Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311328
ทั่วไป:13290030
ทั้งหมด:13601358
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 476, 477, 478  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2007 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

*ร.ฟ.ท.เล็งฟื้นแผนพัฒนามักกะสันคอมเพล็กซ์ * จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2223 03 มิ.ย. - 06 มิ.ย. 2550

*การรถไฟฯ ปัดฝุ่นโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ พื้นที่ 571 ไร่ มูลค่าร่วม 2 แสนล้าน เตรียมเสนอบอร์ดขอความเห็นชอบภายในเดือน มิ.ย. ก่อนชงเรื่องขอรัฐบาลอนุมัติแผนลงทุนเร็วๆ นี้ คาดแบ่งเฟสการลงทุน เพื่อเปิดทางให้เอกชนเสนอตัวได้หลายราย ด้านที่บริษัทที่ปรึกษาแนะให้สิทธิเข้าพัฒนา 50 ปีคุ้มค่าสุด*

นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในเร็วๆ นี้จะเสนอแผนการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณย่านโรงงานมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ ให้คณะอนุกรรมการพัฒนาทรัพย์สินของการรถไฟฯ ที่มี ม.ล.ผกาแก้ว บุญเลี้ยง เป็นประธานพิจารณาในรูปแบบของโครงการและแนวทางการลงทุน

จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีนายศิวะ แสงมณี เป็นประธานพิจารณาสรุปผลอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะเสนอได้ภายในเดือน มิ.ย. 50 นี้

ภายหลังจากที่บอร์ดได้พิจารณาเห็นชอบแผนงานดังกล่าวแล้ว จะเร่งเสนอแผนต่อไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา และส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ พิจารณาภาพรวมของแผนงานการลงทุนทั้งหมด

จากนั้นจะเสนอต่อไปยังรัฐบาลเพื่อพิจารณาอนุมัติดำเนินการ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ กล่าวต่อว่า หากรัฐบาลเป็นชอบให้ลงทุน ก็จะเร่งจัดตั้งคณะกรรมการ ตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนให้ถูกต้อง และพิจารณากำหนดแนวทางในการให้เอกชนเข้าร่วมงาน พร้อมทั้งจัดทำกรอบข้อกำหนด (ทีโออาร์) เตรียมการประกาศเปิดประมูลจัด! าเอกชนมาดำเนินการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่การรถไฟฯ ต่อไป

สำหรับรูปแบบการลงทุนนั้น การรถไฟฯ จะเปิดให้เอกชน หรือผู้ที่สนใจเข้ามาเสนอแผนงาน ซึ่งจะเป็นไปตามแนวทางที่การรถไฟฯ ทำแผนไว้ หรือจะเป็นแนวทางใหม่ก็ได้ โดยคาดว่าจะแบ่งพื้นที่การลงทุนออกเป็นระยะ เพื่อให้มีเอกชนเข้ามาเสนอตัวได้มากรายขึ้น เพราะเห็นว่าหากเปิดประมูลครั้งเดียวทั้ง 571 ไร่เลยนั้นจะทำให้มูลค่าการพัฒนาสูงเกิน และจะมีน้อยรายที่จะร่วมเสนอตัวประมูลได้ อย่างไรก็ดี ต้องรอดูผลก่อนว่ารัฐบาลจะอนุมัติให้การรถไฟฯ ลงทุนโครงกาดรังกล่าวหรือไม่ หากเปิดทางให้ดำเนินการก็จะต้องมาพิจารณาแนวทางให้ชัดเจน และรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับ แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณย่านโรงงานมักกะสัน ตามผลการศึกษาที่จัดทำโดย บรัทไทยเอนยิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด ได้ระบุว่าพื้นที่ที่สามารถนำมาพัฒนาเพิ่มศักยภาพได้มีอยู่ 571 ไร่ จากเนื้อที่ที่มีอยู่รวมทั้งสิ้น 745 ไร่ ซึ่งแบ่งพื้นที่การพัฒนาออกได้ 3 ส่วนใหญ่ๆ โดยแบ่งเป็นพื้นที่

ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย โซน 1A ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออก ติดกับสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (CAT) พื้นที่ 122 ไร่ สามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่ส่วนธุรกิจการค้า

พื้นที่ 1B จะอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ติดกับสถานีราชปรารภ พื้นที่ 42 ไร่ สามารถพัฒนาเป็นส่วนบางกอกแฟชั่น เพื่อให้มีความเชื่อมต่อกับย่านประตูน้ำได้ และ

พื้นที่ 1C ซึ่งอยู่ทางตอนล่างของพื้นที่ด้านทิศใต้ ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พื้นที่ 205 ไร่ มีศักยภาพพัฒนาเป็นส่วนแสดงสินค้าได้

