RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180217
ทั้งหมด:13491451
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2020 11:14 am    Post subject: Reply with quote


รถไฟฟ้า LRT สายแดง ของเชียงใหม่ที่ อาจจะไม่ถูกใจคนที่จะรีบไปสนามบินเชียงใหม่
https://www.youtube.com/watch?v=ywk-xuHyMEw
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/05/2021 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

ดับฝันอีก2จว.'แทรมโคราช-เชียงใหม่'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564

รฟม.นัดถกที่ปรึกษาปรับเป็น ART เสียเวลาศึกษาใหม่แต่ประหยัดงบ

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำหนังสือภายในส่งถึงที่ปรึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา หรือรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) และที่ปรึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชน (แทรม) จ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วง รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เพื่อให้พิจารณาหาแนวทางว่าจะดำเนินการปรับรูปแบบระบบขนส่งมวลชนอย่างไรได้บ้าง ให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ที่ รฟม. ได้ปรับแผนจากการสร้างแทรม เป็นระบบรถโดยสารอัจฉริยะ (Automated Rapid Transit) หรือเออาร์ที (ART)ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

เบื้องต้นจะประชุมหารือร่วมกันในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อพิจารณาว่าจะปรับรูปแบบแทรมทั้งนครราชสีมา และเชียงใหม่ เป็น ART เหมือน จ.ภูเก็ต ได้หรือไม่ เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้าง ซึ่งในส่วนของแทรมภูเก็ต เมื่อปรับเป็น ART แล้วสามารถลดวงเงินการก่อสร้างได้เกือบ 2 หมื่นล้านบาท หากท้ายที่สุดแล้วแทรมนครราชสีมา และแทรมเชียงใหม่ ต้องปรับเป็น ART คาดว่าต้องศึกษาใหม่ทั้งหมด เพราะผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ข้อกฎหมาย รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของแทรม และ ART มีความแตกต่างกัน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ขณะนี้ที่ปรึกษาฯ ทั้ง 2 โครงการ ยังจัดทำรายงานผลการศึกษาแทรมนครราชสีมา และแทรมเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ทาง รฟม. ยังไม่ได้สั่งให้หยุดศึกษา อยู่ระหว่างปรับแก้รายละเอียดของผลการศึกษาอีกเล็กน้อย เพื่อให้รายงานผลการศึกษามีความสมบูรณ์มากที่สุด อย่างไรก็ตามยอมรับว่าเวลานี้แผนงานทั้ง 2 โครงการ ล่าช้าจากที่วางไว้แล้ว นอกจากจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว ยังรวมถึงความไม่ชัดเจนของนโยบายการทำระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาคด้วย ทำให้กรอบเวลาการดำเนินงานต้องขยับออกไป

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับแทรม จ.นครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.17 กม. วงเงินประมาณ 8 พันล้านบาท ตามแผนงานเดิมคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ไม่เกินเดือน พ.ค. 64 หากเห็นชอบจะเปิดประกวดราคาได้ประมาณเดือน ก.ค. 64 เริ่มก่อสร้างประมาณเดือน ส.ค. 65 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดบริการประมาณเดือน พ.ย. 68

ส่วนแทรม จ.เชียงใหม่ สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี) ระยะทาง 15.8 กม. วงเงินประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท ตามแผนงานเดิมคาดว่าจะเสนอ ครม. พิจารณาได้ประมาณ กลางปี 64 เปิดประกวดราคาประมาณปลายปี 64 เริ่มก่อสร้างประมาณกลางปี 65 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดบริการได้ประมาณปี 70.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2022 6:17 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ารางเบาVsรถรางล้อยาง
Source - เดลินิวส์
Monday, October 24, 2022 05:27

โคราช-เชียงใหม่เลือกแบบไหน ฟังเสียงประชาชนรื้อผลศึกษา

รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 27 ต.ค. 65 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเปรียบเทียบทางเลือกระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ตั้งแต่เวลา 08.30-12.00 น. ที่ห้องสุรนารีบอลรูม โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ก่อนหน้านี้ รฟม. ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท เอ็นทิค จำกัด และบริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการฯ ในรูปแบบของรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) ล้อเหล็ก แต่ต่อมานายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม มี นโยบายให้ปรับรูปแบบแทรมล้อเหล็กเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง (Automate Rapid Transit : ART) เพื่อช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง ทาง รฟม. จึงมอบให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาทบทวนการศึกษาฯ พร้อมศึกษางานระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าเพิ่มเติม คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 65

