Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274183
ทั้งหมด:13585479
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 148, 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2024 7:45 pm    Post subject: Reply with quote

อัปเดทสายสีแดงส่วนต่อขยาย รฟท.ยันเรื่องนี้ไม่มีปัญหา ดันเข้า ครม. ปลายปี’67พร้อมตอกเสาเข็ม
Nimda Variety
Feb 22, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=CRdLZyG-26g
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/02/2024 8:34 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.ไฟเขียว”ทางคู่เฟส2”รวด 3 เส้นทาง1.33 แสนล้าน เคาะปรับกรอบสีแดงช่วงมธ.รังสิต 6.47 พันล้านบาทเร่งชงครม.
AmarinTV 23 ก.พ. 67

บอร์ดรฟท.ไฟเขียว”ทางคู่เฟส2”รวด 3 เส้นทาง1.33 แสนล้าน เคาะปรับกรอบสีแดงช่วงมธ.รังสิต 6.47 พันล้านบาทเร่งชงครม.

บอร์ดรฟท.ไฟเขียว”ทางคู่” 3 เส้นทาง วงเงินรวม 1.33 แสนล้านบาท “ปากน้ำโพ - เด่นชัย, ชุมทางถนนจิระ - อุบลฯ, หาดใหญ่ - ปาดังฯ”เร่งชงคมนาคม เสนอครม.อนุมัติ ส่วนอีก 3 เส้นทางที่เหลือ จ่อคิวมี.ค. เติมเต็มโครงข่ายเฟส 2 ครบ7 เส้นทาง พร้อมเห็นชอบ”สายสีแดง”ช่วง มธ.รังสิต 6.4 พันล้าน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)#8203; เป็นประธาน วันที่ 22 ก.พ. 2567 มีมติอนุมัติ ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ - เด่นชัย ระยะทาง 281 กม. วงเงิน 81,143.23 ล้านบาท 2. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 44,103.11 ล้านบาท 3. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,900.89 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนจากนั้นรฟท.จะสรุปเรื่องเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)#8203;

ทั้งนี้ โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 มีจำนวน 7 เส้นทาง วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 311,486 ล้านบาท ก่อนหน้านี้รฟท.ได้เคยนำเสนอเพื่อขออนุมัติหลักการไปแล้ว ทั้ง 7 เส้นทาง แต่เนื่องจากมีวงเงินลงทุนสูง จึงมีการจัดลำดับการดำเนินใหม่ โดยเส้นทางแรกที่ได้รับอนุมัติแล้วคือ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 29,748 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำ TOR คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมี.ค. 2567 และเดินหน้าประกวดราคาต่อไป

“อีก3 เส้นทาง ที่บอร์ดเห็นชอบครั้งนี้ เป็นการเติมเต็มโครงข่าย ซึ่งออกแบบเสร็จแล้วและ รายงาน EIA ได้รับความเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว พร้อมเปิดประมูลก่อสร้าง โดย ช่วงชุมทางหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ เป็นเส้นทางที่มีการลัดคิวขึ้นมาดำเนินการก่อน เพราะนโยบาย รัฐบาลต้องการสนับสนุนการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเส้นทางระยะสั้น สามารถก่อสร้างได้เร็ว มีความคุ้มค่าในการลงทุน”

สำหรับ อีก3 เส้นทางที่เหลือ คือ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 321 กม. วงเงิน 67,459.36 ล้านบาท และ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กม. วงเงิน 56,837.78 ล้านบาท นั้น รฟท.กำลังสรุปข้อมูลเพื่อนำเสนอบอร์ด รฟท.ในเดือนมี.ค. 2567 เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาลำดับ
@เดินหน้าสีแดงต่อขยาย”รังสิต- มธ.รังสิต “6.47 พันล้าน

นอกจากนี้ บอร์ดรฟท.ยังอนุมัติการทบทวนกรอบวงเงินค่าก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม.ซึ่งปรับจาก 6,468.69 ล้านบาท เป็น 6,473.98 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นประมาณ 5.29 ล้านบาท เนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลง การคำนวณค่า Factor F ซึ่งจะเร่งสรุปเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอครม. ขออนุมัติเช่นกัน เนื่องจากเดิมที เคยนำเสนอไปกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอครม.แล้วแต่ มีการดึงเรื่องกลับมาทบทวน และตัวเลขมีการขยับจากค่า Factor F ทำให้ต้องเสนอบอร์ดรฟท.เห็นชอบกรอบวงเงินใหม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2024 7:45 am    Post subject: Reply with quote

13 ปี “รฟฟท.” ลุยพัฒนาบริการ! เปิด “สายสีแดง” 2 ปี ผู้โดยสารทะลุ 15 ล้านคน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Friday, February 23, 2024 17:57

รฟฟท. ครบรอบ 13 ปี เดินหน้าพัฒนาการให้บริการรถไฟฟ้า “สายสีแดง” จัดฟีดเดอร์อำนวยความสะดวก ประชาชนเข้าถึงได้ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม เปิดให้บริการ 2 ปี ผู้โดยสารทะลุ 15 ล้านคน เฉลี่ย 2.7 หมื่นคนต่อวัน ทำนิวไฮ 9 ก.พ. ที่ 3.9 หมื่นล้านคน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 ก.พ. ของทุกปี ถือเป็นวันครบรอบการก่อตั้งของบริษัทฯ ซึ่งจากประสบการณ์การดำเนินงานกว่า 13 ปี ที่ รฟฟท. ได้ดำเนินกิจการในฐานะผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า โดยเริ่มจากการบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จนมาถึงการได้รับภารกิจสำคัญในการบริหารการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ทั้ง 2 เส้นทาง ได้แก่ สายธานีรัถยา ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สถานีรังสิต และสายนครวิถี ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สถานีตลิ่งชัน

