Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13276137
ทั้งหมด:13587433
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - นิราศสุโขทัย ของคุณหญิงเขื่อนเพ็ชรเสนา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

นิราศสุโขทัย ของคุณหญิงเขื่อนเพ็ชรเสนา
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/11/2012 8:03 pm    Post subject: Reply with quote

ksomchai wrote:
Laughing แสดงว่าตะพานหินมีฐานะเป็นตำบลมาก่อนและยกฐานะเป็นอำเภอภายหลัง ต่างกับ อำเภอบางสะพาน มีฐานะเป็นอำเภอมาตั้งแต่ต้น

ขอบคุณพี่สมชายมากครับ ที่ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจ
ผมลองไปค้นดูได้ความดังนี้ครับ

บ้านตะพานหิน เคยอยู่ในเขตปกครองของตำบลห้วยเกต (ห้วยเกตุ) อำเภอท่าหลวง (ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองพิจิตร) จังหวัดพิจิตร และยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอตะพานหิน ในปกครองของอำเภอท่าหลวง เมื่อวันที่ ๑ มี.ค. ๒๔๗๙ หลังการเดินทางของคุณหญิงเกือบ ๖ ปีครับ
(ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ ๑ เม.ย. ๒๔๘๓)
ที่มา:
(๑) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอตะพานหิน
(๒) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร์ (ตั้งตำบลตะพานหิน ๒๐ ก.ค. ๒๔๘๑)
(๓) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอตะพานหิน ขึ้นอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ขึ้นเป็นอำเภอ ขนานนามว่า อำเภอตะพานหิน

Click on the image for full size

ห่างหายไป ๕ วัน ใกล้ถึงพิจิตรแล้วครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 20/11/2012 11:25 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
๔๘/ ถึงตำบลตะพานหินถิ่นสถาน อันสะพานเหมือนวิชารีบหาสวม
ใส่กายตนขนควบเร่งรวบรวม มัวแต่ต้วมเตี้ยมช้าหาไม่ทัน


ksomchai wrote:
แสดงว่าตะพานหินมีฐานะเป็นตำบลมาก่อนและยกฐานะเป็นอำเภอภายหลัง ต่างกับ อำเภอบางสะพาน มีฐานะเป็นอำเภอมาตั้งแต่ต้น


ผมคิดว่า คำว่า "ตำบล" ในที่นี้น่าจะหมายถึง ที่อยู่ หรือที่ตั้ง มากว่าที่จะหมายถึงเขตการปกครองที่เรียกว่าตำบลนะครับ

ความหมายที่คุณหญิงท่านต้องการสื่อน่าจะหมายถึงว่าท่านได้เดินทางมาถึงที่ตั้งของชุมชนตะพานหินนะครับ

คำว่า "ตำบล" ที่ไม่ได้หมายถึงเขตการปกครองนี้ เท่าที่สังเกตก็ไม่ค่อยได้ใช้กันเท่าไรนัก เลยอาจลืมๆกันไปบ้าง
เท่าที่พอนึกได้ก็จะเป็นวลีที่ว่า "แห่งหนตำบลใด" --> จะเห็นว่าตำบลไม่ได้มีความหมายเพียงแค่เขตการปกครองอย่างเดียว

แต่ถ้าเป็นภาษาที่ใช้ในทางทหาร น่าจะมีการใช้คำว่า "ตำบล" กันมากหน่อยนะครับ
ที่น่าจะคุ้นเคยกันก็น่าจะเป็นคำว่า "ตำบลกระสุนตก" เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/11/2012 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณพี่หนุ่มที่มาเพิ่มข้อสังเกตเป็นความรู้เพิ่มเติมครับ
ในวิชาภูมิศาสตร์ การเดินเรือ ก็มีคำว่า "ตำบลที่" หมายถึง ตำแหน่งแห่งที่ ด้วยครับ
http://www.navy.mi.th/ftc/km_fleet/grid_system1.php

----

๕๒/ ถึงพิจิตรคิดคะนึงถึงขุนแผน ชมว่าแสนเป็นเจ้าชู้ดูไม่ขำ
จากนางพิมไปทัพกลับมาทำ ให้พิมช้ำใจร้าวเพราะลาวทอง

เรือมาถึงบันไดไม่ขึ้นบ้าน ไม่สมานพิมให้คลายเศร้าหมอง
หล่อนละห้อยคอยท่าน้ำตานอง ไม่เข้าห้องหอขุนช้างอย่างเห็นใจ

