RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274018
ทั้งหมด:13585314
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2024 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดเอกสาร DSI สอบประมูล 'รถไฟฟ้าสายสีส้ม' อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Sunday, January 28, 2024 18:25

DSI รายงานผลการสอบสวนการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชี้ชัดคณะกรรมการคัดเลือกไม่ตรวจสอบคุณสมบัติ ITD อาจเข้าข่ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย

การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ซึ่งครอบคลุมงานโยธาช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) รวมถึงงานเดินรถไฟฟ้าตลอดสายบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

การประมูลครั้งที่ 1 เมื่อปี 2563 มีการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลและนำมาสู่การฟ้องศาลปกครอง และท้ายที่สุดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยกเลิกการประมูล

จนกระทั่ง รฟม.เปิดประมูลครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2565 และมีการยื่นฟ้องศาลปกครองในคดีกำหนดหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 2 ชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองกลางยกฟ้อง รวมทั้งมีการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ตรวจสอบการประมูล เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

รฟม.ได้ประกาศให้ BEM ชนะการประมูลเมื่อวันที่ 8 ก.ย.2565 รวมทั้งมีการเสนอผลการประมูลต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2566 และกระทรวงคมนาคมขอถอนวาระหลังจากมีการอภิปราย 1 ชั่วโมง และมีรัฐมนตรีกังวลข้อกฎหมาย

รายงานข่าวระบุว่า ขณะนี้การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 2 วงเงินลงทุน 1.4 แสนล้านบาท ยังอยู่ในขั้นตอนรอการพิจารณาจากศาลปกครองสูงสุด เกี่ยวกับข้อพิพาทที่เอกชนยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 และ รฟม.ปรับหลักเกณฑ์การประกวดราคา

ทั้งนี้ รฟม.ได้รับหนังสือจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 เรื่องแจ้งผลการสืบสวนเพิ่มเติม หนังสือดังกล่าวลงนามโดย พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธีบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

หนังสือดังกล่าวระบุว่า ตามหนังสือที่อ้างถึง กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ส่งเรื่องบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร้องเรียนขอให้ดำเนินคดีอาญากรณีประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ฉบับลงวันที่ 24 พ.ค.2565

มีการกำหนดเงื่อนไขอันมีลักษณะอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิศษได้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ขอเรียนว่าจากการสืบสวนพบว่าคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งมีหน้าที่ต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาในขั้นตอนแรก กลับไม่ตรวจสอบคุณสมบัติเป็นเหตุให้บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ซึ่งเป็นผู้ยื่นเสนอราคาหนึ่งในสองรายได้รับการประกาศให้เป็นผู้ผ่านคุณสมบัติ

ทั้งที่กรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทได้ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกอันเป็นกรณีที่มีลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง ลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564

ซึ่งได้มีการทักท้วงแล้ว แต่คณะกรรมการคัดเลือกฯ กลับไม่ดำเนินการจึงเป็นขั้นตอนกระบวนการคัดเลือกที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้เป็นการแข่งขันราคาตามที่กำหนดไว้

รายงานระบุเพิ่มเติมว่า สำหรับการประมูลครั้งที่ 2 มีผู้ซื้อซองประมูล 14 ราย และมีผู้ยื่นซอง 2 กลุ่ม คือ

1.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ร่วมกับบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CKเสนอผลประโยชน์สุทธิ (มูลค่าปัจจุบัน: NPV) เท่ากับ -78,287.95 ล้านบาท

2.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ร่วมกับบริษัทขนส่งอินช็อน (Incheon Transit Corporation) ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินประเทศเกาหลีใต้เสนอผลประโยชน์สุทธิ (มูลค่าปัจจุบัน: NPV) เท่ากับ -102,635.66 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2024 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

เปิด 'เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ล่าสุด' มีสถานีไหนบ้าง ปี 2568 คนกรุง ได้ใช้
Source - เว็บไซต์คมชัดลึก
Saturday, February 03, 2024 18:26

'รถไฟฟ้าสายสีส้ม เสร็จปีไหน' พร้อมเปิด 'เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ล่าสุด' มีสถานีไหนบ้าง คาด ปี 2568 คนกรุง ได้ใช้

ยังเป็นที่รอคอยของคนกรุง ที่จะได้ใช้งาน “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเป็นโครงการส่วนตะวันออก จนเกิดคำถามว่า “รถไฟฟ้าสายสีส้ม เสร็จปีไหน” หรือ รถไฟฟ้าสายสีส้มเสร็จเมื่อไหร่ ล่าสุด การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม แล้วเสร็จประมาณ 98.65% แล้ว คมชัดลึก พา เปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ล่าสุด และทำความรู้จักข้อมูลพื้นฐานรถไฟฟ้าสายสีส้มกันก่อน

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”

รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) เหมือนกับ BTS ที่เปิดใช้บริการอยู่ในปัจจุบัน รองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง และใช้ความเร็วได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้าง เส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การร่วมลงทุนกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมือง ตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ของกรุงเทพมหานคร มีระยะทางรวมทั้งหมด 35.9 กิโลเมตร ตั้งแต่บางขุนนนท์-มีนบุรี โดยแบ่งเป็น สายตะวันออก-สายตะวันตก

รถไฟฟ้าสายสีส้มมีสถานีไหนบ้าง

สายตะวันออก : จะเป็นเส้นทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)” ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี แบ่งออกเป็น สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี โดยแต่ละสถานีมีดังนี้

