RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274059
ทั้งหมด:13585355
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/11/2022 7:54 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เปิด 4 โปรเจครางภูมิภาค ลุยตอกเสาเข็มปี 67 รับเมืองขยายตัว
กรุงเทพธุรกิจ 13 พ.ย. 2565 เวลา 6:09 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเตรียมทุ่มงบกว่า 5 หมื่นล้านบาท เดินหน้า 4 โครงการระบบขนส่งทางรางในภูมิภาครับการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ตั้งเป้าทยอยตอกเสาเข็มภายในปี 2567

ในปลายปีนี้พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีโครงข่ายระบบรางเชื่อมต่อการเดินทางเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นอีก 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้ารางเบา (โมโนเรล) สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ซึ่งจะส่งผลให้โครงข่ายระบบรางในหัวเมืองหลักอย่างกรุงเทพฯ สมบูรณ์แบบมากขึ้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเดินหน้าขยายโครงข่ายระบบรางไปยังหัวเมืองภูมิภาคต่างๆ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ผลักดันการขยายตัวของเมือง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว โดยตามเป้าหมายขณะนี้มี 4 โครงการลงทุนที่อยู่ระหว่างศึกษา ในวงเงินลงทุนรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง

วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท

ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร 21 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นจะมีการนำเสนอโครงการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 ภายในเดือน พ.ค.- เม.ย.2567 คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน พ.ค.2567-มิ.ย.2568 ก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถ ในเดือน ก.ค.2568-พ.ย.2570 และเปิดให้บริการภายในเดือน ธ.ค.2570 เพื่อให้ทันการจัดงาน Specialised Expo 2028 ที่จังหวัดภูเก็ตอยู่ระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ


โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

วงเงินลงทุน 2,300 ล้านบาท

ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร 21 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าโครงการจะเริ่มงานก่อสร้างในปี 2568 และเปิดให้บริการได้ในปี 2571 โดยจากการวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมและจราจรด้านการลงทุนและผลตอบแทนและด้านสิ่งแวดล้อม และเปิดรับฟังข้อคิดเห็นจากชาวโคราช พบว่าระบบรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ เป็นระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมมากที่สุด

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง)

ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี

วงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท

ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร 16 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าการจัดทำรายงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (PPP) จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2565 หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ ก่อนเสนอโครงการไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือน ม.ค.2567 และเริ่มคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน ส.ค.2567 โดยมีกำหนดเริ่มงานก่อสร้างในเดือน ก.ย.2568 แล้วเสร็จเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.2571

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง)

ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก – ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก

วงเงินลงทุน 3,440 ล้านบาท

ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร 15 สถานี

สถานะปัจจุบัน : อยู่ระหว่างการศึกษา/ออกแบบระบบที่เหมาะสม

แผนดำเนินงาน เบื้องต้นคาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนได้ในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยวต่อวันในปี 2574
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/11/2022 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

เสียงสะท้อนรถไฟฟ้าเชียงใหม่ สายสีแดง
Thai PBS News
Nov 15, 2022

ระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ชาวเชียงใหม่ เรียกร้องมานานหลายปี / พับไปแล้วก็หลายแผน จนท้ายที่สุด มีการประเมินว่า ที่เหมาะสุดน่าจะเป็น “ระบบรถไฟล้อยาง ที่วิ่งในแนวระดับพื้นดินตลอดเส้นทาง/(กว้าง) แต่ถึงตอนนี้ ก็ยังมีความเห็นที่หลากหลาย ทั้งเรื่องความคุ้มค่าและความปลอดภัย แม้โครงการนี้ อาจจะช่วยบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรได้ ..อย่างน้อยๆก็ถนนเส้นนี้


https://www.youtube.com/watch?v=tvxXs3bKNiY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/11/2022 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งหาข้อสรุปรถไฟฟ้าเชียงใหม่
ThaiPBS North
Nov 15, 2022

15-11-65
...ก่อนที่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง จะได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการ ลองมาชมลักษณะโดยรวมของรถไฟฟ้าเส้นทางแรกของเชียงใหม่ ว่ามีรายละเอียดอย่างไร

ภาพ/ข่าว...ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ


https://www.youtube.com/watch?v=XPJw-gv_yXo


รฟม.ทบทวนรถไฟฟ้าในภูมิภาค 4 จังหวัด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, November 17, 2022 05:03

รื้อแบบ "ภูเก็ต" โละ "แทรม" ล้อเหล็กเซฟค่าลงทุน ชูโมเดล ART หรือ E-BRT ชง "คมนาคม" ชี้ชะตา

แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Trams) ใน 4 จังหวัด ได้แก่ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก ซึ่งเป็นหัวเมืองหลักที่มีจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยว หนาแน่น ทำให้มีปัญหาจราจรติดขัด รถไฟฟ้าจึงเป็นขนส่งสาธารณะแห่งความหวังที่จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น เหมือนในกรุงเทพฯ แต่นับจากปี 2563 ที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษา "รถไฟฟ้ารางเบาในภูมิภาค" ต้องหยุดชะงัก พร้อมกับด้านนโยบายมีแนวคิดปรับรูปแบบใหม่ เพื่อลดค่าลงทุนและหวังให้ค่าโดยสารต่ำที่สุด...

