Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311317
ทั่วไป:13281764
ทั้งหมด:13593081
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - มีความคืบหน้าโครงการโฮบเวลบ้างไหมครับ[มีภาพ]
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

มีความคืบหน้าโครงการโฮบเวลบ้างไหมครับ[มีภาพ]
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006
Posts: 1346

PostPosted: 26/10/2006 6:41 pm    Post subject: Reply with quote

เสียดายอย่างที่สุดครับ

โครงการโฮปเวลล์ เค้าตั้งใจแก้ปัญหาจราจร โดยยกรถไฟขึ้นไป เหนือพื้นดิน เพื่อลดจุดตัดกับทางรถยนต์ เพื่อลดปัญหาการให้รถยนต์ต้องหยุดรอรถไฟ

เอาเสาโฮปเวลล์ไปทำอย่างอื่น ความหวังที่จะลดจุดตัด (Grade Crossing) ก็จะมลายหายไปตลอดกาล

รถก็ยังคงติดต่อไป ตราบกาลปาวสาน



ที่จริงทำข้างบนของตอม่อให้บานๆ คล้ายๆ ทางยกระดับ แถวๆ บางนา (ชื่ออะไรใครรู้ช่วยบอกที)
ซึ่งเป็นทางยกระดับที่มีตอม่อสวยที่สุดเส้นหนึ่ง
ก็จะได้หลายช่องจราจรหน่อย

เอ ทางยกระดับนี้ ข้างบนมีกี่ช่องจราจร ครับ ใครรู้บ้าง
Back to top
View user's profile Send private message
pitch
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 14/07/2006
Posts: 694
Location: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเรื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมด็จพระนารายณ

PostPosted: 26/10/2006 6:57 pm    Post subject: Reply with quote

alderwood wrote:
DIESELGTR wrote:
ถ้าจำไม่ผิดเนี่ย เค้าเอาไปทำเป็นออฟฟิตขายของเก่าที่พัทยาป่ะครับ Crying or Very sad เสียดายจัง

จำไม่ได้ว่าที่ไหน แต่ติดกับ Motorway ครับ คงไม่ไกลจาพัทยามาก สังเกตง่ายๆ เป็นจุดที่ขายเศษเหล็กตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเครื่องบินก็ว่าได้ เห็นมี C-47 Dakota ด้วยแน่ะ

ถ้าจำไม่ผิดจะอยู่ก่อนถึงทางแยกมอเตอร์เวย์เข้าศรีราชาครับ..จะมีขายเศษเหล็กทุกอย่างเมื่อก่อนยังเคยเห็นมีตู้ ต.ญ. ด้วย Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
kwangshika
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 23/10/2006
Posts: 5

PostPosted: 26/10/2006 7:40 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าใครมีภาพรถไฟตัวนั้น เอามาโพสหน่อยนะครับผม ~~~~

ปล. แก้ไขแล้วนะครับ
Very Happy Very Happy
_________________
ชีวิตคือการเดินทาง การเดินทางเปรียบเสมือนห้องสมุด

รถไฟ เปรียบเสมือนตัวค้นหา และเปิดโลกทัศน์และชีวิต

คนต่างเมืองเปรียบเสมือนบรรณารักษ์ ที่คอยต้อนรับและคอยดูแล


Last edited by kwangshika on 26/10/2006 7:56 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2006
Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT

PostPosted: 26/10/2006 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

kwangshika wrote:
ถ้าใครมีภาพรถไฟตัวนั้น เอามาโพสหน่อยนะงับ งิ~~~~


Confused Confused Confused Laughing Laughing Laughing


กรุณาใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยครับ ภาษาไทยครับ ไม่ใช่พาสาทัย Exclamation Exclamation Exclamation
_________________
The Guardian of Rotfaithai.Com
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 15/12/2007 11:50 am    Post subject: Reply with quote

ความจริง”จากผู้ใกล้ชิดกอร์ ดอนวู
สวีสดีกรุงเทพ 13 December 2007




ครั้งแรกของการเปิดเผยเบื้องหลังการล้มสัมปทาน”โฮปเวลล์” หลังจากที่โครงการระบบขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพฯและปริมณฑล หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ โครงการรถไฟลอยฟ้า”โฮปเวลล์” ซึ่งเริ่มต้นโครงการในรัฐบาลสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อมาโฮปเวลล์ถูกยกเลิกสัมปทานไปเมื่อปี 2541 เพราะไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

สวัสดีกรุงเทพ ได้ติดตามความคืบหน้าของคดีพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม และ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยและชี้ขาดข้อพิพาท และกำหนดวันเปิดศาลสืบพยานไปเมื่อวันที่ 12 – 14 ธันวาคม 2550 ทั้งนี้นายอนุศักดิ์ อินทรภูวศักดิ์ นายกฤษนันทร์ พลาฤทธิ์ สองผู้บริหารสำคัญจากบริษัทซีทีไอ โฮลดิ้ง จำกัด นายคอลิน เวียร์ ผู้อำนวยการ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยกับสวัสดีกรุงเทพ ถึงปัญหาและอุปสรรคตั้งแต่เริ่มต้นที่โฮปเวลล์ ได้สัมปทานจากการรถไฟแห่งประเทศไทยในปี 2534 จนถึงวันที่รัฐบาลมีมติยกเลิกสัญญาสัมปทาน ในปี 2541 ทั้งนี้นายอนุศักดิ์ และนายกฤษนันทร์ เคยทำหน้าที่เป็นตัวแทนและที่ปรึกษาให้กับนายกอร์ดอน วู ประธานบ.โฮปเวลล์ จำกัด

