RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273932
ทั้งหมด:13585228
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 89, 90, 91
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2024 7:29 pm    Post subject: Reply with quote

สายสีส้มเข้า ครม.แล้ว เชคพื้นที่เวนคืน11เขต29แขวง380แปลง
Nimda Variety
Feb 16, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=v0uPWegpI-E
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2024 9:21 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม จะเปิดให้ใช้บริการได้เมื่อไร? (16 ก.พ. 67) | ฟังหูไว้หู
9MCOT
Feb 19, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=LEQQ1rg1tAE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2024 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ใกล้ความจริง | THANTALK ON TV | 22 ก.พ. 67
ฐานเศรษฐกิจ


https://www.youtube.com/watch?v=WxOdx_wj4Tk

แม้จะมีความพยายามคัดค้านจากหลายภาคส่วน สำหรับการประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์- มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาทในรูปแบบ PPP Net Cost และนำไปสู่คดีอยู่ในศาลปกครอง ซึ่งปัจจุบันเหลืออีก 1 คดี ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด คือ คดีบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ฟ้องการประมูลสายสีส้ม ครั้งที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการกีดกันด้านการแข่งขัน และกระทรวงคมนาคมได้ถอนเรื่องการเสนอผลการคัดเลือกเอกชน ออกจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 สมัยรัฐบาลประยุทธ์ เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่าควรรอการพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2024 11:25 am    Post subject: Reply with quote

จ้องงาบ 'เมกะโปรเจกต์' มีหนาว! สตง. เปิดสำนักใหม่สอบโครงการยักษ์
ไทยโพสต์ 26 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9:52 น.

คิดงาบ ‘เมกะโปรเจกต์’ หนาวแน่! ‘สตง.’ ติดเขี้ยวเล็บ เปิดสำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ ประเดิมรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ดิจิทัลวอลเล็ต

26 ก.พ. 2567 – นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งจะพ้นจากตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่จะถึงนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะมีการเปิดสำนักขึ้นมาใหม่เรียกว่า ”สำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่” ตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสตง.ที่มีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่จะให้มีผล 1 เมษายน 2567

นายประจักษ์กล่าวว่า สาเหตุที่มีการจัดตั้งสำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าวที่เป็นสำนักที่จัดตั้งใหม่เพราะที่ผ่านมา สตง. มีบทบาทในการตรวจสอบรายงานการเงินค่อนข้างมาก ซึ่งโครงการใหญ่ๆ การจะไปติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาเราอาจจะยังไม่ได้ไปให้ความสำคัญเต็มที่ สตง. ก็มองว่าด้วยบทบาทของ สตง. ที่มีภารกิจสำคัญในการตรวจสอบ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ การตรวจสอบการเงิน การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่ของสตง.ที่รับผิดชอบในการติดตามดูแลตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ การติดตามตรวจสอบแค่ปีเดียวมันไม่เสร็จ เพราะการทำโครงการขนาดใหญ่ก็ใช้เวลาบางที 4 – 5 ปี กว่าจะเสร็จ สตง. ต้องตามเหมือนกัน ทางสตง. ก็มีการเสนอต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีการจัดตั้ง “สำนักงานตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่” แยกออกมาเป็นอีกหนึ่งสำคัญต่างหาก จนมีการเห็นชอบดังกล่าว

“ทำให้หลังจากนี้โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ เช่นรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีปัญหา ที่ผ่านมา สตง. ยังไม่มีคนเข้าไปจับโดยตรงว่าโครงการเป็นอย่างไร ข้อกฎหมายเป็นอย่างไร ตอนนี้ก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ ทางสำนักงานตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ของ สตง. ก็จะเข้าไปติดตามตรวจสอบ หรืออย่างโครงการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต หากรัฐบาลเริ่มดำเนินการ ก็ถือว่าเข้าข่ายเช่นกัน โดยเมื่อมีการเริ่มทำงานแล้ว สำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ก็ทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ ไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับงานด้านอื่น” นายประจักษ์ระบุ

