Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311330
ทั่วไป:13292084
ทั้งหมด:13603414
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 469, 470, 471 ... 476, 477, 478  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/02/2024 5:17 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่า รฟท.เปิดกิจกรรมออกหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ Doctor Train ครั้งที่ 5 ที่จังหวัดอุตรดิตถ์
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Wednesday, February 14, 2024 11:44

วันนี้ (14 ก.พ.) เวลา 08.30 น. นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมออกหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ Doctor Train ครั้งที่ 5 ผ่านระบบออนไลน์ Video Conference ซึ่งจัดขึ้นที่แขวงโรงงานอุตรดิตถ์ ระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพ ตรวจวินิจฉัยคัดกรองโรคต่างๆ ให้กับพี่น้องประชาชน พนักงาน ลูกจ้างการรถไฟฯ และครอบครัว และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรถไฟฯ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรม ออกหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ Doctor Train ขึ้นเป็นครั้งที่ 5 โดยในครั้งนี้ มีนายแพทย์อนวัช เสริมสวรรค์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นายสุชีพ สุขสว่าง รองผู้ว่าการรถไฟฯ และคณะผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัย University of Wisconsin Green Bay ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมกิจกรรม ณ แขวงโรงงานอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนได้รับโอกาสเข้าถึงการรักษาและเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

สำหรับกิจกรรมออกหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ Doctor Train ในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีการระดมทีมอาจารย์แพทย์ระดับแนวหน้าของประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา พร้อมทั้งคณะแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร มาให้บริการตรวจสุขภาพ ตรวจวินิจฉัยคัดกรองโรคต่างๆ ให้กับพี่น้องประชาชน พนักงาน ลูกจ้างการรถไฟฯ และครอบครัว ถึงพื้นที่แขวงโรงงานอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ และพื้นที่ใกล้เคียงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมใช้บริการตรวจสุขภาพเป็นจำนวนมาก อาทิ คลินิกหัวใจ คลินิกปอด คลินิกอายุรกรรมทั่วไป เป็นต้น

และเมื่อมีการตรวจพบโรคกลุ่มเสี่ยง คณะแพทย์จะดำเนินการส่งผู้ป่วยต่อไปยังโรงพยาบาลที่ให้ความร่วมมือ เพื่อทำการรักษาต่อทันที อีกทั้ง ยังมีการติดตามการรักษาทุก ๆ 3 เดือน

ที่สำคัญในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบติดตามอาการผ่านทาง chatbot จากทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะพัฒนาตามรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษา ให้สามารถเข้าถึงการให้บริการทางการแพทย์ได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการติดตามดูแลรักษา สอบถามปัญหา และนัดหมายเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยกับคลินิกเฉพาะทางเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก ตลอดจนจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชันวินิจฉัยโรค (Metabolic Application) โดยเริ่มนำร่องจากระบบโทรเวช (Telemedicine) และการดัดแปลงตู้รถไฟเป็นตู้คลินิกเฉพาะทางเคลื่อนที่ก่อน เป็นต้น

นายเอกรัช กล่าวว่า ในรอบปีที่ผ่านมา การรถไฟฯ และ สจล. ได้ร่วมมือจัดคณะแพทย์ลงพื้นที่ออกตรวจคัดกรองโรคอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ประกอบด้วย ภาคใต้ที่จังหวัดชุมพร ภาคเหนือที่จังหวัดลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดนครราชสีมา และภาคกลางที่จังหวัดสระบุรี สามารถทำให้พนักงาน การรถไฟฯ และครอบครัว รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้กว่า 2,000 คน ซึ่งการจัดกิจกรรมออกหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ Doctor Train ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่การรถไฟฯ มุ่งมั่นเพื่อการดำเนินกิจการความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลใส่ใจพนักงานและประชาชนให้มีสุขภาพที่ดี พร้อมทั้งเกิดการตระหนักรู้ในการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ จึงขอเชิญชวนให้พนักงานของการรถไฟฯ ครอบครัว และประชาชน หันมาสนใจสุขภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของบุคลากรการรถไฟฯ และครอบครัว เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขอย่างเสมอภาคกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/02/2024 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจราชการการพัฒนาระบบการขนส่งทางบก ทางราง และทางอากาศในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
....

วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2567) นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจราชการการพัฒนาระบบการขนส่งทางบก ทางราง และทางอากาศในพื้นที่จังหวัดอุดร และเป็นประธานพิธีมอบประกาศนียบัตรพร้อมใบขับขี่แก่ผู้ผ่านการอบรมและทดสอบภายใต้โครงการ “นักเรียนรุ่นใหม่มีใบขับขี่”

พร้อมด้วย นางสาวณภัทรา กมลรักษา ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง โดยมี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นายธีรนัย นพตลุง ขนส่งจังหวัดอุดรธานี และผู้แทนหน่วยงานราชการในจังหวัดอุดรธานี ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี

จากนั้นได้เดินทางไปสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี รับฟังการบรรยายสรุปการอำนวยความสะดวกประชาชนที่เดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะของสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี

ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย และแผนพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟอุดรธานี

และรับฟังการบรรยายสรุปความคืบหน้าการดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบช่วยเดินอากาศ DVOR/DME แผนและแนวทางการดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบช่วยเดินอากาศ ILS-/DME ท่าอากาศยานอุดรธานี ณ ศูนย์ควบคุมการบินอุดรธานี

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ กล่าวว่า การตรวจราชการครั้งนี้ได้ติดตามการพัฒนาระบบการขนส่งทางบก ทางราง และทางอากาศในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี การคมนาคมขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี

โดยตนมองว่าจังหวัดอุดรเป็นจังหวัดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก มีศักยภาพสูง มีโอกาสสูงที่จะเพิ่มรายได้ให้กับจังหวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประชาติด้วย จึงขอฝากให้จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศึกษาโอกาสทางเศรษฐกิจของจังหวัดที่ไม่ควรมองข้าม อาทิ การหารายได้จากต่างประเทศ การเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวจังหวัดอุดรธานี โดยร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในการบูรณาการการดำเนินการร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ

พร้อมทั้งขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้มีการบริการขนส่งสาธารณะให้บริการประชาชนให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนด้วย นอกจากนี้ ได้มอบให้ขนส่งจังหวัดอุดรธานีเร่งรัดจัดระเบียบรถแท็กซี่ ให้เข้าสู่ระบบเพื่อให้ประชาชานสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

