Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13284633
ทั้งหมด:13595956
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 90, 91, 92  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2020 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.รับฟังความเห็นเอกชน ร่วมลงทุน"รถไฟฟ้าสีส้ม" ผ่านเวปไซด์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 3 เมษายน 2563 - 18:07
รฟม.รับฟังความเห็นภาคเอกชน เตรียมคัดเลือกร่วมทุนรถไฟฟ้าสีส้มบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
เศรษฐกิจ
วันศุกร์ ที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2563, 18.43 น.

รายงานข่าวจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม. มีความประสงค์จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อนำความคิดเห็นดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดย ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็นประกอบด้วย สรุปสาระสำคัญของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และแบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ได้ที่ https://www.mrta.co.th ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2563 โดยกรอกข้อคิดเห็นของท่านตามแบบสอบถาม และจัดส่งให้ รฟม. ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของ รฟม. (orlhearing@mrta.co.th) ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 22 เมษายน 2563

รฟม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ให้เกิดความเหมาะสมและความสำเร็จในการดำเนินโครงการต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)


รฟม. เปิดรับฟังความเห็นเอกชน ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผ่านเว็บไซต์ ดาวน์โหลดได้ตั้งแต่ 5-19 เม.ย.นี้
วันที่ 4 เมษายน 2563 -

รฟม. เปิดรับฟังความเห็นภาคเอกชน “โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผ่านเว็บไซต์ ตั้งแต่ 5-19 เม.ย. 63 หวังนำไปประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน-ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน-ร่างสัญญาร่วมลงทุน เดดไลน์ส่งกลับ 20-22 เม.ย.นี้
รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.มีความประสงค์จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อนำความคิดเห็นดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ความตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการรับฟังความคิดเห็น ประกอบด้วย สรุปสาระสำคัญของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และแบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ได้ที่ https://www.mrta.co.th ตั้งแต่วันที่ 5 -19 เม.ย. 2563 โดยกรอกข้อคิดเห็นของท่านตามแบบสอบถาม และจัดส่งให้ รฟม. ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของ รฟม. (orlhearing@mrta.co.th) ตั้งแต่วันที่ 20-22 เม.ย. 2563

อย่างไรก็ตาม รฟม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ให้เกิดความเหมาะสมและความสำเร็จในการดำเนินโครงการต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2020 5:19 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสเปก-สัญญาร่วมทุนดึงเอกชนทั่วโลกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม แลกสัมปทาน 30 ปี
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 5 เมษายน 2563 - 13:54 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 5 เม.ย.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ได้ประกาศร่างประกาศเชิญชวน (TOR)ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนPPP Net Cost ระยะเวลา 30 ปี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่าการลงทุน 142,789 ล้านบาท ตามพ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนปี2562 ผ่านเว็ปไซต์เพื่อรับฟังความความคิดเห็นของภาคเอกชนถึงวันที่ 19 เม.ย.2563 และจัดส่งให้รฟม.ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างวันที่ 20-22 เม.ย.นี้ เพื่อนำมาประกอบการการพิจารณาจัดทำร่างประกาศTOR ต่อไป

@เป้าหมายเอกชนไทยและต่างชาติ

โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย ผู้ประกอบกิจการเดินรถไฟฟ้า สถาบันการเงิน ผู้ผลิต ผู้จำน่าย ติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ผู้ประกอบกิจการก่อสร้างและนักลงทุน ในรายละเอียดประกาศ เช่น กำหนดขอบข่ายของงาน โดยรฟม.ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันออกช่วงศูนยวัฒนธรรม-มีนบุรี และเวนคืนที่ดินให้เอกชนก่อสร้างช่วงตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศุนย์วัฒนธรรม

เอกชนผู้ร่วมลงทุนดำเนินการออกแบบและก่อสร้างช่วงตะวันตกและออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาเพื่อให้บริการเดินรถตลอดสนจัดหาเงินทุนเพื่อดำเนินการโครงการ