มีรายงานว่าสำหรับสำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ของ สตง. ดังกล่าว ตามประกาศของ คตง. ระบุถึงอำนาจหน้าที่ของสำนักตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ไว้ว่า ให้มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกินหนึ่งพันล้านบาท และโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชนในรูปแบบ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public. Private Partnership หรือ PPP) ซึ่งหลังมีการเปิดสำนักดังกล่าวในเดือนเมษายน ทางเจ้าหน้าที่ก็สามารถเข้าติดตามตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างหรือการทำโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงต่างๆ ที่สื่อนำเสนอได้เช่น การจัดซื้อเรือดำน้ำของกระทรวงกลาโหม หรือข่าวที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เตรียมจัดซื้อเครื่องบินรุ่นโบอิ้ง 787 ฝูงใหม่ จำนวน 47 ลำ เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/03/2024 8:58 am    Post subject: Reply with quote

สร้างเสร็จ 100% รอเปิดเร็วสุดปี 2570 รถไฟฟ้าสายสีส้มบนถนนรามคำแหง | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Tuesday, March 26, 2024 08:17

อัปเดตสถานะรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายเจ้าปัญหาที่ก่อสร้างโครงการส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี เสร็จ100% สร้างความงุนงงให้กับผู้พบเห็นที่ไม่เปิดบริการ ส่วนที่พอจะทราบข้อมูลก็คงรู้สึกระอาใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วจะได้ใช้บริการเมื่อไหร่??ไปติดตามกัน....

เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2567 เป็นวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาลปกครองสูงสุด ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.), คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC

กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ลงวันที่ 24 พ.ค.2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ และหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือน ก.ค.2563 โดยหลังจากนี้ศาลฯ จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีฯ ตามปกติศาลฯ จะใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 2-3 เดือน ก่อนมีคำพิพากษาคดีออกมา

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ค.2566 ศาลปกครองกลางเคยมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีฯนี้แล้ว แต่เนื่องจาก BTSC ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องคดี จึงต้องรอการพิจารณาของศาลฯ อีกครั้ง ยังไม่มีกำหนดว่าศาลฯ จะพิจารณาเมื่อใด ขณะที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ก็ให้นโยบายเรื่องนี้ว่า ต้องรอคำสั่งศาลฯ ให้ถึงที่สุดก่อนจึงจะเดินหน้าโครงการฯ ต่อไปได้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.4 หมื่นล้านบาท ค่างานโยธา 9.6 หมื่นล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้าบริหารการเดินรถ ซ่อมบำรุง 3.2 หมื่นล้านบาท รฟม. เปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กม.

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มีผู้รับเหมางานโยธาคือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะประมูล ตามแผนเดิม รฟม. คาดว่าจะลงนามสัญญากับเอกชนได้ตั้งแต่ปลายปี 2565 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถลงนามสัญญากับเอกชนได้

หากพิจารณาบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเวลานี้แนวโน้มการลงนามสัญญาโครงการฯ ระหว่าง รฟม. กับ BEM จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเดือน มี.ค.-เม.ย.2567 ยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะ เพราะตามขั้นตอนแล้วภายหลังศาลฯ มีคำพิพากษาคดีออกมาเป็นที่สิ้นสุด กระทรวงคมนาคมต้องเสนอร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ ซึ่ง รฟม. ได้เสนอไปกระทรวงคมนาคมก่อนหน้านี้ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ด้วย หากผ่านความเห็นชอบจาก ครม. จึงจะลงนามในสัญญาและเริ่มโครงการได้

ขณะนี้ระยะเวลายืนยันราคาตามที่ผู้ชนะประมูลเสนอหมดลงแล้ว รฟม. ได้ทำหนังสือขอให้ BEM ขยายเวลาการยืนยันราคาการประมูล ซึ่งทาง BEM ยินดีขยายเวลายืนยันราคาออกไปอีกระยะหนึ่งเพื่อรอการพิจารณาของครม.

