RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274235
ทั้งหมด:13585531
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โคราชก็อยากได้ระบบขนส่งมวลชนเหมือนกัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2023 7:23 am    Post subject: Reply with quote

review พาข้าว โคราช ต่อยอดสถานีขนส่ง บขส.2
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, February 27, 2023 04:37
สู่จุดพักรถ พักคน 24 ชั่วโมง

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า บขส.2 เปิดให้บริการเมื่อปี 2532 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 34 ไร่ ริมถนนมิตรภาพหนองคาย อ.เมือง จ.นครราชสีมา คนที่เคยเดินทางด้วยรถทัวร์สายอีสานจะทราบกันดีว่า ที่นี่เป็นทั้งสถานีขนส่งกระจายไปยังทั่วทุกภาคของประเทศ และเป็นจุดพักรถระหว่างทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าสู่ปลายทางจังหวัดภาคอีสาน

เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทไทยสงวน ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานีขนส่ง บขส.2 ได้เปิดคอมมูนิตี้มอลล์โดยใช้ชื่อโครงการ "พาข้าว" บนพื้นที่ 7 ไร่ ติดสถานีขนส่ง บขส.2 ด้วยงบลงทุนร่วม 100 ล้านบาท วางตำแหน่ง เป็นจุดพักรถ รองรับทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล ด้วยที่จอดรถกว่า 200 คัน ผู้โดยสารที่มาใช้บริการสถานีขนส่งฯ รวมทั้งชาวจังหวัดนครราชสีมา และ นักท่องเที่ยว

ชื่อของพาข้าว หมายถึง สำรับอาหารของภาคอีสาน คล้ายกับขันโตกของภาคเหนือ เดิมกลุ่มบริษัทไทยสงวนมีแผนที่จะปรับปรุงสถานีขนส่ง บขส.2 ด้วยงบลงทุนหลักพันล้านบาท โดยพาข้าวจะเป็นโครงการรอง แต่ได้พักโครงการปรับปรุงสถานีขนส่งไว้ก่อน หันมาทำโครงการพาข้าวเพื่อ ยกระดับสถานีขนส่ง รองรับลูกค้าที่เดินทางข้ามจังหวัดทั้งรถส่วนตัวและ รถทัวร์

โครงการพาข้าวเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2564 มีพิธี เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นลักษณะจุดพักรถโดยใช้รูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์ สอดคล้องกับการเดินทางที่มีหลายรูปแบบ ตั้งแต่เครื่องบิน รถไฟ รถโดยสาร และรถส่วนตัว กลุ่มเป้าหมายของ พาข้าวเป็น กลุ่มผู้ใช้รถส่วนตัวผสมกับคนที่จะมาขึ้นรถโดยสารที่สถานี ขนส่ง บขส. 2

ศรรบ หล่อธราประเสริฐ กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทไทยสงวน เปิดเผยว่า พาข้าวเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่เดินทาง ผ่านโคราชไปต่างจังหวัดและอำเภอต่างๆ แวะพักรถที่พาข้าวเพื่อมาเลือก ซื้อและเลือกรับประทานอาหารขึ้นชื่อที่นี่ รวมถึงผู้โดยสารที่เดินทางมา สถานีขนส่งเพื่อมาขึ้นรถโดยสารประจำทาง ประชาชนชาวโคราช และ นักท่องเที่ยว

พาข้าวเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ประชาชนและชุมชน ซึ่งกลุ่มไทยสงวนอยู่กับธุรกิจการเดินทางมาตลอด เรายกระดับสถานีขนส่งด้วยการพัฒนาพื้นที่บริเวณด้านหน้า 7 ไร่ จาก ทั้งหมด 30 ไร่ เพื่อเป็นจุดพักรถที่ทุกคนต้องแวะ หวังตอบโจทย์คน เดินทาง เพราะโคราชเป็นเมืองหน้าด่านสู่ภาคอีสาน และเป็นจุดเช็กอินก่อนเดินทาง