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การทบทวนการศึกษาฯ ครั้งนี้ รฟม. จำเป็นต้องจัดให้มีการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 58 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ด้วย โดยความคิดเห็นของประชาชน และข้อเสนอที่ได้รับจากการประชุมทั้งหมดนี้ จะนำไปใช้ประกอบการจัดทำการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการ ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

สำหรับการประชุมรับฟังความ คิดเห็นครั้งนี้กลุ่มที่ปรึกษาได้คัดเลือก ระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าที่เหมาะสม และมีความเป็นไปได้มากที่สุด 3 ระบบมาให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 1.รถไฟฟ้ารางเบา (Steel Wheel Tram), 2.รถรางชนิดใช้ล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้า เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) โดยจะนำเสนอรายละเอียด แต่ละระบบว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งข้อดี และข้อเสีย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแสดงความคิดเห็น

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในส่วนของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์- แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ทาง รฟม. จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมเช่นกัน โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 31 ต.ค. 65 เวลา 08.30-12.00 น. ที่ห้องแกรนด์วิว 3 โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมได้.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2565

https://www.dailynews.co.th/news/1609570/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2022 2:39 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟฟ้ารางเบาVsรถรางล้อยาง
Source - เดลินิวส์
Monday, October 24, 2022 05:27

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2565

https://www.dailynews.co.th/news/1609570/


รถไฟฟ้ารางเบา(ของเดิม) Vs รถรางล้อยาง ART
*ชาว”โคราช-เชียงใหม่” จะเลือกแบบไหน
*รฟม.จัดเวทีฟังเสียงประชาชนรื้อผลศึกษา
*สนองนโยบายรมต. ”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/663891611854743
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2022 7:53 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้ารางเบา(ของเดิม) Vs รถรางล้อยาง ART
*ชาว”โคราช-เชียงใหม่” จะเลือกแบบไหน
*รฟม.จัดเวทีฟังเสียงประชาชนรื้อผลศึกษา
*สนองนโยบายรมต. ”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/663891611854743

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)
Feb 11, 2020
PR MRTA Official


https://www.youtube.com/watch?v=WvAQ0IB8LxY

วีดิทัศน์รายละเอียดโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)
รฟม.เดินหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ | NEW18
Mar 13, 2020
NEW18


https://www.youtube.com/watch?v=46jSImEF7wo

สรุปรวม โครงการรถไฟฟ้า​ รฟม.เขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และอีก 4 จังหวัดใหญ่
Apr 19, 2022
Nimda Variety


https://www.youtube.com/watch?v=T5IWz7vWYJQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2022 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

^^^^
ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อ
ผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสม
สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง
(โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)
ในวันที่ 31 ตุลาคม 2565 เวลา 8.30 - 12.00 น.
ณ ห้องแกรนด์วิว 3 โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งผู้สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านเว็บเพจ Facebook ของโครงการ หรือโทร 025227365 ต่อ 144 ภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2565
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=208223868227151&id=100071186169677
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2022 5:21 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เตรียมพีพีพีร่วมเอกชน ลุยรถไฟฟ้าเชียงใหม่ 1 หมื่นล้านบาท
กรุงเทพธุรกิจ 31 ต.ค. 2565 เวลา 15:44 น.

รฟม.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน เตรียมพีพีพีร่วมลงทุนเอกชน 1 หมื่นล้านบาท ลุยโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี คาดเสนอ ครม. ภายในปี 2567

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการด้านกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า วันนี้ (31 ต.ค.) รฟม.ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เนื่องจากการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่ผ่านมา มีมูลค่าการลงทุนสูง ส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษา

โดยการประชุมในครั้งนี้ได้นำเสนอผลการศึกษารูปแบบการดำเนินงาน โครงการที่เหมาะสมจำนวน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

1. รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย

2. รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

3. รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

อย่างไรก็ดี จากการเปรียบเทียบทั้ง 3 รูปแบบอย่างรอบด้าน พบว่ารูปแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดงฯ คือ ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง ที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโครงการ บรรเทาผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดินและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการในระยะก่อสร้าง รวมถึงใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ารถไฟฟ้าระบบอื่นๆ

