RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273510
ทั้งหมด:13584806
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 474, 475, 476  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
puggi
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/07/2006
Posts: 119

PostPosted: 23/05/2007 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
http://manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9500000059254

หน.จนท.การเงิน รฟท.ชี้แจงกรณีคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยในช่วงแรก จะใช้หัวรถจักรดีเซลวิ่งให้บริการในลักษณะของรถไฟชานเมือง เพราะว่ามีสถานีน้อย และคุ้มต้นทุนเดินรถมากกว่า แต่งานโยธาเตรียมพร้อมรองรับเป็นรถไฟฟ้าได้ในอนาคต หากมีผู้ใช้บริการมากขึ้น และมีสถานีเดินรถมากขึ้น ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันที



รถไฟฟ้าบีทีเอส


นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และจะนำหัวรถจักรดีเซลมาวิ่งให้บริการในช่วงแรก เป็นลักษณะของรถไฟชานเมืองว่า เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงในช่วงแรก บางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร วงเงิน 13,133 ล้านบาท มีระยะห่างของสถานีมาก โดยจะมีสถานีรวมทั้งหมด 12 สถานี ไม่เหมือนโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ที่จะมีสถานีทุก 2 กิโลเมตร หากมีการนำระบบรถไฟฟ้ามาให้บริการ จะมีต้นทุนสูง การนำหัวรถจักรดีเซลมาวิ่งจะคุ้มทุนมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตหากมีผู้ใช้บริการมาก จนมีการเพิ่มความถี่ของสถานี รวมถึงมีการสร้างส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีแดง ไปเชื่อมโยงกับมักกะสัน-หัวหมาก และจากบางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งเป็นเส้นทางที่วิ่งผ่านเมืองชั้นใน รวมทั้งต้องมีการจอดสถานีหลายสถานีมากขึ้นเพื่อรับคน ถึงช่วงนั้นคงมีความจำเป็นต้องนำระบบรถไฟฟ้ามาใช้ ซึ่งจะทำให้การเดินรถมีความความคุ้มค่าต่อต้นทุนดำเนินงาน

ส่วนข้อสงสัยว่า เมื่อมีการนำระบบรถไฟฟ้ามาวิ่ง จะต้องมีการดัดแปลงรถ หรือลงทุนเพิ่มหรือไม่ นายอารักษ์ ยืนยันว่า การก่อสร้างระบบงานโยธาในครั้งนี้ จะมีการติดตั้งระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณไว้เลย ขณะที่รางซึ่งจะมีการก่อสร้าง ก็จะเป็นระบบรางมีเตอร์ เกจ หรือขนาดความห่าง 1 เมตร ซึ่งเป็นระบบทั่วไปที่รถไฟของไทยใช้อยู่ และเป็นระบบขนาดรางรถไฟฟ้าที่ใช้งานในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน ดังนั้น เมื่อในอนาคตจะเอารถไฟฟ้ามาวิ่งบนโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางรถไฟฟ้าสีแดงที่สร้างไว้ ก็สามารถทำได้ทันที โดยไม่ต้องดัดแปลงราง หรือลงทุนเพิ่มแต่อย่างใด


เอาแล้วไง เอาเป็นรางเมตรเดียว อย่างนี้ รถไฟ จากมักกะสันจะวิ่งไปถึงตลิ่งชันได้ไง ต้องมีสถานีเปลี่ยนถ่ายอยู่ดี Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 23/05/2007 10:34 pm    Post subject: Reply with quote

จากตลิ่งชัน บางซื่อ จากแผนแบบ มีราง ทั้งหมด 6 ราง 3 คู่
คู่ที่ 1 จะเป็น รางมาตรฐาน ใช้กับรถไฟฟ้าชานเมือง ขน คน
คู่ที่ 2 จะเป็นรางมาตรฐาน ใช้กับรถไฟฟ้า ด่วนขน คน
คู่ที่ 3 ราง เมตร ใช้กับการขนสินค้า ที่มาจากภาคใต้ ส่วนหนึ่งแยกไปที่ย่านบางซื่อ และมาเชื่อมไปสายตะวันออก เพื่อลงไปแหลมฉบัง

ระบบสัญญาณ ทำพร้อมงานโยธา ตามข่าว ขอรับ...

