Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311331
ทั่วไป:13292589
ทั้งหมด:13603920
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 87, 88, 89, 90, 91, 92  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2023 9:47 pm    Post subject: Reply with quote

ศาล ปค.กลางชี้ รฟม.ประมูลรถไฟฟ้าสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมาย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 15:48 น.
ปรับปรุง: 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 15:48 น.


มติศาลปกครองกลาง วินิจฉัย รฟม.ดำเนินการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

วันนี้ (25 ก.ค.) ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และ และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค. 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือน ก.ค. 2563 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นให้ บีทีเอส เสียหาย โดยศาลให้เหตุผลว่า จากการพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค.65 ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนก่อนดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการที่พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กำหนดไว้แล้ว และไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด


อีกทั้ง มติของ คณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. เมื่อวันที่ 3 ก.พ.64 ที่เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการยกเลิกคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯดังกล่าว และเพิกถอนประกาศการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เรื่อง ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการยกเลิกคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯดังกล่าว ลงวันที่ 3 ก.พ. 64 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม.มีประกาศดังกล่าว นั้น หรือมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. ในการประชุมแต่ละครั้ง เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ ในการคัดเลือกเอกชน เห็นชอบร่างประกาศเชิญชวน และร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการและดำเนินการ ภายในของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศเชิญชวนฉบับที่พิพาทในคดีนี้ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของ บีเอส ที่จะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. ที่เกี่ยวข้องเพื่อออกประกาศเชิญชวนที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงพิพากษายกฟ้อง



Mongwin wrote:
รถไฟสายสีส้ม ติดปัญหาอะไร ถึงยังไม่เดินรถ | ฟังหูไว้หู (21 ก.ค. 66)
9MCOT
Jul 24, 2023

https://www.youtube.com/watch?v=izjJM-Pg2TI


วันนี้ ! 'ศาลปกครองกลาง' นัดชี้ชะตาปมประมูล 'รถไฟฟ้าสายสีส้ม'
กรุงเทพธุรกิจ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 6:00 น.


ศาลปกครองกลาง ‘ยกฟ้อง’ คดี ‘สายสีส้ม’ ปมปรับเกณฑ์ประมูลกีดกันไม่เป็นธรรม
เดลินิวส์ 25 กรกฎาคม 2566 17:27 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2023 10:57 am    Post subject: Reply with quote

ศาลฯยกฟ้อง BTS ปมประมูลสายสีส้ม
26 กรกฎาคม 2566 เวลา 9:23 น.

“ศาลปกครองกลาง” ยกฟ้องคดี BTS ร้อง รฟม.ปรับหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบ 2 กรณีเพิ่มคุณสมบัติด้านเทคนิค 90% เอื้อเอกชนบางราย

26 ก.ค. 2566 – รายงานข่าวจากศาลปกครองกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ครั้งที่ 2 และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 โดยศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา

สำหรับคดีนี้ ศาลวิเคราะห์ว่า การประกาศเชิญชวนฯ และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน มีความชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดผู้ฟ้องคดี จึงไม่ต้องมีการให้สินไหมทดแทน ส่วนประเด็นที่ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค.2565 เป็นการละเมิดผู้ฟ้องคดีหรือไม่นั้น ก่อนหน้านี้ รฟม.ได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็น โดยมีเอกชนรายอื่นและผู้ฟ้องคดีไม่ปรากฏข้อโต้แย้ง จึงได้มีการดำเนินการร่างประกาศเชิญชวนและเอกสารคัดเลือกเอกชนตามขั้นตอนที่กำหนดตามกฎหมายแล้ว โดยไม่ต้องเสนอ ครม.อีกครั้ง

ส่วนประเด็นที่ รฟม.เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นลำดับที่ 2 จำนวนกว่า 1,256 หุ้น หรือ 8.22%จะเอื้อต่อเอกชนรายใดรายหนึ่งในการคัดเลือกหรือไม่ ยืนยันว่า ไม่ขัดต่อหลักการคัดเลือกเอกชน เพราะการถือหุ้นเป็นไปตามมติครม. และเป็นการถือหุ้นโดยองค์กรไม่ใช่ส่วนบุคคล และ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ที่ผ่านมาบีทีเอสสามารถชนะการประมูลรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพูได้


รายงานข่าวจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะดำเนินการอุทธรณ์หรือไม่ ขอให้ทางทีมทนายหารือกันอีกครั้งก่อน

Wisarut wrote:
ศาล ปค.กลางชี้ รฟม.ประมูลรถไฟฟ้าสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมาย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 15:48 น.
ปรับปรุง: 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 15:48 น.




Mongwin wrote:
รถไฟสายสีส้ม ติดปัญหาอะไร ถึงยังไม่เดินรถ | ฟังหูไว้หู (21 ก.ค. 66)
9MCOT
Jul 24, 2023

https://www.youtube.com/watch?v=izjJM-Pg2TI


วันนี้ ! 'ศาลปกครองกลาง' นัดชี้ชะตาปมประมูล 'รถไฟฟ้าสายสีส้ม'
กรุงเทพธุรกิจ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 6:00 น.


