RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311329
ทั่วไป:13291633
ทั้งหมด:13602962
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 73, 74, 75 ... 90, 91, 92  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2022 2:51 am    Post subject: Reply with quote

“องค์กรต้านโกง” วอนภาครัฐ สอบประมูลสายสีส้ม หวั่นเสียค่าโง่ 6.8 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:47 น.

“องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน” วอนภาครัฐ ตรวจสอบประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม หวั่นเสียค่าโง่ 6.8 หมื่นล้านบาท ห่วงซ้ำรอยแอร์พอร์ตลิงก์-โฮปเวลล์ กระทบแผนล่าช้ากว่า 2 ปี

รายงานข่าวจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวถึง กรณีสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีปัญหาการประมูลล่าช้ามากว่าสองปี ล่าสุดได้ปรากฏเงื่อนงำ ต่อสาธารณชนอีกว่า ราคาของผู้ชนะการประมูลเป็นราคาที่ทำให้รัฐต้องเสียประโยชน์ไปมากถึง 6.8 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับข้อเสนอของเอกชนรายอื่น ทางองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ มีความเชื่อว่าทุกวันนี้คนไทยเบื่อหน่ายกับการเสียค่าโง่ และต้องทนเดือดร้อนจากโครงการด้านสาธารณูปโภคของรัฐ ซ้ำแล้วซ้ำอีก







โดยเฉพาะโครงการเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชน เช่น โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ มูลค่า 3.3 หมื่นล้านบาท มีปัญหาไม่โปร่งใสตั้งแต่ต้นจนขาดทุนต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้โดยสารเดือดร้อนจากบริการที่ด้อยคุณภาพ ขบวนรถเสียบ่อยขาดความต่อเนื่อง โครงการโฮปเวลล์ มูลค่า 8 หมื่นล้านบาท ที่สุดท้ายล้มเลิกไป แต่รัฐถูกฟ้องร้องเรียกค่าโง่ 2.8 หมื่นล้านบาทที่เป็นเงินภาษีประชาชน รถไฟฟ้าสายสีเขียวที่การบริหารโครงการตกอยู่ในมือเอกชนต่อเนื่อง แต่ไม่รู้ว่าใครไปแอบทำอะไรกัน กทม. กลับเป็นหนี้ต้องชดใช้เอกชนมากถึง 1.2 หมื่นล้านบาท


ทั้งนี้เพื่อหยุดวงจรของการโกง ไม่ปล่อยให้ประเทศไทยถูกเอาเปรียบ เสียค่าโง่ไปจนถึงลูกหลาน และสุดท้ายประชาชนคือผู้รับกรรมจากการโกง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ จึงขอแถลงการณ์ในกรณีรถไฟสายสีส้ม ดังนี้



“องค์กรต้านโกง” วอนภาครัฐ สอบประมูลสายสีส้ม หวั่นเสียค่าโง่ 6.8 หมื่นล้าน



1. ขอเรียกร้องนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล สั่งให้มีการตรวจสอบว่า ผลประโยชน์ของรัฐที่เอกชนเสนอแตกต่างกันมากถึง 6.8 หมื่นล้านบาทนี้ เป็นเรื่องสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยเปิดให้องค์กรวิชาชีพ ที่สังคมเชื่อมั่น เข้ามีส่วนร่วมตรวจสอบด้วย เช่น สภาวิศวกรฯ สภาวิศวกรที่ปรึกษาฯ แล้วเปิดเผยให้ประชาชนทราบโดยเร่งด่วน





2.ขอให้คนไทยทุกภาคส่วนได้ร่วมกันกดดันให้ผู้นำรัฐบาล ผู้นำทางการเมืองและหน่วยงานของรัฐ และบุคคลในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี.) กระทรวงคมนาคม คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และผู้นำของทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องรถไฟสายสีส้มที่กำลังฉาวโฉ่ ต้องแสดงความรับผิดชอบ ต้องทำงานเป็นตัวแทนประชาชนในรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ให้สมกับตำแหน่งที่ความไว้วางใจที่ได้รับเลือกมา


อย่างไรก็ตาม 2 ข้อเสนอนี้ จะช่วยให้ประชาชนไม่ต้องรับกรรมซ้ำซากจากการทุจริตคดโกง ช่วยให้ประเทศไทย ผุดจากหลุมพรางของการโกงชาติ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเสียงของประชาชนจะได้รับการตอบสนอง ไม่ต้องให้ประชาชนหมดหวังกับผู้นำ จนต้องลุกมาสู้โกงด้วยตนเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2022 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“องค์กรต้านโกง” วอนภาครัฐ สอบประมูลสายสีส้ม หวั่นเสียค่าโง่ 6.8 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:47 น.


รฟม.แจงองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ประมูล "สีส้ม" ปฏิบัติตามข้อตกลงคุณธรรม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:41 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 18:41 น.

รฟม. โต้ ACT ยันรถไฟฟ้าสีส้มโปร่งใส ผู้สังเกตการณ์จาก ACT ไม่โต้แย้ง
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:52 น.