แม็กเน็ตหลักของโครงการ ประกอบด้วยร้านเคเอฟซี ไดรฟ์ทรู เปิด 24 ชั่วโมง, เซเว่นอีเลฟเว่น, คาเฟ่อเมซอน รูปแบบ Co-working Space ขนาด 2 ชั้น, บานาน่าไอที, ร้านขายยาฟาสซิโน ฯลฯ รวมทั้งร้านอาหารในเครือไทยสงวน "สวนผัก" ซึ่งเป็นร้านอาหารชื่อดังในตำนาน นอกจากนี้ยังมีศูนย์อาหารที่ชื่อว่าสถานีอาหาร และช่วงกลางคืนมีข้าวต้มแปะย้ง อีกหนึ่งร้านตำนานในโคราช

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่อเนกประสงค์ บริเวณใต้หลังคาผ้าขาวม้า และลานจอดรถขนาดใหญ่ที่ สามารถทำกิจกรรมต่างๆ หรือเป็นจุดนัดพบเพื่อ ทำกิจกรรมได้ตลอดวัน และยังมีกิจกรรม Love Market และฟูดแฟร์ที่จะจัดเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งในอนาคตมีแผนที่จะเปิดสถานีชาร์จรถยนต์ ไฟฟ้า (EV Charger Station) วางเป้าหมายเป็นที่หนึ่งในจุดนัดพบของเมืองโคราช

แนะนำไฮไลต์ในโครงการ เริ่มจาก ร้านอาหารสวนผัก สโลแกนสีเขียวแห่งความอร่อย กับ 10 เมนูเด็ดต้องสั่ง อาทิ ไก่โคราชแช่เหล้า กระเพาะปลาน้ำแดง ยำถั่วพลู แกงส้มแปะซะปลาช่อน เส้นใหญ่ราดหน้าเนื้อปลาเก๋าน้ำแดง เป็ดร่อน เนื้อปลากะพงผัดพริก (สูตรแปะย้ง) กุ้งแช่น้ำปลา ยำกุ้งฟู และไส้กรอกไข่เค็ม อยู่ที่บริเวณโซนด้านหน้า เปิดตั้งแต่ 10.00-24.00 น.

ถัดมาจะเป็น ร้านไทยสงวน OTOP แหล่งรวมของฝากจากนครราชสีมา อาทิ เส้นหมี่ กุนเชียง หมูยอ เปิดตั้งแต่ 10.00-22.00 น. ต่อด้วย ร้านขายยาฟาสซิโน เปิดตั้งแต่ 09.00-21.00 น., ร้านอะโตมี่ ร้านเครื่องสำอางความงามและสุขภาพจากเกาหลี, คลินิกทันตกรรมโคลอนบี และ ร้านเคเอฟซี ไดรฟ์ทรู ในรูปแบบสแตนด์อะโลน เปิดตลอด 24 ชั่วโมง

อีกฝั่งหนึ่งหน้าลานใต้หลังคาผ้าขาวม้า เริ่มจาก ร้านบานาน่า ร้านอุปกรณ์สินค้าไอที ทั้งโทรศัพท์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และแกดเจ็ดอื่นๆ มากมาย ถัดมาจะเป็น สถานีอาหาร เปิด 24 ชั่วโมง ทางเชื่อมไปยัง บขส.2 จะมีร้านขายโทรศัพท์มือถือ ถัดจากนั้นจะเป็นร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น เปิด 24 ชั่วโมง ห้องน้ำ และร้านคาเฟ่อเมซอน รูปแบบ Co-working Space ขนาด 2 ชั้น

ไฮไลต์จะอยู่ที่ สถานีอาหาร (Food Station) แหล่งรวมร้านเด็ดโคราช อาทิ ก๋วยเตี๋ยวเกวียนโคราช, ข้าวมันไก่รักกาแฟเฮียเอ้, ข้าวขาหมูเลิศโอชา, ต.ตระกูลลูกชิ้นปลา, บีบี ร้านอาหารอิสลาม, ส้มตำ-ผัดหมี่ ริมเขื่อมไทรงาม, ข้าวแกงแม่เอียด และข้าวต้มแปะย้ง เปิด 17.00-05.00 น. กับเมนูกระเพาะหมูผัดเกี้ยมไฉ่ และปลากะพงสูตรแปะย้ง พร้อม รปภ.ดูแลและมีไว-ไฟ ฟรี