ส่วนรถดีเซลราง ขนคน ใช้รางคู่ที่ 3 เอามาใช้แก้ขัดไปพลางๆ
ก่อนที่จะเชื่อม ระบบรถไฟฟ้าในคู่ที่ 1 และ 2 ที่พาดไปทางตะวันออกและสายเหนือ.... Embarassed

จะงงกันไหมเนี่ย..... เฮ้อ Sad
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2007 8:49 am    Post subject: Reply with quote

nathapong wrote:
จากตลิ่งชัน บางซื่อ จากแผนแบบ มีราง ทั้งหมด 6 ราง 3 คู่
คู่ที่ 1 จะเป็น รางมาตรฐาน ใช้กับรถไฟฟ้าชานเมือง ขน คน
คู่ที่ 2 จะเป็นรางมาตรฐาน ใช้กับรถไฟฟ้า ด่วนขน คน
คู่ที่ 3 ราง เมตร ใช้กับการขนสินค้า ที่มาจากภาคใต้ ส่วนหนึ่งแยกไปที่ย่านบางซื่อ และมาเชื่อมไปสายตะวันออก เพื่อลงไปแหลมฉบัง

ระบบสัญญาณ ทำพร้อมงานโยธา ตามข่าว ขอรับ...

ส่วนรถดีเซลราง ขนคน ใช้รางคู่ที่ 3 เอามาใช้แก้ขัดไปพลางๆ
ก่อนที่จะเชื่อม ระบบรถไฟฟ้าในคู่ที่ 1 และ 2 ที่พาดไปทางตะวันออกและสายเหนือ....

จะงงกันไหมเนี่ย..... เฮ้อ


ป๋านัฐ, เจ้ารางคู่ที่ 3 ใช่รางคู่เดิม ที่วิ่งไปสะพานพระราม 6 แม่นบ่อ หรือ ว่าเป็นราง 3-4 ... ส่วนรางมาตรฐาน อีก 2 คู่ (ราง 5-8) ที่ว่า นั้น คงต้องยกระดับ แล้วเบี่ยงสะพานพระราม 6 ไปทาง ด้านเทคโนพระนครเหนือ (หรือไม่ก็ไปทางวัดสร้อยทอง) เพราะเขตทางไม่พอ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2007 8:54 am    Post subject: Reply with quote

กลุ่มเซ็นทรัลอ้อนร.ฟ.ท.เจรจา ต่อสัญญาเช่าที่ดินหวั่นผู้ค้าหนี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2220 24 พ.ค. - 26 พ.ค. 2550

กลุ่มเซ็นทรัลผวา การรถไฟฯเมินส่งสัญญาณเจรจาต่อสัญญาที่ดิน ลาดพร้าว ทั้งที่กฤษฎีกาตีความให้ต่อสัญญาได้ไม่ขัดพรบ.ร่วมทุนปี 2535 ชี้หากไม่ชัดเจนส่งผลกระทบแผนพัฒนาห้าง และผู้เช่า-พนักงานไม่มั่นใจอนาคต ขณะที่อายุสัญญาใกล้ครบเทอมธ.ค. 2551 "กอบชัย จิราธิวัฒน์" ยันพร้อมเจรจาผลตอบแทนใหม่ที่เป็นธรรมและโปร่งใสตามศักยภาพที่ดินเตรียมยื่นหนังสือจี้ผู้บริหาร รฟท.ถามความคืบหน้า หวังรัฐบาล "ขิงแก่" บริหารประเทศอย่างโปร่งใส


นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)เปิดเผยกับ "ฐานเศษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าในการเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)บริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าวว่า ปัจจุบันมีหลายฝ่ายยังไม่เข้าใจกรณีการเช่าที่ดินระหว่างกลุ่มเซ็นทรัลกับการรถไฟฯ มีความเป็นมาอย่างไร ขนาดวันนี้ยังไม่มีการเจรจาใด ๆ ทั้งสิ้นในเรื่องการต่อสัญญา แต่ก็มีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเอาเปรียบ


