Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258361
ทั้งหมด:13569638
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมบันทึกมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมบันทึกมักกะสัน
Goto page 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2013 12:34 am    Post subject: รวมบันทึกมักกะสัน Reply with quote

เมื่อวันที่มีการอภิปรายเรื่องมรดกอุตสาหกรรมที่ป๋านัฐไปพูดที่ม.ศิลปากร เมื่อ ต้นเดือนสิงหาคม ปีนี้ ทำให้ผมต้องรวบรวมบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับมักกะสัน ไว้ในที่นีั้ โดยแยกมาต่างหาก -


วันนี้อ่านหนังสือเรื่อง Twentieth Century Impressions of Siam: Its History, People, Commerce, Industries and Resource ฉบัีบ Reprint ปี 1994 จากต้นฉบับ ปี 1908 ทำให้ได้รู้ว่า

บริษัท A. J. Corbett & Co. บริหารโดย นาย บริษัท A. J. Corbett วิศวกรชาวสกอตต์ จาก Howarth Erskine Ltd. ที่ทำงานให้ Howarth Erskine Ltd. ตั้งแต่ปี 1900 ถึง 1902 ต่อมาได้ลาออกไปทำงานที่ Straits Engineering Syndicate ที่สิงคโปร์อยู่ 2 ปี ก่อน ทำงานให้ บริษัทผู้รับเหมาของตัวเองที่กรุงเทพ ในปี 1904

บริษัทนี้ได้รับเหมาทำงานให้กรมรถไฟหลวง ดั่งนี้

1. รับเหมาจัดหาวัสดุก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่มักกะสัน โดย สร้างโรงซ่อมรถจักรไอน้ำ ขนาด 5 ช่วง กว้างยาวสูง 138 ฟุต 6 นิ้ว x 354 ฟุต x 29 ฟุต 6 นิ้ว สำหรับ โรงกลาง และ กว้างยาวสูง 138 ฟุต 6 นิ้ว x 354 ฟุต x 20 ฟุต สำหรับโรงด้านข้าง 4 โรง โรงซ่อมรถจักรไอน้ำดังกล่าว มีเครน 10 ตัน สำหรับยกรถจักรไอน้ำ 2 ตัว มี Transporter และ Traveling Table (ก็คือเจ้า Travelator นั่นเอง) โรงงานแห่งใหม่ที่มักกะสันที่กำลังสร้างนี้ ปููหลังคาสังกะสี (Corrugated Iron roof) และ ใช้กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก

2. ติดตั้งสะพานเหล็กให้ทางรถไฟสายตะวันออก กรุงเทพ - แปดริ้ว 10 สะพาน โดยสะพานที่ยาวที่สุดเป็นสะพานเหล็ก 4 ช่วง ยาว 4 x 10.00 เมตร ข้ามคลองหัวตะเข้

3. ติดตั้งสะพานปรมินทร์ข้ามแม่น้ำน่าน ยาว 262 เมตร แบบ cantilever หนัก 600 ตัน ซึ่งสร้างให้โดย บริษัท คลีฟแลนด์บริดจ์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด (Cleveland Bridge and Engineering Company Limited.) แห่ง ดาร์ลิงตัน ประเทศอังกฤษ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2013 1:27 am    Post subject: Reply with quote

ส่วนกรณีข้อมูลโรงงานมักกะสัน ช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา นั้น เนื่องจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่านไม่ยอมให้ทำสำเนาเด็ดขาด ถึงขึ้นตีตราเอกสารเอาไว้ ตอนนี้เท่าที่ทำได้ก็คือ คัดเฉพาะใจความสำคัญไปก่อน โดยมีเลขหมวดเอกสารกำกับไว้เพื่อให้สะดวกแก่การสืบค้น - ไว้สบโอกาสจะเอาแลปท็อป เข้าไปแล้วพิมพ์ เอกสารเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ ออกมา เสียค่าธรรมเนียมค่าไฟฟ้าสำหรับแลปท้อป หรือไอแพด วันละ 100 บาทเอง แต่ที่แน่นอนที่สุดคือ เขาห้ามเอากล้องถ่ายรูปหรือเครื่องมือ ที่สามารถถ่ายรูปได้เพื่อคัดลอกเอกสารที่ตีตราห้าม โดยเด็ดขาด

//----------------------------------------------------------------------

อารัภบทมามากแล้ว เข้าเรื่องเลยดีกว่า

1. เอกสารเลขที่ บก. สูงสุด 2.4.1.5/21 กล่อง 3 การย้ายโรงงานมักกะสัน (15 มกราคม 2487 - 4 กรกฎาคม 2488) ทำให้ทราบว่า ในการย้ายโรงงานออกตามภูมิภาคนั้น แม้ว่าทางกองทัพญี่ปุ่นจะเห็นชอบในหลักการ ก็จริง แต่โรงงานมักกะสัน จะต้องเหลือสมรรถภาพในการซ่อบบำรุงรถโดยสารไม่ต่ำกว่า 50% มิฉะนั้นจะมีปัญหากับกองทัพญี่ปุ่นแน่นอน

15 พฤศจิกายน 2487 พลโทอิชิดา (นี่เขียนตามเอกสารในสมัยนั้นนะครับ) มาตรวจสภาพโรงงานมักกะสันที่ ที่โดนระเบิดทำลายเมื่อ คืนวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2487 ทำให้ ทราบว่า เครื่องจักรต่อไปนี้ในโรงงานมักกะสัน ชำรุดเสียหายต้องหาทางซ่อมแซมหรือหาเครื่องจักรที่เท่าเทียมกันมาเปลี่ยนแทนของเก่าที่โดนระเบิดพังยับเยินจนเกินซ่อม ตามบัญชีรายการต่อไปนี้

1) 1 Set of DC power supply either engine driven set complete with switch plant or substation set with switching of any type (Rotary converter motor generator set) to be used with 3 phase 3300 Volt AC with the power generation at 350 KW at 220 Volt DC

2) 1 Set of Variation speed DC Shunt Motor 500-900 RPM - 220 Volt - 7.5 Horse Power with controller

3) 1 Set of DC Shunt Motor 1000 RPM - 220 Volt - 10 Horse Power with Starter Equipped with overload and No Volt Release

4) 1 Set of DC Shunt Motor 800 RPM - 220 Volt - 6.5 Horse Power with Starter Equipped with overload and No Volt Release

26 ธันวาคม 2487 กองทัพญี่ปุ่นได้ส่งอุปกรณ์เหล่านี้ มาให้ กรมรถไฟ

1) เบ้า 70 P 10 ลุก
2) เชื่อกอัลเบตอสขนาด 3/8 นิ้ว
3) มอเตอร์ไฟฟ้า 10 แรงม้า 220 โวลต์ 39 แอมแปร์ เลขที่ 6266, 60665, 62669 ทำในปี 1936 จำนวน 3 เครื่อง

3 เมษายน 2488 หลวงศิลปวิธานโกวิท ได้ส่งหนังสือไปยังกรมประสานงานพันธมิตรทวงว่ากองทัพญี่ปุ่น DC power supply ยังไม่เอามาส่งให้กรมรถไฟ เพื่อใช้ซ่อมแทนของเดิมที่แม้จะซ่อมไปแล้วครั้งหนึ่งแต่มาโดนระเบิดซ้ำ ทำให้ซ่อมไม่ได้อย่างสิ้นเชิง

17 มิถุนายน 2488 DC power supply ตกมาถึงแล้วแต่ เนื่องจากสถานการณ์สงครามยังไม่สิ้นสุด ญี่ปุ่นจึงดำริให้ตั้งเครื่อง กำเนิดไฟฟ้า และ DC power supply อยู่นอกเขตโรงงานมักกะสัน โดยญี่ปุ่น จะเช่าที่ ริมถนนราชวิถี และให้กรมรถไฟไปหาเสามาปัก พาดผ่านซอยรางน้ำ ไปออกโรงงานมักกะสันและออกเงินให้ ซึ่งการปักเสาไฟฟ้านี้ที่สุดก็ให้ โรงไฟฟ้าหลวงสามเสนปักให้เพราะมีความชำนาญกว่าแต่ต้องแจ้งล่วงหน้า 1 วัน

แต่เนื่องจากการนี้เป็นการตกลงกันเอาเองระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและโรงงานมักกะสัน โดยกรมรถไฟไม่ได้รู้ไม่ได้เห็น แต่พอมามีเรื่องการเกี่ยงกันออกค่าเช่าที่ดิน เรื่องเลยแดงขึ้นมา ทำให้ต้องเอาเรื่องเข้าคณะกรรมการรถไฟ ที่สุด ญี่ปุ่นเห็นว่ายุ่งยากนั้น ก็เลยงดการตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกเขตโรงงานมักกะสัน ให้กรมรถไฟจัดหาที่ภายในเขตโรงงาน ตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และหาวิธีป้องกันลูกระเบิดได้


Last edited by Wisarut on 26/08/2013 9:00 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2013 7:17 am    Post subject: Reply with quote

กระทรวงกลาโหม ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บรักษาเอกสารกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ยังไม่ได้"ปรับชั้นความลับ"ของเอกสารสมัยสงครามโลกฯ กระมังครับ
เนื่องจากเกรงจะมีการนำภาพถ่ายเอกสารไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเอกสารเหล่านี้"ขายได้"ครับ คล้าย ๆ กับภาพถ่ายทางอากาศการทิ้งระเบิดถนน สะพานต่าง ๆ ที่มีขายอยู่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ของต่างประเทศ

ตรงนี้ก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งเหมือนกันครับในการศึกษาวิจัยเอกสารจดหมายเหตุ เพราะที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างเห็นได้ชัดแล้วว่าเอกสาร ภาพถ่ายชุดของคุณ Peter Williams-Hunt และของอาจารย์ Robert Larimore Pendleton ฟิล์มภาพยนตร์เก่า ๆ ตลอดจนบันทึกของเจ้ากรมไวเลอร์ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่นั้นมีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์มากน้อยเพียงใด บางทีเอกสารสำคัญมีอยู่ แต่ไม่มีใครเข้าถึงแล้วนำออกมาเผยแพร่นั่นเองครับ