ที่ผ่านมาสถานีขนส่งผู้โดยสารแต่ละแห่ง ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ การแข่งขันของสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่เคยมีคำสั่งหยุดการเดินรถชั่วคราว แต่เมื่อประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ สถานีขนส่ง บขส.2 แห่งนี้ยังคงทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างภาคอีสานกับกรุงเทพฯ และเส้นทางข้ามภาคไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

นับเป็นการปรับตัวของสถานีขนส่งผู้โดยสาร ที่ยุคนี้รูปแบบการ เดินทางของประชาชนไม่ได้มีเพียงแค่รถทัวร์ แต่ยังรวมไปถึงรถส่วนตัว โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ต้องพักชาร์จไฟฟ้าทุกๆ 250-300 กิโลเมตร และด้วยทำเลประตูสู่ภาคอีสาน คาดหวังว่าพาข้าวจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของเมืองโคราชเติบโต และมีรายได้ของเมืองเพิ่มมากขึ้น .
ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 27 ก.พ. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/04/2023 7:20 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.รื้อแผนสร้าง แทรม3สาย 6.8หมื่นล้าน ลดต้นทุน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, April 12, 2023 05:38

"คมนาคม" กางไทม์ไลน์ศึกษาแทรม 3 สาย 6.8 หมื่นล้านบาท หลังคมนาคมสั่งทบทวนรูปแบบการเดินรถรอบใหม่ หวังลดต้นทุนค่าก่อสร้าง เล็งดึงเอกชนร่วมทุน PPP คาดเปิดให้บริการราวปี 70-71

ในปี 2563 ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) เร่งผลักดันโครงการระบบขนส่งมวลชน 3 จังหวัดใหญ่ แต่พบว่าแต่ละโครงการยังติดปัญหา อุปสรรคในหลายเรื่อง ทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง, รูปแบบรถที่ให้บริการไม่สอดรับกับพื้นที่ที่จะให้บริการ รวมทั้งการเวนคืนที่ดินที่อาจจะกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ด้วย

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะ สมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กิโล เมตร (กม.) วงเงินลงทุน 25,736 ล้านบาท ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบของโครงการฯเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้คุ้มค่ากับการลงทุน คาดว่าจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถใช้ระยะเวลาราว 1 ปีหรือภายในเดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567

หากได้ข้อสรุปแล้วตามแผนจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567-สิงหาคม 2568 ระหว่างนี้จะสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ด้วย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2568 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2571

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมายให้ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ จากเดิมพบว่าผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการฯ มีมูลค่าการลงทุนสูง ทำให้รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M)

สำหรับโครงการแทรมเชียงใหม่มีโครงสร้างทางวิ่งผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน มีระยะทางประมาณ 15.8 กิโลเมตร (กม.) โดยมีทางวิ่งระดับดินประมาณ 9.3 กิโลเมตร (กม.) ทางวิ่งใต้ดินประมาณ 6.5 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย สถานีทั้งหมด 16 สถานี แบ่งเป็นสถานีบนดิน 9 สถานี สถานีใต้ดิน 7 สถานี โดยมีแนวเส้นทาง วิ่งตามแนวเหนือใต้ เริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่ - หางดง บนทางหลวงหมายเลข 108 ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 35,344 ล้านบาท ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ปรับรูปแบบเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง (Automate Rapid Transit : ART) เพื่อช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง

ทั้งนี้ในปัจจุบัน รฟม.ได้ประกาศราคากลางงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมปรับปรุงแบบ โครงการฯ พร้อมบันทึกข้อความขอความเห็นชอบขอจ้างที่ปรึกษาฯ วงเงิน 55 ล้านบาท โดยวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อสอดคล้องตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง ปี 2560 ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ระบุในหนังสือแจ้งวันเริ่มงาน (NTP)