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดง มีปริมาณผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าเฉลี่ยผู้ใช้บริการอยู่ที่ 27,564 คน/วัน และสามารถทำสถิติผู้ใช้บริการสูงสุด (New High) ได้อีกครั้งเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 67 ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้บริการอยู่ที่ 39,451 คน และหากนับตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสีแดงเปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี มีปริมาณผู้ใช้บริการรวมมากกว่า 15 ล้านคน ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอให้คำมั่นว่าจะไม่หยุดพัฒนาประสิทธิภาพด้านการให้บริการ และด้านอื่นๆ ในทุกมิติ รวมถึงผลักดันให้องค์กรเป็นผู้นำด้านระบบขนส่งทางรางที่มีความทันสมัย สามารถเข้าถึงความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนงานด้านการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการด้วยระบบการขนส่งรอง (Feeder) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง บริษัทฯ ได้จัดแผนการรองรับ 6 เส้นทาง ได้แก่ 1.สถานีตลิ่งชัน-ถนนบรมราชชนนี, 2.สถานีตลิ่งชัน-บางหว้า, 3.สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ตลาดนัดจตุจักร, 4.สถานีหลักสี่-ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ, 5.สถานีหลักหก-มหาวิทยาลัยรังสิต (เริ่มให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 66) และ 6.สถานีรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต โดยบริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการเดินทางระบบการขนส่งรอง (Feeder) อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง ทั้ง 13 สถานี ได้อย่างสะดวก และมีความปลอดภัยสูงสุด

นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม เนื่องในโอกาสครบรอบ 13 ปี บริษัทฯ ได้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 องค์พระผู้ทรงก่อตั้งกิจการรถไฟในประเทศไทย ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ผู้ทรงมีคุณูปการด้วยพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านการคมนาคมขนส่งทางรางในราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณผู้ใช้บริการที่ให้การสนับสนุน และไว้วางใจเดินทางโดยรถไฟฟ้าสายสีแดง จึงได้จัดบูธกิจกรรมส่งเสริมการตลาด โดยมีนักแสดงชื่อดังมาให้บริการเสิร์ฟเครื่องดื่มจากร้านดัง กว่า 1,300 แก้ว ให้แก่ผู้โดยสารที่ถือบัตรโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงทุกประเภทฟรี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2024 10:39 am    Post subject: Reply with quote

สำรวจ ‘ลิฟต์-บันไดเลื่อน’ สายสีแดง เสียข้ามปีซ่อมไม่เสร็จบ่นกันระนาว
ไลน์ทาง โดย นายสปีด
5 มีนาคม 2567 เวลา 08:00 น.

เสียมาข้ามปีแล้วสำหรับลิฟต์และบันไดเลื่อนโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ที่ผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อนพากันร้องเรียนจำนวนมากมาตั้งแต่กลางปี 2566 ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกาศไว้เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2566 (7 เดือนก่อน) ว่าจะเร่งปรับปรุงลิฟต์และบันไดเลื่อนให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในวันที่ 15 ก.ย. 2566


จนถึงวันนี้ประชาชนยังร้องเรียนอย่างต่อเนื่องถึงปัญหาขัดข้องของลิฟต์และบันไดเลื่อนรถไฟฟ้าสายสีแดง   เสียแล้ว..เสียอยู่..เสียต่อ….สถานะการปรับปรุงไปถึงไหนแล้ว….สถานีไหนบ้างที่ยังใช้งานไม่ได้  กรมการขนส่งทางราง (ขร.) หน่วยงานที่กำกับดูแลระบบรางของประเทศไทย จะพาไปเช็กลิสต์



นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) บอกว่า  ขร. ได้ติดตามตรวจสอบการให้บริการลิฟต์ และบันไดเลื่อนของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต รวม 13 สถานี หลังจากประชาชนร้องเรียนอย่างต่อเนื่องว่า ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง เนื่องจากลิฟต์และบันไดเลื่อนบางตัว ไม่สามารถใช้งานได้




เบื้องต้นรฟท.รายงานว่า ขณะนี้ยังมีลิฟต์และบันไดเลื่อนบางตัวในบางสถานีชำรุด ไม่สามารถเปิดให้บริการผู้โดยสารได้จริง  อันเนื่องมาจากขาดการบำรุงรักษา เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลารับประกันผลงานของผู้ติดตั้ง 

อธิบดีกรมการขนส่งทางราง  แจกแจงว่า   รถไฟฟ้าสายสีแดง 13 สถานี มีลิฟต์ให้บริการรวม 109 ตัว ปัจจุบันใช้งานได้ 92 ตัว ชำรุด 17 ตัว, บันไดเลื่อน 204 ตัว ใช้งานได้ 184 ตัว ชำรุด 20 ตัว และทางลาดเลื่อน 2 ตัว ใช้งานได้ทุกตัว สรุปตัวเลขลิฟต์และบันไดเลื่อนยังเสียอยู่รวมแล้ว 37 ตัว

ADVERTISEMENT


รฟท. แจ้งกับกรมการขนส่งทางรางว่า  ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาลิฟต์ และบันไดเลื่อนสายสีแดงชำรุด เตรียมจ้างเหมาซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และเชิงแก้ไข ระบบลิฟต์ บันไดเลื่อน และทางลาดเลื่อน พร้อมรวมอะไหล่ (รายปี) ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง มูลค่าโครงการประมาณ 37.05 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้เอกชนยื่นเอกสารประกวดราคา(ประมูล) ได้ภายในเดือน มี.ค. 2567 และได้ผู้ชนะการประมูล พร้อมเริ่มงานประมาณเดือน เม.ย.2567


สำหรับสถานะลิฟต์ที่ให้บริการของสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 13 สถานี พบว่า มี 4 สถานีที่เปิดให้บริการครบทุกตัว ได้แก่ สถานีดอนเมือง 9 ตัว, สถานีรังสิต 6 ตัว, สถานีบางบำหรุ 7 ตัว และสถานีตลิ่งชัน 5 ตัว