OR13 สถานี ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
OR14 สถานี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
OR15 สถานี วัดพระราม 9
OR16 สถานี รามคำแหง 12
OR17 สถานี รามคำแหง
OR18 สถานี การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
OR19 สถานี รามคำแหง 34
OR20 สถานี แยกลำสาลี
OR21 สถานี ศรีบูรพา
OR22 สถานี คลองบ้านม้า
OR23 สถานี สัมมากร
OR24 สถานี น้อมเกล้า
OR25 สถานี ราษฎร์พัฒนา
OR26 สถานี มีนพัฒนา
OR27 สถานี เคหะรามคำแหง
OR28 สถานี มีนบุรี
OR29 สถานี แยกร่มเกล้า

โดยทั้งหมดจาก 17 สถานี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ยังมีสถานีหลักที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นอีก 3 สาย ประกอบไปด้วย

เชื่อมต่อรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ตรงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สามารถเดินทางระหว่างสถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ-สถานีหลักสอง
เชื่อมต่อรถไฟฟ้า สายสีเหลือง ตรงสถานีแยกลำสาลี สามารถเดินทางระหว่างสถานีสำโรง-สถานีลาดพร้าว
เชื่อมต่อรถไฟฟ้า สายสีชมพู ตรงสถานีมีนบุรี สามารถเดินทางไประหว่างสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

สายตะวันตก : เส้นทาง “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์” ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 11 สถานี แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด โดยจะเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟร่วมศิริราช โรงพยาบาลศิริราช, รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง, รถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

รถไฟฟ้าสายสีส้ม เสร็จปีไหน

ตามแผนงานเดิม การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568 ส่วนของการเดินรถนั้น มีรายงานข่าวว่า ทาง BEM จะทยอยนำขบวนรถมาทดสอบเดินรถภายใน 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี เพื่อให้สามารถเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกได้ก่อน นอกจากนี้ จะปรับแผนงานการก่อสร้างส่วนตะวันตกให้รวดเร็วมากขึ้นด้วย

ที่มา : วิกิพีเดีย, mrta-orangelineeast.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2024 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

ปัญหาคาใจ ได้ใช้เมื่อไหร่สายสีส้ม? BEM ตอบแล้ว
Nimda Variety
Feb 5, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=KANlLMOk_Ds


เปิดเนื้อหาการประชุม คกก.คัดเลือกฯ ITD ยื่นเอกสารรถไฟฟ้าสายสีส้มไม่ครบ | TOPNEWSTV
TOP NEWS LIVE
Feb 5, 2024

เปิดเนื้อหาการประชุม คกก.คัดเลือกฯ ITD ยื่นเอกสารรถไฟฟ้าสายสีส้มไม่ครบต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม


https://www.youtube.com/watch?v=HOAhr3boiEU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2024 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ผ่านหลักการร่างพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินเวนคืน 3 ฉบับ 3 จว.นครราชสีมา นครสวรรค์ และกรุงเทพฯ
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Tuesday, February 06, 2024 17:20
    รองโฆษกรัฐบาลฯ "รัดเกล้าฯ" เผย​ ครม. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน 3​ ฉบับ​ 3 จังหวัด​นครราชสีมา นครสวรรค์​ และกรุงเทพฯ
วันนี้ (6ก.พ.) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (6 กุมภาพันธ์ 2567) มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน​ 3 ฉบับ ดังนี้

1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ

2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลใหม่ ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ….

3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ….

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ตามข้อ 1 นั้น เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชน และ เพื่อดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะ และการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชนในบริเวณโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าว ทั้งนี้ มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนประมาณ 380 แปลง รวมทั้งมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอนประมาณ 400 หลัง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามข้อ 1 โดย รฟม. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ตามข้อ 2 เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 สายถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ตอนบ้านบึงขามทะเลสอ - บ้านหนองบัวศาลา บริเวณจุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี - สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) ที่ตำบลหนองงูเหลือม - บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 สายหัวทะเล - วารินชำราบ ที่ตำบลพระพุทธ รวมทางแยกต่างระดับ (INTERCHANGE 2) จุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ และพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน โดยดำเนินการบูรณะซ่อมแซมให้ได้มาตรฐาน หรือให้เหมาะสมกับสภาพการให้บริการในปัจจุบันเพื่อรองรับปริมาณการจราจร ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การค้า และการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงพื้นที่สำคัญและลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างพื้นที่ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศลดลง นอกจากนี้ ยังช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัดในตัวเมืองนครราชสีมา ลดอุบัติเหตุ เพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับจราจร ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่การจราจรและขนส่ง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองนครราชสีมา แก้ปัญหาจุดตัดกับทางรถไฟและรองรับปริมาณจราจรทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา โดยกรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเขตพื้นที่โครงการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 68.90

ส่วนร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ตามข้อ 3 เนื่องจากโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3329 ทางสายตาคลี - หนองหลวง ตอนตาคลี - หนองหลวง ที่ กม. 11 + 341 เป็นการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ บนทางหลวงหมายเลข 3329 จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ลดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางหลวงกับทางรถไฟ อีกทั้งยังเป็นการรองรับรถไฟสายทางคู่ สายลพบุรี - ปากน้ำโพ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวในการเดินทาง (Mobility) บริเวณดังกล่าว และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่ง รวมทั้งโครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ ฉบับที่ 3 ดังนั้น โครงการก่อสร้างทางหลวงดังกล่าว จะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ และระหว่างประเทศอีกทางหนึ่ง โดยกรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเขตพื้นที่โครงการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 75.50
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2024 8:08 am    Post subject: Reply with quote

