RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311330
ทั่วไป:13292058
ทั้งหมด:13603388
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2023 4:28 am    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม'สั่งรฟท.ปรับแบบสายสีแดงขยายไปถึงอยุธยา
Source - ไทยโพสต์
Wednesday, December 20, 2023 04:18

บางซื่อ * "สุรพงษ์" สั่ง รฟท.ปรับขยายระยะทางแนวเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีแดง 3 เส้นทางใหม่ให้ยาวกว่าเดิม หวังรองรับชุมชนเกิดใหม่ มั่นใจหลังปีใหม่ 1-2 เดือนกลับมาเสนอ ครม.อีกครั้ง

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า กระ ทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะ เร่งรัดดำเนินการในโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางอยู่ และขณะนี้ได้ สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไปพิจารณาปรับขยายระยะทางเส้นทางรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางออกไปยังนอกเมืองมากขึ้นจากเส้นทางที่มีอยู่เดิม เช่น เส้นทางช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ก็ให้ศึกษาพิจารณาขยายไปถึงอยุธยา, ส่วนเส้นทางสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ก็ให้ขยายเส้นทางไปถึงนครปฐม เป็นต้น คาดว่าทาง รฟท.จะเสนอกลับมายังกระทรวงคมนาคมหลังปีใหม่ และคาดว่าจะสามารถเสนอไปยัง ครม.ได้ไม่เกิน 2 เดือนหลังจากนั้น

สำหรับ สาเหตุที่ให้พิจารณาขยายระยะเส้นทางไกลจากแผนเดิม เนื่องจากมองว่าในปัจจุบันประชาชนส่วนมากได้ออกไปอยู่อาศัยนอกเมือง ประกอบกับเพื่อรองรับการขยายเติบโตของเมือง กระทรวงคมนาคมในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศ และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กระทรวงคมนาคมจึงต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับ และจะช่วยลดปริมาณประชากรในเขตเมืองหากมีระบบขนส่งโดยสารสาธารณะที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบราง

"การที่ให้ รฟท.กลับไปพิจารณาขยายเส้นทางส่วนต่อขยายเพิ่มขึ้นนั้น ก็ต้องยอมรับว่าหากเส้นทางเพิ่มวงเงินงบประ มาณในการดำเนินการก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนนี้ต้องรอให้ รฟท.ไปพิจารณาดูให้เกิดความรอบคอบ ซึ่งการขยายระยะทางก่อสร้างของเส้นทาง ก็จะส่งผลให้ภาครัฐบาลสามารถวางแผนในการ สร้างชุมชนใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น และจะช่วยให้ลดการอพยพเข้ามาอยู่ในเมือง หากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี และเดินทางสะดวก รวดเร็ว" นายสุรพงษ์กล่าว.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2023 10:32 am    Post subject: Reply with quote

จบแล้วปีนี้! ส่วนต่อขยาย “สายสีแดง” ไม่เข้า ครม. ยืดเส้นทางไป “อยุธยา-นครปฐม”
เดลินิวส์ 20 ธันวาคม 2566 7:15 น.
นวัตกรรมขนส่ง

ปีนี้ไม่มีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง เข้า ครม. ลุ้นกันใหม่ปี 67 “คมนาคม” ขอปรับเพิ่มระยะทางให้ยาวขึ้น “รังสิต-ธรรมศาสตร์” ขยายไป “อยุธยา” ส่วน “ตลิ่งชัน-ศาลายา” ขยายไป “นครปฐม” สนองนโยบายรัฐบาลขยายสังคมเมืองไปนอกเมือง คาดชง ครม.เคาะได้ไม่เกิน มี.ค.ปีหน้า

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคม ได้นำโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 6,468 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันเรื่องอยู่ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) กลับมาปรับเพิ่มเส้นทางดังกล่าวให้มีระยะทางยาวขึ้นกว่าเดิม ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะขยายสังคมเมืองกระจายออกไปนอกเมือง โดยจะใช้รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นเครื่องมือในการเดินทางของประชาชน

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นจะปรับเพิ่มเส้นทาง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ให้มีระยะทางยาวไปถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะเดียวกันจะปรับเพิ่มเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ซึ่งเดิมมีระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท ให้มีระยะทางยาวไปจนถึง จ.นครปฐมด้วย อย่างไรก็ตามการปรับเพิ่มระยะทางของ 2 เส้นทางดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาในการปรับเพิ่มรายละเอียด อาทิ ระยะทาง และกรอบวงเงิน และเสนอกลับมากระทรวงคมนาคมได้ประมาณหลังเทศกาลปีใหม่ 67 หรือประมาณภายในเดือน ม.ค.67 จากนั้นจะเสนอให้ ครม. พิจารณาได้ไม่เกิน 2 เดือน หรือไม่เกินเดือน มี.ค.67 

