Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273908
ทั้งหมด:13585204
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 72, 73, 74 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2022 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสสวนกลับ รฟม.ยันเสนอราคา "สีส้ม" 9.6 พันล้าน ต่ำและทำได้จริง
เผยแพร่: 17 ก.ย. 2565 13:25
ปรับปรุง: 17 ก.ย. 2565 13:25
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

บีทีเอส สวนกลับรฟม.ยันเสนอราคาอุดหนุนสายสีส้ม ต่ำกว่าเอกชนอีก 2 ราย หลายหมื่นล้านบาทและทำได้จริง ถามใครรับผิดชอบ ประเทศสูญเสีย และยังให้เอกชนมีลักษณะต้องห้ามร่วมประมูล ส่วนอีกรายรฟม.เป็นผู้ถือหุ้นด้วย

วันที่ 17 ก.ย.2565 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์ โต้กลับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีการเสนอราคาประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ -
มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

ตามที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ("บริษัทฯ") ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนของบริษัทและพันธมิตรที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ("คณะกรรมการคัดเลือกฯ") และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ("รฟม.") เมื่อช่วงปี 2563 โดยขอรับเงินสนับสนุนค่างานโยธา คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) เป็นจำนวนรวม 79,820.40 ล้านบาท และจ่ายเงินตอบแทนให้ รฟม. คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) เป็นจำนวนรวม 70,144.98 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทฯ และพันธมิตรจึงขอเงินสนับสนุนจากภาครัฐ จำนวนรวมเพียง 9,676 ล้านบาท

ต่อมา รฟม. ได้ออกข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับที่ 59/2565 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 โดยระบุว่า แม้ BTSC จะนำข้อมูลด้านการลงทุนและผลตอบแทนในการยื่นข้อเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เมื่อปี 2563 มาแสดง แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกับผลการยื่นข้อเสนอในการคัดเลือกเอกชนปัจจุบันได้ เพราะไม่ทราบว่าข้อเสนอด้านคุณสมบัติ และข้อเสนอด้านเทคนิค จะผ่านเกณฑ์การพิจารณาหรือไม่ รวมทั้งมีความเป็นไปได้ ถูกต้อง และน่าเชื่อถือเพียงใด จึงไม่อาจชี้ชัดได้ว่าข้อเสนอของ BTSC จะเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐจริงตามที่ได้ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชน และยังตั้งข้อสังเกตว่าตัวเลขดังกล่าวของ BTSC มีความแตกต่างจากผลการศึกษาที่ รฟม. นำเสนอขออนุมัติโครงการต่อคณะรัฐมนตรีไว้เป็นจำนวนมาก เพราะผลการศึกษาก็ได้ใช้สมมติฐานทางการเงินตาม MRT Assessment Standardization ที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นสมมติฐานที่น่าเชื่อถือ และใช้ในทุกโครงการของ รฟม. อีกทั้งยังยืนยันว่าการประมูลโครงการนี้มีลักษณะเปิดกว้างให้เอกชนเข้าร่วม

บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า เหตุที่ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เพราะเห็นว่าการประมูลนี้ไม่สุจริต ชี้ให้เห็นพฤติการณ์ต่างๆ ที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ไม่โปร่งใส และกีดกัน โดยบริษัทฯ ต้องการเห็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มมีการประมูลที่โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. เคยจัดการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มมาแล้วในปี 2563 ต่อมาเมื่อเอกชนได้ซื้อซองข้อเสนอแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ กลับแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชน จนทำให้บริษัทฯ ต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีแรก และเมื่อศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับไม่ให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ใช้เอกสารการคัดเลือกเอกชนที่แก้ไขดังกล่าว

แทนที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะปฏิบัติตามคำสั่งศาล กลับมีมติยกเลิกการประมูลในครั้งดังกล่าว และเปิดประมูลโครงการครั้งใหม่เมื่อกลางปี 2565 โดยปรับเปลี่ยนคุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้มีสิทธิเข้ายื่นข้อเสนอให้แตกต่างไปจากเดิม จนทำให้บริษัทฯ และพันธมิตร ซึ่งเป็นเอกชนที่เคยมีคุณสมบัติและสามารถเข้าประมูลได้ในครั้งที่ผ่านมา กลับไม่สามารถเข้าประมูลในครั้งนี้ได้ ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า เป็นการกระทำที่มีเจตนากีดกันบริษัทฯ และพันธมิตรไม่ให้มีโอกาสเข้าแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและยังอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้เสนอราคารายหนึ่งรายใด ซึ่งขัดต่อวัตถุประสงค์ของโครงการ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี และคำพิพากษาศาลปกครอง บริษัทฯ จึงฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลยกเลิกเพิกถอนประกาศเชิญชวนฯ และเอกสารการคัดเลือกเอกชนฉบับใหม่ คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง

ทั้งนี้จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อสาธารณะแล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนจนปราศจากข้อสงสัยว่า ข้อเสนอของบริษัทฯ และพันธมิตรเป็นข้อเสนอที่ ทำให้ภาครัฐสามารถประหยัดเงินลงทุนและไม่เป็นภาระทางการคลังของประเทศเกินจำเป็น และ/หรือ ได้รับประโยชน์สูงสุด ในขณะที่ประเทศกำลังประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก และเป็นข้อเสนอที่ทำให้ ภาระค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐในภาพรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสม และช่วยลดผลกระทบต่อการจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับการลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต ซึ่งบริษัทฯ และพันธมิตร ขอยืนยันว่า
“ตัวเลขตามข้อเสนอดังกล่าว เป็นข้อเสนอที่ทำได้จริง” เนื่องจากบริษัทฯ และพันธมิตรมีประสบการณ์ยาวนานและประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการให้บริการเดินรถไฟฟ้ามาโดยตลอด และมั่นใจว่าผลประโยชน์ที่ภาครัฐได้รับจะสูงกว่าของเอกชนที่ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 ราย จำนวนหลายหมื่นล้านบาท

พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แท้จริงแล้วไม่ได้มีการเปิดกว้างแบบที่ รฟม. กล่าวอ้าง เนื่องจากเอกชนที่ยื่นข้อเสนอจำนวน 2 รายนั้น มีเอกชน 1 รายที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายไม่ให้เข้าร่วมและ/หรือได้รับคัดเลือกเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนได้ ในขณะที่เอกชนที่เหลืออยู่อีก 1 รายก็คือ เอกชนที่ รฟม. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับที่ 2 นั่นเอง แต่แม้กระนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ก็ยังเดินหน้าพิจารณาซองข้อเสนอด้านเทคนิคของเอกชนที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าว และหลังจากที่ใช้เวลาพิจารณาเพียงประมาณ 1 สัปดาห์ (ซึ่งน่าจะเป็นการพิจารณาซองข้อเสนอด้านเทคนิคที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์การประมูลโครงการร่วมลงทุนที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้) คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ก็ยังให้เอกชนรายที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวผ่านการพิจารณาซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติและด้านเทคนิคโดยไม่สนใจข้อทักท้วงใด ๆ อันเป็นการกระทำที่ผิดปกติอย่างยิ่ง

ดังนั้นเมื่อพิจารณาพฤติกรรมที่ผ่านมาของคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือก (ซึ่งไม่สามารถทำได้สำเร็จ เพราะศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว) การยกเลิกการประมูล การกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นประมูลครั้งใหม่ให้แตกต่างไปจากเดิม การเปิดเผยตัวเลขข้อเสนอของบริษัทฯ จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ยืนยันได้ว่าการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้ ผู้เกี่ยวข้องมีเจตนาที่ไม่สุจริตอย่างชัดเจน เพราะหากไม่กำหนดเงื่อนไขที่เป็นการกีดกัน บริษัทฯ และพันธมิตรผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ จะสามารถประหยัดงบประมาณของรัฐบาลได้หลายหมื่นล้านบาท จึงเป็นคำถามว่า หาก รฟม.ประกาศให้ผู้ชนะการประมูลเป็นไปตามตัวเลขที่ปรากฎ วงเงินงบประมาณหลายหมื่นล้านบาทที่รัฐบาลต้องสูญเสีย “ใครจะรับผิดชอบ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2022 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บีทีเอสสวนกลับ รฟม.ยันเสนอราคา "สีส้ม" 9.6 พันล้าน ต่ำและทำได้จริง
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 13:25 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 13:25 น.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“บีทีเอส” ถามหาคนรับผิดชอบ ประมูลรถไฟฟ้าสีส้มทำรัฐสูญหลายหมื่นล้าน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันเสาร์ ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 12:01 น.

“บีทีเอส” แจงรัวๆ เหตุต้องเปิดข้อมูลข้อเสนอประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม พบประมูลใหม่ไม่สุจริต กีดกัน ชี้บีทีเอสขอรับสนับสนุนเพียง 9,676 ล้าน ถูกกว่าเอกชนอีก 2 ราย ย้ำเป็นข้อเสนอที่ทำได้จริง ถามหาใครจะรับผิดชอบ ทำให้รัฐต้องสูญงบหลายหมื่นล้าน


ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC แจ้งว่า สาเหตุที่บริษัทฯ ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนของบริษัทและพันธมิตร ที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เมื่อช่วงปี 63 เพราะเห็นว่าการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ไม่สุจริต ชี้ให้เห็นพฤติการณ์ต่างๆ ที่มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ไม่โปร่งใส และกีดกัน โดยบริษัทฯต้องการเห็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มมีการประมูลที่โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง


ในการประมูลช่วงปี 63 บริษัทฯ ได้ขอรับเงินสนับสนุนค่างานโยธา คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) เป็นจำนวนรวม 79,820.40 ล้านบาท และจ่ายเงินตอบแทนให้ รฟม. คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) เป็นจำนวนรวม 70,144.98 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทฯ และพันธมิตรจึงขอเงินสนับสนุนจากภาครัฐ จำนวนรวมเพียง 9,676 ล้านบาท จึงเห็นได้อย่างชัดเจนจนปราศจากข้อสงสัยว่า ข้อเสนอของบริษัทฯ และพันธมิตรเป็นข้อเสนอที่ ทำให้ภาครัฐสามารถประหยัดเงินลงทุน และไม่เป็นภาระทางการคลังของประเทศเกินจำเป็น และ/หรือ ได้รับประโยชน์สูงสุด ในขณะที่ประเทศกำลังประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก และเป็นข้อเสนอที่ทำให้ ภาระค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐในภาพรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสม และช่วยลดผลกระทบต่อการจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับการลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต

บริษัทฯ และพันธมิตร ขอยืนยันว่า ตัวเลขตามข้อเสนอดังกล่าว เป็นข้อเสนอที่ทำได้จริง เนื่องจากบริษัทฯ และพันธมิตรมีประสบการณ์ยาวนาน และประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการให้บริการเดินรถไฟฟ้ามาโดยตลอดและมั่นใจว่าผลประโยชน์ที่ภาครัฐได้รับจะสูงกว่าของเอกชนที่ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 ราย จำนวนหลายหมื่นล้านบาทอย่างไรก็ตามขอตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม แท้จริงแล้วไม่ได้มีการเปิดกว้างแบบที่ รฟม. กล่าวอ้าง เนื่องจากเอกชนที่ยื่นข้อเสนอจำนวน 2 รายนั้น มีเอกชน 1 ราย ที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายไม่ให้เข้าร่วมและ/หรือได้รับคัดเลือกเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนได้ ขณะที่เอกชนที่เหลืออีก 1 ราย ก็คือเอกชนที่ รฟม. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับที่ 2 นั่นเอง


