Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311353
ทั่วไป:13299106
ทั้งหมด:13610459
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 135, 136, 137 ... 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44986
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2023 6:13 pm    Post subject: Reply with quote

[SHORT] ทางลาดเชื่อมสถานีดอนเมือง | เจอปัญหาหลังเปิดใช้งาน! / DON MUEANG STATION RAMP PROBLEM!
BANGKOK ON SITE
Jan 24, 2023

SHORT ON SITE คลิปสั้นออนไซต์
ชมภาพบรรยากาศทางเดินเชื่อมต่อสถานีรถไฟ-ท่าอากาศยานดอนเมือง หลังเปิดใช้งานทางลาดที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ แก้ปัญหาผู้เดินทางต้องหอบหิ้วสัมภาระขึ้นบันได 9 ขั้น แต่ล่าสุดหลังเปิดใช้งานเพียงไม่นาน พบปัญหาบางอย่างที่ทำให้หลายคนไม่สามารถใช้งานทางลาดได้ และยังคงต้องยกของขึ้นบันไดเหมือนเดิม?!


https://www.youtube.com/watch?v=8QY5boitu4Y
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42804
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2023 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

新正如意 新年发财 🧧🧧🧧 อินฟลูฯ ตี๋ หมวย อินเตอร์ มาอวยพร พี่น้อง ภายในขบวนรถไฟฟ้าที่ยาวที่สุดในประเทศ ในช่วงค่ำที่ผ่านมา ทั้งสายธานีรัถยา (รังสิต) และสายนครวิถี (ตลิ่งชัน)
สุขสมหวังทุกประการ ร่ำรวยมั่งคั่ง สุขภาพแข็งแรง
“มากกว่าการเดินทางคือ .. . ความพิเศษ”
รถไฟฟ้าสายสีแดงยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง
https://www.facebook.com/artie.vannapruges/posts/10167235388595043
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44986
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2023 5:49 am    Post subject: Reply with quote

เปิดคำชี้ขาด'อนุญาโตฯ'ข้อพิพาท'สายสีแดง' สั่งรฟท.จ่ายค่า VO เพิ่มกว่า 4,200 ล้านบาท "คมนาคม"ปักหลักสู้ยื่นคัดค้านใน 28 ก.พ.
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, January 26, 2023 04:22

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน นอกจากจะเผชิญปัญหาในการก่อสร้างมากมายแล้ว ภายหลังสร้างเสร็จ จนสามารถเปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2564 แต่ยังมีปัญหาอีกหลายเรื่องที่ยังแก้ไม่จบไม่สิ้น โดยเฉพาะปมค่าก่อสร้างเพิ่มเติม จากคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (Variation Order : VO) ที่กำลังเป็นประเด็นร้อน หลังกิจการร่วมค้า เอส ยู (บมจ.ยูนิคเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC)) ซึ่งเป็นผู้รับจ้างโครงการรถไฟสายสีแดง สัญญาที่ 1 (งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางชื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) ได้เสนอข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโต ตุลาการเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564 ข้อพิพาท หมายเลขดำที่ 79/2564 กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไม่ปฎิบัติตามสัญญา โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงินถึง 7,200 ล้านบาท

อนุญาโตตุลาการชี้ขาด รฟท.จ่ายค่า VO กว่า

4,200 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีและดอกเบี้ย)

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ผู้คัดค้าน ตามข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 79/2564 ที่มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) ในฐานะสมาชิกกิจการร่วมค้า เอส ยู เป็นผู้เรียกร้อง ได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานการยุติการดำเนินคดีแพ่งและอนุญาโต ตุลาการสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอให้จัดพนักงานอัยการดำเนินการแก้ต่างข้อพิพาทในชั้นอนุญาโตตุลาการ ซึ่งต่อมาคณะทำงานฯสำนักงานอัยการ แจ้งว่า รฟท.อยู่ในฐานะเสียเปรียบไม่อาจชนะคดีได้ แต่ รฟท.ยืนยันความประสงค์ขอให้ดำเนินคดีต่อไป

ต่อมาวันที่ 21 พ.ย. 2565 คณะอนุญาโตตุลาการ ได้มีคำชี้ขาด ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 79/2565 ให้รฟท.ชำระเงินให้กิจการร่วมค้าเอส ยู ประกอบด้วย 1. สินจ้างตามสัญญาที่ 1 และสินจ้างเนื่องจากคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (VO) รวมจำนวน 4,204,286,694.83 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 27,654,882.90 บาท ดอกเบี้ยผิดนัดในอัตรา MLR +2% ต่อปี นับแต่วันผิดนัดวันที่ 21 ก.ค. 2565 เป็นเงิน 929,211,622.11 บาท และดอกเบี้ยในอัตรา 7.305% ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น

2. ชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตรา MLR+2% ต่อปี ของเงินหลักประกัน (Retention) จำนวน 180,651,350.65 บาท ที่ผิดนัดชำระคืนในแต่ละงวดจนถึงวันที่ 21 ก.ค. 2565 เป็นเงินจำนวน 34,908,693.43 บาท

3. ชำระค่าใช้จ่ายในระหว่างขยายเวลาจำนวน 680,057,076 บาทและภาษีมูลค่าเพิ่มของวงเงินดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย ผิดนัดในอัตรา MLR+2% ต่อปี นับแต่วันที่ 14 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป

4. ชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคา (ค่าK) จำนวน96,044,682.13 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 6,723,127.75 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 102,767,809.88 บาท ดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตรา MLR+2% ต่อปี นับแต่วันที่ 14 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป

เปิด 6 ประเด็น คำชี้ขาด "อนุญาโตตุลาการ" สั่ง รฟท.จ่ายค่างาน VO รวม 194 รายการ กว่า 4.2 พันล้านบาท พร้อมภาษี, ดอกเบี้ย

โดยคณะอนุญาโตตุลาการ ได้กำหนดข้อพิพาทไว้ 6 ประเด็นดังนี้

1. ผู้เรียกร้องมีสิทธิเรียกให้ รฟท.ในฐานะผู้คัดค้านชำระ สินจ้างตามสัญญาที่ 1และตามคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (VO) หรือไม่ เพียงใด

คณะอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยชี้ขาดว่า ผู้เรียกร้องมีสิทธิ เรียกร้องให้ รฟท. ชำระสินจ้าง ตามคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (VO) จำนวน 4,204,286,694.83 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 27,654,882.90 บาท เนื่องจาก รฟท.ได้ว่าจ้าง กิจการร่วมค้า เอส ยู เป็นผู้ดำเนินการสัญญาที่ 1 ระหว่างดำเนินการปรากฏว่าวิศวกร (The Engineer) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รฟท. มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน VO รวม 194 รายการ มูลค่า 4,472,290,020.49 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งรฟท.ยอมรับว่าได้เปลี่ยนแปลงงานจริง และไม่ได้ปฏิเสธว่า วิศวกรไม่มีอำนาจหรือไม่ได้ออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน

กิจการร่วมค้า เอส ยู ได้ก่อสร้างงานตามคำสั่ง VO ครบถ้วนเสร็จสินเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2563 คณะกรรมการตรวจการจ้างของ รฟท.มีมติเห็นชอบตรวจรับงานงวดสุดท้าย และวันที่ 11 มี.ค. 2564 รฟท.ได้ออกหนังสือรับรองการแล้วเสร็จของงาน (Completion Certificate) ให้กิจการร่วมค้า เอส ยู ถือเป็นการปฏิบัติครบถ้วน ตามสัญญา อีกทั้ง รฟท.ได้มีการชำระหนี้ สินจ้างค่างาน VO บางส่วน งวดที่ 78 ,79 (เต็มจำนวน) งวดที่ 80 (บางส่วน) เป็นเงิน 1,246,873,199.85 บาทและภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 87,281,123.98 บาท

2. รฟท.ผิดนัดชำระค่าสินจ้างตามสัญญาจ้างที่ 1 และตาม คำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (VO) หรือไม่

คณะอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยชี้ขาดว่า รฟท.มีหน้าที่ต้องชำระค่าสินจ้างตามสัญญาที่ 1 และตามคำสั่ง VO ตามสัญญาข้อ 30.6 และอัตราดอกเบี้ยตาม ข้อ 30.7 ประกอบกับภาคผนวกท้ายสัญญา

3. รฟท.ต้องชำระสินจ้างตามสัญญาที่ 1 และตามคำสั่ง VO พร้อมทั้งดอกเบี้ยผิดนัดและภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงใด

คณะอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยชี้ขาดว่า รฟท. มีหนี้ค่าชำระค่าสินค้างตามสัญญาที่ 1 และตามคำสั่ง VO ตั้งแต่ งวดที่ 80-85 รวมเป็นเงิน 4,204,286,694.83 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 27,654,882.90 บาท และดอกเบี้ยผิดนัด อัตรา 7.305% ต่อปี สำหรับ งวดที่ 80-85 นับถึงวันที่ 21 ก.ค. 2565 เป็นเงินทั้งสิ้น 34,908,693.43 บาท