ส่วนพื้นที่ที่ 2 คือ 2A อยู่ทางตอนกลางของพื้นที่ด้านทิศเหนือติดกับบึงมักกะสัน พื้นที่ 55 ไร่ มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็น Bangkok Tower เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ได้

ด้านพื้นที่ 2B ที่อยู่ทางตอนกลางของพื้นที่ด้านทิศเหนือติดกับบึงมักกะสัน และเชื่อมต่อกับพื้นที่ในส่วน 1A ในทิศตะวันตก พื้นที่ 33 ไร่ สามารถพัฒนาเป็นส่วนธุรกิจสำนักงานได้

สำหรับพื้นที่โซน 2C อยู่ทางตอนกลางของพื้นที่ด้านทิศเหนือติดกับบึงมักกะสัน และจะสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่ในส่วน 3 ที่จะได้รับการพัฒนาต่อในทิศตะวันตก พื้นที่ 42 ไร่ ก็พัฒนาให้เป็นพื้นที่ส่วนธุรกิจสำนักงาน

ขณะที่พื้นที่ส่วนที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ส่วน 1C และ 2C พื้นที่ 72 ไร่ ถูกจัดลำดับการพัฒนาไว้สำหรับเป็นส่วนต่อขยายของการพัฒนาในอนาคต

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้ทำการประเมินมูลค่าการลงทุนไว้ที่ 195,833,247,792 บาท ส่วนแนวทางการลงทุนก็เห็นว่าการรถไฟฯ สามารถแยกหน่วยงานออกมาเป็นหน่วยธุรกิจ (Business Unit) เพื่อทำการพัฒนาเอง หรือจะร่วมทุนกับเอกชนก็ได้ หรืออีกทางหนึ่งอาจจะให้สิทธิเอกชนเข้ามารับสัมปทานภายใต้ระยะเวลา 50 ปี เป็นลักษณะเช่าในระยะแรก 30 ปี บวกสิทธิพิเศษในการต่อสัญญาเช่าอีก 25 ปี และมี! ะยะเวลาในการก่อสร้างอีก 5 ปี ซึ่ง จะส่งผลให้การรถไฟฯ มีรายได้ประมาณ 12,000 ล้านบาท และจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 15 ปี โดยมีผลตอบแทนอยู่ที่ 16.27%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2007 10:10 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจี้ร.ฟ.ท.สอบแอร์พอร์ตลิงค์
Thaipost 5 มิถุนายน 2550 กองบรรณาธิการ

"สรรเสริญ" บี้ ร.ฟ.ท.ตั้ง กก.สอบสัญญาแอร์พอร์ตลิงค์ หลังถูก สตง.จี้ ด้านคมนาคมตั้งทีมประกบ ระบุไม่ซ้ำซ้อน พร้อมเร่งสรุปสัญญาเช่าที่ของเซ็นทรัล ยันรถไฟฟ้าประมูลแน่ ก.ค.นี้


นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งตั้งคณะกรรมการขึ้น 1 ชุด เพื่อตรวจสอบสัญญาโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เนื่องจากต้องการให้แน่ใจว่า สัญญาที่ ร.ฟ.ท.ทำกับเอกชน สุจริต โปร่งใสทุกประการ ก่อนจะพิจารณาขยายเวลาก่อสร้างหลังครบกำหนด 990 วัน ในวันที่ 5 พ.ย.2550 เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานได้สอบถามเข้ามา โดยเฉพาะสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีหนังสือสอบถามว่า เหตุใด ร.ฟ.ท.จึงระบุในสัญญาว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ทั้งหมดภายในเวลา 90 วัน โดย ร.ฟ.ท.ต้องทำหนังสือขอคำแนะนำไปยังอัยการหรือกฤษฎีกา ไม่ใช่ตีความเอาเอง

นายสรรเสริญกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย มั่นใจว่าการดำเนินการดังกล่าวจะไม่ซ้ำซ้อนกับการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เนื่องจากมูลเหตุที่ คตส.ตรวจสอบเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมทางการเงินที่ ร.ฟ.ท.ต้องรับผิดชอบแทนเอกชนในการกู้เงินมาดำเนินโครงการ กว่า 1,600 ล้านบาท ส่วนเรื่องที่กระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท.ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเป็นภาพรวมสัญญาก่อสร้างทั้งหมด

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้เร่งรัดการทำงาน กรณีสัญญาการเช่าที่ดินห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าวที่จะหมดอายุสัญญาวันที่ 18 ธ.ค.2551 โดยให้คณะกรรมการภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ.2535 ที่มีนายนคร จันทศร รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เป็นประธาน เร่งกระบวนการจัดหาบริษัทที่ปรึกษามาประเมินมูลค่าทรัพย์สินบนที่ดินให้ได้อย่างน้อย 2 ราย เพื่อเปรียบเทียบราคา