อีกทั้งโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) จากการศึกษาเบื้องต้นรูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อยางระดับดิน จะมีมูลค่าลงทุนในช่วงก่อสร้างอยู่ที่ 10,024.39 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็กระดับดิน ที่ประเมินว่าจะมีมูลค่าลงทุน 10,410.79 ล้านบาท อีกทั้งยังลดลงจากผลการศึกษาโครงการก่อนหน้านี้ที่จะพัฒนาระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็กเส้นทางผสมทั้งใต้ดินและระดับดิน โดยมีมูลค่าลงทุนโครงการสูงอยู่ที่ 26,595 ล้านบาท

ทั้งนี้ รฟม. และกลุ่มที่ปรึกษา CMTR จะนำความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงาน ดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในครั้งนี้ไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประกอบการรายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาตามขั้นตอนในลำดับต่อไป

ในส่วนของแผนดำเนินงาน คาดว่าการจัดทำรายงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานศึกษารูปแบบการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (PPP) จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2565 หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ ก่อนเสนอโครงการไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือน ม.ค.2567 และเริ่มคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในเดือน ส.ค.2567 โดยมีกำหนดเริ่มงานก่อสร้างในเดือน ก.ย.2568 แล้วเสร็จเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค.2571

Click on the image for full size

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เป็นโครงการระบบขนส่งสาธารณะหลักของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีข้อเสนอแนะให้เริ่มก่อสร้างก่อนเป็นลำดับแรก โครงการฯ มีระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 16 สถานี โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ว่างใกล้สถานีแยกหนองฮ่อ

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งยังสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน จึงช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ ได้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2022 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อรถไฟฟ้าเชียงใหม่!รฟม.ฟังความเห็นปรับเป็น แทรมป์ล้อยางวิ่งระดับดินลดค่าลงทุน
เผยแพร่: 31 ต.ค. 2565 16:07
ปรับปรุง: 31 ต.ค. 2565 16:07
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รฟม. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาว”เชียงใหม่”ปรับรูปแบบ รถไฟฟ้าเชียงใหม่ สายสีแดง จากแทรมป์ล้อเหล็กเป็นล้อยาง วิ่งระดับดินตลอดสาย ลดเวนคืนและค่าลงทุน

วันที่ 31 ตุลาคม 2565 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานและมีผู้นำชุมชนประชาชนในพื้นที่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนองค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจ รวมถึงสื่อมวลชนเข้าร่วมการประชุมกว่า 230 คน ณ ห้องแกรนด์วิว 3 โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) รฟม. เปิดเผยว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่ผ่านมา ซึ่งโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดงฯ ที่มีแนวเส้นทางรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดินนั้น มีมูลค่าการลงทุนสูงส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษา ประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค

รฟม. จึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมของสัญญาจ้างกลุ่มที่ปรึกษา CMTR ให้ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมสำหรับโครงการฯ และได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้

โดยได้มีการนำเสนอผลการศึกษารูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมจำนวน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย2.รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง และ 3.รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 รูปแบบอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองเชียงใหม่ ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ)

ซึ่งผลการศึกษา พบว่า รูปแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดงฯ คือ ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง ที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโครงการ บรรเทาผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดินและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการในระยะก่อสร้าง รวมถึงใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ารถไฟฟ้าระบบอื่นๆเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ชาวเชียงใหม่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ รฟม. และกลุ่มที่ปรึกษา CMTR จะนำความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงาน ดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในครั้งนี้ไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ประกอบการรายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) มีระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นโครงการระบบขนส่งสาธารณะหลักของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีข้อเสนอแนะให้เริ่มก่อสร้างก่อนเป็นลำดับแรก

โดยการศึกษาก่อนหน้านี้ โครงการมีรูปแบบเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตรกรอบวงเงินลงทุนรวมประมาณ 27,000 ล้านบาท โดยจะให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP)

โดยมีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 16 สถานี ได้แก่ สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ สถานีแยกหนองฮ่อ สถานีโพธารามสถานีข่วงสิงห์ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก สถานีมณีนพรัตน์ สถานีประตูสวนดอก สถานีแยกหายยา สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ สถานีบ้านใหม่สามัคคี และสถานีแม่เหียะสมานสามัคคี โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งบริเวณพื้นที่ว่างใกล้สถานีแยกหนองฮ่อ

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งยังสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน จึงช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ ได้อีกด้วย