แต่แม้กระนั้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ก็ยังเดินหน้าพิจารณาซองข้อเสนอด้านเทคนิคของเอกชนที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าว และหลังจากที่ใช้เวลาพิจารณาเพียงประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งน่าจะเป็นการพิจารณาซองข้อเสนอด้านเทคนิคที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์การประมูลโครงการร่วมลงทุนที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ก็ยังให้เอกชนรายที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายผ่านการพิจารณาซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติและด้านเทคนิคโดยไม่สนใจข้อทักท้วงใด ๆ อันเป็นการกระทำที่ผิดปกติอย่างยิ่ง

ดังนั้นเมื่อพิจารณาพฤติกรรมที่ผ่านมาของคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือก การยกเลิกการประมูล การกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นประมูลครั้งใหม่ให้แตกต่างไปจากเดิม การเปิดเผยตัวเลขข้อเสนอของบริษัทฯ จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ยืนยันได้ว่าการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งนี้ ผู้เกี่ยวข้องมีเจตนาที่ไม่สุจริตอย่างชัดเจน เพราะหากไม่กำหนดเงื่อนไขที่เป็นการกีดกันบริษัทฯ และพันธมิตรผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ จะสามารถประหยัดงบประมาณของรัฐบาลได้หลายหมื่นล้านบาท จึงเป็นคำถามว่า หาก รฟม. ประกาศให้ผู้ชนะการประมูลเป็นไปตามตัวเลขที่ปรากฏ วงเงินงบประมาณหลายหมื่นล้านบาทที่รัฐบาลต้องสูญเสียใครจะรับผิดชอบ. https://www.dailynews.co.th/news/1479801/


BEM คว้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก รฟม.จ่อเรียกเจรจาต่อรองตามอาร์เอฟพี
ในประเทศ
วันศุกร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:31 น.

วันที่ 16 กันยายน 2565 รายงานข่าวการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า ตามที่ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หรือคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการเปิดซองข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม และ ITD Group โดยมีผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมและผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 เข้าร่วม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และร่วมเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 นั้น



รายงานข่าวระบุว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาผลการประเมินซองข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซึ่งผลปรากฏว่า บีอีเอ็ม เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด ทั้งนี้ ในลำดับถัดไป รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะดำเนินการเชิญผู้ผ่านการประเมินสูงสุดดังกล่าวมาเจรจาต่อรอง ตามขั้นตอนที่ระบุในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (อาร์เอฟพี) และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป



รายงานข่าวระบุว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2022 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

สุดแสนเสียดาย ! ถ้าไม่ล้มประมูลสายสีส้มครั้งที่ 1 จะมีเงินหลือ 6.8 หมื่นล้าน ? สร้างรถไฟฟ้าได้อีกสาย สบายๆ
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
วันอังคาร ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 08:21 น.

