Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273505
ทั้งหมด:13584801
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องนารู้ : ประวัติการรถไฟหลวง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องนารู้ : ประวัติการรถไฟหลวง
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 8:43 pm    Post subject: เรื่องนารู้ : ประวัติการรถไฟหลวง Reply with quote

สวัสดีครับ...

คราวนี้มีเรื่องราวของรถไฟหลวง ซึ่งสมัยโน้นยังมีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงคมนาคมก่อนที่จะแปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจชื่อว่า "การรถไฟแห่งประเทศไทย" และมีเรื่องราวที่น่าสนใจตามขวบปีที่ผ่านไป แต่จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ต้องให้ผู้ที่สนใจได้อ่าน เป็นผู้ตัดสินล่ะครับ

เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติการรถไฟหลวง ผมได้มาจากบทความที่เรียบเรียงโดย หม่อมราชวงศ์กาจกำยำ สวัสดิกุล สำนักเลขานุการกรม ฝ่ายธุระการ กรมรถไฟหลวง ลงในหนังสือที่ระลึก "งานฉลองรถไฟหลวง ครบ ๕๐ ปี" เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ นับว่าเก่าแก่ก่อนที่ผมเกิดด้วยซ้ำไปครับ Razz

มาติดตามเรื่องราวของกรมรถไฟหลวงได้เลยครับ...

Click on the image for full size

ประวัติการรถไฟหลวง

หม่อมราชวงศ์กาจกำยำ สวัสดิกุล
สำนักเลขานุการกรม ฝ่ายธุระการ กรมรถไฟหลวง


Click on the image for full size

ในราชอาณาจักรไทยสมัยก่อนๆ ตลอดมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ไม่เคยมีเค้ารูปและโครงการอย่างหนึ่งอย่างใด ที่จะแสดงให้ปรากฎชัดว่า การคมนาคมทางบกในประเทศ จะมีการขนส่งโดยทางรถไฟของรัฐบังเกิดขึ้นเลย เพราะเวลานั้นประชาชนยังนิยมใช้สัตว์ เช่น โค กระบือ ม้า ช้าง และเกวียนเป็นพาหนะเพื่อประโยชน์ในการเดินทางและการลำเลียงสินค้าต่างๆ จากถิ่นหนึ่งไปยังอีกถิ่นหนึ่งโดยแพร่หลายทั่วๆ ไป ถึงกระนั้นก็ดี การขนส่งโดยทางรถไฟ ซึ่งยังไม่เป็นที่นิยมกันโดยแพร่หลายนั้น ก็ได้เริ่มมีชีวิตจิตใจขึ้นจนสำเร็จเป็นรูปร่างอันสมบูรณ์ ในรัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ โดยมีประกาศพระบรมราชโองการ สร้างทางรถไฟสยาม แต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมา ในรัชกาลนั้น ลงวันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ.๑๐๙ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๓๓

Click on the image for full size

อันความในประกาศพระบรมราชโองการฉบับนั้น แสดงพระราชดำริไว้ว่า “การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถไฟอาจชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกล ไปมาถึงกันยาก ให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การขนย้ายสินค้าไปมา ซึ่งเป็นการลำบาก ก็จะสามารถจะขนย้ายไปมาถึงกันได้โดยง่าย

เมื่อเป็นดังนี้ หัวเมืองใดอุดมดี แต่สินค้ายังไม่บริบูรณ์ เพราะติดขัดหนทางไปมายาก ไม่สามารถที่จะย้ายขนสินค้าที่จะบังเกิดขึ้น ไปค้าขายแลกเปลี่ยนกันที่หัวเมืองอื่นได้ ก็คงมีผู้อุตสาหะสร้างทำและเพาะปลูกสิ่งสินค้านั้นได้มากยิ่งขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎรมีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไป และทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชาตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตต์ให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก”


Last edited by black_express on 12/08/2013 7:44 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 8:52 pm    Post subject: Reply with quote

นี่เป็นส่วนหนึ่ง ตอนหนึ่งแห่งพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสร้างทางรถไฟสยาม ตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมาอันเป็นทางสายแรกของการรถไฟหลวง ในราชอาณาจักรไทยที่ได้สร้างขึ้นตามแนวทางที่ เลฟเตแนนเยเนอราล เซอร์แอนดรูคลาก รอแยลอินยิเนีย และบริษัทปันชาร์ต (Lt.General Sir Andrew Clark Rayal Engineer and Panchart Co.,) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำรวจและวางไว้ตามสัญญาเซอรเวทางรถไฟหลวง ซึ่งกระทำกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๐

จำเดิมแต่ประกาศพระบรมราชโองการในการสร้างรถไฟสยาม แต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมาได้เผยแพร่โดยทั่วไปแล้วเป็นเวลา ๑ ปี แต่ตลอดระยะเวลาที่ได้ล่วงไปแล้ว ๑ ปีนี้ บรรดาประชาราษฎร์ได้คอยอยู่ด้วยความกระวนกระวายว่า เมื่อไรจะได้ขึ้นรถไฟไปเมืองนครราชสีมา และได้แลเห็นความรุ่งโรจน์ของบ้านเมืองซึ่งจะทวีขึ้นในระหว่างท่ได้อาศัยหนทางรถไฟไปมา และลำเลียงสินค้าขึ้นล่องได้โดยสะดวกและรวดเร็วนั้น ความมุ่งมาดปรารถนาดังกล่าวของประชาชนชาวไทยก็ได้ประสบสัมฤทธิ์ผล ด้วยกระทรวงโยธาธิการ (ต่อมาเป็นกระทรวงคมนาคม) อันเป็นเจ้าสังกัดของกรมรถไฟ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ว่าจ้าง มิสเตอร์ ยี. มาเร แคมปเบลล์ (Mr. G maray Campbell) ซึ่งเป็นพ่อค้าใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษเป็นผู้ทำทางรถไฟหลวงแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองนครราชสีมามาตกลงกันเรียบร้อยแล้ว จึงได้เริ่มทำทางรถไฟหลวงต่อไป โดยกำหนดว่า วันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๔ เป็นวันที่จะเริ่มพูนดินถมทางรถไฟหลวง


