ้าง

ซึ่งการเปิดเวทีสาธารณะเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้รู้ว่า มีการเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างไร ซึ่งยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมไม่มีแนวคิดทุบสถานี หัวลำโพง และเรื่องการพัฒนาสถานีหัวลำโพงไม่ใช่แนวคิดผม เป็นเรื่องที่เกิดมาก่อนแล้ว มีการศึกษา ตั้งแต่มีการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ผมเพียงแค่นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาการบริหารงานของ รฟท. ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประสบภาวะขาดทุนเท่านั้น เพราะหลายประเทศทำสำเร็จแล้ว เช่า ญี่ปุ่น ซึ่งหากข้อมูล ยังไม่ตกผลึก ก็ยังจะไม่ดำเนินการ

ส่วนเรื่องการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ขณะนี้ ขืนยันว่า จะมีการเดินรถเข้าไป สถานีหัวลำโพง จำนวน 22 ขบวน ตามแผนของ รฟท. ซึ่งได้ให้ โจทย์ รฟท. ไปพิจารณาและวิเคราะห์ว่า จะมีแนวทางอย่างไรที่ทำให้การเดินรถทั้ง 22 ขบวนลดผลกระทบกับการจราจรทางบก ได้อีกหรือไม่อย่างไร หากมีก็ให้เสนอมา แต่หากไม่มีและวิ่ง 22 ขบวน ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว ก็ดำเนินการตามแผนนี้

ส่วนกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ขอให้ รฟท. พิจารณาทบทวนชะลอแผนงานการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล(LD)ไปที่สถานีกลางบางซื่อ และคงการเดินรถชานเมืองทั้งหมด เข้าสถานีหัวลำโพงต่อไปก่อน เนื่องจาก ยังไม่มีความพร้อม เพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบนั้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ทุกเรื่องทุกแนวคิดต้องมีเหตุผลและหลักการสนับสนุน จะใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาสนับสนุน หรือตัดสินใจไม่ได้ ผมไม่เคยทำงานแบบนั้น คงต้องนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งการปรับแผนเดินรถต่างๆ ขณะนี้รฟท.กำลังเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

อย่างไรก็ตาม ช่วงบ่าย วันที่ 20 ธ.ค.64 จะมีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการ และการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ โดยจะนำเรื่องการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ที่สถานีกลางบางซื่อมาพิจารณาด้วย

@รฟท.จ่อเสนอวิ่งรถเชิงสังคม 52 ขบวนเข้าหัวลำโพงไปถึงปีใหม่ ลดผลกระทบ

รายงานข่าว แจ้งว่า จากการที่รฟท.ได้เปิดเวทีรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็นของประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงมีข้อเรียกร้องจากสหภาพฯรฟท.ให้ชะลอกรณีการย้ายรถไฟทางไกลและรถไฟชานเมืองจากสถานีหัวลำโพงไปให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ ออกไปจากที่กำหนดเริ่มในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ดังนั้น รฟท.จะสรุปรายละเอียดข้อคิดเห็น เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อขอเดินรถบริการเชิงสังคม ที่มีทั้งหมด ประมาณ 52 ขบวน /วัน เข้าสถานีหัวลำโพงต่อไปก่อน เพื่อลดผลกระทบกับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ที่คาดว่าจะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยรถไฟจำนวนมาก

หลังจากนั้น ควรเปิดรับฟังความเห็นประชาชนอีกครั้งเพื่อพิจารณาปรับรายละเอียดและแนวทางใดที่เกิดประโยชน์สุงที่สุด

@ไม่ให้รถเชิงสังคมเข้าสถานีกลางบางซื่อ 14 ขบวนต้องไปขึ้นที่”ดอนเมือง”

รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.2564 เป็นต้นไป ตามแผนเบื้องต้น รถไฟทางไกลสายเหนือ สายอีสาน จะหยุดบริการ ที่สถานีกลางบางซื่อ ไม่เข้าสถานีหัวลำโพงแล้ว จำนวน 42 ขบวน /วัน (ไป 21 ขบวน กลับ 21 ขบวน) เช่น กรุงเทพ -เชียงใหม่ ,กรุงเทพ-เด่นชัย ,กรุงเทพ-ศิลาอาสน์ ,กรุงเทพ-หนองคาย , กรุงเทพ-อุบลราชธานี เป็นต้น

ส่วนสายใต้ จะหยุดที่สถานีบางซื่อ (สถานีเก่า) ไม่เข้าสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 26 ขบวน/วัน (ไป 13 ขบวน กลับ 13 ขบวน) ได้แก่ กรุงเทพ-หาดใหญ่,กรุงเทพ-สุราษฏร์ธานี,กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช กรุงเทพ-ตรัง , กรุงเทพ-สุไหงโกลก
สำหรับขบวนรถธรรมดา อีก 14 ขบวน (ไป7 ขบวน กลับ 7 ขบวน) จะหยุดบริการที่สถานีดอนเมือง ไม่วิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ ได้แก่ กรุงเทพ-นครสวรรค์ ,กรุงเทพ-บ้านภาชี, กรุงเทพ-ลพบุรี ,กรุงเทพ-แก่งคอย,กรุงเทพ-พิษณุโลก,กรุงเทพ-ตะพานหิน ,กรุงเทพ-สุรินทร์

โดยสถานีดอนเมือง จะเป็นสถานีต้นทาง/ปลายทาง ดงนั้น ผู้โดยสารที่ต้องการจะเข้าบางซื่อ จะต้องลงที่สถานีดอนเมืองและเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง โดยรฟท.ระบุว่า สามารถใช้ตั๋วโดยสารเดิมในการใช้บริการสายสีแดงได้