ผลพวงจากการประมูลหาเอกชนให้ร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก และเดินรถตลอดสายทั้งช่วงตะวันตกและตะวันออกซึ่งต้องประมูลถึง 2 ครั้ง อาจทำให้ รฟม. ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นถึง 6.8 หมื่นล้าน เงินจำนวนมหาศาลนี้ซึ่งเป็นภาษีของพวกเราสามารถนำไปสร้างรถไฟฟ้าได้อีกสายอย่างสบายๆ น่าเสียดายมั้ยครับ ?
1. เงินก้อนใหญ่ 6.8 หมื่นล้าน คิดมาได้อย่างไร ?
1.1 การประมูลครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนให้ร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และเดินรถตลอดสายทั้งช่วงตะวันตกและตะวันออก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) แต่ในระหว่างการประมูล รฟม. ได้เปลี่ยนเกณฑ์ประมูล ทำให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ฟ้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาว่า เกณฑ์ประมูลเดิมชอบด้วยกฎหมายแล้ว และการแก้ไขเกณฑ์ประมูลนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ รฟม. ไม่เห็นด้วย จึงเดินหน้าสู้ด้วยการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ยังไม่ทันที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งลงมา รฟม. ได้ชิงล้มการประมูลไปก่อน
การประมูลครั้งที่ 1 มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 2 ราย ประกอบด้วย (1) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC และ (2) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
แม้การประมูลครั้งที่ 1 จะถูกล้มไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อเร็วๆ นี้ BTSC ได้ขอเอกสารที่ยื่นประมูลคืนจาก รฟม. และได้เปิดซอง “ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน” ต่อหน้าสื่อมวลชน พบว่า BTSC ได้เสนอเงินตอบแทนให้ รฟม. 70,144.98 ล้านบาท และขอรับเงินสนับสนุนค่าก่อสร้างจาก รฟม. 79,820.40 ล้านบาท เป็นผลให้ รฟม. จะต้องให้เงินสนับสนุนแก่ BTSC 9,675.42 ล้านบาท หลังจากหักเงินตอบแทนที่ BTSC เสนอให้ รฟม. แล้ว (79,820.40-70,144.98)
เงินสนับสนุนจำนวน 9,675.42 ล้านบาทนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับเงินที่ รฟม. จะต้องสนับสนุนผู้ชนะการประมูลครั้งที่ 2 คือ BEM ทำให้ผู้ติดตามการประมูลแทบล้มทั้งยืน ! เพราะต่ำกว่ามาก
1.2 การประมูลครั้งที่ 2
หลังจากการประมูลครั้งที่ 1 ถูกล้มไปแล้ว รฟม. ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนให้ร่วมลงทุนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ปรากฏว่ามีเอกชนยื่นข้อเสนอ 2 ราย ประกอบด้วย (1) BEM และ (2) ITD Group ซึ่งประกอบด้วย ITD และ Incheon Transit Corporation หรือ ITC ผู้เดินรถไฟฟ้าจากเกาหลี ส่วน BTSC ไม่สามารถยื่นข้อเสนอได้ เพราะหาผู้รับเหมามาเป็นผู้ร่วมยื่นข้อเสนอไม่ได้ อาจเป็นที่สงสัยว่าทำไมในการประมูลครั้งที่ 1 BTSC จึงสามารถหาผู้รับเหมาได้ แต่ครั้งที่ 2 กลับหาไม่ได้ ขอตอบว่า มีการปรับแก้คุณสมบัติของผู้รับเหมาให้ผ่านเกณฑ์ยากขึ้นกว่าครั้งที่ 1
ก่อนหน้าที่ BTSC จะเปิดซอง “ข้อเสนอการลงทุนและผลตอบแทน” ของตนเองนั้น รฟม. ได้เปิดซองดังกล่าวของ BEM และของ ITD Group พบว่า รฟม. จะต้องให้เงินสนับสนุนแก่ BEM จำนวน 78,287.95 ล้านบาท (หลังจากหักเงินตอบแทนที่ BEM เสนอให้ รฟม. แล้ว) และให้แก่ ITD Group จำนวน 102,635.66 ล้านบาท (หลังจากหักเงินตอบแทนที่ ITD Group เสนอให้ รฟม. แล้ว) ส่งผลให้ BEM เป็นผู้ชนะการประมูล เนื่องจาก รฟม. จะต้องให้เงินสนับสนุนน้อยกว่านั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม รฟม. ไม่ได้เปิดเผยจำนวนเงินตอบแทนที่ BEM เสนอให้แก่ รฟม. และจำนวนเงินที่ BEM ขอรับการสนับสนุนค่าก่อสร้างจาก รฟม. เพียงแต่เปิดเผยจำนวนเงินที่ รฟม. จะต้องสนับสนุนให้แก่ BEM หลังจากหักเงินตอบแทนที่ BEM เสนอให้ รฟม. แล้วเท่านั้น
1.3 ส่วนต่างของเงินสนับสนุนจาก รฟม. ระหว่างการประมูลครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2
กรณีไม่ล้มการประมูลครั้งที่ 1 อาจเป็นไปได้ที่ BTSC จะชนะการประมูล ส่งผลให้ รฟม. จะต้องให้เงินสนับสนุนเพียง 9,675.42 ล้านบาทเท่านั้น แต่กรณีล้มการประมูลครั้งที่ 1 และเปิดการประมูลครั้งที่ 2 ทำให้ รฟม. ต้องให้เงินสนับสนุนเพิ่มขึ้นเป็น 78,287.95 ล้านบาท หรือให้เงินสนับสนุนมากขึ้นถึง 68,612.53 ล้านบาท (78,287.95-9,675.42)
2. เงินจำนวน 6.8 หมื่นล้าน สร้างรถไฟฟ้าได้ยาวแค่ไหน ?
เมื่อเปรียบเทียบกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม. ทั้งรถไฟฟ้ารางหนัก (Heavy Rail) และรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail) ประเภทรางเดี่ยวหรือโมโนเรล (Monorail) โดยรถไฟฟ้ารางหนักจะขนผู้โดยสารได้มากกว่ารถไฟฟ้าโมโนเรล พบว่า รฟม. ใช้เงินลงทุนในสายต่างๆ ดังนี้
(1) สายสีม่วงเหนือ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางหนัก ระยะทาง 23 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 62,902.96 ล้านบาท คิดเป็นเงินลงทุนเฉลี่ยกิโลเมตรละ 2,735 ล้านบาท
(2) สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 53,490 ล้านบาท คิดเป็นเงินลงทุนเฉลี่ยกิโลเมตรละ 1,550 ล้านบาท
(3) สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 51,810 ล้านบาท คิดเป็นเงินลงทุนเฉลี่ยกิโลเมตรละ 1,704 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาทั้งสายสีชมพูและสายสีเหลืองรวมกัน (ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลเหมือนกัน) พบว่าใช้เงินลงทุนเฉลี่ยกิโลเมตรละ 1,622 ล้านบาท
ดังนั้น เงินที่ รฟม. ต้องสนับสนุนค่าก่อสร้างสายสีส้มตะวันตกเพิ่มขึ้นถึง 68,612.53 ล้านบาทนั้น สามารถนำไปสร้างรถไฟฟ้าได้เป็นระยะทางดังนี้
(1) กรณีรถไฟฟ้ารางหนักดังเช่นสายสีม่วงเหนือ จะสร้างได้เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร
(2) กรณีรถไฟฟ้าโมโนเรลดังเช่นสายสีชมพูหรือสายสีเหลือง จะสร้างได้เป็นระยะทาง 42 กิโลเมตร
รถไฟฟ้าระยะทางดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้ารางหนักหรือรถไฟฟ้าโมโนเรล จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในการเดินทางให้พวกเราได้ไม่น้อย
หมายเหตุ : ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/654884602670979
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/09/2022 6:52 am    Post subject: Reply with quote

ข้อเสนอชิงรถไฟฟ้าสายสีส้ม บวกดอกเบี้ย10% BTS ยังถูกกว่าอื้อ!
หน้าแรก เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 22 ก.ย. 2565 เวลา 5:55 น.

วงการรับเหมาตั้งสมมุติฐาน ชิงสายสีส้ม ข้อเสนอขอสนับสนุนก่อสร้าง บีทีเอส รอบแรก ลบ 9,675.42 ล้านหากชาร์จ ดอกเบี้ย 10% ยังต่ำกว่า ประมูลรอบสอง ขอรับสนับสนุนเงินค่าก่อสร้าง 78,287.95 ล้าน ‘สามารถ ราชพลสิทธิ์’ ย้ำชัดนำตัวเลขมาบวกลบกันได้ทันที รัฐเสียประโยชน์ 6.8 หมื่นล้าน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประกาศผล การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวิทวงศ์) รอบที่สอง มูลค่า 1.4แสนล้านบาท ว่า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM คือผู้ชนะประมูล

โดยแบ่งเป็นการก่อสร้างเส้นทางสายสีส้มช่วงตะวันตก(บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม)ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร และการสัมปทานเดินรถทั้งระบบ (ช่วงตะวันออก-ตกวันตก) ระยะทางรวม 35.9 กิโลเมตร เป็นเวลา 30 ปี

ข้อเสนอชิงรถไฟฟ้าสายสีส้ม บวกดอกเบี้ย10% BTS ยังถูกกว่าอื้อ!