Click on the image for full size

ครั้นถึงกำหนดวันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๔ เวลา ๑๗.๐๐ น.เศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์เริ่มการสร้างรถไฟหลวงในราชอาณาจักรไทย โดยทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินที่จะขุดเป็นพระฤกษ์แล้ว ทรงใช้เสียมเงินขนาดเล็กตักดินเทลงในเกวียนเล็กพอสมควรแล้ว โปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาฯ ทรงไสเกวียนลำเลียงดินพระฤกษ์ไปตามรางที่ซึ่งทอดไปโดยทางปรำ (ปะรำ) เมื่อถึงที่ที่จะสร้างทางรถไฟแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเทดินพระฤกษ์ลงถมบริเวณนั้น แล้วคนงานทั้งหลายได้ลงมือขุดดินตามทางที่กระทรวงโยธาธิกาได้ปักกรุยไว้

Click on the image for full size

นับจำเดิมแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีเริ่มการสร้างทางรถไฟหลวง ด้วยทรงพูนดินถมทางรถไฟทั้งสิ้น คือ ตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๔ เป็นต้นมาจนถึงในปีพุทธศักราช ๒๔๓๙ ซึ่งเป็นระยะทางห่างกัน ๕ ปีเศษ การก่อสร้างทางรถไฟหลวงสายนครราชสีมาส่วนหนึ่ง ก็สำเร็จพอที่จะเปิดการเดินรถได้ และสมควรจะเปิดให้มหาชนทั้งปวงโดยสารไปมาได้ตามปรารถนาแล้ว จึงในวันที่ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร โดยประทับตรงที่ได้เทมูลดิน ซึ่งทรงขุดไว้เป็นครั้งแรกเริ่มสร้างทางรถไฟในพุทธศักราช ๒๔๓๔ นั้น แล้วทรงกระทำพระฤกษ์ตรึงตะปูหมุดที่รางทอง รางเงิน ส่วนด้านเหนือให้ติดกับหมอนไม้มริดคาดเงินมีอักษรจารึก ส่วนทางด้านใต้ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถเป็นผู้ทรงตรึง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและชาวต่างประเทศทั้งชายหญิง ซึ่งมาประชุมอยู่ ณ ที่นั้นช่วยกันตรึงต่อไปจนแล้วเสร็จตลอดทั้ง ๒ ราง นับได้ว่าทางรถไฟหลวง ระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันมีระยะทางยาว ๗๑ กิโลเมตร ได้เชื่อมต่อกันแล้วแต่กาลบัดนั้น

Click on the image for full size

ครั้นเมื่อขบวนรถไฟที่จะใช้เป็นพระราชพาหนะนำเสด็จพระราชด้เนินเปิดการเดินรถเป็นพระฤกษ์เข้าจอดเทียบหน้าพลับพลาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนินไปยังขบวนรถไฟ ทรงเจิมรถพระที่นั่งแล้วเสด็จขึ้นประทับบนรถพระที่นั่ง รถไฟได้เริ่มใช้จักรเลื่อนรถพระที่นั่งออกจากกรุงเทพฯ ตรงไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุทธยา เพื่อเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในพระราชอาณาจักรเป็นปฐมฤกษ์ ต่อจากนั้น คือตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ จึงได้เปิดให้บรรดาประชาชาติไทยใช้โดยสารและลำเลียงสินค้าไปมาได้ตามปรารถนาสืบมา


Last edited by black_express on 12/08/2013 7:46 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

อุบัติการณ์เกี่ยวกับความสำเร็จของการคมนาคมด้านงานรถไฟของรัฐอันเป็นงานใหม่ที่ได้มีเป็นครั้งแรกในราชอาณาจักรไทยเมื่อครั้งกระโน้น นับว่าป็นปฐมแห่งการคมนาคมส่วนใหญ่และสำคัญอย่างยิ่ง วันอันเป็นมหาอุดมมงคลฤกษ์ คือ วันพระราชทานกำเหนิดการรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักรไทย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นวันที่การรถไฟหลวง แห่งราชอาณาจักรไทยได้เริ่มก่อร่างสร้างตัวนั้น แม้ได้ผ่านพ้นมาเป็นเวลานานปี นับได้เป็นระยะกึ่งแห่งศตวรรษ (ครบรอบ ๕๐ ปีบริบูรณ์) ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐ แล้วเช่นนี้ พระราชกรณียกิจอันสำคัญในด้านส่งเสริมการเศรษกิจของชาติ ก็ยังจารึกตรึงอยู่ในความทรงจำของกรมรถไฟและประชาชาติไทยตลอดมา และจะต้องกระชับอยู่ภายในความทรงจำของอนุชนตลอดไปโดยมิรู้ลืมชั่วกัลปาวสาน จึงเพื่ออนุสรณ์ถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ผู้ทอดพระเนตรเห็นการล่วงหน้าได้พระราชทานงานอันสำคัญและใหม่ที่สุดในรัชกาลของพระองค์ไว้ให้เป็นมฤดกอันถาวร กรมรถไฟจึงได้ถือเอาวันที่ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ เป็นวันกำเหนิดของกรมรถไฟตลอดมา และในวันที่ตรงกันดังกล่าวนี้ กรมรถไฟได้เคยประกอบการฉลองเป็นทางการ เมื่อคราวครบ ๓๖ ปีบริบูรณ์ ในพุทธศักราช ๒๔๗๕ มาแล้ว