สาเหตุที่รถไฟธรรมดา 14 ขบวนดังกล่าว ไม่สามารถเข้าสถานีกลางบางซื่อได้ เนื่องจากเป็นรถไฟดีเซล และเป็นบริการรถเชิงสังคม ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายการโดยสาร รฟท. ระบุว่า รถดีเซลไม่ให้เข้าสถานีบางซื่อ จะให้เข้าเฉพาะขบวนรถเชิงพาณิชย์ เพื่อลดจำนวนรถและผู้โดยสารเนื่องจากการ Operate สถานีกลางบางซื่อ ยังไม่พร้อม

ขณะที่การทำขบวนรถธรรมดา ดังกล่าว หากให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ. จะต้องลากขบวนออกจากเดปโป้บางซื่อขึ้นไปบนทางยกระดับ จนถึงวัดเสมียรนารี จากนั้นต้องถอยขบวนรถกลับมาที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเสียเวลา อีกทั้งหัวรถจักรมีไม่เพียงพอที่จะลากไปตั้งขบวน จึงตัดปัญหาหยุดสถานีสุดท้ายที่ ดอนเมือง เพื่อให้รถลากออกจาเดปโป้ไปทำขบวนที่สถานีดอนเมือง ไม่ต้องย้อนกลับมาที่สถานีกลางบางซื่อ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2021 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

ดันสร้างทางคู่ "ขอนแก่น-หนองคาย" 2.97 หมื่นล้าน บอร์ด รฟท.ไฟเขียวลงทุน เร่งชง ครม.ประมูลปี 65
เผยแพร่: 20 ธ.ค. 2564 11:39 ปรับปรุง: 20 ธ.ค. 2564 11:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

บอร์ด รฟท.เคาะรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 2.97 หมื่นล้านบาท เร่งชง ครม.คาดอนุมัติในไตรมาส 2/65 เดินหน้าประมูล เริ่มสร้างปี 66 พร้อมเร่งดันช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย เชื่อมต่อสายเด่นชัย-เชียงของไร้รอยต่อ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2564 มีมติอนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. มูลค่าโครงการ 29,748 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจ้างที่ปรึกษา สำรวจอสังหาริมทรัพย์ 9 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 369 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาจัดการประกวดราคา 7 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 28,759 ล้านบาท ค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้าง 604 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการปี ‪2565-2569‬

หลังจากนี้ รฟท.จะสรุปรายละเอียดนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป โดยคาดไทม์ไลน์เบื้องต้นว่า ครม.จะอนุมัติโครงการประมาณไตรมาส 2 ปี 2565 จากนั้นจะดำเนินการ ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ไตรมาส 3-4 ปี 2565 พร้อมกับจัดทำร่าง TOR ราคากลางและประกวดราคา จากนั้นเริ่มสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในปี ‪2566-2567‬ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2566 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน แล้วเสร็จต้นปี 2569

สำหรับรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เป็นหนึ่งในโครงการในแผนการพัฒนารถไฟทางคู่ระยะ 2 ที่มีจำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กม. วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.73 แสนล้านบาท ซึ่งจากที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ รฟท.ศึกษาและจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งพบว่าโครงการช่วงขอนแก่น-หนองคายมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นเส้นทางตามยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อกับ สปป.ลาว ที่มีเส้นทางรถไฟเชื่อมไปยังประเทศจีนตอนใต้ และเปิดให้บริการแล้ว

นอกจากนี้ยังมีความพร้อมที่สุด เพราะมีการออกแบบแล้ว ได้รับอนุมัติ EIA แล้ว คาดการณ์ปริมาณสินค้าในปี 2580 ที่ 12 ล้านตัน/ปี มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 18.46%

ส่วนรถไฟทางคู่ระยะ 2 ที่เหลืออีก 6 เส้นทาง ได้แก่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย, เด่นชัย-เชียงใหม่, ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา และชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์นั้น เส้นทางที่มีความสำคัญและควรเร่งผลักดัน คือ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ให้มีความสมบูรณ์ไร้รอยต่อ

@ขยายเวลาสร้าง Skywalk เชื่อมสถานีหลักสี่กับ รพ.จุฬาภรณ์อีก 30 วันชดเชยปิดไซด์งานหนีโควิด

นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ยังขยายเวลาก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางเชื่อม Skywalk ระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ (รถไฟสายสีแดง) ตามพระดำริ ออกไป 30 วัน เนื่องจากผลกระทบจากคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้างเป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 34 ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันที่ ‪27 มิถุนายน‬ก 2564 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ทั้งนี้ รฟท.ได้ทำสัญญาจัดจ้างกิจการร่วมค้า NWR-AVP (บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ (จำกัด) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางเชื่อม Skywalk วงเงิน 238.22 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 240 วัน ซึ่งการขยายเวลาก่อสร้างดังกล่าวทำให้สัญญาจะสิ้นสุดวันที่ ‪21 ธ.ค. 2565‬

โดย Skywalk มีความยาว 750 เมตร กว้าง 4 เมตร ปัจจุบันการก่อสร้างกว่า 60% โดยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างส่วนของเสาและการวางคาน แต่ยังล่าช้ากว่าแผนประมาณ 20% เนื่องจากมีปัญหาในการก่อสร้างช่วงแรกส่วนของฐานรากที่มีผลกระทบจากฐานรากโครงการโฮปเวลล์ทำให้ต้องมีการปรับแบบบางส่วน และปัญหาการขาดแคลนแรงงานในช่วงที่เกิดโควิด-19
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2021 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