รฟม. ชี้แจง รถไฟฟ้าสายสีส้มโปร่งใส มีผู้สังเกตการณ์จาก ACT ครบทุกขั้นตอน ไร้ข้อสังเกตระหว่างกระบวนการว่าส่อทุจริต

รฟม.แจงข้อเท็จจริงกรณีแถลงการณ์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันติงประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม ชี้ปฏิบัติตามข้อตกลงคุณธรรมฯ มีผู้แทนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสังเกตการณ์ สามารถท้วงได้ตลอดเวลา ผลต่าง 6.8 หมื่นล้าน เอกชนอ้างตัวเลขตามประกาศที่ยกเลิกไปแล้ว

ตามที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้ออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2565 เรื่อง "กรณี 6.8 หมื่นล้านในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม” การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงกรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ดังนี้

1. การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ รฟม. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงบประมาณ (สงป.) กระทรวงคมนาคม สำนักงานอัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน

2. การดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562) ประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (ประกาศคณะกรรมการ PPP) กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประกาศ สคร. เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการนำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้กับโครงการร่วมลงทุนที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 ซึ่งได้กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินการตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564

3. ในการดำเนินการตามประกาศ สคร. เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการทำข้อตกลงคุณธรรมฯ สคร.ได้มอบหมายให้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เป็นองค์กรภาคเอกชนให้ดำเนินการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม

4. สคร.ได้แจ้งชื่อผู้สังเกตการณ์ 5 ท่าน ที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ โดย รฟม.และผู้สังเกตการณ์ได้ลงนามข้อตกลงคุณธรรมเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 และผู้สังเกตการณ์ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ทุกขั้นตอน

5. ผู้สังเกตการณ์ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการคัดเลือกเอกชนฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานผลการสังเกตการณ์ และในกรณีที่พบเห็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางทุจริตให้แจ้งคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยเร็ว เพื่อให้มีการชี้แจงหรือแก้ไขในระยะเวลาที่ผู้สังเกตการณ์กำหนด หากคณะกรรมการคัดเลือกฯ ไม่ชี้แจงหรือแก้ไข ให้ผู้สังเกตการณ์แจ้งองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เพื่อรายงานต่อ สคร. และกระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งนี้ สำหรับกรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้รับแจ้งข้อสังเกตใดจากผู้สังเกตการณ์

ทั้งนี้ หากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้รับรายงานพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางทุจริตจากผู้สังเกตการณ์ ก็สมควรที่จะนำส่งรายงานดังกล่าวให้ รฟม. สคร. และกระทรวงคมนาคม พิจารณาดำเนินการ

6. ผลประโยชน์ของรัฐที่เอกชนเสนอแตกต่างกันมากถึง 6.8 หมื่นล้านบาท ตามที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวอ้าง น่าจะเป็นการเปรียบเทียบกับตัวเลขข้อเสนอที่เอกชนรายหนึ่งทำการเปิดเผยตัวเลขผลประโยชน์ของรัฐที่อ้างว่าเป็นข้อเสนอตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ซึ่งได้ยกเลิกไปแล้ว ข้อเสนอที่กล่าวอ้างจึงมิได้ผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การประเมินที่ประกอบด้วยข้อเสนอด้านคุณสมบัติ ข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมถึงเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ตามลำดับ ประกอบกับเป็นซองข้อเสนอที่เปิดเป็นการภายในของเอกชนเอง ตัวเลขที่อ้างไม่สามารถยืนยันที่มาที่ไปได้ จึงไม่น่าเชื่อถือ และไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้กับข้อเสนอที่ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์กำหนด

7. เอกชนรายดังกล่าวที่ได้เปิดเผยตัวเลขผลประโยชน์ของรัฐ ที่อ้างว่าเป็นข้อเสนอตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ซึ่งได้ยกเลิกไปแล้ว ไม่ได้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ซึ่งน่าจะเกิดจากความไม่พร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งนี้เอกชนรายดังกล่าวได้มีการฟ้องศาลปกครองกลางและยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี โดยขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และต่อมาที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองกลางได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เป็นการดำเนินการที่เป็นไปตามขั้นตอนตามประกาศคณะกรรมการ PPP และตามวัตถุประสงค์ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ประกาศเชิญชวนฯ มีการเปิดกว้างให้เอกชนเข้าร่วมการคัดเลือกมากขึ้น เกิดการแข่งขันมากกว่าประกาศเชิญชวนฯ ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ประกาศเชิญชวนฯ จึงไม่มีลักษณะตัดสิทธิหรือกีดกันผู้ร้องมิให้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอ ซึ่งผู้ร้องฯ สามารถยื่นข้อเสนอได้เช่นเดียวกันกับเอกชนรายอื่น ศาลปกครองกลางจึงมีคำสั่ง เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ยกคำร้องฯ ดังกล่าว

8. และเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อ่านคำพิพากษาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อท30/2564 ระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (โจทก์) กับ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กับพวก (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) รวม 7 คน (จำเลย) โดยศาลอาญาฯ ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าจำเลยทั้ง 7 ได้ร่วมกันใช้ดุลพินิจแก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอตามประกาศเชิญชวน ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 เพื่อประโยชน์ของรัฐตามข้อเท็จจริง และตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2562 ประกาศคณะกรรมการ PPP โดยไม่มีพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่ามีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หรือกระทำที่นอกขอบเขตแห่งกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การกระทำของจำเลยทั้ง 7 จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง ศาลอาญาฯ จึงพิพากษายกฟ้อง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

“รถไฟฟ้าสายสีส้ม” รฟม. Vs องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
*ตัวแทนองค์กรตอนประมูลเงียบกริบ-วันนี้โวยวาย
*ตลกดีมาฟาดกันเองให้ประชาชนเห็นซะงั้น 5555
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/649438939966677


Last edited by Wisarut on 08/10/2022 9:53 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2022 9:11 am    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม จากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ไปสุวินทวงศ์ เมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2565:
วันเสาร์ ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:30 น.