พร้อมทั้งมอบให้การรถไฟ แห่งประเทศไทยปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบสถานีรถไฟอุดรธานีให้มีความสะอาด สวยงาม และอนุรักษ์ไม้หมอนรถไฟ โดยนำมาปรับปรุงเป็นที่นั่งพักรอของผู้โดยสาร ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสถานีรถไฟต่อไป

รวมทั้งให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ระบบช่วยเดินอากาศที่จะจัดซื้อจัดจ้างให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบประกาศนียบัตรพร้อมใบขับขี่แก่ผู้ผ่านการอบรมและทดสอบภายใต้โครงการ “นักเรียนรุ่นใหม่มีใบขับขี่” ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุดรธานี ภายใต้โครงการนักเรียนรุ่นใหม่มีใบขับขี่ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและส่งเสริมให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่เป็นเยาวชนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และความชำนาญในการขับรถอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎจราจรเพื่อความปลอดภัย รู้วิธีป้องกันอุบัติเหตุและมารยาทในการขับรถ อันจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง สำหรับนักเรียนที่รับมอบประกาศนียบัตร พร้อมใบอนุญาตขับรถในวันนี้ เป็นตัวแทนวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ที่ผ่านการอบรมและทดสอบ จำนวน 10 คน

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/78971
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2024 7:32 am    Post subject: Reply with quote

สทท. กังวล ‘เงินฝืด’ กระทบท่องเที่ยว คนไทยรัดเข็มขัดหนักกว่าก่อนโควิด!
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Friday, February 16, 2024 07:08

จากผลสำรวจ 'ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาส 4/2566' สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับ 'ปัจจัยเสี่ยง' ที่มีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวไทยในไตรมาส 1/2567 โดยเฉพาะความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ 'เงินฝืด' ของเศรษฐกิจไทย

Key Points:

รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาส 4/2566 ระบุถึง "ปัจจัยเสี่ยง" เข้าสู่ภาวะเงินฝืดของเศรษฐกิจไทย ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวไทยในไตรมาส 1/2567
ความคิดเห็นของประชาชนคนไทย เกี่ยวกับหัวข้อ "การวางแผนท่องเที่ยวของประชาชนในไตรมาส 1/2567" พบว่ากว่า 73% "ระมัดระวังการใช้จ่าย" มากขึ้น เมื่อเทียบกับยุคก่อนวิกฤติโควิด-19
กว่า 87% ลดค่าใช้จ่ายในหมวดของใช้ส่วนตัวมากขึ้น ส่วน 79% ควบคุมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวและการบันเทิง

รายงานข่าวจาก สทท. ระบุว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาคือการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของสถานการณ์ “เศรษฐกิจโลก” ตามรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (Global Economic Prospects) ของธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี (ไม่นับรวมกรณีเศรษฐกิจโลกหดตัวในปี 2563-2565 จากวิกฤติโควิด-19) โดยมีการขยายตัว 2.4% ลดลงจาก 2.6% ในปี 2566

ธนาคารโลกคาดด้วยว่าเศรษฐกิจของ “สหรัฐ” จะขยายตัวเพียง 1.6% ในปี 2567 ลดลงจากระดับ 2.5% ในปี 2566 ส่วน “ยูโรโซน” จะขยายตัว 0.7% ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจากระดับ 0.4% ในปี 2566 ขณะที่ “จีน” น่าจะชะลอตัวสู่ระดับ 4.5% ในปี 2567 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 30 ปี

นอกจากนี้บริษัท Moody’s Investor Service (Moody’s) วิเคราะห์ว่าประเทศนอร์เวย์และสวีเดน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวตลาดระยะไกล (Long-haul) ที่มักมาเที่ยวประเทศไทยระยะเวลานาน กำลังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในขณะที่หลายประเทศในกลุ่มยุโรป อเมริกา รวมทั้งจีน รัสเซีย และออสเตรเลีย อยู่ในภาวะเสี่ยงจะเข้าสู่ “ภาวะถดถอย” เช่นเดียวกัน

เมื่อดูเฉพาะ “เศรษฐกิจจีน” พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ “ภาวะเงินฝืด” หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีนในไตรมาส 3 ลดลง 0.1% จากการขยายตัว 0.1% ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 56 ไตรมาส และมีแนวโน้มติดลบในไตรมาสถัดไป อัตราเงินเฟ้อติดลบแสดงถึงประชาชนขาดกำลังซื้อ เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวมากกว่าที่คาดจากปัญหาหนี้สินเอกชนและหนี้รัฐบาลจีน มีสัดส่วนในระดับสูง 300% ของจีดีพี

ความเสี่ยง 'เศรษฐกิจไทย' ส่งสัญญาณเงินฝืด

ด้าน “เศรษฐกิจไทย” เองก็ส่งสัญญาณเงินฝืดเช่นกัน! เพราะจากอัตราเงินเฟ้อของไทยขยายตัวต่ำติดต่อกัน 8 เดือน เริ่มจากเดือน พ.ค. 2566 มีอัตราเงินเฟ้อ 0.53% ส่วนเดือน มิ.ย. 0.23% เดือน ก.ค. 0.35% เดือน ส.ค. 0.88% เดือน ก.ย. 0.30% กระทั่งเข้าสู่เดือน ต.ค. อัตราเงินเฟ้อติดลบ 0.31% เดือน พ.ย. ติดลบ 0.44% และเดือน ธ.ค. ติดลบ 0.83% ในเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2566 อัตราเงินเฟ้อติดลบ 3 เดือนติดต่อกันในรอบ 26 เดือน และมีแนวโน้มที่เงินเฟ้อไทยจะติดลบต่อเนื่อง

เมื่อ “อัตราเงินเฟ้อไทยติดลบ” สะท้อนถึงคนไทยกำลังขาดกำลังซื้อ หากติดลบติดต่อกันหลายเดือน จะสะท้อนภาวะเงินฝืดภายในประเทศ!