เสียงค้านได้ผล! "ศักดิ์สยาม" เบรกย้ายรถไฟไปบางซื่อ ยื้ออีก 30 วันให้ศึกษาผลกระทบอีกรอบ
เผยแพร่: 20 ธ.ค. 2564 17:53 ปรับปรุง: 20 ธ.ค. 2564 17:53 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม” ยอมเบรกย้ายรถไฟไป "บางซื่อ" คงเดินรถเข้าหัวลำโพงตามปกติทุกขบวน สั่ง รฟท.เช็กลิสต์ผลกระทบทุกด้านใน 30 วัน ทั้งประชาชน การขนส่ง และจราจร ด้านผู้ว่าฯ รฟท.เตรียมแถลงพรุ่งนี้ (21 ธ.ค.) ขณะที่สายสีแดงผู้โดยสารเฉลี่ยกว่า 1 หมื่นคน/วัน สั่งเร่งทำฟีดเดอร์เข้าสถานีรังสิตเพิ่มความสะดวก

วันที่ 20 ธ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 8/2564 เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการให้บริการหลังการเปิดบริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) อย่างเป็นทางการ และการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นายพิเชษฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงบประมาณ หัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ณ ตึกปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บมจ.อสมท โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ร่วมชี้แจง โดยได้นำเสนอเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ และการเปลี่ยนผ่านการเป็นสถานีหลักในการเชื่อมต่อระบบรางของประเทศจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ และการพัฒนาสถานีหัวลำโพงในอนาคต ซึ่ง รฟท.จะได้นำข้อเสนอจากภาคประชาชนจากการรับฟังความคิดเห็นเพื่อไปปรับปรุงการดำเนินการให้มีความเหมาะสมต่อไป

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้มีข้อสั่งการให้ รฟท.ดำเนินการจัดทำเช็กลิสต์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยการดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องเป็นไปตามผลการศึกษา ข้อกฎหมาย มติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง ก่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป

โดยในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว ให้ รฟท.ยังคงรูปแบบการเดินรถไฟทุกขบวนเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมตามเดิม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ใช้บริการทราบต่อไป

รายงานข่าวจาก รฟท.เปิดเผยว่า ข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ ทำให้ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 นี้ รฟท.ยังคงเดินรถไฟทุกขบวนในปัจจุบันเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติ โดยมีรถไฟทางไกล รถไฟเชิงสังคมจำนวน 118 ขบวน ทั้งนี้เนื่องจากใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ซึ่งจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนการเดินรถจากหัวลำโพงไปสถานีกลางบางซื่อ โดยจะมีเวลาในการศึกษาข้อมูลรอบด้านให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จากนั้นมาพิจารณาปรับปรุงต่อไป

@สายสีแดงผู้โดยสารเฉลี่ยกว่า 1 หมื่นคน/วัน สั่งเร่งทำฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรังสิต

นายศักดิ์สยามกล่าวถึงโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 พบว่า ปัจจุบันมียอดผู้โดยสารโดยเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนพฤศจิกายนมีผู้โดยสารรวม 265,038 คน เพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รฟท.ได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้า เช่น การเฝ้าระวังจากระบบเตือนที่ศูนย์ควบคุม จัดให้มีการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น และในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรองรับการให้บริการรถไฟทางไกลของ รฟท.ในอนาคต

ส่วนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรังสิต หรือระบบ Feeder นั้น กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อรถไฟสายสีแดงที่สถานีรังสิต เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 โดยที่ประชุมรับทราบวัตถุประสงค์โครงการและกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล แนวทางการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น และมีการลงพื้นที่สำรวจด้านกายภาพของเส้นทางเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564

สำหรับค่าโดยสาร เมื่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ใน 3 ปีแรก (2565-2568) จะมีค่าแรกเข้า 12 บาท และอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง 1.5 บาทต่อกิโลเมตร กำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดในการเดินทางหนึ่งเที่ยวไม่เกิน 42 บาท เมื่อถึงปีที่เอกชนดำเนินการให้เสนอใช้อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ รฟท.ได้ประชาสัมพันธ์ตารางอัตราค่าโดยสาร (Fare Table) ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าแล้ว โดยสามารถชำระค่าโดยสารได้ทั้งเหรียญโดยสาร (Token) และบัตรโดยสารทั้งบัตรเติมเงินสำหรับการเดินทางแบบเที่ยวเดียว และบัตรโดยสารแบบรายเดือน

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2021 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” สั่ง รฟท. เดินรถทุกขบวนเข้า “สถานีหัวลำโพง” ตามเดิม!
เดลินิวส์ 20 ธันวาคม 2564 17:26 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“ศักดิ์สยาม” สั่ง รฟท. เดินรถทุกขบวนเข้าสถานีหัวลำโพงตามเดิม รอผลเช็กลิสต์ ตรวจสอบผลกระทบกับประชาชนให้ชัดเจนก่อน ขีดเส้นจบภายใน 30 วัน เปิดตัวเลขผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง แค่ พ.ย. เดือนเดียว ทะลุ 2.65 แสนคน เพิ่มขึ้น 31.96%

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ผ่านการประชุมทางไกล  (Video Conference) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” โดยได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดทำเช็กลิสต์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชน และการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ทั้งนี้การดำเนินการทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามผลการศึกษา ข้อกฎหมาย มติ ครม. ที่เกี่ยวข้องก่อนจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป โดยในระหว่างการดำเนินการดังกล่าวให้ รฟท. ยังคงรูปแบบการเดินรถไฟทุกขบวนเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์ และเชิงสังคมตามเดิม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และผู้ใช้บริการทราบต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการให้บริการหลังเปิดบริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) อย่างเป็นทางการแบบเก็บค่าโดยสาร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ส.ค.64 โดยพบว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดง มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดให้บริการในเดือน ส.ค.64

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ทั้งนี้เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารรวม 265,038 คน เพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รฟท. ได้ดำเนินการเชิงรุก เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้า เช่น การเฝ้าระวังจากระบบเตือนที่ศูนย์ควบคุม จัดให้มีการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น และในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่เพิ่มขั้นอย่างต่อเนื่อง และรองรับการให้บริการรถไฟทางไกลของ รฟท. ในอนาคต