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) รฟม. เปิดเผยว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่ผ่านมา ซึ่งโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดงฯ ที่มีแนวเส้นทางรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดินนั้น มีมูลค่าการลงทุนสูงส่งผลให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษา ประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค

รฟม. จึงได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมของสัญญาจ้างกลุ่มที่ปรึกษา CMTR ให้ดำเนินการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมสำหรับโครงการฯ และได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้

โดยได้มีการนำเสนอผลการศึกษารูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมจำนวน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย2.รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง และ 3.รูปแบบระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 รูปแบบอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่ของเขตเมืองเชียงใหม่ ศักยภาพในการรองรับปริมาณผู้โดยสาร ระยะเวลาในการก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษาและดำเนินการค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รายได้ค่าโดยสารและรายได้อื่นของโครงการ) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะดำเนินการ)

ซึ่งผลการศึกษา พบว่า รูปแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดงฯ คือ ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง ที่มีรูปแบบทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนโครงการ บรรเทาผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดินและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการในระยะก่อสร้าง รวมถึงใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ารถไฟฟ้าระบบอื่นๆเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ชาวเชียงใหม่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ รฟม. และกลุ่มที่ปรึกษา CMTR จะนำความคิดเห็นต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงาน ดังกล่าว พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในครั้งนี้ไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ประกอบการรายงานผลต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) มีระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร เป็นโครงการระบบขนส่งสาธารณะหลักของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีข้อเสนอแนะให้เริ่มก่อสร้างก่อนเป็นลำดับแรก

โดยการศึกษาก่อนหน้านี้ โครงการมีรูปแบบเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตรกรอบวงเงินลงทุนรวมประมาณ 27,000 ล้านบาท โดยจะให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP)

โดยมีสถานีรับ-ส่ง ผู้โดยสาร 16 สถานี ได้แก่ สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ สถานีแยกหนองฮ่อ สถานีโพธารามสถานีข่วงสิงห์ สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก สถานีมณีนพรัตน์ สถานีประตูสวนดอก สถานีแยกหายยา สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ สถานีบ้านใหม่สามัคคี และสถานีแม่เหียะสมานสามัคคี โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งบริเวณพื้นที่ว่างใกล้สถานีแยกหนองฮ่อ

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน รวมถึงมีความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัย ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งยังสามารถลดการใช้รถยนต์โดยรวมบนท้องถนน จึงช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศที่เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ ได้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2022 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดผลศึกษา “แทรมเชียงใหม่” ปรับเป็น “รถไฟฟ้าล้อยาง” ระดับดินตลอดสาย
เดลินิวส์ 31 ตุลาคม 2565 16:49 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

ลงทุนสูง! รฟม. รื้อ “แทรมเชียงใหม่” เปลี่ยนเป็น “รถไฟฟ้าล้อยาง” ปรับแนวเส้นทางเป็นวิ่งระดับดินตลอดสาย 16.7 กม. 16 สถานี ไม่ต้องมีใต้ดิน ช่วยลดต้นทุนเหลือ 1 หมื่นล้าน คาดเริ่มก่อสร้างปี 68 เปิดบริการปี 71

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลมอบหมายให้ รฟม. ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาฯ ตามผลการศึกษา และแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

นายสาโรจน์ กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการ พบว่า มูลค่าการลงทุนโครงการดังกล่าว มีมูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M) ประกอบกับกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมายให้ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ และทางเลือกรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เพื่อให้ได้รูปแบบการดำเนินโครงการที่เป็นไปได้มากที่สุด ก่อนประมวลเรื่องเสนอขอความเห็นชอบต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป

ด้าน นายวุฒิชัย พรรณเชษฐ์ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การทบทวนครั้งนี้เป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมเบื้องต้นในส่วนที่จำเป็น อาทิ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร, แผนการเดินรถเบื้องต้น, รูปแบบแนวเส้นทางโครงการ, การประมาณการวงเงินลงทุนโครงการ, รายได้ค่าใช้จ่าย และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยในส่วนของแนวเส้นทางโครงการนั้น เพื่อลดต้นทุนโครงการ จึงได้ปรับรูปแบบแนวเส้นทางจากเดิมเป็นรูปแบบผสมระหว่างใต้ดิน และระดับดิน (ช่วงจากแยกกองกำลังผาเมือง มาจนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่) ระยะทาง 15.7 กิโลเมตร (กม.) 16 สถานี เป็นระดับดินตลอดแนวเส้นทาง ระยะทาง 16.7 กม. 16 สถานี