ศาลปกครองกลาง ‘ยกฟ้อง’ คดี ‘สายสีส้ม’ ปมปรับเกณฑ์ประมูลกีดกันไม่เป็นธรรม
เดลินิวส์ 25 กรกฎาคม 2566 17:27 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/08/2023 9:09 pm    Post subject: Reply with quote

BEM ลุ้นรัฐบาลใหม่เคาะลงนาม"รถไฟฟ้าสายสีส้ม"
ฐานเศรษฐกิจ 23 สิงหาคม 2566

BEM ลุ้นรัฐบาลใหม่ไฟเขียวเซ็นสัญญา "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" มั่นใจเข้าพื้นที่ปลายปีนี้ ลุยเปิดพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายใน 3 ปีครึ่ง เตรียมจ่อประมูลเพิ่ม 3 เมกะโปรเจ็กต์รัฐ
นายธนาวัฒน์ วรรณดิษฐ์ ผู้จัดการส่วน ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรีนั้น ยังคงอยู่ระหว่างรอการจัดตั้งรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีเข้ามาศึกษาเงื่อนไข – ร่างสัญญาตามผลการประมูลฯ หากสามารถลงนามสัญญาได้ภายในไตรมาส 4/2566 นี้ บริษัทคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่มเข้าพื้นที่ดำเนินงานได้ภายในช่วงปลายปี 2566 ยังคงคาดว่าจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรีได้ภายในระยะเวลา 3 ปีครึ่ง

ส่วนโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 งามวงศ์วานพระราม 9 (Double Deck) นั้นปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปี 2567

“ทางด่วนขั้นที่ 2 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าดำเนินงานทันทีที่ภาครัฐ ลงนามสัญญาจัดซื้อ-จัดจ้างสำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกนั้น จะเร่งดำเนินงานเพื่อให้เปิดให้บริการได้โดยเร็วที่สุด โดยอาจทยอยเปิดให้บริการเป็นช่วงเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกขึ้น ส่วนทางด่วนขั้นที่2 คงใช้ระยะเวลาก่อสร้างเพราะเป็นการก่อสร้างซ้อนบนทางด่วนที่ให้บริการอยู่ ณ ปัจจุบัน”

ขณะเดียวกันบริษัทยังคงมองหาโอกาสเติบโตเพื่อสร้าง New S-curve ใหม่ จึงเตรียมศึกษาเพื่อเข้าร่วมประมูลงานโครงการขนาดใหญ่จากภาครัฐบาลอย่างต่อเนื่องโดยจะยังคงเน้นงานที่กลุ่มบริษัทมีความชำนาญ และสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ 1.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐม – ชะอำ หรือ M8 ช่วงแรก นครปฐม-บางแพง (วังมะนาว)

2.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน - บางบัวทอง หรือ M9

3.โครงการมอเตอร์เวย์ทางยกระดับช่วงศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19 กิโลเมตร จุดเด่นของโครงการนี้ คือแนวสายทางจะเชื่อมต่อกับโครงการทางพิเศษ สายศรีรัช ซึ่งบริษัทเป็นผู้บริหารจัดการอยู่

นายธนาวัฒน์ กล่าวต่อว่า บริษัทคาดการณ์ผลการดำเนินงานช่วงครึ่งหลังของปี 2566 (2H/66) มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องทั้งธุรกิจทางด่วน ซึ่งปริมาณการใช้ทางด่วนพิเศษนอกเมืองส่วน C และ Dยังสามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งตามความต้องการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมือง และปริมาณผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งขยายตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง, ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแผนการขยายพื้นที่เชิงพาณิชย์ (เมโทร มอลล์) ภายในสถานีรถไฟฟ้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และสถานีลาดพร้าว

“รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าเพื่องานบริการระบบโทรคมนาคม, พื้นที่เช่า และโฆษณาเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยบริษัทยังมีแผนขยายพื้นที่เมโทรมอลล์ตามสถานีที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง”

ทั้งนี้แนวโน้มผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3/2566 มีแนวโน้มเติบโตทั้งเมื่อเทียบกับงวดไตรมาส 2/2566 (QoQ) และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) สะท้อนจากปริมาณผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงเดือนสิงหาคม 2566 ช่วงวันทำงานที่เร่งตัวแตะ 4.8 – 5 แสนเที่ยวคนต่อวัน เติบโตต่อเนื่องจากช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ปริมาณผู้โดยสารวันทำงานที่ราว 4.5 แสนเที่ยวคนต่อวัน ขณะที่ปริมาณการจราจรบนทางด่วนเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ราว 1.2 – 1.4 ล้านคันต่อวัน

นายธนาวัฒน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันบริษัทยังอยู่ระหว่างศึกษาแผนการลงทุนเพิ่มปริมาณตู้โดยสารในขบวนรถไฟฟ้า จากปัจจุบัน 3 ตู้ต่อ 1 ขบวนเป็น 4 ตู้ต่อ 1 ขบวนกรณีที่ปริมาณผู้โดยสารเร่งตัวแตะราว 6 แสนเที่ยวคนต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการเดินทางของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น