@แบ่งดำเนินการ2 ระยะ

แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่1 ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา จัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยส่วนการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี 6 เดือน นับจากวันแจ้งเริ่มงาน ส่วนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ระบบรางวิ่ง จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและเดินรถช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ มีระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี นับจากวันแจ้งเริ่มงาน

สำหรับงานระยะที่2 การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่รฟม.ให้เริ่มบริการเดินรถไฟฟ้าช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี จนสิ้นสุดสัญญาร่วมลงทุน

@เปิดคุณสมบัติ-ยื่นข้อเสนอ4ซอง

ด้านคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ เช่น เป็นนิติบุคคลไทยรายเดียว หรือหลายรายรวมกัน จดทะเบียนแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี กรณีต่างประเทศต้องรวมกลุ่มกับนิติบุคคลไทยและถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% มีสถานะการเงินที่มั่นคง มีประสบการณ์งานออกแบบ ก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินด้วยหัวเจาะ (TBM) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ทางวิ่งแบบไม่ใช้หินโรยทาง มีประสบการณ์จัดหา ติดตั้งระบบ ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า

โดยจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ ด้านเทคนิค ด้านการลงทุนและผลตอบแทน และด้านข้อเสนออื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อการให้บริการและดำเนินงานของรฟม. ซึ่งรฟม.สงวนสิทธิ์จะพิจารณาซองที่4 หรือไม่ก็ได้

@รัฐอุดหนุนค่าโยธา-ปรับค่าโดยสารทุก2 ปี

ทั้งนี้ผู้ยื่นข้อเสนอต้องระบุจำนวนเงินที่ขอให้รัฐชำระคืนค่างานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ และผลประโยชน์ให้แก่รัฐในซองที่3ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน

ขณะที่ผู้ร่วมลงทุนจะมีรายได้จากค่าโดยสารและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยอัตราค่าโดยสาร ณ ปีเปิดบริการให้เป็นไปตามที่รฟม.กำหนดในสัญญา ปรับค่าโดยสารทุกๆ24 เดือน ตามCPI เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวในระบบรถไฟฟ้าของรฟม.โดยระบบที่ผู้โดยสารขึ้นก่อนได้รับค่าแรกเข้า และต้องรองรับระบบตั๋วรวมด้วย สำหรับการพัมนาเชิงพาณิชย์ ผู้ร่วมบงทุนมีสิทธิในการพัฒนาตามที่ระบุในสัญญาโดยต้องได้รับอนุมัติจากรฟม.

@งานช้าเสียค่าปรับ-ดบ.ผิดนัดชำร7.5%ต่อปี

ในส่วนของดอกเบี้ยและค่าปรับ หากผู้ลงทุนไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่กำหนด มีดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ 7.5%ต่อปี และชำระค่าปรับให้รฟม.เป้นรายวันตามอัตราที่กำหนกในสัญญา

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนนท์-มีนบุรี มีระยะทางรวม 35.9 กม. จำนวน 28 สถานี แบ่งเป็น 2 ช่วง ด้านตะวันออกจากศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี และด้านตะวันตกบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2020 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

สรุปรายละเอียด ร่าง TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
5 เมษายน 2563 เวลา 17:37 น.

สรุปรายละเอียด ร่าง TOR รถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งรวมงานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกและ งานก่อสร้างพร้อมเดินรถสายสีตะวันตก รวมในสัญญาเดียวกันเป็นอีกหนึ่งรูปแบบใหม่ของสัญญาโครงการรถไฟฟ้า

ถ้าเซ็นสัญญาได้ในปี 64 เราจะได้ใช้รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ในปี 67 และได้ใช้ทั้งสายในปี 70

หลายๆคนน่าจะทราบกันอยู่แล้วว่าตอนนี้เรามีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เราเรียกว่าสายสีส้มตะวันออก ซึ่งถึงตอนนี้ก็มีความคืบหน้าไปแล้ว 56%

ติดตามรายละเอียดได้ในลิ้งค์นี้
https://www.mrta-orangelineeast.com/th/home_progress