ขณะเดียวกัน “ภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน” ที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวไทยไตรมาส 1/2567 เช่นกัน หลังจากเมื่อสิ้นปี 2566 หนี้ครัวเรือนขยับขึ้นไปประมาณ 16.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 91.4% ต่อจีดีพี ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนรายได้น้อยมากที่สุด ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีและลูกหนี้ภาคเกษตรกรรมถือเป็นข้อจำกัดที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม

เปิดผลสำรวจ 'คนไทยวางแผนท่องเที่ยว ไตรมาส 1/2567'

รายงาน สทท. ระบุด้วยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนคนไทยที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน เกี่ยวกับ “การวางแผนท่องเที่ยวของประชาชนในไตรมาส 1/2567” ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 418 คนทั่วประเทศ กระจายตามเพศ ภูมิภาค อาชีพ และช่วงรายได้ ผลการสำรวจพบว่า ประชาชน 74% มีแผนการเดินทางไปต่างจังหวัดในไตรมาส 1 และคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวและจำนวนครั้งในการเดินทางเพิ่มขึ้นมากกว่าไตรมาส 4/2566

สำหรับค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่างจังหวัดต่อครั้งช่วงไตรมาส 4/2566 เป็นเงินประมาณ 4,293 บาท/คน/ทริป ถือว่าไม่แตกต่างจากไตรมาส 3/2566 ซึ่งอยู่ที่ 4,285 บาท/คน/ทริป แต่แตกต่างจากช่วงต้นปี ไตรมาส 1/2566 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาท/คน/ทริป สะท้อนสัญญาณคนไทยขาดกำลังซื้อและเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว

ลักษณะการเดินทางในไตรมาส 1/2567 ส่วนใหญ่ 55% เป็นการเดินทางข้ามภูมิภาค ด้าน 33% มีแผนเดินทางไปจังหวัดในภูมิภาคเดียวกันและพักค้างคืน ภูมิภาคที่ประชาชนวางแผนไปท่องเที่ยวมากที่สุดคือ “ภาคตะวันออก” คิดเป็น 60% ของคนที่วางแผนท่องเที่ยว รองลงมาคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ 30% และ 28% ตามลำดับ

กว่า 68% ของคนที่วางแผนท่องเที่ยว มีแผนเดินทางในเดือน ม.ค. กว่าครึ่งเดินทางกับครอบครัวและญาติ และส่วนใหญ่ 66% เดินทางเพื่อท่องเที่ยวพักผ่อน ขณะที่ 23% มีแผนเดินทาง “ท่องเที่ยวต่างประเทศ” โดยเฉพาะญี่ปุ่น เวียดนาม และเกาหลีใต้ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวไทยมากที่สุดตามลำดับ

กว่า 73% รัดเข็มขัด ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นกว่ายุคก่อนโควิด

ด้านผลการสำรวจเกี่ยวกับ “พฤติกรรมการใช้จ่ายและสถานะทางการเงินที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศของประชาชน” พบว่า 55% มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน มีเพียง 19% ที่รายได้ไม่เพียงพอ

ด้านประชาชน 73% “ระมัดระวังการใช้จ่าย” มากขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนวิกฤติโควิด-19 โดย 87% มีการลดค่าใช้จ่ายในหมวดของใช้ส่วนตัวมากขึ้น ส่วน 79% ควบคุมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวและการบันเทิง และ 56% ควบคุมค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

เมื่อเจาะเฉพาะประเด็น “การควบคุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยว” พบว่ากว่า 89% มีการลดค่าชอปปิงและซื้อของฝากในการท่องเที่ยว รองลงมา 58% ลดค่าใช้จ่ายด้านที่พัก และ 50% ลดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง


'ค่าใช้จ่ายไม่แพง' ปัจจัยหลักรั้งคนไทยตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศ

สอดรับกับการสำรวจหัวข้อ “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของชาวไทย” พบว่า ประชาชน 28% ระบุว่าปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ “ค่าใช้จ่ายไม่แพง” รองลงมา 27% ยกให้เรื่องความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว ส่วน 18% เป็นเรื่องการลดราคา จัดโปรโมชันต่างๆ ของสถานประกอบการ และ 18% ตอบว่าเป็นเพราะความสะดวกสบายในการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจต่อ “ถนนหนทาง” ที่เข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประเทศไทยในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.39 จากเต็ม 5 คะแนน และพึงพอใจต่อการเดินทางโดย “รถไฟ” ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.85 จากเต็ม 5 คะแนน

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความสนใจเดินทางท่องเที่ยว “เมืองรอง” ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.46 จากเต็ม 5 คะแนน โดยเหตุผลที่ประชาชนอยากเดินทางไปท่องเที่ยวเมืองรอง ได้แก่ นักท่องเที่ยวน้อย ไม่แออัด ค่าใช้จ่ายถูกกว่าเมืองหลัก แหล่งท่องเที่ยวมีความสมบูรณ์และอากาศดีกว่าเมืองหลัก ส่วนเหตุผลที่ประชาชนไม่อยากเดินทางไปท่องเที่ยวเมืองรอง ได้แก่ เส้นทางเดินทางไม่สะดวกเท่าเมืองหลัก ข้อมูลการท่องเที่ยวมีน้อย และแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก กับที่พัก ยังมีน้อย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2024 7:21 am    Post subject: Reply with quote

เม.ย.นี้ ลุ้นเปลี่ยนมือ ‘ผู้ว่าการรถไฟฯ’ ท่ามกลางวิกฤติสัญญา ‘ไฮสปีดเทรน’
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Saturday, February 17, 2024 06:38

จับตา เม.ย.นี้ ลุ้นเปลี่ยนมือผู้ว่าการรถไฟฯ “นิรุฒ มณีพันธ์” หลังดำรงตำแหน่ง 4 ปีครบวาระแรก หวั่นเกียร์ว่างกระทบงานสะดุด ท่ามกลางวิกฤติสัญญา “ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน” ยังค้างท่อ ด้านพนักงานแห่ให้กำลังใจต่อภารกิจอีกสมัย

24 เม.ย.2567 ครบวาระแรก “นิรุฒ มณีพันธ์” ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวมระยะเวลา 4 ปี โดยนับเป็นผู้ว่าการรถไฟฯ คนที่ 19 และเป็นอีกหนึ่งคนนอกที่เข้ามาบริหารองค์กรรัฐวิสาหกิจผลขาดทุนสะสม 2 แสนล้านบาท และอยู่ภายใต้การฟื้นฟูกิจการ

โดยโจทย์สำคัญของการบริหารองค์กรนี้ คือ การเร่งหารายได้ สู่เป้าหมายลดปัญหาการขาดทุนและมีกำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) มากกว่า 0 ภายในปี 2570 ตามแผนฟื้นฟูกำหนด ซึ่งผลงานเด่นชัดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการเร่งหารายได้ทั้งด้านโดยสารและสินค้าและธุรกิจ Non - core โดยเฉพาะการหารายได้จากขบวนรถท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และขยายพันธมิตรขนส่งพัสดุ

ขณะที่ผลงานการผลักดันโครงการลงทุนด้านระบบราง ได้เริ่มต้นตอกเสาเข็มโครงการรถไฟสายใหม่ ช่วงเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเส้นทางสำคัญกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะจะรองรับการเดินทาง และขนส่งสินค้าเชื่อมกับ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ช่วยส่งเสริมการเดินทาง การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2571

อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนอีกหนึ่งบิ๊กโปรเจกต์อย่าง “ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน” ยังคงไม่คืบหน้า ด้วยจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้เอกชนคู่สัญญาต้องขอรับการชดเชยจากรัฐบาล และเป็นที่มาของการปรับแก้สัญญา ขณะที่การเตรียมความพร้อมส่งมอบพื้นที่ของภาครัฐ พบว่า ร.ฟ.ท.มีความพร้อมส่งมอบช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา 100% เพื่อให้เอกชนเริ่มงานก่อสร้าง

ทั้งนี้ สถานะปัจจุบันของโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินล่าช้ากว่าแผนอย่างมาก จากแผนแรกที่มีเป้าหมายจะเปิดให้บริการภายในปี 2567 แต่กลับพบว่าขณะนี้ยังไม่สามารถตอกเสาเข็มเริ่มงานก่อสร้างได้ โดยยังติดปัญหาไม่สามารถออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) เนื่องจากภายใต้สัญญากำหนดไว้ว่าการออกหนังสือ NTP เอกชนจะต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

นายอนันต์ โพธ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างพิจารณาผลการยื่นอุทธรณ์ขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนของบริษัท เอเชีย เอรา วัน ก่อนนำมากำหนด และพิจารณาว่าจะเดินหน้าออกหนังสือ NTP อย่างไร ทั้งนี้จากการประเมินภาพรวมโครงการในปัจจุบัน แม้จะล่าช้ากว่าแผน แต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.ประเมินกรอบเวลาในการออกหนังสือ NTP และลงนามแก้ไขสัญญาใหม่ภายในเดือน พ.ค.นี้ ดังนั้นปัจจุบันยังถือว่ามีเวลาในการพิจารณาและเจรจาร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อสรุปในการดำเนินงานที่ดีที่สุด

“ขณะนี้การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา แก่เอกชนครบ 100% ตั้งแต่เดือนต.ค.2564 รวมทั้งการส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการของโครงการ (TOD มักกะสัน) ส่วนประเด็นก่อสร้างทางร่วมช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการพิจารณาแก้ไขร่างสัญญา ดังนั้นเรื่องนี้ยังมีเวลาที่จะเจรจาร่วมกัน”

จากไทม์ไลน์การแก้ไขปัญหา “ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน” จึงจะเห็นได้ว่า ร.ฟ.ท.มีเป้าหมายเคลียร์จบภายในเดือน พ.ค.2567 ซึ่งจะเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับการเปลี่ยนมือตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ที่กำลังจะหมดวาระในเดือน เม.ย.2567 ดังนั้นคงต้องจับตาดูกันว่ากระทรวงคมนาคมจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ต่ออายุผู้ว่าคนเดิมหรือสรรหาใหม่ และการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินค้างท่อต่อไปหรือไม่

ขณะที่ปัจจุบันมีเสียงสะท้อนจากพนักงาน และลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย จากฝ่าย/สำนักงานต่างๆ ที่ออกมาแสดงพลังสนับสนุนนายนิรุฒ มณีพันธ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำหน้าที่ในอีกสมัยต่อไป เพราะมองว่าจะสามารถทำให้ภารกิจของการรถไฟฯ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีตามแผนงานกำหนด และไม่กระทบต่อการบริหารงานสะดุด ที่มักเกิดขึ้นในช่วงเกียร์ว่างส่งไม้ต่อผู้บริหารคนใหม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2024 11:14 am    Post subject: Reply with quote

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ตรวจราชการการพัฒนาระบบการขนส่งทางบกเชื่อมต่อระบบราง อย่างบูรณาการ
CR : รายการ 9 ข่าวเที่ยง วันที่ 15 ก.พ. 67 ช่อง 9 MCOT HD
Youtube การรถไฟแห่งประเทศไทย OFFICIAL (red arrow right)
https://youtu.be/6egh-fyRpZg?si=3PyowHwOSXnyrULA
https://www.facebook.com/watch/?v=398910205959425
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2024 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

พนง.ลูกจ้างรถไฟ หนุน “นิรุฒ”นั่งผู้ว่าฯอีกสมัย
บ้านเมือง วันพฤหัสบดี ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, 16.21 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รวมตัวเดินทางมาที่ตึกบัญชาการรถไฟ (สำนักงานใหญ่) เพื่อยื่นหนังสือเปิดผนึกถึงนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการรถไฟฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ต่ออีกหนึ่งสมัย

นอกจากนี้ ยังมีพนักงานที่ปฏิบัติงานตามสถานีรถไฟและโรงรถจักรต่าง ๆ ทั่วประเทศ พร้อมใจกันสวมเสื้อสีชมพู เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการแสดงความขอบคุณที่นายนิรุฒ มณีพันธ์ ได้เข้ามาดูแลการรถไฟฯ ตลอดช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ภารกิจของการรถไฟฯ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีตามแผนงานที่กำหนดไว้หลายด้าน พร้อมทั้งสนับสนุนให้นายนิรุฒ มณีพันธ์ ได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ต่ออีกหนึ่งสมัย

นายวิรัตน์ สมีแจ่ม ผู้แทนพนักงานและลูกจ้างการรถไฟฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมา นายนิรุฒ มณีพันธ์ ได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ในการเข้ามาบริหารงาน การรถไฟฯ และดูแลประชาชน รวมถึงดูแลสวัสดิการของพนักงานการรถไฟฯ ทำให้การรถไฟฯ มีความเจริญความก้าวหน้า และพัฒนาการให้บริการ โดยเฉพาะการนำนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม มาขับเคลื่อนดำเนินการจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหลายด้าน อาทิ การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางให้ประสบความสำเร็จตามแผน การปรับเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ตลอดจนการดูแลเอาใจใส่ สร้างขวัญกำลังใจด้านสวัสดิการแก่พนักงาน จนนำมาซึ่งความภาคภูมิใจแก่คนรถไฟ และองค์กร ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา เป็นยุคที่มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งระบบรางครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ที่ทำให้องค์กร ประชาชน และประเทศชาติ มีการพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งพนักงานการรถไฟฯ ต่างพร้อมใจกันสนับสนุนให้นายนิรุฒ มณีพันธ์ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการรถไฟฯ ต่ออีกหนึ่งสมัย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/02/2024 4:30 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟต้องไปต่อ : ขีดเส้นใต้เมืองไทย | 23 ก.พ. 67 | ข่าวเที่ยงไทยรัฐ
Thairath Online
Feb 23, 2024