เปิดประมูลที่ดิน 7 ทำเลทอง ทรัพย์สินลุ้นโปรเจ็กต์เชื่อมรถไฟฟ้า
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, February 07, 2024 07:50

สำนักงานทรัพย์สินฯ เรียกคืนที่ดิน 3 แปลงใหญ่ใจกลางกรุง "เยาวราช-ประตูน้ำ-เพลินจิต" ปล่อยเช่ายาว 30 ปี ทีโออาร์ระบุต่อสัญญาได้ ปิดตำนานเฉลิมบุรีย่านไชน่าทาวน์ ทุบตึกแถวเก่า 300 ห้อง ประกาศเปิดประมูลหาเอกชนลงทุนโครงการใหม่อีก 4 ทำเลทอง "สีลม-สุรศักดิ์-บางนา-กัลปพฤกษ์" ชี้รถไฟฟ้าคือจุดเปลี่ยน เน้นจัดระเบียบเมือง รักษ์สิ่งแวดล้อม-แก้จราจร ยักษ์อสังหาฯ รอจังหวะผุดมิกซ์ยูส-บิ๊กโปรเจ็กต์

ช่วงก่อนและหลังโควิด-19 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีโครงการระบบขนส่งมวลชนหรือรถไฟฟ้าเป็นปัจจัยสนับสนุน ทำให้เกิดการพัฒนาที่ดินใหม่ในทุกรูปแบบ

# ปิดตำนานเฉลิมบุรี

แหล่งข่าวจากสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมาได้เรียกคืนที่ดิน 3 แปลงใหญ่ ทำเลใจกลางเมือง เนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่าระยะยาว เพื่อเปิดทางให้เอกชนที่มีศักยภาพลงทุนเอง 100% ในการพัฒนาโครงการใหม่ตามเงื่อนไขในทีโออาร์ที่เน้นการจัดระเบียบเมือง มีพื้นที่สีเขียว ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีการจราจรรายรอบที่คล่องตัว

จุดแรกคือเวิ้งเฉลิมบุรี ต้นถนนเยาวราชฝั่งขวา ถ้ามาจากวงเวียนโอเดียน ย่านนี้อยู่บริเวณแยกหมอมี ระหว่างถนนลำพูนไชยกับถนนทรงสวัสดิ์ เป็นตึกแถวทรงโบราณอายุ 100 ปีขึ้นไป มีสภาพทรุดโทรม ไม่สามารถต่อเติมได้ ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯได้แจ้งผู้เช่ารายย่อยให้เตรียมการย้ายมา 2 ปีแล้ว ก่อนหมดสัญญาและให้ย้ายทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2566

ขณะนี้การย้ายสำเร็จเรียบร้อย ขั้นตอนคือการทุบทิ้งอาคารที่หมดสภาพการใช้งานประมาณ 300 ห้อง พร้อมเปิดประมูลให้ผู้สนใจเข้ามาพัฒนาต่อไป โดยโครงการใหม่จะเน้นดีไซน์ให้มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมที่เป็นย่านไชน่าทาวน์ และแหล่งรวมของอร่อย 24 ชั่วโมง เป็นแลนด์มาร์กและจุดเช็กอินของนักท่องเที่ยวทุกชาติ เพราะเยาวราชเป็นถนนสายกินที่ติดอันดับโลกแล้ว

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ทำเลย่านนี้เคยเป็นกระแสข่าวดังและเป็นไวรัลในโลกโซเชียล เมื่อ 3 ร้านดังแจ้งย้ายไปอยู่ที่ใหม่ อาทิ ร้านน้ำขมน้ำเต้าทอง ร้านลอดช่องสิงคโปร์ ร้านข้าวต้มกระดูกหมู ซึ่งแต่ละร้านได้ย้ายไปเช่าอาคารตึกแถวในย่านนั้น ๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน โดยไม่ทิ้งทำเลเยาวราชที่สร้างรายได้มาอย่างยาวนานเกิน 50 ปี

ขณะที่ร้านค้าเก่า ๆ ที่ค้าขายสินค้าทั่วไปได้ทยอยย้ายออก บางรายเลิกกิจการก่อนสำนักงานทรัพย์สินฯแจ้งเป็นทางการ ส่วนรายที่ไปต่อได้ในยุคนี้ก็มีร้านอาหารชื่อดังฝั่งถนนเยาวราชได้ย้ายไปรวมร้านของเครือญาติ เช่น ร้านหูฉลาม เป็นต้น

"ที่ผ่านมายอมรับว่าค่าเช่าถูกมาก ถ้าเป็นตึกห้องเดียวก็หมื่นกว่าบาทต่อเดือน ส่วนแผงในซอกซอยประมาณ 5,000 บาทต่อเดือน ขณะที่รายได้ต่อวันสูงมาก เศรษฐกิจจะดีไม่ดี เงินก็สะพัด มีหลายห้องที่เปลี่ยนมือจากผู้เซ้งคนแรกมาคนต่อ ๆ ไป แต่เวิ้งนี้มีน้อย เมื่อสัญญาหมดก็ถึงเวลาสร้างใหม่ ได้ข่าวว่าโครงการใหม่จะสวยดูดีมีดีไซน์ไชนีส เป็นพื้นที่ค้าปลีกที่จะดึงร้านเด็ดเข้ามาอยู่เหมือนจัดระเบียบใหม่แบบสามย่านมิตรทาวน์"