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ได้ร่าง TOR และประกาศบนเว็บไซต์ของ ร.ฟ.ท.เพื่อทำประชาพิจารณ์มั่นใจจะเปิดขายซองประกวดราคาพร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ได้ตามกำหนดเดือน ก.ค.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2007 10:39 am    Post subject: Reply with quote

ปตท.เล็งเพิ่มค่าเช่าที่ดินรฟท.ลดภาระขาดทุน

Bangkok Biznews 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550 01:00:00


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ได้เชิญนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายบัญชา คงนคร รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้าหารือถึงภาวะการขาดทุนของ ร.ฟ.ท. โดยขอให้ ปตท.เข้ามาช่วยอุดหนุน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาษีของประชาชน เนื่องจากรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณอุดหนุนทุกปี

จากนั้น นายประเสริฐ กล่าวว่า สัญญาการเช่าพื้นที่ของ ร.ฟ.ท. กับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่ทำไว้เมื่อปี 2526 เป็นระยะเวลา 30 ปี มูลค่า 54 ล้านบาท สมัยที่ยังเป็นรัฐวิสาหกิจใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งเมื่อได้ประเมินพื้นที่ย่านพหลโยธินมีมูลค่าสูงขึ้นมาก ถึงแม้ว่าในสัญญาเดิมจะเปิดโอกาสให้ ปตท.ต่อสัญญาใหม่ได้โดยไม่มีภาระอะไร เพราะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้วยกัน แต่เมื่อได้รับการประสานจากคณะกรรมาธิการฯ ปตท.เห็นว่า ขณะนี้ได้เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน มีความมั่นคงมากในปัจจุบัน จึงเห็นควรจะพิจารณาเรื่องการ
เข้าไปช่วยเหลือ ร.ฟ.ท. แต่จะต้องตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาพิจารณาร่วมกันว่า ปตท.จะเข้าไปสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน แต่ถือว่าแนวคิดดังกล่าว ปตท.ยินดีให้ความร่วมมือ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับ ร.ฟ.ท.ในเรื่องค่าเช่าพื้นที่

ด้าน พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าวว่า ในส่วนสัญญาเช่าพื้นที่ของ ร.ฟ.ท. กับบริษัทในเครือเซ็นทรัลพัฒนาฯ ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2551 คณะกรรมาธิการฯ ยังยืนยันว่า ร.ฟ.ท.จะต้องเปิดประมูลใหม่ให้บริษัทอื่นเข้ามาแข่งขันตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพราะยอมไม่ได้ที่จะเปิดช่องเอื้อ
ประโยชน์กับกลุ่มผลประโยชน์ เราต้องบังคับใช้กฎหมายเดียวกัน ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ถ้า ร.ฟ.ท.ยอมต่อสัญญาตามที่กลุ่มเซ็นทรัลฯ ร้องขอมา ตนจะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด เพราะพื้นที่ดังกล่าวรัฐได้ลงทุนในสาธารณูปโภคเป็นหมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
narita_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1170
Location: PSU. Original Campus

PostPosted: 08/06/2007 11:02 am    Post subject: Reply with quote

ถ้าการรถไฟวางแผนการใช้ทรัพยากรของตัวเอง โดยเฉพาะที่ดินต่างๆให้ดีนะครับ งานนี้น่าจะมีรายได้เสริมกว่าเดิมนอกเหนือจากการเดินรถได้ไม่ยาก

ไม่เฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น ตามต่างจังหวัดหลายๆแห่งหากเร่งดำเนินการให้เร็วกว่านี้ก็น่าจะเกิดผลดีไม่น้อย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website Yahoo Messenger MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 08/06/2007 12:10 pm    Post subject: Reply with quote

ขอขึ้นค่าเช่าที่กับ ปตท. อย่าให้มีหนี้ค้างสะสมที่เป็น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น กับทาง ปตท.เชียวนา Laughing Laughing Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2007 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

บรรณวิทย์" ตรวจเยี่ยม รฟท.เร่งรัดตั้งบริษัทลูกบริหารสินทรัพย์

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 8 มิถุนายน 2550 17:42 น.


พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานกรรมาธิการคมนาคม ได้ไปตรวจเยี่ยมการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. โดยเปิดเผยว่า ในวันนี้ได้เร่งรัดให้ รฟท.รีบดำเนินการตั้งบริษัทลูกเพื่อมาบริหารสินทรัพย์ของ รฟท.ภายในรัฐบาลชุดนี้ โดยไม่สนับสนุนให้ รฟท.นำที่ดินที่มีจำนวนมากไปใช้หนี้ เนื่องจากสามารถบริหารจัดการที่ดินแล้วจะได้เงินจำนวนมาก ส่วนกรณีการต่อสัญญาที่ดินเซ็นทรัลนั้น มีความเห็นว่า ต้องมีการประกวดราคาปฏิบัติตามพ.ร.บ.ร่วมทุนปี พ.ศ. 2535 ส่วนการอ้างว่าต้องต่อสัญญาตามที่ได้ตกลงไว้เดิมนั้น เห็นว่าเป็นการอ้างสัญญาโดยมีนัยที่แอบแฝง
อย่างไรก็ตาม มีบริษัทต่างชาติสอบถามยังตนว่าสนใจจะลงทุนในที่ดินดังกล่าว และพร้อมที่จะสู้ราคา ทั้งนี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของการรถไฟฯ กว่า 50 คน ได้มาชูป้ายสนับสนุนการทำงานและแนวคิดของประธานกรรมาธิการคมนาคม ที่หน้าสำนักงานการรถไฟฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2007 8:15 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ดิ้นหนีบ่วงหนี้สุดชีวิตอ้อนรัฐบาลทุ่ม3แสนล้านอุ้ม
เดินหน้าผ่าทางตันก่อนหนี้บานทะลุแสนล้านใน 3 ปี
[สยามธุรกิจ - ฉบับที่ 800 ประจำวันที่ 9-6-2007 ถึง 12-6-2007]


กางแผนฟื้นฟูกิจการม้าเหล็ก ชุบชีวิตคนรถไฟก่อนหนี้ ท่วมหัวกว่าแสนล้านบาทในปี 53 “อารักษ์”เผยฐานะรถไฟฯ อาการ โคม่า จำเป็นที่รัฐต้องเร่งเยียวยา โดยด่วน เผยใช้แนวทางฝรั่งเศส - ญี่ปุ่นต้นแบบ ระบุรัฐต้องยกหนี้ กว่า 39,000 ล้านบาท ออกจากการรถไฟฯ พร้อมทั้งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 260,000 ล้านบาท และสนับสนุนบริการเชิงสังคมปีละกว่า 2,000 ล้าน บาท ส่วนที่เอาที่แลกหนี้นั้นแลก เฉพาะที่ดินที่หน่วยงานรัฐใช้ประโยชน์แต่เก็บเงินไม่ได้

นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน การรถไฟ แห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ถึงความคืบหน้าแผน ฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทยว่า ขณะนี้ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการเร่งจัดทำแผนฟื้นฟูฯ

ซึ่งมีความคืบหน้ามากแล้วและบางส่วนและบางส่วนก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว บางส่วนกำลังทำในรายละเอียดกันอยู่ คาดว่าภายในเดือนนี้น่าจะเสร็จสมบูรณ์ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริหาร รฟท.เห็นชอบ ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องมีการฟื้นฟูกิจการของ รฟท.โดยด่วน เนื่องจากผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา เทิร์น อะราว ระบุว่า รฟท.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนเกิน 10,000 ล้านบาทในปี 2551 และภาระหนี้สินสะสมจะเพิ่มขึ้นเป็นแสนล้านบาทในปี 2553 ซึ่งสูงมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งทำการฟื้นฟู รฟท.

ทั้งนี้ในแผนฟื้นฟูดังกล่าว จะมีการฟื้นฟูกิจการรถไฟฯ ใน 3 ด้านดังนี้ คือ 1.ด้านภาระหนี้สินเงินกู้กว่า 39,000 ล้านบาท โดยรัฐจะต้องยกหนี้สินสะสม จำนวน 39,000 ล้านบาทออกจาก รฟท. ซึ่งหนี้จำนวนดังกล่าวประกอบด้วย หนี้โครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 13,500 ล้านบาท หนี้ชดเชยผลการขาดทุนที่รัฐชดเชยให้ไม่ทัน จำนวน 22,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 4,000 ล้านบาทจะเป็นการนำที่ดินของรฟท.ไปแลกหนี้กับกระทรวงการคลัง โดยจะพิจารณาเฉพาะที่ดินที่หน่วยงานราชการเช่าใช้ แต่รฟท.ไม่สามารถเก็บค่าเช่าได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น ที่ดินย่านรัชดา ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลต่างๆ รวมถึงที่ตั้งของกรมส่งเสริมการส่งออก รฟท.เก็บค่าเงินไม่ได้เงินเลย หรือได้แต่ได้น้อย ทั้งที่ปัจจุบันควรจะได้เงินสดประมาณปีและ 80 ล้าน ก็ได้ไม่ครบ จึงเกิดแนวคิดว่าถ้าจะขอแลกหนี้ ตรงนี้ได้ไหม แต่ขอเป็นแลกตามราคาตลาดนะ ไม่ได้แลกตามราคาค่าเช่าที่ดิน