จับตาใครจะมาป็นผู้ว่าการรถไฟฯ คนใหม่หลัง "นิรุฒ มณีพันธ์" ดำรงตำแหน่ง ครบ 4 ปีหลายฝ่ายหวั่นเกียร์ว่างกระทบงานสะดุด


https://www.youtube.com/watch?v=-TyGkZUvUZo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2024 7:30 am    Post subject: Reply with quote

ขาด 673 คนจัดสรรให้ 80
Source - เดลินิวส์
Tuesday, February 27, 2024 04:55

ขับรถไฟ-ช่างเครื่อง ฟื้นรฟท.เน้นตลาด

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 22 ก.พ. มีมติเห็นชอบการจัดสรรอัตรากำลัง และการสรรหาพนักงาน 5% (ระยะ 4 ปี 2563-2566) ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 รวมประมาณ 80 คน ที่ให้ รฟท. รับบุคลากรได้เพิ่ม 5% ของจำนวนผู้เกษียณอายุในแต่ละปี ปัจจุบัน รฟท. มีพนักงานลดลงเหลือ 9,000 คน จากปี 2541 มีประมาณ 1.8-2 หมื่นคน ขณะที่การให้บริการเดินขบวนรถไฟไม่ได้ลดลงยังอยู่ที่ 200 ขบวนต่อวัน

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า จำนวนพนักงานปัจจุบันกว่า 9,000 คน เป็นอัตราที่รวมกับที่ รฟท. ได้ทำเรื่องขอเพิ่มอัตรากำลังคนมาจาก ครม. เมื่อปี 62 ประมาณ 1,300 คนแล้ว เพิ่งทยอยบรรจุได้ครบตามจำนวนเมื่อปี 66 ดังนั้นในส่วนของมติที่ให้เพิ่ม 5% จากอัตราเกษียณ จึงได้ทบรวม 4 ปี ตั้งแต่ปี 63-66 มาขอจัดสรรเพิ่มในการประชุมบอร์ดครั้งนี้ ทั้งนี้ในแต่ละปีจะมีพนักงานเกษียณ 300-400 คน การขาดคนถือเป็นวิกฤติของ รฟท. การให้เพิ่มคนได้เพียง 5% ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และบริบทที่อยากให้ระบบขนส่งทางรางเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ โดยวันนี้ขนาดยังไม่ได้รถใหม่มา งานยังล้นคน และทำให้รายจ่าย ค่าล่วงเวลา (โอที) เพิ่มขึ้นด้วย

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า ตำแหน่งที่ขาดแคลนพนักงานค่อนข้างมากคือ พนักงานขับรถไฟ ขณะนี้มีอยู่ประมาณ 1,078 คน ขาดอยู่ 180 คน และพนักงานช่างเครื่อง มีอยู่ 765 คน ขาดอยู่ 493 คน ที่ผ่านมา รฟท. พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการฝึกอบรมพนักงานช่างเครื่อง ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ เพื่อให้มาเป็นพนักงานขับรถ ต้องใช้เวลาประมาณ 7 ปี แต่ในระยะหลังมีเทคโนโลยีเข้ามา จึงทำให้กระบวนการฝึกอบรมพนักงานช่างเครื่อง ใช้เวลาลดลงเหลือ 3-4 ปี แต่ยังฝึกเข้มข้น และให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ แม้โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ จะช่วยผลิตบุคลากรก็ไม่เพียงพอ

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า รฟท. ตั้งงบประมาณปี 67 เพื่อ ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาเรื่องอัตรากำลังคนที่เหมาะสมของ รฟท. บนบริบทใหม่ที่ รฟท. จะมีทางคู่ รวมทั้งรถใหม่ ว่าจะต้องการเพิ่มพนักงานในแต่ละฝ่ายอีกเท่าไหร่ ยังตอบไม่ได้ว่าจำเป็นต้องถึง 1.8 หมื่นคนเท่ากับจำนวนก่อนหน้านี้หรือไม่ เบื้องต้นจะใช้เวลาศึกษา 9 เดือน แต่รวมกระบวนการต่าง ๆ ราว 1 ปี เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการเสนอขออัตรากำลังเพิ่มจากกระทรวงคมนาคม และครม. ต่อไป เพราะหากปล่อยไว้เช่นนี้ ในอนาคต หาก รฟท. มีราง มีรถ แต่ไม่มีคนขับ ไม่มีช่างเครื่องก็ไม่เกิดประโยชน์ ส่วนเรื่องการจัดหารถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ 184 คัน ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) ขณะที่การจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกสินค้า (บทต.) หรือแคร่ขนสินค้า 946 คัน ได้เสนอกระทรวงคมนาคม เตรียมเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.แล้ว

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า การจัดทำแผนวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยปี 66-70 (แผนฟื้นฟู รฟท.) ก่อนหน้านี้ได้ทบทวนแผนฯ เพิ่มเติม อยู่ระหว่างรับฟังความคิดจากหน่วยงานต่าง ๆ แผนฯ ฉบับใหม่เน้นเดินหน้าเชิงรุกทางการตลาดมากขึ้น ต้องวิ่งหาลูกค้า มีบริการรถท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าทางราง และการร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ แตกต่างจากแผนเดิมที่ไม่เน้นเรื่อง การตลาด จะให้คนเดินมาซื้อตั๋วเพียงอย่างเดียว ตามแผนจะทำให้ รฟท. ลดขาดทุนและมีกำไร รวมทั้งสร้างประโยชน์ทางอ้อมให้กับประเทศด้วย เช่น ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เปลี่ยนมาขนส่งสินค้าทางรางมากขึ้น.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 ก.พ. 2567 (กรอบบ่าย)


รถไฟขาดแคลนพนักงาน สหภาพฯจี้เร่งแก้วิกฤติ บอร์ดเคาะรับย้อนหลัง 4 ปีแค่ 81 คน
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Tuesday, February 27, 2024 07:23

รฟท.วิกฤติขาดคนทำงาน มติครม.ล็อกเพิ่มได้แค่5% จากเกษียณ ขณะที่บอร์ดเพิ่งเคาะรับเพิ่มย้อนหลัง 4 ปี แค่ 81คน “ผู้ว่าฯ”ตั้งงบจ้างศึกษาอัตราเหมาะสม รองรับทางคู่เสร็จ ระยะสั้นเร่งรัดอบรมคนขับเพิ่มจากช่างเครื่อง สหภาพฯ ยื่นหนังสือจี้บอร์ดเร่งแก้ปัญหาขาดแคลนพนักงานและจัดหารถจักร-ล้อเลื่อน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รฟท.ประสบปัญหาขาดแคลนกำลังบุคลากรอย่างมาก และส่งผลให้พนักงานรวมถึงลูกจ้างต้องทำงานหนัก และมีค่าใช้จ่ายด้านโอทีเพิ่ม สาเหตุเนื่องจาก ต้องปฎิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 ที่กำหนดให้รฟท.รับพนักงานใหม่ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนพนักงานที่เกษียณอายุในแต่ละปี และต้องรับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ก่อน ทำให้จำนวนพนักงานลดลงจากปี 2541 ที่มีประมาณ 18,000 คน เหลือเพียง 9,000 คน ในปัจจุบัน ขณะที่การเดินรถ เพิ่มจาก 100 กว่าเที่ยวต่อวัน เป็น 200 กว่าเที่ยวต่อวัน และการให้บริการมีความยุ่งยากมากขึ้น