"สภาพทำเลแปรเปลี่ยนไป หลังรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT พาดผ่าน จากแต่ก่อนคนแถวนี้ประท้วงกันไม่ให้สร้าง แต่สร้างแล้วความเจริญก็มา นักท่องเที่ยวเดินทางสะดวก เดินลัดเลาะได้ทั่ว เยาวราชยุคนี้เหมือนเกิดใหม่" แหล่งข่าวกล่าว

# ทุบตลาดเฉลิมลาภ

จุดที่ 2 คือบริเวณตลาดย่านการค้าเก่าแก่ ตลาดเฉลิมลาภ ย่านประตูน้ำ โดยสำนักงานทรัพย์สินฯได้ว่าจ้างกิจการร่วมค้าห้างหุ้นส่วนจำกัดเชียงใหม่การโยธา เข้าทำการรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างขนาดกว่า 7 ไร่ ในช่วงเวลา 360 วัน นับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2564 เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้บริษัท เอส.พี.ซี.พร็อพเพอร์ตี้ส์ แอนด์ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด ในเครือกลุ่มแพลทินัม ซึ่งเป็นผู้ประกอบการให้เช่าพื้นที่ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป เจ้าอาณาจักรย่านประตูน้ำ

ในฐานะคู่สัญญา หลังบริษัทดังกล่าวชนะการประมูลด้วยมูลค่า 3,000 ล้านบาท มีระยะการเช่าระยะยาว 30 ปี เพื่อพัฒนาโครงการในเชิงพาณิชย์ ถือเป็นที่ดินทำเลสุดยอดของย่านการค้าบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ที่ต่อเชื่้อม 2 ถนนสายสำคัญ นั่นคือถนนราชประสงค์กับถนนราชปรารภ ที่มีแอร์พอร์ตเรลลิงก์รองรับการเดินทางและต่อเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิมโครงการดังกล่าวมีแผนพัฒนามานานพอสมควร แต่เกิดปัญหาจากกลุ่มผู้เช่าที่ไม่ขอย้ายออก เพราะมีจำนวนหลายรายเซ้งพื้นที่ในราคาแพงจากผู้เช่ารายเดิม ทำให้มีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน

บวกกับการเปลี่ยนแปลงจุดที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคตอันใกล้ ทำให้การวิเคราะห์และจุดคุ้มค่าของมูลค่าที่ดินต้องปรับแผนใหม่ให้สอดคล้องกับโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้น คาดว่ากลุ่มแพลทินัมคงจะพัฒนาให้เป็นมิกซ์ยูส แหล่งรวมอาคารสูงที่ใช้ประโยชน์ได้ครบทุกมิติ เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางแห่งการช็อปปิ้งของกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วโลก

ซึ่งการพัฒนาบิ๊กโปรเจ็กต์จะอยู่ในรุ่นของทายาท คือ นางสาวสุฐิตา โชติจุฬางกูร บุตรสาวคนสุดท้องของนายสุรชัย และนางปัญจพร โชติจุฬางกูร เจ้าของห้างแพลทินัม ที่เพิ่งแต่งงานกับ นายณัยณพ ภิรมย์ภักดี บุตรชายของนายจุตินนท์ (ถึงแก่กรรม) และหม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี ทายาทธุรกิจตระกูลสิงห์-บุญรอดบริวเวอรี่ นับเป็น 2 ตระกูลใหญ่ที่มีศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจของครอบครัว

# ปล่อยเอกชนบริหาร

รายงานข่าวเปิดเผยอีกว่า แนวทางการพัฒนาที่ดินและโครงการใหม่ ๆ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ จะคงบทบาทเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์อย่างเดียว พร้อมเปิดกว้างให้บริษัทเอกชนดำเนินการทั้งหมด ตามเงื่อนไขที่ตกลง โดยจะไม่มีการร่วมทุนเหมือนในอดีตอย่าง "สยามสินธร" ที่ร่วมทุนโดยธนาคารไทยพาณิชย์ กับบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้การบริหารเป็นอิสระและเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ดังนั้น โครงการดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า ย่านวังบูรพา จึงเป็นบิ๊กโปรเจ็กต์สุดท้ายของการร่วมทุน

ผู้เช่าที่ดินและอาคารในย่านวังบูรพารายหนึ่งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คิดว่าตัวโชคดีที่ได้เช่าตึกแถวจากสำนักงานทรัพย์สินฯ เพราะเป็นทำเลที่หาไม่ได้แล้ว คืออยู่เขตเมืองชั้นใน เป็นแหล่งรวมของประวัติศาสตร์ที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ ที่สำคัญขณะนี้มีเอ็มอาร์ทีสถานีสามยอดพาดผ่าน เป็นไข่แดงของทำเลทองที่มีสถานีสวยงามที่สุด

"ค่าเช่าตกเดือนละ 10,000 บาทต่อเดือน ถือว่าถูกมาก เราจ่ายค่าเซ้งแรกเป็นเงินก้อนก็จริง แต่เราอยู่มานาน ทำการค้าได้ดี แต่เงื่อนไขคือผู้เช่าทอดต้องมีนามสกุลเดียวกัน ถ้าหมดนามสกุลเดิม สำนักงานทรัพย์สินฯก็จะเรียกคืน"

# รอลุ้นเพลินจิต 18 ไร่

แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังเปิดกว้างให้เอกชนที่สนใจเช่าที่ดินระยะยาวอีก 1 แปลง ริมถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน ขนาด 18 ไร่ 1 งาน 18.8 ตารางวา หลังเรียกคืนที่ดินจากผู้เช่ารายเดิมคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในสมัยทำสัญญา

ซึ่งเป็นที่ดินแปลงสวยรูปทรงยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าด้านข้างติดกับที่ดินของกลุ่มศรีวิกรม์ ในฟากคุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์และทายาท ขณะที่ฝั่งตรงข้ามเดิมเป็นห้างโซโก้เสาทรงโรมันกำลังปรับปรุงครั้งใหญ่ เจ้าของคือนายชาย-นายชาญ ศรีวิกรม์ นักธุรกิจคู่แฝด เจ้าของเกษรวิลเลจในปัจจุบัน และโรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ พร้อมอาคารสำนักงานให้เช่าของกลุ่มมณียา โดยมีนางสาวศีกัญญา ศักดิเดช ภาณุพันธ์ ทายาทเป็นผู้บริหาร

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนรื้อถอนอาคารเก่าออกไปหมดแล้ว ภาพที่เห็นจะเป็นที่ดินโล่งเตียน คาดว่าโครงการใหม่จะเป็นมิกซ์ยูสที่มีโรงแรม ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน เนื่องจากอยู่ในทำเลศูนย์กลางธุรกิจ มีรถไฟฟ้าพาดผ่านและติดสถานีชิดลม ราคาที่ดินเฉลี่ย 2.5-3.1 ล้านบาทต่อตารางวา

เดิมที่ผืนนี้มีแผนพัฒนาในระยะเวลาใกล้เคียงกับโครงการอสังหาฯขนาดใหญ่ของกลุ่มณรงค์เดช บริเวณแยกถนนวิทยุ ติดกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา เพลินจิต แต่มีปัญหาความไม่ชอบมาพากลของระดับเจ้าหน้าที่และคนกลางผู้ประสานงาน ทำให้เกิดความล่าช้า เพื่อสร้างความโปร่งใสให้เป็นบรรทัดฐาน

อย่างไรก็ตาม ในเงื่อนไขทีโออาร์ระบุเช่นเดียวกับการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องตอบโจทย์เพื่อส่วนรวมมากกว่าผลตอบแทน ทั้งในแง่ของความเป็นพื้นที่สีเขียว รักษ์สิ่งแวดล้อม และวางแผนเรื่องการจราจรอย่างถึงที่สุด เพื่อให้เกิดมูลค่าในอนาคตในลักษณะเป็นสมาร์ทซิตี้ เมืองนวัตกรรม แบบ The Bangkok มิกซ์ยูสแสนล้านบาทของกลุ่มเจ้าสัวตระกูล "สิริวัฒนภักดี" ที่สร้างบรรทัดฐานของการก่อสร้างไม่ให้ส่วนรวมเดือดร้อนทั้งเรื่องฝุ่นและการขนดิน

ส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยอมให้ใช้ประโยชน์ที่ดินโดยไม่มีค่าเช่า เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จัดระเบียบการจราจรใหม่ สร้างทางเข้า-ออก พร้อมด่านเก็บเงินบริเวณทางด่วนพระราม 4 (บ่อนไก่)

# ประมูลที่แปลงใหม่

ล่าสุด สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังประกาศเปิดให้เช่าที่ดินระยะยาวอีกหลายแปลง โดยเปิดกว้างให้เอกชนที่สนใจยื่นขอเงื่อนไข (TOR) ซึ่งเป็นทำเลเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งสายสุขุมวิทและสายสีลม (ข้ามฝั่งธนบุรี) ดังนี้

1.ทำเลสีลม จำนวน 1 แปลง ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 11.70 ตารางวา บริเวณริมถนนสีลม เขตบางรัก

2.ทำเลสุรศักดิ์ จำนวน 1 แปลง ขนาดพื้นที่ 6 ไร่ 87.40 ตารางวา บริเวณริมถนนสุรศักดิ์ เขตบางรัก

3.ทำเลบางนา จำนวน 1 แปลง ขนาดพื้นที่ 10 ไร่ 1 งาน 30.85 ตารางวา บริเวณถนนสรรพาวุธ เขตบางนา

4.ทำเลกัลปพฤกษ์ จำนวน 1 แปลง ขนาดพื้นที่ 19 ไร่ 3 งาน 44.97 ตารางวา บริเวณริมถนนกัลปพฤกษ์ (ฝั่งขาออก) เขตจอมทอง

นอกนั้นเป็นประกาศการสรรหาผู้รับสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารพาณิชย์ทั่วไป เช่น อาคาร 4 ชั้นย่านราชวิถี, ที่จอดรถชั่วคราว ย่านตรอกสาเก ถนนบูรณศาสตร์ เขตพระนคร ซึ่งเป็นโครงการแก้ปัญหาจราจรบริเวณถนนราชดำเนินกลาง โดยเปิดให้บริการที่จอดรถชั่วคราวแบบรายวันและรายเดือน ตั้งแต่วันนี้-31 ธันวาคม 2568 เปิดบริการทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น. เป็นต้น

ส่วนต่างจังหวัดก็มีนครปฐม ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลำปาง เพชรบุรี และสงขลา ซึ่งเป็นสำนักงานสาขา แล้วแต่จะมีที่ดินเรียกคืนหมดสัญญาหรือไม่ เพื่อหาผู้เช่ารายใหม่

# แลนด์สเคปเมืองเปลี่ยน

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรุงเทพฯในปัจจุบันถูกพลิกโฉมโดยสิ้นเชิงจากสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งถนนตัดใหม่และรถไฟฟ้าที่สร้างเสร็จ ทั้งสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีเหลือง และสายสีชมพู ทำให้การลงทุนมีการขับเคลื่อนต่อเนื่อง