นายอนุศักดิ์ เปิดเผยว่า โครงการโฮปเวลล์ มีการลงทุนในโครงการมูลค่า 16,250 ล้านบาท ( 640 ล้านเหรียญสหรัฐ) และนับเป็นโครงการก่อสร้างที่มีปัญหาการก่อสร้างมาตลอดและยืดเยื้อยาวนานที่สุด โดยระหว่างดำเนินการอยู่นั้นมีการเปลี่ยนรัฐบาลถึง 8 ครั้งผ่านนายกรัฐมนตรี 6 คน รัฐมนตรีคมนาคม 9 คน และผู้ว่าการรถไฟฯ 4 คน และยังต้องเผชิญกับการเกิดรัฐประหาร 1 ครั้ง ในแต่ละครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรี มักจะต้องมีการทบทวนสัมปทานการก่อสร้างทุกครั้ง
นอกจากนี้นายกอร์ดอน วู ยังถูกโจมตีอีกว่า เป็นนักธุรกิจต่างชาติ ที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่รัฐเปิดโอกาสให้พัฒนาที่ดินตลอดแนวเส้นทางโครงการโฮปเวลล์อีกด้วย ทั้งที่รฟท.ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 2,850 ล้านบาท โดยที่รัฐบาลไม่ได้ลงทุนในโครงการเลย


นอกจากนี้โฮปเวลล์ยังพบกับปัญหาจุดตัดกับโครงการอื่น เช่น ดอนเมืองโทลเวย์ ทางด่วนขั้นที่ 2 บริเวณทางลงถ.พระราม 6 โครงการรถไฟฟ้ามหานครบางซื่อ ทางด่วนเอกมัย –อาจณรงค์ เป็นต้น
รวมถึงปัญหาการเวนคืนพื้นที่การก่อสร้าง ประกอบกับปัญหาทางการเมือง และปัญหาการสั่งการระหว่างรัฐบาลกับการรถไฟฯ ทั้งนี้ในส่วนของความล่าช้าของโครงการยังเกิดจากการความล่าช้าในขั้นตอนการอนุมัติแบบก่อสร้างที่ รฟท.ต้องการให้แบบก่อสร้างสมบูรณ์ก่อนจึงเริ่มก่อสร้าง แต่ตามสัญญาสัมปทานโฮปเวลล์สามารถส่งแบบเป็นช่วงๆได้ รวมถึงการปรับอัตราค่าโดยสารที่รฟท.อนุมัติให้เก็บที่อัตราขั้นต่ำ 20 บาท แต่กระทรวงคมนาคมให้ลดอัตราขั้นต่ำลงเหลือ 15 บาท ซึ่งปัญหาทั้งหมดส่งผลกระทบกับการหาสถาบันทางการเงินมาสนับสนุนการก่อสร้าง ทำให้โครงการโฮปเวลล์โดยรวมเกิดความล่าช้าและไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามสัญญาระยะที่ 1 ในเดือนธันวาคม 2538 นำไปสู่การบอกเลิกสัมปทานในที่สุด

ล่าสุดรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงแทนที่โครงการโฮปเวลล์ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบางซื่อ ไปสุดปลายทางที่สถานีรังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร 5 สถานีและขณะนี้อยู่ในระหว่างจัดจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติม
****************************
นายอนุศักดิ์ อินทรภูวศักดิ์ นายกฤษนันทร์ พลาฤทธิ์ และนายคอลิน เวียร์ ในฐานะที่ใกล้ชิดกับนายกอร์ดอน วู และติดตามเรื่องของโฮปเวลล์มาตั้งแต่เริ่มต้น ได้เปิดใจกับสวัสดีกรุงเทพเป็นครั้งแรกถึงปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนายของโครงการโฮปเวลล์
นายอนุศักดิ์ เล่าถึงความเป็นมาของนายกอร์ดอน วูก่อนที่จะเข้ามาเริ่มโครงการโฮปเวลล์
ว่าหากใครรู้ความจริงจะเห็นใจผู้ลงทุนอย่างนายกอร์ดอน วู เพราะเบื้องหลังความจริงไม่มีอะไรเลยนอกจากว่าเขาเป็นคนคนหนึ่งอยากจะมาทำโครงการนี้ แล้วหอบเงินมาทั้งก้อนเพื่อนำมาลงทุน
“คุณกอร์ดอนวู เป็นนักพัฒนาที่ดิน โรงไฟฟ้า สร้างทางด่วน ประสบการณ์ด้านโครงการต่างๆของโฮปเวลล์ ที่ประเทศจีนมี โรงแรม China โรงไฟฟ้า Shajiao B ถนนวงแหวนกวางโจว ทางด่วนกวางโจว-เสินเจิ้น ส่วนฮ่องกงมี อาคารโฮปเวลล์ เซ็นเตอร์ โรงแรมแพนด้า International Trademart
ที่ฟิลิปปินส์ มีโรงไฟฟ้า Navotas I และ NavotasII โรงไฟฟ้า Pagbilao โรงไฟฟ้า Sual เป็นต้น

ช่วงนั้นแม้แต่คุณธนินทร์ เจียรวนนท์ จากซีพียังบอกว่าพวกเราต้องยกนิ้วให้กอร์ดอนวู ขนาดผมเป็นคนในประเทศนี้ ผมยังไม่กล้านำเงินมาลงทุนมากขนาดนี้ คนต่างชาติที่ไม่รู้จักไทยเลยหอบเงินเข้ามาขนาดนี้ไม่ได้คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมายเพราะโครงการโฮปเวลล์นี้ผ่านมาถึง 8 รัฐบาล 9 รัฐมนตรีคมนาคม 4 ผู้ว่าการรถไฟฯ