จุดเปลี่ยน! รื้อแบบแปลงร่าง "แทรม" ภูเก็ตจาก "ล้อเหล็ก" เป็น "ล้อยาง"

ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ภาครัฐและเอกชนพยายามผลักดันโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือ Tramway) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรมากว่า 10 ปีแล้ว "แทรมล้อเหล็ก" เป็นระบบขนส่งมวลชนที่คนภูเก็ตให้การสนับสนุน และหวังช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งเดิมสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไว้ จากนั้นได้มอบหมายให้ รฟม.รับผิดชอบโครงการโดยดำเนินการ ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี โดยจะดำเนินการระยะที่ 1 ช่วง ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. เริ่มก่อสร้างปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2567

แต่!!!แผนต้องมาสะดุด และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโครงการเมื่อ "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษาปรับปรุงรูปแบบโครงการใหม่เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างลง ซึ่งกระทรวงคมนาคม รายงานว่า ยังมีเทคโนโลยีอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแทรมล้อเหล็ก เช่น ระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) หรือ ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT)โดยใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เป็นต้น

"ท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนในพื้นที่ ที่ยังต้องการ แทรมป์ล้อเหล็ก และเกรงว่าโครงการจะยิ่งล่าช้าออกไป"
รฟม.ควักงบ 55 ล้านบาท จ้างรีวิว-ปรับแบบ ชี้ชะตา "ระบบขนส่งภูเก็ต" อีกรอบ

"ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า รฟม.ตั้งงบประมาณ 55.8 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย

โดยเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2565 รฟม.ได้ลงนามสัญญาจ้าง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด เป็นที่ปรึกษาวงเงิน 55 ล้านบาท เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study Review) โดยเปรียบเทียบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่ เหมาะสม คาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร เทคนิค ราคา สิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและการเงิน แผนการเดินรถ ฯลฯใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน

"ศักดิ์สยาม" ให้โจทย์เพิ่ม ศึกษารูปแบบ EV-BRT เปรียบเทียบต้นทุน

ล่าสุด "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เผยถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ว่า รฟม.อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนโครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและปรับลดวงเงินการลงทุนให้ได้มากที่สุด และทำให้โครงการเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากการศึกษาเดิมจะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก หรือ แทรม ต่อมาปรับเป็นระบบแทรมขับเคลื่อนด้วยล้อยาง (ART) ปัจจุบันตนได้มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษารูปแบบที่ 3 เพิ่มเติม คือระบบรถเมล์ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ EV-BRT เปรียบเทียบด้วย ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่

ทั้งนี้หากเป็นรถเมล์ไฟฟ้า รูปแบบการให้บริการจะเป็นการจัดช่องทางเดินรถเฉพาะ บนถนนของกรมทางหลวง (ทล.) โดยมีรั้วหรือแบริเออร์กั้นช่องจราจรจากรถยนต์อื่นๆ รวมถึงมีระบบเครื่องกั้นอัตโนมัติในการบริหารความปลอดภัย โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคม และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ร่วมพิจารณาความเป็นไปได้ของรูปแบบดังกล่าว

การลงทุน EV-BRT ไม่สูงมาก ดังนั้นจะส่งผลไปถึงการกำหนดอัตราค่าโดยสารจะไม่แพงไปด้วย อีกทั้งยังสามารถ ผลักดันเพื่อเริ่มให้บริการเฟสแรกได้เร็ว โดยเห็นว่าการลงทุน น่าจะเป็นรูปแบบเดียวกับ รถโดยสารใน กทม. ที่ให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถกับกรมการขนส่งทางบก โดยเป็นรถโดยสารไฟฟ้า (EV Bus) โดยกรมการขนส่งทางบก ให้สัมปทานและกำกับดูแล ส่วนเอกชนจะลงทุนทั้งการจัดหารถการบริหารจัดการ รวมไปถึงควบคุมระบบเครื่องกั้นและสัญญาณจราจร

ขีดเส้น รฟม.สรุป ในพ.ย. เตรียมลง "ภูเก็ต"

ศักดิ์สยามระบุว่า "ขณะนี้รูปแบบยังไม่สรุป ดังนั้นยังเป็นไปได้ทั้งรถ EV-BRT หรือ ระบบ ART ซึ่ง ART ก็เป็นไปได้ทั้งแบบ วิ่งบนถนนโดยแบ่งช่องจราจร และมีการควบคุมจราจร หรือ เป็น ART เต็มรูปแบบ คือมีทางยกระดับหรืออุโมงค์ บริเวณจุดตัด/ทางแยก ตรงนี้ต้องมาดูค่าลงทุนและค่าโดยสารที่เหมาะสมในแต่ละรูปแบบ ซึ่งผมให้เวลาสรุปเรื่องนี้ภายในสิ้นเดือน พ.ย. นี้ เพราะผมต้องการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อผลักดันเป็นโครงการนำร่อง และจะทำให้ระบบขนส่งมวลชนในอีกหลายจังหวัดใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาได้"