4. รฟท.ต้องคืนหลักประกันให้ กิจการร่วมค้า เอส ยู หรือไม่ เพียงใด

คณะอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยชี้ขาดว่า รฟท.ต้องคืน และต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยผิดนัดที่เกิดจากการส่งคืนหลักประกันล่าช้าด้วย ตามข้อ 30.7

5. รฟท.ต้องชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการขยายระยะเวลาพร้อมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ เพียงใด

คณะอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยชี้ขาดว่า รฟท.มีมติขยายระยะเวลาก่อสร้าง 871 วัน และคณะกรรมการ รฟท.ได้อนุมัติหลักการ กรอบวงเงินเพิ่มเติมจำนวน 680,057,076 บาท ถือว่า รฟท.ยอมรับค่าเสียหายกรณีขยายเวลา และต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม

6. รฟท.ต้องชำระค่าชดเชยค่าก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคา (ค่า K) พร้อมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพียงใด

คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดว่า รฟท.ต้องชำระค่า ชดเชยค่าก่อสร้าง ค่า K จำนวน 96,044,682.13 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม6,723,127.75 บาท รวมเป็นเงิน 102,767,809.88 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตรา MLR+2% ต่อปี นับแต่วันที่ 14 ธ.ค. 2564 เป็นต้นไป

28 ก.พ.66 เส้นตายยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ เพิกถอนคำชี้ขาด

วันที่ 29 ธ.ค. 2565 สำนักงานการยุติการดำเนินคดีแพ่งและอนุญาโตตุลาการ สำนักงานอัยการสูงสุด แจ้งผลคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ มายังรฟท. หลังพิจารณาแล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยชี้ของอนุญาโตตุลากชารชอบด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว และไม่ปรากฏเหตุอื่นว่า การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนกรณีไม่มีเหตุที่จะขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40

ทั้งนี้หาก รฟท.ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยชี้ขาดฯ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าวภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ 30 พ.ย. 2565 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 28 ก.พ. 2566

ย้อนต้นเรื่องปัญหา ต้นตอนำไปสู่ข้อพิพาท

โครงการรถไฟสายสีแดง มี 3 สัญญา ประกอบด้วย สัญญา 1 (งานโยธาสำหรับสถานีรถไฟบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) รฟท. ลงนามสัญญาจ้างกิจการร่วมค้า เอส ยู เมื่อ วันที่ 18 ม.ค. 2556 ในวงเงิน29,826,973,512 บาท

สัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต) มี บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ (ITD) เป็นผู้รับจ้างงาน ในวงเงิน 21,235,400,000 บาท ลงนามสัญญา เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2556

สัญญา 3 (งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลรวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้า) มีกิจการร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และบริษัท Sumitomo Corporation เป็นผู้รับจ้างวงเงิน 32,399,99 ล้านบาท ลงนามสัญญา วันที่ 30 มี.ค. 2559

โดยแรกเริ่ม สัญญา 1 มีวงเงิน 29,826,973,512 บาท ต่อมา วันที่ 9 ก.พ. 2558 ครม.มีมติอนุมัติปรับวงเงินเพิ่มอีก 4,291,406,000 บาทรวมกับค่างานเดิม ทำให้วงเงินสัญญา 1 อยู่ที่ 34,118 379,512 บาท

งาน VO เกิดขึ้นเนื่องจาก รฟท.ได้กำหนดหลักการทำงาน โครงการว่าจะต้องเริ่มทำงาน ทั้ง 3 สัญญาพร้อมกัน เพื่อประสานการทำงานและไม่ให้เกิดผลกระทบกับสัญญาอื่นที่จะทำงานไม่เสร็จตามกำหนด แต่ รฟท.ทำสัญญาที่ 3 ล่าช้า จึงแก้ปัญหาไม่ให้กระทบต่อสัญญาที่ 1 ที่ลงนามไปก่อนแล้ว จึงเปลี่ยนแปลงงานให้สัญญาที่ 1 ทำการรื้อย้ายรื้อถอน ปรับปรุง สร้างทดแทน รางรถไฟและระบบอาณัติสัญญาณเดิมของ รฟท. ซึ่งเป็นงานในสัญญาที่ 3 ไปก่อนเพื่อไม่กระทบต่อการก่อสร้างสัญญาที่ 1 งานส่วนนี้มี จำนวน 60 รายการ มูลค่า 2,581,883,488.51 บาท โดย รฟท.ตัดงานส่วนนี้ออกจาก สัญญาที่ 3