นายอนุศักดิ์ เล่าว่าช่วงเริ่มต้นกอร์ดอน วูตั้งใจมาลงทุนเรื่องโรงไฟฟ้า จากดอนเมืองไปโรงแรมใช้เวลาเดินทางถึง 3 ชั่วโมงกว่า มาติดที่ทางลงเพลินจิต ติดเป็นชั่วโมง กอร์ดอนวูเห็นว่าถ้ารถติดแบบนี้เศรษฐกิจคงพังหมด ยังช่วงนั้นยังสงสัยว่าทำไมคนไทย ต้องติดทีวีในรถ แต่ตอนหลังก็เข้าใจว่าเป็นเพราะพวกเราต้องใช้เวลาอยู่ในรถเป็นเวลานาน หลังจากนั้นก็คุยกันเรื่องโรงไฟฟ้าสมัยนั้นกฎหมายยังไม่เปิด เหตุผลที่มาลงทุนโรงไฟฟ้า เพราะเขารู้สึกว่าไทยยังขาดพลังงานไฟฟ้าเมื่อเทียบกับมาตรฐานโลก เพราะเขาไปลงทุนโรงไฟฟ้าที่จีนไว้เยอะมาก เขาจะศึกษาเรื่องนี้มาก และเหตุที่เขาสนใจมาเมืองไทยเพราะช่วงที่เขาไปจีนเกิดเหตุการณ์นองเลือดที่เทียนอันเหมิน จึงคิดว่าไม่น่าลงทุนและตั้งใจจะถอนจากจีนและหันมาสนใจเมืองไทย จึงมาศึกษาดูว่าจะมีโอกาสไหมที่ไทยจะให้เอกชนเข้ามาทำโรงงานผลิตไฟฟ้า และพอมาเจอปัญหารถติด จึงสนใจจะมาลงทุนเรื่อง และคิดจะเริ่มศึกษาการลงทุนด้านนี้ในไทย

นายกฤษนันทร์ เล่าเสริมว่า “ช่วงนั้นการรถไฟฯ มีโครงการจะยกระดับเพื่อให้ถนนข้ามทางรถไฟไปเลย จะลดปัญหารถติดบริเวณทางรถไฟ จึงเปิดให้มีการประมูล 2 – 3 ครั้งแต่ไม่มีใครสนใจ ผมเลยเอาโครงการไปให้กอร์ดอนวูดู ว่าถ้ายกเฉพาะถนนไม่คุ้ม มันควรจะมีสิ่งเสริม แทนที่จะยกถนน ทำไมไม่ยกทางรถไฟด้วยเหมือนประเทศอื่นก็มี เริ่มแรกคิดว่าจะยกระดับทางรถไฟขึ้นมาเหนือถนน รถข้างล่างจะได้ไม่ติด”

ช่วงปี 2532 เปิดประมูล 2 ครั้งไม่มีใครมาประมูล จึงมีข้อเสนอออกมาอีกว่า ให้ที่ดินเพื่อทำโครงการพัฒนาที่ดินด้วย ไปด้วยช่วงเจรจาใช้เวลา 6 เดือน จึงเป็นที่จับตามองของคนในสังคมช่วงนั้นว่าทำไมจึงใช้เวลาสั้นมาก ถ้าหากเป็นบริษัททั่วไปมาเจรจาแบบนี้ ในการเจรจาแต่ละครั้งจะต้องกลับไปบริษัทแม่เพื่อปรึกษากันแล้วจึงกลับมาเจรจาต่อ ก็จะใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่กอร์ดอน วู มานั่งเจรจาด้วยตัวเอง ตัดสินใจได้เอง ลงทุนห้าร้อยล้าน พันล้าน เขาใส่กางเกงขาสั้นลงไปตรวจเส้นทางรถไฟด้วยตัวเอง เดินตามไม้หมอน เดินไปเดินมา คุณกฤษนันทร์ยังมาเล่าให้ฟังว่าหลายครั้งเกือบถูกรถชน ไม่มีใครรู้ว่าเขาคือกอร์ดอน วู

เมื่อถามว่ากอร์ดอน วู เข้าใจเรื่องการเมืองไทย การลงทุนไทยที่จะเชื่อมโยงกับฝ่ายการเมืองมากแค่ไหน นายอนุศักดิ์ กล่าวว่า “เขายังเข้าใจไม่ถ่องแท้ เท่าปัจจุบันที่เห็นชัดเจนมากขึ้นว่าสิ่งที่เขามาเจอนั้นเป็นสิ่งที่เขาไม่ได้คิดมาก่อน ผมทั้งสองคนเป็นที่ปรึกษาพอเจรจาเสร็จ มีการตั้งบริษัทขึ้นมา มีคุณกฤษนันทร์ เป็นผู้อำนวยการ ส่วนผมเป็นรองประธาน คุณกอร์ดอนวู เขามั่นใจว่าเขาสามารถเข้าไปลงทุนในจีนมาแล้ว ซึ่งลำบากมาก แต่เขาก็ทำได้ เขาคิดว่ามันยากกว่าที่เมืองไทยเสียอีก แต่ที่จริงของไทยนี่เรียกว่า “ปราบเซียน”เลย
คิดว่าประเทศประชาธิปไตยนี่น่าจะเจรจาได้ง่ายกว่าจีน แต่ก็ได้เรียนรู้แล้วว่ายากกว่ามาก+นัก