แม้ปี 2567 บริษัทอสังหาริมทรัพย์จะประกาศแผนลงทุนระดับ 1-5 หมื่นล้านบาทหลายบริษัท แต่ถือเป็นส่วนน้อย จะมีเพียงบริษัทท็อปไฟฟ์ท็อปเทนเท่านั้นที่มีแรงอึดและกล้าเสี่ยง เพราะภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์การเมืองไม่เสถียร ผิดจากที่คาดไว้ ประกอบกับภูมิรัฐศาสตร์โลกถึงจุดเปลี่ยน สงครามเกิดยืดเยื้อ ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกอึมครึม

"แต่การพัฒนาต้องมีต่อไป ทั้งพัฒนาความคิด พัฒนาคน และพัฒนาที่ดิน" แหล่งข่าวกล่าวย้ำและว่า

การถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเกิดการเปลี่ยนมือ โดยเฉพาะกรุงเทพฯชั้นใน และด้านนอกที่เป็นแปลงใหญ่ ๆ ของแลนด์ลอร์ดเก่า ซึ่งเจ้าของที่ดินดั้งเดิมจะแห่ขายที่ โดยมีกลุ่มทุนใหญ่เป็นผู้พัฒนารายใหม่ในทุกรูปแบบ ทั้งโรงแรม คอนโดมิเนียม และห้างมิติใหม่ ๆ กระจายอยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ของการเดินทางและการท่องเที่ยว

อาทิ กลุ่มเจ้าสัวตระกูลดัง ๆ จิราธิวัฒน์ สิริวัฒนภักดี เจียรวนนท์ อัมพุช จูตระกูล-สารสิน อัศวโภคิน ทวีสิน ตั้งมติธรรม ซอโสตถิกุล ณรงค์เดช บุรี ศรีวิกรม์ ฯลฯ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/02/2024 8:38 am    Post subject: Reply with quote

เช็กพื้นที่'กทม.'29แขวง11เขต เวนคืนสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม
Source - ไทยโพสต์
Thursday, February 08, 2024 03:37

หมายเหตุ : การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2567 มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพระราชกฤษฎีกากำ หนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน

คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....

และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....

รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป และรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ คค.เสนอว่า

1.เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชน โดยจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 และจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ.2540 เพื่อดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะ และการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชนในบริเวณโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าว

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มีลักษณะโครงสร้างใต้ดินทั้งหมด 11 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช (สถานีศิริราช) จากนั้นวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้พื้นที่ถนนราชดำเนิน ผ่านสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเบี่ยงเส้นทางไปตามแนวถนนหลานหลวงจนถึงแยกยมราช เลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรบุรีจนถึงสี่แยกประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายใต้ถนนราชปรารภ ตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง และเลี้ยวขวาตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวขวาผ่านศาลาว่าการ กทม. 2 และเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีที่ดินที่จะต้องเวนคืนประมาณ 380 แปลง รวมทั้งมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอนประมาณ 400 หลัง

3.คณะกรรมการ รฟม. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2560 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการตราร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน รวม 2 ฉบับ ตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

4.รฟม.ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว

5.สำนักงบประมาณแจ้งว่า จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ รฟม. ตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามแผนการใช้จ่ายเงินเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 2 ฉบับ กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนและกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการ เพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในท้องที่แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กทม. เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจร และการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 8 ก.พ. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2024 11:03 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เช็กพื้นที่'กทม.'29แขวง11เขต เวนคืนสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม
Source - ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดี ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 03:37 น.

หมายเหตุ : การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2567 มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพระราชกฤษฎีกากำ หนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน
ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567


เคาะกฎหมายเวนคืนที่ดินกลางเมือง สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์

ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567


รัฐบาลเคาะกฎหมายเวนคืนที่ดิน 2 ฉบับ กลางเมืองกรุงเทพฯ สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 13.4 กิโลเมตร ครอบคลุม 29 แขวง รวม 11 เขต กทม. เช็ครายละเอียดได้ที่นี่

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ เพื่อ เวนคืนที่ดิน ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร คือ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน มีพื้นที่ครอบคลุม 29 แขวง รวม 11 เขตของกรุงเทพมหานคร

สำหรับการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนและกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการ เพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ครอบคลุม 29 แขวง รวม 11 เขตของกทม. มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี

ทั้งนี้เมื่อผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมครม.แล้ว ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สำหรับเขตที่ดินที่จะเวนคืน ทั้ง 29 แขวง ใน 11 เขตของกทม. มีรายละเอียดดังนี้

แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน
แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
แขวงชนะสงคราม แขวงบ้านพานถม แขวงตลาดยอด แขวงบวรนิเวศ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
แขวงวัดโสมนัส แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต
แขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
แขวงปทุมวัน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
แขวงรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง


เหตุผลความจำเป็นต้องเวนคืนที่ดิน
กระทรวงคมนาคม รายงานว่า เหตุผลความจำเป็นของเรื่องนี้ เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชน โดยจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562

รวมทั้งจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 เพื่อดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด

รวมถึงเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะ และการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชนในบริเวณโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

รู้จักเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ
โครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มีลักษณะโครงสร้างใต้ดินทั้งหมด 11 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช (สถานีศิริราช)