ผมเองก็ไม่อยากต่อว่าตำหนิทางหอจดหมายเหตุฯ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้บริการเอกสารเหล่านี้ครับ เพราะบางที่ก็เป็นวัตถุประสงค์ของเจ้าของเอกสารเอง อย่างหอภาพยนตร์แห่งชาติก็เช่นเดียวกัน ภาพยนตร์เรื่อง แสนรัก ปี 2510 ที่เจ้าของฟิล์มนำไปมอบให้หอภาพยนตร์แห่งชาติ ก็ห้ามมิให้ทำสำเนาฟิล์มเผยแพร่ แต่หอภาพยนตร์สามารถฉายให้ประชาชนชมได้ (เจ้าของฟิล์มหมายถึงคนที่มีฟิล์มอยู่ในครอบครอง ไม่ได้หมายถึงเจ้าของหนังหรือผู้สร้างหนังนะครับ)

ขอบคุณคุณวิศรุตที่มุมานะเอาเอกสารออกมาเผยแพร่ครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 13/04/2014 3:49 pm    Post subject: ประวัติโรงงานมักกะสัน ตามที่อาจารย์ปรัญญา ขอให้ผมเรียบเรียง Reply with quote

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กรมรถไฟหลวงสังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการ นั้น ประกอบด้วยทางรถไฟที่อยู้ด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันได้แก่ ทางรถไฟสายนครราชสีมา ทางรถไฟสายเหนือ ที่แยกจากทางรถไฟสายนครราชสีมา ที่บ้านภาชี และ ทางรถไฟที่อยู่ด้านตะวันตกของ แม่น้ำเจ้าพระยาอันได้แก่ทางรถไฟสายเพชรบุรี ในเวลานั้น มีการตั้งโรงงานสำหรับซ่อมรถจักรและรถพ่วง ณ บริเวณ ที่ต่อมาเป็นอาคารสถานีกรุงเทพ ซึ่งเปิดใช้งานพร้อมกับการเปิดการเดินรถกรุงเทพ - กรุงเก่าแม้ว่ากว่าโรงงานจะเสร็จสมบูรณ์จริงๆ ก็ปี รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) โดยอาคารสถานีกรุงเทพหลังเดิม ที่เป็นเรือนไม้นั้นอยู่บริเวณหลังกรมไฟหลวง ณ บริเวณ ที่ ตั้งอนุสาวรีย์ปฐมฤกษ์การรถไฟไทย ส่วนทางรถไฟสายเพชรบุรี นั้น มีโรงงานเล็กๆ ที่ย่านสถานี บางกอกน้อย (สถานีธนบุรี) ท่ใช้ในการซ่อมรถจักรรถพ่วงสำหรับทางสายเพชรบุรีนี้เอง

ต่อมาเมื่อ เปิดการเดินรถได้ขยายถึงปากน้ำโพ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) และจะขยายไปถึง พิษณุโลกและแปดริ้ว เมื่อ ๒๔ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ที่ นับอย่าง ปัจจุบันต้องปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เนื่องจากเป็นต้นปี ค.ศ ๑๙๐๘ แล้ว นั้น ทำให้อาคารสถานีกรุงเทพที่เป็นเรือนไม้ ไม่สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารและสินค้าที่ทวีจำนวนขึ้นได้

ดังนั้นจึงได้ขยายย่านสถานีกรุงเทพให้กว้างขวางออกไป และ สร้างอาคารสถานีกรุงเทพให้เป็นศรีสง่าแก่พระนคร โดยสามารถเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมได้สะดวกกว่าเดิม จากแต่เดิมต้องเดินทางจากถนนหลวง หรือถนนกรุงเกษมที่ต้อง เดินทางข้ามทางรถรางสายหัวลำโพงซึ่งเสี่ยงอันตราย และ ต้องเดินผ่านย่านสินค้าที่เสี่ยงจะโดนรถไฟทับตาย ส่วนอาคารสถานีกรุงเทพที่เป็นศรีสง่าแก่พระนครนั้น ใกล้กับปลายรางรถไฟสายปากน้ำ ปลายรางรถราง สายสามเสน

ส่วนการรับสินค้าตอนแรกเคยคิดจะขุดขยายคลอง ผดุงกรุงเกษมให้ใหญ่พอให้เรือเดินสมุทรเข้ามาได้ แต่เห็นว่าแพงไปจึงได้คิดสร้างรถไฟสายแม่น้ำ เพื่อการรับสินค้าและอุปกรณ์รถไฟจากเรือเดินสมุทรได้สะดวก ตาม ประกาศกระทรวงโยธาธิการ ประกาศเพิ่มเติมในการจัดซื้อ ที่ดินสร้างทางรถไฟสายแยกจากสายตะวันออกไปตั้งสเตชั่นสินค้าที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๙๖๗ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) ที่ นับอย่าง ปัจจุบันต้องปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เนื่องจากเป็นต้นปี ค.ศ ๑๙๐๗ ที่เปิดใช้งานเมื่อ ๑๕ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ที่ นับอย่าง ปัจจุบันต้องปี พ.ศ. ๒๔๕๓ เนื่องจากเป็นต้นปี ค.ศ ๑๙๑๐ ส่วนการสร้างที่ทำการรับส่ง สินค้าที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม นั้นก็ทำเท่าที่จำเป็นจริงๆ โดยเฉพาะ สินค้า ที่มากับเรือที่แล่นตามลำคลองเป็นหลัก นอกจากนี้ การขยายการเดินรถทำให้กรมรถไฟต้องหาที่ใหม่สำหรับการก่อสร้างโรงงานรถไฟอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ราชการจึงยุบโรงงานซ่อมที่หัวลำโพงเสียไปรวมซ่อมที่โรงงานมักกะสันแห่งเดียว แล้ว รื้อโรงงานขนาดเล็กที่ปลายราง แล้วสร้างใหม่ที่ตำบลมักกะสันเพื่อจะได้สร้างอาคารสถานีกรุงเทพที่หัวลำโพงให้เป็น ศรีสง่าแก่พระนคร ส่วนรถไฟสายเพชรบุรีก็ยังคงรับการซ่อมที่โรงงานบางกอกน้อยเช่นเดิม เนื่องจากเวลานั้นเริ่มการเวนคืนเพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกแล้ว และเห็นว่าตำบลมักกะสันนั้นเหมาะ สม โดย เริ่มออก ประกาศเพิ่มเติมขยายเขตร์ที่ดินสำหรับสร้างโรงงานใหญ่ของกรมรถไฟหลวงซึ่งตั้งอยู่ริม ทางรถไฟสายตวันออก ณ ตำบลทุ่งมักกะสันหรือทุ่งสามเสนฝั่งใต้ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) เวลานั้นถือว่าเป็นปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๙ แต่ นับอย่างปัจจุบันต้องถือว่าเป็น ต้นปี ๒๔๕๐ เพราะ เข้าปี ค.ศ. ๑๙๐๗ แล้ว) ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๔๗ หน้า ๑๒๐๓ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ และ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๔๘ หน้า ๑๒๒๒ วันอาทิตย์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ ) โดยเริ่มจาก หลักกิโลเมตร ๔.๓ ถึง หลักกิโลเมตร ๕.๖ และกำหนดให้ที่ดินด้านข้างเหนือ อีก ๑๘๐ เมตร เนื่องจากพระราชกฤษฎีกา ห้ามการแลกเปลี่ยนที่ดินสร้างทางรถไฟสายตวันออก ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)ซึ่งตีพิมพ์ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๒ หน้า ๔๖๑-๔๖๒ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) ที่กำหนดที่ดิน เขตทางรถไฟข้างละ ๔๐ วา (๘๐ เมตร) นั้นไม่พอสำหรับการสร้างโรงงานใหม่ที่ ตำบลมักกะสัน และ เริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ นี้เอง ซึ่ง มีการสร้างโรงซ่อมรถจักรไอน้ำ ขนาด ๕ ช่วง กว้างยาวสูง ๑๓๘ ฟุต ๖ นิ้ว x ๓๕๔ ฟุต x ๒๙ ฟุต ๖ นิ้ว (๑๐๗.๘๙๙๒ เมตร x ๔๒.๒๑๔๘ เมตร x ๘.๙๙๑๖ เมตร) สำหรับ โรงกลาง และ กว้างยาวสูง ๑๓๘ ฟุต ๖ นิ้ว x ๓๕๔ ฟุต x ๒๐ ฟุต (๑๐๗.๘๙๙๒ เมตร x ๔๒.๒๑๔๘ เมตร x ๖.๐๙๖ เมตร) สำหรับโรงด้านข้าง ๔ โรง ซึ่งมีปั้นจั่น ๑๐ ตัน สำหรับยกรถจักรไอน้ำ จำนวน ๒ ตัว พร้อมกับ สะพานเลื่อนรถ โดยสามารถจุรถจักรไอน้ำได้ ๓๐ คัน โรงงานแห่งใหม่ที่มักกะสันที่กำลังสร้างนี้ ปููหลังคาสังกะสี (Corrugated Iron roof) และ ใช้กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่ง A. J. Main and Co. กับ A.J. Collbert and Co. เป็นผู้รับเหมา ตามที่กล่าวใน Twentieth century impression of Siam หน้าที่ ๑๙๗-๑๙๘ และสร้างเสร็จเรียบร้อยเปิดทำการ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๓ โรงงานใหม่แห่งนี้มีหน้าที่ซ่อมรถจักรและล้อเลื่อนทุกประเภทของกรมรถไฟสายเหนือ สายโคราช และ สายตะวันออก

หลังจากนั้น เมื่อ ๒๗ มิถุนายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ราชการได้ออกประกาศรวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เป็นกรมเดียวกัน และตั้งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ซึ่ง ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ หน้า ๓๐๔ - ๓๐๕ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มิถุนายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ หลังจากที่ได้แยกออกไปเมื่อ ๑ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๕๕๖ เพื่อเป็นไปตามเงื่อนไขการกู้เงิน ๔ ล้านปอนด์ทองคำ เพื่อขยายทางรถไฟสายใต้ไปมลายู และทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และได้รับพระบรมราชานุญาตให้รวมโรงงานซ่อมเข้าไว้ที่โรงงานมักกะสันเพียง แห่งเดียว โดยเลิกแผน สร้างโรงงานสำหรับรถไฟสายใต้ที่สถานีคันธุลี (กม. ๕๖๖ จากบางกอกน้อย) ที่เคยคิดจะทำเมื่อปี พระพุทธศักราช ๒๕๕๙ ไปเสียเพื่อเป็นการประหยัดทรัพย์ถึง ๑ แสนบาท ต่อปี ตามพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๒/๑๘๖ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ให้รวมโรงงานต่างๆของกรมรถไฟมาไว้ที่ตำบลมักกะสัน (สมัยนั้นสะกดว่า มักกระสัน) ตามที่นายช่างกลใหญ่ (Chief mechanical Engineer) ได้วางไว้ เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ต้องวางรางที่ ๓ จากสถานีแม่น้ำ ไปโรงงานมักกะสัน เพื่อ ให้รถจักรรถพ่วงราง ๑ เมตร ที่ขนจากสถานีบางกอกน้อย ลงแพขนานยนต์ มาที่สถานีแม่น้ำแล้วส่งต่อไปที่โรงงานได้ พร้อมติดเครื่องจักร ๑๕๐ แรงม้า ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ๒๒๐ โวลต์ จำนวน ๑ สำรับที่ได้จากโรงงานที่คันธุลี นอกเหนือจากเครื่องจักร ๕๐ แรงม้า ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ๔๔๐ โวลต์ จำนวน ๒ สำรับที่มีมาแต่เดิม ตามที่ปรากฏในรายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐

นอกจากนี้ ยังมีการขยายเขตที่ดินโรงงานให้ของรถไฟหลวงออกไปอีก เนื่องจากขอบเขตที่กำหนดแต่แรก ตาม ประกาศเพิ่มเติม ขยายเขตร์ที่ดินสำหรับสร้างโรงงานใหญ่ของกรมรถไฟหลวงซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายตวันออก ณ ตำบล มักกะสัน (ครั้งที่ ๒) ประกาศใช้เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๑ และ ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๕ หน้า ๒๒๒-๒๒๓ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๑ และ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๕ หน้า ๑๕๖๙ วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๑ นัี้นกำหนดให้ขยายที่ดินไป ทางด้านตะวันออก แต่หลักกิโลเมตร ๕.๖ ถึง หลักกิโลเมตร ๖.๐๕ ยืนขึ้นไปทางทิศเหนือ วัดจากศูนย์กลางทางรถไฟสายตะวันออกนั้น ๔๔๐ เมตร แต่ให้งดการขยายไปทางด้านตะวันตก ยาวตามทางรถไฟแต่หลักกิโลเมตร ๔.๓ ถึง หลักกิโลเมตร ๓.๗ ไว้เสียเพราะเห็นว่าไม่จำเป็น

จากนั้นจึงมีการก่อสร้างอาคารโรงงานต่าง เพื่อมาแทนอาคารเดิมที่เป็นเรือนสังกะสี โดยเริ่มจากการออกประกาศ เมื่อ ๒๘ มกราคม ค.ศ. ๑๙๑๙ (ปลายปี พระพุทธศักราช ๒๔๖๑) ตั้งแต่ โรงซ่อมรถจักร (Locomotive shops) ขนาดกว้างยาว ๑๑๖.๐๗ เมตร x ๒๘.๗๒ เมตร สูง ๖.๐๐ -๑๖.๘๐ เมตร ซึ่งเสร็จเปิดใช้งานปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๑ โรงซ่อมรถโดยสาร (Carriage shop) ขนาดกว้างยาว ๑๑๖.๐๗ เมตร x ๒๘.๗๒ เมตร สูง ๖.๐๐ -๑๕.๘๐ เมตร ซึ่งเสร็จเปิดใช้งานปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๕ และ โรงตีเหล็ก (Smithy) ขนาดกว้างยาว ๗๑.๗๕ x ๒๔.๗๖ เมตร สูง ๓.๑๒ - ๑๒.๓๐๕ เมตรที่ทำเสร็จ เมื่อ พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ สะพานเลื่อนรถอันใหม่ที่สามารถรองรับรถโดยสาร ๘ ล้อ ที่ใช้ล้อแบบโบกี้ซึ่งยาวกว่ารถโดยสาร ๔ ล้อได้ เมื่อ พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ อาคารพัสดุโรงงานที่ได้จากการรื้ออาคารสถานีเก่า โรงอาหาร ตลอดจนบ้านพักวิศวกร และสารวัตร ขึ้นใหม่ ตามที่ปรากฏในรายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ และ ตามที่ปรากฏในรายงานประจำปีกรมรถไฟแผ่นดิน พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ ผลจากการเปิด โรงซ่อมรถจักร (Locomotive shops) เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๑ ทำให้ มีการดัดแปลง โรงซ่อมรถจักรเดิมที่ เป็น Erecting shop ซึ่งใช้งานมาแต่ปีพ.ศ. ๒๔๕๓ ให้เป็นโรงซ่อมหม้อน้ำและรถลำเลียง (Boiler and Tender shop) ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๗๒ ตามที่ปรากฏในรายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง พระพุทธศักราช ๒๔๗๒

นับแต่โรงงานมักกะสันเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๓ มีการควบคุมบริหารโดยนายช่างชาวยุโรปเป็นผู้อำนวยการมาโดยตลอด จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๔ มิสเตอร์ อิงค์ฮัม ซัตสคริฟฟ (Ingham Sutcliffe) ได้ลาออก หลังจากนั้นจึงดำเนินการต่อโดยคนไทย โดยเริ่มจากการสร้างโรงซ่อมรถจักรดีเซลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เพื่อรองรับรถจักรดีเซลที่สั่งเข้ามาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔- ๒๔๗๕ และ โรงแบตเตอรี่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ส่วน โรงซ่อมรถบรรทุกนั้น แม้จะเริ่มทำแต่ปี ๒๔๗๑ แต่มาเสร็จโรงแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔

ต่อมาเมื่อ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางการได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อวางหลักเกณฑ์ในการแก้ไข ปรับปรุงและขยายโรงงานมักกะสันในปีต่อมา โดบกำหนดไว้ เป็น ๔ ส่วนดังนี้:

๑. ที่ทำการกองอำนวยการ โรงเรียนช่างฝีมือ โรงทดลอง และ พัสดุ
๒. โรงซ่อมรถจักร โรงซ่อมรถโดยสาร และ โรงซ่อมรถบรรทุก
๓. โรงงานย่อยต่างๆ ที่จะทำงานป้อนให้โรงซ้อมหลัก
๔. ย่านและบริเวณสำหรับจอดรถที่จะนำมาซ่อมและมีเนื้อที่สำหรับการขยายในอนาคตด้วย

การขยายและปรับปรุงโรงงานมักกะสันได้เริ่มต้นการก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมีการตั้งบประมาณ ๖ ปี ไว้รวม ๕ ล้านบาท ในยุคที่ทองคำบาทละ ๒๕ บาท โดยแบ่งงานออกเป็น ๔ ขั้น และเจียดเงินไว้ประมาณ ๓๓๐,๐๐๐ บาท ต่างหากสำหรับการเดินสายไฟฟ้า และ โคมไฟแสงสว่าง รวมทั้งโรงซ่อมของหนักเช่นเหล็กสะพาน และ ได้มีการโรงกลึงใหม่สำหรับอุปกรณ์รถจักรไอน้ำ โรงทองเหลืองใหม่ ซึ่งรวมโรงเชื่อมไฟฟ้า โรงซ่อมรถจักร โรงซ่อมรถโดยสาร และ โรงซ่อมรถบรรทุก ๑ กับ โรงซ่อมรถบรรทุก ๒

นอกจากนี้มีการออกพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติ เพื่อการเวนคืนที่ดินสำหรับการขยายโรงงานมักกะสันดังต่อไปนี้

๑. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ทีดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอดุสิต อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร พุทธศักราช ๒๔๘๑ ประกาศใช้เมื่อ ๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๕ หน้า ๒๔๒ - ๒๔๔ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยที่ดินข้างเหนือ จดบึงมักกะสัน ที่ดินข้างใต้ จดคลองแสนแสบ ที่ดินข้างตะวันออก จดคลองบางกะปิ ตรงข้ามวัด อุทัยธาราม (วัดบางกะปิ) ข้างตะวันตกถึงที่นาด้านตะวันออกสถานีมักกะสัน และ คลองบางกะสัน (คลองมักกะสัน) ที่เป็นเขตวัดมักกะสัน

๒. พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อำเภอ ดุสิต จังหวัดพระนคร พุทธศักราช ๒๔๘๑ ประกาศเมื่อ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑ ที่นับอย่างใหม่อต้งปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เพราะเข้าปี ค.ศ ๑๙๓๙ แล้ว ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๕ หน้า ๑๐๕๓ - ๑๐๕๕ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑ เพื่อสร้าง สร้างโรงซ่อมเครื่องไฟฟ้าใหม่ โรงกลึงใหม่ โรงทองเหลืองใหม่ โรงซ่อมรถโดยสารใหม่ โรงซ่อมรถบรรทุกใหม่ และสะพานเลื่อนรถใหม่ พร้อม ย่านเก็บรถและโรงงานเพิ่มเติม โดยข้างเหนือติดบึงมักกะสัน ข้างตะวันออก ถึง หลักกิโลเมตร ๗.๑๔

๓. พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อำเภอ ดุสิต จังหวัดพระนคร (ฉะบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๒ ประกาศเมื่อ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒ ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๖ หน้า ๑๗๑๙ - ๑๗๒๑ วันอาทิตย์ที่๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ เพื่อเวนคืนที่ บริเวณที่นาด้านตะวันออก ของ สถานีมักกะสัน ระหว่างทางรถไฟสาย ตะวันออก และ ทางรถไฟสายแม่น้ำ โดยด้านตะวันออกถึงหลักกิโลเมตร ๘.๑๒ ทางสายตะวันออกเพื่อสร้างโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ทำบ้านพักคนงานและเจ้าหน้าที่โรงงานมักกะสัน และ ด้านใต้ถึงคลองแสนแสบ เว้นไว้แต่ เขตวัดมักกะสัน กับที่ดินป่าช้าวัดมักกะสัน รวมถึงที่ธรณีสงฆ์วัดมักกะสัน

๔. พระราชบัญญัติโอนคลองมักกะสัน ตำบลมักกะสัน อำเภอ ดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นสมบัติของแผ่นดิน ให้กรมรถไฟ พุทธศักราช ๒๔๘๒ ประกาศเมื่อ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๖ หน้า ๑๗๓๔ - ๑๗๓๖ วันอาทิตย์ที่๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ เพื่อให้กรมรถไฟสามารถถมคลองมักกะสัน ตั้งแต่ทางรถไฟสายตะวันออก ขึ้นไปจนถึงคลองสามเสนเพื่อให้พื้นที่ โรงงานมักกะสันเชื่อมต่อกันเป็นผืนเดียวกัน