เสียงสะท้อนผู้โดยสาร รถไฟชานเมือง สายสีแดง
Dec 21, 2021
Thai PBS News


https://www.youtube.com/watch?v=jJzSrFzvWW0

ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดง สะท้อนหลากหลายปัญหาหลังใช้งาน พบสถานีห่างไกลจากชุมชน ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น นักวิชาการระบุสร้างยึดแนวรถไฟเดิม เหตุที่ห่างไกลชุมชน เพราะในอดีตไม่มีใครอยากอยู่ใกล้รถไฟ ส่วนใหญ่อยากอยู่ใกล้ถนน



รถไฟ ชงครม.ไฟเขียวงบ 7.9 หมื่นล้าน สร้างส่วนต่อขยายสีแดง 4 เส้น
ข่าวสด เด่นออนไลน์ 21 ธ.ค. 2564 15:37 น.

รถไฟ ชงครม.ไฟเขียวงบ 7.9 หมื่นล้าน สร้างส่วนต่อขยายสีแดง 4 เส้น คาดว่าจะสามารถเปิดประมูล พร้อมกัน ทั้ง 4 เส้นทางได้ในช่วงปลายปี 2565

21 ธ.ค. 2564 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดให้ รฟท. เปิดประมูลโครงการรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยาย จำนวน 4 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวม 7.9 หมื่นล้านบาท
ได้แก่ ช่วง
    รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินลงทุน 6.64 พันล้านบาท,
    ช่วง ตลิ่งชัน-ศาลายา 1.06 หมื่นล้านบาท,
    ช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช 4.73 พันล้านบาท และ
    Missing Link ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-หัวหมาก 4.96 หมื่นล้านบาท
ขณะนี้จัดทำรายงานผลการศึกษาโครงการเอกชนร่วมลงทุนหรือ พีพีพี เสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมเสนอผลการศึกษาเสนอให้ บอร์ด รฟท. และกระทรวงคมนาคม ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือน พ.ค. 2565 คาดว่าจะสามารถเปิดประมูล พร้อมกัน ทั้ง 4 เส้นทางได้ในช่วงปลายปี 2565 ได้ผู้รับเหมาและเริ่มก่อสร้างปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/12/2021 6:07 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.เห็นชอบผลศึกษาพัฒนาขนส่งสาธารณะ 3 จว.อีอีซี ผ่านจัดทำระบบFeederรับสายสีแดง
เผยแพร่: 21 ธ.ค. 2564 17:03 ปรับปรุง: 21 ธ.ค. 2564 17:03 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รองโฆษกรัฐบาล เผย ครม.รับทราบมติคจร.เห็นชอบผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจว.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับอีอีซี และเห็นชอบหลักการจัดทำระบบFeeder รองรับการเปิดใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดง

วันนี้ (21ธ.ค.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบสรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ครั้งที่ 2/2564 โดยที่ประชุมคจร.มีมติเห็นชอบผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) และมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณาผลักดันแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะฯไปสู่การปฏิบัติต่อไป

นอกจากนี้คจร.ยังมีมติเห็นชอบหลักการของโครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(Motorways-Railways Masterplan : MR-Map) และเห็นชอบร่างโครงข่ายแผนแม่บท MR-Map ซึ่งการจัดทำแผนแม่บท MR-Map มีระยะทางรวม 6,530 กิโลเมตร ประกอบด้วย เส้นทางทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับเส้นทางระบบราง 4,470 กิโลเมตร เส้นทางเฉพาะทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 1,710 กิโลเมตร และเส้นทางเฉพาะระบบราง 350 กิโลเมตร โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำ MR-Map จำนวน 10 เส้นทาง เช่น เส้นทางMR1 เชียงราย(ด่านเชียงของ-นราธิวาส) เส้นทางMR2 หนองคาย(ด่านหนองคาย-ชลบุรี(แหลมฉบัง) เส้นทางMR4 ตาก((ด่านแม่สอด)-นครพนม(ด่านนครพนม) และเส้นทางMR9 ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี

ขณะเดียวกันคจร.ได้เห็นชอบหลักการการจัดทำระบบFeeder รองรับการเปิดใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดงที่มีรูปแบบการเดินรถตามตารางเวลาที่สอดคล้องกับการให้บริการของระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเห็นชอบแนวเส้นทางให้บริการระบบ Feeder เข้าสู่สถานีรถไฟรังสิตจำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย
1.เส้นทางสถานีรถไฟฟ้ารังสิต-ธัญบุรีคลอง 7 และ
2.เส้นทางสถานีรถไฟฟ้ารังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ศูนย์รังสิต) และ
3.เส้นทางสถานีรถไฟฟ้ารังสิต-แยกกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/12/2021 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ร่วมส่งท้ายปีเก่า... ต้อนรับปีใหม่
#เปิดให้บริการถึงตีสอง
เปิดให้บริการเวลา 05.30 น.
วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ถึงเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2565
รถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายออกจากสถานีต้นทางเวลา 02.00 น.
.
Click on the image for full size
https://www.facebook.com/REDLineBKK/posts/4801606666527599



เตรียมเสนอ ครม.สร้างส่วนต่อขยาย "สายสีแดง" 4 เส้นทาง
Dec 22, 2021
Thai PBS News

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาส่วนต่อขยายโครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดง 4 เส้นทาง โดยคาดว่า จะประมูลได้ในปี 2565 และทยอยเปิดให้บริการในปี 2569-2571


https://www.youtube.com/watch?v=cKQLrn8CMh0


Last edited by Mongwin on 22/12/2021 1:36 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2021 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟ ชงครม.ไฟเขียวงบ 7.9 หมื่นล้าน สร้างส่วนต่อขยายสีแดง 4 เส้น
ข่าวสด เด่นออนไลน์ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 15:37 น.