นอกจากนี้ยังมีงานVO เพิ่มเติมอีก 3 ชุด ประกอบด้วย งานก่อสร้างอาคารที่ทำการรถไฟทดแทนอาคารเดิมที่ รวมถึงงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคกีดขวางงานก่อสร้าง เพื่อมิให้งานหยุดชะงัก จำนวน 30 รายการ มูลค่า 352,647,657 บาท

งานที่ปรากฏในแบบแต่ไม่มีปรากฏในรายการเบิก-จ่าย (Bill of Quantities) หรือ Missing Items ซึ่ง รฟท.และที่ปรึกษาร่วมกันพิจารณาแล้ว หากไม่ดำเนินการก่อสร้างจะส่งผลให้โครงการไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเปิดเดินรถได้ ตามวัตถุประสงค์ จำนวน 31 รายการ มูลค่า 465,135,235.19 บาท

งาน VO เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนดความปลอดภัยและมาตรฐานทางวิศวกรรม จำนวน 73 รายการ มูลค่า 1,072,623,639.79 บาท

นี่คือต้นเหตุ ที่ทำให้สัญญา 1 มีงาน VO จำนวน 194 รายการ มูลค่ากว่า 4,472 ล้านบาท เพราะเงินยังไม่ได้...แต่ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไปก่อน และทำให้สัญญา 1 มีวงเงินรวมเป็น 38,377.42 ล้านบาท

"ศักดิ์สยาม" ตั้งอนุกรรมการฯ ลั่นสู้ถึงที่สุด

วันที่ 6 ม.ค. 2566 "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงนามคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 127/2566 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย ภายใต้คณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อจำนวน 14 คน โดยมี "สรพงศ์ ไพฑูรย์พงศ์" รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านขนส่ง) เป็นประธาน "พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์" อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นรองประธานฯ และมีอนุกรรมกาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นายชนินทร์ แก่นหิรัญ, นายสิทธิ โสภณภิรมย์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุดสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการอนุญาโตตุลาการ 2, พลตำรวจตรีอุกฤษฏ์ ศรีเสือขาม, อธิบดีกรมบัญชีกลางหรือผู้แทน, ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) หรือผู้แทน, ผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ผู้แทนสภาวิศวกร เป็นต้น

เพื่อพิจารณาข้อมูลและกรอบแนวทางการต่อสู้ข้อพิพาทเพื่อให้มีความครบถ้วนมากที่สุด หลักคือ ให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณา 1. งานเพิ่มเติมหรือ VO ดำเนินการตามขั้นตอนระเบียบพัสดุฯ ถูกต้องหรือไม่ 2. BOQ งานที่เพิ่มเติมหรือ VO ถูกต้องหรือไม่ 3. ได้มีการดำเนินการงานดังกล่าวจริงหรือไม่

"งานเพิ่มเติม หรือ VO ทำได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อกฎหมาย ให้ครบถ้วน รฟท.ต้องอธิบายให้ได้ว่า ในการสั่งทำงาน VO เพิ่มเติมนั้น ได้ทำตามขั้นตอน ระเบียบที่กำหนดหรือไม่ คือ จะต้องมีการสำรวจออกแบบ และเสนอผู้ว่าฯ รฟท. เพื่อนำเสนอ บอร์ด รฟท.อนุมัติ จากนั้นเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อน จึงจะสั่งเริ่มงานเพิ่มเติมนั้นได้ เมื่อทำงานเสร็จ จึงตรวจรับและ จ่ายเงิน หากไม่ทำตามขั้นตอนนี้แล้วไปจ่ายเงินที่ไม่สามารถจ่ายได้ตามกฎหมายก็จะเข้าข่ายละเมิดกันหมด ซึ่งตั้งแต่ตนรับตำแหน่ง รมต.คมนาคม ยังไม่เคยนำเสนอเรื่องเข้าครม.เพื่อขอทำงาน VO เลย" ศักดิ์สยามกล่าว
คมนาคม เร่งสรุปใน 17 ก.พ.ยื่นคัดค้าน