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง และระยะทาง ยังคงเป็นเส้นทาง และกรอบวงเงินเดิม ซึ่งขณะนี้เส้นทางดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ คาดว่าจะเสนอ ครม. อนุมัติได้ในช่วงต้นปี 67 อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย แต่เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่จะกระจายสังคมเมืองออกไปนอกเมือง และปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่อยู่อาศัยนอกเมืองมากขึ้น กระทรวงคมนาคมจึงต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่สมบูรณ์ สามารถรองรับ และอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ –หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการปรับแบบสถานีราชวิถีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งต้องประเมินราคาค่าก่อสร้างใหม่ เบื้องต้นอาจต้องปรับกรอบวงเงินเพิ่มประมาณ 2,843 ล้านบาท จากเดิม 44,157 ล้านบาท เป็นประมาณ 47,000 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอ ครม. พิจารณาในปี 67 เช่นกัน ส่วนเรื่องการบริหารงานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา(O&M) ซึ่งเดิมจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง ส่วนต่อขยายสายสีแดง ทั้ง 4 เส้นทาง เดิม รฟท. มีเป้าหมายเปิดประมูล และเริ่มงานก่อสร้างโครงการฯ ตั้งแต่ปี 64 แต่เนื่องจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรมว.คมนาคม ในรัฐบาลชุดที่ผ่านมามีนโยบายปรับแผนการลงทุนโครงการเป็นรูปแบบ PPP จึงต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดการดำเนินการดังกล่าวอีกครั้ง และสุดท้ายได้ผลสรุปว่า จะเปิดประมูลงานก่อสร้าง และงานระบบ 4 เส้นทางก่อน จากนั้นจึงเปิดประมูล PPP งานเดินรถ จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงาน และบำรุงรักษา (O&M) ต่อไป

อย่างไรก็ตามทั้ง 4 เส้นทาง ก่อนหน้านี้ ครม. อนุมัติโครงการทั้งหมดแล้ว ซึ่งช่วง Missing Link อนุมัติตั้งแต่ปี 59 ส่วนอีก 3 เส้นทางอนุมัติตั้งแต่ปี 62 แต่เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีหลายปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่ละโครงการจึงต้องทบทวนราคาค่าก่อสร้าง และปรับกรอบวงเงินใหม่ ทำให้ต้องเสนอที่ประชุม ครม. พิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง ซึ่งมีการเตรียมเสนอเข้า ครม. ตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้มีการนำเสนอ จนกระทั่งล่าสุดเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม มีนโยบายให้ปรับเพิ่มระยะทางให้ยาวขึ้น จึงต้องปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบ และดำเนินการเปิดประกวดราคา และก่อสร้างต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2023 11:01 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จบแล้วปีนี้! ส่วนต่อขยาย “สายสีแดง” ไม่เข้า ครม. ยืดเส้นทางไป “อยุธยา-นครปฐม”
เดลินิวส์ วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 7:15 น.
นวัตกรรมขนส่ง


Mongwin wrote:
คมนาคม สั่งรฟท.ทบทวนขยายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยาย
ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 10:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)



สั่งขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ออกไปนอกเมืองให้มากขึ้น
Date Time: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:20 น.


นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางว่า สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาขยายระยะทางรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางออกไปนอกเมืองให้มากขึ้น จากเส้นทางเดิม เช่น ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ก็ให้พิจารณาขยายไปถึงอยุธยา ส่วนสายสีแดง ช่วง ตลิ่งชัน-ศาลายา ก็ให้ขยายเส้นทางไปถึงนครปฐม เป็นต้น คาดว่า รฟท.จะเสนอกลับมาหลังปีใหม่ และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ไม่เกิน 2 เดือนหลังจากนั้น

สาเหตุที่ให้พิจารณาขยายระยะเส้นทางไกล เพราะประชาชนส่วนมากอาศัยนอกเมือง การเมืองขยายตัว กระทรวงคมนาคมจึงต้องวางแผนรองรับการเติบโตของเมือง และช่วยลดปริมาณประชากรในเขตเมือง หากมีระบบขนส่งโดยสารสาธารณะที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบราง

“การให้ รฟท.กลับไปพิจารณาขยายเส้นทางส่วนต่อขยาย เพิ่มขึ้น ยอมรับว่าจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนนี้ต้องรอให้ รฟท.ไปพิจารณาดู ให้เกิดความรอบคอบ การขยายระยะทางก่อสร้างของเส้นทาง จะส่งผลให้รัฐบาลสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆให้เกิดขึ้น และช่วยให้ลดการอพยพเข้ามาอยู่ในเมือง หากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี และเดินทางสะดวก รวดเร็ว”

สำหรับแผนพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทางนั้น ประกอบด้วย สายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเดิมส่วนต่อขยายช่วงนี้ได้เสนอสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว รอบรรจุวาระการประชุม ครม. ล่าสุด ส่งมาให้ รฟท. ดำเนินการใหม่, ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. ซึ่งพร้อมเสนอ ครม.เช่นกัน, ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. อยู่ระหว่างรอการพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อย่างไรก็ตาม เมื่อมีนโยบายให้พิจารณาปรับขยายระยะทาง ดังนั้น ส่วนต่อขยายทั้ง 3 ช่วงก็จะกลับมาที่ รฟท. เพื่อพิจารณาใหม่.