แต่หากจะมีการพัฒนาเป็นระบบ ART เต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องก่อสร้างทางยกระดับหรืออุโมงค์ ในช่วงที่เส้นทางตัดกับถนน เห็นว่าควรให้การพัฒนาโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่- เกาะแก้ว-กระทู้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางเพราะในช่วงที่มีการก่อสร้างจะมีปัญหาจราจรอย่างแน่นอน

"ผลศึกษาระบบ ART แม้ค่าลงทุนจะลดลงจากแทรมล้อเหล็ก แต่ก็ยังมีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งจะเก็บค่าโดยสาร 50 บาท เปรียบเทียบกับ EV Bus ในกทม. ค่าโดยสารเริ่มต้น 10 บาท และราคาเหมา 40 บาท นั่งได้ไม่จำกัดตลอดวัน ผมเห็นว่า ที่ภูเก็ตหากสามารถปรับเป็น EV Bus ได้ก็น่าจะเหมาะสม"
ตามผลศึกษา รฟม.ก่อนหน้านี้ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลองระยะทาง 42 กม. เปรียบเทียบกรอบวงเงินลงทุนของ 3 รูปแบบได้แก่

1. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อเหล็ก วงเงินรวม 35,201 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 24,774 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น2,921 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่า ที่ปรึกษา 1,065 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,428 ล้านบาท คาดจำนวนผู้โดยสารประมาณ 39,000 คนต่อวัน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุน EIRR ต่ำมาก

2. รถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ล้อยาง วงเงินรวม 33,600 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,499 ล้านบาท ค่างานโยธา 22,339 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น 3,955 ล้านบาท (3 คัน/ขบวน มี 22 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 990 ล้านบาทค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,363 ล้านบาท

3. รถโดยสารประจำทางอัจฉริยะ (ART) วงเงินรวม 17,754 ล้านบาทประกอบด้วย ค่าเวนคืน 1,447 ล้านบาท ค่างานโยธา 10,861 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 3,000 ล้านบาท ค่าจัดหาขบวนรถเริ่มต้น1,236 ล้านบาท (มี 44 ขบวน) ค่าที่ปรึกษา 518 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 692 ล้านบาท

เชียงใหม่ สายสีแดง ศึกษาใหม่ พบรถไฟฟ้าล้อยางวิ่งระดับดินคุ้มค่า

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. และ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.15 กม. อยู่ระหว่างที่ปรึกษาศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานและทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และอยู่ในขั้นตอนการสรุปผลการศึกษา รายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมภายปลายปี 2565

สำหรับรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง มีแนวเส้นทางรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดินนั้น มีมูลค่าการลงทุนสูง ส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษาประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยาง

การศึกษา 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย 2. ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง และ 3. ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

เปรียบเทียบด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองเชียงใหม่ ศักยภาพในการรองรับปริมาณ ผู้โดยสาร ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ)

พบว่ารูปแบบที่ 3 ระบบรถไฟฟ้าล้อยางที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากลดต้นทุนโครงการ ลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน และผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน

โคราช สายสีเขียวฯ เหมาะกับรูปแบบ E-BRT หรือ รถโดยสารไฟฟ้า

สำหรับจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียวฯ การศึกษาเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบ ได้แก่ 1. Steel Wheel Tram รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถราง โดยใช้ระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) 2. Tire Tram รถรางชนิดใช้ล้อยาง ที่มีระบบติดตั้งอุปกรณ์รางประคอง (Guided Light Transit) หรือระบบรางเสมือน (Track Less) และ 3. E-BRT (Electric Bus Rapid Transit) รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ไม่มีราง

โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 ระบบ ในมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี, ความ เหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองนครราชสีมา, ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร, ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน, ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการ, ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านผล กระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้างและในระยะดำเนินการ พบว่าระบบ E-BRT เหมาะสมที่สุด รองลงมาคือระบบ Tire Tram และระบบ Steel Wheel Tram ตามลำดับ

ขณะที่อัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 10 บาท และคิดอัตราตามจำนวนสถานีแบบขั้นบันได สถานที่ 1-8 (14 บาท) สถานีที่ 9-16 (18 บาท ), มากกว่า 18 สถานี (22 บาท)

"พิษณุโลก" ครม.เห็นชอบเมื่อ 2 ปีก่อน แต่ยังนิ่งสนิท

ส่วนระบบขนส่งสาธารณะ จังหวัดพิษณุโลก นั้นหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อให้ รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ซึ่งตามผลศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่สนข.ทำไว้ ระยะที่ 1 สายสีแดง (ม.พิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก) ระยะทาง 12.6 กม.จำนวน 15 สถานีโดยเป็นระบบขนส่งรูปแบบ "รถรางล้อยาง" หรือ Auto Tram