รฟท.เปิดแผนประมูลรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทาง 7.93 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
21 ธันวาคม 2564 เวลา 16:49 น.

รถไฟสีแดงสรุป PPP รัฐลงโยธา-ซื้อรถ เร่งชง ครม.เห็นชอบสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทางในปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 ธันวาคม 2564 เวลา 19:56 น.
ปรับปรุง: 21 ธันวาคม 2564 เวลา 19:56 น.



รถไฟสีแดงส่วนต่อขยาย PPP เอกชนลงทุน 100% ไม่รอด ผลศึกษาชี้รัฐลงทุนก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และซื้อขบวนรถ ส่วนเอกชนรับเดินรถ ซ่อมบำรุง 50 ปี ดัน EIRR จูงใจ รฟท.เตรียมสรุปเสนอ ครม.ดันประมูลปี 65 ตอกเข็มปี 66 ทยอยเปิดปี 69-71

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ส่วนต่อขยาย จำนวน 4 เส้นทาง ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช, ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง (Missing Link) วงเงิน 67,575.37 ล้านบาท ได้เตรียมดำเนินการก่อสร้างควบคู่กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินที่มีแผนเข้าพื้นที่ในเดือน ต.ค. 2566 เพื่อออกแบบและก่อสร้างมีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะช่วงสถานีจิตรลดาที่จะก่อสร้างเป็นคลองแห้ง

สำหรับรถไฟสายสีแดงที่มีการเปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน และสายสีแดงส่วนต่อขยายอีก 4 เส้นทางนั้น รฟท.ได้มีการศึกษาความเหมาะสมและรูปแบบการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ขณะนี้รายงานการศึกษาเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างสรุปข้อมูลเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เห็นชอบเพื่อเสนอต่อไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณา ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมต้องการให้ รฟท.เร่งรัดการก่อสร้างช่วง Missing Link โดยเร็ว คาดว่าจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ ครม.ภายใน 5 เดือน คาดว่าอนุมัติโครงการและเปิดประมูลในปี 2565 เริ่มก่อสร้างในปี 2566

ทั้งนี้ แนวทางในการดำเนินการรูปแบบ PPP - Net Cost เบื้องต้นมี 3 แนวทาง คือ
1. ให้เอกชนลงทุน 100% แต่ผลตอบแทน EIRR ต่ำมาก
2. รัฐลงทุนโยธา เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า (M&E) และการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า (Rollingstock) และเอกชนรับผิดชอบการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) และจัดเก็บรายได้ ซึ่งค่า EIRR ยังต่ำกว่า 12%
3. รัฐลงทุนโยธาและระบบพร้อมกับจัดซื้อรถไฟฟ้า โดยให้เอกชนรับผิดชอบเดินรถ ซ่อมบำรุงทั้งตัวรถและโครงสร้างพื้นฐานด้วย ซึ่งเอกชนจัดเก็บรายได้ แบ่งค่าสัมปทานและจ่ายค่าตัวรถให้ รฟท. พบว่ามีความเป็นไปได้ในการลงทุน มีค่า EIRR เหมาะสมที่สุด ภายใต้ระยะเวลา 50 ปี โดยหากได้รับความเห็นชอบ รฟท.จะเปิดประมูลก่อสร้างงานโยธาได้ทันที เนื่องจาก ครม.เห็นชอบไว้แล้ว

จากมติ ครม.เดิมที่มีการอนุมัติโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง วงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาท ประกอบด้วย
ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. มี 4 สถานี เงินลงทุน 6,570.40 ล้านบาท,
ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. มี 6 สถานี เงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท,
ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. มี 3 สถานี 6,645.03 ล้านบาท,
ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. มี 9 สถานี เงินลงทุน 44,157.76 ล้านบาท

นั้นจะสอดคล้องกับแนวทางที่ 3 ที่รัฐลงทุนก่อสร้างงานโยธาเอง โดยในการเสนอ ครม.ครั้งนี้จะต้องชี้แจงรูปแบบ PPP แนวทางที่ 3 ว่า รฟท.จะโอนสิทธิ์และภาระหนี้ในการซื้อขบวนรถใหม่และการบำรุงรักษาให้เอกชนรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รายงานข่าวแจ้งว่า จากผลการศึกษาPPP ล่าสุด พบว่ามูลค่าการลงทุนส่วนต่อขยาย 4 เส้นทางปรับเพิ่มเป็น 79,322.57 ล้านบาท
โดยช่วงรังสิต-มธ.รังสิตลงทุนเพิ่มเป็น 6,646.73 ล้านบาท,
ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ลงทุนเพิ่มเป็น 10,601.65 ล้านบาท,
ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ลงทุนเพิ่มเป็น 6,645.03 ล้านบาท,
Missing Link ลงทุนเพิ่มเป็น 49,692.01 ล้านบาท ขณะที่เอกชนรับผิดชอบการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M)

สำหรับแผนการก่อสร้างรถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดงของ รฟท. นั้น เบื้องต้น ช่วง รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะเริ่มก่อสร้างในเดือน ส.ค. 66- ก.ค. 69 และเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2569 ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ –หัวลำโพง จะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค.66-ม.ค.71 และเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2571 สำหรับอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 12 บาท และเพิ่มขึ้น 2.10 บาทต่อ กม. ค่าโดยสารสูงสุดแต่ละช่วงไม่เกิน 42 บาท จะปรับเพิ่มขึ้นทุก 2 ปี ครั้งละ 3%