"สรพงศ์ ไพฑูรย์พงศ์" รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯได้มีการประชุม เพื่อกำหนดแนวทางการต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ซึ่งพบว่า มีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณา ความถูกต้องและจะเร่งทำรายละเอียด สรุปภายใน วันที่ 17 ก.พ. 2566 เพื่อยื่นคัดค้านก่อนวันที่ 28 ก.พ. 2566 ตามกรอบกฎหมายต่อไป

"กระทรวงคมนาคม มีการตรวจสอบกรณี คำสั่งงาน VO มาโดยตลอด ซึ่งพบว่ามีวิศวกรใหญ่ รฟท. ถึง 4 คน ที่ออกคำสั่ง ของ The Engineer โดยได้รับความเห็นของผู้ว่าจ้าง ซึ่งสัญญา 25.1 ให้อำนาจ รฟท.สามรถออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงงานได้ไม่เกิน 15% ของมูลค่าสัญญา และให้อำนาจของ The Engineer ตามสัญญาข้อ 1.5(d)"
แม้หลายฝ่ายจะมองว่า ณ จุดนี้ รฟท.แพ้แล้ว ขณะที่ กระทรวงคมนาคม ยังคงพยายามต่อสู้ โดยยื่นเพิกถอนคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ อย่างเต็มที่ ประเด็นสำคัญที่ อยู่ในคำวินิจฉัยคือกรณีที่ รฟท.มีการชำระค่างาน VO บางส่วน และการเข้าใช้ประโยชน์ โดยเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. 2564 และยังมีการเปิดทดลองเดินรถไฟสายสีแดง เมื่อ 2 ส.ค. 2564 จนกระทั่งมีการเปิดบริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 29 พ.ย. 2564 เป็นต้นมา และล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2566 ที่รฟท.ได้ย้ายการให้บริการรถไฟทางไกลจำนวน 52 ขบวน ถือเป็นการยอมรับ ความสำเร็จของงานและเข้าใช้ประโยชน์ ส่วนใครสั่งงานVO แล้ว ผิดระเบียบ ขั้นตอนหรือไม่ อย่างไร เป็นปัญหาที่คมนาคมและรฟท.คงต้องหันมาเก็บกวาด ปัญหาในบ้าน...เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก!!!

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 26 ม.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42804
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2023 11:24 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดคำชี้ขาด'อนุญาโตฯ'ข้อพิพาท'สายสีแดง' สั่งรฟท.จ่ายค่า VO เพิ่มกว่า 4,200 ล้านบาท "คมนาคม"ปักหลักสู้ยื่นคัดค้านใน 28 ก.พ.
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันพฤหัสบดี ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 04:22 น.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 26 ม.ค. 2566

ลิงก์มาแล้วครีบ
เปิดคำชี้ขาด 'อนุญาโตฯ' สั่ง รฟท.จ่ายค่า VO 'สายสีแดง' กว่า 4,200 ล้านบาท “คมนาคม” ปักหลักสู้ยื่นคัดค้านก่อน 28 ก.พ.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:58 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:58 น.
Click on the image for full size
โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน นอกจากจะเผชิญปัญหาในการก่อสร้างมากมายแล้ว ภายหลังสร้างเสร็จจนสามารถเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2564 แต่ยังมีปัญหาอีกหลายเรื่องที่ยังแก้ไม่จบไม่สิ้น โดยเฉพาะปมค่าก่อสร้างเพิ่มเติม จากคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (Variation Order : VO) ที่กำลังเป็นประเด็นร้อน หลัง กิจการร่วมค้า เอส ยู (บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) ซึ่งเป็นผู้รับจ้างโครงการรถไฟสายสีแดง สัญญาที่ 1 (งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางชื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) ได้เสนอข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564 ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 79/2564 กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงินถึง 7,200 ล้านบาท
https://mgronline.com/business/detail/9660000007886


Last edited by Wisarut on 26/01/2023 11:26 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42804
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2023 11:25 am    Post subject: Reply with quote

ก็ดูกันไปว่าศักดิ์สยามจะแก้เกม VO นี้อย่างไรดี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44986
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2023 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

วุ่นปิด 3 สถานีรถไฟ สร้างทางวิ่ง ไฮสปีด 3 สนามบิน
ฐานเศรษฐกิจ
03 กุมภาพันธ์ 2566

รฟท. วุ่นปิด 3 สถานีรถไฟ สร้างทางวิ่งไฮสปีด 3 สนามบิน พบแนวเส้นทาง สถานีกลางบางซื่อ ไม่สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนจากทุกพื้นที่

กระทรวงคมนาคมมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ให้เป็นสถานีที่ให้บริการด้านขนส่งทางราง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งคมนาคมในประเทศและอาเซียนในอนาคต โดยจะลดบทบาทสถานีหัวลำโพงแทน

หลังจากที่มีการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อโดยกระทรวงคมนาคมมีแผนให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ย้ายการให้บริการขบวนรถเชิงพาณิชย์ (รถไฟทางไกล) โดยจะปรับเปลี่ยนต้นทางและปลายทางขบวนรถ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อแทน จำนวน 52 ขบวน ประกอบด้วย สายเหนือ จำนวน 14 ขบวน สายตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 ขบวน และสายใต้ จำนวน 20 ขบวน เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา สร้างความสับสนและการเดินทางเพื่อใช้บริการที่ยุ่งยากกว่าเดิม

ทั้งนี้ยังพบว่าแนวเส้นทางของสถานีกลางบางซื่อในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับการเดินทางของประชาชนจากทุกพื้นที่ได้ เนื่องจากในปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีนํ้าเงินเท่านั้น

ขณะที่การเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดงที่กระทรวงคมนาคมพยายามผลักดันเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังคืบหน้าไปไม่ถึงไหน ทำให้โครงข่ายการเดินทางที่เชื่อมสถานีกลางบางซื่อยังไม่สมบูรณ์

ล่าสุด รฟท.ยังมีการปิดสถานีรถไฟดอนเมือง, บางเขน และสถานีหลักสี่ โดยมีการย้ายไปยังสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (ตลาดใหม่ดอนเมือง) ให้บริการประชาชนแทน

รายงานข่าวจากการ รถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า การปิดให้บริการสถานีรถไฟทั้ง 3 สถานีนั้น เนื่องจาก รฟท.มีแผนก่อสร้างทางวิ่งและสถานีรถไฟความ เร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) บริเวณช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างการรอพิจารณาแก้ไขร่างสัญญาจากทางคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในโครงการดังกล่าว

“กรณีที่ รฟท.ยังไม่สามารถออกหนังสืออนุญาตให้เอกชนเข้าพื้นที่ (NTP) เพราะมีข้อกำหนดในสัญญาด้วยว่า รฟท.จะออก NTP ได้ต่อเมื่อเอกชน คู่สัญญาได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าขณะนี้เอกชนคู่สัญญายังไม่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI”

ขณะเดียวกันการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯให้กับเอกชนตามที่สัญญาระบุไว้ว่ารฟท. จะส่งมอบพื้นที่ในช่วงแรก คือ ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ขณะนี้มีความพร้อมแล้ว ส่วนช่วงพญาไท - บางซื่อ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งเคลียร์พื้นที่การเวนคืนที่ดินในช่วงราชวิถี รวมทั้งการแก้ไขปัญหารื้อย้ายท่อนํ้ามัน เชื่อว่าพื้นที่โครงการจะมีความพร้อมส่งมอบให้เอกชนครบทั้งหมด 100% ภายในเดือนมิถุนายน 2566

ส่วนรูปแบบการก่อสร้างทางวิ่งของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่รฟท.ปิดให้บริการสถานีรถไฟบางแห่งนั้น

ตามสัญญาที่มีแผนปรับแก้ไขในครั้งนี้ โดยการก่อสร้างโครงการฯที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กิโลเมตร (กม.) จะมีการปรับโครงสร้างงานก่อสร้างใหม่ โดยใช้โครงสร้างร่วมที่รองรับความเร็วของรถไฟฟ้าที่ 160 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) แบบมาตรฐานยุโรปแทน ซึ่งจะทำให้ค่าก่อสร้างที่วางไว้ 9,207 ล้านบาท ลดลง

จากเดิมที่มีแผนการก่อสร้างฐานตอม่อสามารถรองรับความเร็วของรถไฟฟ้าอยู่ที่ 250 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) แบบมาตรฐานจีน เบื้องต้นภาครัฐต้องการให้เอกชนเข้าพื้นที่เพื่อก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่จะส่งผลต่อการเปิดให้บริการล่าช้า

สำหรับข้อเสนอของการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนที่มีการเจรจาจนได้ข้อสรุปและอยู่ระหว่างรอที่ประชุม กบอ.พิจารณา ประกอบด้วย

1. การให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาแบ่งชำระ ค่าใช้สิทธิบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ วงเงิน 10,671 ล้านบาท

2. การแก้ไขปัญหาโครงสร้างโครงการทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง

3. การส่งมอบพื้นที่โครงการตามแผนที่กำหนดไว้ 3 ระยะ คือ ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา, ช่วงพญาไท - บางซื่อ และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์พญาไท - สุวรรณภูมิ

4. การตีความพื้นที่ลำรางสาธารณะบริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44986
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2023 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

สีแดงนิวไฮ! เกษตรแฟร์ดันสถานีบางเขนผู้โดยสารพุ่ง 4 เท่า ขึ้นปีที่ 2 ยอดสะสมทะลุ 5.3 ล้านคน
ผู้จัดการออนไลน์ 5 ก.พ. 2566 12:34

Click on the image for full size

รถไฟสายสีแดงผู้โดยสารพุ่ง ศุกร์ 3 ก.พ.นิวไฮ 25,144 คน งานเกษตรแฟร์ ดันสถานีบางเขนคึกคัก เสาร์ 4 ก.พ. จำนวน 2,351 คน เพิ่มจากปกติ 4 เท่า ขณะที่เปิดเดินรถขึ้นปีที่ 2 ผู้โดยสารสะสมทะลุ 5.3 ล้านคน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา รถไฟฟ้าสายสีแดงมีจำนวนยอดผู้โดยสาร ทำสถิติสูงสุด (นิวไฮ) อีกครั้งที่จำนวน 25,144 คน-เที่ยว โดยมีปัจจัยเนื่องจากเป็นวันศุกร์แล้วยัง มีงาน เกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 วันแรก ซึ่งทำให้ รถไฟสายสีแดงสถานีบางเขน มีผู้โดยสาร จำนวน 1,986 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับวันศุกร์ที่ 27 ม.ค. 2566 ที่มีจำนวน 1,306 คน-เที่ยว

ขณะที่วันเสาร์ที่ 4 ก.พ. 2566 ผู้โดยสารรวม ของรถไฟสายสีแดง อยู่ที่ประมาณ 18,406 คน-เที่ยว ซึ่งเพิ่มจากค่าเฉลี่ยของวันเสาร์ที่จะมีผู้โดยสารประมาณ 15,000 คน-เที่ยว เฉพาะที่สถานีบางเขน มีผู้โดยสารจำนวน 2,351 คน-เที่ยว ซึ่งเทียบกับวันเสาร์ที่ 28 ม.ค. 2566 ที่มีผู้โดยสารจำนวน 581 คน-เที่ยว หรือมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า ซึ่งปัจจัยหลักเป็นผลมาจากงานเกษตรแฟร์

ก่อนหน้านี้ รถไฟสายสีแดง มีผู้โดยสารนิวไฮ เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ต.ค. 2565 ที่จำนวน 25,125 คน-เที่ยว ซึ่งปัจจัยวันดังกล่าว เนื่องจากเกิดฝนตกหนักและมีน้ำท่วมถนนในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร การจราจรมีปัญหาหลายจุด รวมถึงถนนวิภาวดีรังสิต หน้าสนามบินดอนเมือง ทำให้มีการปรับมาใช้บริการรถไฟสายสีแดงแทนการใช้รถยนต์

สำหรับการเปิดเดินรถไฟดีเซลเป็นฟีดเดอร์เส้นทางทางสายใต้ ระหว่างสถานีธนบุรี-ตลิ่งชัน-นครปฐม สามารถเดินทางเข้าสู่รถไฟสายสีแดงได้สะดวก โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ลดค่าโดยสารลง50% นั้น ช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้ผู้โดยสาร สายสีแดง (ตะวันตก) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เพิ่มขึ้นจากช่วงแรกๆ ที่มีประมาณ 300 คน-เที่ยว เป็น 1,400-1,500 คน-เที่ยว

นายสุเทพกล่าวว่า นับจากที่เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง เชิงพาณิชย์ ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2564 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้นกว่า 5.3 ล้านคน-เที่ยวแล้ว โดยทะลุ 5 ล้านคน-เที่ยวเมื่อเดือนม.ค. 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ และการเปิดให้บริการรถไฟทางไกลที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และทำให้ค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้โดยสารเพิ่มจาก 19,000-20,000 คน-เที่ยวต่อวัน เป็น 20,000-21,000 คน-เที่ยวต่อวัน

รายงานข่าวแจ้งว่า งานเกษตรแฟร์ วันแรก เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ก.พ. 2566 นอกจากส่งผลให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง เพิ่มขึ้นแล้ว พบว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีบางเขน มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นหนาแน่นมากเช่นกัน และส่งผลให้ภาพรวมผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส อยู่ที่ 865,044 คน-เที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44986
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2023 6:55 am    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารรถไฟ-รถไฟฟ้าทะลุ 1.5ล.
Source - เดลินิวส์
Tuesday, February 07, 2023 05:26