Click on the image for full size

ความจริง กรมรถไฟ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตั้งขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ.๑๐๙ เป็นกรมขึ้นอยู่ในกระทรวงโยธาธิการ เพื่อเป็นหน้าที่จัดการทางรถไฟในราชอาณาจักรสยามทั่วไป และบังคับบัญชาตรวจตราทางรถไฟไปรเวต ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตไปแล้ว และซึ่งยังมีผู้มาขอรับพระบรมราชานุญาตอยู่ ทั้งเพื่อเป็นหน้าที่จัดการ ดูแลการก่อสร้างทางรถไฟสายโคราช หรือนครราชสีมาด้วย ในสมัยเมื่อกรมรถไฟอยู่ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการนี้ กิจการได้แยกออกเป็น ๒ กรม คือ กรมรถไฟสายเหนือ บังคับบัญชาทางสายฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยะ กรมรถไฟสายใต้ บังคับบัญชาทางสายฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในเวลานั้น หัวหน้ากรมรถไฟเป็นชาวต่างประเทศทั้งสองกรม และข้าราชการชั้นสูง ก็เป็นชาวต่างประเทศเป็นส่วนมาก มีคนไทยเป็นส่วนน้อย

Click on the image for full size

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ผู้เจริญรอยตามรัฐประศาสโมบายของรัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะให้สะดวกแก่การบังคับบัญชาและเป็นประโยชน์แก่การประหยัดพระราชทรัพย์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟที่แยกกันอยู่เป็นสองกรมนั้นเข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า กรมรถไฟหลวง ตั้งแต่วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๐ เป็นต้นมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการรถไฟหลวง

โดยพระปรีชาสามารถกอร์ปด้วยพระวิริยภาพอันแรงกล้าของพระองค์เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งพระองค์ท่านเป็นพระองค์แรกที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวง พระองค์ได้ทรงจัดการไม่แต่ให้การคมนาคมโดยทางรถไฟติดต่อเชื่อมถึงกันได้โดยสะดวกแต่ภายในพระราชอาณาจักรเท่านั้น ยังทรงเป็นผู้นำชื่อเสียงและเกียรติคุณของกรมรถไฟแห่งราชอาณาจักรไทยไปอุโฆษในต่างประเทศ จนได้รับความยกย่องในสมรรถภาพและประสิทธิภาพว่า เป็นกรมรถไฟไทยที่ไม่ค้องใช้วิศวกรชาวต่างประเทศ เป็นเหตุให้ประชาชาติในนานาประเทศสนใจในการเดินทางท่องเที่ยว หรือเพื่อธุรกิจอย่างอื่นเข้ามาในราชอาณาจักรไทยกันมากหลาย และไม่เฉพาะแก่การรถไฟเท่านั้นที่พระองค์ได้ทรงกอบเกื้อ หรือปลุกปล้ำทะนุบำรุงให้รุ่งเรืองวัฒนามาแต่สมัยนั้นจนกาลบัดนี้ ถึงในด้านอื่นๆ เกี่ยวกับการคมนาคมของประเทศทุกสาขา พระองค์ก็ได้ทรงฟื้นฟูให้ก้าวหน้าทันสมัยด้วยเหมือนกัน แนวนโยบายเกี่ยวกับการรถไฟหลวงที่ผู้บัญชาการกรมรถไฟพระองค์แรกได้ทรงวางไว้ กรมรถไฟก็ได้ถือเป็นหลักปฏิบัติและดำเนินการตามตลอดมาจนถึงกาลปัจจุบันนี้



Click on the image for full size

เมื่อคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟนี้ ทางรถไฟหลวงในราชอาณาจักรไทยมีอยู่ ๒ ขนาด คือ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาด ๑.๔๓๕ เมตร หรือขนาดที่เรียกกันว่าขนาดมาตรฐาน ส่วนทางรถไฟหลวงทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ขนาด ๑.๐๐๐ เมตร เท่ากับทางรถไฟที่ใช้ในแหลมมะลายูของอังกฤษ การมีทางรถไฟสองขนาดนี้ ย่อมมีความไม่สะดวกหลายประการ ทั้งในยุทธศาสตร์และการจราจรขนถ่ายเครื่องล้อเลื่อนก็สับเปลี่ยนใช้กันไม่ได้ ต้องมีกันคนละชุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดกำหนดให้กำหนดสร้างทางรถไฟสายใหม่เป็นทางขนาด ๑.๐๐๐ เมตร เท่ากับทางรถไฟที่ในแหลมมะลายู พม่า และอินโดจีน ส่วนทางรถไฟที่สร้างไว้เป็นทาง ๑,๔๓๕ เมตร นั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุมัติให้ค่อยๆ จัดการแก้ไขลดลงเป็นทางขนาด ๑,๐๐๐ เมตร ทีละตอนๆ ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ๑๐ ปี