โดยหากสามารถลงนามสัญญาได้ภายในปี 2567 คาดว่าเอกชนจะใช้เวลาติดตั้งงานระบบฯ และจัดหารถของส่วนตะวันออกช่วงมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่แยกสัญญาก่อสร้างออกไปและก่อสร้างเสร็จ100% ไม่เกิน 3 ปีนับจากการเริ่มสัญญาสัมปทาน จะทำให้เปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ได้เร็วที่สุดประมาณปี 2570

โครงการส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรีบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทาง 22.5 กม. รวม 17 สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานีและยกระดับ 7 สถานี มีแนวเส้นทางเริ่มต้นเป็นแบบใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงินตัดเข้าพื้นที่ของ รฟม. วิ่งใต้แนวถนนพระราม 9 ลอดใต้ทางพิเศษสายฉลองรัฐ (ทางด่วนสายรามอินทรา– อาจณรงค์) เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกพระราม 9 ไปตามแนวถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี แนวเส้นทางเปลี่ยนเป็นแบบยกระดับบริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร ข้ามถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดบริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดถนนสุวินทวงศ์

ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2566 แม้อยู่ในช่วงเวลาที่ผู้รับเหมาต้องรับประกันผลงานก่อสร้าง 2 ปี แต่มีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่รฟม. ต้องรับผิดชอบด้วย อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ประมาณเดือนละ 41 ล้านบาทไปจนกว่าจะเปิดบริการได้

นั่นหมายความว่านอกจากประชาชนจะสูญเสียโอกาสใช้บริการแล้ว ยังต้องสูญเสียงบประมาณแผ่นดินมาดูแลไม่ให้กลายเป็นทางวิ่งและสถานีรถไฟฟ้าร้างอย่างต่ำปีละ 492 ล้านบาท

ส่วนการก่อสร้างส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ 13.4 กม. เป็นงานสถานีใต้ดินตลอดสายจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5-6 ปี หลังลงนามสัญญา และเปิดบริการได้ตลอดเส้นทางทั้งส่วนตะวันออกและตะวันตก.ประมาณปี 2572-2573

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทั้งสิ้น 35.9 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 27 กม. และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 8.9 กม. รวม 28 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

แนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีศิริราช จากนั้นวิ่งลอดแม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้ถนนราชดำเนิน ผ่านสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเบี่ยงแนวเส้นทางไปตามแนวถนนหลานหลวงจนถึงแยกยมราช เลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรบุรีจนถึงสี่แยกประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายลอดถนนราชปรารภตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง แล้วจึงเลี้ยวขวาไปตามถนนดินแดง จากนั้นจึงเลี้ยวซ้ายตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต แล้วเลี้ยวขวาผ่านกรุงเทพมหานคร 2 และเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ

จากนั้นแนวเส้นทางวิ่งขนานไปตามแนวถนนพระรามเก้าไปยังสถานีรฟม. ลอดใต้คลองแสนแสบ ก่อนเลี้ยวซ้ายไปตามถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ไปจนถึงบริเวณคลองบ้านม้า ก่อนเปลี่ยนแนวทางวิ่งจากอุโมงค์ใต้ดินเป็นทางวิ่งยกระดับ และวิ่งตามแนวถนนรามคำแหงไปจนถึงบริเวณคลองสองที่สถานีมีนบุรี สิ้นสุดแนวเส้นทางที่สถานีสุวินทวงศ์ บริเวณสามแยกรามคำแหง – สุวินทวงศ์

การแยกสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มออกเป็น 2 ส่วน เมื่อสัญญาแรกส่วนตะวันออกบนถนนรามคำแหงสร้างเสร็จ100%แต่ไม่ได้ใช้บริการ รอสัญญาก่อสร้างส่วนตะวันตกที่มัดรวมเอางานเดินรถตลอดเส้นทางไว้ด้วย มีปัญหาถูกร้องเรียนทำให้ชะงักกันไปหมด กว่าจะเปิดบริการเร็วสุดเฟสแรก 22.5 กม. ปี2570 ต้องเสียค่าซ่อมบำรุงอีกเท่าไหร่…ตลอดสายกว่าจะได้ใช้รอเลื่อนกันไป6-7 ปี …..ใครควรรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น??.

—————

นายสปีด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/04/2024 8:21 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลปกครองสูงสุด นัดพิจารณาคดีสายสีส้มครั้งแรก 11 เม.ย. ปม BTS ร้องกีดกันร่วมประมูล
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Wednesday, April 10, 2024 17:04

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 เม.ย. 67)

ศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีที่บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ในวันพรุ่งนี้ (11 เม.ย.) เวลา 9.30 น.