“ขณะนี้บริษัทมีรถไฟฟ้าทั้งสิ้น 54 ขบวน รวม 162 ตู้โดยสาร สามารถรองรับความต้องการเดินทางของประชาชนในชั่วโมงเร่งด่วนได้อย่างเพียงพอ ขณะเดียวกันบริษัทได้ศึกษาแผนการเพิ่มตู้โดยสารเป็น 4 ตู้ต่อรถไฟฟ้า 1 ขบวนหากผู้โดยสารเร่งตัวแตะ 6 แสนเที่ยวคนต่อวันเพื่อสนับสนุนความต้องการเดินทางที่เร่งตัวขึ้น ตามการขยายตัวของโครงข่ายรถไฟฟ้าในอนาคต”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2023 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

เสร็จแล้ว 100%! รถไฟฟ้ามหานคร MRT สายสีส้ม ช่วงตะวันออก (สถานีแยกร่มเหล้า มีนบุรี - สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทางยาว 23 กม. คาดจะเซ็นสัญญาฯ การเดินรถได้ภายในปีนี้ และจะเปิดเดินรถต่อไปภายใน 3 ปี
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=261908983384793&id=100086970807579
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2023 6:59 am    Post subject: Reply with quote

จับตามหากาพย์ ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม ใต้เงา ‘สุริยะ’ กุมบังเหียนคมนาคม
กรุงเทพธุรกิจ 02 ก.ย. 2566 เวลา 6:47 น.

จับตา “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สางปัญหาประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” หลังติดมหากาพย์ฟ้องร้องปมแก้หลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชน กระทบแผนเปิดให้บริการล่าช้า แม้งานก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒน์ธรรมฯ - มีนบุรี จะแล้วเสร็จ 100%
ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” หนึ่งในโผรายชื่อรัฐบาลเศรษฐา 1 จะเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเมื่อครั้งการหารือระหว่าง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และตัวแทนจาก 8 สายการบิน เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมการบิน นายกฯ ยังได้แนะนำให้ตัวแทนจากสายการบินต่างๆ รับทราบว่า “นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม” จึงถือเป็นเสียงยืนยันอย่างชัดเจนแล้ว ในตำแหน่งผู้กุมบังเหียนกระทรวงเศรษฐกิจใหญ่ที่มีงบระดับ 2 แสนล้านบาท

สำหรับหนึ่งในโจทย์ใหญ่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนต่อไปจะต้องเข้ามาเร่งสางปัญหา หนีไม่พ้นโครงการค้างท่อที่รอการตัดสินใจอย่าง “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” เนื่องจากโครงการนี้นับเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน มูลค่าการลงทุนสูงถึง 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งโครงการนี้ปัจจุบันล่าช้ากว่าแผน หากนับจากวันที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงนามสัญญาและเริ่มงานก่อสร้างในช่วงปี 2561 พร้อมทั้งก่อนหน้านี้มีการกำหนดเป้าหมายเปิดให้บริการประชาชนภายในปี 2566

ขณะที่สถานะปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ เนื่องจากสัญญาเดินรถได้รวมอยู่กับสัญญาการจัดหาเอกชนร่วมลงทุนเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และก่อสร้างงานโยธาส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ

โดยปัจจุบันการจัดหาเอกชนร่วมลงทุนนั้น แม้จะมีการเปิดประกวดราคาและได้ตัวเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอดีสุดแล้ว แต่ยังไม่สามารถลงนามสัญญาร่วมลงทุนได้ เนื่องจากปัจจุบันโครงการนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองกลาง กรณีที่มีเอกชนยื่นฟ้องเกี่ยวกับข้อกำหนดหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชน ส่งผลให้โครงการดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินการต่อได้ และคาดว่าจะต้องรอการพิจารณาของรัฐบาลใหม่ว่าจะมีนโยบายดำเนินการอย่างไร

อย่างไรก็ดี รฟม.เคยออกมาประเมินด้วยว่า หากโครงการนี้ได้ข้อสรุปสัญญาร่วมลงทุน และมีการลงนามภายในปี 2566 คาดการณ์ว่าจะเร่งให้เอกชนลงทุนวางระบบรถไฟฟ้าแล้วเสร็จภายใน 2 ปี เพื่อเปิดบริการช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรีภายในปี 2568 ภาพรวมโครงการนี้จึงล่าช้าจากแผนประมาณ 2 ปี

สำหรับประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ยังอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาลปกครอง คือ

คดีเอกชนยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค. 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือน ก.ค. 2563
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/09/2023 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

'สุริยะ' ประกาศสางปัญหารถไฟฟ้าสายสีส้ม พร้อมดันประมูลทางคู่ขอนแก่น
กรุงเทพธุรกิจ 07 ก.ย. 2566 เวลา 12:09 น.