แต่โครงการนี้ก็ยังไม่สมบูรณ์ทั้งโครงการ ยังขาดผู้เดินรถไฟฟ้าของช่วงตะวันออก และโครงข่ายส่วนกลางเมือง บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม เราเรียกว่าสายสีส้มตะวันตก ซึ่งยังไม่ได้เริ่ม

จึงมีการประมูลผู้เดินรถและก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายมีส้มทั้งสายขึ้นมา โดยการแบ่งเป็น 2 งาน คือ

- การก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีส้มตะวันตก
- การเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดสาย

ซึ่งเป็นการประมูลร่วมทุนแบบ PPP Net Cost หรือเอกชนลงทุนในการก่อสร้างและรับความเสี่ยงจากการเดินรถไฟฟ้าเอง

โดยรัฐเอาส่วนของสายสีส้มตะวันออกมาร่วมลงทุนกับเอกชน และให้เอกชนลงทุนงานก่อสร้างส่วนตะวันตก พร้อมทั้งลงทุนระบบเดินรถทั้งหมดตลอดเส้นทาง

รัฐมีหน้าทีสนับสนุนตามการเรียกร้องของเอกชน ซึ่งประมูลแข่งกัน ว่าใครเรียกร้องเงินสนับสนุนน้อยที่สุด ก็ชนะการประมูลไป เหมือนกับโครงการรถไฟฟ้าเชี่อม 3 สนามบิน

——————
รายละเอียดในร่าง TOR

ระยะเวลาในการดำเนินงาน แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

- ระยะท่ี 1 ออกแบบและก่อสร้างงานโยธาและการจัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ก. ส่วนที่ 1 การออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส้วนตะวันออก

ระยะเวลาดําเนินการ 3 ปี 6 เดือน นับจากวันที่แจ้งให้เร่ิมงาน

ข. ส่วนท่ี 2 การออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การออกแบบและ ก่อสร้างระบบรางวิ่ง การจัดหาผลิต ติดต้ัง ทดสอบระบบรถไฟฟ้า และทดลองเดินรถไฟฟ้า ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก

ระยะเวลาดําเนินการ 6 ปี นับจากวันที่แจ้งให้เร่ิมงาน

- ระยะที่ 2 การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบํารุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยให้นับจากวันที่ได้รับอนุญาตจาก รฟม. ให้เริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีสีม ส่วน ตะวันออก จนสิ้นสุดสัญญาร่วมลงทุน

เท่ากับว่าถ้า เราได้เซ็นสัญญาในปี 64 เราจะได้ใช้สายสีส้มตะวันออก ในปี 67 และจะใช้ได้เต็มสายในปี 70
————————
- รายละเอียดโครงการ

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลอดโครงการ มีระยะทาง 35.9 กิโลเมตร 28 สถานี แบ่งเป็น
- ฝั่งตะวันออก (กำลังก่อสร้าง) 22.5 กิโลเมตร 17 สถานี
- ฝั่งตะวันตก 13.4 กิโลเมตร 11 สถานี

เป็นทางรถไฟขนาดทางมาตรฐาน (standard guage) 1.435 เมตร

ค่าความลาดเอียงสูงสุด 4.5%
ค่าความลาดเอียงใช้งาน 3.0%

รัศมีโค้งต่ำสุด 200 เมตร

ความเร็วสูงสุดในการออกแบบ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ความเร็วใช้งานจริง
- ในทางหลัก 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- ในศูนย์ซ่อมบำรุง 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง

กระแสไฟฟ้าที่ใช้กับรถไฟฟ้า (ราง 3) 750 VDC

ชานชลาสั้นสุด ไม่น้อยกว่า 150 เมตร

ความถี่ขั้นต่ำ
- ช่วงเวลาเร่งด่วน ไม่เกิน 5 นาที/ขบวน
- ช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ไม่เกิน 10 นาที/ขบวน