ลงทุนในรูปแบบ PPP-Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าเวนคืน ค่าก่อสร้างงานโยธา และระบบรถไฟฟ้า ส่วนเอกชนลงทุนจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมูลค่าการลงทุนโครงการประมาณ3,440 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เท่ากับ 13.01%

แผนเดิม จะประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุนในเดือน ก.ย. 2565-ต.ค. 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี2569 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารตามแผนระยะที่ 1 มีผู้โดยสารประมาณ 5,700 คน-เที่ยววัน ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มเป็น 13,700 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2574

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหลักในภูมิภาค เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาจราจร สร้างงาน สร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว แต่เพราะรถไฟฟ้าลงทุนสูง มีผลตอบแทนต่ำ เอกชนอาจไม่สนใจลงทุน ท้ายสุดรัฐบาลต้องเข้าไปอุดหนุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง รวมไปถึงต้องมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มทั้งผลตอบแทนการลงทุนและปริมาณ ผู้โดยสารได้อีกทาง...แต่โจทย์ใหญ่ของ รฟม.ตอนนี้ คือต้องหาโมเดลระบบเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่าและเหมาะสม ตามนโยบาย "รมว.คมนาคม" ให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นคงต้องเสียเวลา...รื้อ รีวิว ทบทวนการศึกษากันอีก!!!.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 17 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/04/2023 7:19 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.รื้อแผนสร้าง แทรม3สาย 6.8หมื่นล้าน ลดต้นทุน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, April 12, 2023 05:38

"คมนาคม" กางไทม์ไลน์ศึกษาแทรม 3 สาย 6.8 หมื่นล้านบาท หลังคมนาคมสั่งทบทวนรูปแบบการเดินรถรอบใหม่ หวังลดต้นทุนค่าก่อสร้าง เล็งดึงเอกชนร่วมทุน PPP คาดเปิดให้บริการราวปี 70-71

ในปี 2563 ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) เร่งผลักดันโครงการระบบขนส่งมวลชน 3 จังหวัดใหญ่ แต่พบว่าแต่ละโครงการยังติดปัญหา อุปสรรคในหลายเรื่อง ทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง, รูปแบบรถที่ให้บริการไม่สอดรับกับพื้นที่ที่จะให้บริการ รวมทั้งการเวนคืนที่ดินที่อาจจะกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ด้วย

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กิโล เมตร (กม.) วงเงินลงทุน 25,736 ล้านบาท ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบของโครงการฯเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้คุ้มค่ากับการลงทุน คาดว่าจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถใช้ระยะเวลาราว 1 ปีหรือภายในเดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567

หากได้ข้อสรุปแล้วตามแผนจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567-สิงหาคม 2568 ระหว่างนี้จะสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ด้วย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2568 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2571

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมายให้ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ จากเดิมพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการฯ มีมูลค่าการลงทุนสูง ทำให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M)

สำหรับโครงการแทรมเชียงใหม่มีโครงสร้างทางวิ่งผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน มีระยะทางประมาณ 15.8 กิโลเมตร (กม.) โดยมีทางวิ่งระดับดินประมาณ 9.3 กิโลเมตร (กม.) ทางวิ่งใต้ดินประมาณ 6.5 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย สถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีบนดิน 9 สถานี สถานีใต้ดิน 7 สถานี โดยมีแนวเส้นทาง วิ่งตามแนวเหนือใต้ เริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่ - หางดง บนทางหลวงหมายเลข 108 ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 35,344 ล้านบาท ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ปรับรูปแบบเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง (Automate Rapid Transit : ART) เพื่อช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง

ทั้งนี้ในปัจจุบัน รฟม.ได้ประกาศราคากลางงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมปรับปรุงแบบ โครงการฯ พร้อมบันทึกข้อความขอความเห็นชอบขอจ้างที่ปรึกษาฯ วงเงิน 55 ล้านบาท โดยวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อสอดคล้องตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง ปี 2560 ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ระบุในหนังสือแจ้งวันเริ่มงาน (NTP)

หลังจากดำเนินการศึกษา รูปแบบโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตฯแล้วเสร็จ จะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนเมษายน 2567 โดยจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนตุลาคม 2567-มิถุนายน 2568 ควบคู่กับการสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนพฤษภาคม 2568 และดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกรกฎาคม 2568 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2570

ทั้งนี้โครงการแทรมภูเก็ต แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง มีระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร (กม.) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 21 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี และ
ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่ มีระยะทางประมาณ 16.5 กิโลเมตร (กม.) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 3 สถานี ซึ่งรฟม.จะเริ่มดำเนินการโครงการ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 เป็นลำดับแรก

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 7,218 ล้านบาท ขณะนี้รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้คุ้มค่ากับการลงทุน โดยจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถใช้ระยะเวลาราว 1 ปีหรือภายในเดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567