โดย เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบการจัดสรรอัตรากำลังและการสรรหาพนักงานใหม่ จำนวน 81 อัตรา หรือร้อยละ 5 เพื่อทดแทนพนักงานเกษียณอายุจำนวน 1,610 คน ในช่วง 4 ปี ( 2563-2566) ซึ่งเป็นไปตามมติครม.วันที่ 28 ก.ค. 2541 โดยพนักงานจัดสรรใหม่จำนวน 81 อัตรา (ประกอบด้วย กลุ่มงานด้านปฎิบัติการ 55 อัตรา กลุ่มงานด้านบริหาร สนับสนุนและอำนวยการ 25 อัตรา และสำรองบุคคลในครอบครัวที่เสียชีวิตขณะปฎิบัติหน้าที่ 1 อัตรา)

“รฟท.ไม่สามารถรับพนักงานได้ตามความต้องการจริง เพราะมีมติครม.ให้รับได้แค่ 5% จากจำนวนพนักงานเกษียณโดยต้องนำเข้าบอร์ดทุกครั้ง ซึ่ง 4 ปี เกษียณออกไป 1,610 คน รับได้แค่ 81 คนก็ไม่พอกับการทำงานจริง พนักงานต้องทำงานหนัก ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิต ขณะที่ รถไฟก็มีค่าโอทีเพิ่มขึ้นด้วย”

@จ้างศึกษาวิเคราะห์จำนวนพนักงานที่เหมาะสม

ผู้ว่าฯรฟท.กล่าวว่า ขณะนี้รฟท.เตรียมจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาว่ารฟท.ควรมีจำนวนพนักงานเท่าไร เป็นส่วนของ outsourse เท่าไร ที่จะเหมาะสมกับการขับเคลื่อนและให้บริการรถไฟตามแผนฟื้นฟูและบริบทใหม่ ที่จะมีการเส้นทางรถไฟทางคู่เพิ่มเติมทั้งระยะที่1 และระยะที่ 2 และรถไฟสายใหม่รวมถึงมีรถจักร ล้อเลื่อน เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งได้ตั้งงบปี 2567 ดำเนินการศึกษาระยะเวลา 9เดือนดังนั้นภายในปลายปีนี้ จะเห็นภาพชัดเจน ว่ารฟท.ควรมีกรอบอัตรากำลัง เท่าไร

“นโยบายรัฐบาลต้องการให้ระบบรางเป็นกระดูกสันหลังในการขนส่งของประเทศ มีรางไม่มีรถก็ไม่มีประโยชน์ หรือมีราง มีรถ แต่ไม่มีคนขับก็ไม่ได้ ขณะนี้ ยังไม่มีรถจักรใหม่ งานยังล้นคน ซึ่งจากข้อมูลปัจจุบัน มีพนักงานขับรถจำนวน 1,078 คน ยังขาดอยู่ประมาณ 180 คน ส่วนพนักงานช่างเครื่องมีจำนวน 765 คน ขาดประมาณ 493 คน”

สำหรับแนวทางเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาคนขับไม่พอ จะปรับลดเวลาฝึกอบรม ช่างเครื่องขึ้นเป็นคนขับจาก 7 ปี เหลือ 3-4 ปี โดยใช้กระบวนการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยฝึกอบรม ทั้งนี้จะต้องอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยและเกณฑ์ที่เข้มงวดเหมือนเดิม รวมถึงปรับโครงสร้างเพื่อเกลี่ยคนไปทำงานในจุดที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นก่อน

@ปั้นแผนฟื้นฟู ทำตลาดเชิงรุกสร้างรายได้เพิ่ม

นายนิรุฒกล่าวอีกว่า นับจากที่ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯรฟท.ได้เขียนแผนฟื้นฟูการรถไฟฯใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะมีความชัดเจนว่าเรื่องใดที่รฟท.ทำได้เอง และปัจจัยใดที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากนโยบายรัฐ เพื่อให้มีรายได้เพิ่ม เป้าหมาย Ebitda เป็นศูนย์ และไม่ขาดทุน โดยจะให้บริการเดินรถเป็นหลัก ทำการตลาดเชิงรุก ทั้งการโดยสาร รถท่องเที่ยว และขนส่งสินค้าซึ่งมีมาร์จิ้นค่อนข้างมาก เพิ่มสินค้าใหม่และบริการใหม่ๆ ไม่ใช่รอให้คนเดินมาซื้อตั๋วเท่านั้น และมีรายได้จากที่ดินและทรัพย์สินที่จะเป็นส่วนเสริมที่สำคัญ ซึ่ง ได้เสนอไปที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในแผนฟื้นฟูมีมีการศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารไว้เป็นสมมุติฐาน แต่จะนำมาใช้หรือไม่ ต้องผ่านการพิจารณาจากหลายฝ่าย เพราะมีผลกระทบหลายส่วน ที่วางแผนไว้ คือ การยกระดับบริการ รถชั้น 3 จากร้อนพัดลมเป็นรถปรับอากาศ ทั้งหมดและจัดเก็บค่าโดยสารใหม่ ส่วนการอุดหนุนคนรายได้ ก็อยู่ที่การพิจารณาของรัฐบาลที่จะเข้ามาช่วย ซึ่งรถไฟจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ประชาชนได้ใช้บริการที่ดีขึ้น

ส่วนความคืบหน้าการจัดหารถโบกี้สินค้า(บทต) จำนวน 946 คัน วงเงิน 2,459 ล้านบาท รฟท.เสนอไปกระทรวงคมนาคมแล้ว คาดว่าจะเสนอครม.ได้เร็วๆนี้ ส่วนการจัดหารถดีเซลราง ปรับอากาศสำหรับบริการเชิงพาณิชย์ จำนวน 184 คันวงเงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาชองสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