๕. พระราชบัญญัติโอนกัมสิทธิที่ธรนีสงค์วัดมักกะสัน ตำบลถนนพญาไทอำเพอดุสิด จังหวัดพระนคร ไห้แก่กรมรถไฟ พุทธสักราช ๒๔๘๕ประกาศเมื่อ ๑๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๘๑ หน้า ๒๕๘๐ - ๒๕๘๒ วันอาทิตย์ที่๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ เพื่อโอนที่ ธรณีสงฆ์ ๓ แปลง ของวัดมักกะสัน ซึ่งอยู่ด้านตะวันตก ของคลองมักกะสันติดที่ดินกรมรถไฟที่ยื่นเข้ามา ให้กรมรถไฟ สำหรับโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ

โดย มีการดำเนินการ ตามแผนที่ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร ได้วางไว้ แต่การดำเนินงานก่อสร้างทำเสร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยโรงซ่อมรถบรรทุกใหม่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ก็เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ขึ้น งานก่อสร้างขยายโรงงานมักกะสันจึงต้องหยุดชะงักตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ในระหว่างสงคราม ทางการได้พิจารณาเห็นว่าโรงงานมักกะสันเป็นจุดไม่ปลอดภัย จึงได้วางโครงการสร้างโรงงานชั่วคราวขึ้นที่ย่านสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย และย่านสถานีรถไฟนครราชสีมา สำรองไว้อีก โดยจัดส่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องมือกลที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ไปไว้ ณ ที่นั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ แต่ยังมิได้เปิดดำเนินงานเพราะต้องรอการ สร้างอาคารที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อยก่อน ภายหลังจึงได้ย้ายเครื่องมือกลและอุปกรณ์ต่างๆ จากแก่งคอยและนครราชสีมาไปไว้ตามสถานีเล็กๆ เช่น ลำชี ท่าช้าง ขอนแก่น และปากช่อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนย้ายหน่วยซ่อมรถโดยสาร รถบรรทุก และกำลังคนออกไปดำเนินการในย่านสถานีรถไฟอุบลราชธานี ซึ่งเปิดทำการเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยคงเหลือไว้ให้เพียงพอเท่าที่จำเป็นแก่การซ่อมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น โดยมีการก่อกำแพงล้อมอาคารและเครื่องจักรเครื่องกลที่สำคัญและเคลื่อนย้ายลำบากเอาไว้ ซึ่งในการย้ายโรงงานออกตามภูมิภาคนั้น แม้ว่าทางกองทัพญี่ปุ่นจะเห็นชอบในหลักการ ก็จริง แต่โรงงานมักกะสัน จะต้องเหลือสมรรถภาพในการ ซ่อบบำรุงรถโดยสารไม่ต่ำกว่า ๕๐% มิฉะนั้นจะมีปัญหากับกองทัพญี่ปุ่นแน่นอน

สรุปแล้วตลอดระยะเวลาที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงคราม โรงงานมักกะสันประสบภัยทางอากาศรวม ๔ ครั้ง (๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๗, ๕ มิถุนายน ๒๔๘๗, ๒-๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ และ ๒-๓ มีนาคม ๒๔๘๘) ทำให้อาคารโรงงานและสิ่งปลูกสร้างเสียหายเป็นจำนวนมาก - เช่นโรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ำ โรงซ่อมรถโดยสาร กับโรงซ่อมรถบรรทุกเสียหาย แต่ ก็ต้องรื้อโรงซ่อมเครื่องไฟฟ้าใหม่ กับ โรงซ่อมรถโดยสารใหม่ และ โรงซ่อมรถบรรทุกใหม่ที่เสียหายบางส่วนมาซ่อม โรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ำ กับ โรงซ่อมรถโดยสาร ให้ใช้การได้เสียก่อน ตามลำดับความสำคัญ

ในการโจมตี ครั้งที่ ๓ เมื่อ ๒-๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ นั้น เครื่องจักรต่อไปนี้ในโรงงานมักกะสัน ชำรุดเสียหายต้องหาทางซ่อมแซมหรือหาเครื่องจักรที่เท่าเทียมกันมาเปลี่ยนแทนของเก่าที่โดนระเบิดพังยับเยินจนเกินซ่อม ตามบัญชีรายการต่อไปนี้

๑) 1 Set of DC power supply either engine driven set complete with switch plant or substation set with switching of any type (Rotary converter motor generator set) to be used with 3 phase 3300 Volt AC
with the power generation at 350 KW at 220 Volt DC

๒) 1 Set of Variation speed DC Shunt Motor 500-900 RPM - 220 Volt - 7.5 Horse Power with controller

๓) 1 Set of DC Shunt Motor 1000 RPM - 220 Volt - 10 Horse Power with Starter Equipped with overload and No Volt Release

๔) 1 Set of DC Shunt Motor 800 RPM - 220 Volt - 6.5 Horse Power with Starter Equipped with overload and No Volt Release

๒๖ ธันวาคม ๒๔๘๗ กองทัพญี่ปุ่นได้ส่งอุปกรณ์เหล่านี้ มาให้ กรมรถไฟ

๑) เบ้า 70 P 10 ลุก
๒) เชื่อกอัลเบตอส (เชือกใยหิน) ขนาด 3/8 นิ้ว (๓ หุน)
๓) มอเตอร์ไฟฟ้า ๑๐ แรงม้า ๒๒๐ โวลต์ ๓๙ แอมแปร์ เลขที่ ๖๒๖๖, ๖๐๖๖๕ และ ๖๒๖๖๙ ทำในปี ๑๙๓๖ จำนวน ๓ เครื่อง

๓ เมษายน ๒๔๘๘ หลวงศิลปวิธานโกวิท ได้ส่งหนังสือไปยังกรมประสานงานพันธมิตรทวงว่ากองทัพญี่ปุ่น DC power supply ยังไม่เอามาส่งให้กรมรถไฟ เพื่อใช้ซ่อมแทนของเดิมที่แม้จะซ่อมไปแล้วครั้งหนึ่งแต่มาโดนระเบิดซ้ำ เมื่อ ๒ - ๓ มีนาคม ๒๔๘๘ ทำให้ซ่อมไม่ได้อย่างสิ้นเชิง

๑๗ มิถุนายน ๒๔๘๘ DC power supply ตกมาถึงแล้วแต่ เนื่องจากสถานการณ์สงครามยังไม่สิ้นสุด ญี่ปุ่นจึงดำริให้ตั้งเครื่อง กำเนิดไฟฟ้า และ DC power supply อยู่นอกเขตโรงงานมักกะสัน โดยญี่ปุ่น จะเช่าที่ ริมถนนราชวิถี และให้กรมรถไฟไปหาเสามาปัก พาดผ่านซอยรางน้ำ ไปออกโรงงานมักกะสันและออกเงินให้ ซึ่งการปักเสาไฟฟ้านี้ที่สุดก็ให้ โรงไฟฟ้าหลวงสามเสนปักให้เพราะมีความชำนาญกว่าแต่ต้องแจ้งล่วงหน้า ๑ วัน แต่เนื่องจากการนี้เป็นการตกลงกันเอาเองระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและโรงงานมักกะสัน โดยกรมรถไฟไม่ได้รู้ไม่ได้เห็น แต่พอมามีเรื่องการเกี่ยงกันออกค่าเช่าที่ดิน เรื่องเลยแดงขึ้นมา ทำให้ต้องเอาเรื่องเข้าคณะกรรมการรถไฟ ที่สุด ญี่ปุ่นเห็นว่ายุ่งยากนั้น ก็เลยงดการตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกเขตโรงงานมักกะสัน ให้กรมรถไฟจัดหาที่ภายในเขตโรงงาน ตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และหาวิธีป้องกันลูกระเบิดได้ เพื่อให้ โรงงานมักกะสันสามารถดำเนินการซ่อมรถจักรรถพ่วงที่ชำรุดเสียหายจากภาวะสงคราม ได้อีกวาระหนึ่ง

ภายหลังสงคราม กรมรถไฟจึงได้เริ่มบูรณะอาคารโรงงาน เครื่องมือและเครื่องจักรกลภายในโรงงานมักกะสันให้กลับเข้าสภาพใช้การได้ดีอย่างเดิม โดยมีการตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อสร้างอาคารและขยายโรงงาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อการจัดสร้างอาคารและขยายโรงงานมักกะสัน ซึ่งอาคารโรงงานต่างๆ ตามแผนที่ทางกรมรถไฟ และ บริษัทที่ปรึกษาอเมริก้น (De Leuw, cather & Company (Engineers), Chicago, USA) ที่ธนาคารโลกลงนามอนุมัติเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๓ หลังจากที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ ๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๖๒.๔ ล้านบาทในยุคที่ ทองบาทละ ๔๐๐ บาท) โดย ๑ ล้าน ๘ แสนดอลลาร์ (๓๗.๔๔ ล้านบาทในยุคที่ ทองบาทละ ๔๐๐ บาท) จะใช้ในการบูรณะโรงงานมักกะสัน เมื่อ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยแผนดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ การก่อสร้างได้เริ่มจริงเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๔ โดย เปิดทำการโรงไฟฟ้าสำหรับโรงงานมักกะสัน แทนโรงไฟฟ้าชั่วคราว เมื่อ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ และ ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และได้ถูกใช้งานเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ - ส่วนรายละเอียด ของการบูรณะอาคารต่างๆ นั้น มีรายละเอียดดังนี้