Last edited by black_express on 12/08/2013 7:47 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 9:00 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

การแก้ทางขนาด ๑.๔๓๕ เมตร ลดลงลดลงเป็นขนาด ๑.๐๐๐ เมตรนั้น ได้กระทำโดยวิธีวางรางเส้นที่ ๓ ระหว่างรางเก่า ห่างจากรางเก่าอีกรางหนึ่ง ๑.๐๐๐ เมตร ใช้ได้สำหรับรถทั้งสองขนาด เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้ว ก็ได้ค่อยๆ เริ่มเอารางเส้นข้างนอกออกทีละตอน จนกว่าจะหมด ได้เริ่มกระทำการเช่นนี้ ทางสายตะวันออกเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พุทธสักราช ๒๔๖๓ และได้ทำต่อๆ กันไปเป็นลำดับแล้วเสร็จหมดตลอดถึงนครราชสีมา สวรรคโลก และเชียงใหม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ในพุทธศักราช ๒๔๗๓ คำนวนค่าใช้จ่ายในการนี้ ตกเป็นเงินรวม ๑,๕๔๘,๑๔๔ บาท

Click on the image for full size

เนื่องจากการที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางสายใหม่ และแก้ไขทางสายเก่าให้เป้นทางขนาด ๑.๐๐๐ เมตร เหมือนกันหมดแล้วทั่วทั้งประเทศแล้วเช่นนี้ จึงเพื่อจะจัดการเชื่อมทางรถไฟหลวงทั้ง ๒ ฝั่งให้ติดต่อกันโดยวิธีสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางเหนือกรุงเทพฯ รัฐบาลจึงได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจสร้างทางรถไฟข้ามแม่น้ำเชื่อมทางรถไฟสายเหนือ กับสายใต้เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ การสำรวจได้กระทำแล้วเสร็จ และเริ่มลงมือจัดซื้อที่ดินและทำการสร้างตังแต่วันที่ ๕ ตาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ ในปีเดียวกันทั้งหมด ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมนามาภิไธยเป็นนามสะพานนี้ไว้ว่า “สะพานพระรามหก” เพื่อเป็นที่ระลึกแห่งรัชสมัย

รัฐบาลได้ตกลงจ้างบริษัท เอส อา ตาบลิสมองต์ ไดย์ เด แห่งกรุงปารีสเป็นผู้สร้างรากและทำสะพาน ได้เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๙ และเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๙


http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2317

Click on the image for full size

ในสมัยนั้น ก่อนที่การรถไฟหลวงแห่งราชอาณาจักรไทยสายแรกจะอุบัติขึ้นนั้น ได้มีกิจการรถไฟราษฎร์ก่อกำเนิดดิเนินกิจการอยู่ก่อน คือ รถไฟสายปากน้ำ จากกรุงเทพฯ (ที่หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดสมุทรปราการ มีระยะทางยาว ๒๑ กิโลเมตร เปิดการเดินรถในปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ โดยได้รับหังสือสัญญาอนุญาตเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธสักราช ๒๔๒๙ นับตั้งแต่วันที่รถไฟสายปากน้ำเปิดเดินรถ และดำเนินกิจการมาถึงวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๙ ซึ่งเป็นวันครบกำหนด ๕๐ ปี แล้ว รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยจึงได้รับซื้อทรัพย์สินของบริษัทรถไฟสายนี้ ตลอดตนการเดินรางไฟฟ้าด้วย และกรมรถไฟได้รับโอนกิจการเดินรถไฟและรถรางไฟฟ้าในทางสายปากน้ำมาดำเนินกิจการต่อไปดังเดิม นับตั้งแต่วันสิ้นสุดสัญญาเป็นต้นมาถึงบัดนี้


ต่อจากนั้น ได้มีรถไฟราษฎร์สายคลองสาน – มหาชัย ระยะทางยาว ๓๓.๒๙๐.๐๐ กิโลเมตร และสายท่าจีน – แม่กลอง ระยะทางยาว ๓๓.๖๔..๐๐ กิโลเมตร ของบริษัทรถไฟแม่กลอง จำกัด อุบัติขึ้นโดยได้รับหนังสือสัญญาอนุญาต เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔ และวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ตามลำดับ เมื่อถึงวันกำหนดครบ ๕๐ ปี ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดแห่งหนังสือสัญญาอนุญาตแล้ว รัฐบาลในระบบประชาธิปไตยได้รับซื้อทรัพย์สินของบริษัทรถไฟสายนี้ ตลอดจนกิจการเดินรถรางไฟฟ้าด้วย ตามลำดับดังนี้

สายคลองสานไปมหาชัย ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๔
สายท่าจีนไปแม่กลอง ตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘

กรมรถไฟได้รับโอนกิจการเดินรถไฟและรถไฟฟ้าในทางรถไฟทั้งสองสายนั้น มาดำเนินกิจการสืบต่อไปมาถึงกาลบัดนี้


http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=737


Last edited by black_express on 12/08/2013 9:45 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