หลังจากนั้นตามแผนของโครงการฯจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567-สิงหาคม 2568 ระหว่างนี้จะสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ด้วย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2568 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2571

สำหรับโครงการแทรมนครราชสีมา มีโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 21 สถานี โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่บริเวณตลาดเซฟวัน เข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัยและแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีมุ่งหน้าไปตามถนนสุรนารายณ์ ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาทั้ง 3 โครงการที่ผ่านมา พบว่า เทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบที่เป็นไปได้มากที่สุด ดังนี้
1. รถไฟฟ้ารางเบา (Steel Wheel Tram),
2.รถรางชนิดใช้ล้อยาง (Tire Tram) และ
3. รถโดยสารไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน (Electric Bus Rapid Transit :E-BRT)

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 เม.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2023 6:27 am    Post subject: Reply with quote

“เศรษฐา” รับข้อเสนอสร้างสนามบินล้านนา เร่งแก้มลพิษ PM 2.5-เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 กันยายน 2566 - 19:37 น.

“เศรษฐา” ถกภาคธุรกิจจังหวัดเชียงใหม่ คาดเปิดบริการสนามบินเชียงใหม่ 24 ชั่วโมงมีความเป็นไปได้สูง พร้อมรับข้อเสนอโครงการสร้างสนามบินล้านนา แห่งที่ 2 พร้อมเดินหน้าแก้ปัญหา PM 2.5 เร่งรัดกฎหมายอากาศสะอาด จี้กระทรวงคมนาคม ติดตามโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) งบประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท

วันที่ 16 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดเชียงใหม่ ว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เดินทางมายังห้องประชุม Auditorium อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เพื่อพบปะร่วมพูดคุยกับผู้ประกอบการนักธุรกิจจังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ระบบขนส่งคมนาคม สังคม และสิ่งแวดล้อม (PM 2.5) เพื่อรับฟังปัญหาภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งได้พบปะผู้ประกอบการนักธุรกิจรุ่นใหม่ (Start Up) ณ ห้องประชุม THE BRICK X อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP)

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ประเด็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ การขยายเวลาการเปิดบริการสนามบินนานาชาติเชียงใหม่เป็น 24 ชั่วโมง อยู่ระหว่างการประสานงานกับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย รวมถึงการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงสนามบิน

ซึ่งมีแนวโน้มว่ามีความเป็นไปได้สูงในการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการสร้างสนามบินล้านนา (Lanna International Airport) แห่งที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต ก็อยู่ในแผนงานที่สอดคล้องกันในการยกระดับเป็นสนามบินของภาคเหนือ เช่นเดียวกับจังหวัดภูเก็ตที่จะยกระดับเป็นสนามบินในระดับภาคใต้

ขณะที่ประเด็นเร่งด่วนอีกเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการแก้ไขมลพิษทางอากาศ PM 2.5 จะได้เร่งรัดกระบวนการด้านกฎหมายอากาศสะอาด ที่ได้ทำร่างออกมาแล้ว ซึ่งจะได้พิจารณาต่อไป พร้อมกับการสร้างกลไกการบังคับใช้และการประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ไขและลดผลกระทบต่อประชาชนของภาคเหนือ

นอกจากนั้น เรื่องตลาดคาร์บอนเครดิต รัฐบาลก็จะได้สนับสนุนให้เกิดการเพิ่มจำนวนผู้ประเมินเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการสร้างรายได้ทดแทนการเผาขณะที่ประเด็นการดำเนินการด้านโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) งบประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท จะได้ติดตามผ่านทางกระทรวงคมนาคมให้

รวมถึงการลงทุนด้านดิจิตอลใน 25 อำเภอ, การส่งเสริมยกระดับการเป็น Wellness City, การสนับสนุนด้าน Soft Power ของเชียงใหม่ ด้านอาหาร เทศกาลหลัก และเทศกาลรองใน 12 เดือน เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่

“เชียงใหม่และภาคเหนือมีของดีและศักยภาพหลากหลาย จำเป็นจะต้องเร่งส่งเสริมโปรโมทให้มากขึ้น ส่วนเรื่องข้อเสนอด้านกฎหมาย เช่นด้านวีซ่า หรือกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Expat และ digital nomad ก็จะใช้กลไกของภาครัฐเข้ามาสนับสนุนไม่ว่าจะเป็น BOI และ ททท. เป็นต้น เช่นเดียวกับเรื่องการแก้ไขผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินรัฐบาลอยู่ระหว่างการดูภาพรวมทั้งประเทศเช่นกัน”

นายเศรษฐา กล่าวอีกว่า ด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ในอนาคตจะต้องสร้างการยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้เติบโตด้วยกลไก Matching Fund ไม่ให้เกิดการครอบงำของทุนใหญ่ และจะต้องมีการส่งเสริมอย่างเป็นระบบ จะทำให้เศรษฐกิจและธุรกิจในท้องถิ่นเติบโตยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2023 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'รฟม.'ชะลอลงทุน'รถไฟฟ้าภูมิภาค'ห่วงทำหลายโปรเจกต์กระทบจราจร
Source - กรุงเทพธุรกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 04:11 น.