“สุริยะ” เริ่มงานวันแรก ประกาศสางปัญหารถไฟฟ้า ชี้ 2 ทางออก “สายสีส้ม” เดินหน้าหรือล้มประมูล ขณะที่หนี้สิน “บีทีเอส” โยนมหาดไทยพิจารณา พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งทางราง เตรียมเข็นประมูลรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น – หนองคาย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในวาระเข้ากระทรวงคมนาคมเพื่อเริ่มงานวันแรก โดยระบุว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถแถลงนโยบาย และมอบหมายงานให้กับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้ เนื่องจากต้องรอให้นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11 - 12 ก.ย.นี้ เสร็จเรียบร้อยก่อน

แต่อย่างไรก็ดี ตนและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาตามที่รัฐบาลมอบหมาย และเป็นไปตามความคาดหวังของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศที่ครองสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) สูงถึง 15% แต่กลับพบว่าในนั้นมีการขนส่งระบบน้ำและรางเพียง 2% ดังนั้นไทยต้องลงทุนพัฒนาโลจิสติกส์เหล่านี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

อย่างไรก็ดี ตนมองว่าระบบขนส่งทางรางโดยเฉพาะรถไฟทางคู่ ต้องมีการปรับปรุงให้ตรงเวลา เพื่อทำให้การขนส่งนั้นมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องผลักดันให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการที่มีความพร้อมแล้ว อาทิ รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เนื่องจากโครงการนี้ศึกษาพร้อมที่จะผลักดันให้เกิดการลงทุนแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ตั้งใจมากที่จะทำ

ส่วนปัญหาที่เกิดกับโครงการรถไฟฟ้าทั้งในเรื่องของภาระหนี้สินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เรื่องนี้โครงการอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย ดังนั้นคงต้องให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณารายละเอียดด้วย

ขณะที่ปัญหารถไฟฟ้าสายสีส้มปัจจุบันทราบว่ายังมีอีก 1 ข้อพิพาทที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครอง ซึ่งทางศาลปกครองกลางได้พิจารณาแล้วว่าทางคณะกรรมการคัดเลือก และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไม่ได้กระทำผิดขั้นตอน แต่อย่างไรก็ดีคงต้องรอให้การพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดเป็นที่สิ้นสุดก่อน

ส่วนเบื้องต้นแนวทางที่จะเป็นไปได้ทั้งหมดในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม คือ
    1. เดินหน้าขั้นตอนประกวดราคาที่ค้างอยู่ในแล้วเสร็จ

    2. ยกเลิกการประกวดราคาเดิมและเปิดประกวดราคาใหม่
ซึ่งแนวทางเหล่านี้เป็นไปได้ทั้งหมด คงต้องรอให้การพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดออกมาก่อน


นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า ประเด็นนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น ตนต้องขอโทษประชาชนที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่านโยบายนี้ไม่เร่งด่วน เพราะยืนยันว่านโยบายนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะทำเพื่อแก้ไขปัญหาลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน แต่เนื่องจากการผลักดันนโยบายนี้ต้องมีความพร้อมจากทั้งภาครัฐและเอกชนหารือร่วมกันในการพัฒนาระบบตั๋วร่วม จึงต้องใช้เวลาในการหารือกับผู้ประกอบการ อีกทั้งต้องใช้เวลาติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ที่ประเมินว่าใช้เวลาอย่างเร็ว 1 ปี ดังนั้นจึงประเมินว่าจะใช้เวลาทำงานเรื่องนี้ 2 ปีสำเร็จ