เกษตรแฟร์ทำนิวไฮพุ่ง5เท่า

หนีรถติด-ใช้ชีวิตนอกบ้าน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประชาชนใช้บริการระบบรถไฟฟ้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาะรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว และรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ภาพรวมของปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางทุกระบบเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ก.พ. 2566 มีผู้โดยสาร ใช้บริการขนส่งรางทุกระบบรวม 1,513,111 คน ถือเป็นตัวเลขปริมาณผู้โดยสารสูงทะลุ 1.5 ล้านคน เป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่มีระบบรางในประเทศไทย โดยครั้งที่ 1 เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ม.ค. 66 ปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 1,518,420 คน ก่อนเกิดโควิด-19 ผู้โดยสารสูงสุดอยู่ที่วันละประมาณ 1.2 ล้านคน อีกทั้งยังเป็นวันที่รถไฟฟ้าสายสีแดง มีผู้โดยสารสูงสุดนับตั้งแต่เปิดบริการเดือน พ.ย. 64 ผู้โดยสารอยู่ที่ 25,397 คน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับรายละเอียดปริมาณผู้โดยสารระบบขนส่งทางราง วันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมา จำนวน 1,513,111 คน แบ่งเป็นรถไฟฟ้า BTS 865,044 คน รถไฟฟ้า MRT 478,357 คน รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 75,361 คน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 68,952 คน และรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) 25,397 คน จากการพิจารณาปัจจัยหลักที่ทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้นนอกจากมาจากการที่รัฐบาลคลายล็อกมาตรการการเดินทางทั้ง ในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงประชาชนเดินทางออกจากบ้านมากขึ้น

รวมไปถึงยังพบว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมา เป็นวันแรกของการจัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 66 ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ประชาชนเลือกใช้บริการรถไฟฟ้าเข้าร่วมงานจำนวนมาก เพราะเดินทางสะดวกสบาย ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรติดขัด และต้องหาที่จอดรถยนต์ส่วนตัว ทั้งนี้ปัจจุบันผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ มีการ เตรียมความพร้อม อาทิ ขบวนรถ และการปรับเพิ่มความถี่ เพื่อรองรับผู้โดยสารได้อย่างเพียงพอไว้แล้ว

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ในช่วงการจัดงานเกษตรแฟร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนนั้น จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่า รถไฟฟ้าสายสีแดง ที่สถานีบางเขน มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นจากปกติกว่า 4 เท่า โดยเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 66 ผู้โดยสารอยู่ที่ 1,966 คน, วันที่ 4 ก.พ. ผู้โดยสาร 2,351 คน และวันที่ 5 ก.พ. ผู้โดยสาร 2,321 คน ขณะที่ช่วงปกติผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณวันละ 500 คน ด้านรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว ที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นจากปกติเช่นกัน โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ. ผู้โดยสารอยู่ที่ 54,053 คน เพิ่มขึ้น 44,645 คน หรือประมาณเกือบ 5 เท่า เมื่อเทียบกับวันอาทิตย์ที่ 29 ม.ค.66 ซึ่งมีผู้โดยสาร 9,408 คน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 ก.พ. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42804
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2023 10:59 am    Post subject: Reply with quote

ร้องเรียนนับปี ขอแผ่นกั้นเสียงรถไฟ ให้ผู้พักอาศัยคอนโดฯ | ข่าวค่ำมิติใหม่
https://www.facebook.com/watch/?v=1627804674347032
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42804
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2023 11:13 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สีแดงนิวไฮ! เกษตรแฟร์ดันสถานีบางเขนผู้โดยสารพุ่ง 4 เท่า ขึ้นปีที่ 2 ยอดสะสมทะลุ 5.3 ล้านคน
ผู้จัดการออนไลน์ 5 ก.พ. 2566 12:34


สวัสดีวันอาทิตย์! ใช้รถไฟฟ้าสีแดงพุ่งใกล้แตะ 3 หมื่น
*ผู้โดยสารเยอะสุดสถานีกลางฯ/ดอนเมือง/รังสิต
*เพิ่มเก้าอี้-ป้ายบอกทาง-ติดราวกันตกชานชาลา
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/736609427916294
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 135, 136, 137 ... 149, 150, 151  Next
Page 136 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©