การก่อสร้างทางรถไฟหลวงบ่ายหน้าออกจากกรุงเทพฯ อันเป็นนครหลวงของราชอาณาจักร มุ่งตรงไปยังท้องถิ่นภูมิภาคต่างๆ เป็นสายๆ คือ สายตะวันออกฉียงเหนือ สายเหนือ สายใต้ สายตะวันออก และมีทางแยกจากทางใหม่เหล่านี้ออกไปเป็นสาขาๆ อีก ก็เนื่องจากสิ่งต่างๆ อันเป็นทรัพย์ในดินสินในน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นในท้องถิ่นภูมิภาคนั้นๆ อาทิ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร ปลายข้าว รำ ผลิตผลต่างๆ ตลอดจนสัตว์มีชีวิต อันเป็นบ่อเกิดในทางเศรษฐกิจของชาติ คอยกระตุ้นเติอนใจให้คิดถึงที่จะสร้างเพิ่มเติมให้ทวีขึ้นตามลำดับย ทั้งเป็นการเชื่อมขอบขันฑสีมาในราชอาณาจักร ตามตำบล หรือจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออกและภาคใต้ ให้มีการติดต่อถึงกันกับตัวจังหวัดที่เป็นศูนย์กลาง (กรงเทพฯ) โดยใกล้ชิด อันเป็นช่องทางที่จะกระทำให้อาณาประชาราษฎรซึ่งอยู่ในตำบลหรือจังหวัดต่างๆ ที่ทางรถไฟไปถึง มีทางสำหรับไปมาหากันและขนถ่ายสรรพสินค้าแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้ง่ายและสะดวก ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นอันแสดงว่า การสร้างทางรถไฟหลวงในราชอาณาจักรแต่ยุคแรกถึงยุคปัจจุบัน มีจุดประสงค์ที่จะพึงเป็นไปได้ตามเหตุการณ์และกรณีแวดล้มมาเป็นรายเรื่องไป เช่น

๑) เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
๒) เพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศ
๓) เพื่อสะดวกในการคมนาคม
๔) เพื่อเปิดภูมิประเทศหรือเปิดโอกาสให้ประชาชาติออกไปประกอบการทำมาหากินในถิ่นไกลๆ
๕) เพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์


นับตั้งแต่การรถไฟหลวงได้เริ่มก่อร่างสร้างกำเนิด และดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน มีกิจการต่างๆ คลี่คลายเจริญก้าวหน้าเขยิบขึ้นมาตามลำดับ กล่าวโดยเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญ คือ

สมัยแรก ตอนกิจการรถไฟได้ดำเนินการภายใต้การปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์


Click on the image for full size

ก. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)

ภายหลังเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีเริ่มการก่อสร้างทางรถไฟและเปิดการเดินรถไฟหลวงแล้ว ได้ทรงสร้างและขยายกิจการรถไฟเพิ่มเติมอีก ดังนี้

๑. สร้างทางจากบางกอกน้อย (จังหวัดธนบุรี) ไปยังจังหวัดเพชรบุรีแล้วเสร็จ ประกอบพระราชพิธีและเสด็จพระราชดำเนินเปิดการเดินรถ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๔๖
๒. สร้างทางสายเหนือ ต่อจากชุมทางบ้านภาชี ไปจังหวัดเชียงใหม่ มีทางแยกไปสวรรคโลก
๓. สร้างทางสายตะวันออกไปแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา
๔. สร้างทางสายแม่น้ำไปช่องนนทรี
๕. สร้างทางสายใต้จากจังหวัดเพชรบุรีลงไปจดชายพระราชอาณาเขตถึงปาดังเบซาร์และสุไหงโกลก มีสายแยกจากทุ่งสงไปกันตัง ในจังหวัดตรัง จากเขาชุมทองไปจังหวัดนครศรีธรรมราช และแยกหาดใหญ่ (อู่ตะเภา) ไปจังหวัดสงขลา
๖. ขยายบริเวณย่านสถานีกรุงเทพลงไปทางด้านใต้ เพื่อสร้างที่ทำการรับส่งสินค้าและสถานีใหม่ขึ้นที่หัวลำโพง


Last edited by black_express on 12/08/2013 7:52 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ข. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)

การรถไฟหลวงแห่งราชอาณาจักร ได้รับการปรับปรุงฟื้นฟูขยายตัวให้ทันสมัย และได้รับการสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายสายเพื่อให้เป้นการเหมาะสมกับการเดินรถที่ได้คลี่คลายขึ้นเป็นอันมาก เริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๖๐ เป็นต้นมา กล่าวคือ

๑. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟที่แยกกันเป็น ๒ กรมแต่ยุคแรก เข้าเป็นกรมเดียว เรียกว่า กรมรถไฟหลวง แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเป็นผู้บัญชาการ
๒. การก่อสร้างได้เปลี่ยนมือจากชาวต่างประเทศมาเป็นวิศวกรไทยควบคุมการเจาะอุโมงค์รถไฟลอดเขาขุนตาล ทางสายเหนือที่ค้างอยู่ให้บรรลุความสำเร็จเรียบร้อย ซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในราชอาณาจักรไทย โดยมีความยาวถึง ๑,๓๖๒.๐๔ เมตร และเปิดการเดินรถตลอดทางสายเหนือ คือ จากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๔
๓. ทรงวางหลักการปกครองรถไฟของประเทศให้มีระเบียบและเข้าสู่สภาพของการพาณิชกรรมโดยรอบคอบ อนุโลมเข้าหาวิธีการซึ่งเข้าแนวทำนอง อันดีเช่นประเทศอื่นๆ โดยออกพระราชบัญญัติจัดสร้างทางรถไฟและทางหลวง .ศ.๒๔๖๔ อันเ)นพระราชบัญญัติควบคุมคุ้มครองการรถไฟทั้งรถไฟราษฎร์ รถไฟรัฐ และทางหลวงในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้อยู่
๔. โอนกรมทางมาขึ้นอยู่ในสังกัดกรมรถไฟตามโครงการคมนาคมของประเทศที่ได้ทรงจัดวางไว้
๕. วางโครงการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาวิศวกรรมช่างโยธา ช่างกล ช่างไฟฟ้า และการพาณิชย์ในนานาประเทศ
๖. สร้างทางรถไฟสายตะวันออกต่อจากแปดริ้วไปถึงอรัญประเทศ
๗. สร้างทางสายตะวันออกเฉียงเหนือจากนครราชสีมา ไปถึงวารินทร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี และทำทางแยกจากบ้านบุ่งหวายไปบ้านโพธิมูล