๑. ตึกอำนวยการ (Administration Building) เนื้อที่ ๗๑๔ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ สิ้นเงิน ๑,๓๖๔,๗๗๓.๐๐ บาท
๒. ตึกประชุม (Auditorium) เนื้อที่ ๒๓๒ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ สิ้นเงิน ๔๐๘,๐๐๐.๐๐ บาท
๓. โรงอาหาร ๑ และ ๒ (Dining Shed 1 & 2) เนื้อที่ ๑,๔๔๐ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๙ สิ้นเงิน ๗๔๔,๒๑๔.๐๐ บาท
๔. ที่ทำการรักษาการณ์ (๒) (Workshop Guard Offices) เนื้อที่ ๓๐๕ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙
๕. โรงเก็บไม้ (Lumber Storage) เนื้อที่ ๑,๒๐๐ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ สิ้นเงิน ๒๕๓,๑๓๖.๐๐ บาท
๖. โรงกำเนิดไฟฟ้า (Power House) เนื้อที่ ๖๗๕ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
๗. โรงซ่อมรถจักรดีเซล (Diesel Locomotive Repair Shop) เนื้อที่ ๙,๖๑๒ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิ้นเงิน ๔,๐๕๗,๕๖๑.๐๐ บาท
๘.-๙. โรงซ่อมรถจักรไอน้ำ (Steam Locomotive Repair Shop) และ โรงเครื่องมือกลรถจักรไอน้ำ (Steam Locomotive Machine Shop) เนื้อที่รวม ๙,๑๗๖ ตารางเมตร สร้างแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ บูรณะสำเร็จ พ.ศ. ๒๕๐๐
๑๐. โรงซ่อมหม้อน้ำและรถลำเลียง (Boiler and Tender Repair Shop) เนื้อที่ ๕,๑๐๐ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ สิ้นเงิน ๔,๐๕๗,๕๖๑.๐๐ บาท
๑๑.- ๑๒. โรงซ่อมรถโดยสาร (Carriages Repair Shop) และ โรงเครื่องมือกลรถโดยสาร (Carriages Machine Shop) เนื้อที่รวม ๙,๑๖๒ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ สิ้นเงิน ๔,๔๘๒,๓๐๗.๐๐ บาท
๑๓. โรงช่างไม้ (รวมโรงเลื่อย) (Carpenter Ship including Saw Mills) เนื้อที่ ๒,๙๔๐ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิ้นเงิน ๑,๙๒๙,๖๓๑.๐๐ บาท
๑๔. โรงเย็บหนัง (Upholstery Shop) เนื้อที่ ๓๕๐ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ สิ้นเงิน ๒๕๙,๓๖๐.๐๐ บาท
๑๕ (ก). ๑๕ (ข).โรงซ่อมรถบรรทุก ๑ (Wagons Repair Shop No. 1) และ โรงเครื่องมือกลรถบรรทุก (Wagons Machine Shop) เนื้อที่ ๗,๓๔๐ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ สิ้นเงิน ๔,๔๒๑,๓๑๕.๐๐ บาท
๑๖. โรงซ่อมรถบรรทุก ๒ (Wagons Repair Shop No. 2) เนื้อที่ ๕,๔๘๘ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิ้นเงิน ๓,๗๖๕,๘๒๖.๐๐ บาท
๑๗. โรงเลื่อย (Saw Mill Shop)
๑๘ (ก). โรงหล่อ (Foundry Shop) เนื้อที่ ๒,๒๐๕ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิ้นเงิน ๒,๒๐๑,๕๐๐.๐๐ บาท - ได้ติดตั้งเครื่องมือกลสำหรับผลิตแท่งห้ามล้อในระบบอัตโนมัติ สำเร็จเมื่อ ๒๑ มกราคม ๒๕๑๒
๑๘ (ข). โรงกระสวน (Pattern Shop) เนื้อที่ ๓๗๕ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิ้นเงิน ๔๙๗,๐๐๐.๐๐ บาท
๑๙. โรงเหล็ก (Smithy Shop - แต่ก่อนเรียกว่าโรงตีเหล็ก) เนื้อที่ ๒,๑๕๖ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ สิ้นเงิน ๑,๑๒๐,๘๑๖.๐๐ บาท
๒๐.- ๒๑. โรงเชื่อม (Welding shop) เนื้อที่ ๔๘๗.๕ ตารางเมตร กับ โรงทองเหลือง (Brass Shop) เนื้อที่ ๔๘๗.๕ ตารางเมตร สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๔๙๕ - อยู่ในที่เดียวกัน
๒๒.- ๒๓. โรงเครื่องมือกลผลิต (General Machine Shop) เนื้อที่ ๒,๘๐๐ ตารางเมตร กับ โรงเบ็ดเตล็ด (Outstation Shop) สร้างเสร็จ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๕ สิ้นเงิน ๑,๑๗๘,๖๒๓.๐๐ บาท
๒๔. โรงกลึงล้อ (Wheel Shop) เนื้อที่ ๔,๐๐๕ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิ้นเงิน ๓,๕๒๒,๐๒๑.๐๐ บาท
๒๕. โรงฟื้นของเก่า (Reclaim Shop) เนื้อที่ ๕๐๔ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ สิ้นเงิน ๖๑๙,๑๕๕.๐๐ บาท ภายหลังได้เพิ่ม โรงศูนย์เครื่องมือการกล และ โรงผลิต อุปกรณ์ยาง และ พลาสติก ใน โรงฟื้นของเก่า แล้วย้ายโรงฟื้นของเก่า ที่มีมาแต่เดิมไปที่โรงเหล็ก ๒
๒๖. ตึกพัสดุโรงงาน (Workshop Stores) เนื้อที่ ๑,๓๗๕ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ สิ้นเงิน ๒,๓๒๕,๕๓๘.๐๐ บาท
๒๗. โรงเก็บน้ำมัน (Oil Storage) เนื้อที่ ๑๔๔ ตารางเมตร สร้างเสร็จ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๙ สิ้นเงิน ๑๗๙,๙๒๙.๐๐ บาท

มีเพิ่มเติมคือโรงงานเชื่อมรางที่ได้เพิ่มเข้ามาด้วยความช่วยเหลือจาก ICA เมื่อ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
เริ่มสร้างรถ ตญ. ได้สำเร็จ (ตญ. เลขที่ ๑๑๐๐๑-๑๑๐๑๐) เมื่อ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
รถ โบกี้บรรทุกน้ำมันค่น (บทค.) ๕ คัน กับ รถโบกี้ข้างโถง (บขถ.) ๒๕ คัน เมื่อ ๒๘ มีนาคม ๒๕๑๑ และ รถโดยสารชั้น ๓ สำเร็จ เมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ และ รถนอนปรับอากาศชั้น ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕

ระหว่างปี ๒๕๐๐ - ๒๕๑๑ ได้มีการสร้างโรงพัสดุโรงงาน คลัง ๒ ด้านตะวันออกของโรงอาหาร ๑ และ โรงพัสดุโรงงาน คลัง ๓ ด้านตะวันตก ของ โรงอาหาร ๑ ด้วย

ปัจจุบันโรงงานมักกะสันมีพื้นที่ทั้งหมด ๔๓๕ ไร่ (เฉพาะส่วนที่ติดบึงมักกะสันถึง ทางรถไฟสายตะวันออก) ประกอบด้วยพื้นที่ ๕ ส่วนใหญ่ๆ คือ พื้นที่อาคารพัสดุ พื้นที่อาคารโรงงาน และบริเวณต่อเนื่องของคลังพัสดุ อะไหล่ เก็บรถจักร รถพ่วงที่รอการซ่อม พื้นที่สับเปลี่ยนย่านโรงงาน พื้นที่ย่านโรงงานที่จัดทำประโยชน์เพิ่มเติม และพื้นที่ City Air Terminal


Last edited by Wisarut on 18/04/2014 11:25 am; edited 14 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2014 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

Parinya Chukaew wrote:
ขอประวัติสั้นๆ ของโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยกากร สถานีรถไฟมักกะสัน และนิคมรถไฟมักกะสันด้วยครับ


ส่วนการก่อตั้งโรงพยาบาลรถไฟบนที่ดินรถไฟแถวมักกะสัน - ก็ที่ดิน บริเวณฝั่งใต้ทางรถไฟ นั้นเท่าที่จำได้เขียนได้ความดั่งนี้

การสร้างอาคารสถานี มักกะสันที่เห็นในทุกวันนี้เป็นเพราะ การรถไฟมีดำริว่า จะลดจำนวนรถไฟที่เข้าออกสถานีกรุงเทพ จึงดำริให้ สร้างอาคารสถานีคอนกรีตเสริมเหล้กให้ดูมีสง่ามากกว่าเดิม เพื่อให้สมกับการเป็นต้นทางและปลายทางรถไฟสายตะวันออก โดยเปิดใช้งานเมื่อ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๖แม่ว่าภายหลัง บรรดา สส. จากฉะเชิงเทรา และ ปราจีนบุรีจะตั้งกระทู้ในสภา ตำหนิติเตียนการรถไฟว่าการทำเช่นนี้ เป็นการทำให้เข้ากรุงได้ไม่สะดวก เป็นการเบียดเบียนราษฎรที่จะเข้ามาเรียน ค้าขายและทำงานในกรุง จนต้องเลิกการตัดระยะรถไฟสายตะวันออกไว้ที่มักกะสัน และให้กลับใช้ต้นทางปลายทางสถานีกรุงเทพตามเดิมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เพราะ เวลานั้นมีแต่รถเมล์นายเลิศเท่านั้นที่มาถึงสถานีมักกะสัน ไม่ได้มีรถเมล์หลากหลายเหมือนที่หัวลำโพง

ส่วนกรณีโรงพยาบาลรถไฟ บนที่ดินรถไฟย่านมักกะสัน นั้นเท่าที่จำได้ก็เริ่มการก่อสร้างปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เปิดใช้งานเมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๔๙๕ เพื่อให้การรักษาพยาบาลเป็นไปได้โดยสะดวกยิ่งกว่าเดิม แต่ก่อน สงครามเคยอยู่ที่ตึกสี่เหลี่ยมสองชั้น ระหว่างสนามเทนนิสรถไฟและตึกที่ทำการพัสดุ แต่ เมื่อมามาโดนระเบิด หลายครั้งจนเมื่อคราวหลังสุดเมื่อ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ที่ ตึกที่ทำการแพทย์ ถูกระเบิดพังยับเยิน แม้ว่าจะมีการเคลื่อนย้ายเครื่องเวชภัณฑ์ไปไว้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงเรียนวัดสระเกศไปตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ แล้วก็ตาม ช่วงหลังสงครามต้องใช้ตึกที่ทำการพัสดุ เป็นสำนักงานแพทย์ชั่วคราว ไปจนกว่าจะเปิดโรงพยาบาลรถไฟที่มักกะสัน ต่อมาได้เปิดตึกเสรีเริงฤทธิ์ เพื่อ เป็นอนุสรณ์ ให้ คุณหลวงเสรีเริงฤทธิ์ เมื่อ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ และ เปิดตึกสามชั้น เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๒

ปัจจุบัน โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร (โรงพยาบาลรถไฟ) เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ๑๒๐ เตียง มีแพทย์เพียงแค่ ๖-๗ คน รับรักษาด้านศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมกระดูก อายุกรรม โดย]มีการแบ่งสายงานดั่งนี้