นายอนุศักดิ์ ระบุว่า จากประสบการณ์ที่ได้เข้าไปสัมผัส สาเหตุที่โครงการโฮปเวลล์ ไม่ประสบความสำเร็จ เกิดจากปัจจัย 3 ส่วนหลัก
1.ปัญหาทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องแน่นอนที่ต้องตามทัน
2.ผลประโยชน์ของโครงการที่มหาศาล ถ้าโครงการนี้ทำสำเร็จ สมัยก่อนกลุ่ม CTI มีกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่ดิน เมื่อโครงการนี้เริ่มเห็นภาพเราจึงหยุดเพราะเมื่อโฮปเวลล์สร้างเสร็จ วิถีชีวิตของคนจะเปลี่ยนไป คนจะไปอยู่ริมทาง ศูนย์การค้า นักพัฒนาที่ดินจะถูกกระทบถ้าไม่ได้ไปอยู่ในโซนที่ใกล้รถไฟฟ้า จะเจริญตามเส้นทางโฮปเวลล์ ถ้าช่วงนั้นสำเร็จคอสต์จะต่ำกว่าหลายเท่า วิถีชีวิตจะเปลี่ยน ประหยัดเวลา ช่วยเรื่องเศรษฐกิจ ลดการใช้น้ำมัน ถ้าสำเร็จขณะนี้คงมีโครงข่ายเชื่อมต่อมากมาย เพราะช่วงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
3.สื่อเป็นศัตรูกับกอร์ดอนวู ซึ่งเคยปรารภด้วยความน้อยใจ สมัยนั้นเขาไปลงทุนที่ฟิลิปปินส์ ปธน.รามอสให้เกียรติ ส่งเฮลิคอปเตอร์ไปรับเขา 3 ชั่วโมงครึ่งต่อมาข้ามมาที่ประเทศไทยเขากลายเป็นโจรทันที สื่อเขียนโจมตีกอร์ดอน วูเป็นโบรกเกอร์ เป็นโจรจะมาปล้นไทย จะมาโกง เอาที่ดินไปทำประโยชน์
เราเคยให้คำแนะนำกอร์ดอนวูว่า เราต้องให้ความสำคัญกับสื่อ แต่เขาบอกว่าโฮปเวลล์ ไม่เคยทำงานผ่านสื่อ จะใช้ความจริงสร้างให้คนเห็น เขาไม่เชื่อ เป็นสิ่งที่น่าเสียดายว่า ถ้ามีการเปิดให้สื่อได้พูดคุยซักถามมากกว่านี้ จับเข่าคุยกัน มันจะดีกว่านี้

หมายความว่าสื่อไม่ได้รับข้อมูลตรงจากนายกอร์ดอน วู แต่สื่อต้องไปตามหาข่าวเอาเองโดยไปจับข้อมูลของภาครัฐ ทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐมนตรี กลายเป็นแฟชั่นที่สื่อจะต้องไปถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ ว่าจะทบทวนโครงการนี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับข้อมูลจากกอร์ดอน วู ยกตัวอย่างสื่อบางแห่งเขียนว่าเขาเป็นโบรกเกอร์ เป็นรายงานข่าวเลยว่าไปตรวจสอบมาแล้วว่าพบกอร์ดอน วูเป็นเจ้าของห้องแถว 2 – 3 ห้อง ซึ่งไม่ใช่ความจริง

จะเห็นว่าการเมืองมีส่วนมาก เมื่อเปลี่ยนรัฐมนตรีเปลี่ยนรัฐบาล โครงการมักจะเปลี่ยนไปเรื่อย ปัญหาการบริหารของไทยมักมีเรื่องนี้คือเมื่อเปลี่ยนรับบาลแต่ละครั้ง เปลี่ยนรัฐมนตรี โครงการต่างๆมักจะเปลี่ยน หรือทบทวนไปเรื่อย ไม่เคยมีแผนแม่บทที่ต้องทำงานต่อเนื่อง ตรงนี้เป็นจุดอ่อนอย่างมากสำหรับการเดินหน้าโครงการอะไรก็ตาม ทำให้เป็นช่องว่างให้มีเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์

แม้จะเป็นรัฐบาลเดียวกัน ยกตัวอย่าง หลังรสช.คุณอานันท์ พยายามเชิญคุณกอร์ดอน วูเข้ามาช่วย เพราะตอนนั้นบรรยากาศการลงทุนแย่มากหลังรสช. รัฐบาลต้องการประชาสัมพันธ์ด้านการลงทุนในเมืองไทยว่า กอร์ดอน วูยังไม่ทิ้งโครงการนี้นะ มีการวางศิลาฤกษ์ หลังจากการวางศิลาฤกษ์ได้ไม่เท่าไร ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยส่งหนังสือมาถึงโฮปเวลล์สั่งห้ามเข้าเขตการก่อสร้างโฮปเวลล จนกว่าแบบการก่อสร้างจะได้รับการอนุมัติ รับบาลเดียวกันแท้ๆ นายกฯเป็นผู้เชิญให้เขามา แต่หน่วยงานอื่นๆไม่ได้สนับสนุน หากเล่าไปท่านจะบอกว่าไม่น่าเชื่อ

ยกตัวอย่าง วันหนึ่งกอร์ดอน วูพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมท่านหนึ่ง ซึ่งให้ความมั่นใจว่าจะสนับสนุนให้สร้างให้เร็วที่สุด ต่อมารัฐมนตรีท่านนั้นมีการเรียกผู้ว่าการรถไฟเข้าไป และมีการเชิญรองผู้ว่าการรถไฟฯท่านหนึ่งเข้าไปด้วย คุยเรื่องโฮปเวลล์ ก็มีการบอกว่าสนับสนุน แต่หลังจากที่มีโทรศัพท์จากรัฐมนตรีอีกท่านหนึ่งเข้ามาคุยกับรัฐมนตรีท่านนั้น ท่านพูดโทรศัพท์โดยลืมไปว่ารองผู้ว่าฯการรถไฟท่านนั้นนั่งอยู่ด้วยว่าโครงการโฮปเวลล์นี้ไม่ให้ผ่าน และรองผู้ว่าท่านนั้นก็มาเล่าให้เราฟัง ส่วนเหตุผลนั้นเราไม่ทราบ
ยังมีท่านทูตคนหนึ่งที่ผมนับถือเป็นพี่ เจอผมที่สนามบินแห่งหนึ่งขณะที่ผมกำลังเดินทาง ทูตถามผมว่าโฮปเวลล์มีปัญหาอะไร เพราะได้พบผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง บอกว่าโฮปเวลล์สงสัยให้ผ่านไม่ได้ ต้องเลิก ผมถามถึงเหตุผลเขาก็ตอบว่าไม่ทราบ บรรยากาศจะเป็นเช่นนี้ตลอด บางทีผมคิดว่า หากโฮปเวลล์สำเร็จจะเกิดการการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตกับคน ซึ่งอาจจะเกี่ยวโยงกับอะไรหลายๆอย่าง