โดยเสนอผลประโยชน์สุทธิ (ประมูลครั้งที่2) ที่ -78,287.95ล้านบาท หรือขอรับเงินสนับสนุนก่อสร้างสุทธิจากรฟม.เป็นมูลค่าณปีปัจจุบัน 78,287.95ล้านบาท เปรียบเทียบกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC

ที่เปิดตัวเลข ที่เคยยื่นข้อเสนอประมูล รอบแรก ขอรับเงินสนับสนุนก่อสร้างสุทธิจาก รฟม.เป็นมูลค่าณปีปัจจุบัน เพียง 9,675.42 ล้านบาท เมื่อนำตัวเลขมาหักลบกันพบว่าห่างกัน มากถึง 68,612.53 ล้านบาท ทำให้รฟม.ถูกจับตามองว่าเป็นตัวเลขที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์มากกว่ากันหลายเท่าตัว

ทั้งนี้ มีคนในแวดวงก่อสร้าง ตั้งสมมุติฐานว่า ตัวเลขของ BTSC ตั้งแต่ซื้อซองประกวดราคาเมื่อปี2563ไปจนถึงการยกเลิกประมูลรอบแรก วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ขอรับเงินสนับสนุนสุทธิจากรฟม. วงเงิน 9,675.42 ล้านบาท

เมื่อคำนวณบวกด้วยดอกเบี้ยที่ 10% เป็นเวลา 1 ปี จะอยู่ประมาณ 967 ล้านบาทและเมื่อนำเงินต้นมารวมกันจะเท่ากับ 10,642 ล้านบาท หาก BTSC จะใช้ตัวเลขคำนวณนี้ที่บวกค่าเสียโอกาสเสนอเข้าไปร่วมประมูลรอบสองรัฐก็ยังเสียประโยชน์น้อยกว่าอยู่ดี

อย่างไรก็ตามนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ว่า การคำนวณส่วนต่างที่รัฐเสียประโยชน์มากน้อยแค่ไหน สามารถนำตัวเลขขอรับสนับสนุนมาบวกลบได้ทันทีหรืออาจคำนวณโดยมีดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากระยะเวลาการประมูล ห่างกัน ระหว่างรอบแรกและรอบที่สอง เพื่อความเป็นธรรมของอีกฝั่ง

ขณะนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตามกติกาของการ เปรียบเทียบว่าสายสีส้มทำให้รัฐเสียประโยชน์มากน้อยแค่ไหนนั้นสามารถนำตัวเลข การขอรับเงินสนับสนุน ก่อสร้าง จากการประมูลรอบแรกและรอบที่สอง มาหักลบกันได้เลย คือ 78,287.95 ล้านบาท (รอบสอง) ลบ 9,675.42 ล้านบาท (รอบแรก) เหลือส่วนต่าง 68,612.53 ล้านบาท

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ 1. ราคากลางของการประมูลรอบแรกและรอบสอง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังอยู่ที่วงเงิน 96,012 ล้านบาท 2.ผลตอบแทนตามระยะเวลา 30 ปี ไม่เปลี่ยน แปลง และ 3.ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปียังคงเดิม

ดังนั้นตัวเลขที่เป็นส่วนต่างที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์ รฟม.สามารถก่อสร้างรถไฟฟ้าได้อีก เส้นทาง เทียบจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางหนักแบบสายสีม่วงเหนือ (บางใหญ่-บางซื่อ) ได้ 25 กิโลเมตร หรือก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลแบบสายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) หรือสายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) ได้ยาวถึง 42 กิโลเมตร

ขณะเหตุผลที่รัฐให้ความสำคัญกับงานก่อสร้างสายสีส้มตะวันตกค่อนข้างมากเพราะ เป็นเส้นทางใต้ดินตลอดเส้นทาง ที่รฟม.อ้างว่าต้องใช้ เทคนิคชั้นสูงพร้อมการกำหนดเกณฑ์ ทีโออาร์ที่เข้มข้น ที่ในประเทศหรือทั้งโลกมีเพียงสองรายเท่านั้นที่สามารถผ่านคุณสมบัติ

ได้แก่ บริษัทช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ส่วนการลงทุนระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถมีสองรายคือ BEM กับ BTSC โดยวงเงินการลงทุนระบบราง ราคากลางเฉลี่ย 32,000 ล้านบาท

สำหรับเกณฑ์การประมูลโครงการฯในรอบสอง มีการกำหนดคุณสมบัติด้านงานโยธา สายสีส้มตะวันตก 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1.อุโมงค์, สถานี, การติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 3 เกณฑ์ต้องมีคุณสมบัติร่วมกับรัฐบาลไทย

ซึ่งมีผู้รับเหมาเพียงไม่กี่รายเข้ายื่นประมูลในรอบนี้ ท้ายที่สุดที่สามารถยื่นประมูลได้เหลือเพียง 1 ราย คือ บริษัทที่ได้ข้อเสนอดีที่สุด ส่วนอีก 1 ราย คือ ITD อาจไม่ผ่านคุณสมบัติเนื่องจากติดปัญหาเรื่องกรรมการของบริษัทดังกล่าว

ทั้งนี้ตามหลักการของพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 62 (PPP) มีการเปิดกว้าง โดยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ระบุชัดเจนว่า จะต้องเป็นการประมูล International Bidding ซึ่งควรเป็นการเปิดกว้างในการประมูลให้กับบริษัทต่างชาติร่วมลงทุนได้ แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวระบุว่า ผู้รับเหมาต้องมีประสบการณ์ด้านงานโยธาเฉพาะในประเทศเท่านั้น ซึ่งชัดเจนแล้วที่มีผู้ยื่นได้เพียงรายเดียวเท่านั้น