ช่วงเวลาเดินรถ ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง/วัน

ระบบตั๋ว สามารถร่วมกับระบบตั๋วร่วมของกระทรวงคมนาคมได้

————————
รูปแบบการลงทุนของเอกชน

เป็นแบบ BTO (Built-Transfer-Operate) ซึ่งเอกชนจะเป็นผู้สร้าง และเมื่อสร้างเสร็จจะโอนทรัพย์สินของโครงการให้กับรัฐบาล (รฟม.) และรัฐบาล(รฟม.)จะให้สิทธิ์ในการบริหารโครงการกับเอกชนอีกที

ซึ่งการบริหารแบบนี้เท่ากับว่า ทรัพย์สินของระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดจะเป็นของรัฐบาลตั้งแต่วันแรกที่เปิดเดินรถ

ผู้ลงทุนจะต้องเป็นผู้หาแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างโครงการเอง โดยรัฐบาล(รฟม.) จะมาจ่ายคืนภายหลัง

—————————
แหล่งที่มาของรายได้

จากค่าโดยสาร
- เป็นไปตามอัตราที่ รฟม. กำหนดในปีแรกของการให้บริการ ตามสัญญา
- สามารถปรับราคาได้ทุก 24 เดือน โดยอิงเกณฑ์ CPI Index
- สามารถเก็บค่าแรกเข้า ภายในระบบของ รฟม. แค่ต้นทางที่ผู้โดยสารขึ้นเท่านั้น (เปลี่ยนสายไม่เสียค่าแรกเข้า)

การพัฒนาเชิงพาณิชย์
- เอกชนมีสิทธิ์ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ตามสัญญา แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจาก รฟม.

การจ่ายค่าตอบแทน
- เอกชนจะได้รับค่าตอบแทนในส่วนงานก่อสร้างงานโยธาของฝั่งตะวันตก
- รฟม. จะได้ส่วนแบ่งรายได้จากเอกชน

————————
รายละเอียดที่เห็นยังเป็นแค่เบื้องต้นที่ส่งให้เอกชนผู้จะเข้าประมูลได้ส่งข้อเสนอ หรือแย้งโครงการนะครับ

ดังนั้นอาจจะมีการแก้ไข และยังมีส่วนเอกสารแนบซึ่งยังไม่ได้แนบมาอีก

แต่สำหรับผม ส่วนตัวแล้วมองว่าโอเค ตอนนี้ขออย่างเดียว คือรีบประมูล รีบสร้างซักทีเถอะ ฝั่งตะวันออกจะเสร็จแล้ว อย่าปล่อยให้มันร้างนานแบบสายสีม่วงที่สร้างแล้วแต่ไม่มีคนเดินรถไฟฟ้าเลยนะ ขอร้อง!!! เวลามันมีมูลค่า รีบเปิดรีบใช้เถอะ คนรอกันเยอะ

ใครอยากอ่านตัวเต็มอ่านในลิ้งค์นี้ครับ Arrow สรุปสาระสำคัญของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 14/04/2020 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

พ.ค.ขายซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม BTS เปิดบริการ “สถานีม.เกษตร-วัดพระศรี” 3 มิ.ย.

อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 14 เมษายน 2563 - 09:25 น.


ฉลุย - บีทีเอสกำลังทดสอบระบบเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย "หมอชิต-คูคต" เป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมเปิดบริการ มิ.ย.นี้เพิ่ม 4 สถานี

สปีดรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ ปริมณฑล รฟม.เร่งประมูลสายสีส้ม “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” ดึงเอกชน PPP 30 ปี สร้าง เดินรถ ซ่อมบำรุง 1.42 แสนล้าน รัฐจ่ายคืนหลังตอกเข็ม 2 ปี ดีเดย์ 15 พ.ค.ขายซอง ยื่นประมูล ส.ค. เซ็นสัญญาปลายปีนี้ ใครเสนอผลประโยชน์รัฐสูงสุดเป็นผู้ชนะ BTS-BEM แข่งเดือด กทม.เคาะ 3 มิ.ย.นั่งสีเขียวต่อขยาย “ม.เกษตร-วัดพระศรี” ตีตั๋วสีทอง ส.ค. ปีหน้า ต.ค. สีชมพูเปิดครึ่งทาง “มีนบุรี-หลักสี่” และสายสีเหลืองไล่จากสำโรงเข้าเมือง