2.ด้านการดำเนินงานของ รฟท. โดยรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ลงทุนสร้างทางคู่ บูรณะทางรถไฟเดิม ลงทุนระบบอาณัติสัญญาณ มูลค่าประมาณ 120,000 ล้านบาท และทางรถไฟยกระดับสายสีแดง มูลค่า 140,000 ล้านบาท และจะต้องให้เงินชดเชยการเดินรถเชิงสังคมที่ รฟท.ขาดทุนอยู่ประมาณปีละ 2,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ซึ่งในทุกประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อเมริกา ฯลฯ ต่างมีการยืนยันแล้วว่า องค์กรใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ จะลงทุนสร้างรางรถไฟเองไม่ได้ ถ้าลงทุนแล้วขาดทุนหมด ไม่มีที่ไหนเลยที่จะมีกำไร เขาจึงเปลี่ยนมาให้รัฐเป็นผู้ลงทุนแทน เพราะจะได้นำรางรถไฟไปพัฒนาลอจิสติกส์และพัฒนาการขนส่งของประเทศแบบประหยัด เพราะเมื่อรัฐให้เช่าในราคาถูก ประชาชนก็จะได้รับการบริการที่ไม่แพง ในขณะเดียวกันก็มีเงินเหลือที่จะไปใช้จ่ายอื่น ก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น

และ

3.การปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับแผนที่รัฐบาลเข้ามาให้การสนับสนุน รฟท. โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน

ส่วนที่ 1 ส่วนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะรวมทุกสิ่งที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเข้ามาอยู่ในส่วนนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่จะขอให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ โดยเลียนแบบJRTT ของญี่ปุ่น แต่นี่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของ รฟท.

ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องพาณิชย์ล้วนๆ กิจการทั้งหมดที่จะพัฒนาให้มีรายได้และมีกำไรกับ รฟท. อาทิ การพัฒนาที่ดิน การขนส่งสินค้า การเดินรถพิเศษต่างๆ ฯลฯ

ส่วนที่ 3 จะเป็นเรื่องงานบริหาร งานซับพอร์ตทั้งหมด และ

ส่วนที่ 4 คือ หน่วยธุรกิจ หรือบิสซิเนส ยูนิต เพื่อให้สอดคล้องกับในแผนฟื้นฟู รฟท.จะมีบริษัทที่ตั้งบริษัทลูกขึ้นใหม่ 3 บริษัท เพื่อเข้ามาประกอบกิจการใน 3 ด้าน ประกอบด้วย บริษัทบริหารการขนส่งสินค้า สายตะวันออก บริษัทรถไฟบริหารสินทรัพย์ และบริษัทบริหารรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมือง จะไม่มีการปลดพนักงาน

ทั้งนี้ในส่วนที่ 1-3 นั้น ไม่จำเป็นต้องเสนอความเห็นชอบจาก ครม. ถ้าบอร์ดรฟท.เห็นชอบก็สามารถเดินหน้าปรับโครงสร้างได้ แต่สำหรับส่วนที่ 4 นั้น จะต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ จึงจะจัดตั้งบริษัทลูกได้

นายอารักษ์ กล่าวต่อว่า รฟท.ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องหนี้สินอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาในเรื่องโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟด้วย ดังนั้นในแผนฟื้นฟูฯ จึงต้องมีแผนพัฒนาระบบทางรถไฟให้เป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งที่ตนต้องการเน้น คือ ไม่ใช่บอกว่ารัฐยกหนี้ไปแล้วกิจการรถไฟจะดีขึ้น ปัจจุบันทางรถไฟทั่วประเทศ 93% เป็นทางเดี่ยว ทำให้การเดินรถไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องรอหลีกกัน ซึ่งทางรถไฟมีทั้งสิ้น 4,000 กิโลเมตร แต่มีรถวิ่งอยู่ 350 ขบวนต่อวัน ต้องมารอหลีกกันอย่างมากมาย ดังนั้นในต่างประเทศถึงต้องเร่งทำทางคู่ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฝรั่งเศสหรือรถไฟญี่ปุ่น เมื่อแปรรูปแล้ว ทางคู่จะมีมากกว่า 40%

ดังนั้นในเฟสแรกรัฐบาลต้องทำทางคู่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งรัฐก็เห็นด้วย ล่าสุดได้อนุมัติให้ รฟท.ทำทางคู่ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบังให้แล้ว 78 กิโลเมตร ส่วนเฟส 2 จะทำรางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-แก่งคอย จากนั้นจะต่อขยายไปเรื่อยๆ ให้ได้ทางคู่ 26% ซึ่งใน 26% นี้จะทำให้สามารถเดินรถไฟได้ถึง 1,000 ขบวนต่อวัน จะเห็นว่าเพิ่มทางคู่ไม่ถึงเท่าตัว แต่เดินรถเพิ่มได้ถึง 3 เท่า ตรงนี้ คือ คีย์ซัสเซสเฟกเตอร์ของรถไฟ