“พอลดราคาค่าโดยสาร 20 บาท ผู้โดยสารก็จะเพิ่มขึ้น 10% รายได้ของผู้ประกอบการก็จะเพิ่มขึ้นทันที เมื่อเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ต้องแบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งตอนนี้ทางกรมการขนส่งทางรางก็ประเมินตัวเลขออกมาแล้วว่าหากจะดำเนินการนโยบายนี้รัฐบาลต้องชดเชยเม็ดเงินเท่าไหร่ แต่ผมก็มอบหมายให้ไปหารือกับนักวิชาการ ม.ธรรมศาสตร์ที่มีข้อมูลเรื่องนี้ และกลับมาทบทวนตัวเลขกัน ยืนยันว่า 20 บาทต้องทำแน่นอน แต่ขอเวลา”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2023 8:43 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ "สถานีสัมมากร" หนึ่งในสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
สถานีสัมมากร (Sammakon Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยเป็นสถานียกระดับสถานีแรกของรถไฟฟ้าสายสีส้ม หากนับจากสถานีต้นทางจากทางฝั่งสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ซึ่งจริงๆ การนับรหัสสถานีของสายนี้ก็นับแบบนั้น)
และด้วยการที่สถานีสัมมากรเป็นสถานียกระดับสถานีแรก หากมาจากในเมือง หรือเป็นสถานียกระดับสถานีสุดท้าย หากจะเดินทางเข้าเมือง สถานีสัมมากรจึงอยู่ให้กับโครงการ Transition ที่จะเปลี่ยนเส้นทางวิ่งรถไฟจากอุโมงค์ใต้ดินเป็นทางยกระดับ ส่งผลให้ทางวิ่งรถไฟช่วงสถานีสัมมากรมีความสูงจากระดับพื้นถนนรามคำแหงด้านล่างไม่มากนัก โดยมีความสูงจากถนนรามคำแหงราวๆ 7 เมตรเท่านั้น
สิ่งที่เป็นผลต่อเนื่องจากระดับความสูงของสถานีสัมมากรคือ ความสูงของทางวิ่งไม่มากพอที่จะให้ก่อสร้างชั้น Concourse อยู่เหนือถนนรามคำแหง-ใต้ชั้นชานชาลาได้ ทำให้ส่วนบริการบัตรโดยสาร เช่นห้องจำหน่ายตั๋ว เครื่องขายบัตรอัตโนมัติ ของสถานีสัมมากร ถูกย้ายจากใต้ชานชาลาแบบสถานียกระดับปกติ ไปอยู่ในส่วนของอาคารทางเข้าออกทั้ง 2 ฝั่งของถนนรามคำแหงแทน
และการที่สถานีสัมมากรมีการจัดพื้นที่ส่วนบริการบัตรโดยสารไปไว้บริเวณอาคารทางเข้าออกสถานีแทน และมีการติดตั้งประตูตรวจตั๋วอัตโนมัติในบริเวณดังกล่างด้วย ทำให้สถานีสัมมากรไม่สามารถใช้พื้นที่สถานีเป็นทางเดินข้ามถนนรามคำแหงได้ครับ
หากผู้ใช้บริการเดินเข้ามาในส่วนของสถานีสัมมากรแล้ว จะถูกบังคับให้เดินเข้าระบบรถไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากไม่ต้องการใช้บริการรถไฟฟ้าก็จะต้องเดินย้อนกลับทางเดิมออกมา ส่วนใครที่จะต้องการเดินข้ามถนนรามคำแหง ไม่เข้าใช้บริการรถไฟฟ้า จะต้องใช้สะพานลอยที่อยู่บริเวณใกล้เคียงแทน (หรือจะเดินข้ามบริเวณสถานีก็ได้ แต่ต้องเสียค่าแรกเข้าระบบรถไฟฟ้าในอัตราที่เรียกเก็บครับ)
ซึ่งในอนาคต เราคาดหวังว่า จะได้เห็นมาตรการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในพื้นที่รอบสถานีในการเดินข้ามถนนผ่านตัวสถานีสัมมากรแบบไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุและผู้พิการ เนื่องจากบริเวณสถานีนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น บันไดเลื่อน ลิฟต์ ติดตั้งไว้ โดยอาจจะใช้รูปแบบ ให้ประชาชนติดต่อเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเดินข้ามถนนผ่านตัวสถานี หรืออาจจะกำหนดให้บัตรโดยสารสามารถเข้าและออกที่สถานีสัมมากรโดยไม่ต้องถูกหักมูลค่าในบัตรหากแตะบัตรเข้าและออกภายในระยะเวลาที่กำหนดครับ
https://www.facebook.com/bkktrains/posts/682177603941201
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/09/2023 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ”แบ่งงาน“มนพร”คุมทางน้ำ”สุรพงษ์”รวบตึงระบบราง ไม่กังวลปมโควตานายทุน ยันเข้ามาแก้ปัญหา”สายสีส้ม”
ผู้จัดการออนไลน์ 14 ก.ย. 2566 16:41 น.

“สุริยะ”แบ่งงานให้“มนพร”คุมทางน้ำ ”สุรพงษ์”รวบตึงระบบรางพร้อมแจงไม่กังวลข่าวโควต้านายทุนรถไฟฟ้า ชี้เข้ามาแก้ปัญหา”สายสีส้ม” “สุริยะ”ย้ำรอศาลชี้ ไม่ผิดไปราคาสูงเจรจาได้ เผยภาพจำคดี”ซีทีเอ็กซ์”กระบวนการยุติธรรมช่วยพิสูจน์ไปแล้ว

วันที่ 14 ก.ย. 2566 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมเพื่อมอบนโยบายการบริหารงานแก่ผู้บริหารและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม พร้อมกันนี้ นายสุริยะ ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงคมนาคมที่ 959/2566 เรื่องมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ โดยให้มีอำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการฯ โดยมีการแบ่งความรับผิดชอบในการกำกับดูแลหน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. 2566

โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม รับผิดชอบกำกับดูแล 9 หน่วยงาน ได้แก่ 1. สำนักงานปลัดกระทรวง 2.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) 3. กรมท่าอากาศยาน (ทย.) 4.กรมทางหลวง (ทล.) 5. กรมทางหลวงชนบท (ทช.) 6. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 7. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. 8. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) 9. สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร.

นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม กำกับดูแล 5 หน่วยงาน ได้แก่ 1. กรมเจ้าท่า (จท.) 2. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) 3. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 4. สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) 5. บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด (รทส.)