จากนั้น วิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้พื้นที่ถนนราชดำเนิน ผ่านสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเบี่ยงเส้นทางไปตามแนวถนนหลานหลวงจนถึงแยกยมราช เลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรบุรีจนถึงสี่แยกประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายใต้ถนนราชปรารภ ตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง

ก่อนจะเลี้ยวขวาตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวขวาผ่านศาลาว่าการ กทม. 2 และเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

โดยมีที่ดินที่จะต้องเวนคืนประมาณ 380 แปลง รวมทั้งมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอนประมาณ 400 หลัง

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาา รฟม. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าวตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว และทางสำนักงบประมาณแจ้งว่า จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ รฟม. ตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามแผนการใช้จ่ายเงินเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว

พ.ร.ฏ.เวนคืนที่ดิน 29 แขวง 11 เขต สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม
วันพุธ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 11:42 น.

https://www.youtube.com/watch?v=oxYrQxp4hEM
https://www.tiktok.com/@tv5hdonline/video/7332716668658912513
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2024 4:34 pm    Post subject: Reply with quote

เปิด “เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม” มีสถานีไหนบ้าง คาดปี 2568 มาแน่
Source - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์
Tuesday, February 13, 2024 14:22

## ยังเป็นที่รอคอยของคนกรุง ที่จะได้ใช้งาน “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งเป็นโครงการส่วนตะวันออก จนเกิดคำถามว่า “รถไฟฟ้าสายสีส้ม เสร็จปีไหน” ไปหาคำตอบกัน

จากคำถาม รถไฟฟ้าสายสีส้มจะเสร็จเมื่อไหร่ ล่าสุดมีรายงานจาก คมชัดลึกว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม แล้วเสร็จประมาณ 98.65% แล้ว

เปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มล่าสุด

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”

รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) เหมือนกับ BTS ที่เปิดใช้บริการอยู่ในปัจจุบัน รองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง และใช้ความเร็วได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้าง เส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การร่วมลงทุนกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมือง ตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ของกรุงเทพมหานคร มีระยะทางรวมทั้งหมด 35.9 กิโลเมตร ตั้งแต่บางขุนนนท์-มีนบุรี โดยแบ่งเป็น สายตะวันออก-สายตะวันตก

รถไฟฟ้าสายสีส้มมีสถานีไหนบ้าง

สายตะวันออก : จะเป็นเส้นทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)” ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี แบ่งออกเป็น สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี โดยแต่ละสถานีมีดังนี้:

OR13 สถานี ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

OR14 สถานี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

OR15 สถานี วัดพระราม 9

OR16 สถานี รามคำแหง 12

OR17 สถานี รามคำแหง

OR18 สถานี การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)

OR19 สถานี รามคำแหง 34

OR20 สถานี แยกลำสาลี

OR21 สถานี ศรีบูรพา

OR22 สถานี คลองบ้านม้า

OR23 สถานี สัมมากร

OR24 สถานี น้อมเกล้า

OR25 สถานี ราษฎร์พัฒนา

OR26 สถานี มีนพัฒนา

OR27 สถานี เคหะรามคำแหง

OR28 สถานี มีนบุรี

OR29 สถานี แยกร่มเกล้า

โดยทั้งหมดจาก 17 สถานี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ยังมีสถานีหลักที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นอีก 3 สาย ประกอบไปด้วย

เชื่อมต่อรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ตรงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สามารถเดินทางระหว่างสถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ-สถานีหลักสอง

เชื่อมต่อรถไฟฟ้า สายสีเหลือง ตรงสถานีแยกลำสาลี สามารถเดินทางระหว่างสถานีสำโรง-สถานีลาดพร้าว

เชื่อมต่อรถไฟฟ้า สายสีชมพู ตรงสถานีมีนบุรี สามารถเดินทางไประหว่างสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

สายตะวันตก : เส้นทาง “ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์” ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 11 สถานี แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด โดยจะเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟร่วมศิริราช โรงพยาบาลศิริราช, รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง, รถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

รถไฟฟ้าสายสีส้ม เสร็จปีไหน

ตามแผนงานเดิม การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568 ส่วนของการเดินรถนั้น มีรายงานข่าวว่า ทาง BEM จะทยอยนำขบวนรถมาทดสอบเดินรถภายใน 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี เพื่อให้สามารถเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกได้ก่อน นอกจากนี้ จะปรับแผนงานการก่อสร้างส่วนตะวันตกให้รวดเร็วมากขึ้นด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก: คมชัดลึก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2024 4:26 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้น เม.ย.นี้ ลงนามสัญญา “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” 1.4 แสนล้าน
ฐานเศรษฐกิจ 16 กุมภาพันธ์ 2567

KEY POINTS
“คมนาคม” กางแผนคืบหน้า “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” 1.4 แสนล้านบาท
ลุ้นศาลปกครองพิจารณา 1 คดี ตั้งเป้าลงนามสัญญาเอกชนภายในเดือนเม.ย.นี้
ภาครัฐเคาะหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน 380 แปลง

ที่ผ่านมาภาครัฐผลักดัน “รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)” ซึ่งเป็น 1 ในแผนรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่จะเร่งเปิดให้บริการแก่ประชาชนโดยเร็ว แต่ปัจจุบันโครงการฯ กลับติดปัญหาการฟ้องร้องคดีความในศาลกว่า 2 ปี ทำให้โครงการหยุดกลางคัน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 140,000 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ รวมทั้งงานระบบฯ ทั้งเส้นทาง เบื้องต้น รฟม.ได้ตัวเอกชนผู้รับสัมปทานแล้ว คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM โดยจะเสนอร่างสัญญาร่วมลงทุนให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เมื่อคดีความที่มีผู้ร้องศาลปกครองสิ้นสุดลง