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนควบคู่กับการพัฒนากิจการรถไฟ โดยต้องทำพร้อมๆ กันไป ซึ่งถ้ารัฐลงทุนทำทางคู่ขึ้นวันนี้ ก็ต้องให้รฟท.ลงทุนซื้อรถจักร และล้อเลื่อนวันนี้ด้วย เพราะถ้าไม่ทำแบบนี้เมื่อสร้างรางรถไฟเสร็จก็จะไม่มีรถมาวิ่ง ในทำนองเดียวกันให้รฟท.ซื้อรถจักรเพิ่ม แต่พอถึงเวลารัฐไม่ให้ทางคู่ก็ทำอะไรไม่ได้เช่นกัน ฉะนั้นต้องทำพร้อมๆ กันเพื่อให้การขนส่งทางรถไฟเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

“ผมคุยให้ ท่านโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัฐ รองนายกรัฐมนตรีฟัง ผมก็พูดตรงๆ ว่า อนุมัติทางคู่ เอารถจักรไปแลกสินค้าเกษตรเหมือนเดิมอันนี้มันไม่ถูก เพราะแลกมาแล้ว 4 ปีไม่ได้เลยสักคัน แล้วจะแลกอีกทำไม ซึ่งรัฐบาลต้องมีนโยบายที่ชัดเจน อย่างทางคู่ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง

1.รถไฟฯ ต้องลงทุนรถจักร 20 คัน แคร่อีก 300 กว่าคัน ต้องลงทุนให้ได้ ตอนนี้กำลังเร่งรัดอยู่ 2.ต้องปรับปรุงทางระยะที่ 4-5-6 ด้วย

เห็นไหมรถไฟตกรางทุกวันเป็นผลมาจากการละเลยที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมา ต้องการให้รถไฟทำอีบิดดา (กำไรที่เป็นเงินสด) ให้เป็นบวก ซึ่งการทำอีบิดดาของอดีตผู้ว่า รฟท.ก็ง่ายมากคือไม่จ่าย ไม่ซ่อม ฉะนั้นรถจักรที่มีอยู่ 175 คัน วันนี้เหลือ 120 คัน อีก 50 คันเสียอยู่ซ่อมไม่ได้ ฉะนั้นจะต้องมาปรับปรุงทาง และต้องทำทางคู่บางช่วงขึ้นมาด้วย”

นายอารักษ์ กล่าวว่า หลังจากที่รางคู่ช่วง แก่นคอย-คลองสิบเก้า-ฉะเชิงเทรา แล้วเสร็จและได้รถจักร ล็อตนี้มาเพิ่ม ต่อไปรฟท.ก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มแล้ว กิจการรถไฟสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ โดยการลงทุนต่อขยายทำรางคู่ช่วงต่อไปก็ให้เอกชนเข้ามาลงทุนต่อขยายออกไปได้ ซึ่งการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางต้องอาศัยระยะเวลา ตอนนี้ยังไง รฟท.ก็ต้องลงทุนก่อน เพราะเอกชนยังไม่พร้อม คือ เราต้องมีเน็ตเวิร์กให้พอก่อนถึงจะให้เอกชนมาทำต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2007 2:12 pm    Post subject: Reply with quote

งดรถนำเที่ยวดอกกระเจียว
เดลินิวส์ 11 มิถุนายน 2550

เนื่องจากรถจักรมีไม่พอใช้ รฟท. ของดรถพิเศษนำเที่ยวดอกกระเจียวบาน ที่ วะตะแบก (อ. เทพสถิตย์ จ. ชัยภูมิ) สำหรับปี 2550
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2007 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

วอนร.ฟ.ท.เร่งเคลียร์พื้นที่เช่าไอซีดี เอกชนพร้อมจ่าย54 บาท/ตร.ม./เดือน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2228 21 มิ.ย. - 23 มิ.ย. 2550

ผู้เช่าคลังสินค้าไอซีดี ลาดกระบัง 6 ราย ยืนยันไม่รับตัวเลขค่าเช่าที่ของการรถไฟฯ ที่ตั้งไว้สูงถึง 84 บาท/ตารางเมตร/เดือน แต่พร้อมจะจ่ายในอัตรา 54 บาท/ตารางเมตร/เดือน ย้ำเหมาะสมและไม่เพิ่มต้นทุน ด้านการรถไฟฯ ยังแย่งรับแย่งสู้ ขอดูผลการตัดสินใจของคณะกรรมการเจรจาตามระเบียบพรบ.ร่วมทุน ปี 35 วันที่ 21 มิ.ย.นี้ ก่อนให้คำตอบว่าตกลงหรือไม่