อีก 9 สถานี เปิดบริการไม่ครบทั้งหมด ได้แก่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ใช้งานได้ 35 ตัว จาก 41 ตัว, สถานีจตุจักร ใช้งานได้ 3 ตัว จาก 5 ตัว, สถานีวัดเสมียนนารี ใช้งานได้ 5 ตัว จาก 6 ตัว, สถานีบางเขน ใช้งานได้ 5 ตัว จาก 6 ตัว, สถานีทุ่งสองห้อง ใช้งานได้ 4 ตัว จาก 6 ตัว, สถานีหลักสี่ ใช้งานได้ 5 ตัว จาก 6 ตัว, สถานีการเคหะ ใช้งานได้ 4 ตัว จาก 6 ตัว, สถานีหลักหก ใช้งานได้ 3 ตัว จาก 4 ตัว และสถานีบางซ่อน ใช้งานได้ 1 ตัว จาก 2 ตัว

ส่วนสถานะบันไดเลื่อน ที่ให้บริการของสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 13 สถานี พบว่า มี 4 สถานีที่เปิดให้บริการครบทุกตัว ได้แก่ สถานีวัดเสมียนนารี 10 ตัว, สถานีหลักสี่ 10 ตัว, สถานีรังสิต 12 ตัว และสถานีบางซ่อน 4 ตัว

ขณะที่อีก 9 สถานี เปิดบริการไม่ครบทั้งหมด ได้แก่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ใช้งานได้ 76 ตัว จาก 81 ตัว, สถานีจตุจักร ใช้งานได้  8 ตัว จาก 10 ตัว, สถานีบางเขน ใช้งานได้ 8 ตัว จาก 10 ตัว, สถานีทุ่งสองห้อง ใช้งานได้ 7 ตัว จาก 10 ตัว, สถานีการเคหะ ใช้งานได้ 7 ตัว จาก 9 ตัว, สถานีดอนเมือง ใช้งานได้ 23 ตัว จาก 24 ตัว, สถานีหลักหก ใช้งานได้ 5 ตัว จาก 8 ตัว, สถานีบางบำหรุ ใช้งานได้ 9 ตัว จาก 10 ตัว และสถานีตลิ่งชัน ใช้งานได้ 5 ตัว จาก 6 ตัว

ADVERTISEMENT


ในจำนวน 13 สถานีมีเพียง 1 สถานีที่เปิดให้บริการลิฟต์ และบันไดเลื่อนครบทุกตัว ได้แก่ สถานีรังสิต มีลิฟต์ 6 ตัว และบันไดเลื่อน 12 ตัว


นอกจากนี้โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ยังมีลิฟต์ และบันไดเลื่อนที่ยังปิดใช้งาน โดยอยู่ในส่วนของการให้บริการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ รวม 48 ตัว แบ่งเป็น ลิฟต์ 24 ตัว และบันไดเลื่อน 24 ตัว รวมทั้งมีทางเลื่อนอีก 2 ตัวบริเวณทางเชื่อมต่ออาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ท่าอากาศยานดอนเมือง ที่สถานีดอนเมือง ซึ่งยังปิดใช้งาน รอการเปิดบริการอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3

อธิบดีกรมการขนส่งทางราง  บอกด้วยว่า  ได้กำชับรฟท. เร่งแก้ไขซ่อมแซมลิฟต์ และบันไดเลื่อนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งให้วางแผนการซ่อมบำรุงลิฟต์ และบันไดเลื่อนเป็นรายปีให้มีความต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายตามรอบระยะเวลา และ รฟท. ควรหาแนวทางป้องกันแก้ไขเหตุชำรุดอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆ นอกจากการใช้งานปกติ เช่น การรั่วซึมของน้ำฝน การลักลอบตัดสายไฟ การเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้างเคียง ที่ทำให้ลิฟต์ และบันได้เลื่อนไม่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยต่อไปด้วย เพื่ออำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน


ขณะนี้ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละกว่า 3 หมื่นคน เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2567  ซึ่งเป็นวันศุกร์ก่อนปิดท้ายงานเกษตรแฟร์ และเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน มีผู้โดยสาร 39,566 คน ทำสถิติสูงสุด(นิวไฮ) ตั้งแต่เริ่มเปิดบริการฟรีเมื่อเดือน ส.ค.2564 และเปิดบริการแบบเก็บค่าโดยสารเมื่อเดือน พ.ย. 2564

ผู้โดยสารสุดเซ็งเมื่อเจอรถไฟฟ้าสีต่างๆขัดข้อง  สายสีแดงแรงกว่าทุกสีลิฟต์บันไดเลื่อนพังข้ามปียังซ่อมไม่เสร็จ.

—————
https://www.dailynews.co.th/articles/3228042/

สำรวจ“ลิฟต์-บันไดเลื่อน”รถไฟฟ้าสีแดงเสียข้ามปี
*13 สถานีเปิดใช้งานได้ครบเพียงสถานีเดียว
*กรมรางขยี้รฟท.เร่งซ่อมทั้ง12สถานีพัง37ตัว
*ตั้งงบประมูลเหมาซ่อมบำรุง37ล้าน/ปีเม.ย.นี้
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/948591200051448
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/03/2024 10:31 am    Post subject: Reply with quote

บันไดเลื่อนสถานีดอนเมือง สายสีแดง กลับมาใช้งานได้เป็นปกติแล้ว
08/03/2567 09:40

กรุงเทพฯ 8 มี.ค.-การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งบันไดเลื่อนสถานีดอนเมือง รถไฟชานเมืองสายสีแดง กลับมาใช้งานได้เป็นปกติแล้ว