ขณะที่ผลศึกษาคาดการณ์ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ที่จะเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2569 รวมกับสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะมีจำนวน 252,900 คน-เที่ยว/วัน และช่วง Missing Link จะเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2571 จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีแดงเปิดครบทั้ง 6 เส้นทาง คาดว่าจะมีผู้โดยสารที่ 423,400 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มเป็น 572.200 คน-เที่ยว/วัน ในปี พ.ศ. 2580 และเพิ่มเป็น 730,000 คน-เที่ยว/วัน และในปี พ.ศ. 2620 หรือปีที่ 50 สัมปทาน ผู้โดยสารรวมจะเพิ่มเป็น 1,322,240 คน-เที่ยว/วัน


เปิดไทม์ไลน์(ใหม่) "ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง"
*พ.ค.65ชงครม.4เส้น7.9หมื่นล้านประมูลPPP
*รัฐลงทุนสร้างปี 66+หารถ/จ้างเอกชนเดินรถ
*รังสิต-มธ./ตลิ่งชัน-ศาลายา-ศิริราชเปิดปี69
*ช่วง"มิสซิงค์ลิงก์" ได้ใช้บริการหลังสุด ปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3073039632917534

รฟท.รอสรุปรูปแบบ PPP สายสีแดงส่วนต่อขยายคาดเสนอ คนร.-ประมูลปี 66
ข่าวทั่วไป
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ธ.ค. 64)
21 ธันวาคม 2564 เวลา 17:04น.

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ด้านปฏิบัติการ กล่าวว่า โครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบดำเนินการ ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช , ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก-หัวลำโพง (Missing Link) วงเงินกว่า 6.7 หมื่นล้านบาท ได้เตรียมดำเนินการก่อสร้างควบคู่กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินที่มีแผนเข้าพื้นที่ในเดือน ต.ค.66 เพื่อให้การก่อสร้างมีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะช่วงสถานีจิตรลดาที่จะก่อสร้างเป็นคลองแห้ง

ทั้งนี้ รถไฟสายสีแดงที่มีการเปิดให้บริการในปัจจุบัน และสายสีแดงส่วนต่อขยายนั้น รฟท.ได้มีการศึกษารูปแบบการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ขณะนี้รายงานการศึกษาเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างสรุปข้อมูล และเสนอกระทรวงคมนาคม ซึ่งต้องการให้ รฟท.เร่งรัดการก่อสร้างช่วง Missing Link โดยเร็ว คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และ ครม.ภายใน 6 เดือน คาดว่าอนุมัติโครงการและได้ตัวผู้รับจ้างก่อสร้างในปี 66



แนวทางในการดำเนินการรูปแบบ PPP-Net Cost เบื้องต้นมี 3 แนวทางคือ
1. ให้เอกชนลงทุน 100% แต่ผลตอบแทนค่า EIRR ต่ำมาก
2. รัฐลงทุนโยธา เอกชนลงทุนจัดหารถ เดินรถ ซ่อมบำรุง (O&M) และจัดเก็บรายได้ ซึ่งค่า EIRR ยังต่ำกว่า 12%
3. แนวทางที่ 3 รัฐลงทุนโยธาและจัดหารถ โดยให้เอกชนเดินรถ ซ่อมบำรุงทั้งตัวรถและโครงสร้างพื้นฐานไปด้วย ซึ่งเอกชนจัดเก็บรายได้ แบ่งค่าสัมปทานและจ่ายค่าตัวรถให้รฟท. พบว่ามีความเป็นไปได้ในการลงทุน มีค่า EIRR เหมาะสมที่สุด ภายใต้ระยะเวลา 50 ปี โดยหากได้รับความเห็นชอบ รฟท.จะเปิดประมูลก่อสร้างงานโยธาได้ทันที เนื่องจาก ครม.เห็นชอบไว้แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2021 10:07 am    Post subject: Reply with quote

“ขนส่งสาธารณะ” ขยายเวลาให้บริการ รับปีใหม่ 2565 เริ่มกี่โมงถึงกี่โมงคลิก
หน้าข่าวทั่วไป
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:39 น.

“คมนาคม” สั่งระบบขนส่งสาธารณะให้บริการเดินรถโดยสาร-รถไฟ ต้อนรับช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 พร้อมปรับวัน-เวลารองรับประชาชนเดินทาง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมการรองรับการเดินทางของประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565 โดยกำชับหน่วยงานในสังกัดบูรณาการร่วมกันอำนวยความสะดวกประชาชน มุ่งให้หน่วยงานและประชาชนเตรียมความพร้อมการเดินทางโดยวางแผนการเดินทางทั้งขาไปและขากลับ







นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า สำหรับเทศกาลปีใหม่ 2565 ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2564 – 1 มกราคม 2565 เบื้องต้นรฟม.ขยายเวลาสิ้นสุดการให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง จากเดิมเวลา 24.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2565 โดยให้ขบวนรถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้ายของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ออกจากสถานีเตาปูน เวลา 02.00 น.







ส่วนการให้บริการอาคารและลานจอดแล้วจรทุกแห่งได้ขยายเวลาเป็นเวลา 03.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2565 เพื่อให้สอดคล้องตามการให้บริการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ในคืนข้ามปี โดยปัจจุบัน รฟม. มีที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ประกอบด้วย อาคารจอดแล้วจร 4 อาคาร ที่สถานีลาดพร้าว สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีหลักสอง (2 อาคาร) และลานจอดแล้วจร 10 ลาน ที่สถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2 ลาน) สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิท สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (2 ลาน) และสถานีสามย่าน ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ประกอบด้วย อาคารจอดแล้วจร 4 อาคาร ที่สถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 ที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ประกอบด้วย ลานจอดแล้วจร 1 ลาน ที่สถานีเคหะฯ รวมถึงที่จอดรถในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ประกอบด้วย อาคารจอดแล้วจร 2 อาคาร ที่สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต



นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า เทศกาลปีใหม่ 2565 บริษัท ฯ ได้ขยายเวลาให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าสายสีทองในคืนวันศุกร์ ที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนสุดท้าย จะให้บริการที่สถานีสยาม เวลา 01.45 น. ผู้โดยสารสามารถเดินทางได้ทุกสถานี สำหรับลานจอดแล้วจรเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอสในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถซื้อบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสประเภท 1 วัน (One-Day Pass) โดยสามารถเดินทางแบบไม่จำกัดเที่ยว และระยะทางเพื่อให้การใช้บริการสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น








ฟากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดรถให้บริการฟรี งานสวดมนต์ข้ามปี เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ 2565 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ถึงเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2565 จำนวน 4 เส้นทาง 1. เส้นทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร 2. เส้นทางวงเวียนใหญ่-วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร 3. เส้นทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร 4. เส้นทางเดอะมอลล์บางแค-วัดไร่ขิง



ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดขบวนรถพิเศษ จำนวน 12 ขบวน (ทั้งเที่ยวไปและกลับ) เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2565 แบ่งเป็น เที่ยวไปส่งสถานีกลางบางซื่อ-ศิลาอาสน์ 1 เที่ยว, สถานีกลางบางซื่อ-อุบลราชธานี 2 เที่ยว, สถานีกลางบางซื่อ-อุดรธานี 1 เที่ยว และสถานีกลางบางซื่อ-เชียงใหม่ 2 เที่ยว ส่วนเที่ยวรับกลับศิลาอาสน์-สถานีกลางบางซื่อ 1 เที่ยว, อุบลราชธานี-สถานีกลางบางซื่อ 2 เที่ยว, อุดรธานี-สถานีกลางบางซื่อ 1 เที่ยว และเชียงใหม่-สถานีกลางบางซื่อ 2 เที่ยว




ด้านบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอรืพอร์ต เรล ลิงก์ ขยายเวลาการให้บริการเดินรถไฟสายสีแดง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 จนถึงเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2565





ทั้งนี้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. บริการที่จอดรถฟรี ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม2564 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2021 10:24 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ร่วมส่งท้ายปีเก่า... ต้อนรับปีใหม่
#เปิดให้บริการถึงตีสอง
เปิดให้บริการเวลา 05.30 น.
วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ถึงเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2565
รถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายออกจากสถานีต้นทางเวลา 02.00 น.
.
https://www.facebook.com/REDLineBKK/posts/4801606666527599




รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดให้บริการถึงตีสอง คืนข้ามปี
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:52 น.


แอร์พอร์ตลิงก์ร่วมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงถึงตีสองของวันที่ 1 ม.ค. 65

วันที่ 22 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า Airport Rail Link รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ร่วมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เปิดให้บริการถึงตีสอง โดยจะเปิดให้บริการเวลา 05.30 น. วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ถึงเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2565 ทั้งนี้รถไฟฟ้าขบวนสุดท้ายออกจากสถานีต้นทางเวลา 02.00 น.




สำหรับตารางเดินรถประจำวันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา05.30 น.-24.00 น. ให้บริการตามตารางเวลาเดินรถปกติ โดยให้บริการรถไฟจำนวน 7 ขบวน มีดังนี้


ช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 12.00 นาที นอกช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 20.00 นาที

สายบางซื่อ-รังสิต
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.30 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.
สายบางซื่อ – ตลิ่งชัน
รถไฟฟ้าให้บริการความถี่ 20.00 นาที
สายบางซื่อ – ตลิ่งชัน
รถไฟฟ้าเที่ยวแรก เวลา 05.35 น.
รถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้าย เวลา 24.00 น.
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30 น.-24.00 น. ให้บริการตามตารางเวลาเดินรถปกติ โดยให้บริการรถไฟจำนวน 8 ขบวน เป็นขบวนเสริม 2 ขบวน ความถี่ 10.00 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 29/12/2021 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

เพิ่มความแรง ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง’ ปักธงสร้างส่วนขยายปี 66 เปิดปี 69
คอลัมน์ มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง.
28 ธันวาคม 2564 เวลา 08:00 น.

เปิดมาได้ 4 เดือน เเม้ตัวเลขจะยังไม่ตามเป้าเเต่ถือว่า "สัญญาณดีแรงต่อเนื่อง" สำหรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) จนต้องสร้างส่วนขยายจะเปิดใช้ในปี 69


เปิดให้บริการมากว่า 4 เดือนแล้ว สำหรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) หรือรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.30 กิโลเมตร(กม.) และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15.3 กม รวม 41.6 กม. นับตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.64 ที่ให้ประชาชนทดลองใช้บริการแบบไม่เก็บค่าโดยสาร (ฟรี) และเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. อัตรา 12-42 บาท



ตัวเลขผู้โดยสารปัจจุบันเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ตลอดเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารรวม 265,038 คน เพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนต.ค. และเพิ่มขึ้นจากช่วงแรกที่ทดลองให้บริการฟรีอยู่ที่ประมาณ 2-3 พันคนต่อวัน ก่อนไต่ขึ้นเป็น 4-5 พันคนต่อวัน กระทั่งก่อนยกเลิกเคอร์ฟิวมีผู้โดยสาร 6-7 พัน แม้เริ่มเก็บเงินก็ยังเกิน 1 หมื่นคน แม้ตัวเลขจะยังไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ว่า จะมีผู้โดยสารประมาณ 8 หมื่นคนต่อวัน แต่สัญญาณดีแรงต่อเนื่อง

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระบุว่า ในปี 65 คาดว่าผู้โดยสารจะสูงขึ้นไปอีกเฉลี่ย 3 หมื่นคนต่อวันแน่นอน.



เมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนแรก สิ้นสุดการรอคอยที่มีมาอย่างยาวนานถึง 31 ปี หากนับตั้งแต่เป็นโครงการโฮปเวลล์ที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2533 เสียงเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้เร่งก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง ประชาชนจะได้เข้าถึงรถไฟฟ้าสายนี้มากขึ้น

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. ให้ความกระจ่างเรื่องโครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงว่า ผลการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดทำเอกสารประกวดราคา และการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 4 โครงการ ระยะทางรวม 55.24 กม. วงเงิน 7.93 หมื่นล้านบาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย
1.ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) 25.9 กม.วงเงิน 4.96 หมื่นล้านบาท


2.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต 8.84 กม. วงเงิน 6.64 พันล้านบาท 3.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม ประกอบด้วย สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และสถานีบ้านฉิมพลี 14.8 กม. วงเงิน 1.06 หมื่นล้านบาท และ 4.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.7 กม. วงเงิน 4.73 พันล้านบาท


เส้นทางของส่วนต่อขยาย หลังจากนี้ที่ปรึกษาต้องสรุปผลการศึกษาเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. และกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน พ.ค.65 หากเห็นชอบคาดว่าจะเปิดสรรหาเอกชนเพื่อเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบเอกชนลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ทั้ง 4 เส้นทางได้ในช่วงปลายปี 65 และได้ผู้รับจ้าง พร้อมเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 66

สำหรับรูปแบบการลงทุนฯ จะเสนอ 3 แนวทางให้กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ ครม.พิจารณา โดยลงทุนเป็นรูปแบบ PPP Net Cost จัดจ้างเอกชนจัดเก็บค่าบริการจัดส่งให้รัฐ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย

แนวทางที่ 1 คือรัฐบาล รับภาระเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา งานระบบควบคุมการเดินรถ และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ขณะที่เอกชนลงทุนระบบบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงระบบ แนวทางที่ 2 รัฐลงทุนงานโยธา และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ขณะที่เอกชนลงทุน งานระบบควบคุมการเดินรถ บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงระบบ และแนวทางที่ 3 เอกชนรับผิดชอบเองทั้งหมด ได้แก่ งานโยธา ระบบควบคุมการเดินรถ จัดหาขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถ และซ่อมบำรุง

“แนวโน้มที่คุ้มค่าการลงทุน และเหมาะสมที่สุด น่าจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost แนวทางที่ 1 โดยรัฐ เป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรถไฟฟ้า และการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า ส่วนเอกชน เป็นผู้รับผิดชอบการเดินรถและซ่อมบำรุง ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง” ผู้ว่าการ รฟท. ส่งสัญญาณถึงแนวทางที่รฟท.จะเลือก


ลงรายละเอียดแผนการก่อสร้างเบื้องต้นช่วง รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค. 66- ก.ค. 69 และเปิดบริการปี 69 ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง จะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค.66-ม.ค.71 เปิดบริการปี 71 สำหรับอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 12 บาท และเพิ่มขึ้น 2.10 บาทต่อ กม. ค่าโดยสารสูงสุดแต่ละช่วงไม่เกิน 42 บาท จะปรับเพิ่มขึ้นทุก 2 ปี ครั้งละ 3%

คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเมื่อเริ่มเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในปี 69 ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เพิ่มขึ้นเป็น 2.5แสนคนต่อวัน และเมื่อเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 71จะมีใช้บริการประมาณ 4 แสนคนต่อวัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใน 50 ปี จะมีผู้โดยสารทะลุ 1.3 ล้านคนต่อวัน.

อดทนรอคอยรถไฟฟ้าสีแดงส่วนแรกมายาวนานกว่า 31 ปี ให้รอภาครัฐขยายแขนขาของรถไฟฟ้าสายนี้ไปชานเมืองให้ยาวขึ้นอีก 5 ปี คนกรุงเทพฯและปริมณฑลก็รอไหว เพราะรถไฟฟ้าตอบโจทย์ปัญหารถติด

……แต่จะเอื้อมถึงได้ใช้บริการหรือไม่?? อยู่ที่ค่าโดยสารต้องไม่แพงเกินไป

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
รถไฟ ชงครม.ไฟเขียวงบ 7.9 หมื่นล้าน สร้างส่วนต่อขยายสีแดง 4 เส้น
ข่าวสด เด่นออนไลน์ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 15:37 น.

รฟท.เปิดแผนประมูลรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดง 4 เส้นทาง 7.93 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
21 ธันวาคม 2564 เวลา 16:49 น.

รถไฟสีแดงสรุป PPP รัฐลงโยธา-ซื้อรถ เร่งชง ครม.เห็นชอบสร้างส่วนต่อขยาย 4 เส้นทางในปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 ธันวาคม 2564 เวลา 19:56 น.
ปรับปรุง: 21 ธันวาคม 2564 เวลา 19:56 น.
เปิดไทม์ไลน์(ใหม่) "ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง"
*พ.ค.65ชงครม.4เส้น7.9หมื่นล้านประมูลPPP
*รัฐลงทุนสร้างปี 66+หารถ/จ้างเอกชนเดินรถ
*รังสิต-มธ./ตลิ่งชัน-ศาลายา-ศิริราชเปิดปี69
*ช่วง"มิสซิงค์ลิงก์" ได้ใช้บริการหลังสุด ปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3073039632917534

รฟท.รอสรุปรูปแบบ PPP สายสีแดงส่วนต่อขยายคาดเสนอ คนร.-ประมูลปี 66
ข่าวทั่วไป
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ธ.ค. 64)
21 ธันวาคม 2564 เวลา 17:04น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122 ... 149, 150, 151  Next
Page 121 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©