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม กำกับดูแล 8 หน่วยงาน ได้แก่ 1.กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) 2. กรมการขนส่งทางราง (ขร.) 3. บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 4.การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 5. บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) 6. บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) 7. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 8. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)

โดยการปฎิบัติราชการของรมช.คมนาคม ตามที่ได้รับมอบหมายดังกรณีต่อไปนี้ ให้เสนอรมว.คมนาคมพิจารณาวินิจฉัยสั่งการ 1. เรื่องที่มีลักษณะเป็นงานนโยบาย และการบริหารงานบุคคล 2. เรื่องที่ต้องเสนอนายกรัฐมนตรี และ/หรือคณะรัฐมนตรี 3. เรื่องการให้เอชกนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม 4. เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการ และ/หรือกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และบริษัท ในสังกัดกระทรวงคมนาคม

ทั้งนี้ ในกรณีที่ รมว.คมนาคมพิจารณาเห็นว่า เรื่องใดเป็นเรื่องนโยบายที่มีผลกระทบต่อนโยบายของรัฐบาล หรือผลประโยชน์ของประเทศชาติ รมว.คมนาคม อาจสั่งการในเรื่องนั้นได้ตามความเหมาะสม โดยจะแจ้งให้ รมช.คมนาคม ที่รับผิดชอบดำเนินการ หรือรับทราบการดำเนินการนั้นๆ

ในการที่รมช.คมนาคมผู้ใดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ อำนาจในการกำกับดูแลและสั่งการให้เป็นอำนาจของรมว.คมนาคม และบรรดา คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ซึ่งรมช.คมนาคมได้สั่งการหรือลงนามในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทน หรือผู้รักษาราชการแทน ให้นำเสนอรมว.คมนาคม เพื่อทราบในโอกาสแรก

นายสุริยะ กล่าวว่า การแบ่งงานให้รมช.คมนาคม 2 คนกำกับดูแลหน่วยงานนั้น ได้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยให้นายสุรพงษ์ กำกับดูแลระบบรางทั้งหมด เพราะให้กำกับดูแล กรมการขนส่งทางราง ก็ต้องให้หน่วยงานทางราง ไปด้วย แต่นโยบายค่าโดยสาร 20 บาทนั้น เนื่องจากต้องเจรจากับเอกชน เรื่องนี้ตนจะดูแลเอง เพื่อให้รวดเร็วขึ้น

สำหรับนโยบายสำคัญคือ กระทรวงคมนาคมต้องเป็นคมนาคมยุคใหม่ ที่สร้างความสุขให้ประชาชน ครอบคลุม3 มิติ คือ 1.มิติทางเศรษฐกิจกระทรวงคมนาคมจะมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน GDP ค่อนข้างต่ำ โดยจะมีการบูรณาในด้านระบบถนน ราง ทางน้ำ ทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพเชื่อมโยง โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่รัฐได้ลงทุนไปจำนวนมากให้เต็มศักยภาพกับที่ลงทุนไป 2. มิติด้านความปลอดภัยตามมาตรฐาน โยดยมุ่งลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 3. มิติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยจะสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) เพิ่มขึ้น

@ปม”ซีทีเอ็กซ์”กระบวนการยุติธรรมได้พิสูจน์ไปแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า จากกรณีที่เคยถูกกล่าวหา เรื่องการจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 สนามบินสุวรรณภูมิช่วงปี 2547-2548 จนเป็นภาพจำและมีผลต่อภาพลักษณ์นั้น มีความกดดันในการทำงานในสมัยนี้หรือไม่ นายสุริยะกล่าวว่า เรื่องภาพจำ ซีทีเอ็กซ์นั้น ได้มีการตรวจสอบและคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ ว่าตนไม่ผิด เท่ากับได้เคลียร์ไปหมดแล้ว ซึ่งถือว่าโชคดีที่มีการตรวจสอบเรื่องนี้ โดยตอนแรกมีการอภิปรายในสภา ทำให้ตนเสียหายมาก แต่โชคดีที่ณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้เสนอเรื่องไปให้ป.ป.ช. ที่สุด ได้ตัดสินว่า ตนไม่มีความผิดใดๆ ซึ่งเรื่องนี้ กระบวนการยุติธรรมได้พิสูจน์ให้ตนเองไปแล้ว

@”สายสีส้ม”รอศาลชี้ ไม่ผิดเดินหน้าต่อ

นายสุริยะกล่าวถึงโครงการรถไฟฟาสายสีส้มว่า เรื่องนี้ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) ฟ้องร้อง คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 กับ รฟม. รวม3 คดี ซึ่ง 2 คดีแรก จบแล้ว เหลือคดีที่ 3 ที่ศาลปกครองกลางตัดสินแล้ว ว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ ดำเนินการถูกต้อง ยังเหลือการพิพากษาในชั้นศาลปกครองสูงสุด ที่ต้องรอผล ซึ่งเมื่อรัฐบาลก่อน มีการเสนอครม. ซึ่งตนได้เข้าร่วมประชุม โดยกฤษฎีกาให้ความเห็นฯว่าควรรอให้ศาลปกครองสูงสุดตัดสินก่อน ดังนั้น ตนจะยึดตามความเห็นนั้น ว่าควรรอกฤษฎีกา ดังนั้นขณะนี้ต้องรอศาลปกครองสูงสุด หากชี้ว่าถูกต้องก็ดำเนินการตาม คงทำอะไรนอกเหนือจากนั้นไม่ได้ ส่วนราคาที่อาจมองว่าสูงเกินไปก็มาเจรจาต่อรองกัน