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ข้อความ บันไดเลื่อนของสถานีดอนเมือง รถไฟชานเมืองสายสีแดงไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้บริการนั้น นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า หลังจากรับทราบเรื่องดังกล่าว การรถไฟฯ ได้ให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ตรวจสอบทันที ซึ่งพบว่ามีบันไดเลื่อนที่สถานีดอนเมืองชำรุด 1 ตัว จากทั้งหมด 24 ตัว ส่วนลิฟต์จำนวน 9 ตัว และ ทางลาดเลื่อน อีก 4 ตัว สามารถใช้งานได้ตามปกติ

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเบื้องต้นระหว่างรอการซ่อมแซม ได้มีการปิดระบบบันไดเลื่อนตัวที่ชำรุดเป็นการชั่วคราว เพื่อทำการตรวจสอบในด้านความปลอดภัย และระหว่างนั้น แนะนำให้ผู้โดยสารสามารถใช้บันไดเลื่อนอื่นเป็นการทดแทนก่อนได้ จากนั้น ได้ประสานให้บริษัท จาร์ดีน ชินด์เลอร์ (ไทย) จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ลิฟต์ และบันไดเลื่อน เข้ามาดำเนินการซ่อมปรับปรุง ซึ่งขณะนี้บันไดเลื่อนสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการดูแล และบำรุงรักษาการใช้งานของลิฟต์บันไดเลื่อน และทางลาดเลื่อนของรถไฟชานเมืองสายสีแดงในระยะยาว การรถไฟฯ อยู่ระหว่างการจัดหาผู้รับจ้างเพื่อเข้าดำเนินการบำรุงรักษา ระบบลิฟต์บันไดเลื่อน และทางลาดเลื่อน ทุกสถานีในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยคาดว่าจะได้ผู้เข้ามาดำเนินงานในเดือนมีนาคม 2567 จากนั้นจะดำเนินการตรวจสอบความพร้อมการใช้งานของระบบลิฟต์ บันไดเลื่อน และทางลาดเลื่อน ทุกสถานีได้ภายในเดือนเมษายน 2567 นี้ พร้อมกับติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงแผนการซ่อมบำรุงลิฟต์ และบันไดเลื่อนเป็นรายปี ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

การรถไฟฯ ต้องขออภัยผู้โดยสารที่ไม่ได้รับความสะดวกมา ณ โอกาสนี้ และขอขอบคุณทุกข้อคิดเห็นเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยการรถไฟฯ มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการพัฒนาการให้บริการที่ดีที่สุด เพื่อให้ผู้โดยสารทุกคนเข้าถึงการใช้บริการอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปผู้พิการ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา รวมถึงผู้โดยสารที่มีสัมภาระจำนวนมาก ให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย สร้างความพึงพอใจสูงสุดในการใช้บริการเป็นสำคัญ-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 14/03/2024 8:20 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางจับมือ ทอท. รฟท. รฟฟท. เร่งปรับปรุงการเชื่อมต่อท่าอากาศยานดอนเมืองและสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง เพิ่มความสะดวกและประหยัดเวลาในการเดินทางแก่ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเข้าเมือง
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) นายภิเษก ชยาภิวุฒ รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง สายบำรุงรักษา นายวุฒิไกร วะชังเงิน หัวหน้าสำนักงานบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย และนางประภาภรณ์ คชรินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการสถานีรถไฟฟ้า บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด พร้อมเจ้าหน้าที่ ขร. ทดม. รฟท. และ รฟฟท. ลงพื้นที่สำรวจการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง และสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง สถานีดอนเมือง เพื่อร่วมกันปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศและทางรางให้มีความสะดวกและประหยัดเวลาในการเดินทางแก่ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางจากสนามบินดอนเมืองเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้ดียิ่งขึ้น
นายอธิภูฯ กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นไปตามข้อสั่งการของนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อให้มีการบูรณาการคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางกับท่าอากาศยานดอนเมือง จึงถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างหน่วยงานผู้ให้บริการขนส่งทางอากาศและขนส่งทางรางในการปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางแบบไร้รอยต่อ ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ที่ส่งเสริมการเดินทางขนส่งสาธารณะแบบไร้รอยต่อ โดยร่วมกันสำรวจเส้นทางและระบบป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ และป้ายแสดงข้อมูลการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานดอนเมือง และสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง สถานีดอนเมือง พร้อมหารือและกำหนดแนวทางการปรับปรุงระบบป้ายฯ ร่วมกับท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ซึ่งจากการลงพื้นที่ พบว่า ปัจจุบันอาคารผู้โดยสารภายในประเทศมีการจัดทำป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ ป้ายแสดงข้อมูลการเชื่อมต่อฯ และตารางเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงแล้ว แต่ยังมีบางจุด เช่น ทางเลี้ยวและทางเดินบางชั้น ที่ป้ายมีขนาดเล็กและติดตั้งในตำแหน่งที่ผู้โดยสารมองเห็นได้ไม่ชัดเจน รวมทั้งหมดข้อมูลการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ยังไม่แก้ไขให้เป็นปัจจุบัน ดังนั้น ทดม. จะพิจารณาติดตั้งป้ายเพิ่มเติม และประสานกับ รฟฟท. ปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์ให้เป็นแบบเดียวกัน และปรับปรุงข้อมูลบนป้ายแสดงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน โดยจะดำเนินการโดยเร็วเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร และเป็นทางเลือกในการเดินทางเข้าใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครอีกทางหนึ่ง นอกจาก รถชัตเติ้ลบัส รถเมล์ รถแท็กซี่ และรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรและลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก
นายอธิภูฯ เปิดเผยผลการหารือถึงข้อสรุปในเบื้องต้นว่า ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่าควรเร่งปรับปรุงระบบป้ายบอกทางฯ ดังนี้
1. จัดทำป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ และป้ายแสดงข้อมูลการเชื่อมต่อฯ ในส่วนของอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ บริเวณจุดทางเลี้ยวบางจุดที่ยังไม่มีป้าย และปรับปรุงป้ายแผนผังอาคาร ให้แสดงข้อมูลของรถไฟฟ้าสายสีแดงและข้อมูลของรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. จัดทำป้ายบอกทาง ป้ายสัญลักษณ์ และป้ายแสดงข้อมูลการเชื่อมต่อฯ ในส่วนของอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และป้ายแผนผังอาคาร ให้แสดงข้อมูลของรถไฟฟ้าสายสีแดงและข้อมูลของรถไฟฟ้าในเมืองและชานเมือง ตั้งแต่บริเวณสายพานรับสัมภาระ ทางออกผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 1 ซึ่งเป็นทางออกหลักสำหรับผู้โดยสารชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางด้วยสายการบิน ทางเดินภายในอาคาร ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารบริเวณชั้น 1 - ชั้น 3 และบริเวณเคาเตอร์ประชาสัมพันธ์
3. เพิ่มป้ายสัญลักษณ์รถไฟฟ้าสายสีแดง ป้ายบอกทาง พร้อมระยะทางถึงสถานีรถไฟฟ้าดอนเมือง พร้อมป้ายแสดงโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพร้อมจุดเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะและสถานที่สำคัญ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการเดินทางของผู้โดยสารที่เหมาะสมที่สุด
นายอธิภูฯ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ภายหลังเปิดให้บริการนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2567 มียอดผู้โดยสารในวันทำงานเฉลี่ย 30,372 คน-เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.16 และมียอดผู้โดยสารในวันหยุดเฉลี่ย 27,561 คน-เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.60 ซึ่งจากการลงพื้นที่ พบว่า ผู้โดยสารสนามบินดอนเมืองนิยมเดินทางเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร ด้วยรถชัตเติ้ลบัส รถเมล์ และรถแท็กซี่ซึ่งหากในช่วงเวลาเร่งด่วน ที่มีเที่ยวบินขาเข้าเป็นจำนวนมาก ปริมาณรถชัตเติ้ลบัส รถเมล์ และรถแท็กซี่จะไม่เพียงพอต่อผู้ต้องการใช้บริการ จึงเสนอให้ ทดม. พิจารณาเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารรับรู้และเลือกเดินทางเข้าเมืองด้วยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงมากขึ้น โดยเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ ทั้งทาง PA สื่อสังคมออนไลน์ เช่น TikTok Facebook และป้ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งทาง ทดม. รับไปดำเนินการโดยเร็ว
กรมการขนส่งทางราง จะเร่งประสานติดตามการดำเนินงานข้างต้น เพื่อให้การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างการเดินทางทางอากาศและการเดินทางทางรางเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ประหยัดเลาในการเดินทาง รวมทั้งอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางของผู้โดยสารทุกกลุ่ม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบการการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางรางเป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/712263514431447
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/03/2024 4:28 am    Post subject: Reply with quote