โดยคดีนี้ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีร่วมกันออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนโดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิมตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ชอบด้วยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อันมีลักษณะเป็นการกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นธรรมจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองใช้ดุลพินิจกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอเหมาะสมและความจำเป็นแห่งกรณีเพื่อประโยชน์ของรัฐ ไม่มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์เป็นการเฉพาะเจาะจงที่จะทำให้เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/รัชดา คงขุนเทียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2024 4:14 pm    Post subject: Reply with quote

“ตุลากร” แถลงยกฟ้องคดี ”สายสีส้ม” ชี้ปรับ TOR ทำตามกฎหมาย ไม่กีดกัน ”บีทีเอส” ลุ้นศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:07 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:08 น.


เปิดความเห็น“ตุลาการ”เห็นควรยกฟ้อง”สายสีส้ม”ตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางคดี ชี้เอกสาร RFP ฉบับเดือนพ.ค. 65 ชอบด้วยกฎหมาย รับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนและไม่เข้าข่ายกีดกัน และไม่ละเมิด”บีทีเอส” รอศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 ศาลปกครองสูงสุดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีที่บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ถูกฟ้องคดีที่ 1 กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีร่วมกันออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนโดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิมตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ชอบด้วยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อันมีลักษณะเป็นการกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นธรรมจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล

โดยตุลาการผู้แถลงคดี ศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.1437/2566 เห็นว่าคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ประกาศเชิญชวนและเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการละมิดผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ถ้าละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด ซึ่งศาลวินิจฉัยโดยสรุป ดังนี้

1. ประกาศเชิญชวนและเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565 ดำเนินการตามรูปแบบ ขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า การดำเนินการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เห็นชอบในหลักการ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติในหลักการตามที่คณะกรรมการ PPP เสนอ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีผูกพันเฉพาะหลักการในการดำเนินโครงการ ซึ่งหลักการดังกล่าวไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือการกำหนดคุณสมบัติ หรือเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชน การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือคุณสมบัติในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนจึงเป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง และไม่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวแต่อย่างใด

2. การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 กำหนดให้ ในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนก่อนดำเนินการจัดทำร่างประกาศเชิญชวนร่างเอกสาร RFP และร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ โดยการรับฟังความเห็นดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการรับฟังความเห็นไว้ เพียงแต่กำหนดว่าต้องมีการประกาศข้อมูลให้กลุ่มเป้าหมายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเริ่มรับฟังความคิดเห็น ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ดำเนินการรับฟังความเห็นตามความในข้อ 4 และข้อ 5 ของประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว

3. การกำหนดคุณสมบัติตามประกาศเชิญชวนและเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่พิพาทดังกล่าว เป็นการก่อสร้างโครงสร้างใต้ดินตลอดทั้งสาย โดยมีแนวสายทางผ่านพื้นที่สำคัญหลายแห่ง ซึ่งในการรับฟังความเห็นมีภาคเอกชนแสดงความเห็นว่า การก่อสร้างควรให้ความสำคัญกับงานโยธา เนื่องจากแนวสายทางผ่านพื้นที่สำคัญ บริษัทที่ปรึกษาจึงมีการรวบรวมข้อมูลและความเห็นเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เพื่อพิจารณาจัดทำประกาศเชิญชวน และเอกสาร RFP โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 พิจารณาแล้ว เห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกตามที่กำหนดไว้ประกาศเชิญชวนและเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565

ซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขบางช่วงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่เป็นธรรม กล่าวคือ การกำหนดให้ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานการก่อสร้างอุโมงค์แล้วเสร็จในประเทศไทย ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมั่นใจว่า จะได้ผู้รับจ้างที่มีฝีมือการก่อสร้างที่เชื่อถือได้ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ส่วนการกำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอสามารถใช้ผลงานของ Contractor ที่เป็นนิติบุคคลไทย หรือมีบุคคลไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ก็เป็นไปเพื่อสนับสนุนกิจการของคนไทย และสร้างความมั่นใจว่าในการก่อสร้าง คนไทยจะสามารถควบคุมการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในการออกประกาศเชิญชวนและเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565 ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้พิจารณาพื้นที่โครงการ ความเห็นของภาคเอกชน และการวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาแล้ว จึงพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกตามประกาศเชิญชวน และเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565 ดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นการดำเนินการที่มีเหตุผลอันสมควรเพื่อให้การคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มบรรลุตามเป้าหมาย ไม่ใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ และไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ หรือกีดกันเอกชนรายใด

ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า มีการกีดกันพันธมิตรของผู้ฟ้องคดีจนไม่สามารถเข้าร่วมการคัดเลือกได้ กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีสามารถหาพันธมิตรอื่นเพื่อรวมกลุ่มเข้าร่วมการคัดเลือกได้ ดังเช่นที่ผู้ฟ้องคดีเคยมีหนังสือขอขยายระยะเวลาในการหาพันธมิตร เนื่องจากอยู่ระหว่างเจรจากับผู้รับจ้างจากต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมการคัดเลือกในโครงการดังกล่าว และถึงแม้ว่าประกาศเชิญชวน และเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565 จะมีเงื่อนไขในการเข้าร่วมการคัดเลือกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความไม่สะดวกกับผู้ฟ้องคดีหรือเอกชนที่ประสงค์จะเข้าร่วมลงทุน แต่ความไม่สะดวกดังกล่าวย่อมเทียบไม่ได้กับความปลอดภัย หรือประโยชน์ของสาธารณะชนที่จะได้รับจากการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว ดังนั้น ดังนั้น ประกาศเชิญชวนและเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ได้ทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด

ดังนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่พิพากษาให้ยกฟ้อง

รายงานข่าวแจ้งว่า กรณีบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2562 และรฟม. กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ซึ่งศาลปกครองกลาง อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ก.ค.2566 ยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา ต่อมา บีทีเอสยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยศาลได้กำหนดการสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2567 และตุลาการผู้แถลงคดี นั่งพิจารณาคดีเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2567 หลังจากนี้จับตา ศาลปกครองสูงสุด นัดประชุมองค์คณะศาลชุดใหญ่ เพื่อพิจารณาคดีต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/04/2024 8:37 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ตุลากร” แถลงยกฟ้องคดี ”สายสีส้ม” ชี้ปรับ TOR ทำตามกฎหมาย ไม่กีดกัน ”บีทีเอส” ลุ้นศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:07 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:08 น.

คมนาคมเดินหน้าสีส้ม BEMรับผลบวกใกล้จบ
Source - ทันหุ้น
Friday, April 19, 2024 08:03

#BEM #ทันหุ้น - กระทรวงคมนาคมพร้อมผลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี หลังตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองสูงสุดชี้เอกสาร ประกวดราคาถูกต้องไม่กีดกัน รอเพียงศาลตัดสิน เปิดไทม์ไลน์คมนาคม หลังศาลตัดสินจะส่งให้ฝ่ายกฎหมายตีความก่อนจะบรรจุ ครม. นักวิเคราะห์มองบวกใกล้จบ ชู BEM ผู้ชนะโครงการได้รับผลดี แนะ "ซื้อ" เป้า 11 บาท ปีนี้ทำกำไรสูงสุดใหม่

จากกรณีที่ตุลาการผู้แถลงคดี ศาลปกครองสูงสุด มีความเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่พิพากษาให้ยกฟ้องคดีที่ บริษัท ระบบ ขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 และ รฟม. ในการออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เดือนพฤษภาคม 2565 เปลี่ยนแปลงจากปี 2563 โดยระบุว่า เอกสาร RFP ฉบับดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนและไม่เข้าข่ายกีดกัน และไม่ละเมิด

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ในขั้นตอนจากนี้จะต้องรอคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด หากมีมติชี้ขาดสอดคล้องตามที่ตุลาการผู้แถลงคดี จะถือเป็นคำตัดสิน "เชิงบวก" คาดว่ากระทรวงคมนาคมจะพิจารณานำผลการคัดเลือกเอกชนดังกล่าว บรรจุในวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเรียกภาคเอกชนผู้ชนะการประกวดราคา เข้าร่วมลงนามสัญญาจัดซื้อ-จัดจ้างตามขั้นตอนต่อไป