โครงการภูเก็ต ชะลอ 2 ปี
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566


ลิงก์มาแล้วครับ
รฟม.ชะลอลงทุน 'รถไฟฟ้าภูมิภาค' ห่วงทำหลายโปรเจ็คกระทบจราจร
เศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06:18 น.

รฟม.ชะลอ 4 โครงการรถไฟฟ้าภูมิภาค ปรับแผนรองานก่อสร้างทางถนนให้แล้วเสร็จ ชี้หากเร่งก่อสร้างจะกระทบการจราจร คาดโครงการนำร่อง “ภูเก็ต” ดีเลย์ออกไปอีก 2 ปี
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1094442
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/01/2024 11:32 am    Post subject: Reply with quote

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจราชการการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
รฟม. 08 มกราคม 2567

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจราชการการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคม

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายณพศิษฎ์ จักรพิทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายสาโรจน์ ต สุวรรณ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายมานพ พุทธวงค์ ขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ในวันที่ 7 มกราคม 2567 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาลในการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน ทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของภูมิภาค รวมทั้งมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทั้งทางบก ทางราง และทางอากาศ ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณจราจรเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัยนอกวงแหวนรอบเมือง ดังนั้น การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมโยงและรองรับปริมาณการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เป็นแนวทางเช่นเดียวกับโครงข่ายถนน ประกอบด้วย ระบบขนส่งสาธารณะหลากหลายประเภท ให้บริการสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นการพัฒนาที่ไม่กระทบต่อวิถีชุมชน และยังคงอัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแผนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่สำคัญ ดังนี้

1. การพัฒนาทางถนน
- ถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 1 (ทางหลวงหมายเลข 11 และ ทางหลวงหมายเลข 1141) ระยะทางรวม 18.238 กิโลเมตร
- ถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3 (ทางหลวงหมายเลข 121 ระยะทางรวม 52.957 กิโลเมตร
- แผนพัฒนาทางแยกระดับถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3
- การพัฒนาถนนเลี่ยงเมืองแม่ริม อำเภอแม่ริม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร ปัจจุบันสำรวจออกแบบแล้วเสร็จ
- การพัฒนาถนนเลี่ยงเมืองต้นเปา (ชม.3029 - ทล.1006) ระยะทาง 16.50 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างของบประมาณจ่ายค่าเวนคืน

2. แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ (CM-PMAP) โดยมีระบบหลัก (Trunk Route, LRT) ประกอบด้วย สายสีแดง ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี สายสีน้ำเงินระยะทาง 10.47 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี สายสีเขียว ระยะทาง 11.92 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี และระบบ Feeder (รถประจำทาง) ประกอบด้วย ระบบรอง จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 89 กิโลเมตร ระบบเสริม จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 85 กิโลเมตร

3. โครงการรถไฟฟ้า (Light Rail Transit : LRT) สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการดำเนินโครงการที่เหมาะสม และพิจารณาผลการศึกษาเปรียบเทียบร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม

4. โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย – ญี่ปุ่น ประกอบด้วย ระยะที่1 กรุงเทพมหานคร – พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร ปัจจุบันฝ่ายญี่ปุ่นศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินของโครงการแล้วเสร็จ และผลการศึกษา R-Map บรรจุเส้นทางอยู่ในแผนงานระยะกลาง (พ.ศ.2571 - 2575) สำหรับระยะที่ 2 พิษณุโลก - เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กิโลเมตร ปัจจุบันผลการศึกษา R-Map บรรจุเส้นทางอยู่ในแผนงานระยะยาว (พ.ศ.2576-2585)

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมทางหลวงพิจารณาขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในภาพรวม สำหรับดำเนินโครงการเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น หรือจัดลำดับความสำคัญแผนงาน และจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในระยะเร่งด่วน (ระยะ 3 ปี) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเชื่อมโยงโครงข่ายทางถนนให้ต่อเนื่องเพื่อความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมทั้งให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด หาแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่สโมสรวิทยุการบิน เชียงใหม่ เช่น การใช้เป็นพื้นที่เช็กอิน โหลดสัมภาระ หรือพื้นที่พักคอยสำหรับผู้โดยสาร โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านการบินขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ International Civil Aviation Organization (ICAO) รวมทั้งประสานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการร่วมกัน นอกจากนี้ มอบให้กรมการขนส่งทางบก กำหนดเส้นทางรถโดยสารสาธารณะ (รถสี่ล้อแดง) สำหรับบริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ให้เหมาะสมตอบโจทย์การเดินทางผู้โดยสารที่ใช้บริการ สำหรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อลดปัญหามลพิษและฝุ่น PM 2.5 มอบให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณากำหนดมาตรฐานการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ของรถโดยสารสาธารณะ รวมทั้งหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมและปลอดภัย

ทั้งนี้ ในส่วนของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ สร้างการรับรู้กับประชาชนในพื้นที่ิให้มีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการดำ้นินโครงการ อันนำมาซึ่งการสร้างงาน สร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2024 9:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจราชการการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
รฟม. วันจันทร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2567


"สุรพงษ์"เร่งพัฒนาขนส่งมวลชน"เชียงใหม่"แก้รถติด ขยายถนนวงแหวน -ผุดรถไฟฟ้ารางเบา-ใช้พื้นที่บวท. เช็กอิน"รับเดินทางเพิ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:42 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 07:42 น.