๑. แผนกบริหารงานทั่วไป
๒. แผนกบริหารงานสูทกรรม
๓. กองทันตกรรม
๓.๑ แผนกทันตกรรม
๔. กองเภสัชกรรม
๔.๑ แผนกเภสัชกรรม
๕. กองรังสีวิทยา
๕.๑ แผนกรังสีวิทยา
๖. กองพยาธิวิทยา
๖.๑ แผนกพยาธิวิทยา
๗. กองสูตินรีเวชกรรม - แต่ก่อนเคยมีแผนกสูตินารีเวชแต่เลิกไปแล้ว
๘. กองอายุรกรรม
๙. กองศัลยกรรม
๑๐. กองกุมารเวชกรรม
๑๑. กองวิสัญญีแพทย์
๑๑.๑ แผนกวิสัญญีแพทย์
๑๒. กองจักษุ, โสต, ศอ, นาสิก
๑๓. กองบริหารงานการพยาบาล
๑๓.๑ แผนกบริหารงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ
๑๓.๒ แผนกบริหารงานห้องผ่าตัด
๑๓.๓ แผนกบริหารงานผู้ป่วยอาการหนัก
๑๓.๔ แผนกบริหารงานผู้ป่วยอายุรกรรม
๑๓.๕ แผนกบริหารงานผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม
๑๓.๖ แผนกบริหารงานผู้ป่วยศัลยกรรมและเด็ก
๑๓.๗ แผนกบริหารงานกายภาพบำบัด

มีเครือข่ายย่อย ๑๑ เขตทั่วประเทศ ประกอบด้วย

๑. แพทย์เขตกรุงเทพ
๑.๑ แผนกบริหารงานแพทย์เขตกรุงเทพ
๑.๒ ทันตแพทย์เขตกรุงเทพ
๒. แพทย์เขตบางซื่อ
๒.๑ ทันตแพทย์เขตบางซื่อ
๓. แพทย์เขตแก่งคอย
๔. แพทย์เขตนครราชสีมา
๔.๑ ทันตแพทย์เขตนครราชสีมา
๕. แพทย์เขตขอนแก่น
๖. แพทย์เขตนครสวรรค์
๗. แพทย์เขตศิลาอาสน์
๗.๑ ทันตแพทย์เขตศิลาอาสน์
๘. แพทย์เขตลำปาง
๙. แพทย์เขตชุมพร
๑๐. แพทย์เขตทุ่งสง
๑๐.๑ ทันตแพทย์เขตทุ่งสง
๑๑. แพทย์เขตหาดใหญ่

แต่เป็นการบริหารแยกส่วน ไม่มีการเกี่ยวข้องกันของการทำงานกัน ไม่รับการเบิกจ่ายโดยตรง ไม่ใช้งบประมาณของสปสช. เน้น การใหบริการเจ้าหน้าที่ของการรถไฟเป็นส่วนใหญ่

ส่วนกรณีนิคมมักกะสัน บนเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ เริ่มการปลูกสร้างอาคารเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โอบสี่แยกเพชรบุรีตัดใหม่ ถึงแยกนานา เพื่อปรับปรุงสวัสดิภาพของคนงานรถไฟให้ดียิ่งไปกว่าเดิม โดยทำสำเร็จในช่วงแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ อันประกอบด้วย

๑. เรือนแถว ๘ ห้อง จำนวน ๒๔แถว อาศัยอยู่ได้ ๑๙๒ ครอบครัว
๒. ตึำแถว ๒ ชั้น ๖ ห้อง จำนวน ๑ แถว อาศัยอยู่ได้ ๖ ครอบครัว
๓. บ้านพักชั้นตรี ๖ หลัง อาศัยอยู่ได้ ๖ ครอบครัว
๔. บ้านพักชั้นโท ๖ หลัง อาศัยอยู่ได้ ๖ ครอบครัว
๕. บ้านพักชั้นเอก ๒ หลัง อาศัยอยู่ได้ ๒ ครอบครัว

ผู้ที่มีความจำเป็นต้องประจำที่ในโรงงานมักกะสันจะได้รับสิทธิ์ก่อน ที่เหลือให้ใช้การจับสลาก

ต่อมา หลังปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีการปลุกเรือนแถวเพิ่มเติม ตั้งตลาดสด โรงจักสาน และ ร้านสหกรณ์โรงงานแต่ มามีปัญหาต้อง เลิกตลาดสด โรงจักสาน และ ร้านสหกรณ์โรงงานเพราะไม่เป็นที่นิยมและมีการใช้งานผิดวัตถุประสงค์ -

ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนเพชรบุรีตัดใหม่ผ่านที่รถไฟ และ ซอยนานาเหนือได้ขยายข้ามมาเชื่อมกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่เพื่อให้มาบรรจบกับถนนรถไฟที่ตัดผ่านนิคมมักกะสัน เมื่อราวๆปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อรองรับเอเชียนเกมส์ครั้งที่ ๕ ทำให้นิคมรถไฟโดนตัดเป็น ๔ ส่วน ทำให้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ มีบ้านพักรถไฟดั่งนี้

๑. เรือนแถว ๘ ห้อง จำนวน ๗๕ แถว อาศัยอยู่ได้ ๖๐๐ ครอบครัว
๒. ตึำแถว ๒ ชั้น ๖ ห้อง จำนวน ๑ แถว อาศัยอยู่ได้ ๖ ครอบครัว
๓. บ้านพักชั้นตรี ๖ หลัง อาศัยอยู่ได้ ๖ ครอบครัว
๔. บ้านพักชั้นโท ๖ หลัง อาศัยอยู่ได้ ๖ ครอบครัว
๕. บ้านพักชั้นเอก ๒ หลัง อาศัยอยู่ได้ ๒ ครอบครัว

การเล่าเรียน ก็อาศัย โรงเรียนเทศบาลวัดมักกะสัน (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดดิสหงสาราม) และ โรงเรียนสมาคมโรงเรียนราษฎร์ (แต่ก่อน คือโรงเรียนรถไฟอนุกูลศึกษา สถาปนาโดยคนรถไฟ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ - ปัจจุบันคือโรงเรียนมักกะสันพิทยา) ที่ตั้งบนที่ดินรถไฟ เป็นหลักและ การแบ่งนิคมออกเป็น ๘ เขต มีสารวัตร ๑ นาย ผู้ช่วยยสารวัตร ๑ นาย และ หัวหน้าเรือนแถว ๑ นาย พร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลน้ำบริโภคและระบบไฟฟ้า โดยขึ้นกับคณะปกครองคนงานโรงงานมักกะสันซึ่งขึ้นกับรองวิศวกรใหญ่ด้านโรงงาน

ปัจจุบัน เขตด้านใต้ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (เขต ๕ - ๖ ที่อยู่ด้านซ้ายของซอยนานาเหนือ เมื่อหันไปที่ทางแยกนิคมมักกะสันซึ่งมี โรงเรียนวัดดิสหงสาราม และ โรงเรียนมักกะสันพิทยา เขต ๗ - เขต ๘ ที่อยู่ด้านขวาของซอยนานาเหนือ เมื่อหันไปที่ทางแยกนิคมมักกะสัน) ของนิคมมักกะสัน ให้เอกชนเช่าประโยชน์เสียเป็นส่วนมาก มีเหลือบ้านพักแต่เพียงเล็กน้อย นอกจากศูนย์เด็กชุมชน นิคมมักกะสัน ที่อยู่ระหว่าง โรงเรียนมักกะสันพิทยา กับสะพานมิตรสัมพันธ์ (เขต ๕- ๖) - นอกนั้นเป็นที่ วัดมักกะสัน (วัดดิสหงสาราม) ที่ แต่ก่อนเคยเป็นลานประหารมาแล้ว


Last edited by Wisarut on 17/04/2014 10:39 am; edited 5 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2014 9:47 pm    Post subject: รวมข่าวแผนการย้ายมักกะสัน Reply with quote

ร.ฟ.ท.เร่งปรับแผนใหม่ จัดระเบียบที่ดินมักกะสัน
เจ้าพระยานิวส์
วันพฤหัสบดี 28 กรกฎาคม 2554 10:09

วันนี้(28ก.ค.2554) ร.ฟ.ท.ห่วงเอกชนเมินทำ โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ เร่งปรับแผนใหม่จัดระเบียบที่ดินมักกะสัน

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ วานนี้ได้สั่งการให้บริษัทที่ปรึกษาในโครงการดังกล่าว ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการย้ายศูนย์ซ่อมบำรุง โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร (รถไฟ) และบ้านพักพนักงานรถไฟ ในพื้นที่ย่านมักกะสัน หลังพิจารณาแล้วเห็นว่าการปล่อยให้บริษัทเอกชนที่เข้ามาลงทุนในโครงการดัง กล่าวดำเนินการแก้ไขปัญหาเอง อาจจะไม่ได้รับความสนใจเข้ามาลงทุน ดังนั้น ร.ฟ.ท.ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินโครงการ โดยต้องเสนอที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.อีกครั้งในเดือนกันยายนนี้

ขณะที่แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ย้ายเฉพาะศูนย์ซ่อมบำรุงไปอยู่ในเส้นทางของแต่ละภาค รวม 4 เส้นทาง ส่วนบ้านพักพนักงานและโรงพยาบาลให้อยู่ที่เดิม แต่ให้ปรับปรุงบ้านพัก และปรับโรงพยาบาลให้เป็นสาขาของโรงพยาบาลศิริราช นอกจากนี้ให้ศึกษาประเมินราคาที่ดินย่านมักกะสันใหม่อีกครั้ง หลังพิจารณาแล้วเห็นว่าราคาที่ดินดังกล่าวปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากจากที่เคย ประเมินไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งจะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้จากค่าเช่าที่สูงขึ้น

นายสุพจน์กล่าวอีกว่า เรื่องดังกล่าวเมื่อบอร์ดพิจารณาแล้ว จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามกระบวนการของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) คาดว่าปี 2555 จะสามารถเปิดประกวดราคาเพื่อหาเอกชนเข้ามาดำเนินโครงการได้

//-------------------------------

ปิดตำนาน 102 ปี‘มักกะสัน’ เนรมิตอู่ซ่อม‘แก่งคอย’400ไร่
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1321
ประจำวันที่ 28-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

“โรงงานมักกะสัน” โรงซ่อมบำรุงรถไฟที่ก่อสร้างเมื่อปี 2453 มีอายุเก่า แก่ถึง 102 ปี มาถึงวันนี้ที่ดินแปลงงาม กลางกรุง 497 ไร่ ที่กำลังจะถูกเนรมิตเป็น “มักกะสัน คอมเพล็กซ์” มูลค่าการพัฒนากว่า 3 แสนล้านบาท
เพื่อเป็นศูนย์กลางคมนาคม การขนส่งสินค้า ขนส่งผู้โดยสาร และย่านการค้า โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังออกแบบโครงการซ่อมบำรุงแห่งใหม่ที่สถานี “แก่งคอย” บนเนื้อที่ 404 ไร่ ทำให้บรรยากาศการซื้อขายที่ดินโดยรอบคึกคักขึ้นมาทันตาเห็น