ขณะคดีในศาลปกครองที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจำนวน 3 คดี ประกอบด้วย 1.คดีเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะในการประมูลรอบแรก 2. คดียกเลิกการประกวดราคา และคำสั่งของผู้ว่าการ รฟม.ที่มีคำสั่งและออกประกาศยกเลิกการประกวดราคาโครงการสายสีส้ม เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ปัจจุบันศาลปกครองกลางได้พิพากษาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565

ชี้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุด และ 3.คดีกำหนดหลักเกณฑ์ประมูลรถสายสีส้มครั้งที่สอง ชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นคดีล่าสุดที่ศาลปกครองกลางรับไว้พิจารณา

ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนพิจารณา นอกจากนี้ยังมีอีก 1 คดี คือ คดียกเลิกการประมูล ซึ่งศาลนัด 27 กันยายน 2565 ชี้ว่ามีมูลความผิดหรือไม่ ซึ่งอยู่ในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2022 1:15 pm    Post subject: Reply with quote

'ก้าวไกล' แฉประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มมีเงินหล่น 6.8 หมื่นล้าน!
22 กันยายน 2565 เวลา 12:02 น.


“สุรเชษฐ์” แฉ ฮั้วประมูลรถไฟสายสีส้ม จ่อ เซ็นกินส่วนต่าง 6.8 หมื่นล้าน
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
22 กันยายน 2565 เวลา 12:39 น.

'สุรเชษฐ์' แฉรถไฟสายสีส้มเปลี่ยนเกณฑ์กลางอากาศปี 2563 ก่อนเปิดประมูลใหม่ ทำเงินหล่นกว่า 6.8 หมื่นล้านเตรียมเรียก 'BTS-รฟม.' เข้าแจงอนุ กมธ.3 ต.ค.นี้พร้อมถ่ายทอดสด
ก้าวไกล เผย ประมูล สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม จ่อเรียก BTS-BEM-รฟม. เข้าแจง อนุฯ กมธ.3 ต.ค.นี้ แฉ เปลี่ยนเกณฑ์กลางอากาศปี 63 ก่อนประมูลใหม่ปี 65 ปูด จ่อ กินส่วนต่างกว่า 6.8 หมื่นล้าน

วันที่ 22 ก.ย. นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงข่าวกรณีการประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่าผู้ชนะคือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เนื่องจากคู่แข่งคือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ BTS ถูกกีดกันไม่ให้เข้าประมูล ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของรัฐบาลกว่า 68,000 ล้านบาท

นายสุรเชษฐ์ ระบุว่า ย้อนกลับไปในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มเมื่อปี 2563 รฟม. ภายใต้การกำกับดูแลของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หลังออกประกาศเชิญชวนได้มีเอกชนยื่นซองตาม ซึ่งมีบริษัทเอกชนที่ดำเนินกิจการเดินรถไฟฟ้า 2 เจ้าใหญ่ในประเทศไทย คือ BTS และ BEM เข้าร่วมประมูล

แต่ที่ไม่ปกติก็คือ รฟม. มีการเปลี่ยนเกณฑ์การให้คะแนนระหว่างการพิจารณากลางอากาศ อย่างมีนัยสำคัญต่อการพลิกผลแพ้ชนะ และนำไปสู่การฟ้องร้องโดย BTS ต่อ รฟม. หลายคดี คดียังคงคาราคาซังอยู่ในศาล แต่ รฟม. กลับเร่งรีบวิธีเปิดประมูลใหม่รอบ 2 โดยที่คดีเดิมข้อสรุปยังไม่มีความชัดเจน

“การประมูลรอบที่ 2 นี้มีข้อน่ากังขาหลายประการ มีการล็อกสเปกด้วยการนำเอาผู้รับเหมาก่อสร้าง มาเป็นคู่เทียบการเดินรถโดยเสนอราคาที่สูงเกินราคากลาง จนกล่าวได้ว่ามีการกีดกันการแข่งขันไม่ให้ BTS เข้าร่วม จนไม่เกิดการแข่งขันกันจริงๆ นอกจากนี้ ยังมีความเร่งรีบผิดปกติในขั้นตอนการพิจารณาซองที่ 2 : ข้อเสนอด้านเทคนิค 11 กล่อง ซึ่งปกติต้องใช้เวลาหลายเดือน แต่ รฟม. กลับพิจารณาเสร็จภายใน 10 วันเท่านั้น” สุรเชษฐ์กล่าว

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้มา หากไม่มีการเปลี่ยนเกณฑ์ระหว่างการประมูลในปี 2563 ในรอบแรก BTS จะเป็นผู้ชนะโดยรัฐอุดหนุนเพียง 9,675 ล้านบาทเท่านั้น แต่ด้วยเงื่อนไขการประมูลในปัจจุบัน กลายเป็นว่ารัฐจะต้องอุดหนุนเงินให้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มแก่ BEM คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสูงถึง 78,288 ล้านบาท นำไปสู่คำถามสำคัญ ว่าส่วนต่าง 68,613 ล้านบาทหายไปไหน และเหตุใดประชาชนต้องมาแบกความรับผิดชอบนี้

สุรเชษฐ์ยังระบุด้วย ว่าตัวเองในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ จึงจะเชิญทั้ง BTS และ รฟม. มาชี้แจงในที่ประชุมอนุกรรมาธิการ ในวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม เวลา 14:00 โดยจะขออนุญาตที่ประชุมทำการ Live สดการชี้แจงในครั้งนี้ด้วย และขอเชิญประชาชนทุกคนร่วมติดตามประเด็นนี้ไปด้วยกัน