สุดท้ายที่ทำให้เดินหน้าไม่ได้ คือจากทั้งหมด 9 รัฐมนตรี จะอยู่ช่วงสั้นๆ พอเจรจาได้จะเดินหน้าต่อ ก็เปลี่ยนรัฐมนตรี พอแต่ละคนเข้ามาสั้นๆ แต่ละคนก็เรียกให้เรียกสถาบันการเงินเข้ามาสนับสนุน ซึ่งแต่ละช่วงไม่มีความแน่นอน จะให้สถาบันการเงินที่ไหนเข้ามาก็ไม่มีใครกล้าเข้ามา เช่น เพิ่งได้คำตอบจากรัฐมนตรีเมื่อวานให้เดินหน้า วันนี้จะให้หาสถาบันการเงินมาสนับสนุนทันทีมันเป็นไปได้ยาก
กอร์ดอน วู ถึงต้องใช้เงินจากที่ตกลงกันไว้ในสัญญา 6,000 ล้านเหรียญฮ่องกง สมัยนั้นผมคิดว่าสถาบันการเงินไทยยังมีทุนจดทะเบียนไม่ถึงด้วยซ้ำ เป็นการลงทุนที่มาก ในที่สุดต้องใช้เงินตัวเอง
มาสนับสนุน จากคำพูดของคู่สัญญาที่ไม่ให้การสนับสนุนเลย

หลังจากนั้นกอร์ดอน วู กัดฟันสู้ ครั้งสุดท้ายในสมัยรัฐมนตรี คุณสุวัจน์ให้โอกาสอีกครั้งหนึ่ง แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องสร้างให้ทันเอเชี่ยนเกมส์ มีเวลา 2 ปีซึ่งถือว่าน้อยมากจากแผน 8 ปี 2 ปีซึ่งสั้นอยู่แล้ว ยังมีรายละเอียดในการเจรจาอีกมากมาย กอร์ดอน วู สู้จนเกือบวินาทีสุดท้าย ตอนนั้นกอร์ดอน วูเกือบจะเซ็นแต่แบงก์ไม่ให้เซ็น และบอกว่ากอร์ดอน วู กำลังจะเซ็นในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สุดท้ายที่จบจริงๆคือ เรื่องค่าเงินบาทอ่อน เศรษฐกิจพัง สูญเปล่า 6,000 ล้าน ฮ่องกง คูณด้วย 3 ก็เท่ากับ 18,000 ล้านบาท จากมูลค่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ในเวลานั้นกรรมการโฮปเวลล์ ซึ่งเป็นชาวฮ่องกงถูกตำรวจออกหมายจับเพราะระหว่างก่อสร้างการรถไฟอนุมัติให้เข้าไปก่อสร้างในที่ของการรถไฟให้นาซ่าเข้าไปเช่า คนงานก่อสร้างเข้าไป แทนที่เขาจะห้ามคนงานไม่ให้เขา เขากลับแจ้งจับคนงานและกรรมการบริษัททุกคนด้วย ให้มารายงานตัวที่สถานี

ผมยกตัวอย่างที่ถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งมีการตกลงกันว่า การเจรจาโครงการใหญ่ๆ ต้องมีการตกลงกัน ในหลักการ ระหว่างนั้นจะมีการออกแบบและมีการอนุมัติกัน ในสัญญาระบุว่า โฮปเวลล์จะต้องสร้างถนนโลคัลโรด 4 เลนไป-กลับ ผมเคยถามกอร์ดอน วูว่าทำไมสร้าง 4 เลน ไป-กลับขนาดใหญ่ขณะที่สัมปทานมีโทลล์เวย์ ทำไมสร้างโลคัลโรดมาแข่งกันเอง กอร์ดอน วู บอกว่า ไม่ใช่นะ เราจะสร้างอะไรก็ตามจะต้องมีทางเลือกให้ประชาชน เขาคิดถึงขนาดนั้น พอสำรวจเข้าจริงๆในการออกแบบ บางที่ได้แค่ 2 เลน ตรงไหน 4 เลนได้ก็ทำ บางแห่งเวนคืนที่แล้วค่อยมาสร้างเพิ่ม บางแห่งไม่ยอมออก ตามสัญญาจะเป็น 4 เลน

หลังจากยุติแล้วกอร์ดอน วู น้อยใจ เสียใจ ผิดหวัง ทั้งๆที่เขาตั้งใจจริง เห็นว่าถ้ามีโอกาสไปพูดที่ไหนหลายแห่งจะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยพอสมควร ขณะนี้เขาไม่ยอมแม้แต่จะเหยียบประเทศไทย ไม่ยอมพูดถึง ขณะนี้อยู่ในอนุญาโตตุลาการ เริ่มจากยื่นเอกสารแล้วทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายโฮปเวลล์ ถ้าเป็นไปตามคาด 6 เดือนน่าจะจบ กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2004

ปัญหาที่เริ่มไม่ปกติ ความเป็นจริงเป็นเรื่องของการสะสมมาเรื่อย ทุกรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรีคมนาคมต้องให้สัมภาษณ์เรื่องโฮปเวลล์ เริ่มมาจากการที่เราโชคร้าย เราเซ็นสัญญากับรัฐมนตรีมนตรี พงษ์พานิช ซึ่งคนจับตามอง แต่จากความเป็นจริงที่เราสัมผัส สิ่งดีๆที่ท่านให้ไว้ เช่น ประโยค คุณเป็นคนไทย เวลาเจรจาอย่าให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์ หลังจากเซ็นก็เปลี่ยนรัฐบาล คนการรถไฟบางคนก็ไม่ให้ความร่วมมือ เรารู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