เร่งสายสีแดง มธ.รังสิต-มหิดล ศาลายา คอนโดฯ-บ้านเดี่ยวจ่อเปิดตัวรับเทรนด์ปีมังกร
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, March 16, 2024 03:51

ใกล้จบไตรมาส 1/67 ได้เวลาอัพเดตการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าภายใต้รัฐบาลเศรษฐา ทวีสินล่าสุด "พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์"อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าระบบรถไฟฟ้าในปี 2567 ตามแผนจะมีโครงการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 2 เส้นทาง วงเงินรวม 1.6 หมื่นล้านบาท ตามกรอบเวลา คาดว่าจะนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2567 นี้

สายสีแดงต่อจิ๊กซอว์ M-Map

สำหรับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสาย สีแดง 2 เส้นทางดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่ง ของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) 2 เส้นทาง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต กับช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา เมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าของการรถไฟฯ

โดยโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (M-Map) และแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (ปี 2558-2565)

แบ่งเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟชานเมืองสายสีแดงในแนวเหนือ-ใต้ และรถไฟชานเมืองสายสีแดงในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อรองรับการเดินทางของผู้โดยสารบริเวณพื้นที่ปริมณฑลเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

ศาลายาเพิ่ม 3 สถานี 14 กม.

ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) ของ ร.ฟ.ท. มี รายละเอียดโครงการ ดังนี้

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี ประกอบด้วย "สถานีสะพานพระราม 6, สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี

มีแนวเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดง จากตลิ่งชันออกไปจนถึงอำเภอศาลายา เป็นส่วนต่อขยายจากโครงการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นบริเวณด้านหน้าของศาลจังหวัดตลิ่งชัน และต่อเนื่องไปทางด้านตะวันตก มีระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร

แนวเส้นทางมีทั้งหมด 6 สถานีด้วยกัน ได้แก่ สถานีพระราม 6, สถานีบางกรวย-กฟผ., สถานีบ้านฉิมพลี, สถานีกาญจนาภิเษก, สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา

เปิดประมูล มี.ค.-เม.ย. 67

ทางการรถไฟฯวางแผนการดำเนินงานโดยผลักดันตามขั้นตอน ผ่านกระทรวงคมนาคมเพื่อเข้าสู่การบรรจุวาระที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2567 จากนั้นเมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบ จะนำมาสู่ขั้นตอนการจัดประกวดราคาในช่วงเดือนพฤษภาคมธันวาคม 2567 วงเงินลงทุนโครงการจำนวน 10,670.27 ล้านบาท

หากเป็นไปตามไทม์ไลน์ที่วางไว้ คาดว่าจะได้ตัวผู้ชนะประมูล และเริ่มเปิดไซต์ก่อสร้างตอกเสาเข็มต้นแรกในช่วงเดือนมกราคม 2568 การก่อสร้างใช้เวลา 2 ปี หรือ 24 เดือน คาดว่าการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2570 และมีการทดสอบระบบต่าง ๆ และตั้งเป้าเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2571

ในด้านประมาณการผู้โดยสารนั้น จากผลการศึกษาโครงการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดทำเอกสาร ประกวดราคา และการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของ ร.ฟ.ท. พบว่า มีการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ในปี 2571 มีจำนวน 21,700 เที่ยวคน/วัน

รังสิตเพิ่ม 4 สถานี 8.8 กม.