Click on the image for full size

๘. สร้างสะพานพระรามหก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและสร้างทางรถไฟเชื่อมทางฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกและเป็นสายเดียวกัน และทำการแปลงราง เปลี่ยนขนาดของทางสายฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด ซึ่งเป็นทาขนาดกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร ให้เป็นทางขนาดแคบ ๑.๐๐๐ เมตร ขนาดเดียวกันกับทางรถไฟสายทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา การแปลงรางนี้นับว่าเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ ทำให้ใช้เครื่องล้อเลื่อนขนาดเดียวกันได้ทั่วทุกสายตลอดราชอาณาเขต


Click on the image for full size

๙. ประกอบพระราชพิธีและเสด็จพระราชดำเนินเหยียบตึกที่ว่าการกรมรถไฟ ที่ก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นตึก ๒ ชั้น ประสานกับตึกเบธเก้เดิม
๑๐. เปิดการเจรจาทำสัญญาการเดินรถไฟร่วมทางผ่านเขตแดนระหว่างราชอาณาเขตไทยกับสหรัฐมะลายู
๑๑. เปิดเดินรถด่วนระหว่างประเทศในทางสายใต้ ติดต่อกับรถไฟสหรัฐมะลายู จากกรุงเทพฯ (เวลานั้นจากธนบุรี) ถึงไปร เชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ เปิดเดินขบวนรถด่วนสายเหนือระหว่างกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่
๑๒. เปิดบ้านพักให้ผู้โดยสารพักแรมที่สถานีบางกอกน้อย หาดใหญ่ ลำปาง และเชียงใหม่
๑๓. ย้ายทางแยกไปสงขลาจากอู้ตะเภา ไปรวมแยกออกจากชุมทางหาดใหญ่ เพื่อให้ทางสายใต้ที่แยกไปปาดังเบซาร์ สุไหงโกลก และสงขลา รวมอยู่ที่ชุมทางแห่งเดียวกัน
๑๔. สร้างโรงแรมหัวหิน เป็นที่พักตากอากาศชายทะเล และสร้างสนามกอล์ฟหลวงขึ้นที่บริเวณหน้าสถานีหัวหิน
๑๕. เพื่อให้ชาวบ้านราษฎรตามทางรถไฟเล็กสายหัวหวาย ซึ่งเป็นรถไฟขนฟืนจากในย่านมาใช้ในการรถไฟ ใช้รถไฟสายนี้ไปมายังสถานีหัวหวายได้ ให้เปิดทางรถไฟสายนี้รับส่งคนโดยสารและลำเลียงสินค้า


Last edited by black_express on 13/08/2013 7:37 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 9:17 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ค. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗)

การขยายงานและความก้าวหน้าในวงการรถไฟ ได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ มีที่ควรกล่าว คือ

๑. ประกอบพระราชพิธีและเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานพระรามหก เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๙ สะพานนี้เป็นสะพาน ๕ ช่อง มีความยาว ๔๔๒.๐๘ เมตร
๒. สร้างโรงแรมราชธานีเสร็จ และเสด็จพระราชดำเนินเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๐
๓. ทรงดำริให้สร้างทางคู่จากกรุงเทพฯ ถึงชุมทางบ้านภาชี เพื่อให้ขบวนรถไฟได้เดินเข้าออกสถานีกรุงเทพฯ โดยเข้าทางหนึ่ง ออกทางหนึ่ง ขจัดเสียซึ่งความคับคั่งและยังความปลอดภัยให้แก่การเดินรถไฟ
๔. ทรงจัดให้มีการสร้างสะพานข้ามทางรถไฟเชื่อมกับสะพานกษัตริย์ศึก เพื่อความปลอดภัยแก่การจราจรของประชาชนและยวดยาน ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Click on the image for full size

๕. ทรงจัดให้มีการค้นคว้าหาน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
๖. ทรงจัดให้มีการสำรวจตรวจน้ำตก เพื่อใช้แรงน้ำตกเป็นกำลังทำอุตสาหกรรมไฟฟ้า มีที่จังหวัดกาญจนบุรี เชียงใหม่ และที่อื่นๆ อีก โดยจ้างวิศวกรผู้ชำนาญการมาจากต่างประเทศ
๗. ทรงนำรถจักรดีเซลไฟฟ้า สั่งซื้อเข้ามาใช้ลากจูงขบวนรถ ยังประโยชน์ในทางประหยัดค่าใช้จ่าย
๘. ทรงจัดให้เปลี่ยนแปลงย่านสถานีกรุงเทพ เพื่อให้การจัดรถ และการเดินรถ ทั้งการบรรทุกค้า ขนส่งไม่ให้สับสนกัน