นายกฤษนันทร์ กล่าว่า รัฐมนตรีบางท่านก็ให้ความร่วมมือเต็มที่เช่น พอ.วินัย สมพงษ์ สมัยที่เป็นรมว.คมนาคม ท่านไม่เคยยอมพบกอร์ดอน วูเป็นการส่วนตัว อาจจะเพื่อที่จะประกาศตัวว่าท่านไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรกับโครงการนี้ ท่านอยากผลักดันให้โฮปเวลล์มันสร้างเสร็จเร็ว ประชุมแล้วประชุมอีก บอกให้การรถไฟประชุม ก็ไม่ประชุม ท่านก็เอาเรื่องมาประชุมที่กระทรวง เชิญประธานรถไฟ คือดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานบอร์ดการรถไฟในขณะนั้น ท่านติดธุระไม่สะดวกมา หลังจากประชุมกันไป และมีมติออกมา เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้ มติจากกระทรวงคมนาคมออกมาการรถไฟก็ไม่รับ ในที่สุดพอ.วินัย ไม่มีทางเลือกต้องดันโครงการนี้ต่อ มีการเปลี่ยนประธานบอร์ดการรถไฟ

ก่อนหน้านี้ผมเคยถามนโยบายดร.วีรพงษ์ ว่าท่านมีนโยบายอย่างไร ท่านบอกว่านโยบายคือต้องสร้างให้เสร็จ เร็วที่สุด และขออย่างเดียวเมื่อสร้างเสร็จให้เชื่อมทางรถไฟไปถึงลาว เราผ่านเรื่องนี้ไปให้กอร์ดอน วู เขาก็ยินดี แต่หลังจากนั้น 3 เดือน ผมพบท่านแต่ท่านบอกว่าโครงการนี้คงไปไม่ได้วันก่อนท่านยังสนับสนุน คำนวณแล้วเป็นไปไม่ได้ แล้วท่านไม่ได้ชี้แจงอะไร ผมไม่ทราบว่าท่านมีปัยหาอะไรที่ไม่สามารถบอกเราได้ เราไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีเหตุผลอันใด มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไร ทุกวันนี้ยังหาคำตอบไม่ได้

ในส่วนของอนุญาโตตุลาการ บทสรุปจะเป็นอย่างไรนั้น นายอนุศักดิ์กล่าวว่า ในเมื่อรัฐบาลเป็นฝ่ายยกเลิกสัญญา ตามกฎหมายระบุว่าเมื่อสัญญายกเลิกทั้ง 2 ฝ่ายกลับไปสู่สถานะเดิม ใครจ่ายอะไรไป อีกฝ่ายก็ต้องจ่ายคืน โฮปเวลล์จ่ายเงินสดๆไปแล้ว 2,850 ล้านบาทเป็นค่าสัมปทาน อีกส่วนหนึ่งโครงสร้างที่สร้าง ถ้าโฮปเวลล์จะเคลมทั้งหมดในแง่ทั้งหมดของการลงทุนไป มันก็ยากจะพิสูจน์ เราคิดว่าเราอยากให้คนกลางมาตีราคา โครงสร้างที่รัฐบาลใช้ได้ที่จะสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง อะไรที่ใช้ประโยชน์ได้ท่านก็ไม่ต้องสร้างใหม่ รัฐบาลจะได้ของราคาที่ถูกกว่า ไม่ต้องทุบของเก่าทิ้งสร้างใหม่
โฮปเวลล์จะไม่เอาเปรียบรัฐบาล

กว่าจะสืบพยาน เริ่มจะไต่สวนวันที่ 12 ธันวาคม 2550 ทำไมต้องพึ่งอนุญาโตตุลาการ กระบวนการยกเลิกจะต้องผ่านอนุญาโตตุลาการ ระยะเวลาก่อนเข้าอนุญาโตตุลาการ เราอิงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าหากคู่สัญญาต้องยกเลิกคู่สัญญา คู่สัญญาต้องกลับไปสู่สภาพเดิม ระบุเวลาไว้ 10 ปี

การเมืองจริงๆถ้ารัฐบาลมีอายุอยู่สั้นๆก็สั่งหน่วยงานราชการไม่ได้ อย่างรัฐบาลอานันท์ 2 เชิญ กอร์ดอน วูมา เชิญครม.มานั่งคุยกันในทำเนียบ ก็มีการซักถามกัน คุณอานันท์ก็นั่งฟังอยู่ด้วย สรุปว่าไม่มีปัญหา คุณอานันท์ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งในสมัยนั้น ว่ามีอะไรก็ถาม ท่านก็บอกว่าเคลียร์ แต่ต่อมารมว.วิทยาศาสตร์ท่านนั้นยังบอกว่าใครสนับสนุนโฮปเวลล์เป็นคนไม่รักชาติ
ปัญหาเป็นเช่นนี้ตลอด จะเห็นว่าถึงสัญญาเซ็นไปวันนี้แต่ยังไม่มีผล จะมีผลเมื่อการเจรจาบีโอไอสำเร็จ สัญญามีผลในช่วงนายกฯอานันท์ จึงมีการวางศิลาฤกษ์แล้ว แต่การรถไฟห้ามลงมือก่อสร้างเพราะแบบไม่เสร็จ มีการเจรจาตลอดแต่ไม่เป็นผล