“สุรพงษ์”สั่งรฟท.ทบทวน”สีแดงต่อขยาย”ถอนเรื่องจากครม.ศึกษายืดเส้นทางออกไปถึงอยุธยาและนครปฐมเร่งสรุปในต้นปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:33 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:33 น.


“สุรพงษ์”สั่งรฟท.ทบทวน “สายสีแดงส่วนต่อขยาย”ถอนเรื่องคืนจากครม. กลับมาศึกษายืดแนวเส้นทางสายเหนือจากรังสิต-มธ.รังสิต ไปถึงอยุธยา , ตลิ่งชัน-ศาลายา ต่อไปถึงนครปฐม หวังให้เป็นระบบรางหลักรองรับการขยายตัวของเมืองและชุมชนใหม่ๆ ปริมณฑลและหัวเมืองรอบกทม. ยอมรับค่าก่อสร้างเพิ่ม เร่งสรุปใน1-2 เดือน

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งรัดการพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1. ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต 2.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และ 3. ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช โดยได้มีการเร่งสรุปข้อมูลเพื่อเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา นั้น ล่าสุด ได้มีแนวคิดเห็นว่า ควรขยายเส้นทางเพิ่มเติมออกไปยังเมืองรอบนอกมากขึ้น เช่น ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ควรขยายไปถึงอยุธยา หรือ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ควรขยายไปถึง นครปฐม ซึ่งจะต้องนำกลับมาพิจารณาศึกษาเพิ่มเติม จึงได้ถอนเรื่องกลับ เพื่อส่งคืนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ไปศึกษาทบทวนขยายระยะทางเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน 1-2 เดือน เนื่องจากโครงการมีผลศึกษาเดิมอยู่ก่อนแล้ว โดยจะนำกลับไปเสนอครม.ได้อีกครั้งประมาณเดือนม.ค.- ก.พ. 2567

“เหตุผลที่ให้รฟท.ทบทวน สายสีแดง ส่วนต่อขยายโดยลากเส้นทางออกไปอีก เพื่อรองรับการขยายการเติบโตของเมืองและเชื่อมกับชุมชม เป็นการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบรางที่มีความสะดวก และปลอดภัย เป็นการเตรียมแผนลงทุนที่คุ้มค่าเพื่ออนาคต และทำให้ภาครัฐสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆให้เกิดขึ้น และช่วยให้ลดความแออัดของเมืองลงอีกด้วย”

นายสุรพงษ์กล่าวว่า การขยายเส้นทางออกไป จะส่งผลต่อค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคงต้องมีการปรับเรื่องตัวเลขวงเงินลงทุนโครงการใหม่ด้วย ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบ


สำหรับการพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,448.69 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว อยู่ระหว่างรอบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาซึ่ง ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้ถอนเรื่องกลับมาแล้ว

ส่วน สายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท รอการพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2023 11:43 am    Post subject: Reply with quote

เพิ่มเติมจากไทยโพสต์ ที่คุณวิศรุตพูดถึงครับ

'สุรพงษ์' สั่งรื้อสายสีแดงส่วนต่อขยายหวังรองรับชุมชนเกิดใหม่
ไทยโพสต์ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 11:10 น.

“สุรพงษ์” สั่ง รฟท.ปรับขยายระยะทางแนวเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีแดง 3 เส้นทางใหม่ ให้ยาวกว่าเดิม จากรังสิต-ธรรมศาสตร์ ขยายไปสิ้นสุดอยุธยา , ตลิ่งชัย-ศาลายา ขยายต่อไปนครปฐม รองรับชุมชนเกิดใหม่ หวังเป็นเส้นทางหลักขนถ่ายผู้โดยสารจากปริมณฑลเข้าสู่เมือง มั่นใจหลังปีใหม่1-2เดือนกลับมาเสนอ ครม.ใหม่

20 ธ.ค. 2566 – นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะเร่งรัดดำเนินการในโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3เส้นทางอยู่ และขณะนี้ได้สั่งการให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ไปพิจารณาปรับขยายระยะทาง เส้นทางรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ออกไปยังนอกเมืองมากขึ้นจากเส้นทางที่มีอยู่เดิม เช่น เส้นทางช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ก็ให้ศึกษาพิจารณาขยายไปถึงอยุธยา ,ส่วนเส้นทางสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ก็ให้ขยายเส้นทางไปถึงนครปฐม เป็นต้น คาดว่าทาง รฟท. จะเสนอกลับมายังกระทรวงคมนาคมหลังปีใหม่ และคาดว่าจะสามารถเสนอไปยัง ครม. ได้ไม่เกิน 2 เดือนหลังจากนั้น

สำหรับสาเหตุที่ให้พิจารณาขยายระยะเส้นทางไกลจากแผนเดิม เนื่องจากมองว่าในปัจจุบันประชาชนส่วนมากได้ออกไปอยู่อาศัยนอกเมือง ประกอบกับเพื่อรองรับการขยายเติบโตของเมือง กระทรวงคมนาคมในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางของประเทศ และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กระทรวงคมนาคม จึงต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อรองรับ และจะช่วยลดปริมาณประชากรในเขตเมือง หากมีระบบขนส่งโดยสารสาธารณะที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบราง

“การที่ให้ รฟท. กลับไปพิจารณาขยายเส้นทางส่วนต่อขยายเพิ่มขึ้นนั้นก็ต้องยอมรับว่าหาก เส้นทางเพิ่มวงเงินงบประมาณในการดำเนินการก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนนี้ต้องรอให้ รฟท. ไปพิจารณาดูให้เกิดความรอบคอบ ซึ่งการขยายระยะทางก่อสร้างของเส้นทาง ก็จะส่งผลให้ภาครัฐบาลสามารถวางแผนในการสร้างชุมชนใหม่ๆให้เกิดขึ้น และจะช่วยให้ลดการอพยพเข้ามาอยู่ในเมือง หากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี และเดินทางสะดวก รวดเร็ว”นายสุรพงษ์ กล่าว

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า แผนพัฒนาโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทางนั้น ประกอบด้วย สายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. ซึ่งเดิมส่วนต่อขยายช่วงนี้ได้เสนอเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว รอบรรจุวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าสุดไปกลับมาให้ รฟท. ดำเนินการใหม่ , ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. เดิมส่วนนี้ก็มีความพร้อมที่จะเสนอ ครม.เช่นกัน, ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. ช่วงนี้อยู่ระหว่างรอการพิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)อย่างไรก็ตามเมื่อมีนโยบายให้พิจารณาปรับขยายระยะทาง ดังนั้นส่วนต่อขยายทั้ง 3 ช่วงก็จะกลับมาที่ รฟท. เพื่อพิจารณาใหม่ทั้ง3ช่วง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2023 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เพิ่มเติมจากไทยโพสต์ ที่คุณวิศรุตพูดถึงครับ

'สุรพงษ์' สั่งรื้อสายสีแดงส่วนต่อขยายหวังรองรับชุมชนเกิดใหม่
ไทยโพสต์ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 11:10 น.


Mongwin wrote:
‘คมนาคม’ ดึง ‘สายสีแดง’ กลับ สั่งศึกษาสายทางถึง ‘อยุธยา - นครปฐม’
วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น. isranews

https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/124850-isranews-1000-732.html

เกมแล้วปีนี้! ขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงไม่เข้าครม.
*คมนาคมถอนเรื่องกลับคืนมาศึกษาใหม่
*ยืดเส้นทางให้ยาวไปถึงอยุธยา/นครปฐม
*ปีหน้าปีต่อไปได้สร้างมั้ยให้เพื่อไทยลิขิต
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/905963724314196
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2023 3:56 am    Post subject: Reply with quote

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน รฟท.แจ้งสามารถขึ้นรถไฟฟ้าสีแดงได้

ฐานเศรษฐกิจ
21 ธันวาคม 2566

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งแล้วว่าผู้ถือบัตรสามารถขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดงได้จำนวน 13 สถานี ตรวจสอบรายละเอียดและเงื่อนไขคลิกอ่านด่วนที่นี่
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน นอกเหนือจากผู้ถือบัตรจำนวน 13.5 ล้านราย สามารถซื้อสินค้าในวงเงิน 300 บาท ชำระค่าน้ำ ค่าไฟ และ วงเงินค่าเดินทางขนส่งสาธารณะสามารถใช้จ่ายได้ต่อเดือนเดือนละ 700 บาท

ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. แจ้งว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน สามารถขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ปัจจุบันรถไฟฟ้าสานสีแดงให้บริการทั้งหมด 13 สถานี เป็นระยะทางรวม 37.60 กิโลเมตร ได้แก่สถานีดังต่อไปนี้

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนธันวาคม 2566 โอนงวดสุดท้ายวันที่ 20 ธ.ค.

สถานีตลิ่งชัน
สถานีบางบำหรุ
สถานีบางซ่อน
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)
สถานีจตุจักร
สถานีวัดเสมียนนารี
สถานีบางเขน
สถานีทุ่งสองห้อง
สถานีหลักสี่
สถานีการเคหะ
สถานีดอนเมือง
วิธีการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจนขึ้นรถไฟฟ้าสายสีแดง
การใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐชำระค่าโดยสารสามารถใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อซื้อเหรียญโดยสาร (Token) เท่านั้น
ไม่สามารถใช้ซื้อบัตรโดยสาร เติมเงินบัตรโดยสาร หรือเติมเที่ยวเดินทางได้
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่นำมาใช้ซื้อเหรียญโดยสาร ต้องเป็นเจ้าของบัตรเท่านั้น
ไม่สามารถนำบัตรสวัสดิการฯ ของผู้อื่นมาใช้สิทธิ์ได้ บัตรสวัสดิการฯ 1 ใบ/การซื้อเหรียญโดยสาร 1 เหรียญเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/12/2023 1:27 pm    Post subject: Reply with quote

4 ปี!รถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายไม่คืบ ผ่าน 3 รัฐบาลนโยบายเปลี่ยน”รื้อแล้ว...รื้ออีก”ปรับใหม่ยืดแนวถึงอยุธยา,นครปฐมรับเมืองโต
ผู้จัดการออนไลน์ 25 ธ.ค. 2566 08:17 น.