เพราะความรักขุนแผนแสนสวาท แม่เกรี้ยวกราดเฆี่ยนป่นสู้ทนได้
รู้ผัวกลับวิ่งมารับถึงบันได ขุนแผนไม่เที่ยงธรรมนำเหตุเอง

แล้วกลับมาพาหนีสู่พิจิตร นี่ก็ผิดอีกกรรมทำข่มเหง
พระไวยรับแม่มาหากริ่งเกรง กลับใช้เพลงเจ้าชู้อีกไม่หลีกกลัว

กระทำจนวันทองต้องโทษตาย ขุนแผนร้ายวันทองจึงต้องชั่ว
พระพันวษาก็กระไรไปพันพัว เรื่องส่วนตัวเอาเขาฆ่าน่ารำคาญ

จะฆ่ากันให้บรรลัยทำไมหนา คนเกิดมาต้องตายเองเพลงสังขาร
ใครจะอยู่คู่ฟ้าสุธาธาร ไม่ช้านานเท่าใดในระวาง

พิจิตรเมืองโบราณนัยการกล่าว ว่าลูกท้าวโคตะบองปกครองสร้าง
ยังมีซากอิฐกำแพงพอแจ้งทาง เมืองวัดร้างหญ้ารกขึ้นปกคลุม

พิจิตรใหม่ย้ายมาอยู่แม่น้ำน่าน ภูมิสถานใหญ่กว้างอย่างสุขุม
มีบึงมากนักหนาข้าวปลาชุม เพราะน้ำชุ่มชื้นชะกสิการ

เดิมชื่อเมืองสระหลวงทบวงเก่า พื้นที่เล่าใหญ่โตรโหฐาร
มีบึงใหญ่ดังทะเลคะเนการ กว้างประมาณเจ็ดพันไร่น่าใคร่ชม

ปลูกบัวหลวงช่วงโชติประโยชน์หลาย เก็บเมล็ดขายบรรทุกเกวียนเดียรดาษถม
เป็นสินค้าหากำไรได้อุดม ควรนิยมกันปองแต่ของไทย

เมล็ดบัวกินดีมีกำลัง ทำได้ทั้งคาวหวานสมานไส้
ทำเป็นแป้งแห้งเก็บไปกินไกล ดัดแปลงได้โอชาสารพัน

อุตริตริอย่างใดอยากให้บอก ซื้อของนอกกินกันเล่นไม่เห็นขัน
ให้เงินทองล่องไหลไปทุกวัน ค่าน้ำมันเราก็แย่ยังแส่กิน

การกินอยู่ฟูฟ่องเป็นของง่าย การหาเงินยากหลายแทบตายสิ้น
เห็นแต่กินพล่อยพล่อยอร่อยลิ้น มิได้จินตนานัยครวจไตร่ตรอง


๕๑/ ถึงท่าฬ่อล่อหลอกกันออกฉาว ให้นึกหนาวร้อนตัวกลัวสยอง
กลัวทั่งล่อทั้งชนขนหัวพอง ขอจงผ่องพ้นล่อจนมรณา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 21/11/2012 9:49 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing ขอบคุณอาจารย์เอก และคุณหนุ่มนครลำปาง มากครับ ทีอธิบายเพิ่มเติม ขอย้อนกลับไปที่ตะพานหินสักครู่ นะ ครับ

ผมขอตั้งข้อสังเกตุอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยสมัยจอม ป.พิบุลสงคราม นะ ครับ จากลิงค์ที่ ๒(ข้างบน)ของอาจารย์เอก ผมลองเข้าไปอ่านดู
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลง เขตต์ ในท้องที่กิ่งอำเภอตะพานหินอำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร์
(พ.ศ.๒๔๘๑)

การใช้ คำสะกด แตกต่างจากลิงค์ที่ ๓(ล่างสุด) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอตะพานหิน ขึ้นอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ขั้นเป็อำเภอขนานนามว่า อำเภอตะพานหิน
ห่างกัน ๒ ปี (๒๔๘๓)ตัวสะกดเปลี่ยนไป

จะเห็นได้ว่าตัวสะกดการันต์ หายไป ผมสังเกตุ เขตสถานีและเขตสับเปลี่ยน บางสถานียังเขียนรูปแบบเดิมอยู่เลย แต่เอาสีขาว ๆ ทา "ต์" ไว้ ยังพอมีให้เห็นในบางสถานี ครับ