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รฟม.อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นเอกชนเพื่อร่างประกาศเชิญชวน (TOR) ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน PPP net cost ระยะเวลา 30 ปี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กม. มูลค่า 142,789 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ปี 2562 ผ่านเว็บไซต์ถึงวันที่ 19 เม.ย.นี้ ซึ่งเอกชนจะจัดส่งให้ รฟม.ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 20-22 เม.ย.นี้ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศ TOR ต่อไป

ขายซองสีส้มกลางเดือน พ.ค.
“รอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ออกประกาศราชกิจจาเรื่องประกาศทีโออาร์ คาดว่าจะเปิดขายซองประมูลได้กลางเดือน พ.ค. และเปิดให้ยื่นข้อเสนอกลางเดือน ส.ค. มี 4 ซอง คือ คุณสมบัติ เทคนิค ราคาและผลตอบแทน และข้อเสนออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ ขณะนี้ยังล่าช้าจากแผนงานเล็กน้อย จะเร่งรัดกระบวนการพิจารณาข้อเสนอให้เร็วขึ้น คาดว่าจะได้เอกชนผู้ชนะและเซ็นสัญญาในเดือน ธ.ค.นี้”

นายสุรเชษฐ์กล่าวอีกว่า โดยเอกชนที่ให้ผลประโยชน์รัฐสูงสุด ทั้งการขอรับเงินสนับสนุนค่างานโยธา และผลตอบแทนตลอดอายุสัญญา จะเป็นผู้ชนะประมูลโดยรัฐจะจ่ายเงินค่าโยธาคืนให้หลังเริ่มงานก่อสร้างไปแล้ว 2 ปี

เร่งงานระบบรับเปิดส้มตะวันออก
“เมื่อได้เอกชนแล้ว จะเร่งงานระบบโดยเร็วเพื่อให้ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี เปิดบริการตามแผนในปี 2567 เพราะปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 58.59% จะแล้วเสร็จในปี 2565”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายละเอียดประกาศเชิญชวนของ รฟม. ต้องการเชิญกลุ่มเป้าหมายเป็นเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย ผู้ประกอบกิจการเดินรถไฟฟ้า สถาบันการเงิน ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ผู้ประกอบกิจการก่อสร้าง และนักลงทุนเข้าร่วมประมูล

โดย รฟม.ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และเวนคืนที่ดินให้เอกชนก่อสร้างช่วงตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม

ขณะที่เอกชนผู้ร่วมลงทุนดำเนินการออกแบบและก่อสร้างช่วงตะวันตก และออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุงรักษา เพื่อให้บริการเดินรถตลอดสายและจัดหาเงินทุนเพื่อดำเนินการโครงการ

แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา จัดหาระบบรถไฟฟ้า โดยส่วนการออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและทดลองเดินรถไฟฟ้าของโครงการช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี 6 เดือน นับจากวันแจ้งเริ่มงาน ส่วนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ระบบรางวิ่ง จัดหา ผลิต ติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้าและเดินรถช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ มีระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี นับจากวันแจ้งเริ่มงาน

สำหรับงานระยะที่ 2 การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่ รฟม.ให้เริ่มบริการเดินรถไฟฟ้าช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี จนสิ้นสุดสัญญาร่วมลงทุน

โดยเงินลงทุนโครงการ ประกอบด้วย ค่าเวนคืนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม วงเงิน 14,611 ล้านบาท งานโยธา 96,012 ล้านบาท ค่างานระบบ 32,116 ล้านบาท