คมนาคมพร้อมดำเนินการ

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างรอฟังคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ว่าจะออกมาในทางใด จากนั้นจะนำส่งคำตัดสินดังกล่าวให้ฝ่ายกฎหมายของกระทรวง เพื่อตีความให้ชัดเจนก่อนจะพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ซึ่ง รฟม.ได้ประกาศผลพิจารณาข้อเสนอเอกชนผู้ร่วมดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี โดย บริษัท ทางด่วนและ รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด

"ก็ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดว่าจะออกมาแนวทางใด เมื่อมีคำวินิจฉัยเป็นที่สิ้นสุดแล้วก็ต้องให้ฝ่ายกฎหมายตีความให้ชัดเจนก่อนจะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมครม.ตามขั้นตอน อยากให้มั่นใจว่าโครงการดังกล่าวต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จ เพราะเป็นโครงการที่มีความเชื่อมโยงกับโครงการฝังตะวันออกซึ่งงานโยธาแล้วเสร็จ 100% แล้ว"
นักวิเคราะห์มองบวก BEM

บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์มีมุมมองเชิงบวกต่อ BEM สำหรับ ข่าวที่ออกมา เนื่องจากน่าจะได้เห็นความชัดเจนของโครงการสายสีส้มภายหลังคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด โดยได้ประเมินมูลค่าเพิ่มของโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มไว้ที่ 1.18 บาท และได้รวมไว้ในราคาเหมาะสม ของ BEM ที่ 10.33 บาทไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม ในกรณี ที่ BEM ถูกตัดสินให้แพ้คดี และแพ้การประมูลรอบใหม่ ในขณะที่ BTS เป็นผู้ชนะการประมูล จะส่งผลให้มี Upside ต่อราคาเหมาะของ BTS ที่ 1.37 บาท หรือประมาณ 21% ของราคาเหมาะสมที่ 6.31 บาท

แนะ "ซื้อ" เป้า 11 บาท

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ BEM โดยวิธี Sum-of-Parts อยู่ที่ 11 บาท ซึ่งยังมี Upside จากมีโอกาสที่จะได้ งานรถไฟฟ้าสายสีส้ม, งานเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้, และโครงการ Double Deck ซึ่งทั้งหมดน่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้ และยังไม่รวมในประมาณการมูลค่าเหมาะสมข้างต้น

ประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 11 บาท จากแนวโน้ม ผลการดำเนินงานที่มีโอกาสเติบโตทั้งปริมาณผู้ใช้ทางด่วน และรถไฟฟ้า MRT เบื้องต้นคาดงวดไตรมาส 1/2567 ปริมาณการจราจรบนทางด่วนจะอยู่ที่ 1.124 ล้านคันต่อวัน ลดลง 0.39% YoY, และลดลง 0.13% QoQ ในขณะที่จำนวนผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้า MTR จะอยู่ที่ 4.3 แสนเที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้น 13% YoY, และเพิ่มขึ้น 3% QoQ

ส่วนกำไรปกติทั้งปี 2567 จะทำระดับสูงสุดใหม่ (Record High) ที่ 3,958 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% YoY

ที่มา: นสพ.ทันหุ้น ฉบับวันที่ 19 เม.ย. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2024 11:45 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
“ตุลากร” แถลงยกฟ้องคดี ”สายสีส้ม” ชี้ปรับ TOR ทำตามกฎหมาย ไม่กีดกัน ”บีทีเอส” ลุ้นศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:07 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:08 น.