ส่วนรูปแบบระบบรถไฟฟ้า เดิมเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก ประเภท Tram วิ่งบนราง แต่การทบทวนครั้งนี้มีรูปแบบที่ใช้ศึกษา ประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) 2.รถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) ทั้งนี้ ในการประชุมได้นำเสนอโครงการที่เหมาะสม 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รถไฟฟ้าล้อเหล็ก แนวเส้นทางผสมใต้ดินและระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย 2.รถไฟฟ้าล้อเหล็ก ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง และ 3.รถไฟฟ้าล้อยาง ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

โดยจากการเปรียบเทียบ และพิจารณาให้คะแนนทั้ง 3 รูปแบบตามปัจจัย 3 ด้านหลัก ได้แก่ วิศวกรรมและจราจร, การลงทุนและผลตอบแทน และสิ่งแวดล้อม พบว่า รถไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) ระดับดินตลอดแนวทางเส้นทางเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากค่าลงทุนงานก่อสร้างและเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และดำเนินการ ค่าเวนคืนที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าระบบอื่นๆ

นายวุฒิชัย กล่าวต่อว่า สำหรับมูลค่าการลงทุน หากเป็นรถไฟฟ้าล้อยางระดับดิน วงเงินอยู่ที่ประมาณ 10,024 ล้านบาท ขณะที่รถไฟฟ้าล้อเหล็ก ตามผลศึกษาเดิมที่มีทั้งระดับดิน และใต้ดิน วงเงินประมาณ 26,595 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการคิดค่าโดยสารนั้นมี 3 รูปแบบ คือ 1.คิดตามระยะทาง 14+1 สูงสุดไม่เกิน 30 บาท, 2.คิดแบบขั้นบันได 0-8 สถานี 15 บาท และมากกว่า 8 สถานี 20 บาท และ 3.คิดแบบคงที่ 20 บาทตลอดสาย ทั้งนี้ หากเก็บแบบตามระยะทาง จะมีปริมาณผู้โดยสารมาใช้บริการสูงที่สุด โดยปีแรกของการเปิดให้บริการ อยู่ที่ประมาณ 16,000 คน-เที่ยวต่อวัน


เลิกทั้งหมดรถไฟฟ้า5จังหวัด
Source - เดลินิวส์
Tuesday, November 01, 2022 04:47

รื้อศึกษารื้อศึกษาเปลืองงบ

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลมอบหมาย รฟม. ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาฯ ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

นายสาโรจน์ กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการซึ่งแต่เดิมเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) พบว่า มูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M) ประกอบกับกระทรวงคมนาคมมี นโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้า ล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมาย ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ และทางเลือกรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ที่เป็นไปได้มากที่สุด เพื่อเสนอขอความเห็นชอบกระทรวงคมนาคมต่อไป

ด้านนายวุฒิชัย พรรณเชษฐ์ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การทบทวนครั้งนี้เป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมเบื้องต้นในส่วนที่จำเป็น อาทิ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร, แผนการเดินรถเบื้องต้น, รูปแบบแนวเส้นทางโครงการ, ประมาณการวงเงินลงทุน, รายได้ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน ในส่วนของแนวเส้นทางโครงการเพื่อลดต้นทุนได้ปรับรูปแบบจากเดิมผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน (จากแยกกองกำลังผาเมืองถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่) ระยะทาง 15.7 กม.16 สถานี เป็นระดับดินตลอดเส้นทาง 16.7 กม. 16 สถานี

เดิมเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก ประเภท Tram วิ่งบนราง การทบทวนครั้งนี้มีรูปแบบที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) 2.รถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) พบว่ารถไฟฟ้าล้อยางระดับดินตลอดแนวเส้นทางเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากค่าลงทุนงานก่อสร้างและเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และดำเนินการค่าเวนคืนที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าระบบอื่น ๆ

นายวุฒิชัย กล่าวต่อว่า รถไฟฟ้าล้อยางระดับดินมีวงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท รถไฟฟ้าล้อเหล็กทั้งระดับดินและใต้ดินวงเงิน 26,595 ล้านบาท คาดว่าจะศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานอีไอเอและรายงาน PPP แล้วเสร็จเดือน ธ.ค. 65 พิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถเดือน ม.ค.66-ม.ค. 67 เสนอ ครม. อนุมัติ ม.ค. 67 คัดเลือกเอกชน PPP ส.ค. 67-ส.ค. 68 เริ่มงานก่อสร้าง ก.ย. 68 และเปิดบริการเดือน ธ.ค. 71