ทั้งนี้ บริษัทต้องการให้มีการเจรจาเรื่องนี้โดยเร็วระหว่างบริษัทกับผู้บริหารการรถไฟฯ เพราะที่ผ่านมาได้มีบันทึกจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความเมื่อเดือนเม.ย. 2549 โดยกฤษฎีกามีความเห็นว่า เซ็นทรัลสามารถต่อสัญญาได้ต่อครั้งไม่น้อยกว่า 10 ปี และเจรจาอัตราตอบแทนผลประโยชน์ ให้กับรฟท. ไม่ขัดพรบ.ร่วมทุนปี 2535 ที่ระบุชัดว่า ถ้าสัญญาใดที่จัดทำขึ้นแล้วก่อนหน้าที่พรบ.นี้จะมีผล ก็ไม่สามารถบังคับย้อนหลังได้


"ขณะที่รฟท. ก็ทำหนังสือถามไปยังกฤษฏีกา เช่นกันและก็ได้รับตอบกลับมาตรงกันว่า ทางรฟท. ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ ตามพรบ.ร่วมทุน มาเจรจาก่อน เมื่อการเจรจาสำเร็จไม่จำเป็นต้องเปิดประมูลใหม่ แต่หากไม่สำเร็จจะต้องเจรจา และเปิดประมูลใหม่ตามพรบ. 2535 โดยทางกฤษฎีกายืนยันว่า ข้อ 8 ซึ่งผูกพันในสัญญาว่าเรามีสิทธิต่อสัญญาอีก 10 ปี เป็นข้อสัญญามั่นที่รฟท.ต้องให้เรา หรือเจรจากันก่อน โดยทั้งสองฝ่ายต้องมีการตั้งบริษัท ประเมินราคาตามมาตรฐานสากล ก็อาจมีการตั้งราคาไว้เท่านั้นเซ็นทรัลจ่ายได้มั้ย หรือเจรจาลดลงได้หรือไม่ กับรฟท. การเจรจาก็ต้องเจรจาโดยสุจริต มาแชร์กันออกเป็นตัวเลขว่ารับได้หรือไม่"นายกอบชัยกล่าวและว่า


ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว เริ่มดำเนินการในปี 2521 ลงทุนจ่ายค่าเช่าที่ดินตามที่การรถไฟฯประเมินไว้ 80 ล้านบาท และลงลงทุนก่อสร้างไปอีก 2,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมากในขณะนั้น ส่งผลให้บริษัทประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง 10 ปี เกือบทำเอากลุ่มล้มละลาย แต่พอปัจจุบันเริ่มมีรายได้ที่มากขึ้นกลับกลายเป็นว่า บริษัทเอาเปรียบ ถูกกล่าวหาว่าจ่ายค่าเช่าถูกเหลือเกินจริง


ทั้งนี้ ต้องมองย้อนกลับไปในอดีตว่า การรถไฟฯได้ร่างทีโออาร์ กำหนดราคาค่าเช่าเอาไว้ บริษัทก็จ่ายตามที่กำหนด และในความเป็นจริงจ่ายมากกว่าเกือบเท่าตัว มากกกว่าที่การรถไฟฯกำหนดไว้คือ 1.75 ล้านบาทต่อปี ก็จ่ายจริง 3 ล้านบาทต่อปี หากเซ็นทรัลไม่ได้เป็นผู้ชนะประมูลในวันนั้น กลุ่มที่ชนะประมูลก็ต้องรับเงื่อนไขเดียวกัน โดยได้กำหนดชัดเจนว่า ผู้ชนะได้สิทธิในการต่อสัญญาอย่างน้อย 10 ปี


อย่างไรก็ดีปัจจุบันคณะกรรมการรฟท. ยังไม่ได้เรียกบริษัทเข้าเจรจาเรื่องต่อสัญญาสักครั้ง หากรัฐบาลไม่ทำตามข้อตกลง ก็จะทำให้นักลงทุนรู้สึกว่าบริษัทไม่ทำตามสัญญา บริษัทต้องการให้เกิดการเจรจา มีการดำเนินการ เปิดกว้าง เพราะสัญญาจะสิ้นสุดในวันที่ 19 ธค. 2551 จากสถานการณ์ที่คลุมเครือ มีผลกระทบมาก นอกจากภาพลักษณ์ที่สาธารณะมอง ในเชิงธุรกิจ ตามปกติ กระทบต่อการลงทุน ซึ่งกลุ่มซีพีเอ็น เพิ่งประกาศลงทุนใหญ่ 4 โครงการ กว่าบริษัทจะขายโครงการ ผู้ค้า นักลงทุนก็จะถามถึงความคืบหน้า จึงไม่ใช่กระทบเพียงแค่เซ็นทรัล แต่ยังถึงรายย่อย และพนักงานของบริษัท จะทำอย่างไร ทุกคนไม่มั่นใจ สัญญาที่ใกล้หมดอายุ ถ้าเจรจาไม่สำเร็จก็อาจเป็นสุญญากาศได้