“สุรพงษ์” ลงพื้นที่เชียงใหม่! สแกนงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เร่งแก้รถติด
นวัตกรรมขนส่ง
7 มกราคม 2567 เวลา 20:17 น.

“สุรพงษ์” ลงพื้นที่สแกนงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชนใน จ.เชียงใหม่ “สร้างถนน-จัดรถประจำทาง-รถไฟฟ้า-รถไฟไฮสปีด” สั่ง ทล. ของบฯแก้รถติดภายใน 3 ปี พร้อมมอบ ขบ. กำหนดมาตรฐานจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ของรถโดยสารสาธารณะเป็นอีวี


รมช.คมนาคม เร่งเครื่องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจ.เชียงใหม่ ทล.ของบเวนคืนถนนวงแหวน,ถนนเลี่ยงเมือง แก้รถติด วางโครงข่ายรถเมล์ รถไฟฟ้ารางเบา รองรับเดินทางเพิ่มทั้งประชาชน-นักท่องเที่ยว สั่งบวท.ใช้พื้นที่สโมสรฯเช็กอิน- โหลดสัมภาระ

วันที่ 7 ม.ค.2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ตรวจความคืบหน้าการ พัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคม โดยมีผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานในจังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วม

ad

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาลในการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน ทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของภูมิภาค รวมทั้งมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทั้งทางบก ทางราง และทางอากาศ ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณจราจรเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัยนอกวงแหวนรอบเมือง ดังนั้น การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมโยงและรองรับปริมาณการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว



โดยพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เป็นแนวทางเช่นเดียวกับโครงข่ายถนน ประกอบด้วย ระบบขนส่งสาธารณะหลากหลายประเภท ให้บริการสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นการพัฒนาที่ไม่กระทบต่อวิถีชุมชน และยังคงอัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแผนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่สำคัญ ดังนี้

1. การพัฒนาทางถนน ได้แก่ ถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 1 (ทางหลวงหมายเลข 11 และ ทางหลวงหมายเลข 1141) ระยะทางรวม 18.238 กิโลเมตร , ถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3 (ทางหลวงหมายเลข 121 ระยะทางรวม 52.957 กิโลเมตร
, แผนพัฒนาทางแยกระดับถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3,การพัฒนาถนนเลี่ยงเมืองแม่ริม อำเภอแม่ริม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร ปัจจุบันสำรวจออกแบบแล้วเสร็จ,การพัฒนาถนนเลี่ยงเมืองต้นเปา (ชม.3029 - ทล.1006) ระยะทาง 16.50 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างของบประมาณจ่ายค่าเวนคืน



2. แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ (CM-PMAP) โดยมีระบบหลัก (Trunk Route, LRT) ประกอบด้วย สายสีแดง ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี สายสีน้ำเงินระยะทาง 10.47 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี สายสีเขียว ระยะทาง 11.92 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี และระบบ Feeder (รถประจำทาง) ประกอบด้วย ระบบรอง จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 89 กิโลเมตร ระบบเสริม จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 85 กิโลเมตร

3. โครงการรถไฟฟ้า (Light Rail Transit : LRT) สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบการดำเนินโครงการที่เหมาะสม และพิจารณาผลการศึกษาเปรียบเทียบร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม

4. โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย – ญี่ปุ่น ประกอบด้วย ระยะที่1 กรุงเทพมหานคร – พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร ปัจจุบันฝ่ายญี่ปุ่นศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินของโครงการแล้วเสร็จ และผลการศึกษา R-Map บรรจุเส้นทางอยู่ในแผนงานระยะกลาง (พ.ศ.2571 - 2575) สำหรับระยะที่ 2 พิษณุโลก - เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กิโลเมตร ปัจจุบันผลการศึกษา R-Map บรรจุเส้นทางอยู่ในแผนงานระยะยาว (พ.ศ.2576-2585)



ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ได้สั่งการให้กรมทางหลวงพิจารณาขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในภาพรวม สำหรับดำเนินโครงการเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น หรือจัดลำดับความสำคัญแผนงาน และจัดทำแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในระยะเร่งด่วน (ระยะ 3 ปี) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเชื่อมโยงโครงข่ายทางถนนให้ต่อเนื่องเพื่อความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) หาแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่สโมสรวิทยุการบิน เชียงใหม่ เช่น การใช้เป็นพื้นที่เช็กอิน โหลดสัมภาระ หรือพื้นที่พักคอยสำหรับผู้โดยสาร โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านการบินขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ International Civil Aviation Organization (ICAO) รวมทั้งประสานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการร่วมกัน