ปัจจุบัน โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง เปิดให้บริการแล้ว 2 เส้นทาง คือช่วง บางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม. มี 10 สถานี ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15.3 กม. มี 3 สถานี ส่วนสายสีแดง ส่วนต่อขยาย จำนวน 4 เส้นทาง แม้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในยุครัฐบาล”คสช.” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี จะเคยอนุมัติโครงการไปแล้วเมื่อปี 2562 จำนวน 3 เส้นทาง คือ ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. ,ช่วง ตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. และช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. แต่ทำไมโครงการถึงยังไม่เริ่มก่อสร้างเสียที!!!

@มหากาพย์ สายสีแดงส่วนต่อขยาย”รื้อแล้ว...รื้ออีก”

สายสีแดง 2 เส้นทางแรก “บางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน”เจอปัญหาอุปสรรคมากมาย เป็นรถไฟฟ้าที่ใช้เวลาก่อสร้างยาวนานถึง 10 ปี กว่าจะเปิดให้บริการได้เมื่อพ.ย. 2564

ส่วนเส้นทางต่อขยายหลังครม.อนุมัติ โครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ได้แก่ช่วงรังสิต – มธ.ศูนย์รังสิต ,ช่วง ตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช เมื่อต้นปี 2562 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางแผนงานว่า จะเปิดประมูล e-bidding หาผู้รับจ้างและเริ่มก่อสร้างในปี 2562 คาดหมายว่าโครงการ จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 แต่หลังจากมีการเลือกตั้ง ในปี 2563 จุดเปลี่ยนของรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายเกิดขึ้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปลี่ยนจาก”อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รมต.ยุค คสช.เป็นรัฐบาลเลือกตั้ง มี ”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”จากพรรคภูมิใจไทยเป็นรมว.คมนาคมคนใหม่

”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”สั่งเบรกประมูลก่อสร้างรถไฟสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง พร้อมเปิดนโยบาย PPP ที่จะให้เอกชนร่วมลงทุน ก่อสร้างและเดินรถสีแดงทั้งหมด คือ 2 เส้นทางแรก “บางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน” รวมไปถึง ส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง พร้อมกับล้มเลิกการจัดตั้งบริษัทลูกสายสีแดง ของรฟท. ที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)เห็นชอบแนวทางไว้หมดแล้ว

โดยระบุเหตุผลว่า”แนวทางการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ทั้งการบริหารการเดินรถ และการก่อสร้างสายสีแดง ส่วนต่อขยายทั้งหมด 4 เส้นทาง ที่มีวงเงินลงทุนกว่า 6.7 หมื่นล้านบาทนั้น จะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในการลงทุน และสามารถนำเงินไปใช้ในการต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มากขึ้น”

@เสี่ยงเจ๊ง!!! PPP วงเงินกว่า 3.4 แสนล้านบาท กลับลำให้รัฐสร้างโยธาเอง

ก.ย. 2564 รฟท.รับนโยบาย จ้างที่ปรึกษา ทำการศึกษาทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ จัดทำเอกสารประกวดราคาและการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) แนวทาง PPP มีมูลค่าสูงถึง 3.4 แสนล้านบาท เนื่องจาก เอกชนจะต้องลงทุนใน 5 ส่วน ประกอบด้วย

1. จ่ายค่าก่อสร้างแล้วเสร็จ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม. และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15.3 กม. วงเงิน 108,833.01 ล้านบาท

2. จ่ายค่างาน VO ช่วงบางซื่อ-รังสิต วงเงิน 10,345 ล้านบาท

3.ก่อสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท

4.ก่อสร้างสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท

5.ก่อสร้าง สายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท

6.ก่อสร้างสายสีแดง (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

7.ค่าลงทุนงานระบบและจัดหาขบวนรถ วงเงิน 131,073.74 ล้านบาท

และ8.ค่าลงทุนงานเพิ่มเติมในอนาคต วงเงิน 21,044 ล้านบาท

“เมื่อ PPP ลงทุนสูงเกินไป ความเสี่ยงขาดทุนสูงมาก เอกชนไม่สนใจแน่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ล้มเลิก PPP สั่งกลับลำหันมาใช้แนวทางรัฐก่อสร้างโยธาเองเหมือนเดิม เสียเวลา ไป 2 ปี...”

@รฟท.ตั้งหลักใหม่ ทบทวนแบบ-ปรับวงเงิน เร่งชงครม.”เศรษฐา”

เนื่องจากเวลาที่ผ่านไป 2-3 ปี ทำให้ภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ต้นทุนต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้น รฟท.ต้องทบทวนวงเงินลงทุนโครงการ 4 เส้นทางใหม่ทั้งหมด

โดยเส้นทาง รังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร มี 6 สถานี มติครม.เดิมเมื่อ ก.พ. 2562 เห็นชอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ประกอบด้วย (ค่างานโยธาและระบบราง 3,874.29 ล้านบาท, ค่าระบบไฟฟ้าเครื่องกล 2,197.19 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 7.39 ล้านบาท , CSC 166.97 ล้านบาท, ICE 21.97 ล้านบาท ,ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วยเวนคืน 5 ล้านบาท,ค่าเวนคืนที่ดิน 295 ล้านบาท)