คมนาคมเดินหน้าสีส้ม BEMรับผลบวกใกล้จบ
Source - ทันหุ้น
Friday, April 19, 2024 08:03
ที่มา: นสพ.ทันหุ้น ฉบับวันที่ 19 เม.ย. 2567


คมนาคมรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดสายสีส้ม
*ส่งร่างสัญญาเข้าครม.พิจารณาเซ็นBEMทันที
*หากลงนามสัญญาได้ภายในปีนี้ยังต้องรอ3ปี
*จัดหาขบวนรถเปิดบริการส่วนตะวันออกปี70
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/973509057559662
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44649
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/04/2024 8:33 am    Post subject: Reply with quote

'สายสีส้ม'รอศาลชี้ขาด รฟม.ลุ้นเซ็นสัญญาปีนี้
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, April 27, 2024 06:23

"คมนาคม" รอศาลปกครองสูงสุดพิพากษาคดี "สายสีส้ม" 1.4 แสนล้านบาท ฟาก รฟม.ลุ้นลงนามสัญญาปีนี้ หลัง BEM พร้อมยื่นราคาประมูล เล็งปรับแผนเดินรถเปิดให้บริการบางช่วงก่อน คาด ส่วนตะวันตกเปิดให้บริการปี 2573 ล่าช้ากว่าแผนเดิม

โครงการรถไฟฟ้าสายส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังเป็นประเด็นร้อนรอศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดในคดีกีดกันการแข่งขัน แม้ตุลาการจะมีความเห็นยกฟ้อง โดยยึดคำพิพากษาศาลปกครองกลางออกมาก่อนหน้านี้ก็ตาม

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการลงนามสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูล เนื่องจากต้องรอคำพิพากษาจากศาลปกครองสูงสุดก่อน เพราะไม่สามารถก้าวล่วงอำนาจศาลฯได้ หากศาลฯตัดสินแล้วเราต้องพิจารณาว่าวินิจฉัยอย่างไร ปกติแล้วในคำวินิจฉัยของศาลฯ ส่วนใหญ่จะมีนัยยะความหมายอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องให้ฝ่ายกฎหมายไปอ่านคำพิพากษาและตีความให้ละเอียด

"ขณะนี้รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันออกได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาเสร็จแล้ว ส่วนอีกช่วงหนึ่งต้องดำเนินการแล้วเสร็จไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่งในเร็ววัน ขณะนี้บรรยากาศประเทศดีขึ้นในหลายมิติ เชื่อว่าสามารถดำเนินการได้ หากศาลฯตัดสินคดีแล้วเห็นชอบ หลังจากนั้นจะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบสัญญาการร่วมลงทุนโครงการฯตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ (PPP) เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีการเสนอต่อครม.แล้ว แต่ถูกถอนวาระออกมาก่อน"
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจะได้ลงนามสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูลภายในปีนี้หรือไม่นั้น เรื่องนี้ยังตอบไม่ได้ เพราะปัจจุบันอยู่ระหว่างรอศาลปกครองสูงสุดพิพากษาคดีก่อน หากครม.เห็นชอบผลการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้วจึงจะลงนามสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูลต่อไป

ปัจจุบันบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่อยู่ระหว่างรอลงนามสัญญา ขณะนี้เอกชนยืนยันที่จะยืนราคาเดิมอยู่ ถึงแม้ว่าจะเลยกำหนดแล้ว แต่เชื่อว่าเอกชนจะยืนราคา จนกว่าจะมีการลงนามสัญญา

ทั้งนี้หากมีการลงนามสัญญาแล้วจะสามารถก่อสร้างช่วงตะวันตกได้เลยหรือไม่นั้น ตามปกติแล้วจะต้องดำเนินการออกแบบรายละเอียดโครงการฯ ก่อน ซึ่งใช้ระยะเวลาหนึ่ง โดยในระหว่างนี้จะต้องขอใช้พื้นที่สาธารณะต่างๆก่อนถึงจะเริ่มดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อก่อสร้างได้ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ 4-6 เดือน ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ภายหลังจากการลงนามสัญญาแล้วเสร็จ คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2573 ส่งผลให้สายตะวันตกจะเปิดให้บริการล่าช้ากว่าแผนเดิม

แหล่งข่าวจากรฟม.กล่าวต่อว่า ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วง ปัจจุบันงานโยธาก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถเปิดให้บริการได้เลยหรือไม่นั้น มองว่างานระบบรถไฟฟ้าของสายตะวันออกถูกพ่วงในสัญญาของการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ทำให้ต้องรอลงนามสัญญานี้ก่อนจึงจะเริ่มดำเนินการในส่วนที่เหลือได้