Click on the image for full size

นับตั้งแต่วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินและประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวง จากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นทางสายแรกในราชอาณาจักรไทยเป็นต้นมา ถึงก่อนหน้าวันที่ราชอาณาจักรไทยจะเปลี่ยนระบอบการปกครอง มีทางรถไฟเปิดการเดินรถแผ่ขยายออกไปแล้ว ๒,๙๙๖ กิโลเมตร กล่าวคือ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๗๗๔ กิโลเมตร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพิ่มขึ้นอีก ๑,๘๐๔ กิโลเมตร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพิ่มขึ้นอีก ๔๑๙ กิโลเมตร


Last edited by black_express on 12/08/2013 9:41 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 9:19 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

สมัยปัจจุบัน ตอนกิจการรถไฟได้ดำเนินการภายใต้การปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ

นับตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ อันเป็นวันที่ราชอาณาจักรไทยได้เริ่มเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เข้าสู่การปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญเป็นต้นมาจนถึงกาลเท่าทุกวันนี้ ซึ่งนับเป็นเวลา ๑๔ ปีเศษ ก่อให้กิจการรถไฟทั้งหลายในด้านการก่อสร้าง และในทางรัฐพาณิชย์ ได้เจริญไพศาลขยายตัวออกไปเป็นเอนกประการ คือ
๑. ทำการขยายย่านนครราชสีมาให้เหมาะสมกับโครงการที่วางไว้
๒. ต่อทางสายขอนแก่น ทำการก่อสร้างถึงจังหวัดอุดรธานีแล้วเสร็จ เปิดการเดินรถ เมื่อวันชาติปี ๒๔๘๔
๓. ออกพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างสถานที่เพิ่มเติมที่สถานีบางซื่อ ให้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ
๔. ขยายบริเวณและก่อสร้างโรงงานสถานที่ที่โรงงานมักกะสันเพิ่มเติม และได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ
๕. ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนเมื่อปี ๒๔๘๑ เพื่อสร้างทางรถไฟแยกจากทางสายใต้ที่สุราษฎร์ธานี ผ่านพังงาไปตรัง กระบี่


๖. เปิดการทำศิลามาใช้ในกิจการของกรมรถไฟที่ปากเพรียว ตามที่ได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน พ.ศ.๒๔๘๒
๗. ก่อสร้างตึกที่ทำการกรมใหม่เป็นตึก ๓ ชั้นตามแบบสถาปัตยกรรมทันสมัย ประสานกับตึกที่ทำการเดิม เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแล้วเสร็จ ประกอบพิธีเปิดเมื่อวันชาติ ปี ๒๔๘๓

Click on the image for full size

๘. ก่อสร้างโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟที่มักกะสัน ซึ่งเป็นสถานศึกษาแห่งแรกที่สอนวิชาการรถไฟโดยเฉพาะแล้วเสร็จ ประกอบพิธีเปิดเมื่อวันชาติ ปี ๒๔๘๔
๙. เชื่อมการคมนาคมในท้องที่อำเภอท่าตะโกให้ติดต่อกับรถไฟเล็กสายหัวหวาย ที่สถานีหัวหวาย เมื่อปี ๒๔๘๔
๑๐. จัดการขยายย่านสถานีบางซื่อให้กว้างใหญ่ เพื่อให้การเดินรถไฟตามทางสายเหนือ สายใต้ และสายตะวันออก ติดต่อร่วมทางกันได้และรับกัน ได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อทำทางเชื่อมจากบางซื่อไปคลองตัน
๑๑. ทำทางคู่จากกรุงเทพฯ ถึงชุมทางบ้านภาชีแล้วเสร็จ และเปิดการเดินขบวนรถ เมื่อวันชาติ ปี ๒๔๘๔
๑๒. เชื่อมทางรถไฟสายอรัญประเทศ กับสายพนมเป็ญ – มงคลบุรี ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ รัฐบาลอินโดจีนและรัฐบาลไทยได้ตกลงจะสร้างทางรถไฟโดยต่างฝ่ายต่างต่อจากสายของตนที่มีอยู่แล้ว ไปยังชายเขตแดนในระยะเวลาอันเร็วที่สุด โดยมีสถานีร่วมอยู่ที่นั่น กล่าวคือ ฝ่ายไทยจะสร้างต่อจากสถานีอรัญประเทศไปยังชายเขตแดน และฝ่ายอินโดจีนจะสร้างต่อจากสถานีมงคลบุรีในทางรถไฟสายพนมเป๊ญ – มงคลบุรี มายังชายเขต เพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้าและการคมนาคม ก่อสร้างและวางรางในสายประธานแล้วเสร็จถึงชายเขตแดนเมื่อเดือน ตุลาคม ๒๔๘๓

Click on the image for full size

๑๓. ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบ้านโป่งตามเส้นทางถึงอำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อปั ๒๔๘๕ เพื่อสร้างทางสายใหม่ แยกจากทางรถไฟสายใต้ที่หนองปลาดุก ก.ม.ที่ ๖๔.๐๕๐ ตรงไปยังพระเจดีย์สามองค์ เชื่อมติดต่อกับทางรถไฟของประเทศพม่า