ความก้าวหน้าโดยรวม : 97.74 %

สัญญาที่ 1: อุโมงค์และ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - รามคำแหง 12 โดย CKST Joint Venture - 99.99% เกือบเสร็จแล้ว

สัญญาที่ 2: อุโมงค์และ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วง รามคำแหง 12 - รามคำแหง 34 โดย CKST Joint Venture - 99.99% เกือบเสร็จแล้ว

สัญญาที่ 3: อุโมงค์และ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน รามคำแหง 34 - คลองบ้านม้าโดย Italian Thai Development PCL - 99.99% เกือบเสร็จแล้ว

สัญญาที่ 4: ทางและสถานีลอยฟ้าจากคลองบ้านม้า ไปสุวินทวงศ์ โดย Unique Engineering and Construction PCL - 87.57%

สัญญาที่ 5 : โรงซ่อมบำรุงและ ที่จอดแล้วจร โดย CKST Joint Venture - 98.58%

สัญญาที่ 6 : งานก่อสร้างรถบบราง โดย Unique Engineering and Construction PCL - 87.23%

https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/432387875683385
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2022 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

จุดเชื่อมต่อสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยของรถไฟฟ้าสายสีส้มภายในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต้องเป็นรูร้างไปอีกนานหลายปี ถึงแม้สร้างเสร็จก็เปิดให้บริการไม่ได้เพราะไม่มีรถไฟฟ้าวิ่งและสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเป็นจุดตัดรถไฟฟ้าใต้ดินเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองใหม่
https://www.facebook.com/groups/429224380754014/posts/1872294863113618/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44898
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2022 1:05 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ความก้าวหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม จากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ไปสุวินทวงศ์ เมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2565:
วันเสาร์ ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 06:30 น.

https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/432387875683385

ความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก ณ สิ้นเดือนก.ย. 2565
Oct 17, 2022
PR MRTA Official

ความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 มีความคืบหน้างานโยธา อยู่ที่ 97.74 % โดยวันนี้น้องทันใจจะพาทุกคนมาอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่มีความคืบหน้าการก่อสร้างกว่า 99% ตามไปดูกันเลย


https://www.youtube.com/watch?v=p8_0YbeghvQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2022 6:45 pm    Post subject: Reply with quote

จอดแล้วจรสายสีส้ม ที่สถานีคลองบ้านม้า ...เห็น FACADE อาคารโลโก้ MRT ละครับ
#CONDOMAN
แถมภาพอาคารการเรียนรู้ที่สถานี รฟม. แกะผ้าโชว์ประติมากรรมรูปรถไฟใต้ดินที่ย้ายมาจากสถานีศูนย์วัฒนธรรม
https://www.facebook.com/propholic2014/posts/5181576525275443
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2022 12:09 am    Post subject: Reply with quote

BEM จ่อเซ็นสัญญา สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.39 แสนล้าน
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพุธ ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:55 น.

28 พ.ย.นี้ BEM เล็งลงนามสัญญา ดึงช.การช่าง ติดตั้งระบบ-ตอกเสาเข็มสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.39 แสนล้านบาท เผยผลตอบแทนพันธมิตรผู้รับเหมาแตะ 1.09 แสนล้านบาท

รายงานข่าวจากบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ (BEM) เปิดเผยว่า สำหรับมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2565 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 17 ต.ค.65 ให้กำหนดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 28 พ.ย.65 เพื่อพิจารณาเข้าทำสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบาง ขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่าโครงการ 139,127 ล้านบาท กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ



ทั้งนี้ บริษัทกำหนดให้วันที่ 31 ต.ค.65 เป็นวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) เพื่อสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XM หรือวันที่ไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 28 ต.ค.65)



ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีมูลค่าการลงทุน 139,127 ล้านบาทประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) มูลค่างานการออกแบบและก่อสร้างงานโยธาและดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง จำนวน 95,432 ล้านบาท และ 2)มูลค่างานจัดหาระบบรถไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการให้บริการการเดินรถไฟฟ้า จำนวน 43,695 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอร่วมลงทุนของ BEM ที่เสนอต่อ รฟม.


นอกจากนี้ได้พิจารณาว่าจ้าง บมจ.ช.การช่าง (CK) ในลักษณะจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Lump Sum Turnkey) เป็นผู้บริหารและก่อสร้างงานโยธา ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก (ไม่รวมการว่าจ้างที่ปรึกษารฟม.) มีค่าตอบแทน 82,502 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และเป็นผู้ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง ทดสอบอุปกรณ์งานระบบ และทดลองเดินรถไฟฟ้า ช่วงตะวันออกและตะวันตก มีค่าตอบแทน 26,714 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทั้งนี้ภายหลังจากบริษัทได้เข้าทำสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มกับ รฟม.



สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์– มีนบุรี ซึ่งโครงการนี้มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทางรวม 35.9 กม.จำนวน 28 สถานี โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออก มีระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานีตั้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนถึงสถานีสุวินทวงศ์ โดยเป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตก มีระยะทาง 13.4 กม.จำนวน 11 สถานีตั้งแต่สถานีบางขุนนนท์จนถึงสถานี ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยเป็นสถานีใต้ดินทั้งหมด

ส่วนระยะเวลาของโครงการ 33 ปี 6 เดือน แบ่งระยะเวลาดำเนินการเป็น 2 ระยะ



ระยะที่ 1 การออกแบบและก่อสร้างงานโยธาและการจัดหาระบบรถไฟฟ้า

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออกระยะเวลา 3 ปี 6 เดือนนับจากวันที่ รฟม.ระบุในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตกระยะเวลา 6 ปี นับจากวันที่ รฟม. ระบุในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน


ระยะที่ 2 การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและบำรุงรักษา ระยะเวลา 30 ปีนับจากวันที่เริ่มการบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันออก



ในการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บริษัทจะมีแหล่งรายได้หลักจาก 2 ส่วน ได้แก่ (1) รายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสาร และ (2) รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์



นอกจากนี้ รฟม.จะรับผิดชอบจ่ายค่างานโยธาช่วงตะวันตก และดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้างโดยแบ่งชำระเป็นรายปีตามที่ได้มีการจ่ายจริงจากการดำเนินงานก่อสร้างเป็นระยะเวลา 6 ปี เริ่มตั้งแต่ปีที่3 ถึงปี ที่ 8 นับจากวันที่ รฟม. ระบุในหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน



ขณะเดียวกันบริษัทมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รฟม.โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การจ่ายเงินตอบแทนคงที่ให้ รฟม. ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอร่วมลงทุนของบริษัทที่เสนอต่อ รฟม.และส่วนที่ 2 การจ่ายผลตอบแทนผันแปร เมื่อบริษัทมีผลตอบแทนการลงทุน (Equity Internal Rate of Return หรือ “Equity IRR”) จากการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกินกว่าร้อยละ 9.75 การเข้าทำสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม จะทำให้เพิ่มความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และขยายโครงข่ายของระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าที่บริษัทบริหารอยู่ในปัจจุบันให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการที่มากขึ้น และเพิ่มจำนวนผู้โดยสารและรายได้ของโครงการรถไฟฟ้าภายใต้สัมปทานของบริษัท



อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าจะใช้แหล่งเงินทุนจากภายนอก โดยการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน หรือการออกหุ้นกู้หรือการใช้แหล่งเงินทุนภายในจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน รวมถึงเงินสนับสนุนที่ได้รับจาก รฟม. สำหรับงานโยธาช่วงตะวันตก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42793
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2022 3:55 am    Post subject: Reply with quote

ขอเชิญชวนเข้าร่วม เวทีสาธารณะค้นหาความจริง "กรณี 6.8 หมื่นล้าน ในการประมูล รถไฟสายสีส้ม" ผลประโยชน์..หรือค่าโง่!! ที่รัฐฯ ต้องมีคำตอบ
.
วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 เปิดเวทีเวลา 10:00-12:00 น.
.
ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ :
ON SITE: ลงทะเบียนหน้างาน (แสดงผลตรวจ ATK ล่วงหน้าไม่เกิน 48 ชั่วโมง) ณ ห้องประชุม ชั้น 10 อาคารศรีจุลทรัพย์ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
https://forms.gle/m4qQb9KHpkLq5bfb9
.
ONLINE : Scan QR เพื่อลงทะเบียนล่วงหน้า และรับชมถ่ายทอดสด ผ่าน Facebook : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
https://forms.gle/7KGQHm4g4q4XmiMm7
.
LINK
https://www.facebook.com/photo/?fbid=478567627644389&set=a.301962278638259
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3032953863517130&id=100004076388880
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44898
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/10/2022 2:35 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีใต้ดินสุดท้าย@รุ่งกิจ# รถไฟฟ้าสายสีส้ม🙏🇹🇭
Oct 20, 2022
อัมพร สว่างแดนดิน


https://www.youtube.com/watch?v=tOzAQYZX5k0


ACT เปิดเวทีชำแหละประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม เตือนวิจารณ์ทั้งที่คดีคาศาล อาจเข้าข่ายชี้นำ-กดดัน
เผยแพร่: 21 ต.ค. 2565 18:07
ปรับปรุง: 21 ต.ค. 2565 18:07
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน” เปิดเวทีสาธารณะถามหาส่วนต่าง 6.8 หมื่นล้านบ. ประมูล “รถไฟสายสีส้ม (ตะวันตก)” ไร้ผู้แทน “รฟม.-BEM” ร่วม “กุนซือ BTS-สามารถ” สับแหลกกีดกันเอกชนบางราย อีกด้านห่วงตั้งเวทีวิจารณ์ทั้งที่เรื่องอยู่ในชั้นศาล อาจเข้าข่ายกดดันศาล ชี้ประเด็นเก่าที่บางคดีศาลยกฟ้องไปแล้ว

วันนี้ (21 ต.ค.65) ที่ห้องประชุม ชั้น 10 อาคารศรีจุลทรัพย์ เขตปทุมวัน กทม. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT) ได้เปิดเวทีสาธารณะค้นหาความจริง "กรณี 6.8 หมื่นล้าน ในการประมูล รถไฟสายสีส้ม ผลประโยชน์..หรือค่าโง่!! ที่รัฐฯต้องมีคำตอบ” โดยมี นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ ACT, พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS), นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์, นายสุเมธ องกิติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และนายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมเป็นวิทยากร