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ไม่นานผลการศึกษาของรฟม.ระบุถึงการไม่คุ้มทุนของโครงการแทรมนครราชสีมา (โคราช) เสนอเปลี่ยนเป็น BRT ขณะที่แทรมภูเก็ตให้เปลี่ยนเป็น ART (รถเมล์ไฟฟ้าล้อยาง) เช่นกัน ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ส่วนแทรมขอนแก่นและโมโนเรลหาดใหญ่ จ.สงขลา ครม. มอบท้องถิ่นดำเนินการ แต่ทั้ง 2 จังหวัดยัง ไม่มีเงินลงทุน มีแนวโน้มที่จะสรุปได้ว่าต้องล้มโครงการรถไฟฟ้าใน 5 จังหวัดไปก่อน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2565 (กรอบบ่าย)

Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
31 ต.ค. 65 13:28 น.
ลาก่อน!!! ความฝันรถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ล้มทั้งหมด
*ยกเลิก “แทรมเชียงใหม่”เปลี่ยนเหล็กเป็นล้อยาง
*รฟม.รื้อศึกษารื้อศึกษาสนองนโยบาย”ศักดิ์สยาม”
*ปรับเส้นทาง ”อุโมงค์เป็นวิ่งระดับดินตลอดสาย”
*เหตุผลหลักลดต้นทุนเริ่มก่อสร้างปี 68 เปิดปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/669157191328185
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2022 9:19 pm    Post subject: Reply with quote

ลดสเป็ก รถไฟฟ้าเชียงใหม่ รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะ 9.2 พันล้าน
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันพุธ ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 13:58 น.


อัพเดตโครงการรถไฟฟ้าสายแรกจังหวัดเชียงใหม่ จากการจัดประชาพิจารณ์ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 มีผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม 230 คน ณ โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว ไฮไลต์ซึ่งมีการทบทวนโครงการทำให้มูลค่าลงทุนจาก 2.6 หมื่นล้าน ลดเหลือ 9.2 พันล้านบาท

ลดสเป็กเหลือ “รถไฟฟ้าล้อยาง”
ชื่อเต็ม ๆ “โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)” โดย “สาโรจน์ ต.สุวรรณ” รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า








แกะรอยจนเจอ กล้องซุกในธารน้ำแข็ง 85 ปี เจ้าของลาโลก ฟิล์มยังอยู่
อาหารมื้อสุดท้าย แม่เข้าครัวปรุงเมนูโปรดให้ลูก คลิปไวรัลเรียกน้ำตา
เกาหลีเหนือ ไปเอาเงินที่ไหนมา รัวยิงขีปนาวุธเป็นว่าเล่น เกิน 30 ลูก
ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้จัดประชาพิจารณ์ครั้งแรกเมื่อปี 2563 มีรูปแบบผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน แต่เนื่องจากมีมูลค่าสูงถึง 26,595 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ค่าโดยสารไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถและบำรุงรักษา

ต่อมากระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้ รฟม.ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค ดังนั้นจึงจัดรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 นำเสนอผลการศึกษา 3 รูปแบบ คือ

1.ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (steel wheel tram) แนวเส้นทางใต้ดินผสมระดับดิน วิ่งบนรางในเขตทางเฉพาะตลอดสาย 2.ระบบรถไฟฟ้าล้อเหล็ก (steel wheel tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง 3.ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (tire tram) ระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

โดยเปรียบเทียบทั้ง 3 รูปแบบทั้งด้านวิศวกรรมและจราจร (ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี ความเหมาะสมทางกายภาพของระบบต่อสภาพพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ ศักยภาพรองรับปริมาณผู้โดยสาร ระยะเวลาก่อสร้าง) ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษา ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รายได้ค่าโดยสาร และรายได้อื่น) และด้านสิ่งแวดล้อม (ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง และในระยะดำเนินการ)


ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ “ระบบรถไฟฟ้าล้อยาง” ออกแบบเป็นทางวิ่งระดับดินตลอดแนวเส้นทาง ช่วยลดต้นทุนโครงการ บรรเทาผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดินและผลกระทบสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อสร้าง และใช้เวลาก่อสร้างสั้นกว่าแบบเดิม