นอกจากนี้ มอบให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กำหนดเส้นทางรถโดยสารสาธารณะ (รถสี่ล้อแดง) สำหรับบริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ให้เหมาะสมตอบโจทย์การเดินทางผู้โดยสารที่ใช้บริการ สำหรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อลดปัญหามลพิษและฝุ่น PM 2.5 มอบให้กรมการขนส่งทางบกพิจารณากำหนดมาตรฐานการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ของรถโดยสารสาธารณะ รวมทั้งหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมและปลอดภัย

โดยให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ สร้างการรับรู้กับประชาชนในพื้นที่ให้มีความเข้าใจถึงประโยชน์ในโครงการของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่จะมีการสร้างงาน สร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2024 7:28 pm    Post subject: Reply with quote



นายกฯ หนุนสร้างรถไฟฟ้าเชียงใหม่ | เนชั่นกรองข่าว | NationTV22
https://www.youtube.com/watch?v=xWkoH8-wwtE
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/01/2024 6:37 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมสั่งรื้ออีก'รถไฟฟ้าเชียงใหม่'
Source - เดลินิวส์
Thursday, January 25, 2024 05:13

เขตเมืองชั้นในปรับเป็นใต้ดิน ศึกษาสายสีน้ำเงิน-สีเขียวด้วย

ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์ รายงานว่า ในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชนปี 2567 และปี 2568" ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เป็นประธานเปิดงาน ที่ประชุมมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโครงการ รายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา พร้อมกับทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ หรือรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit : LRT) สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่-สนามบินล้านนา ระยะทาง 27 กิโลเมตร (กม.) และสายสีเขียว ช่วงรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่ ระยะทาง 12 กม.

โดยให้ศึกษาฯ ทั้ง 2 เส้นทางควบคู่ไปกับการศึกษาฯ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. ที่ รฟม. ศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบโครงการที่เหมาะสม และรอผลการพิจารณารายงานอีไอเอ เพราะหากรอการก่อสร้างสายสีแดงแล้วเสร็จ อาจจะทำให้เกิดความล่าช้า และไม่ต่อเนื่อง เพราะแต่ละโครงการ นอกจากใช้เวลาศึกษาฯ แล้ว ยังต้องใช้เวลารอการพิจารณารายงานอีไอเอด้วย เบื้องต้น รฟม. กำหนดกรอบเวลาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย ปี 67 จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ (CM-PMAP) เสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.), ปี 68 ศึกษา/ออกแบบ/จัดทำอีไอเอ ศึกษาการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รวมทั้งเสนอ ครม.อนุมัติโครงการ และคัดเลือกเอกชน (PPP) จากนั้นในปี 69 จะเริ่มก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการในปี 2571

ขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ 3 เส้นทาง จะเริ่มดำเนินการในเส้นทางใดก่อน ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาอีไอเอ เพราะปัจจุบันสายสีแดงที่แม้จะเริ่มศึกษาฯ ก่อนแล้ว แต่อีไอเอยังไม่ได้รับการอนุมัติ อีกทั้งต้องมาทบทวนรูปแบบของทางวิ่งให้เป็นใต้ดินในเขตเมืองชั้นใน จากเดิมที่เป็นรูปแบบบนดินตลอดแนวเส้นทาง ตาม ที่ประชาชนต่อต้าน ขณะเดียวกันต้องพิจารณาด้วยว่าจะใช้รถไฟฟ้ารางเบาประเภทใด ซึ่งมีหลายประเภท อาทิ รถไฟรางเดี่ยว (Monorail), แทรม (Tram), ระบบขนส่งมวลชนนำทางอัตโนมัติ (Automated Guideway Transit; AGT) และระบบขนส่งคนอัตโนมัติ (Automated People Mover; APM) เป็นต้น

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ก่อนหน้านี้ รฟม. ได้ศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีต รมว.คมนาคม ที่ให้ปรับ รูปแบบเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง เพื่อช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง โดยผลการศึกษาพบว่า รถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวทางเส้นทาง มีความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับรถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) และรถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT)เนื่องจากค่าลงทุนงานก่อสร้างและเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และดำเนินการ ค่าเวนคืนที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าระบบอื่น ๆ มูลค่าการลงทุน หากเป็นรถไฟฟ้าล้อยางระดับดินอยู่ที่ 10,024 ล้านบาท ขณะที่รถไฟฟ้าล้อเหล็กตามผลศึกษาเดิม ที่มีทั้งระดับดินและใต้ดิน วงเงิน 26,595 ล้านบาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 26 ม.ค. 2567 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 11, 12, 13  Next
Page 12 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©