ตลอดระยะเวลานี้ มีทางรถไฟเปิดการเดินรถเพิ่มขึ้นอีก ๒๘๙ กิโลเมตร และอยู่ในระหว่างก่อสร้างอีก ๒๒๑ กิโลเมตร


Last edited by black_express on 12/08/2013 9:47 am; edited 7 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/08/2013 9:22 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

กิจการรถไฟหลวงที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ต้น จนได้รับการสถาปนาปรับปรุงฟิ้นฟูให้ทันสมัย ประสพความรุ่งเรืองก้าวหน้า มีสมรรถภาพดีตลอดมาทุกยุคทุกสมัยจนตราบเท่าทุกวันนี้ จะเว้นกล่าวเสียไม่ได้ว่า ในการปรับปรุงนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีส่วนร่วมอยู่ด้วยมิใช่น้อยตลอดถึงท่านผู้บัญชาการรถไฟ และท่านที่ได้เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟคนต่อๆ มา ถึงปัจจุบัน

Click on the image for full size

เนื่องจากการบำรุงรักษาทางและล้อเลื่อนมีสมรรถภาพและประสิทธิภาพดี เป็นเหตุให้การเดินทางโดยขบวนรถไฟได้รับความสะดวกและรวดเร็วทันใจมากขึ้น เช่น ในสมัยแรกเมื่อทางการใช้รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถด่วนสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงปาดังเบซาร์ ต้องเวลาถึง ๓๑ ชั่วโมง ๒๖ นาที เที่ยวกลับ ๓๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที ภายหลังเมื่อได้เปลี่ยนนำรถจักรดีเซลไฟฟ้ามาทำการลากจูงขบวนรถด่วนแล้ว เที่ยวไปจากกรุงเทพฯ คงใช้เวลาเพียง ๒๖ ชั่วโมง ๓๐ นาที และเที่ยวกลับจากปาดังเบซาร์ ๒๖ ชั่วโมง ๕๕ นาที เป็นอันประหยัดเวลาเดินทางได้เที่ยวละเกือบ ๕ ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการลากจูง ทั้งความสกปรกจากเถ้าถ่านของการใช้ฟืนก็หมดไป
จริงอยู่ กิจการรถไฟหลวงในราชอาณาจักรไทยได้ดำเนินก้าวหน้าเจริญขึ้นมาเป็นลำดับ นับว่าเปนการทันสมัยแล้วนั้น ครั้นราชอาณาจักรไทยตกอยู่ในภาวะสงคราม เป็นเหตุให้กิจการรถไฟได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม คือ บรรดาอาคารบ้านพัก อาคารสถานี สะพาน ล้อเลื่อน โรงงาน และทางรถไฟ ฯลฯ ได้รับความเสียหายจากภัยทางอากาศทั่วถึงกันทุกปห่ง คือทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นภูมิภาค คำนวนค่าเสียหายทั้งสิ้นตามราคาเดิม เมิ่อก่อนสงคราม ตกเป็นเงินประระมาณ ๓๗,๓๓๓,๑๐๐ บาท หากคำนวนตามราคาปัจจุบันจะสูงขึ้นอีกประมาณ ๑๔ เท่า มีพนักงานรถไฟได้รับอันตรายจากภัยสงครามและประสบภัยทางอากาศ เป็นอันตรายถึงสิ้นชีวิต ๑๐๓ คน บาดเจ็บ ๙ คน และถึงความสิ้นเนื้อประดาตัว ๑,๓๗๐ คน

Click on the image for full size

เมื่อการสงครามได้ผ่านพันไป และราชอาณาจักรไทยกลับคืนเข้าสู่สันติภาพแล้ว คือ นับตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ อันเป็นวันที่ได้มีพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพเป็นต้นมา กิจการรถไฟในราชอาณาจักรก็ได้รับการบูรณะส่วนที่เสียหายเนื่องจากภัยสงครามให้กลับคืนสู้สภาพดีโดยสมบูรณ์ต่อไป และกิจการต่างๆ ก็ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริจากรัฐบาลด้วยดียิ่ง เป็นที่หวังได้ว่า ในภายภาคหน้าอันใกล้ชิดนี้ กิจการรถไฟหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย จะดำเนินขึ้นสู่ความวัฒนาถาวรไพศาล สมดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ผู้ทรงริเริ่มพระราชทานกำเนิดการคมนาคมโดยทางรถไฟของรัฐ อันเป็นสาธารณูปโภคเครื่องชูเกียรติ ขึ้นสำคัญและใหญ่ยิ่งนี้สืบไป


(จากหนังสือ "งานฉลองกรมรถไฟหลวง ครบ ๕๐ ปี" พ.ศ.๒๔๙๐)
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 12/08/2013 9:38 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณพี่ตึ๋งที่นำเรื่องราวประวัติศาสตร์กิจการรถไฟไทย มาเรียบเรียงให้ได้รับชมกัน ณ ที่ นี้ครับ Smile

เห็นการสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ ขยายเส้นทางเดิมอย่างต่อเนื่องในยุค ๕๐ ปีแรกแล้ว น่าใจหายครับที่นับจากยุคนั้นมาแล้ว ทางรถไฟสายใหม่ และการขยายเส้นทางเดิมเกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเกิดของถนน Embarassed
_________________
นสน.าย./อ.ตุ้ย/อ.หลวงอัคคีเทพอาณัติ/
http//:www.facebook.com/VISIT-RAILWAY-MUSEUMS-1521959098131925/
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©