หลังจากดำเนินการศึกษา รูปแบบโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตฯแล้วเสร็จ จะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนเมษายน 2567 โดยจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนตุลาคม 2567-มิถุนายน 2568 ควบคู่กับการสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนพฤษภาคม 2568 และดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกรกฎาคม 2568 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2570

ทั้งนี้โครงการแทรมภูเก็ต แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง มีระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร (กม.) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 21 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี และ
ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่ มีระยะทางประมาณ 16.5 กิโลเมตร (กม.) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 3 สถานี ซึ่งรฟม.จะเริ่มดำเนินการโครงการ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 เป็นลำดับแรก

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 7,218 ล้านบาท ขณะนี้รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้คุ้มค่ากับการลงทุน โดยจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถใช้ระยะเวลาราว 1 ปีหรือภายในเดือนพฤษภาคม 2566-มิถุนายน 2567

หลังจากนั้นตามแผนของโครงการฯจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ภายในเดือนพฤศจิกายน 2567-สิงหาคม 2568 ระหว่างนี้จะสำรวจพื้นที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืนที่ดินภายในเดือนกรกฎาคม 2568 ด้วย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2568 พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2571

สำหรับโครงการแทรมนครราชสีมา มีโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 21 สถานี โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่บริเวณตลาดเซฟวัน เข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัยและแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีมุ่งหน้าไปตามถนนสุรนารายณ์ ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาทั้ง 3 โครงการที่ผ่านมา พบว่า เทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบที่เป็นไปได้มากที่สุด ดังนี้
1. รถไฟฟ้ารางเบา (Steel Wheel Tram),
2.รถรางชนิดใช้ล้อยาง (Tire Tram) และ
3. รถโดยสารไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน (Electric Bus Rapid Transit :E-BRT)

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 เม.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2023 6:37 am    Post subject: Reply with quote

แทรมโคราชไม่ผ่านอีไอเอรอบ2
Source - เดลินิวส์
Monday, December 18, 2023 05:11

ตกเซฟตี้-ข้อกฎหมาย เคลียร์ให้จบค่อยมาอีก

รายงานข่าวแจ้งว่า การพิจารณารายงานการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) หรือแทรมโคราช ระยะทาง 11.15 กิโลเมตร (กม.) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เมื่อช่วงปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรอบที่ 2 ทางคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ยังไม่ให้รายงานอีไอเอผ่านการพิจารณา เนื่องจากยังไม่ชัดเจนเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะในการใช้ถนนร่วมกันบางช่วงระหว่างแทรม และรถยนต์ทั่วไป

นอกจากนี้ยังมีเรื่องการขอใช้พื้นที่ถนนของกรมทางหลวง(ทล.) และท้องถิ่น ที่ยังไม่เรียบร้อย รวมถึงคณะกรรมการฯ ยังมีคำถามเรื่องข้อกฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้ อาทิ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบนทางร่วม ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ และมีกฎหมายใดที่รองรับบ้าง รวมทั้งจะกำหนดให้ใครเป็นทางหลัก และทางรอง เรื่องเหล่านี้ยังไม่กำหนดชัดเจน ได้กำชับให้ รฟม. นำประเด็นเหล่านี้ไปเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความชัดเจนให้จบก่อน จากนั้นให้กลับมาชี้แจงคณะกรรมการฯ อีกครั้งเป็นรอบที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกสักระยะจึงจะเสนอ คชก. พิจารณาใหม่ได้

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า แม้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จะมีนโยบายให้ชะลอโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง โดยให้เริ่มอีก 2 ปีข้างหน้า ส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าในจังหวัดอื่น ๆ ชะลอตามไปด้วยนั้น แต่รายงานอีไอเอยังเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเร่งเพราะทันทีที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้เริ่มโครงการฯ หากอีไอเอผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้ว รฟม. จะเดินหน้าโครงการฯ ได้ทันที