BTS-BEM ร่วมชิง
แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างเปิดเผยว่า คาดว่าสายสีส้มจะมีผู้เข้าร่วมประมูลอย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบีทีเอส และกลุ่ม BEM โดยนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหารบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า พร้อมเข้าประมูลสายสีส้มร่วมกับพันธมิตรเดิม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เปิดเผยว่า สนใจจะเข้าร่วมประมูลสายสีส้ม ได้ฟอร์มทีมมาเป็นปีแล้ว เพื่อเข้าประมูล มีทีมประมูล ทีมทำงาน ส่วนทีมลงทุนยังไม่นิ่ง มีคนสนใจจะร่วมหลายราย ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ เพราะเป็นโครงการใหญ่ใช้เงินลงทุนกว่าแสนล้าน จะร่วมกับพันธมิตรเดิมและมีพันธมิตรใหม่เข้ามาร่วมด้วย เช่น บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

3 มิ.ย.เปิดบีทีเอสถึงวัดพระศรีฯ
นายสุรพงษ์กล่าวถึงแผนเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ว่าในเดือน มิ.ย.จะเปิดเพิ่ม 4 สถานี จากปัจจุบันเปิดถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อไปเป็นสถานีกรมป่าไม้ สถานีบางบัว สถานีกรมทหารราบที่ 11 และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

“ส่วนสายสีทอง หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ในเดือน เม.ย.นี้ทางซัพพลายเออร์จะเริ่มลำเลียงขบวนรถลงเรือ คาดว่าจะถึงประเทศไทยประมาณ พ.ค.-มิ.ย. ซึ่งเป้าเปิดบริการยังเป็นในเดือน ส.ค.นี้”

แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวว่า กทม.กำหนดวันเปิดบริการสายสีเขียวสถานี ม.เกษตรศาสตร์-สถานีวัดพระศรีฯ เป็นวันที่ 3 มิ.ย.นี้ ส่วนจะเก็บค่าโดยสารหรือไม่ รอนโยบายจากผู้ว่าฯ กทม. แต่มีแนวโน้มจะเปิดให้ใช้ฟรีไปจนกว่าจะเปิดตลอดสายถึงคูคตปลายปีนี้ ส่วนสายสีทองงานก่อสร้างล่าช้าจากแผนเล็กน้อย โดยเฉพาะงานติดตั้งระบบที่ต้องนำเข้าจากประเทศจีน

ชมพู-เหลืองทยอยเปิด
แหล่งข่าวจาก รฟม.เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค.2564 จะปรับแผนเปิดบริการสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ทยอยเปิดจากมีนบุรี-วงเวียนหลักสี่เชื่อมสายสีเขียวและสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง จะเปิดจากปลายทางที่สถานีสำโรง เชื่อมกับสายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการไล่ลงมายังศรีนครินทร์ ยังไม่สรุปจะเปิดกี่สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2020 10:28 pm    Post subject: Reply with quote


การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงเคหะรามคำแหงไปมีนพัฒนา
https://www.youtube.com/watch?v=CYW8OMAZEZE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2020 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

การเสริมความแข็งแรงของฐานรากสะพานรถยนต์ยกระดับข้ามแยกลำสาลีเดิม Bridge Underpinning ก่อนตัดเสาเข็มใต้สะพานที่กีดขวางการก่อสร้างออก เพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน #ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ความคืบหน้าถึงวันที่ 22 เมษายน 2563
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/838092053336814
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2020 7:43 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.-ITD เดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าสีส้ม ตัวที่ 4 ยันแผนเปิดปี67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 24 เมษายน 2563 เวลา 18:42

รฟม. เดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินตัวที่ 4 สายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ขณะที่ภาพรวมก่อสร้างตลอดสายคืบ 58.59% ตามแผนเปิดให้บริการได้ในปี 2567

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า วันที่ 34 เม.ย. ได้มีการเริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ตัวที่ 4 ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ สถานีคลองบ้านม้า ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร

โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า มีระยะทางรวมประมาณ 4.07 กิโลเมตร โดยหัวเจาะอุโมงค์ตัวที่ 4 จะดำเนินการเจาะในแนวฝั่งอุโมงค์ตะวันออกคู่ขนานไปกับอุโมงค์ฝั่งตะวันตก ไปตามถนนรามคำแหง จากสถานีคลองบ้านม้าไปสิ้นสุดที่สถานีหัวหมาก ซึ่งคาดว่าจะขุดเจาะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2564

นอกจากนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฯ ยังได้นำเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ที่มีขนาดความยาว 11 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.39 เมตร น้ำหนัก 320 ตัน ที่มีความสามารถขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 5.70 เมตร ในระดับความลึก 20 – 30 เมตร ขุดเจาะเฉลี่ยวันละ 10 - 15 เมตร หรือเดือนละ 350 เมตร มาใช้ อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีหัวเจาะอุโมงค์ที่สามารถขุดเจาะใต้ดินที่มีสภาพเป็นดินเหนียว พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนประกอบด้วยท่อลำเลียงดินออก อุปกรณ์สำหรับควบคุมทิศทาง อุปกรณ์ไฮโดรลิคส์เพื่อการลำเลียงวัสดุก่อสร้าง เข้า-ออก อุปกรณ์ระบายอากาศ ตลอดจนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างการขุดเจาะและการก่อสร้างอุโมงค์มาใช้ในงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน

ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2563 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม คิดเป็น 58.59% และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567

ลุยเจาะอุโมงค์ใต้ดิน “สายสีส้มตะวันออก” ตัวที่ 4
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
เผยแพร่: 24 เมษายน 2563 เวลา 15:54 น.

รฟม. เดินหน้าขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน “สายสีส้ม (ตะวันออก)” ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตัวที่ 4 คาดเปิดให้บริการปี 67รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ตัวที่ 4 ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ สถานีคลองบ้านม้า ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 63 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 58.59 และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 67



สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า มีระยะทางรวมประมาณ 4.07 กิโลเมตร โดยหัวเจาะอุโมงค์ตัวที่ 4 จะดำเนินการเจาะในแนวฝั่งอุโมงค์ตะวันออกคู่ขนานไปกับอุโมงค์ฝั่งตะวันตก ไปตามถนนรามคำแหง จากสถานีคลองบ้านม้าไปสิ้นสุดที่สถานีหัวหมาก คาดว่าจะขุดเจาะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 64

นอกจากนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฯ ยังได้นำเครื่องหัวเจาะอุโมงค์ที่มีขนาดความยาว 11 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.39 เมตร น้ำหนัก 320 ตัน ที่มีความสามารถขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 5.70 เมตร ในระดับความลึก 20 – 30 เมตร ขุดเจาะเฉลี่ยวันละ 10 - 15 เมตร หรือเดือนละ 350 เมตร มาใช้ อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีหัวเจาะอุโมงค์ที่สามารถขุดเจาะใต้ดินที่มีสภาพเป็นดินเหนียว พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนประกอบด้วยท่อลำเลียงดินออก อุปกรณ์สำหรับควบคุมทิศทาง อุปกรณ์ไฮโดรลิคส์เพื่อการลำเลียงวัสดุก่อสร้าง เข้า-ออก อุปกรณ์ระบายอากาศ ตลอดจนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างการขุดเจาะและการก่อสร้างอุโมงค์มาใช้ในงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2582359578652211
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2020 11:15 am    Post subject: Reply with quote

หน้าเดิมสนใจลงทุนเดินรถสายสีส้ม รฟม.คาดกำหนดขายซองเดือน มิ.ย.
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
เผยแพร่: 28 เมษายน 2563 เวลา 08:57 น.