“การจะฟื้นฟูรถไฟและให้ประชาชนหันมาใช้ระบบราง จะสำเร็จได้นั้นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องก.คมนาคม ก.ท่องเที่ยว และ รัฐบาล ต้องมีการสนับสนุนจริงจัง เช่น มีมาตรการด้านจราจรห้ามรถที่มีมลพิษ หรือรถบรรทุกเข้าเมือง มีระบบตั๋วร่วมเพื่อลดค่าเดินทาง เป็นต้น”

@สหภาพรถไฟฯ ยื่นหนังสือจี้บอร์ดเร่งแก้ปัญหาขาดแคลนพนักงานและจัดหารถจักร-ล้อเลื่อน

ด้านนายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 สร.รฟท.ได้เข้าพบนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานบอร์ดรฟท. เพื่อยื่นหนังสือให้บอร์ดรฟท. ผลักดันแก้ไขปัญหา ใน5 ประเด็นคือ

1.ผลักดัน เสนอ ครม.ขออนุมัติเพิ่มอัตรากำลังพนักงาน รฟท.โดยเร่งด่วน 2.ติดตามเร่งรัดกระบวนการในการจัดหารถจักร - รถพ่วง(รถโดยสารและรถสินค้า) เพื่อรองรับปริมาณความต้องการทั้งการโดยสาร และขนส่งสินค้า ที่มีเพิ่มมากขึ้น 3.เร่งรัดการเพิ่มศักยภาพ บทบาทภารกิจของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (SRTA) ในการบริหารสินทรัพย์พื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ไม่ได้ใช้ในการเดินรถ (Non-Core) 4.เรื่องการดำเนินโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โดยบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟฯ 5. สานต่อภารกิจตามนโยบาย ในช่วงรอยต่อการเปลี่ยนผ่านของผู้บริหารสูงสุดของการรถไฟ ฯ

ตามแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จะมีรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทาง,ทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ภายในปี 2568-2572 เส้นทางรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นอีก 3,200 กม. เพิ่มความจุของขบวนรถไฟได้เกือบ 2 เท่า แต่รฟท.ยังมีปัญหาขาดแคลนพนักงานอย่างหนัก จากมติครม. 28 ก.ค. 2541 ทำให้พนักงาน ลดลงจาก 23,000 คนปี 2540 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เหลือ 9,029 คน ขณะที่กรอบอัตราพนักงานเดิม 18,015 คน และมีจำนวนลูกจ้างเฉพาะงาน 3,462 คน จากกรอบอัตราอนุมัติ 4,056 คน พนักงานด้านปฏิบัติการทำงานหนัก ตรากตรำ ควงขบวนรถและควงเวรทำการ ต้องทำงานในวันหยุด มีเวลาในการพักผ่อนน้อย อาจทำให้เกิดปัญหากระทบในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน การเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

ส่วนรถจักร และรถพ่วง (ทั้งรถโดยสารและสินค้า) ปัจจุบันการเดินขบวนรถโดยสาร (เชิงพาณิชย์และเชิงสังคม) กว่า 200 ขบวน ขบวนรถสินค้าจำนวนกว่า 159 ขบวน ต้องมีเพิ่มเพื่อรองรับปริมาณความต้องการที่มีเพิ่มมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2024 3:06 pm    Post subject: Reply with quote

สคร. เผยรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนเกินเป้า 123% เร่งเมกกะโปรเจกต์
กรุงเทพธุรกิจ 28 ก.พ. 2567 เวลา 14:25 น.

สคร.เผยผลเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ณ เดือนม.ค.67 อยู่ที่ 38,551 ล้านบาท คิดเป็น 123% ของแผน เร่งเดินหน้าโครงการใหญ่รถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟความเร็วสูง และทางวิ่งสนามบินสุวรรณภูมิ

นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในปี 2567 รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายงบลงทุน จนถึงเดือนม.ค. 2567 อยู่ที่ 38,551 ล้านบาท หรือคิดเป็น 123% ของแผนการเบิกจ่าย โดยเป็นการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ (ตั้งแต่เดือนต.ค. 2566 - เดือนม.ค.2567) 34 แห่ง จำนวน 32,293 ล้านบาท หรือคิดเป็น 116% ของแผนการเบิกจ่าย และรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน (เดือนม.ค. 2567) 9 แห่ง จำนวน 6,258 ล้านบาท หรือคิดเป็น 182% ของแผนการเบิกจ่าย

ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณที่เบิกจ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 95% ของแผนการเบิกจ่ายและมีมูลค่าสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการประปานครหลวง (กปน.)

ส่วนรัฐวิสาหกิจปีปฏิทินที่เบิกจ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 95% ของแผนการเบิกจ่ายและมีมูลค่าสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สำคัญสามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะของ รฟม. โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ของ รฟท. และโครงการทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบลงทุน ณ สิ้นเดือนม.ค. 2567 เป็นผลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ 4 เดือน ซึ่งคิดเป็น 26% ของกรอบงบลงทุนทั้งปี และผลการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน 1 เดือน คิดเป็น 5% ของกรอบงบลงทุนทั้งปี อย่างไรก็ดี สคร. จะกำกับติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย และเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/02/2024 8:43 pm    Post subject: Reply with quote

‘ผู้ว่ารถไฟ’ ร่างแผนฟื้นฟู ฝันโละรถร้อน แผนหารถจักรดีเซลยังค้างสภาพัฒน์
วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12:00 น. isranews

‘ผู้ว่ารถไฟ’ สุ่มร่างแผนฟื้นฟูกิจการ เป้าหมาย EBITDA เป็นศูนย์ ทำการตลาดมากขึ้น ฝันโละรถร้อนทั้งหมด ลุ้น คนร.ตัดสินใจ กังวลอัตรากำลังคนม้าเหล็กขาดแคลนหนัก เร่งศึกษา 9 เดือนอัตรากำลังที่ต้องใช้จริงมีเท่าไหร่ ส่วนการหาหัวรถจักรดีเซลยังไม่ผ่านด่านสภาพัฒน์