“สยามธุรกิจ”ได้ติดตามลงพื้นที่ตรวจความพร้อมสถานีแก่งคอยเพื่อก่อสร้างเป็นโรงงานซ่อมบำรุงรถไฟใหม่ร่วมกับพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ โดยพบว่า สถานีแก่งคอยมีศักยภาพเหมาะสมจะเป็นโรงงานซ่อมหนักของรถไฟ เพราะการคมนาคมสะดวกมีพื้นที่ติดกับถนนมิตรภาพ และแม่น้ำป่าสัก อีกทั้งเป็นที่ดินแปลงใหญ่กว่า 404 ไร่ ซึ่งจะนำที่ดินจำนวน 175 ไร่ไปก่อสร้างเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งใหม่

นายวัชรชาญ สิริสุวรรณทัศน์ รองวิศวกรใหญ่ด้านลากเลื่อน ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ร.ฟ.ท.ได้ว่างจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมแกล้าลาดกระบัง (สจล.) ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นกำหนดแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2555 จากนั้นจะออกแบบรายละเอียด เพื่อเปิดประกวดราคาในเดือนตุลาคม 2556 กำหนดแล้วเสร็จ 2559

สำหรับการก่อสร้างโรงงานซ่อมบำรุงใช้งบประมาณ 5,042 ล้านบาท โดยจะมีการย้ายศูนย์ซ่อมรถจักร ศูนย์ซ่อมรถดีเซลรางและปรับอากาศ ศูนย์ซ่อมรถโดยสาร ศูนย์แผนงานและการผลิต คลังพัสดุ ฝ่ายการพัสดุ รวมถึงบ้านพักอาศัย โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร เพื่อรองรับพนักงานและข้าราชการที่จะย้ายจากกมักกะสัน จำนวน 1,200 คน

ด้านเจ้าที่หน้าที่ร.ฟ.ท.สถานีแก่งคอยคนหนึ่ง กล่าวว่า ภายหลังจากประชาชนในพื้นที่รู้ว่าจะมีการก่อสร้างโรงงานซ่อมบำรุงรถไฟได้มาสอบถามว่าต้องการที่ดินเพิ่มหรือไม่ ถ้าต้องการก็จะมีที่ดินขายให้ ซึ่งราคาที่กรมธนารักษ์ประเมินไว้อยู่ที่ 5,700 บาทต่อตร.ว. แต่ราคาท้องตลาดจะอยู่ที่หลายหมื่นบาทต่อตร.ว. นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีเจ้าหน้าที่จากบริษัท ทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ มาสำรวจพื้นที่ย่านนี้ เพื่อเก็บข้อมูลไปเตรียมความพร้อมการยืนประมูลมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา ทำให้เจ้าของที่ดินบริเวณนี้มีการตื่นตัวมาก

“เจ้าของที่ดินย่านนี้รายใหญ่จะเป็นโรงงานปูนซีเมนต์ต่างๆ และโรงงานชำแหละไก่ของซี.พี. ตอนนี้ราคาเริ่มมีความเคลื่อนไหวคึกคักมากขึ้น แต่ยังไม่พบว่า มีกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร”

นายคเนศ สุขตระกูล สารวัตรแขวงรถพ่วงแก่งคอย สถานีแก่งคอย กล่าวว่า สถานีแก่งคอยนอกจากจะมีโรงงานซ่อมบำรุงแล้วยังจะมีการก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าแห่งชาติด้วย เพราะว่ามีการขนส่งน้ำมันจากบริษัท แท็บไลน์ ขนส่งปูนซีเมนต์ ก๊าซ และสินค้าเกษตร ไปภาคตะวันออกผ่านเส้นทางแหลมฉบัง-แก่งเคย และเส้นทางภาคเหนือ โดยสถานีแก่งคอยจะเป็นสถานีขนส่งสินค้าหลักของประเทศ และเป็นรายได้หลักของร.ฟ.ท.ด้วย ไม่ว่าจะเป็นปูนซีเมนต์ตรานก ตราช้าง และ TPI รวมถึงสินค้าเกษตร เช่น ข่าว น้ำตาล มันสำปะหลัง ข้าวโพด แต่ที่ผ่านมาการขนส่งทางรถไฟไม่สามารถตอบสนองภาคเอกชนได้ ถ้ามีศูนย์กระจายสินค้าจะทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้บริการรถไฟมากขึ้น

ทางด้านประชาชนในพื้นที่คนหนึ่งให้ความเห็นว่า ยังไม่ทราบจะมีการสร้างโรงงานซ่อมบำรุงรถไฟ แต่ก็เห็นด้วยถ้ามีโครงการเกิดขึ้น เพราะเป็นการสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ และย่านนี้เขตอุตสาหกรรมอยู่แล้วเชื่อว่าประชาชนจะไม่ต่อต้านอย่างแน่นอน

พ.ต.ท.มานพ ชาวไร่ สารวัตร สภ.อ.แก่งคอย เปิดเผยว่า ตนทราบว่ามีการสร้างโรงงานซ่อมบำรุงรถไฟที่สถานีแก่งคอยเมื่อไม่นานมานี้เอง ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีศูนย์ขนส่งรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเชื่อมโยงกับตลาดอินโดจีน และจีนตอนใต้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับคนในพื้นที่ด้วย

นอกจากนี้ ที่สถานีแก่งคอยยังมีโครงการก่อสร้างโรงซ่อมรถจักรแห่งใหม่ที่แก่งคอย มูลค่า 1,100 ล้านบาท เหตุผลที่จำเป็นต้องมีโรงซ่อมรถจักรก็เพราะว่าโรงซ่อมรถจักรและล้อเลื่อนที่มีอยู่ที่บางซื่อ และธนบุรีค่อนข้างแออัด อีกทั้งจะมีการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า จำนวน 20 คัน เพื่อมาวิ่งในเส้นทางระหว่าง ICD ลาดกระบัง - แหลมฉบัง, สินค้าอุตสาหกรรม และระหว่าง Container Yard ในภูมิภาค ที่เส้นทางเป็นราง 100 ปอนด์

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า เพิ่มเติมอีกจำนวน 57 คัน ตามนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล ต้องการพื้นที่ซ่อมบำรุงเพิ่ม และโรงซ่อมบำรุงที่มีอยู่ในปัจจุบันถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักรถที่มีน้ำหนักกดเพลาประมาณไม่เกิน 15 ตันต่อเพลาเท่านั้น โดยโครงการนี้ได้จ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จภายในเดือนมีนคม 2556 คาว่าประกวดราคาได้ในเดือนพฤษภาคม 2556 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558

ท้ายที่สุดเมกะโปรเจกต์พัฒนาโรงงานซ่อมบำรุงที่ “แก่งคอย”จะสำเร็จลุล่วงหรือไม่ หัวใจสำคัญอยู่ที่การย้ายประชาชนบุกรุกพื้นที่จำนวน 40 ครัวเรือนออกไปให้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และการรถไฟฯมักตายน้ำตื้นกับเรื่องนี้ มีกรณีศึกษาโฮปเวลล์ และแอร์พอร์ต ลิงค์ ในอดีตที่ผ่านมา

//-----------------------------


Last edited by Wisarut on 15/04/2014 10:23 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/04/2014 10:02 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ดันมักกะสัน-แก่งคอย
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 04 มกราคม 2013 เวลา 17:07 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,807 วันที่ 6 - 9 มกราคม พ.ศ. 2556

Click on the image for full size
การรถไฟฯเร่งดันแผนพัฒนามักกะสันคอมเพล็กซ์ หลังรับมอบผลศึกษาดราฟต์ไฟนัลก่อนนำเสนอ "ประภัสร์ จงสงวน" ผู้ว่าการร.ฟ.ท. เดือนนี้ พร้อมเดินหน้าผุดเมืองใหม่รถไฟที่แก่งคอยรับพนักงานกว่า 1,200 ครัวเรือน ระบุเงินรื้อย้ายกว่า 8 พันล้านเก็บจากผู้ลงทุนก่อนไปบวกคืนค่าสัมปทานมักกะสันรูปแบบหลักการเงินยืม

alt แหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าได้รับมอบผลการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กรณีการรื้อย้ายโรงงาน โรงรถจักรและบ้านพักพนักงานพื้นที่มักกะสันไปอยู่แก่งคอย จ.สระบุรี และตามสถานที่ต่างๆซึ่งเป็นร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) เรียบร้อยแล้ว โดยเตรียมนำเสนอนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฯภายในเดือนมกราคม 2556 นี้ พร้อมมอบแบบเบื้องต้นให้อีกด้วย ก่อนที่จะออกแบบรายละเอียดอย่างเป็นทางการในระยะต่อไป
"ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างสจล. ทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน ขณะนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสจล.ถือว่ามีผู้เชี่ยวชาญด้านโรงงานคอยกำกับดูแล ดังนั้นหากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมเอาจริงก็สามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการได้ทันทีหากมีงบประมาณ ซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปีครึ่ง สำหรับงบประมาณที่จะรื้อย้ายชุมชนและโรงงานในพื้นที่มักกะสันออกไปอยู่แก่งคอยนั้น เป็นงบประมาณจากผู้สนใจมาลงทุน คาดว่าจะใช้งบจำนวน 8,000 ล้านบาทในรูปแบบเงินยืมผู้ลงทุนมาใช้ก่อนแล้วจะบวกคืนเป็นค่าสัมปทาน ดังนั้นหากสามารถถมดินพร้อมรอนักลงทุนน่าจะมีผู้สนใจมาร่วมประมูลอย่างแน่นอนเพราะมีความชัดเจน"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่ากรณีการย้ายนิคมมักกะสันของการรถไฟฯไปอยู่แก่งคอยนั้นจะเน้นให้คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ ทันสมัย ยกระดับให้ดีขึ้น พร้อมกันนี้จะย้ายโรงงาน-โรงรถจักรออกไป ส่วนโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรจะย้ายไปอยู่กม. 11 รองรับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ย่านพหลโยธิน ส่วนพนักงานทั้ง 1,200 ครัวเรือนนั้นหากจะย้ายจริงๆ คงมีจำนวนมากกว่านี้
ทั้งนี้นโยบายผู้บริหารระดับสูงร.ฟ.ท.ต้องการให้ทุกฝ่ายได้รับความสะดวกสบาย ไม่เดือดร้อนต่อการที่เจ้าหน้าที่กว่าพันคนจะย้ายไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ที่จัดไว้ให้ทั้งระบบสาธารณูปโภคและการเดินทาง ตลอดจนสถานศึกษาและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รองรับไว้ประมาณ 100 ไร่ ให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยของเจ้าหน้าที่ซึ่งจะตั้งอยู่ที่เขาคอก ห่างจากแก่งคอยไปทางทิศเหนือประมาณ 8 กม. ส่วนพื้นที่โรงงานต้องการให้มีทั้งพื้นที่ซ่อมบำรุงรถเก่า และจัดสร้างรถใหม่ พื้นที่รองรับรถไฟความเร็วสูง
"ย่านแก่งคอยปัจจุบันยังมีพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ประมาณ 4 พันไร่ ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ได้เสนอให้ขอใช้พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ มาก่อสร้างสถานีรองรับรถไฟความเร็วสูงที่กระทรวงคมนาคมมีแผนก่อสร้างไปถึงหนองคายเพื่อเชื่อมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) โดยสิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะได้รับคือการอำนวยความสะดวกด้วยระบบรางทันสมัยเชื่อมโยงเข้าสู่พื้นที่ให้การเดินทางเชื่อมโยงสะดวกสบายมากขึ้น"
อีกทั้งยังกระจายความเจริญสู่พื้นที่เขตชั้นนอกกรุงเทพฯได้อีกทางหนึ่งด้วย และสามารถเชื่อมโยงไปสู่จุดสถานีอยุธยาให้สามารถใช้เป็นเส้นทางรถไฟ รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงสู่ภาคเหนือได้อีก นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ดิน ประการสำคัญปัจจุบันพื้นที่ส่วนหนึ่งใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านวิศวกรรมอยู่แล้ว จึงน่าจะเพิ่มหลักสูตรด้านรถไฟและรถไฟฟ้าเข้าไปได้ทันที
ทั้งนี้ผลการศึกษาโดยสังเขปของพื้นที่ดังกล่าวพบว่ามีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับโรงซ่อมบำรุงที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ ทั้งด้านกายภาพที่มีขนาดพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ และการคมนาคมที่เข้าถึงสะดวก ซึ่งโรงงานแห่งใหม่นี้จะประกอบไปด้วย