ส่วนต่อขยายอีกเส้นทาง ดำเนินการภายใต้โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีรายละเอียดโครงการเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายสีแดงเข้ม ซึ่งต่อขยายจากโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

รูปแบบเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่จำนวน 2 ทาง ใช้ไฟฟ้าเป็นระบบขับเคลื่อน และโครงสร้างทางวิ่งระดับดินตลอดเส้นทาง ระยะทางรวม 8.84 กิโลเมตร ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่

สถานีคลองหนึ่ง, สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีวงเงินลงทุนโครงการ จำนวน 6,473.98 ล้านบาท

แผนการดำเนินงานส่วนต่อขยายเส้นทางไปรังสิตนั้น วางแผนเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ในเดือนมีนาคม-เมษายน 2567 ขั้นตอนการเปิดประกวดราคาจะเป็นช่วงเดือนพฤษภาคมธันวาคม 2567 จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการลงมือก่อสร้างอีก 24 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2568-มกราคม 2570 และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในเดือนมกราคม 2571

โดยส่วนต่อขยายเส้นทางไปสุดปลายทางที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ได้จัดทำประมาณการผู้โดยสาร และพบว่า จากผลการศึกษาโครงการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดทำเอกสารประกวดราคา และการดำเนินงานตาม พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในปี 2571 จำนวน 23,800 เที่ยวคน/วัน

"ปีนี้ที่เปิดประมูลจะมี 2 เส้นทางที่เป็นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จุดโฟกัสการลงทุนเป็นการต่อขยายเพื่อเพิ่มโอกาสการเดินทางเชื่อมต่อไปยัง 2 มหาวิทยาลัย ทั้งธรรมศาสตร์และมหิดลเป็นด้านหลัก" คำกล่าวของอธิบดีกรมการขนส่งทางราง

โซนรังสิตทะลัก 1.2 หมื่นหน่วย

ถัดมา เติมข้อมูลภาคธุรกิจอสังหา ริมทรัพย์โดย "ดร.โสภณ พรโชคชัย"ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่า อสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด หรือ AREA ระบุว่า กระทรวงคมนาคมกำลังพิจารณาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงให้ขยายไปชานเมือง โดยทางด้านกรุงเทพฯฝั่งเหนือถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต และทางด้านกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกถึงมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

จากการสำรวจพบว่า ในบริเวณ ใกล้เคียงพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต มีการเปิดตัวโครงการใหม่ใน ปี 2566 จำนวน 12,383 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 12% ของการเปิดตัวทั้งหมดในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ที่เปิดตัวรวมกัน 101,536 หน่วย

ในอนาคตคาดว่าดีเวลอปเปอร์น่าจะมีการลงทุนเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มขึ้น แม้ว่าในช่วงไตรมาส 1/67 การเปิดตัวค่อนข้างน้อยก็ตาม แต่ประเมินว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 ภาพการเปิดตัวโครงการใหม่น่าจะมีความคึกคักมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ยังมีโครงการรอเปิดตัวอีกเป็นจำนวนมาก

ขณะที่มูลค่ารวมของการเปิดตัวโครงการใหม่สูงถึง 39,390 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วหน่วยขายเปิดใหม่มีระดับราคาเฉลี่ยที่ 3.181 ล้านบาท นับว่าเป็นราคาเฉลี่ยที่ต่ำกว่าในเขตกรุงเทพฯปริมณฑล ที่มีราคาเฉลี่ย 5.513 ล้านบาท แสดงว่าในพื้นที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของนักศึกษา หรือคนวัยทำงาน กำลังซื้อ อยู่ในเซ็กเมนต์ผู้มีรายได้ปานกลางค่อนข้างระดับล่าง โดยมีสถิติขายได้แล้ว 5,604 หน่วย ถือว่าไม่มากนัก

ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียมที่มีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของซัพพลาย เปิดใหม่ทั้งหมด เบื้องต้นประเมินพฤติกรรมผู้บริโภคที่อยู่อาศัยใน โซนรังสิต มองว่าการใช้บริการ รถไฟฟ้าเข้าเมืองคงมีน้อย รวมทั้งการเดินทางเข้าเมืองโดยระบบรถไฟฟ้าอาจมีอุปสรรคสำคัญอยู่ที่อัตราค่าโดยสารในอัตราสูง

บ้านเดี่ยวยึดทำเลศาลายา

ส่วนตลาดอสังหาฯในแนวเส้นทางใกล้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พบว่ามีการเปิดตัวโครงการใหม่ค่อนข้างน้อย จำนวน 5,030 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 5% ของการเปิดตัวหน่วยขายใหม่ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในอนาคตอาจมีการเปิดตัวมากขึ้นและหลากหลายประเภทสินค้าขึ้น เพราะผังเมืองกรุงเทพมหานครในพื้นที่นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการพัฒนาในเชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัยที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ มีข้อสังเกตสำคัญที่ พบว่า โซนศาลายาอยู่ไม่ไกลจากใจกลางเมืองมากนัก ผู้ที่มีรายได้ค่อนข้าง สูงในย่านนี้อาจนิยมการใช้รถส่วนบุคคลหรืออื่น ๆ มากกว่ารถไฟฟ้าก็เป็นไปได้

สินค้าหลักที่มีการพัฒนาในโซนนี้เป็นสินค้าบ้านเดี่ยว โดยเฉพาะกลุ่มราคา 5-10 ล้านบาทโดยมีจำนวนรวมกัน 2,057 หน่วย สัดส่วน 41% ของภาพรวมทั้งหมดที่เปิดตัวในย่านนี้