"เชื่อว่ารถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก สามารถเปิดให้บริการได้ก่อนอยู่แล้ว เพราะปัจจุบันเหลือเพียงงานติดตั้งระบบ ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปีกว่า คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ภายในปี 2570 ก่อนสายตะวันตก ทั้งนี้การเปิดเดินรถ หากเริ่มดำเนินการแล้วจะต้องหารือร่วมกันอีกครั้ง เพราะรฟม.พยายามเร่งรัดเปิดให้บริการได้บางช่วงก่อน โดยที่ไม่ต้องรอให้ก่อสร้างแล้วเสร็จครบ 100%"
สำหรับการดำเนินการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ผ่านมาได้มีเอกชนฟ้องร้องเป็นคดีความ ซึ่งปัจจุบันเหลือ 1 คดี ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด คือ คดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสฟ้องการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ครั้งที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมายถือเป็นการกีดกันด้านการแข่งขัน

หากย้อนไปวันที่ 11 เมษายน 2567 ศาลปกครองสูงสุดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีที่บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ถูกฟ้องคดีที่ 1 กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีร่วมกันออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนโดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิมตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ชอบด้วยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อันมีลักษณะเป็นการกีดกันการแข่งขันอย่างเป็นธรรมจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล

ทั้งนี้ตุลาการผู้แถลงคดี ศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.1437/2566 เห็นว่าคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า ประกาศเชิญชวนและเอกสาร RFP ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นการละเมิดผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ถ้าละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ เพียงใด ซึ่งศาลวินิจฉัยโดยสรุป ว่าตุลาการ มีความเห็น ยกฟ้องคดีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยึดคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ยันเอกสาร RFP ฉบับเดือน พ.ค. 65 ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กีดกันการแข่งขัน ลุ้นศาลปกครองสูงสุดนัดพิพากษา

"ขณะนี้ยังไม่ได้มีการลงนามสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูล เนื่องจากต้องรอคำพิพากษาจากศาลปกครองสูงสุดก่อน เพราะไม่สามารถก้าวล่วงอำนาจศาลฯได้"

บรรยายใต้ภาพ
สุรพงษ์ ปิยะโชติ

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 เม.ย. - 1 พ.ค. 2567


The Orange Line Metro, Thailand: Delayed due to Legal Challenges

The Orange Line Metro, a significant public transportation project in Bangkok, Thailand, is facing delays due to ongoing legal challenges. The project, worth 140 billion baht, aims to connect Bang Khun Non in the west to Min Buri in the east, with 29 stations along the 35.9 km route. However, its progress has been hindered by a lawsuit filed by Bangkok Mass Transit System Plc (BTMS) against the Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) and the selection committee.

BTMS alleges that the MRTA and the selection committee unfairly disqualified them from the bidding process for the Orange Line project's second phase. The case is currently under consideration by the Supreme Administrative Court, and its decision will significantly impact the project's timeline.

Despite the legal hurdles, MRTA remains optimistic about the project's completion. They are confident that the Supreme Administrative Court will rule in their favor, allowing them to proceed with the project. If the court's decision is favorable, MRTA expects to sign a contract with BEM, the project's winner, within this year.

The Eastern section of the Orange Line, which is already under construction, is expected to be completed first. While the original plan called for the entire line to be operational by 2024, the delays will likely push the Western section's completion to 2030.

Key Points:

The Orange Line Metro project is facing delays due to a legal challenge by BTMS.
The Supreme Administrative Court's decision will be crucial for the project's progress.
MRTA remains optimistic about the project's completion and expects to sign a contract with BEM this year.
The Eastern section is expected to be completed first, with the Western section's completion pushed to 2030.

Additional Notes:

The Orange Line Metro is an essential part of Bangkok's public transportation network, aiming to alleviate traffic congestion and improve connectivity.
The project's delays are unfortunate, but the legal challenges must be addressed to ensure a fair and transparent procurement process.
MRTA's efforts to expedite the project's completion are commendable, and the public eagerly awaits the line's operation.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 89, 90, 91
Page 91 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©