1. กลุ่มอาคารสำนักงาน กองอำนวยการ งานอาคารสถานที่ และสวัสดิการพนักงาน (Admin Office, Building Service and Staff Facilities)

2.กลุ่มอาคารโรงงานและคลังพัสดุ (Workshops and Warehouses) โรงซ่อมตู้รถโดยสาร (Passenger Coach Workshops) โรงซ่อมหัวรถจักร (Locomotive and DMU Workshop) คลังพัสดุขนาดต่างๆ (Warehouses) โรงหล่อ (Foundry)

3. โรงจอดรถพระที่นั่ง (Royal Coach Stabling) และ

4.กลุ่มอาคารบริการ(Service Facilities) ลานจอดรถไฟ (Stabling) Traverser โรงบำบัดน้ำเสีย (Water Treatment Plant) ถังเก็บน้ำ (Water Storage Tank) ลานเก็บของกลางแจ้ง (Outdoor Storage)

ส่วนงบประมาณเบื้องต้นของโครงการย้ายจำนวน 8,219 ล้านบาท ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
1. มูลค่าโรงงานแห่งใหม่
2. มูลค่าที่พักอาศัยพนักงานแห่งใหม่ และ
3. มูลค่าการย้ายโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร

//-------------------------------------

โครงการแผนการย้ายโรงซ่อมรถไฟมักกะสัน โดย IT Consultancy Co. Ltd.
1 ตุลาคม 2556
โครงการศึกษา ความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น การย้ายโรงงานมักกะสัน ฝ่ายการช่างกล (ศูนย์ซ่อมรถจักร ศูนย์ซ่อมรถดีเซลรางและปรับอากาศ ศูนย์ซ่อมรถโดยสาร ศูนย์แผนงานและการผลิต) คลังพัสดุ ฝ่ายการพัสดุ และโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยกร

หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะกรรมการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2546 อนุมัติให้ดำเนินโครงการรถไฟด่วนสายมักกะสัน-สุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายพญาไท–มักกะสัน-สุวรรณภูมิ และยังมีมติ ครม.เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2547 ลงมติว่าเห็นชอบและอนุมัติให้การรถไฟฯ ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟ (รถไฟฟ้า) เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง เพื่อเพิ่มการให้บริการด้านการคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างเขตชั้นในของกรุงเทพมหานครกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยระบบรางอีกทางหนึ่ง โดยกำหนดให้พื้นที่ย่านโรงงานมักกะสันส่วนหนึ่งเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (City Air Terminal) ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้บริการแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ตามโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและการพัฒนาพื้นที่บริเวณย่านโรงงานมักกะสันให้สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และการขนส่งได้อย่างเต็มศักยภาพของที่ดินที่มีอยู่ ฉะนั้นการรถไฟฯ จำเป็นต้องศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นการย้ายโรงงานมักกะสัน ฝ่ายการช่างกล (ศูนย์ซ่อมรถจักร ศูนย์ซ่อมรถดีเซลรางและปรับอากาศ ศูนย์ซ่อมรถโดยสาร ศูนย์แผนงานและการผลิต) คลังพัสดุ ฝ่ายการพัสดุ ไปอยู่ที่ย่านสถานีชุมทางแก่งคอย และโรงพยาบาล บุรฉัตรไชยากรไปอยู่ที่ย่านสถานีบางซื่อ โดยพื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสันทั้งหมดให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร พร้อมส่งเสริมรูปแบบการขนส่งต่อเนื่องโดยเฉพาะระบบราง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดให้กับกรุงเทพมหานครด้านทิศตะวันออก รวมทั้งพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าวข้างต้น ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ที่ทันสมัยในย่านนี้

ในการสร้างโรงงานใหม่ที่แก่งคอย นั้น จะต้องมีการสร้างบ้านพักคนงานแห่งใหม่ที่เขาคอกด้วยเพราะ พื้นที่โรงงานแห่งใหม่ที่แก่งคอยนั้นกินฟื้นที่ บ้านพักที่มีมาแต่เดิม แน่นอน และ ต้องรับ คนรถไฟจากนิคมมักกะสันมาร่วมวงด้วย

ส่วนอาคารโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรแห่งใหม่ นั้น จะไปตั้งในบริเวณย่านคลังพัสดุฝ่ายสื่อสาร ในย่านบางซื่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2014 11:15 am    Post subject: Reply with quote

ป๋านัฐ wrote:
เฮียวิซ

มีเรื่องรบกวน คือ เรื่องโรงงานมักกะสัน กับการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 1 ดินแดง บางนา

มีประเด็นคือ ในการก่อสร้างทางด่วน มีการทุบทิ้งโรงงานใดบ้าง และ โรงงานที่ถูกทุบทิ้ง ย้ายที่ตั้งมาเป็นโรงงานใด
อ้างอิงมาจาก แผนที่โรงงานในรายงานการรถไฟครบรอบ 72 ปี เป็นหลัก นะเฮีย

เป็นโจทย์ที่ อ.ปริญญาฝากมา เพื่อใช้ประกอบกับงานสถาปนิคในปีปล.ใช้งานก่อนปลายเดือน เมษานี้
รบกวนตอบผ่านกระทู้กับอัพเดทในเฟสบุคห้องรถไฟไทยที่เจฟตั้งไว้ด้วย ครับ

ขอบคุณเฮียวิซล่วงหน้า


กรณีเช่นนี้ ต้องตรวจสอบกะ รายงานประจำปี 2516-2525 และ กรณีทางด่วนขั้นที่ 2 ที่ไปหัวหมากก็ด้วย ซึ่งคงกินไปถึงรายงานประจำปี 2541
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2014 2:49 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์ปริญญา แสดงภาพ 2 ตึกที่ ผมไม่แน่ใจว่ามันตึกอะไรในโรงงานมักกะสันกันแน่

Click on the image for full size
ตึกที่ 1 อยู่ใกล้ๆ ทางด่วน - อาคารอำนวยการเดิม สร้างเสร็จ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2498 สิ้นเงิน 1,364,773.00 บาท ปัจจุบันเป็นอาคารว่าง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152421398834974&set=a.10152421398679974.1073741829.651109973&type=3&src=https%3A%2F%2Ffbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net%2Fhphotos-ak-ash3%2Ft1.0-9%2F1549365_10152421398834974_1315887911564529580_n.jpg&size=763%2C511

Click on the image for full size
ตึกที่ 2 น่าจะเป็นหอประชุมแต่ไม่กล้าฟันธง ต้องให้ คนรถไฟที่เคยไปมักกะสันหรือทำงานที่มักกะสันมายืนยันอีกที - เห็นว่าเคยเป็นสำนักการแพทย์ในโรงงานมักกะสันแต่ไม่มีใครกล้ายืนยันหงะ - อาคารหอประชุมเดิม (เคยใช้เป็นที่ทำการแพทย์) สร้างเสร็จ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 สิ้นเงิน 408,000 บาท ปัจจุบันเป็นอาคารว่าง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152421398824974&set=a.10152421398679974.1073741829.651109973&type=3&src=https%3A%2F%2Ffbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net%2Fhphotos-ak-frc1%2Ft1.0-9%2F10155492_10152421398824974_1125794391380759826_n.jpg&size=763%2C510
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2014 10:07 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ร.ฟ.ท.ดันมักกะสัน-แก่งคอย
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 04 มกราคม 2013 เวลา 17:07 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,807 วันที่ 6 - 9 มกราคม พ.ศ. 2556


ข่าวล่าสุดจาก ช. ธีรยุทธ ว่าเทศบาลเมืองแก่งคอย reject แผนการตั้งโรงงานมักกะสันแห่งใหม่ที่ ย่านแก่งคอย ให้ไปสร้างโรงงานใหม่ที่เขาคอกแทน

Teerayoot Khoonkhum wrote:
แต่ตำนานมักกะสันก็อาจจะหายไปกับสายน้ำครับด้วยเหตุผลดังนี้

ประการแรกผูกพันกับงบประมาณ 2.2 ล้าน ล้านบาท จึงเป็นเรื่องอนาคตที่ไกลมาก
ข้อต่อมาความคิดเห็นจากเทศบาลเมืองแก่งคอยต้องการให้มักกะสันไปอยู่เขาคอกและให้ชุมชนที่อยู่อาศัยเข้ามาอยู่ในเมืองแก่งคอย

โปรดติดตามหนังยาวเรื่องนี้ต่อไปนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 1 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©