นายสุวิทย์ รัตนจินดา นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงกรณีการเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เรื่องการปรับค่าเช่าพื้นที่ภายในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot : ICD) ลาดกระบัง ว่า ภายหลังจากที่ได้พิจารณาทบทวนตัวเลขค่าเช่าพื้นที่ อีกครั้งเพื่อให้ได้ราคาที่เป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่ายแล้วนั้น ขณะนี้สรุปได้ชัดเจนแล้วว่า กลุ่มผู้ประกอบการเอกชน ที่ได้รับสัมปทานประกอบการภายในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องฯ ยินดีที่จะจ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้แก่การรถไฟฯ ซึ่งเป็นคู่สัญญาในอัตรา 54 บาท/ตารางเมตร/เดือน


ทั้งนี้ได้ส่งเรื่องยืนยันให้การรถไฟฯ และคณะกรรมการเจรจาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ได้ทราบแล้ว ว่าไม่อยมรับอัตราค่าเช่าที่การรถไฟฯ เคยเสนอจะเรียกเก็บในอัตรา 84 บาท/ตารางเมตร/เดือน แต่พร้อมจะจ่ายค่าเช่าในอัตราใหม่นี้ เนื่องจากเห็นว่าเหมาะสม และไม่เป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการด้วย ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับความเห็นชอบ และเร่งทำการลงนามในสัญญาในเร็วๆ นี้ หลังจากที่การต่อสัญญาเช่าได้ล่าช่ามากว่า 1 ปีแล้ว


ขณะที่นายบัญชา คงนคร รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะรักษาการ ผู้ว่าการรถไฟฯ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการเจรจาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ได้กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่าจะตกลงตามที่เอกชนเสนอมาหรือไม่ เนื่องจากต้องนำเรื่องดังกล่าวเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการเจรจาฯ ซึ่งจะจัดประชุมในวันที่ 21 มิ.ย.50 นี้ก่อน


โดยประเด็นที่จะต้องหารือกันนั้น คือต้องพิจารณาว่าตัวเลขค่าเช่าที่ผู้ประกอบการสรุปเสนอมานั้น เหมาะสมแล้วหรือไม่ โดยจะพิจารณาควบคู่ไปกับผลการศึกษาของ บริษัท นิว แอสเซ็ท แอดไวเซอรี่ จำกัด ที่การรถไฟฯ ได้ว่าจ้างให้ศึกษาและประเมินมูลค่าทางธุรกิจ มูลค่าทรัพย์สินที่ดิน และอาคาร ในการเช่า พื้นที่ภายในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องฯ ว่าควรจะคิดผลตอบที่อัตราเท่าใดจึงจะเหมาะสม จากเดิมที่เคยศึกษาไว้ว่าควรจะเรียกเก็บที่อัตรา 60-70 บาท/ตารางเมตรเดือน ซึ่งจะทำให้การรถไฟฯ ได้รายได้เดือนละ 38 ล้านบาท นั้นยังควรที่จะยืนัยนหรือควรที่จะปรับเปลี่ยนให้วอดคล้องกับที่เอกชนเสนอมา อีกทั้งต้องพิจารณาด้วยว่า หากทำการต่อสัญญาแล้ว จะต้องมีการเรียกเก็บค่าเช่าในส่วนที่ปรับเพื่มย้อนหลังด้วยหรือไม่ ซึ่งตรงนรี้ต้องดรายละเอียดและระเบียบทางข้อกฎหมายให้ชัดเจน รวมถึงต้องดูข้อตกลงของคณะทำงานชุดเดิมที่ทำไว้กับเอกชนด้วยว่าเป็นอย่างไร เพื่อไม่หเกิดปัญหาขึ้นในภายหลังอีก


ทั้งนี้สัญญาการเช่าพื้นภายในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องฯ นั้นได้หมดลงตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค.49 ผ่านมา แม้ว่าผู้ประกอบการเอกชนที่เป็นคู่สัญญาจะยืนยันขอเช่าพื้นที่เดิมต่อไป แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถตกลังกันได้ในเรื่องของอัตราค่าเช่าพื้นที่ เนื่องจากการรถไฟฯ ต้องการเรียกเก็บค่าเช่าใหม่ที่อัตรา 84บาท/ตารางเมตร/เดือน ขณะที่ผู้ประกอบการเห็นว่าอัตราที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 40 บาท/ตารางเมตร/เดือน เป็นผลให้การเจรจายืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน


อนึ่งผู้ประกอบการเอกชน หรือคู่สัญญาที่ได้รับสัมปทานประกอบการภายในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot : ICD) ลาดกระบัง มีทั้งสิ้น 6 ราย ประกอบด้วย

บริษัท สยามซอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี A,

บริษัท อีสเทิร์น ซี แหลมฉบัง เทอ์มินอล จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี B,

บริษัทเอเวอร์กรีน คอมเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี C,

บริษัท ทิฟฟ่าไอซีดี จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี D,

บริษัทไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัดได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี E และ

บริษัท เอ็น.วาย.เค.ดิสทริบิวเทชั่น เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี F

ซึ่งทั้งหมดนี้ได้หมดสัญญาการเช่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวกับการรถไฟฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 5 มี.ค.49 ที่ผ่านมา โดยในขณะนี้ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่พร้อมจ่ายค่าเช่าในอัตราเดิม คือ 30 ล้านบาทต่อเดือนไปจนกว่าจะตกลงเรื่องค่าเช่าพื้นที่อัตราใหม่ได้ จึงจะทำสัญญาเช่าพื้นที่ต่ออีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42789
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2007 3:11 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็งสถานีรถไฟ"โทรม-สกปรก" "เชิดพันธ์"เร่งถก-หางบฯบูรณะ
มติชน - 4 กรกฎาคม 2550

Click on the image for full size

ลงพื้นที่ - นายเชิดพันธ์ ณ สงขลา ผวจ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะเดินทางไปตรวจพื้นที่สถานีรถไฟอยุธยา และได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าไม่ได้รับความสะดวกจากการใช้บริการของรถไฟ อีกทั้งยังพบสภาพอาคารของสถานีที่เก่าขาดการดูแลและสกปรก (ตามข่าว)


เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 3 กรกฎาคม นายเชิดพันธ์ ณ สงขลา ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะเดินทางไปตรวจพื้นที่สถานีรถไฟอยุธยา และได้พูดคุยกับประชาชนจำนวนมากที่เดินทางด้วยรถไฟ ซึ่งส่วนใหญ่ร้องเรียนว่าไม่ได้รับความสะดวกจากการใช้บริการรถไฟ โดยเฉพาะสถานีรถไฟอยุธยาที่เก่า ขาดการดูแลและสกปรก ตัวอาคารเป็นสถานีเก่าเปิดให้บริการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองฝั่งตะวันออก ริมแม่น้ำป่าสัก เขตรอยต่อ ต.กะมัง และ ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา ถือเป็นสถานีระดับที่ 1 ขบวนรถไฟทุกขบวนในสายเหนือและสายอีสานจะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารเป็นสถานีแรก ปัจจุบันมีประชาชนทั่วไปใช้บริการวันละไม่ต่ำกว่า 50,000 คน

นายเชิดพันธ์กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่าสภาพอาคารของสถานีเก่า ไม่มีที่จอดรถยนต์ มีการตั้งร้านค้ารกรุงรัง รอบชานชาลาขาดการดูแลเรื่องความปลอดภัยและความสะอาด เรื่องนี้ถือเป็นภาพลักษณ์ที่ส่งผลกระทบต่อ จ.พระนครศรีอยุธยา เพราะเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่สำคัญเป็นสถานีรถไฟเก่าแก่อันดับแรกของประเทศไทยที่ควรดูแลรักษา สำหรับปัญหาเบื้องต้นพบว่าสถานีรถไฟอยุธยาเองอยากจะมีการปรับปรุงทุกด้าน แต่ติดขัดเรื่องงบประมาณจากส่วนกลาง

"กลางเดือนนี้ผมพร้อมคณะทำงานจะเดินทางไปพบบอร์ดของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อเจรจาขอความร่วมมือในการพัฒนาสถานีรถไฟอยุธยาให้กลับมาสวยงามเหมือนเดิม" นายเชิดพันธ์กล่าว และว่า หาก ร.ฟ.ท.ยังขาดงบประมาณปรับปรุง ทางจังหวัดพร้อมที่จะช่วยหางบประมาณมาดำเนินการซ่อมแซมควบคู่ไปกับงบประมาณของ ร.ฟ.ท. โดยสิ่งแรกที่ต้องปรับปรุงคืออาคารสถานีเก่าแก่ที่สร้างมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพราะถือเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ส่วนเรื่องความสะอาดในสถานีรวมถึงชานชาลานั้น ถือเป็นสิ่งแรกที่ต้องร่วมกันดำเนินการแก้ไขด้วยเช่นกัน

// -------------------------------------------------------------------------
อาคารคอนกรีตนี้สร้างแต่ปี 2464 เพื่อแทนอาคารไม้ที่โทรมลงตามกาลเวลา
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 476, 477, 478  Next
Page 6 of 478

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©