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า หลังจาก รฟม.ปิดรับฟังความเห็นร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.mrta.co.th วันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่า มีบริษัทภาคเอกชนจากหลายประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นพอสมควร ส่วนใหญ่เป็นเอกชนรายเดิมๆที่เข้ามา มีทั้งเอกชนของไทย จีน ญี่ปุ่น และโซนยุโรป และให้ความเห็นว่า หัวข้อต่างๆที่ระบุไว้นั้นกว้างเกินไป อยากให้ รฟม.เพิ่มเติมในรายละเอียดของร่างดังกล่าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งภายในสัปดาห์นี้ หรืออย่างช้าต้นเดือน พ.ค. จะนัดคณะกรรมการฯประชุมเพื่อสรุปผลจะดำเนินการอย่างไรต่อไป


นายสุรเชษฐ์กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการเปิดประกวดราคา หลังจากคณะกรรมการฯ ประชุมสรุปผลเสร็จแล้ว จะต้องรอ สคร.ประกาศบังคับใช้กฎหมายใหม่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการยกร่าง TOR และหลักเกณฑ์การรับฟังความคิดเห็น มีรายละเอียดและสาระสำคัญอะไรบ้าง เพื่อให้การยกร่าง TOR สอดรับกับกฎหมายใหม่ โปร่งใสและลดปัญหาการร้องเรียนในภายหลัง ขณะนี้อยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าต้นเดือน พ.ค.นี้ รฟม.จะสามารถประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนได้ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และเปิดขายซอง เดือน มิ.ย. โดยกำหนดลงนามสัญญาจ้างเอกชนดำเนินการภายในเดือน พ.ย.2563.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2020 10:30 pm    Post subject: Reply with quote

งานเข้า!! รถไฟฟ้าสีส้ม(ตก)”ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์”
*ครม. ตีกลับร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน
*มีแววเลื่อนยาว/เปิดประมูลเจอค่าโง่

วันที่ 8 พฤษภาคม 2563
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2593771774177658

ITD สร้างอุโมงค์”สถานีลำสาลี”สายสีส้มเสร็จแล้ว เปิดใช้สะพานข้ามแยกฝั่งขาเข้า11พ.ค.นี้
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 เวลา 11:25 น.
ดีเดย์ เปิดสะพานข้ามแยกลำสาลี ลุยสายสีส้ม
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 เวลา 11:33 น.
รฟม.เตรียมเปิดใช้สะพาน ข้ามแยกลำสาลีฝั่งขาเข้า11พ.ค.
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 เวลา 15.18 น.
เปิดใช้สะพานลำสาลี 11 พ.ค. รฟม.ลุยขุดอุโมงค์รถไฟฟ้าสีส้ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 เวลา 14:52
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2563 เวลา 15:25

รฟม. พร้อมเปิดใช้สะพานข้ามแยกลำสาลี ฝั่งขาเข้า11พ.ค.นี้  หลังอิตาเลียนไทยฯ  ก่อสร้างสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรีแล้วเสร็จ


การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ดำเนินการรื้อเชิงสะพานข้ามแยกลำลี ฝั่งขาเข้า เพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีลำสาลีแล้วเสร็จเรียบร้อย

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ พร้อมเปิดใช้งานสะพานข้ามแยกลำสาลี ฝั่งขาเข้าตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อสะพานข้ามแยกลำสาลีเปิดใช้งานแล้วจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจราจรบริเวณแยกลำสาลี ถนนรามคำแหง และทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2563 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม คิดเป็น 60.60% และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2020 11:12 am    Post subject: Reply with quote

#ที่นี่สถานีลำสาลี หลังจากเปิดสะพานลำสาลีไปเมื่อเช้านี้ เรามาลุยงานกันต่อนะ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
วันที่ 11 พฤษภาคม 2563
#สถานีลำสาลี (OR20) มีความคืบหน้า ณ สิ้นเดือน เมษายน 2563 อยู่ที่ ร้อยละ 56.22 โดย บริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า กำลังเร่งก่อสร้างพื้นหลังคาสถานี (Roof Slab) เพื่อให้พร้อมที่จะขุดลงไปเพื่อก่อสร้างพื้นชั้นจำหน่ายตั๋ว (Concourse) และพื้นชั้นชานชลา (Platform) ให้แล้วเสร็จทันตามกำหนดเวลาที่ หัวเจาะอุโมงค์ #TBM4 ที่จะมาถึงในปลายปี 2563 นี้ #ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) #ทีมITD
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 90, 91, 92  Next
Page 28 of 92

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©