“รฟม.และกลุ่มที่ปรึกษา CMTR จะนำความคิดเห็น พร้อมข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปพิจารณาปรับปรุงผลการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาคาดว่าภายในปี 2566”

16 สถานี-20 บาทตลอดสาย
รายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีแดง เส้นทาง รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะฯ มีระยะทาง 16 กม. จำนวน 16 สถานี ได้แก่ 1.สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์ 2.ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ 3.สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี 4.ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 5.แยกหนองฮ่อ 6.โพธาราม 7.ข่วงสิงห์ 8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Advertisement

9.ขนส่งช้างเผือก 10.มณีนพรัตน์ 11.ประตูสวนดอก 12.แยกหายยา 13.แยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ 14.ท่าอากาศยานเชียงใหม่ 15.บ้านใหม่สามัคคี และ 16.แม่เหียะสมานสามัคคี โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ว่างใกล้สถานีแยกหนองฮ่อ

“วุฒิชัย พรรณเชษฐ์” ผู้จัดการโครงการศึกษาฯ รถไฟฟ้าสายสีแดง จ.เชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากทบทวนผลการศึกษาได้เสนอตัวเลือกแรกของการลงทุนเป็นรถไฟฟ้าล้อยางแบบมีรางประคอง เกณฑ์การประเมินอยู่ที่ 77.22 คะแนน โดยมีตัวแบบที่ใช้งานในประเทศฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ฯลฯ และปรับรูปแบบก่อสร้างระดับดินตลอดแนวเส้นทาง

จุดเน้นอยู่ที่สามารถลดการลงทุนเหลือ 9,255 ล้านบาท ทำให้โครงการมีความเป็นไปได้ในการลงทุนมากขึ้น ลดปัญหาเวนคืนที่ดิน จากเดิมใช้วงเงิน 2,862 ล้านบาท เพื่อจัดทำบริเวณสถานีและแนวเส้นทาง ของใหม่เหลือเวนคืนที่ดิน 32.3 ไร่ 1,508 ล้านบาท บริเวณหนองฮ่อ เพื่อทำศูนย์ซ่อมบำรุง

สำหรับค่าโดยสารเสนอให้จัดเก็บ 20 บาทตลอดสาย (จาก 3 รูปแบบ 1.คิดค่าโดยสารตามสูตร 14+1X โดย X คือจำนวนสถานี 2.ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย 3.ค่าโดยสารแบบขั้นบันได 0-8 สถานี 15 บาท 9-16 สถานี 20 บาท) คาดว่าปีแรกที่เปิดบริการจะมีผู้โดยสารใช้ 15,000 เที่ยวคน/วัน ภายในเวลา 40 ปีคาดว่าเพิ่มเป็น 60,000 เที่ยวคน/วัน

โมเดลลงทุนเสนอเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost รัฐอุดหนุนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและลงทุนงานโยธา สัมปทาน 30 ปี ค่าโดยสารอัตราคงที่ 20 บาทตลอดสาย

ไทม์ไลน์หลังจากนี้คาดว่านำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์เสนอต่อ รฟม. และกระทรวงคมนาคมภายในครึ่งปีแรก 2566 ตามแผนของ รฟม.คาดว่าเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีภายในปี 2567 และเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนลงทุนในปี 2568


Mongwin wrote:
รื้อรถไฟฟ้าเชียงใหม่!รฟม.ฟังความเห็นปรับเป็น แทรมป์ล้อยางวิ่งระดับดินลดค่าลงทุน
เผยแพร่: 31 ต.ค. 2565 16:07
ปรับปรุง: 31 ต.ค. 2565 16:07
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เปิดผลศึกษา “แทรมเชียงใหม่” ปรับเป็น “รถไฟฟ้าล้อยาง” ระดับดินตลอดสาย
เดลินิวส์ 31 ตุลาคม 2565 16:49 น.
Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
31 ต.ค. 65 13:28 น.
ลาก่อน!!! ความฝันรถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ล้มทั้งหมด
*ยกเลิก “แทรมเชียงใหม่”เปลี่ยนเหล็กเป็นล้อยาง
*รฟม.รื้อศึกษารื้อศึกษาสนองนโยบาย”ศักดิ์สยาม”
*ปรับเส้นทาง ”อุโมงค์เป็นวิ่งระดับดินตลอดสาย”
*เหตุผลหลักลดต้นทุนเริ่มก่อสร้างปี 68 เปิดปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/669157191328185
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 10, 11, 12  Next
Page 11 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©