ต่อข้อถามที่ว่า หากรัฐบาลรักษาการ ไปจนถึงปีหน้า และไม่มีการเจรจาเรื่องสัญญา ทางกลุ่มเซ็นทรัลจะดำเนินการอย่างไร โดยนายกอบชัย ให้ความเห็นว่า บริษัทพยายามดำเนินทุกขั้นตอนที่โปร่งใส ตั้งแต่ทำจดหมายถึงกฤษฎีกา ตั้งแต่ปี 2545 และปี 2549 ก็ได้รับการยืนยันตามเดิม เสียเวลา บริษัทอยากให้มีผู้กล้าเรียกเราไปเจรจาไม่ต้องกลัวว่าจะมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง


ทั้งนี้ทางกลุ่มยังเชื่อมันในแนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาลปัจจุบันที่ยืนยัน จะดำเนินการบริหารแบบโปร่งใสตรวจสอบได้ บริษัทพยายามตั้งใจให้การเจรจาจบในรัฐบาลชุดนี้ เชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ว่าจะดำเนินการบริหารด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม นโยบายที่นายกฯประกาศมาจะซึมซับไปทุกหน่วยงาน แต่หากมีการยืดเยื้อออกไปจนหมดอายุสัญญา บริษัทก็คงจะสงวนสิทธิ์ดำเนินการตามกรอบของกฎหมาย


......

1,706สัญญาค้างค่าเช่าที่ดินร.ฟ.ท. เร่งล้างบัญชี/ลดเกณฑ์การให้เช่า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2220 24 พ.ค. - 26 พ.ค. 2550

การรถไฟฯ สรุปบัญชีค้างค่าเช่า พบมียอดคู่สัญญาค้างชำระเงินอยู่รวม 1,706 สัญญา รวมมูลค่ากว่า 800 ล้าน เป็นหน่วยงานรัฐ 154 สัญญา มียอดค้างกว่า 165 ล้าน คู่สัญญาเอกชนค้างชำระค่าเช่า 1,494 สัญญา ค่ารวมกว่า 291 ล้าน ขณะที่คู่สัญญาค้างจ่ายยอดเกิน 1 ล้าน รวม 58 สัญญา ค่ากว่า 353 ล้านบาท เร่งเรียกเจรจาสางบัญชีด่วน อตก.ผวาเคลียร์จบเป็นรายแรก เตรียมปรับแก้เกณฑ์ให้เช่าที่ดินใหม่สะดวกต่อการพัฒนาที่ดินง่ายขึ้น


นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากการรวบรวมรายชื่อคู่สัญญาเช่าที่ดินของการรถไฟฯ ทั่วประเทศที่ยังค้างชำระค่าเช่า ณ วันที่ 31 ธ.ค.49 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มียอดคู่สัญญาที่ยังค้างชำระอยู่รวมทั้งสิ้น 1,706 สัญญา วงเงินค่าเช่าที่ค้างชำระอยู่มียอดรวมทั้งสิ้น 810,413,712.67 บาท แบ่งเป็น คู่สัญญาที่เป็นหน่วยงานราชการ 154 สัญญา ยอดค้างชำระ 165,533,061.60 บาท คู่สัญญาที่เป็นเอกชน 1,494 สัญญา รวมยอดค้างชำระ 291,799,620.66 บาท และ คู่สัญญาที่ยอดค้างชำระเกิน 1,000,000 บาท อีก 58 สัญญา รวมยอดค้างชำระ 353,081,030.41 บาท