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า นับจากที่ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯรฟท.ได้เขียนแผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะมีความชัดเจนว่าเรื่องใดที่รฟท.ทำได้เอง และปัจจัยใดที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากนโยบายรัฐเพื่อให้มีรายได้เพิ่ม เป้าหมาย EBITDA (กำไรก่อนดอกเบี้ย) เป็นศูนย์ และไม่ขาดทุน โดยจะให้บริการเดินรถเป็นหลัก ทำการตลาดเชิงรุก ทั้งการโดยสาร รถท่องเที่ยว และขนส่งสินค้าซึ่งมีมาร์จิ้นค่อนข้างมาก เพิ่มสินค้าใหม่และบริการใหม่ๆ ไม่ใช่รอให้คนเดินมาซื้อตั๋วเท่านั้น และมีรายได้จากที่ดินและทรัพย์สินที่จะเป็นส่วนเสริมที่สำคัญ ซึ่ง ได้เสนอไปที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในแผนฟื้นฟูมีมีการศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารไว้เป็นสมมุติฐาน แต่จะนำมาใช้หรือไม่ ต้องผ่านการพิจารณาจากหลายฝ่าย เพราะมีผลกระทบหลายส่วน ที่วางแผนไว้ คือ การยกระดับบริการ รถชั้น 3 จากร้อนพัดลมเป็นรถปรับอากาศ ทั้งหมดและจัดเก็บค่าโดยสารใหม่ ส่วนการอุดหนุนคนรายได้ ก็อยู่ที่การพิจารณาของรัฐบาลที่จะเข้ามาช่วย ซึ่งรถไฟจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ประชาชนได้ใช้บริการที่ดีขึ้น

@รถไฟขาดแคลนคนทำงาน

นายนิรุฒกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รฟท.กำลังประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรอย่างมาก และส่งผลให้พนักงานรวมถึงลูกจ้างต้องทำงานหนัก และมีค่าใช้จ่ายด้านโอทีเพิ่ม

สาเหตุเนื่องจากต้องปฎิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 ที่กำหนดให้รฟท.รับพนักงานใหม่ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนพนักงานที่เกษียณอายุในแต่ละปี และต้องรับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ก่อน ทำให้จำนวนพนักงานลดลงจากปี 2541 ที่มีประมาณ 18,015 คน เหลือเพียง 9,000 คน ในปัจจุบัน ขณะที่การเดินรถ เพิ่มจาก 100 กว่าเที่ยวต่อวัน เป็น 200 กว่าเที่ยวต่อวัน และการให้บริการมีความยุ่งยากมากขึ้น

โดย เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบการจัดสรรอัตรากำลังและการสรรหาพนักงานใหม่ จำนวน 81 อัตรา หรือร้อยละ 5 เพื่อทดแทนพนักงานเกษียณอายุจำนวน 1,610 คน ในช่วง 4 ปี ( 2563-2566) ซึ่งเป็นไปตามมติครม.วันที่ 28 ก.ค. 2541 โดยพนักงานจัดสรรใหม่จำนวน 81 อัตรา ประกอบด้วย กลุ่มงานด้านปฎิบัติการ 55 อัตรา กลุ่มงานด้านบริหารสนับสนุนและอำนวยการ 25 อัตรา และสำรองบุคคลในครอบครัวที่เสียชีวิตขณะปฎิบัติหน้าที่ 1 อัตรา

“รฟท.ไม่สามารถรับพนักงานได้ตามความต้องการจริง เพราะมีมติครม.ให้รับได้แค่ 5% จากจำนวนพนักงานเกษียณโดยต้องนำเข้าบอร์ดทุกครั้ง ซึ่ง 4 ปี เกษียณออกไป 1,610 คน รับได้แค่ 81 คนก็ไม่พอกับการทำงานจริง พนักงานต้องทำงานหนัก ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิต ขณะที่ รถไฟก็มีค่าโอทีเพิ่มขึ้นด้วย” นายนิรุฒกล่าว

@ตั้งต้นใหม่ ขอ 9 เดือน ศึกษาอัตรากำลังจริงที่ต้องการ
นายนิรุฒกล่าวว่า ขณะนี้รฟท.เตรียมจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาว่ารฟท.ควรมีจำนวนพนักงานเท่าไร เป็นส่วนของ outsourse เท่าไร ที่จะเหมาะสมกับการขับเคลื่อนและให้บริการรถไฟตามแผนฟื้นฟูและบริบทใหม่ ที่จะมีการเส้นทางรถไฟทางคู่เพิ่มเติมทั้งระยะที่1 และระยะที่ 2 และรถไฟสายใหม่รวมถึงมีรถจักร ล้อเลื่อน เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งได้ตั้งงบปี 2567 ดำเนินการศึกษาระยะเวลา 9 เดือนดังนั้นภายในปลายปีนี้ จะเห็นภาพชัดเจน ว่ารฟท.ควรมีกรอบอัตรากำลัง เท่าไร

“นโยบายรัฐบาลต้องการให้ระบบรางเป็นกระดูกสันหลังในการขนส่งของประเทศ มีรางไม่มีรถก็ไม่มีประโยชน์ หรือมีราง มีรถ แต่ไม่มีคนขับก็ไม่ได้ ขณะนี้ยังไม่มีรถจักรใหม่ งานยังล้นคน ซึ่งจากข้อมูลปัจจุบัน มีพนักงานขับรถจำนวน1,078 คน ยังขาดอยู่ประมาณ 180 คน ส่วนพนักงานช่างเครื่องมีจำนวน 765 คนขาดประมาณ 493 คน” ผู้ว่ารฟท.กล่าว

สำหรับแนวทางเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาคนขับไม่พอ จะปรับลดเวลาฝึกอบรม ช่างเครื่องขึ้นเป็นคนขับจาก 7 ปี เหลือ 3-4 ปี โดยใช้กระบวนการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยฝึกอบรม ทั้งนี้จะต้องอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยและเกณฑ์ที่เข้มงวดเหมือนเดิม รวมถึงปรับโครงสร้างเพื่อเกลี่ยคนไปทำงานในจุดที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นก่อน

@หารถจักรดีเซล ค้างเติ่ง สภาพัฒน์

ส่วนความคืบหน้าการจัดหาตู้รถไฟสินค้า(บทต) จำนวน 946 คัน วงเงิน 2,459 ล้านบาท รฟท.เสนอไปกระทรวงคมนาคมแล้ว คาดว่าจะเสนอครม.ได้เร็วๆนี้ส่วนการจัดหารถดีเซลราง ปรับอากาศสำหรับบริการเชิงพาณิชย์ จำนวน 184 คันวงเงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาชองสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

“การจะฟื้นฟูรถไฟและให้ประชาชนหันมาใช้ระบบราง จะสำเร็จได้นั้นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องก.คมนาคม ก.ท่องเที่ยว และ รัฐบาล ต้องมีการสนับสนุนจริงจัง เช่น มีมาตรการด้านจราจรห้ามรถที่มีมลพิษ หรือรถบรรทุกเข้าเมือง มีระบบตั๋วร่วมเพื่อลดค่าเดินทาง เป็นต้น” ผู้ว่ารฟท.ปิดท้าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 469, 470, 471 ... 476, 477, 478  Next
Page 470 of 478

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©