รองลงมาเป็นสินค้าบ้านแฝดระดับราคา 3-5 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยขายรวมกัน 1,675 หน่วย สัดส่วน 33% ของหน่วยขายทั้งหมด ข้อมูลนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า ผู้อยู่อาศัยซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง อาจไม่ได้โดยสารรถไฟฟ้ามากนัก

ราคาทรงตัว-ปรับขึ้นเล็กน้อย

"ดร.โสภณ" ชี้ให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาหน่วยเหลือขายในพื้นที่ ใกล้เคียง ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต พบว่า มีหน่วยรอขายรวมกัน 9,000 หน่วย ในขณะที่โซนใกล้เคียง ม.มหิดล ศาลายา มีหน่วยรอขายไม่เกิน 4,000 หน่วย

คาดว่าจะต้องใช้เวลาในการขาย ที่ใกล้เคียงกันทั้ง 2 ทำเล อยู่ที่ 2 ปีเศษ

ยิ่งกว่านั้น ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยยัง พบว่า ราคาขายในย่าน ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต กับ ม.มหิดล ศาลายา แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงในช่วงครึ่งปีหลัง 2566

อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มในปี 2567 ราคาอาจปรับขึ้นอีกเล็กน้อยอยู่ที่ 1-1.5% โดยสินค้าห้องชุดทำเลใกล้ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต เป็นที่น่าจับตา เพราะมีภาวะขายดีเป็นพิเศษ

บรรยายใต้ภาพ
ดร.โสภณ พรโชคชัย
พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 - 20 มี.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2024 1:50 pm    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ”ปลื้มรถไฟฟ้า 20 บาท “สีแดง-สีม่วง”ผู้โดยสารนิวไฮต่อเนื่อง ดึงประชาชนหันใช้ระบบรางเพิ่มวันละกว่า 1.5หมื่นคน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13:13 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 13:13 น.


“สุริยะ” ปลื้มมาตรการค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ระบุ 5 เดือน ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง-สีม่วงทุบสถิตินิวไฮ ชี้ภาพรวม 2 สายเพิ่มขึ้นทะลุเป้า 18% ดึงประชาชนเปลี่ยนใช้ระบบรางเพิ่มวันละเกือบ 1.5 หมื่นคน ช่วยลดภาระค่าเดินทาง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อมวันละ 2.6 ล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติในหลักการในการดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาท หรือ 20 บาทตลอดสาย โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เป็นต้นมา ในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน - คลองบางไผ่ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามนโยบาย Quick Win ของรัฐบาลนั้น




ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566 - 14 มีนาคม 2567 พบว่า รถไฟชานเมืองสายสีแดง ทั้งสายกรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน และสายกรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 27,683 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้นจากก่อนมีมาตรการฯ 27.97% ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 21,632 คน-เที่ยว สูงกว่าประมาณการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 10 - 20% ขณะที่ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - คลองบางไผ่ พบว่า มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 65,179 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้นจากก่อนมีมาตรการฯ ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 56,979 คน-เที่ยว หรือเพิ่มขึ้น 14.39%



โดยภาพรวมทั้งสายสีแดง และสายสีม่วง พบว่า ภายหลังมีมาตรการอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย มีผู้โดยสารใช้บริการรวมสองสายเฉลี่ยวันละ 92,714 คน-เที่ยว จากเดิมก่อนมีมาตรการฯ ทั้งสองสายรวมกัน มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 78,611 คน-เที่ยว หรือเพิ่มขึ้น 17.94% ซึ่งมากกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ และยังพบว่า ทั้งสองเส้นทาง มีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น และมีผู้โดยสารใช้บริการมากสุดตั้งแต่เปิดให้บริการมา (Newhigh) อย่างต่อเนื่อง

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า การดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลนั้น จากการประเมินมูลค่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พบว่า มาตรการดังกล่าว มีมูลค่าสูงถึงวันละ 2,640,000 บาท โดยประเมินจาก การประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ ลดฝุ่น PM 2.5 และลดการเกิดอุบัติเหตุ โดยคาดการณ์รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ และ รถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย จะมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง



นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้เร่งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งภายใน และภายนอกสถานี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงระบบราง เช่น ถนนสายหลัก ถนนสายรอง ทางเดิน ทางรถจักรยาน เป็นต้น รวมถึงยังได้ดำเนินโครงสร้างพื้นฐานภายนอกสถานีที่เอื้ออำนวยการเชื่อมต่อระหว่างสถานีกับ ย่านพาณิชยกรรม ย่านที่อยู่อาศัย และบริการสาธารณะต่าง ๆ รวมทั้งการจัดระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (Feeder System) สามารถนำผู้โดยสารจากที่พักอาศัยเข้าสู่สถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง เช่น รถโดยสารประจำทาง รถรับจ้างโดยสารสาธารณะ ขนส่งมวลชนสาธารณะระบบรางเบา หรือขนส่งมวลชนอื่นที่จะเชื่อมโยงการเดินทางจากใจกลางเมืองสู่พื้นที่รอบนอก เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร สามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ ลดภาระการชดเชยจากภาครัฐได้ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/03/2024 5:35 am    Post subject: Reply with quote

'สุรพงษ์'จ่อชงครม.เคาะ'สีแดงต่อขยาย'3เส้นทางวงเงินกว่า2.17หมื่นล้านตั้งเป้าประมูลปี67
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, March 25, 2024 04:38

ผู้จัดการรายวัน360 - "สุรพงษ์" เผย "สายสีแดง" ต่อขยาย 3 เส้นทาง ข้อมูลครบถ้วนพร้อมเสนอ ครม.อนุมัติแล้ว หลัง รฟท.ทบทวนอัปเดทกรอบวงเงินใหม่ ยึดตามแผนแม่บท และเตรียมชง "ทางคู่เฟส 2" อีก 3 เส้นทาง กว่า 1.33 แสนล้านบาท"ปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางถนนจิระ-อุบล, หาดใหญ่-ปาดัง เบซาร์" เร่งเปิดประมูลเริ่มก่อสร้างในปีนี้ เติมเต็มโครงข่ายระบบราง