นอกจากนี้อดีตที่ปรึกษาของนายกอร์ดอน วูระบุว่า มีกลุ่มธุรกิจกลุ่มหนึ่งที่เขาได้ร่วมประมูลด้วย ติดต่อไปที่โฮปเวลล์ ว่าถ้าจะให้โครงการนี้สำเร็จต้องผ่านเขา เราบอกกอร์ดอน วูว่าไม่จำเป็น ส่วนเรื่องการเมืองที่เข้ามาแทรกทำให้ที่ยื้อไปมา ก็ไม่ผิดจากปกติที่เราเข้าใจกัน ปัญหาอีกอย่างคือในช่วงที่โฮปเวลล์จะก่อสร้างกลุ่มดอนเมืองโทลเวย์ เขาจะฟ้องรัฐบาลถ้าปล่อยให้โครงการโฮปเวลล์ขึ้นมา ซึ่งไปสร้างอยู่ในแนวเส้นทางเดียวกัน

จะเห็นว่าหลายครั้งที่โฮปเวลล์เป็นฝ่ายยอมทุกอย่าง เช่นกรณีการแก้ไขปัยหาจุดตัดบนเส้นทางต่างๆ โฮปเวลล์จะเป็นฝ่ายที่ยอมขึ้นไปสูงสุด ถ้าโครงการนี้สำเร็จ โฮปเวลล์จะขึ้นสูงสุดบริเวณจุดตัด ทุกขบวนที่ต้องขึ้นสูง โฮปเวลล์ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น เพราะการเคลื่อนรถไฟไปที่สูงขนาดนั้นต้องใช้พลังงานและเสียน้ำมันมากกว่าปกติ เป็นการพิสูจน์ว่าเราถูกกลั่นแกล้งทั้งที่โฮปเวลล์เป็นมิตรกับทุกรัฐบาล ทุกพรรค แต่การเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยเราตั้งตัวไม่ทัน

กอร์ดอน วูจบวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปริ้นสตัน บริจาค 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
จนทำให้จีนน้อยใจ ส่วนโครงสร้างของโครงการโฮปเวลล์ที่เราเห็นอยู่นั้น เราเจ็บปวด เสียดายโอกาส เทียบง่ายๆสมัยนั้นถ้าสร้างเสร็จมูลค่าจะเป็นเท่าไร รัฐบาลไม่ได้ลงทุนแม้แต่บาทเดียว วันนี้ต้องเสียเงินเพิ่มกี่เท่า จะเสริมสร้างเศรษฐกิจได้ขนาดไหน วันนี้ต้องเสียเงินเพิ่มกี่เท่า สิ่งที่สูญเสียไปไม่มีทางได้กลับคืนมา อย่างน้อยก็สูญเสียนักลงทุนต่างชาติที่ดีไปคนหนึ่ง
เราเชื่อมั่นว่าน่าจะมีความเป็นธรรมเกิดขึ้น เขาไม่ได้ทำอะไรผิด ปัญหาที่เกิดขึ้นมันมีหลักฐานชัดเจน

คอลิน เวียร์ กล่าวว่าที่ผ่านมานายกอร์ดอน วู เป็นคนจริงจังและทำงานโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางธุรกิจแต่จะคิดถึงด้านวิศวกรรมมากกว่า นาทีที่รัฐบาลบอกเลิกสัญญา กอร์ดอน วูก็ผิดหวัง เราทราบตั้งแต่รัฐมนตรีสุวัจน์ เพราะสุวัจน์เป็นผู้นำเรื่องเข้าครม. มีมติยกเลิกสัญญาแต่กลับไม่เคยมีหนังสือแจ้งมาที่โฮปเวลล์ โฮปเวลล์ก็มีหนังสือถามไปหลายครั้ง

ทุกวันนี้หากมีเด็กรุ่นใหม่ชี้ไปที่โครงสร้าง ตอม่อโฮปเวลล์และถามว่านั่นอะไร เราก็จะเล่าให้เห็นว่า มีนักลงทุนที่มีคนตั้งใจมาลงทุนในเมืองไทยแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งๆที่กอร์ดอน วูนั้นเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาในตลอด โฮปเวลล์มีโครงการขนาดใหญ่ในหลายๆประเทศ เช่นที่จีน มีซูเปอร์ไฮเวย์จากเสินเจิ้นไปกวางเจา กำลังคุยกับรัฐบาลฮ่องกง มาเก๊า ทำถนนเชื่อมฮ่องกงไปมาเก๊า


ตัวสัญญาเป็นสัญญาที่กล้าบอกได้ว่ารัฐบาลได้ประโยชน์ที่สุด ยกตัวอย่างเงินค่าสัมปทานจ่ายตั้งแต่วันเซ็นสัญญา และต้องจ่ายทุกปีก่อนที่โครงการจะมีรายได้ เขาเสนอสร้างโลคัลโรด 4 เลนไป-กลับ
เงินลงทุน รัฐบาลไม่ต้องลงแม้แต่บาทเดียว ส่วนที่มีข่าวว่าเอาที่ไปพัฒนา ไม่ใช่จะพัฒนาได้เลยอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ สัญญาเขียนกันไว้เลยนะว่าต้องสร้างได้เท่าไร จึงจะพัฒนาที่ดินได้
กอร์ดอน วู หวังว่าจะมีรายได้เข้ามาหลังจากที่ลงทุนไปขนาดนี้ ถ้าเกิดขึ้นจริงกรุงเทพฯจะเป็นอย่างไร
คนในกรุงเทพฯจะสะดวกสบายมาก รถจะไม่ติดขนาดนี้ วัตถุประสงค์หลักคือขนคนจากนอกเมืองเข้ามา และคนจากในเมืองออกไปนอกเมือง ขณะนี้กรุงเทพฯกระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง
ค่าโดยสาร 15 บาท ไกลที่สุด 40 -50 กิโลเมตร อย่างมากก็ 50 บาท

ให้ออกนอกพื้นที่ภายใน 15 วัน มันเกินไป ไม่เคยมีอะไรที่เจรจาแล้วไม่ตกลง ในฐานะนักธุรกิจ มองว่าโฮปเวลล์ไปขัดผลประโยชน์ของคนเยอะ จึงมีคนจำนวนหนึ่งไม่ต้องการให้มันเกิด