ทั้งนี้การรถไฟฯ อยู่ระหว่างเร่งเจรจากับคู่สัญญาทั้งหมด เพื่อเรียกเก็บเงินค่าเช่าที่ยังค้างชำระอยู่ให้ได้โดยเร็ว โดยรายที่สามารถตกลงกันได้ชัดเจนแล้วในขณะนี้ คือ องค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อตก.) ที่คาดว่าภายในวันที่ 30 พ.ค.50 นี้ จะมีการเซ็นสัญญาเพื่อต่อสัญญาเช่าที่ดินต่ออีกเป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่ง อตก.จะจ่ายเงินค่าเช่าปีแรกของสัญญาเช่ารอบใหม่ให้การรถไฟฯ เป็นเงิน 34 ล้านบาท พร้อมทั้งจ่ายค่าเช่าในส่วนปรับเพิ่มที่ยังค้างอยู่ ตั้งแต่ 30 พ.ค.45-29 พ.ค.50 อีก 58 ล้านบาทเศษให้ด้วย ทำให้การรถไฟฯ จะได้รับเงินทันทีภายหลังจากเซ็นสัญญาแล้วเป็นเงินร่วม 100 ล้านบาท


ส่วนคู่สัญญารายอื่นๆ ที่ยังค้างค่าเช่า อาทิ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่บริหารกิจการตลาดนัดจตุจักร องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัทเจริญพลาซ่า บริษัท มาสเตอร์แอด จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำหัด (มหาชน) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น นั้น การรถไฟฯ จะเร่งเจรจาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อที่จะได้นำเงินค้างชำระมาใช้ในการบริหารงานส่วนอื่นๆ ต่อไป


ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน กล่าวต่ออีกว่า นอกจากจะเร่งเก็บเงินค่าเช่าที่ค้างอยู่จากคู่สัญญาแล้ว การรถไฟฯ ยังได้เล็งเห็นด้วยว่ามีปัญหาหลายจุดที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียกเก็บค่าเช่า พร้อมทั้งการทำสัญญาเช่าต่างๆ ทำให้ได้เสนอขอความเห็นชอบจาก นายถวิล สามนคร รองผู้ว่าการการรถไฟฯ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการร.ฟ.ท. เพื่อขอปรับลดระเบียนและขั้นตอนต่างๆ ให้ง่ายและรวดเร็วต่อการให้เช่าที่ดินเพื่อจัดประโยชน์ด้วย


โดยได้ขอให้มีการกระจายอำนาจในการอนุมัติให้เช่าที่ดิน จากเดิมที่อำนาจจะอยู่แค่ในระดับผู้ว่าการ และคณะกรรมการการรถไฟ (บอร์ด) เท่านั้น ซึ่งส่งผลทำให้การพิจารณาล่าช้า และงานกระจุกตัว ดังนั้นจึงได้ขอให้กระจายอำนาจงานให้แก่ผู้บริหารระดับอื่นด้วย ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพย์สิน มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติให้เช่าที่ดินมูลค่าไม่เกิน 12 ล้านบาท, ผู้อำนวยฝ่ายการเดินรถ มีอำนาจอนุมติให้เช่าที่ดินจัดประโยชน์เป็นลานจอดรถ ป้ายโฆษณา แผงค้าขนาดเล็ก ในเขตที่ดินภูมิภาค และหัวหน้าสำนักงานขนส่งคอนเทนเนอร์ มีอำนาจพิจารณาให้เช่าสิทธิในพื้นที่สำนักงานคอนเทนเนอร์ได้


นอกจากนั้นแล้ว ยังได้ขอลดขั้นตอนการพิจารณาคำร้องขอเช่าที่ดินให้สั้นลง โดยสามารถเสนอเรื่องมาให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินพิจารณาได้โดเยตรง จากที่ก่อนหน้านี้จะต้องผ่านการพิจารณาหลายหน่วยงานและหลายขั้นตอน อีกทั้งยังได้ปรับลดจำนวนเจ้าหน้าที่ และฝ่ายที่รับผิดชอบในการตรวจสอบพื้นที่ที่จะให้เช่า รวมถึงได้เสนอขอลดขั้นตอนการตรวจแบบอาคาร สิ่งก่อสร้างจากเดิมที่การรถไฟฯ จะต้องตรวจแบบอาคารและสิ่งก่อสร้าง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ปี เหลือเพียงแค่การตรวจสอบการก่อสร้างให้อยู่ในขอบเขตพื้นที่และระดับความสูงที่กำหนดเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่าแบบก่อสร้างของผู้เช่านั้นจะต้องมีการรับรองตามข้อกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว ดังนั้นจึงได้ปรับลดขั้นต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การพิจารณาให้เช่าสิทธิเข้าจัดประโยชน์ในที่ดินการรถไฟฯ มีความรวดเร็ว กระชับขึ้นด้วย