*******

ปล.ต้องขออภัยนะ ครับที่ออกนอกกระทู้ แต่ผมสนใจเกี่ยวกับประวัติศาตร์มาก ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/11/2012 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

มีกรณีศึกษาคล้าย ๆ กันนี้ของจังหวัดเพชรบุรีครับ แต่ช้ากว่า พิจิตร์ กลายเป็น พิจิตร

เดิมสะกดว่า เพ็ชร์บุรี
พอถึงปี ๒๔๘๕ ยุคอักขระวิบัติโดยจอมพล ป. กลายเป็น เพชรบุรี
หลังจากนั้นก็ใช้ เพชรบุรี มาโดยตลอดครับ Wink
ที่มา:
(1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ทำการสำรวจราษฎรในเขตเทศบาลเมืองเพ็ชร์บุรี จังหวัดเพ็ชร์บุรี (พ.ศ. ๒๔๘๔)

(2) พระราชกริสดีกา กำหนดเขตที่ดินไนบริเวนที่ที่จะเวนคืน ไนท้องที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทสงครามและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พุทธสักราช ๒๔๘๕

----
สนุกดีครับพี่สมชาย พี่หนุ่ม และทุก ๆ ท่าน ช่วย ๆ กันแทรกเกร็ดประวัติศาสตร์ เกร็ดความรู้ ทำให้กระทู้น่าสนใจขึ้นอีกมากครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 22/11/2012 12:34 am    Post subject: Reply with quote

...ขอย้อนช็อตที่ตะพานหินอีกนิดครับ...!??
ในนิราศมิได้กล่าวถึง "ชุมชนคณะลิเก" จึงไม่แน่ใจว่าเกิดขึ้นภายหลังหรือไม่น่ะครับ...!?!
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/11/2012 8:12 pm    Post subject: Reply with quote

ชุมชนคณะลิเก ที่ตะพานหิน ผมค้นประวัติย้อนหลังไปได้ไม่เกิน 30-40 ปีเท่านั้นเองครับ
http://www.ryt9.com/s/tpd/860335

----

๕๒/ บ้านกระท่อมคิดดูอยู่กระท่อม มีกินพร้อมนุ่งห่มพอสมหน้า
ไม่มีหนี้ไม่มีผู้บีฑา ก็ดีกว่าอยู่สถานบ้านโตโต

แต่ขัดสนจนทวีเจ้าหนี้แหนบ เหมือนคับแคบทั้งศัตรูก็ขู่โห่
งานสะบักสะบอมเผือดผอมโซ ต้องโอดโอ้ประดาษอนาถตา

ไร้วิชาอาหารกันดารกิจ สิ้นลาภยศหมดมิตรเสน่หา
ถึงอยู่ตึกเจ็ดชั้นสุวรรณทา ก็ไม่ผาสุกจิตเหมือนติดกรง


๕๓/ ถึงแม่เทียบเห็นแต่ป่าไร่นาอ้อย ตะวันคล้อยลับไม้ไพรระหง
ให้หวิวหวิวรันทดสลดทรง นั่งบรรจงตัวไปหัวใจลอย

๕๔/ ถึงบ้านใหม่เขาปองแต่ของใหม่ ของเก่าไม่รักษาน่าละห้อย
เห็นเป็นเก่าแก่แล้วยังนั่งตะบอย ยังไม่ค่อยจะตายช่างร้ายจริง

อันของใหม่อาศัยเก่าเอากำเนิด ใช่จะเกิดอุปาติกะระดะสิ่ง
ย่อมได้นามชลัมพุชยุดพึ่งพิง ควรหรือชิงชังทำใจลำเอียง

----
บ้านกระท่อม ปัจจุบันคือ สถานีรถไฟบางกระทุ่ม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2012 8:56 pm    Post subject: Reply with quote

๕๕/ มาถึงพิษณุโลกประโยคสุด รถไฟหยุดค้างจังหวัดแออัดเสียง
ต่างรีบลงส่งของกองรวมเรียง พ่อเถียวเลี่ยงไปว่าภัตตาคาร

เช่าสี่ห้องของใช้ไม่ต้องขน พวกคนยลภัตตามาขนาน
ขนขึ้นให้ถึงห้องที่ต้องการ ค่อยสำราญขึ้นสำนักพักราตรี

มีเวลาพากันขึ้นรถยนต์ ถึงตำบลวัดใหญ่ประไพศรี
นมัสการพระพุทธวิสุทธี พระนามมีชินราชโอภาสทรง