ทบทวนกรอบวงเงินปรับใหม่ ที่ 6,468.69 ล้านบาท ลดลง 101.71 ล้านบาทเนื่องจากปรับลดจากค่าเวนคืนลงบางส่วน ประกอบด้วย (ค่างานโยธาและระบบราง 4,055.65 ล้านบาท, ค่าระบบไฟฟ้าเครื่องกล 2,004.17 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 7.39 ล้านบาท , CSC 166.97 ล้านบาท, ICE 20.04 ล้านบาท ,ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วยเวนคืน 5 ล้านบาท,ค่าเวนคืนที่ดิน 209.79 ล้านบาท) โดยจะเสนอครม.เพื่อทราบ เนื่องจากวงเงินอยู่ในกรอบเดิม

เส้นทาง ตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร มี 6 สถานี มติครม.เดิมเมื่อ ก.พ. 2562 วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ประกอบด้วย(ค่างานโยธาและระบบราง 7,358.65 ล้านบาท, ค่าระบบไฟฟ้าเครื่องกล 2,531.36 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 10 ล้านบาท ,ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง(CSC) 271.98 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (ICE) 30.19 ล้านบาท)

กรอบวงเงินปรับใหม่ ที่ 10,670.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 468.09 ล้านบาท ประกอบด้วย (ค่างานโยธาและระบบราง 8,076.62 ล้านบาท, ค่าระบบไฟฟ้าเครื่องกล 2,284.09 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 7.39 ล้านบาท , CSC 271.98 ล้านบาท, ICE 30.19 ล้านบาท) โดยเสนอครม.เพื่อขออนุมัติปรับเพิ่มกรอบวงเงิน

เส้นทาง ตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร มี 3 สถานี มติครม.เดิมเมื่อ มี.ค.2562 วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท ประกอบด้วย (ค่างานโยธาและระบบราง 2,706.56 ล้านบาท, ค่าระบบไฟฟ้าเครื่องกล 1,997.33 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 10 ล้านบาท , CSC 177.73 ล้านบาท, ICE 40.24 ล้านบาท ,ค่าจัดหาตู้รถไฟฟ้าแบบ 4 ตู้/ขบวนจำนวน 4 ขบวน หรือ 16 ตู้ วงเงิน 1,713.17 ล้านบาท)

ทบทวนกรอบวงเงินปรับใหม่ ที่ 4,694.36 ล้านบาท ลดลง 1,950.67 ล้านบาทเนื่องจากตัดค่าจัดหารถไฟฟ้า 16 ตู้ออกตามผลศึกษา PPP ให้เอกชนเดินรถเป็นผู้จัดหา (ค่างานโยธาและระบบราง 2,798.06 ล้านบาท, ค่าระบบไฟฟ้าเครื่องกล 1,670.94 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดประกวดราคา 7.39 ล้านบาท , CSC 177.73 ล้านบาท, ICE 40.24 ล้านบาท ) โดยจะเสนอครม.เพื่อทราบ เรื่องการให้เอกชนจัดหาขบวนรถไฟฟ้า โดยกรอบวงเงินอยู่ในกรอบเดิม

เส้นทาง ช่วง บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. มี 9 สถานีวงเงินตามมติ ครม.เดิม 44,157.76 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก เบื้องต้นกรอบวงเงินเพิ่มเป็น 47,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2,800 ล้านบาท

@สั่งรื้อใหม่ ขยายเส้นทางไปถึง”อยุธยา และนครปฐม”

โดยล่าสุด รฟท.ปรับปรุงทบทวนโครงการเรียบร้อย 3 เส้นทาง คือ รังสิต – มธ.ศูนย์รังสิต , ตลิ่งชัน-ศาลายา,ตลิ่งชัน-ศิริราชและกระทรวงคมนาคม เสนอเรื่องไปถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่!!!กลับมีคำสั่งถอนเรื่องออกมาปรับแก้กันใหม่อีก...โดย”สุรพงษ์ ปิยะโชติ”รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ต่อขยายเส้นทางสายเหนือออกไปถึง”อยุธยา”และสายตะวันตกถึง”นครปฐม”โดยระบุว่า เพื่อใครเป็นระบบรางหลักรองรับการขยายตัวของเมืองและชุมชนใหม่ๆรอบกทม.

@แผนแม่บท(M-MAP)วางโครงข่ายสีแดง’เหนือ-ใต้ ออก-ตก’เชื่อมชานเมือง

ทั้งนี้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-MAP) 10 เส้นทาง ระบุว่า รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม มีระยะทาง 114.3 กม. 36 สถานี เป็นเส้นทางหลักในแนวเหนือ-ใต้ ทอดไปตามแนวทางรถไฟเดิม เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง รังสิต ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอน มหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง

ซึ่งรฟท.เคยทำการศึกษาออกแบบโดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดิน ทางไปสู่ภูมิภาคต่างๆ โครงข่ายสนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอก ตามแนวคิดผังเมือง รองรับศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ พื้นที่ชุมชนบริเวณถนนแจ้งวัฒนะและรามอินทราที่กำลังมีการเติบโตในอัตราสูง เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับประชาชนบริเวณรังสิต ปทุมธานี ไปยังเมืองมหาวิทยาลัยบริเวณรังสิต อยุธยา เชื่อมโยงไปยังบ้านภาชี ในอนาคตสามารถเชื่อมโยงกับสถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือแห่งใหม่อีกด้วย โครงการสามารถแก้ปัญหาจุดตัดระหว่างถนนและรถไฟในเขตเมือง ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของระบบราง และลดความล่าช้าในการเดินทางบนโครงข่ายถนนได้

โดยโครงข่ายด้านเหนือจาก ม.ธรรมศาสตร์รังสิต จะต่อไปถึงบ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 28 กม.ด้านใต้ จากหัวลำโพงจะต่อไปถึงมหาชัย ระยะทางประมาณ 36 กม. และระยะต่อไป จะขยายไปถึงปากท่อ จ.ราชบุรี เพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟทางคู่ช่วงศาลายา-ปากท่อ-ปาดังเบซาร์ (ทางรถไฟสายใต้) ซึ่งยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน หรือ M-MAP ฉบับแรกมีการศึกษาวางโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าไว้อย่างครอบคลุม สายสีแดงจะเป็นเส้นทางหลัก ดังนั้น หากด้านใต้ไม่ต่อไปมหาชัยและปากท่อ รถโดยสารและสินค้า จะต้องเชื่อมเข้าทางนครปฐม-ศาลายา-ตลิ่งชัน ซึ่งมีทางเพียง 2 คู่ รถไฟชานเมืองสีแดง รถไฟทางไกล รถไฟสินค้า ต้องบริหารการเดินรถร่วมกัน (แชร์แทร็กซ์) ส่วนด้านเหนือ ตอนนี้มีรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา และอนาคตจะมีเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ อีกสายที่จะวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน จะมีปัญหาพื้นที่เขตทางรถไฟไม่เพียงพอหรือไม่

ว่ากันว่า การให้ทบทวน โดยขยายเส้นทางเพิ่มเติมช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ไปถึงอยุธยา และ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ขยายไปถึง นครปฐมนั้น เพื่อต้องการเสนอครม.เห็นชอบในหลักการไว้ก่อนตลอดเส้นทางในคราวเดียว ขณะที่การก่อสร้าง จะแบ่งเป็นเฟสแรก ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา เหมือนเดิมเพราะมีการออกแบบ และEIA ผ่านแล้ว มีความพร้อมเปิดประมูลก่อสร้าง ส่วนเฟส 2 หากมีความพร้อมก็สามารถดำเนินการได้ต่อเพราะครม.เห็นชอบไว้แล้ว คมนาคมตั้งเป้า เสนอครม.ในต้นปี 2567 ก็คงต้องติดตามกันต่อว่า จะเป็นตามแผนงานหรือไม่ และที่สุดแล้ว”รถไฟสายสีแดงต่อขยาย”จะได้สร้างกันตอนไหน!!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2023 10:23 am    Post subject: Reply with quote

“สายสีแดง” สวัสดีปีใหม่ 2567 สุดว้าว 1 ม.ค.เสิร์ฟอาหารเช้าแทนคำขอบคุณ กับ “ยายปริก-นังจวง” จากละคร "พรหมลิขิต"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 20:07 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:46 น.

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงจัดกิจกรรมเบิกฟ้าต้อนรับศักราชใหม่ 2567 ด้วยกิจกรรมเสิร์ฟอาหารเช้าแทนคำขอบคุณ กับนักแสดงนำจากละคร “พรหมลิขิต” วันที่ 1 ม.ค. 67 เวลา 08.00-10.00 น. ณ สถานีดอนเมือง

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า ทางบริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ช่วงเวลาแสนพิเศษในเทศกาลปีใหม่ของประชาชนให้มีความสุขและมีความหมายยิ่งขึ้น ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลแห่งความสุข ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ ตลอดทั้งปี เปรียบเสมือนของขวัญสำหรับประชาชนที่ให้ความไว้วางใจเดินทางด้วยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงตลอดมา ถือเป็นการเติมเต็มช่วงเวลาอันแสนพิเศษให้แก่คนไทย เมื่อเข้าสู่ศักราชใหม่ปี 2567 นี้ เตรียมพบกับกิจกรรมจากรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ด้วยการเสิร์ฟอาหารเช้า ไก่ย่างพร้อมข้าวเหนียว กาแฟและเครื่องดื่มเย็น โดยนักแสดงนำจากละคร ‘พรหมลิขิต’ เช่น “อำภา ภูษิต” , “จุ๊บแจง-วิมลพันธ์ ชาลีจังหาญ” เป็นตัวแทนมอบของขวัญสุดพิเศษเพื่อแทนคำขอบคุณลูกค้าที่น่ารักของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และยังสามารถร่วมสนุกกับตู้ถ่ายภาพ Photo Booth ในธีมรถไฟฟ้าสุดชิก จึงขอเชิญชวนผู้ใช้บริการทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความสุขในเทศกาลปีใหม่ 2567 ในวันที่ 1 ม.ค. 67 ตั้งแต่เวลา 08.00-10.00 น. หรือจนกว่าของจะหมด ณ สถานีดอนเมือง