“การดำเนินการคัดเลือกเอกชนโครงการฯ ได้มีเอกชนฟ้องร้องเป็นคดีความ ซึ่งปัจจุบันเหลือ 1 คดี ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด คือ คดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ฟ้องการประมูลโครงการรถไฟฟ้าครั้งที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมายถือเป็นการกีดกันด้านการแข่งขัน โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 14 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้ถอนเรื่องเสนอผลการคัดเลือกเอกชน เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่าควรรอการพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จก่อน ทำให้ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองก่อนเสนอผลการคัดเลือกต่อกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง”

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ตามแผนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ส่วนตะวันตก) ระยะทาง 35.90 กิโลเมตร (กม.) จะลงนามสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูลภายในเดือนเมษายนนี้ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนพฤษภาคม 2567-เมษายน 2573 และเปิดให้บริการภายในเดือนเมษายน 2573

ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ เพื่อเวนคืนที่ดินก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร (กม.) คือ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน มีพื้นที่ครอบคลุม 29 แขวง รวม 11 เขตของกรุงเทพมหานคร

ส่วนการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนและกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการ เพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ครอบคลุม 29 แขวง รวม 11 เขตของกทม. มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี โดยมีที่ดินที่จะต้องเวนคืนประมาณ 380 แปลง รวมทั้งมีอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอนประมาณ 400 หลัง

ทั้งนี้เมื่อผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมครม.แล้ว ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดและรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีลักษณะโครงสร้างใต้ดินทั้งหมด 11 สถานี มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช (สถานีศิริราช) จากนั้น วิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้พื้นที่ถนนราชดำเนิน ผ่านสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเบี่ยงเส้นทางไปตามแนวถนนหลานหลวงจนถึงแยกยมราช เลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรบุรีจนถึงสี่แยกประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายใต้ถนนราชปรารภ ตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง ก่อนจะเลี้ยวขวาตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวขวาผ่านศาลาว่าการ กทม. 2 และเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปสิ้นสุดปลายทางที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ลุ้น เม.ย.นี้ ลงนามสัญญา “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” 1.4 แสนล้าน

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หรือส่วนตะวันออก ระยะทาง 22.57 กิโลเมตร (กม.) ปัจจุบันงานก่อสร้างงานโยธาทั้ง 6 สัญญา มีผลงานคืบหน้า 100% ส่วนงานติดตั้งระบบไฟฟ้าและงานเดินรถของส่วนตะวันออกอยู่ในส่วนหนึ่งสัญญาร่วมลงทุน คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างส่วนตะวันออกแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในเดือนตุลาคม 2570

นอกจากนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หรือส่วนตะวันออก มีลักษณะโครงสร้างใต้ดินและทางยกระดับ จำนวน 17 สถานี แบ่งออกเป็น สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานีมีแนวเส้นทางตั้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ซึ่งตัดกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตรงเข้าสู่ถนนพระราม 9 แล้วเลี้ยวเข้าถนนรามคำแหง จนตัดกับสายสีเหลืองที่สถานีลำสาลี และสายสีชมพูที่สถานีมีนบุรี และสิ้นสุดโครงการที่สถานีสุวินทวงศ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44651
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2024 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

'รถไฟฟ้าสายสีส้ม' เวนคืนที่ดินกระทบโบราณสถานหนัก การรถไฟฟ้าแจงแบบนี้
Source - เว็บไซต์คมชัดลึก
Friday, February 16, 2024 11:26

'รถไฟฟ้าสายสีส้ม' เวนคืนที่ดินในรัศมี 1 กิโลเมตร รอบแนวเส้นทาง กระทบโบราณสถานหนักหลายแห่ง การรถไฟฟ้าแจงแบบนี้

กลายเป็นเรื่องที่หลายคนต่างกังวล หลังมีการแชร์เรื่องการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีส้ม และกระทบโบราณสถานถึง 148 แห่ง ข้อมูลดังกล่าวเป็นกรณีที่กระทรวงวัฒนธรรมได้มีหนังสือเสนอความเห็นต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาฯ โครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยว่า ตลอดแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าและในรัศมี 1 กิโลเมตร รอบแนวเส้นทางรถไฟฟ้า มีโบราณสถานตั้งอยู่หนาแน่นจำนวน 148 แห่ง โดยโบราณสถานดังกล่าวมีทั้งโบราณสถานที่ประกาศที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน

ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลในสื่อต่างๆ เรื่องการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีส้ม จะกระทบโบราณสถาน 148 แห่ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

ทั้งนี้ ในการดำเนินการเวนคืนที่ดินต้องมีการสำรวจรายละเอียดให้ทราบข้อเท็จจริงที่แน่นอน และหากถูกเวนคืน หน่วยงานจะต้องดำเนินการขออนุญาตต่อกรมศิลปากรตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน

การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีส้ม กระทบโบราณสถาน เป็นเพียงกรณีที่กระทรวงวัฒนธรรมได้มีหนังสือเสนอความเห็นต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มว่า ตลอดแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าและในรัศมี 1 กิโลเมตร รอบแนวเส้นทางรถไฟฟ้า มีโบราณสถานตั้งอยู่จำนวน 148 แห่ง ซึ่งจำนวนดังกล่าวไม่ใช่จำนวนที่ถูกเวนคืนแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 89, 90, 91  Next
Page 90 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©