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคม มีนโยบายผลักดันโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง ซึ่งขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทบทวนรายละเอียดและกรอบวงเงินค่าก่อสร้าง และนำเสนอมาที่กระทรวงคมนาคมแล้ว โดยภายในสัปดาห์นี้ จะมีการลงนามเพื่อนำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

สำหรับรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง วงเงินรวม 21,790.25 ล้านบาท ได้แก่ 1. สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร (กม.) มี 6 สถานี วงเงินโครงการ 10,670.27 ล้านบาท คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

2. สายสีแดง ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทางรวม 8.84 กม. มี 4 สถานี วงเงินโครงการเพิ่มเป็น 6,473.98 ล้านบาท คาดเปิดประมูลในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

3. สายสีแดง ช่วงตลิ่งชันศิริราช ระยะทางรวม 5.7 กม. มี 3 สถานี วงเงินโครงการ 4,616 ล้านบาท คาดเปิดประมูล ในปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 35 เดือน (ปี 2568-2571) เปิดบริการปี 2571

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 3 เส้นทางนั้น ยังคงยึดตามแผนแม่บท มีเพียงการทบทวนกรอบวงเงินให้สอดคล้องกับประกาศกรมบัญชีกลางเท่านั้น

เตรียมดันทางคู่เฟส 2 อีก 3 เส้นทาง ชง ครม.

นายสุรพงษ์กล่าวว่า นอกจากนี้ จะเร่งผลักดัน โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ซึ่งก่อนหน้านี้ ครม.ได้อนุมัติไปแล้ว 1 เส้นทางคือ ช่วงขอนแก่นหนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 29,748 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดทำเอกสารประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะเปิดประกวดราคาก่อสร้างได้เร็วๆ นี้ ตามแผน จะเริ่มก่อสร้างภายในเดือน ก.ค. 2567 และล่าสุด ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้มีมติอนุมัติ อีก 3 เส้นทางระยะทางรวม 634 กม. วงเงินรวมทั้งสิ้น 133,147.89 ล้านบาท ซึ่ง รฟท.เตรียมนำเสนอมาที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอ ครม.ต่อไปซึ่งจะพยายามผลักดันให้ก่อสร้างภายในปี 2567

ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี, ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ซึ่งจะเร่งนำเสนอ ครม. โดยเฉพาะเส้นทางชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ที่จะช่วยสนับสนุนการค้าชายแดน เส้นทางมีระยะทางสั้น 45 กม. สามารถดำเนินการได้เร็ว

นอกจากนี้ จะเร่งอีก 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 678 กม. วงเงินรวม 148,591.50 ล้านบาท ได้แก่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ,ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในขั้นตอน เตรียมเสนอบอร์ด รฟท.พิจารณา.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 25 มี.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2024 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

ผลสำรวจครึ่งปีแรก! ผู้โดยสาร “สายสีแดง” ให้ 4.48 เต็ม 5 คะแนน พึงพอใจงานบริการ
นวัตกรรมขนส่ง
26 มีนาคม 2567 เวลา 10:18 น.

รฟฟท. เปิดผลสำรวจครึ่งปีแรกปี 67 ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ยังเชื่อมั่นในการให้บริการ ให้คะแนนความพึงพอใจด้านบริการสูงสุด 4.48 จากเต็ม 5 คะแนน เดินหน้ามุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการด้วยระดับมาตรฐานสากล ปลอดภัย ผู้โดยสารแฮปปี้สุด

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้สำรวจความพึงพอใจผู้โดยสารในการใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ประจำปี 67 ครั้งที่ 1 เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูล และเข้าถึงความต้องการของผู้โดยสาร สำหรับนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการยกระดับการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการสำรวจและวิจัย เป็นผู้ออกแบบ และลงพื้นที่สำรวจความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการทั้ง 13 สถานี 


โดยผลปรากฏว่า จากคะแนนเต็ม 5 ผู้โดยสารมีความพึงพอใจด้านการให้บริการ 4.48, ด้านความปลอดภัย 4.46, ด้านความน่าเชื่อถือต่อความตรงต่อเวลา ความถี่ และคุณภาพในการเดินรถไฟฟ้า 4.38, ด้านการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล 4.45, ด้านคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกบนสถานีและในขบวนรถ 4.36, ด้านเหรียญโดยสาร/บัตรโดยสาร และกิจกรรมส่งเสริมการตลาด 4.38 ซึ่งผลสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าผู้โดยสารมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเป็นอย่างมาก


นายสุเทพ กล่าวต่อว่า การที่ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในด้านต่างๆ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก แสดงให้เห็นว่าผู้โดยสารมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันหลังจากได้ดำเนินนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท ส่งผลให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และบริษัทฯ ได้ดำเนินนโยบาย มาตรการต่างๆ ที่เป็นการยกระดับการให้บริการ รวมถึงการรักษาความปลอดภัยมาโดยตลอด 


โดยเฉพาะมาตรฐานการให้บริการที่บริษัทฯได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ขอบเขตการปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้า ความปลอดภัย และวิศวกรรมซ่อมบำรุง จากหน่วยรับรอง Bureau Veritas (BV) ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้บริการด้านการตรวจประเมินและออกใบรับรองในด้านคุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในระดับโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่น พัฒนาองค์กรสู่การเป็นผู้นำในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าด้วยมาตรฐานระดับสากล มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการอย่างเต็มความสามารถ.. https://www.dailynews.co.th/news/3290041/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 148, 149, 150, 151  Next
Page 149 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©