ก่อนหน้านี้ รฟม. มีแผนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโครงการฯ เดือน พ.ค. 64 หากเห็นชอบจะเปิด ประกวดราคา (ประมูล) เดือน ก.ค. 64 เริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค. 65 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดบริการเดือน พ.ย. 68 แต่ ในช่วงนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็น รมว.คมนาคม มีนโยบาย ให้ทบทวนรูปแบบของรถที่จะนำมาใช้ จึงปรับแผนงานเป็น เสนอ ครม. อนุมัติปี 67 เปิดประมูล และเริ่มงานก่อสร้างปี 68 เปิดบริการปี 71

โครงการแทรมนครราชสีมา สายสีเขียว เป็นทางวิ่ง ระดับดิน แนวเส้นทางเริ่มที่ตลาดเซฟวัน ผ่านสามแยกปักธงชัย มุ่งหน้าเข้าเมือง ผ่านหน้าอู่เชิดชัย ลอดใต้สะพานสีมาธานี เลี้ยวขวาเข้าถนนสืบศิริ ซอย 6 จากนั้นเลี้ยวผ่านทางถนนมุขมนตรี ถนนโพธิ์กลาง ผ่านแยกอนุสาวรีย์ เลี้ยวซ้ายผ่านคูเมือง ตรงขึ้นไปทางถนนมิตรภาพ และเลี้ยวขวาผ่านหน้าอาชีวศึกษานครราชสีมา และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุรนารายณ์ สิ้นสุดที่สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ มี 21 สถานี.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 19 ธ.ค. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44653
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/04/2024 8:18 am    Post subject: Reply with quote

เคาะผลศึกษาสร้าง 'แทรม 3 สาย' 7.2 หมื่นล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, April 20, 2024 05:46

"คมนาคม" กางแผนสร้างแทรมรถไฟฟ้า 3 สาย วงเงิน 7.2 หมื่นล้านบาท ฟาก รฟม.เร่งชงผลศึกษา เม.ย.นี้ ปักหมุดเปิดให้บริการปี 74

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมเร่งดันแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าภูมิภาค หรือ "รถไฟ แทรม" ที่จะช่วยแก้ปัญหาจรจาจรติดขัดภายในพื้นที่ แต่ปัจจุบันพบว่ากระทรวงได้สั่งให้รฟม.ทบทวนผลศึกษารูปแบบของรถอีกครั้งเพื่อประหยัดต้นทุนโครงการ ส่งผลให้โครงการล่าช้ากว่า 3 ปี

สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทางรวม 15.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 29,621 ล้านบาท มีรายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ว่าปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบศึกษารายละเอียด (Detail Design) และจัดทำรายงาน PPP โดยจะเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกการดำเนินโครงการที่เหมาะสมภายในเดือนเมษายน 2567 หลังจากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการ PPP ภายในภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568-กุมภาพันธ์ 2569 คาดว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2569

ทั้งนี้ตามแผนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์แยกแม่เหียะสมานสามัคคี จะเปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนพฤศจิกายน 2569-ตุลาคม 2570 และเริ่มก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2570-มกราคม 2574 ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2574

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี มี 16 สถานี แบ่ง เป็นโครงสร้างใต้ดิน 6.5 กม. และโครงสร้างระดับดิน 9.2 กม. โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยออกแบบโครงสร้างเป็นทางวิ่งระดับดิน ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนจากระดับใต้ดินเป็นทางวิ่งระดับดิน แล้ววิ่งออกไปที่ถนนเชียงใหม่-หางดง (ทางหลวงหมายเลข 108) ไปสิ้นสุดบริเวณแยกแม่เหียะสมานสามัคคี

ด้านความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวันสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทางรวม 11.15 กม. วงเงิน 7,242 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ รวมทั้งจัดทำรายงาน PPP คาดว่าจะเสนอผลการศึกษาภายในเดือนเมษายน 2567 หลังจากนั้นจะพิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบไฟฟ้าและเดินรถภายในเดือน มิถุนายน 2568-เมษายน 2569

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ตามแผนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ จะเสนอต่อ ครม. ภายในเดือนเมษายน 2569 และ เปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนพฤศจิกายน 2569-ตุลาคม 2570 โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน 2570-มกราคม 2574 คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2574