นายมานะ กล่าวตอนหนึ่งว่า การดำเนินโครงการในลักษณะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หรือโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) จำเป็นต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะว่าหากปล่อยให้เสียหายไปแล้ว อย่างตอนนี้มีประเด็นเกี่ยวกับวงเงินขอรับเงินสนับสนุนค่าก่อสร้างจาก รฟม. ของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เอกชนผู้ชนะการประมูล กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ที่ไม่ได้เข้าร่วมการประมูล ที่แตกต่างกันถึงราว 6.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐอาจจะสูญเสียไป สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถหวนคืนมาได้

ขณะที่ นายสามารถ ตั้งข้อสังเกตจากการติดตามการประมูลโครงการฯมากว่า 2 ปี 10 ข้อ อาทิ หาก รฟม.ไม่เปลี่ยนเกณฑ์ประมูลและไม่ล้มประมูล มีความเป็นไปได้ที่ BTSC ร่วมกับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC จะชนะการประมูล เพราะขอรับเงินสนับสนุนค่าก่อสร้างจาก รฟม. ต่ำแค่เพียง 9,675.42 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้รัฐประหยัดค่าก่อสร้างได้ถึง 6.8 หมื่นล้านบาท และเหตุใด รฟม. จึงลดคุณสมบัติของผู้เดินรถไฟฟ้าลงในการประมูลครั้งที่ 2 แต่เพิ่มคุณสมบัติของผู้รับเหมาขึ้น ซึ่งหาก รฟม. ไม่ลดคุณสมบัติของผู้เดินรถไฟฟ้าลง จะทำให้ Incheon Transit Corporation หรือ ITC ผู้เดินรถไฟฟ้าจากเกาหลีใต้ไม่สามารถร่วมยื่นประมูลกับ ITD ได้ และหาก รฟม. ไม่เพิ่มคุณสมบัติของผู้รับเหมาขึ้น จะทำให้ BTSC ร่วมกับ STEC ที่เคยยื่นประมูลครั้งที่ 1 จะสามารถยื่นประมูลครั้งที่ 2 ได้ด้วย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ ACT ควรทบทวนบทบาทของตนเองในการส่งผู้สังเกตการณ์ไปร่วมสังเกตการประมูล หากผู้สังเกตการณ์ไม่รักษาจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ ACT ก็จะกลายเป็นตรายางรับรองการประมูลว่า ไม่มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า การจัดเวทีสาธารณะครั้งนี้ไม่มีตัวแทนจาก รฟม. และ BEM ผู้ชนะการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันตก เข้าร่วมตามที่มีการระบุไว้ในกำหนดการของทางผู้จัดแต่อย่างใด

แหล่งข่าวจากศาลปกครอง เปิดเผยว่า จากการติดตามการจัดเวทีสาธารณะขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งข้อมูลจากวิทยากรบนเวทีวันนี้เป็นข้อมูลที่เคยออกมาคัดค้านการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฝั่งตะวันตก แล้วทั้งสิ้น และเชื่อว่า ทาง BTSC ในเครือ BTS ที่เป็นผู้ฟ้องคดีจะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการพิจารณาไต่สวนของศาลปกครอง อย่างไรก็ดีมีความเป็นห่วงว่า การให้ความคิดเห็น หรือการจัดเวทีในลักษณะนี้อาจเข้าข่ายชี้นำ หรือกดดันกระบวนการยุติธรรมได้ เนื่องจากขณะนี้คดีความต่างๆกำลังอยู่ในชั้นศาล อีกทั้งคดีที่ BTSC ยื่นฟ้องต่อ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เกี่ยวกับการล้มประมูลครั้งแรกนั้น ศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณายกฟ้องคดีดังกล่าว เนื่องจากคำฟ้องของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักในหลายประเด็น ต่างจากกรณีที่ทาง รฟม.ดำเนินการประมูลครั้งใหม่จนได้ผู้ชนะ เพราะศาลปกครองกลางได้ยกคำร้อง ตามที่ BTSC ขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวห้ามการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ไปแล้ว ทำให้ รฟม.สามารถดำเนินการตามกระบวนการได้.


"ทีดีอาร์ไอ" แนะ 3 ทางออก สางปัญหาประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”
หน้าแรก
เศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 21 ต.ค. 2565 เวลา 20:39 น.

"ทีดีอาร์ไอ" ซัดรฟม.-BEM ลงนามสัญญา ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม กีดกันการแข่งขัน หวั่นเกิดปัญหาในอนาคต เผย 3 ทางออก เร่งหาข้อยุติ

ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยในเวทีสาธารณะค้นหาความจริง "กรณี 6.8 หมื่นล้าน ในการประมูล รถไฟสายสีส้ม" ผลประโยชน์..หรือค่าโง่!! ที่รัฐฯ ต้องมีคำตอบ จัดขึ้นโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ว่า เหตุจากการยกเลิกประกวดราคาและเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมตอนนี้โครงการล่าช้ามาอย่างน้อย 2 ปี

“จากแผนเดิมที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำหนดจะเปิดให้บริการส่วนตะวันออกภายในปี 2569 และส่วนตะวันตกภายในปี 2571 หาก รฟม.ลงนามร่วมลงทุนกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลนั้น ทาง BEM จะสามารถเร่งรัดงานก่อสร้าง ติดตั้งระบบและสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนหรือไม่”

ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า ต้นตอของปัญหาในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการจัดรูปแบบ PPP ที่ทำให้มีเอกชนเข้ามาแข่งขันน้อยรายเกินไป โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มผูกสัญญาก่อสร้างกับสัญญาเดินรถเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดปัญหา คือ เอกชนเข้าประมูลต้องสามารถทำได้ทั้งการก่อสร้างและการเดินทาง ซึ่งงานทั้งสองส่วนนี้ก็มีขนาดใหญ่พอๆ กัน นอกจากนี้งานก่อสร้างก็มีความซับซ้อน จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้เงื่อนไขของผู้เข้าร่วมประมูลค่อนข้างสูง บริษัทที่จะทำได้ตามเงื่อนไขมีน้อยรายมาก

ทั้งนี้ TDRI ยังมองว่าการประมูลและการจัดทำสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าแบบเดิม จะทำให้ปัญหาของโครงข่ายรถไฟฟ้าจะยังคงเกิดปัญหาต่อไปในอนาคต จึงมีข้อเสนอแนะ 3 เรื่อง เพื่อให้ภาครัฐ หรือ รฟม.นำไปประกอบการพิจารณาหากจะมีการประมูลโครงการเกิดขึ้นในครั้งที่ 3

ข้อเสนอแนะที่ 1 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประมูล ไม่ผูกมัดสัญญาก่อสร้างและการเดินรถ เพื่อให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะที่ 2 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการหาแหล่งเงินทุน เพราะปัจจุบันผู้ที่กู้เงินได้ดอกเบี้ยต่ำที่สุดคือภาครัฐ หากรัฐเข้าไปช่วยสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุน ก็จะทำให้ต้นทุนถูกลง และค่าโดยสารถูกลงด้วย

ข้อเสนอแนะที่ 3 ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาเพื่อสอดรับต่อการกำหนดค่าโดยสารร่วม เพื่อให้กำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมในอนาคตได้ ควรปรับเปลี่ยนสัญญารถไฟฟ้าในแต่ละสายทางให้เป็นรูปแบบเดียวกันและมีความชัดเจนมากขึ้น

“การประมูลครั้งนี้เกิดคำถามในสังคมหลายเรื่อง แต่ความโชคดีคือเมื่อมีการฟ้องร้องเข้าสู่กระบวนการศาล ทุกส่วนก็สามารถอ้างสงวนสิทธิ์การให้ข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะได้ เพราะกำลังอยู่ในขั้นตอนศาล อีกทั้งกระบวนการร่างสัญญา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินการแล้ว รฟม.ควรจะเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด ก่อนที่จะมีการลงนาม แต่ท้ายที่สุดหากมีการเสนอเรื่องนี้ไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ต้องติดตามว่า ครม.จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ เพราะเรื่องนี้หากนำมาพิจารณา ข้อมูลที่สาธารณชนได้รับก็น้อยมาก หาก ครม.จะพิจารณา ก็ควรสั่งการให้ รฟม.เปิดเผยข้อมูลก่อน”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44898
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2022 8:23 am    Post subject: Reply with quote

BTSชงครม.เบรกสีส้ม ปมส่วนต่าง 6.8 หมื่นล.
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, October 22, 2022 05:39

รุกฟ้อง ศาลปกครอง

บีทีเอส สู้สิบทิศ ปมส่วนต่าง 6.8 หมื่นล้าน สายสีส้ม ร่อนหนังสือ ถึงครม. เบรกเห็นชอบผลคัดเลือก-เซ็นสัญญาผู้ชนะประมูลสายสีส้ม ร้อง ศาลปกครองกลาง พิจารณาปมยันรัฐเสียประโยชน์

การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) แม้ปัจจุบันได้ตัวเอกชน ก่อสร้างโครงการช่วงตะวันตกและสัมปทานเดินรถทั้งระบบ 30 ปี ที่มีมูลค่าการลงทุน 139,127 ล้านบาท และเหลือขั้นตอนการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการรฟม.กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.)ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายยังคาใจปมส่วนต่าง 6.8 หมื่นล้านบาทที่อาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ กับข้อเสนอขอรับสนับสนุนค่าก่อสร้างจากรัฐเมื่อบริษัทระบบขนส่งมวลกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ที่ 9,600 ล้านบาท (ประมูลรอบแรก) กับผู้ชนะประมูลรอบสองที่ 78,287.95 ล้านบาทสะท้อนตัวเลขการขอรับสนับจากรัฐเต็มอัตรา และอาจไม่ได้มีการแบ่งผลประโยชน์ค่าตอบแทนเป็นรายปีเหมือนกับบีทีเอส

อย่างไรก็ตามแม้ว่ารฟม.จะปฏิเสธการประมูลรอบแรกกับรอบที่สองต่างกรรมต่างวาระไม่มีความเชื่อมโยงกันก็ตาม แต่ในทางกลับกัน ต้องคำนึงถึงคำสั่งศาลปกครองกลางที่เคยมีคำสั่งทุเลาการใช้เกณฑ์การประมูลใหม่ ในคราวประมูลรอบแรก ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง ไม่ควรนำมาใช้ในการประมูลรอบที่สอง ที่สำคัญการล้มประมูลและเปิดประมูลใหม่ โดยไม่รอคำชี้ขาดให้ถึงที่สุดศาลปกครองตามที่ BTSC เป็นโจทก์ยื่นฟ้องยิ่งเป็นเรื่องที่น่ากังขายิ่งสำหรับรฟม.และ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ซ้ำร้ายกว่านั้น การประมูลรอบที่สองกลับกำหนดสเปกเข้มข้นกว่าเดิม ในลักษณะกีดกันการแข่งขันโดยเฉพาะ เงื่อนไขผู้รับเหมา ต้องเฉพาะเจาะจงในประเทศขณะ ผู้รับสัมปทานเดินรถเปิดกว้างให้ต่างชาติสามารถร่วมวงประมูลได้

ราคากลางสูงเกินจริง?