ส่วนขั้นตอนอนุญาโตตุลาการ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ผลน่าจะออกมาดี เพราะเราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ใจ และไม่เคยทำอะไรเสียหายแก่รัฐบาล ไม่ต้องการให้ยืดเยื้อในเมื่อกอร์ดอน วูไม่ได้คิดจะกลับมา อยากให้มันจบลงแบบมีเหตุมีผลที่รัฐบาลรับได้และสาธารณชนเห็นว่ามันยุติธรรมตรงนั้นเป็นหลัก

ซูเปอร์ไฮเวย์จากเสินเจิ้นไปกวางเจา กำลังคุยกับรัฐบาลฮ่องกง มาเก๊า ทำถนนเชื่อมฮ่องกงไปมาเก๊าโฮปเวลล์ อินฟราสตักเจอร์ โรงแรม China โรงไฟฟ้า Shajiao B ถนนวงแหวนกวางโจว
ในฮ่องกงก็มี โรงแรมแพนด้า International Trademart และยังมีที่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

ล้อมกรอบ
ความเป็นมาโครงการโฮปเวลล์
จากปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครที่เป็นปัญหาใหญ่ ทำให้รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณมีแนวคิดที่จะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ยกระดับทางรถไฟสายหลักและก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟ เดือนตุลาคม 2532 กระทรวงคมนาคมและการถไฟได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอดำเนินโครงการระบบขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับ เนื่องจากเป็นโครงการที่ไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล จึงได้มีการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมมาลงทุน

เดือนพฤศจิกายน ปี 2533 บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนายกอร์ดอน วู นักธุรกิจชาวฮ่องกงเป็นผู้ลงทุนในรูปของการให้สัมปทาน ที่มีกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นคู่สัญญา ทั้งนี้ตามสัญญาระบุว่าเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนในรูปแบบการก่อสร้าง ประกอบการและส่งมอบโครงการ (BOT) ผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับสิทธิการพัฒนาที่ดินของรฟท.บนพื้นที่ขนาด 633.5 ไร่ หรือ 1 ล้านตารางกิโลเมตร โดยนี้รฟท.จะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรจากโครงการและได้รับเงินตอบแทนเป็นรายปี ซึ่งโฮปเวลล์จ่ายค่าตอบแทนครั้งแรกแก่รฟท.จำนวน 300 ล้านบาทและให้ค่าตอบแทนรายปี ปีที่ 1-30 รวม 53,810 ล้านบาท โดยที่รัฐบาลไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้บริษัทโฮปเวลล์ ยังได้สิทธิสร้างถนนยกระดับขนานกับทางรถไฟยกระดับ สามารถเรียกเก็บค่าผ่านทางได้ และยังได้รับสัมปทานเดินรถบนทางรถไฟยกระดับและสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ใต้ทางรถไฟ

ต่อมาปี 2534 เกิดรัฐประหารและเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จึงมีการทบทวนสัญญาสัมปทานใหม่ หลังจากนั้นรัฐบาลใหม่จึงสรุปว่าให้บริษัทดำเนินการต่อ โครงการได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ มีการยืนยันสัญญาสัมปทานและมีผลวันที่ 6 ธันวาคม 2534

ปี 2540 สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รมว.คมนาคม เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้บอกยกเลิกสัญญาสัมปทานกับบริษัทโฮปเวลล์ เพราะโครงการล่าช้ากว่าสัญญา หลังจากนั้นรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐตรี และนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คมนาคม ที่กำกับดูแลโครงการโฮปเวลล์ เสนอครม.เพื่อยืนยันมติการบอกเลิกสัญญาอีกครั้ง เพราะโครงการล่าช้ากว่ากำหนดถึง 2 ปี และการก่อสร้างคืบหน้าไม่ถึง 23% จนกลายเป็นตำนานตอม่อโฮปเวลล์ ที่เป็นสัญลักษณ์แสดงความล้มเหลวของนักลงทุนต่างชาติอย่างกอร์ดอน วู

แนวคิดสัมปทาน
บริษัทตกลงจะก่อสร้างระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับที่เรียกเก็บค่าผ่านทาง รวมทั้งล้อเลื่อน อุปกรณ์และระบบสนับสนุนที่เกี่ยวข้องเหนือทางรถไฟที่มีอยู่เดิม รวมทั้งทางลาดขึ้นลง ด่านเก็บค่าผ่านทาง สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นส่วนประกอบ โดยแบ่งออกเป็นระยะ ตลอดจนการพัฒนาทรัพย์สิน รวมทั้งส่วนควบเครื่องอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ใดๆ บนพื้นที่สัมปทาน ตามที่กำหนดไว้ในแผนแบบแนวคิด และภายในขอบเขตตามที่ระบุไว้ในข้อ2.1 ของสัญญา

หน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายรัฐ (รฟท.)
* ให้การสนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ เพื่อให้มาซึ่งความร่วมมือเพื่อให้โครงการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
* อนุมัติแนวเส้นทาง จัดหาแนวทางเขตโดยไม่มีภาระติดพัน
* จัดหาพื้นที่ขนาด 633.5 ไร่ หรือ 1 ล้านตารางกิโลเมตร เพื่อการพัฒนา
หน้าที่ของโฮปเวลล์
* ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมโครงการ
* จัดหาทุนจดทะเบียน ขั้นต่ำ 6,000 ล้านบาท
* วางแผนการเงินโครงการ
* ลงทุนก่อสร้างจากทุนของบริษัทและเงินทุนสนับสนุนโครงการ
* จ่ายค่าตอบแทนรายปีแก่รฟท. และแบ่งผลกำไรให้รฟท.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©