นายอิทธิพล กล่าวต่อด้วยว่า ในขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาผลการบังคับใช้ระเบียบ การปรับเพิ่มค่าเช่าอีก 20% ตามแนวคิดของ นายพันธ์เลิศ ใบหยก ในฐานะบอร์ดการรถไฟฯ ที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารและพัฒนาทรัพย์สินการรถไฟฯ ที่ประกาศใช้เมื่อเดือน ธ.ค.49 ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นตัวเลขการปรับเพิ่มค่าเช่าที่สูงมาก ทำให้มีคู่สัญญาเป็นจำนวนมากไม่รับเงื่อนไขดังกล่าว จึงเป็นปัญหาต่อการเจรจาปรับเพิ่มค่าเช่าและต่อสัญญามาก จึงมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนผลกรบังคับใช้จากที่มีผลกับทุกคู่สัญญา มาเป็นมีผลบังคับใช้กับคู่สัญญาเฉพาะที่มีรายได้สูงเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ดีจะขอรอดูผลอีกสักระยะ หากยังเป็นปัญหาอยู่จะเสนอแนวทางแก้ไขให้บอร์ดพิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 24/05/2007 11:42 am    Post subject: Reply with quote

nathapong wrote:
จากตลิ่งชัน บางซื่อ จากแผนแบบ มีราง ทั้งหมด 6 ราง 3 คู่
คู่ที่ 1 จะเป็น รางมาตรฐาน ใช้กับรถไฟฟ้าชานเมือง ขน คน
คู่ที่ 2 จะเป็นรางมาตรฐาน ใช้กับรถไฟฟ้า ด่วนขน คน
คู่ที่ 3 ราง เมตร ใช้กับการขนสินค้า ที่มาจากภาคใต้ ส่วนหนึ่งแยกไปที่ย่านบางซื่อ และมาเชื่อมไปสายตะวันออก เพื่อลงไปแหลมฉบัง

ระบบสัญญาณ ทำพร้อมงานโยธา ตามข่าว ขอรับ...

ส่วนรถดีเซลราง ขนคน ใช้รางคู่ที่ 3 เอามาใช้แก้ขัดไปพลางๆ
ก่อนที่จะเชื่อม ระบบรถไฟฟ้าในคู่ที่ 1 และ 2 ที่พาดไปทางตะวันออกและสายเหนือ...(


ถ้าเป็นแบบที่ป๋าว่ามานี้ก็ทำให้เข้าใจได้แจ่มแจ้งแดงแจ๋เลยครับ Laughing
ซึ่งหมายความว่า รถดีเซลรางที่นำมาใช้ชั่วคราวก่อนในระบบรางเมตรเกจ ก็คงได้โยกไปวิ่งต่างจังหวัดได้ต่อไป
ส่วนรถไฟฟ้าในเมืองที่ใช้ระบบสแตนดาร์ดเกจ ก็สามารถแล่นเชื่อมไปมาถึงกันได้โดยสะดวก ถ้าใช้ระบบรับจ่ายไฟเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2007 9:22 am    Post subject: Reply with quote

"ธีระ"ยันสัญญาเช่าที่ดินลาดพร้าวใหม่สูงขึ้นแน่

Bangkokbiznews 24 พฤษภาคม 2550 เวลา 18:39:15


พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณห้าแยกลาดพร้าวของการรถไฟแห่งประเทศ (ร.ฟ.ท.) กับกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลฯ ว่า ร.ฟ.ท.ดำเนินการอยู่ในขั้นตอนตามสัญญาเช่าที่ดิน โดยได้หารือกับสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้มีปัญหาข้อกฎหมาย และบริหารจัดการพื้นที่ในอนาคต ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะกำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ อย่างเคร่งครัด

สำหรับประเด็นที่มีการโจมตีว่า ค่าเช่าที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับห้างสรรพสินค้ามาบุญครองกับค่าเช่าที่ดินย่านลาดพร้าวที่ ร.ฟ.ท.ได้รับจากกลุ่มเซ็นทรัลฯแตกต่างกันมากนั้น พล.ร.อ.ธีระ กล่าวยอมรับว่าปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ได้รับค่าเช่าที่ดินเพียงปีละ 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามสัญญาเช่าที่ดินตั้งแต่ปี 2521 หรือผ่านมาแล้ว 29 ปี อย่างไรก็ตามหากทำสัญญาเช่าค่าเช่าที่ดินใหม่ จะกำหนดอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นกว่าปัจจุบันหลายเท่า

“ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่มาทำสัญญาเช่าที่ดินใหม่ อัตราค่าเช่าคงต้องสูงกว่านี้มากมายหลายเท่า เพราะจะต้องมีการประเมินราคาที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้เป็นไปตามราคาปัจจุบัน แต่ขณะนี้เรายังไม่ได้ดำเนินการถึงขั้นตอนนั้น ทั้งนี้ ยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวจะทำด้วยความรอบคอบ และรักษาผลประโยชน์ของ ร.ฟ.ท.ให้มากที่สุด”พล.ร.อ.ธีระกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2007 8:57 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จับมือ บวท.เพิ่มความถี่เดินรถ-ขนส่งสินค้าทางรถไฟ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤษภาคม 2550 14:48 น.

ร.ฟ.ท.ร่วมกับ บวท.ลงนามข้อตกลงความร่วมมือโครงการบริหารเพิ่มปริมาณการขนส่งทางรถไฟเส้นทางลาดกระบัง-ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อเพิ่มความถี่ในการเดินรถและการขนส่งสินค้า โดยจะนำมาใช้ในการบริหารจัดการทางด้านการเดินขบวนรถไฟและควบคุมการจราจรในระบบราง ตลอดจนการให้บริการติดต่อสื่อสารที่ใช้ในการเดินขบวนรถไฟ

นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการบริหารความจุรางรถไฟ ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (สปค.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) โดยผู้ลงนามของแต่ละฝ่าย ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม นายบัญชา คงนคร รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และนายปรีติ เหตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

สำหรับบันทึกข้อตกลงนี้ เป็นความร่วมมือในการดำเนินการสำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าทางรถไฟ เพื่อเพิ่มความถี่ในการเดินรถ และการขนส่งสินค้า สำหรับนำมาใช้ในการบริหารจัดการทางด้านการเดินขบวนรถไฟและควบคุมการจราจรในระบบราง และการให้บริการติดต่อสื่อสารที่ใช้ในการเดินขบวนรถไฟ โดยครอบคลุมเส้นทางจากสถานีคลังสินค้า ICD ลาดกระบัง- ชุมทางศรีราชา-ท่าเรือแหลมฉบัง ให้มีความทันสมัยและสามารถใช้ประโยชน์จากรางรถไฟได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ เนื่องจากเส้นทางนี้ นับว่า เป็นเส้นทางขนส่งทางรางที่สำคัญในการขนส่งสินค้าจากภาคส่วนต่างๆ สู่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นหน้าด่านในการขนส่งสินค้าสู่ตลาดโลกในต่างประเทศ ความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากรางรถไฟ ควบคุมการเดินรถ และความปลอดภัยของการขนส่งทางรถไฟ รวมทั้งการบริหารจัดการขนส่งสินค้า และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐทางด้านการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ของประเทศ โดยบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จะเป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่ศึกษา การจัดการในส่วนของการจัดตารางการเดินรถไฟ การพยากรณ์ให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในการขนส่งทางราง และใช้กระบวนการทางธุรกิจมาวิเคราะห์เนื้อหาแนวทางการบริหารจัดการระบบขนส่งและกระจายสินค้า (Logistics) ของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคณะผู้ร่วมศึกษา ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งการจัดทำแผนการศึกษาจะใช้ระยะเวลา 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2550

ผลจากความร่วมมือกันครั้งนี้ เพื่อบูรณาการข้อมูลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบการขนส่งของประเทศ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพในการขนส่งทางรางด้วยรถไฟขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งและกระจายสินค้าลอจิสติกส์ได้อย่างครบวงจร และนำไปสู่การเป็น Multi-Modal Transportation Center เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบลอจิสติกส์ของประเทศ และจะนำมาใช้เป็นต้นแบบงาน เพื่อให้บริการต่างๆ ของ ร.ฟ.ท.เช่น การขนส่งสินค้าทางรถไฟ การเดินรถและควบคุมจราจรทางรถไฟ ความปลอดภัยแก่ขบวนรถไฟ บริการข่าวสารแก่ผู้ใช้บริการรถไฟ การค้นหาตำแหน่งรถไฟ การเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารสารสนเทศทางระบบรางระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น และเป็นตัวอย่างของการบูรณาการทรัพยากรและการแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญของหน่วยงานในสังกัด
Back to top
View user's profile Send private message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 26/05/2007 9:43 am    Post subject: Reply with quote