ส่วนแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ จำนวน 21 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณตลาดเซฟวัน ฝั่งมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัย แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 224 ผ่านโรงเรียนเมืองนครราชสีมา และผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ฯ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมาฯ โดยเปรียบเทียบระหว่างระบบรถรางไฟฟ้าล้อเหล็กและระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง โดยจากการศึกษา พบว่า ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยางมีความเหมาะสม

ขณะโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศ ยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทางรวม 41.7 กม. วงเงิน 35,350 ล้านบาท ขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสม โดยเปรียบเทียบระหว่างระบบรถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก, ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง และ ระบบรถรางล้อยางแบบไม่มี Guide Rail (ART) หลังจากนั้นจะปรับปรุงรายงาน PPP เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา 36 และคณะกรรมการ รฟม. พิจารณาภายในเดือนตุลาคม 2568-มิถุนายน 2569

ประเมินว่าโครงการนี้จะเสนอต่อกระทรวงคมนาคม, สคร., คณะกรรมการ PPP และครม.เห็นชอบภายในเดือนกรกฎาคม 2569-กุมภาพันธ์ 2570 และเปิดคัดเลือกเอกชนภายในเดือนมีนาคม 2570-สิงหาคม 2571 โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนกันยายน 2571-พฤศจิกายน 2574 คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2574

"โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ยังมีประเด็นที่โครงการฯมีเส้นทางส่วนใหญ่อยู่บนถนน ทล. 402 ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักของจังหวัดภูเก็ต ดังนั้นหากดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ไปพร้อมกับโครงการถนนอื่นๆ จะทำให้เกิดปัญหาการจราจรอย่างมาก เบื้องต้นให้รฟม.บูรณาการ แผนดำเนินงานโครงการร่วมกับ กรมทางหลวง (ทล.) ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ให้เร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างถนน ทล. 4027 ให้แล้วเสร็จก่อนเพื่อบรรเทาปัญหาจราจรและใช้เป็นทางเลี่ยง ก่อนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าภูเก็ตต่อไป"

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตฯ จำนวน 21 สถานี มีแนวเส้นทางเริ่มจากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 21 - 24 เม.ย. 2567

Thailand's Ministry of Transportation Proposes 72 Billion Baht Plan for 3 Tram Lines
Source: Thansettakij
Date: Saturday, April 20, 2024 05:46

Thailand's Ministry of Transportation has unveiled a 72 billion baht plan to construct three new tram lines. The Mass Rapid Transit Authority (MRTA) will submit the results of the project's feasibility study in April. If approved, service could begin as early as 2031.

The Ministry of Transportation previously made plans for regional "tram trains" to address traffic congestion. However, a cost-saving review led the Ministry to order a redesign of the MRTA's plans, delaying the project by over three years.

Details of the Projects:

Chiang Mai: The 15.7-kilometer "Red Line" project (budget: 29,621 million baht) is currently in the detailed study design phase. The MRTA expects to present its findings and a PPP report by April 2024. Following further reviews, the proposal could reach the Cabinet for approval in 2026, with construction potentially starting in 2027 and service by 2031.

Nakhon Ratchasima: This 11.15-kilometer "Green Line" (budget: 7,242 million baht) is under review. The study and PPP report should be completed by April 2024, with the project potentially reaching the Cabinet for approval in 2026. Construction could then begin in 2027 and service by 2031.

Phuket: The longest of the lines at 41.7 kilometers (budget: 35,350 million baht ), this project is undergoing a study comparing different tram technologies. Upon completion of the PPP report, the proposal aims to reach the Cabinet for potential approval by early 2027. Construction could start in 2028 and service by 2031.

The MRTA has previously determined that rubber-wheeled electric trams would be the most suitable design for the Chiang Mai and Nakhon Ratchasima projects.

In Phuket, due to potential traffic disruption from construction, the MRTA will coordinate the project's implementation with the Department of Highways to ensure the timely completion of Highway 4027, which will serve as a traffic bypass.

Source: Thansettakij newspaper, issue 21 - 24 April 2024
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9
Page 9 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©