ต่อเรื่องนี้ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กล่าวว่าปมส่วนต่าง 6.8หมื่นล้านบาท กรณี บริษัท แบ่งรายได้และหักขอการสนับสนุนรัฐเป็นค่าก่อสร้าง 9,600 ล้านบาท (รอบแรก)สามารถปฏิบัติได้จริงขณะผู้ชนะประมูลรอบที่สอง รอรับสนันสนุนที่ 78,287.95 ล้านบาท

อีกทั้งค่าก่อสร้าง บีทีเอสเสนอต่ำกว่าราคากลาง ที่ 79,000 ล้านบาท รวมดอกเบี้ย ขณะราคากลาง อยู่ที่ 96,000 ล้านบาท สะท้อนว่าราคากลางรัฐประเมินไว้สูง เกินจริงหรือไม่ ส่วนของผู้ชนะประมูลรอบที่สองไม่ทราบแน่ชัดเนื่องจากไม่มีการเปิดเผย มองว่าควรนับย้อนไปถึงการประมูลรอบแรกหรือปี 2563 เนื่องจาก คำสั่งศาลในการประมูลรอบแรก ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกันในการประมูลครั้งที่สอง

ชงครม.เบรกสายสีส้มโมฆะ

สอดคล้องกับ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ที่ปรึกษาประธานกรรมการบมจ.บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ (BTS) กล่าวว่าจากปมปัญหาที่เกิดขึ้นบริษัทได้ยื่นหนังสือถึงเลขาคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาปม 6.8 หมื่นล้านบาท อาจเป็นสาเหตุทำให้รัฐเสียประโยชน์ครั้งสำคัญ โดยมีข้อความที่ระบุว่า คัดค้านและไม่ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตามการประกาศเชิญชวน และเอกสารคัดเลือกเอกชนฉบับเดือนพฤษภาคม2565

นอกจากนี้ต้องการให้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) หนึ่งในผู้แทนคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตร 36 ควรเสนอเรื่องการประมูลส่วนต่าง ดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ PPP เพราะมองว่ามีเจตนากระทำผิดขัดวัตุประสงค์ PPP โดยเฉพาะบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือITD หนึ่งในกรรมการบริษัทต้องคดี จองจำศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่ ปรากฏว่า ยังผ่านคุณสมบัติและเปิดซองต่อเนื่อง แม้จะมีผู้แทนจากสคร.คัดค้านแล้วก็ตามโดยตั้งข้อสังเกตว่าการให้ITD ผ่านกระบวนการเปิดซองไปก่อนเพราะต้องการให้เกิดคู่เทียบหรือคู่แข่งขัน เท่านั้น

ร้องศาลปกครอง

นอกจากนี้ยังทำเรื่องร้องไปที่ศาลปกครองกลางเพื่อขอพิจารณาในประเด็นส่วนต่างและขอยึดคำสั่งศาลประมูลครั้งแรก มาเป็นบรรทัดฐาน ในกรณีดังกล่าว จากก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายและหากทราบว่าโครงการดังกล่าวมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายฮั้วประมูลต้องมีคำสั่งยกเลิก มิเช่นนั้นตัวรัฐมนตรีเองจะมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งอัตราโทษที่กำหนดไว้ สูงถึง 10 ปี

ต่อข้อถามที่ว่าจะสามารถยื้อการลงนามในสัญญาได้หรือไม่ พ.ต.อ.สุชาติกล่าวต่อว่า บริษัทดำเนินการตามขั้นตอนให้ถึงที่สุดตามข้อเท็จจริงและครม.คือขั้นตอนสุดท้ายว่าจะเห็นชอบหรือไม่ซึ่งการลงนามในสัญญาต้องขอมติครม.ถือเป็นที่สุด

บรรยายใต้ภาพ
สุรพงษ์ เลาหะอัญญา

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 - 26 ต.ค. 2565


เปิดหนังสือ BTSถึง ครม.คัดค้านผลประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
หน้าแรก เศรษฐกิจ-ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 22 ต.ค. 2565 เวลา 16:11 น.

เปิดหนังสือ BTSถึง เลขาครม.คัดค้านผลประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม คัดค้าน-ไม่ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน โครงการฯตามประกาศเชิญชวน-เอกสารการคัดเลือกเอกชนฉบับเดือนพฤษภาคม 2565

ปมการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รอบสอง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ปัจจุบันได้ผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อย มีรายละเอียดขอรับสนับสนุนค่าก่อสร้างจากรัฐ วงเงิน 78,287 ล้านบาท เมื่อเทียบกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC

ที่เปิดเผย ซองการยื่นข้อเสนอฯไว้ตั้งแต่ประมูลรอบแรก(ปี 2563) พบว่า ได้ขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ เพียง 9,676 ล้านบาทน้อยกว่าผู้ชนะประมูลถึง 6.8 หมื่นล้านบาท ส่วนต่างดังกล่าวอาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ และในทางกลับกันสามารถนำไปลงทุนโครงการรถไฟฟ้าได้อีกหนึ่งเส้นทาง

ย้อนไปช่วงการประมูลสายสีส้มรอบสอง BTSC ได้ร่วมซื้อซองด้วยเช่นกัน แต่พบว่าเงื่อนไขการประมูลเข้มงวด มากกว่ารอบแรก ส่อไปในทางกีดกันการแข่งขัน โดยเฉพาะผู้รับเหมาก่อสร้างช่วงตะวันตก ต้อง เป็นผู้รับเหมาสัญชาติไทยมีผลงานขุดเจาะอุโมงค์โครงการขนาดใหญ่รถไฟฟ้ามาแล้วเท่านั้น ขณะการเดินรถเปิดกว้างทุกสัญชาติ และนำไปสู่การฟ้องศาลปกครองต่อเนื่อง

ขณะการเดินหน้าเพื่อลงนามในสัญญา ประเมินว่า รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36ฯต้องการเดินหน้าให้เร็วที่สุด หากคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(บอร์ดรฟม.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นชอบ และขั้นตอนสุดท้ายคือคณะรัฐมนตรี(ครม.)