เฮียวิศซี่ ถ้าอย่างนี้ ทางคู่ระหว่าง ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา - (แหลมฉบัง) พร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณเสร็จเมื่อไหร่ ก็คงเพิ่มขบวนรถไฟได้อีกหลายขบวนเลยนะ

แล้วเฮียทราบไหมว่า ทางคู่ใหม่ กับ ทางช่วง ICD - ฉะเชิงเทรา สามารถรับโหลดเพลาได้ 20 ตัน หรือไม่ เพราะถ้าใช่ อนาคตอาจมีการจัดหารถจักร โหลดเพลา 20 ตัน เพื่อใช้ในเส้นทางนี้โดยเฉพาะ
เพราะเท่าที่ผมเสิร์ชหาดูไปเรื่อยๆ พบว่า รถจักรใช้กับราง 1 เมตร นี้หากกำหนดโหลดเพลา20 ตัน หรือเกินนิดหน่อย อาจมีแรงม้าเกือบๆ 3,500 แรงม้า พอๆ กับ ALSTHOM + ปู่ GE เลย
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2007 1:31 pm    Post subject: Reply with quote

ตามสเปกทางคู่ ICD - ฉะเชิงเทรา หนะ รับโหลดเพลา 20 ตัน ความเร็ว 120 kph/100 kph ... แต่ปัญหาจะตกที่ทางเก่า ที่ยังไม่ผ่านการ Rehab หนะสิ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2007 10:23 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เทงบฯ51วงเงิน1.6หมื่นล. เน้นพัฒนา"โครงสร้างพื้นฐาน"
Matichon - June 1, 2007

นายศิวะ แสงมณี ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ได้จัดทำแผนงบประมาณลงทุนปี 2551 รวมทั้งสิ้น 16,531,813,000 บาท เสนอกระทรวงคมนาคม แบ่งเป็น

1. โครงการในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐรับภาระจำนวน 15,570,233,000 บาท
2. ส่วนที่เหลืออีก 961,580,000 บาท ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระเอง

นายศิวะกล่าวว่า งบประมาณในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐรับภาระดังกล่าว แบ่งเป็น

1.1. การดำเนินโครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 จำนวน 1,586,500,000 บาท โดยเอาราง 100 ปอนด์ หมอนคอนกรีต ถมหินบดหินอัดหิน ทางช่วง แก่งคอย - แก่งเสือเต้น (37 กม.), สุระนารายณ์ - บัวใหญ่ (192 กม.) และ ชท.ถนนจิระ - บัวใหญ่ (79 กม.)

1.2. โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง (ส่วนหนึ่ง) จำนวน 1,429,292,000 บาท

1.3. โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน (ส่วนหนึ่ง) จำนวน 3,593,000,000 บาท โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงบางซื่อ-รังสิต (ส่วนหนึ่ง) จำนวน 4,336,234,000 บาท

1.4 โครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟสายตะวันออก (พญาไท-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) หรือโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ (ส่วนหนึ่ง) จำนวน 4,112,820,000 บาท

1.5 ส่วนที่เหลือ 512,387,000 บาท เป็นการลงทุนโครงการตามแผนระยะยาวของ ร.ฟ.ท.

ส่วนงบประมาณในส่วนที่ ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระเอง นายศิวะกล่าวว่า แบ่งเป็น

2.1 การดำเนินโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ จำนวน 20 คัน วงเงิน 220,000,000 บาท (รถจักรหัวละ 110 ล้านบาท)
2.2 โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้าจำนวน 396 คัน วงเงิน 76,961,000 บาท (ประมาณ 195000 บาทต่อคัน)
2.3 โครงการจัดหารถโบกี้ปั้นจั่นขนาดยกน้ำหนักได้ไม่ต่ำกว่า 60 ตัน จำนวน 2 คัน วงเงิน 19,780,000 บาท (ประมาณ 9.89 ล้านบาท)
2.4 ที่เหลือเป็นการดำเนินโครงการลงทุนตามแผนระยะยาว วงเงิน 610,186,000 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 474, 475, 476  Next
Page 5 of 476

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©