ประทับในเรือนเฉลาเนาวรัตน์ เศวตฉัตรกั้นเชิดระเหิดระหง
งามประเสริฐประดุจพุทธองค์ ประทับทรงโปรดสัตว์จรัสกาล

ฉันน้อมกายถวายเบญจางคประดิษฐ์ พลางอุทิศน้ำใจอันใสสานต์
บูชาคุณตรัยรัตน์ชัชวาล ขอนิพพานจงอย่าแคล้วข้าไป

ตำนานกล่าวราวเรื่องของเืมืองนี้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกใหญ่
เป็นกษัตริย์เชียงแสนแดนไผท มาสร้างไว้สองฝั่งข้างนที

ทั้งสร้างวัดปรางค์เจดีย์โบสถ์วิหาร พระประธานสามองค์ล้วนทรงศรี
เมื่อพุทธศกดกพันห้าร้อยปี ท้าวโกสีย์แปลงมาช่วยอำนวยการ

ปั้นเบ้าหล่อต่อเสริมพระนลาฏ ตรีศูลพาดไว้ประจักษ์ศักดาหาญ
พระชินราชอาจองค์แทนทรงญาณ ให้ยืนนานชั่วกัลป์พุทธันดร

แล้วกราบลาองค์พระชินราช ยุรยาตรหวนไห้ฤทัยถอน
ขึ้นที่พักพร้อมหน้าคลายอาวรณ์ สโมสรรับอาหารสำราญรมย์

มีโต๊ะตั้งทั้งบ๋อยคอยปฏิบัติ สารพัดตามจะซื้อชื่อขนม
ตะเกียงแสงจันทร์จ้าเป็นน่าชม ฝนระดมตกใหญ่ในราตรี

แขกยามแบกปืนยาวเที่ยวก้าวตรวจ วางท่าอวดอำนาจดังราชสีห์
ตามหน้าห้องช่องทางที่ขวางรี สองชั้นมีหลายสิบห้องต้องระวัง

สามชั้นมีสี่ห้องละสองบาท เตียงสะอาดเอี่ยมดีมีที่นั่ง
หน้าห้องมีเฉลียงโถงลูกกรงบัง ห้องน้ำทั้งห้องถ่ายอยู่ฝ่ายบน

ห้องสองชั้นเป็นพื้นคืนละบาท ความสะอาดธรรมดาอย่าฉงน
ให้กุญแจคนละห้องไม่ต้องปน ฝนตกจนตีหนึ่งจึงได้ซา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 26/11/2012 10:00 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

มีเวลาพากันขึ้นรถยนต์ ถึงตำบลวัดใหญ่ประไพศรี
นมัสการพระพุทธวิสุทธี พระนามมีชินราชโอภาสทรง

ตรงนี้ค่อนข้างชัดเจนว่า มีการใช้คำว่า "ตำบล" ในความหมายที่แสดงถึงการเป็นที่ตั้งหรือที่อยู่
มิใช่ในความหมายของเขตการปกครองนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2012 11:08 am    Post subject: Reply with quote

ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ
ในพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓
ให้ความหมายของคำว่า ตำบล ว่า
Quote:
ตำบล น. ถิ่น, ท้องที่ที่แบ่งออกจากเขตอำเภอ

ต่อมาใน ศัพทานุกรมไทย ฉบับเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก รวบรวมเรียบเรียงโดย สุทธิ ภิบาลแทน พิมพ์ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้ความหมายว่า
Quote:
ท้องที่, ท้องที่ซึ่งเป็นเขตปกครองเป็นส่วนย่อยของอำเภอ

แต่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
กลับตัดความหมายแรกออกไป เหลือเพียงความหมายในทางกฎหมายว่า
Quote:
(กฎ) น. ท้องที่ที่รวมหมู่บ้านหลายหมู่บ้านเข้าด้วยกัน
และมีประกาศจัดตั้งเป็นตําบล มีกํานันเป็นหัวหน้า
ปกครอง.

แสดงให้เห็นว่า ความหมายดั้งเดิมของคำว่า ตำบล กำลังจะถูกลืมเลือนไปนะครับ การอ่านบทประพันธ์ วรรณกรรมเก่า ๆ ให้เข้าใจ อาจจะต้องใช้พจนานุกรมเล่มเก่า ๆ ประกอบด้วยเช่นกัน Very Happy
คำว่า ตำบล คงมาจากภาษาเขมรนะครับ เพราะขึ้นต้นด้วยพยางค์ ตำ- และ บล สะกดด้วย ล ลิง Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
Page 5 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©