@”สุรพงษ์”ไร้กังวลปมตัวแทนทุนรถไฟฟ้า ชี้เข้ามาเพื่อแก้ปัญหา

ผู้สื่อข่าวถามนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าเป็นตัวแทนกลุ่มทุนรถไฟฟ้า และยังได้กำกับดูแล รฟม. ที่มีประเด็นรถไฟฟ้าสายสีส้มอยู่ด้วย จะมีแนวทางในการดำเนินงาน กำกับดูแลหน่วยงานให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส อย่างไร และมีความกังวลใจหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า ข่าวก็คือข่าว ผมไม่กังวล การที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลหน่วยงานทางราง เป็นดุลพินิจของรมว.คมนาคม สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สีเขียว ที่เกิดขึ้นไปแล้ว เป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ต้องเข้ามาแก้ไข สะสาง ปัญหาอุปสรรคที่ติดขัด ให้เดินหน้าต่อไปได้ รัฐบาลวันนี้ มีเสถียรภาพพอสมควร ทำตามนโยบายที่นายกฯ มอบหมาย

“การได้รับมอบหมายให้ดูแลกำกับหน่วยงานระบบราง เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค ภายใต้การสั่งการของรมว.คมนาคม โดยจะทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน และสรุปเพื่อเสนอครม.ต่อไป ต้องเข้าใจบริบทก่อนว่า ไม่ใช่ตนจะเข้าไปแล้วจะจัดการอะไรได้หมด เพราะมีกฎ มีพ.ร.บ. มีบอร์ดและมีขั้นตอน ที่องค์กรต้องดำเนินการตามกลไกที่มี ไม่ใช่กลุ่มทุนหรืออะไร เป็นการทำงานตามปกติ ส่วนสายสีส้ม คงต้องขอดูรายละเอียดก่อน มีกลไก อย่างไร ส่วนจะไปต่อหรือไม่ไปต่อ ต้องอยู่ภายใต้นโยบายรมว.คมนาคมด้วย”

ด้านนางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม กล่าวว่า รมว.คมนาคมได้มอบหน่วยงานให้กำกับดูแลแล้ว ซึ่งจะทำงานโดยบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้มีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ และนำนโยบายนายกรัฐมนตรี ที่ว่าทำทันที มาดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนทุกนโยบายเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2023 9:51 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. คาดเซ็นสัญญา “BEM” ปีนี้ เปิดบริการ “สายสีส้ม” ส่วนออกปี 69
เดลินิวส์ 4 ตุลาคม 2566 8:34 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

รฟม. คาดหากได้เซ็นสัญญา BEM ภายในปีนี้ รถไฟฟ้า “สายสีส้ม” ส่วนตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี” เปิดบริการได้ปี 69 ไม่รอส่วนตะวันตก หวั่นหาก 2 ปียังไม่ได้เซ็นสัญญา รฟม. จ่ายอ่วมค่าดูแลรักษา 41 ล้าน/เดือน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า ภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทาง22.5 กิโลเมตร(กม.) 17 สถานี(สถานีใต้ดิน 10 สถานี และยกระดับ 7 สถานี) ดำเนินการแล้วเสร็จ 100% โดยคณะกรรมการตรวจการจ้างทยอยตรวจรับงานแล้ว แต่มีบางสัญญายังมีงานต้องทำเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อตรวจรับงานทั้ง 6 สัญญาแล้วเสร็จ จะเข้าสู่ขั้นตอนการรับประกันผลงาน 2 ปีของผู้รับจ้าง ก่อนที่ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จะเข้ามารับช่วงดูแลต่อไป 

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า แม้จะอยู่ในช่วงผู้รับจ้างรับประกันผลงาน 2 ปี แต่ก็มีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ รฟม. ต้องรับผิดชอบด้วย อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ทั้งนี้จากการประเมินค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา (Care of Work) โครงสร้างงานโยธาส่วนตะวันออก รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ เบื้องต้นอยู่ที่ประมาณเดือนละ 41 ล้านบาท แต่เนื่องจากปัจจุบันมีบางสัญญาที่มีงานต้องทำเพิ่มเติม ผู้รับจ้างจึงต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย ทำให้ รฟม. ยังไม่ต้องจ่ายเต็มเดือนละ 41 ล้านบาท แต่หากสิ้นสุดระยะเวลารับประกันผลงาน 2 ปี และยังไม่มีผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เข้ามารับช่วงดูแลต่อ ทาง รฟม. ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งหมด 41 ล้านบาท

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ในข้อเท็จจริงเมื่อผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างแล้วเสร็จ ต้องรับประกันผลงานการก่อสร้าง แต่การรับประกันผลงานไม่ใช่ว่าผู้รับจ้างจะต้องมาจ่ายค่าดูแลรักษาด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ รฟม.ต้องจ่ายเอง เหมือนกับการซื้อรถยนต์ เมื่อซื้อรถยนต์มาแล้ว ก็ต้องมีค่าบำรุงรักษาดูแล และเติมน้ำมันรถ เจ้าของรถก็ต้องจ่ายเอง แต่หากรถเสียหาย และรถเรายังอยู่ในช่วงรับประกัน ทางบริษัทฯ ก็มีหน้าที่ที่ต้องจ่ายค่าซ่อมแซมให้  
              