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ขอขอบคุณจากใจที่ทุกท่านร่วมเดินทางด้วยกันตลอดมา มาร่วมสร้างความทรงจำดีๆ ให้เทศกาลแห่งความสุขนี้พิเศษไปพร้อมกัน และบริษัทฯ จะมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าด้วยมาตรฐานระดับสากล มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ รักษามาตรฐานการปฏิบัติงานในด้านการเดินรถ และซ่อมบำรุง พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพอยู่เสมอ รวมถึงรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจขององค์กร อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงทุกการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมืองได้อย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2023 6:11 pm    Post subject: Reply with quote

M-MAP2 ศึกษาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัยใหม่ เลี่ยงเวนคืนแนวเส้นทางรถไฟเดิมเพราะเขตทางกว้างไม่พอ ย้ายแนวไปอยู่บนถนนเอกชัยแทน 😃
ปีนี้ทีมงาน LivingPop ได้ไปร่วมฟังการบรรยาย-งานประชุมสรุปโครงการมาหลายโครงการเลยครับ หนึ่งในนั้นก็คือการสรุปผลการศึกษาแนวเส้นทางรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล ระยะที่ 2 หรือที่เรียกว่า M-MAP2 ซึ่งนอกจากภาพรวมของเส้นทางทั้งหมดที่เราได้เคยโพสต์ไปเมื่อเดือนกรกฎาคมเนี่ย ยังมีข้อมูลอีกหลายชุดที่เรายังหาจังหวะที่เหมาะๆ ในการเอามาเล่าอยู่
หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องการปรับแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงอันนี้ เพราะมาประจวบเหมาะกับการประชุมวางผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับแก้ไขพอดี ซึ่งในผังเส้นทางคมนาคมก็ได้มีการบรรจุแนวเส้นทางสายสีแดงที่ปรับใหม่ลงไปแล้วเรียบร้อย เราก็เลยคิดว่าคงจะมีการปรับแนวไปทางเอกชัยค่อนข้างแน่นอนแล้ว
วันนี้เลยจะพาเพื่อนๆ ชาวฝั่งธนตอนใต้ จอมทอง บางบอน จนถึงสมุทรสาคร ไปไล่ดูแนวเส้นทางแนวใหม่กันครับ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลยยย 😄
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/963258908494517
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2023 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
M-MAP2 ศึกษาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-มหาชัยใหม่ เลี่ยงเวนคืนแนวเส้นทางรถไฟเดิมเพราะเขตทางกว้างไม่พอ ย้ายแนวไปอยู่บนถนนเอกชัยแทน 😃
ปีนี้ทีมงาน LivingPop ได้ไปร่วมฟังการบรรยาย-งานประชุมสรุปโครงการมาหลายโครงการเลยครับ หนึ่งในนั้นก็คือการสรุปผลการศึกษาแนวเส้นทางรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล ระยะที่ 2 หรือที่เรียกว่า M-MAP2 ซึ่งนอกจากภาพรวมของเส้นทางทั้งหมดที่เราได้เคยโพสต์ไปเมื่อเดือนกรกฎาคมเนี่ย ยังมีข้อมูลอีกหลายชุดที่เรายังหาจังหวะที่เหมาะๆ ในการเอามาเล่าอยู่
หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องการปรับแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงอันนี้ เพราะมาประจวบเหมาะกับการประชุมวางผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับแก้ไขพอดี ซึ่งในผังเส้นทางคมนาคมก็ได้มีการบรรจุแนวเส้นทางสายสีแดงที่ปรับใหม่ลงไปแล้วเรียบร้อย เราก็เลยคิดว่าคงจะมีการปรับแนวไปทางเอกชัยค่อนข้างแน่นอนแล้ว
วันนี้เลยจะพาเพื่อนๆ ชาวฝั่งธนตอนใต้ จอมทอง บางบอน จนถึงสมุทรสาคร ไปไล่ดูแนวเส้นทางแนวใหม่กันครับ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลยยย 😄
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/963258908494517


ขอบคุณกรมการขนส่งทางรางและโครงการศึกษา M-MAP2 ที่รับฟังเสียงของประชาชนครับ ล่าสุดมีผู้ที่เกี่ยวข้องทัก inbox มาแจ้งว่าปัจจุบันเส้นทางสายสีแดงหัวลำโพง-มหาชัย เปลี่ยนกลับมาเป็นแบบ Commuter Train เหมือนเดิมแล้ว
เช่นกันกับส่วนต่อขยายสายสีเขียว บางหว้า-บางรักน้อยท่าอิฐ ที่เปลี่ยนกลับมาเป็น Heavy Rail แล้วเช่นกัน จากตอนแรกที่เป็น Monorail ทั้งคู่
พอดีตอนนี้ทีมงานอยู่ระหว่างกลับจากกาญจนบุรี เดี๋ยวถึงแล้วจะกลับไปแก้ไขอัพเดตภาพในโพสต์เมื่อวานให้ฮะ 😉
https://www.facebook.com/livingpopth/posts/963766461777095
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 149, 150, 151  Next
Page 146 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©