เป็นเหตุให้ เมื่อวันที่ 21 กันยายน BTSC ออกหนังสือด่วนที่สุดถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คัดค้านและไม่ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ตามประกาศเชิญชวนฯและเอกสารการคัดเลือกเอกชนฉบับเดือนพฤษภาคม2565

อ้างถึง1.หนังสือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจที่กค.0802.1/879 วันที่18 กุมภาพันธ์2562เสนอสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้นำเรียนคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์)

2.รายงานการศึกษาโครงการและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีฉบับวันที่6 กันยายน 2561

3.หนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่นร0505/3580 วันที่30มกราคม 2563 แจ้งมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ประชุมกันเมื่อวันที่28 มกราคม2563

4.หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่นร.0903/5วันที่7มกราคม2564แจ้งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมติให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณาผลการเสนอราคาภายหลังที่กระบวนการเสนอราคาได้เริ่มต้นแล้วโดยมิได้ยกเลิกการเสนอราคาก่อนไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั่วไป

5.หนังสือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่นร.1106/4058 วันที่8กรกฎาคม 2564 ถึงคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราฎรความล่าช้าก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสของผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ4,6284.9 ล้านบาทต่อปี(ณ ปี2568)

นอกจากนี้BTSCยังแนบคำพิพากษาคดีศาลปกครองกลางหมายเลขดำที่2280/2563 คดีหมายเลขแดงที่192/2565ประเด็นการแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือก ,คำพิพากษาคดีศาลปกครองกลางประเด็นการยกเลิกประกาศเชิญชวนปี2563 ฯลฯ

ทั้งนี้การประมูลสายสีส้มรอบแรกปี2563 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งทุเลาการใช้เกณฑ์ การประมูลใหม่ (เทคนิค 30 ผลตอบแทน และราคา70 คะแนน) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ผ่านความการรับฟังเสียงเอกชน ที่เกี่ยวข้อง

ต่อมาได้มีคำพิพากษาศาลปกครองกลางยืนยันว่าหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาผู้ชนะการประมูลเดิม ตามเอกสารคัดเลือกเอกชนฉบับเดือนกรกฎาคม2563ชอบด้วยกฎหมายรวมถึงมติครม.

ทำให้รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36ฯยกเลิกการประมูลเพราะเห็นว่าเกณฑ์ดังกล่าวใช้ไม่ได้แล้ว การยกเลิกประมูลดังกล่าวมองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและBTSCได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพิ่มในคดีล้มประมูลโดยมิชอบ

โครงการสายสีส้มเปิดประมูลครั้งที่สองตามประกาศเชิญชวนฉบับเดือนพฤษภาคม2565 คราวนี้เกณฑ์การประมูลเข้มกว่ารอบแรก มีลักษณะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เลือกปฎบัติไม่เป็นธรรมสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น

โดยเฉพาะการออกเอกสารกำหนดขอบเขตและรายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้างหรือทีโออาร์(TOR หรือTerms of Reference)มีลักษณะกีดกันการแข่งขันทำให้พันธมิตรที่สนใจเข้าร่วมประมูลสายสีส้มและเคยเข้าร่วมประมูลครั้งแรกไม่สามารถร่วมประมูลได้ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์เอกชนบางรายได้เปรียบเอกชนรายอื่นและเกิดการฟ้องร้องตามมา

นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36ฯและรฟม.ดำเนินกระบวนการคัดเลือกจนจบขั้นตอน ทั้งที่มีกรรมการบริษัทรายหนึ่งที่ร่วมแข่งขันในการประมูลครั้งที่สอง ได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกขัดต่อคุณสมบัติ โครงการร่วมลงทุนและไม่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติร่วม ลงทุนฯ มาตรา33 ประกอบกับข้อ 3(3) ข้อ4 และข้อ5

ของประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเรื่องลักษณะเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนพ.ศ 2562และแก้ไขเพิ่มเติมแต่คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา36ฯและ รฟม.กลับปล่อยให้เอกชนดังกล่าวผ่านคุณสมบัติและเป็นคู่เทียบในการประมูลครั้งนี้

โดยวันที่ 12 กันยายน 2565 BTSCได้เปิดหลักฐานต่อหน้าสื่อมวลชนด้วยการเปิดซองข้อเสนอด้านราคาที่เคยเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐในปี2563โดยผลประโยชน์สุทธิ(มูลค่าปัจจุบัน:NPV) ที่BTSC เสนอแก่รัฐเป็นจำนวน-9675.02ล้านบาทแต่ต่างจากเอกชนผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้เกือบ70,000ล้านบาทเป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 73, 74, 75 ... 90, 91, 92  Next
Page 74 of 92

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©