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า รฟม. มีความตั้งใจที่จะเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออกก่อนอยู่แล้ว เพราะส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. 11 สถานี(สถานีใต้ดินตลอดสาย) ต้องใช้เวลาในการก่อสร้างงานโยธาประมาณ 5-6 ปี จึงจะติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าได้ ทั้งนี้หากภายในปี 66 สามารถลงนามสัญญาสัมปทานกับเอกชนผู้ชนะประมูลได้ ทางเอกชนฯ จะเข้าติดตั้งงานระบบฯ ส่วนตะวันออกก่อนได้ทันที คาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากการเริ่มสัญญาสัมปทานโครงการฯ หรือประมาณปี 69 จะสามารถเปิดให้บริการส่วนตะวันออกได้  

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ รฟม. ต้องจ่ายในช่วงการรับประกันผลงานของผู้รับจ้างประมาณ 2 ปี หรือสิ้นสุดประมาณปี 68 นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย(รปภ.) และค่าบริการต่างๆ อาทิ ค่าบำรุงรักษาลิฟต์ บันไดเลื่อน ทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น ซึ่งหาก รฟม. สามารถลงนามสัญญาสัมปทานกับเอกชนผู้ชนะการประมูล ซึ่งก็คือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือ BEM ได้ภายในปี 66 ก็จะทำให้ รฟม.ไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโครงสร้างงานโยธาส่วนตะวันออกโดยไม่จำเป็น  
              
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ระยะทางรวม 35.9 กม. แบ่งเป็น ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. 11 สถานี(สถานีใต้ดินตลอดสาย) โดยล่าสุด รฟม. ส่งข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งว่า จะสามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทางได้ภายในปี 72
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2023 10:56 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม. คาดเซ็นสัญญา “BEM” ปีนี้ เปิดบริการ “สายสีส้ม” ส่วนออกปี 69
เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:34 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


โยธาเสร็จ 100%! สายสีส้ม ตะวันออก รฟม.ทยอยตรวจรับงาน คาดเซ็น PPP ปีนี้ เร่งติดตั้งระบบเปิดเดินรถปี 69
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 07:15 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:20 น

รฟม.เตรียมปิดจ็อบก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้า "สายสีส้ม" ด้านตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี เหลือเก็บรายละเอียดงานเล็กน้อย และทยอยตรวจรับงาน ขณะที่ต้องเตรียมงบดูแลรักษาช่วงรองานระบบ PPP ตั้งเป้าหากเซ็นสัญญาปีนี้ ติดตั้งเสร็จ 3 ปี เร่งเปิดเดินรถปี 69

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางรวม 22.57 กิโลเมตร ว่า ปัจจุบันงานโยธาภาพรวมแล้วเสร็จ 100% แล้ว ขณะนี้เป็นขั้นตอนของการเก็บรายละเอียดงานอีกเล็กน้อย และหลังจากตรวจรับงานแล้วจะต้องมีการดูแลรักษาโครงสร้างงานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จตลอดสายตะวันออก ซึ่ง รฟม.เจรจากับผู้รับจ้างแต่ละสัญญา ประเมินค่าดูแลประมาณ 40 ล้านบาท/เดือน โดยขณะนี้ เป็นการทยอยรับงานเป็นสัญญา ดังนั้นค่าดูแลรักษาโครงสร้างจึงยังใช้ไม่ถึงจำนวนที่ตั้งไว้



ทั้งนี้ รฟม.วางแผนการเปิดเดินรถสายสีส้ม ด้านตะวันออกโดยเร็วที่สุด โดยหากสัญญาร่วมลงทุน (PPP) รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตรได้ลงนามสัญญาและเริ่มต้นงาน จะเร่งรัดผู้รับดำเนินการให้เร่งการติดตั้งระบบและจัดหาขบวนรถเพื่อเร่งเปิดเดินรถด้านตะวันออกก่อน ซึ่งคาดใช้เวลาติดตั้งระบบไม่เกิน 3 ปี ส่วนสายสีส้มด้านตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) งานโยธาเป็นระบบใต้ดินตลอดสาย คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี


สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางรวม 22.57 กิโลเมตร มี 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน จำนวน 10 สถานี และสถานียกระดับ จำนวน 7 สถานี แบ่งงานโยธาเป็น 6 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 มี CKJT Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง, สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วง รามคำแหง 12-หัวหมาก มี CKJT Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง, สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี ITD เป็นผู้รับจ้าง และสัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มีกลุ่ม CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง โดยสัญญา 1, สัญญา 2 สัญญา 3 และสัญญา 5 การดำเนินการก่อสร้างงานแล้วเสร็จ (Substantial Completion) เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2565



สำหรับสัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ มีกลุ่ม CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง และสัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มีกลุ่ม UNIQUE เป็นผู้รับจ้าง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบการแล้วเสร็จของงาน (Substantial Completion) ตามขั้นตอนที่ระบุในสัญญา ทั้งนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. 2566



สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางรวม 35.9 กิโลเมตร มีจำนวน 28 สถานี โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก (ช่วงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สถานีสุวินทวงศ์) ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2569 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (ช่วงสถานีบางขุนนนท์-สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2572
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 87, 88, 89, 90, 91, 92  Next
Page 88 of 92

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©