“เราอยากให้การประมูลเป็นไปโดยไม่ล่าช้า แต่เราก็อยากตรวจสอบให้มั่นใจด้วยว่าราคาชนะประมูลที่ BEM จะได้ไปเหมาะสมหรือไม่ ขอให้ประชาชนทุกคนร่วมกันติดตาม อย่าปล่อยให้ รฟม. เร่งดำเนินการอย่างน่าเกลียด ดันผ่าน ครม. ก่อนที่ความจริงจะกระจ่าง อย่าให้เงินกว่า 6 หมื่นล้านบาทจากภาษีประชาชนลอยไปเข้ากระเป๋านายทุน ซึ่งผมไม่อาจทราบได้ว่าจะมีเงินทอนกลับเข้ามาให้ข้าราชการ รัฐมนตรีบางคน หรือพรรคการเมืองบางพรรคหรือไม่” สุรเชษฐ์กล่าว
https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/posts/649004583455564


Last edited by Wisarut on 27/09/2022 12:01 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/09/2022 7:39 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ จับกระแส: อลหม่านรถไฟฟ้าสายสีส้มจี้คมนาคมสอบฮั้วประมูล
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, September 26, 2022 04:10
วรรณิกา จิตตินรากร

wunnika.jick@hotmail.com

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอของเอกชนในโครงการร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 ก.ย.2565 โดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด เฉือนชนะคู่แข่งอย่าง ITD Group

โดยข้อเสนอของเอกชนทั้งสองราย พบว่า BEM เสนอผลประโยชน์สุทธิ ให้ รฟม. ติดลบ 78,287.95 ล้านบาท เกิดจากส่วนหักลบระหว่างข้อเสนอ ที่เอกชนจะตอบแทนให้รัฐ ลบกับส่วนที่เอกชนขอให้รัฐช่วยสนับสนุนเท่ากับว่า BEM เสนอผลตอบแทนให้ รฟม.น้อยกว่าเงินที่ขอรับสนับสนุนค่าก่อสร้างจาก รฟม. ทำให้ รฟม.จะต้องให้เงินสนับสนุนแก่ BEM เป็นจำนวน 78,287.95 ล้านบาท

ขณะที่ ITD Group ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และ Incheon Transit Corporation หรือ ITC ผู้เดินรถไฟฟ้าจากเกาหลีใต้ เสนอผลประโยชน์สุทธิให้ รฟม. ติดลบ 102,635.66 ล้านบาท เท่ากับว่า รฟม.จะต้องให้เงินสนับสนุนแก่ ITD Group เป็นจำนวน 102,635.66 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าข้อเสนอจากทาง BEM

มีเสียงวิพากษ์ทางสังคม เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อเสนอในการประกวดราคาครั้งที่ 1 ของทางกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR นำโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เสนอผลประโยชน์สุทธิให้ รฟม. ติดลบ 9,675.42 ล้านบาท เท่ากับว่า รฟม.จะต้องให้เงินสนับสนุนแก่ BTSC จำนวน 9,675.42 ล้านบาท

"การประกวดราคาครั้งที่ 2 รัฐต้องสนับสนุนมากกว่าครั้งที่ 1 มากถึง 68,612.53 ล้านบาท อลหม่านการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มไม่จบเพียงการเปรียบเทียบข้อเสนอของเอกชน"

โดยล่าสุด "คีรี กาญจนพาสน์" ประธานกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ทำหนังสือถึง ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา ถึงการคัดค้าน และไม่ให้ความเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

โดยระบุถึงข้อสังเกตเข้าข่ายการประมูลไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรม กับภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงคณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม.มีพฤติการณ์สมรู้ร่วมคิดให้มีการอ้างข้อเท็จจริงเพื่อให้กระบวนการคัดเลือกที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ถูกต้อง ทั้งๆ ที่ทราบโดยทั่วกันว่า ITD มี เปรมชัย กรรณสูต เป็นกรรมการและเป็นผู้มีอำนาจลงนาม ในนาม ITD ต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ซึ่งไม่ได้ เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และปัจจุบันยังรับโทษอยู่ในเรือนจำทำให้เป็นเอกชนที่มีคุณลักษณะไม่สมควรแต่คณะกรรมการฯ และ รฟม.กลับปล่อยให้ ITD ผ่านคุณสมบัติและ มาเป็นคู่เทียบ จึงมีเพียง BEM ที่เป็นผู้ยื่นข้อเสนอเข้าร่วมลงทุน โครงการฯ นี้เพียงรายเดียว

มาตรา 40 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนฯ คณะกรรมการคัดเลือกฯ สมควรต้องชี้แจงหรือตอบให้ได้ว่ารัฐจะได้ประโยชน์อย่างไร โดยเฉพาะ เกณฑ์ด้านราคา เนื่องจากข้อเสนอของ BEM ไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติสูงสุดอย่างแท้จริง

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 ก.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2022 11:01 am    Post subject: Reply with quote

27 ก.ย.นี้ ลุ้น "ศาลอาญาคดีทุจริตฯ" ฟันคดีรื้อทีโออาร์-ล้มประมูลสายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันจันทร์ ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 18:25 น.

"ศาลอาญาคดีทุจริตฯ" นัดพิจารณาคดีรื้อทีโออาร์-ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังบีทีเอสฟ้อง รฟม.-บอร์ดมาตรา36 ละเลยหน้าที่ทำผิดกฎหมาย หวังกีดกันการแข่งขัน เอื้อประโยชน์เอกชนบางราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันอังคารที่ 27 ก.ย.นี้ เวลา 09.00 น. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง (ศาล อท.) ถ.เลียบทางรถไฟ ตลิ่งชัน นัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อท.30/2564 ระหว่าง บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์ และ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์ (สุวินทวงศ์) รวม 7 คน ในฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172







นอกจากนี้คดีที่เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มปัจจุบันมีคดีที่ BTSC ยื่นตามกระบวนการยุติธรรม ในส่วนของศาลปกครองรวม 3 คดี ประกอบด้วย





1.คดีแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัดเลือกเอกชน และวิธีการประเมินข้อเสนอด้านเทคนิค ข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทนในการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในการประกวดราคาครั้งที่ 1 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอนัดตัดสินคดี

2.คดียกเลิกการประกวดราคา และคำสั่งของผู้ว่าการ รฟม.ที่มีคำสั่งและออกประกาศยกเลิกการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 ปัจจุบันศาลปกครองกลางได้พิพากษาเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2565 ชี้ว่าการยกเลิกประมูลผลจากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์คัดเลือกในครั้งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุด





3.คดีการกำหนดหลักเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่ 2 ชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นคดีล่าสุดที่บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องตามกระบวนการศาลปกครอง และทางศาลปกครองกลางได้รับไว้พิจารณา ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนพิจารณา แต่ยังไม่มีกำหนดนัดไต่สวนเพิ่มเติม





รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) ได้ดำเนินการเปิดซองข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และ ITD Group โดยมีผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรมและผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 เข้าร่วม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและร่วมเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 นั้น

ขณะเดียวกันจากการเปิดซองข้อเสนอประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีผลการยื่นข้อเสนอในเบื้องต้น เป็นข้อเสนอผลประโยชน์สุทธิที่คำนวณจากเงินตอบแทนที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะให้แก่ รฟม. หักลบด้วยจำนวนเงินสนับสนุนค่างานโยธาที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะขอรับจาก รฟม. ปรากฏว่า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน) เสนอผลประโยชน์สุทธิ เท่ากับ – 78,287.95 ล้านบาท ขณะที่ ITD Group เสนอผลประโยชน์สุทธิ เท่ากับ – 102,635.66 ล้านบาท

ทั้งนี้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ได้พิจารณาผลการประเมินซองข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซึ่งผลปรากฏว่า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด ทั้งนี้ ในลำดับถัดไป รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะดำเนินการเชิญ ผู้ผ่านการประเมินสูงสุดดังกล่าวมาเจรจาต่อรอง ตามขั้นตอนที่ระบุในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) และพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2022 3:05 pm    Post subject: Reply with quote


“ศักดิ์สยาม”สุดโล่งงง ส่งข่าวแจกสื่อ
*รฟม.ชนะคดีรถไฟฟ้าสายสีส้ม
*จำเลยทั้ง7เปลี่ยนกติกาไม่ผิด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/643100320600539
https://www.youtube.com/watch?v=O_IlX6coiMI

รฟม.โล่ง! ศาลอาญาทุจริตยกฟ้อง "บีทีเอส" คดีแก้เกณฑ์ "สีส้ม" ชี้ กก.มาตรา 36 ทำตามอำนาจ ไม่พบเอื้อประโยชน์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 13:22 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 13:22 น.


ศาลอาญาทุจริตยกฟ้องคดี "บีทีเอส" ฟ้อง กก.คัดเลือกฯ สายสีส้ม และผู้ว่าฯ รฟม. กรณีเปลี่ยนเกณฑ์ประมูล ชี้หลักฐานไม่มีน้ำหนักพิสูจน์ว่าเอื้อประโยชน์เอกชนรายใดรายหนึ่ง และ กก.มาตรา 36 มีอำนาจ ด้านบีทีเอสไม่ถอย ใช้สิทธิอุทธรณ์ ยันต้องหาความเป็นธรรมและข้อยุติที่เป็นบรรทัดฐานยอมรับได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 27 กันยายน 2565 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางอ่านคำพิพากษาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์ และนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ กับพวกรวมกัน 7 คน จำเลย ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ โดยมีคำพิพากษายกฟ้อง

โดยโจทก์ฟ้องสรุปได้ว่า คณะรัฐมนตรีประชุมมีมติอนุมัติดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ต่อมา รฟม. โดยคณะกรรมการคัดเลือกร่วมกันเห็นชอบกับร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก วิธีการ และหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอทางการเงินสูงสุดในการตัดสินเอกชนผู้ชนะการประมูล โจทก์ซื้อซองข้อเสนอเข้าร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว

ต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าการ รฟม. ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นคณะกรรมการคัดเลือกใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบร่วมประชุมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอตามเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ร่วมกันพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขหลักเกณฑ์วิธีการประเมินข้อเสนอในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนใหม่ โดยให้ใช้กณฑ์การประเมินข้อเสนอด้านเทคนิค ร่วมกับข้อเสนอทางการเงิน หรือการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (Price Performance)

ต่อมาเมื่อครบกำหนดเปิดซองข้อเสนอการร่วมลงทุน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 กลับไม่เปิดซองข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอเพื่อดำเนินการคัดเลือกต่อไป รฟม. โดยจำเลยที่ 1 และคณะกรรมการคัดเลือกได้ประชุมกันแล้วมีมติยกเลิกประกาศเชิญชวนดังกล่าวโดยมิชอบ การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดจึงเป็นการร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 165, 83, 90, 91 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ดุลพินิจพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอใหม่ โดยให้พิจารณาคะแนนด้านเทคนิค และการลงทุนและผลตอบแทนร่วมกัน โดยกำหนดสัดส่วนการให้คะแนนด้านเทคนิคเป็นร้อยละ 30 คะแนน ด้านการลงทุนและผลตอบแทนเป็นร้อยละ 70 คะแนน หากผู้ยื่นข้อเสนอรายใดผ่านการประเมินสูงสุดและได้รับการประเมินให้เป็นผู้ชนะการคัดเลือก เพื่อประโยชน์ของรัฐตามความต้องการของ รฟม.

ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มาตรา 38(6) และ (7) ประกาศคณะกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เรื่องรายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวนร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสำคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ข้อ 12 การสงวนสิทธิ์ของ รฟม. ข้อ 12.2 กำหนดว่า สงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียด รวมถึงลดหรือขยายระยะเวลาของการคัดเลือกตามประกาศเชิญชวนข้อเสนอฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของ รฟม. และมติคณะรัฐมนตรี และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ข้อ 17 ประกอบกับขณะลงมติเห็นชอบนั้นยังไม่ถึงกำหนดระยะเวลายื่นซองข้อเสนอ จึงไม่ทำให้ผู้ยื่นเอกสารข้อเสนอได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกได้ขยายระยะเวลาออกจากกำหนดยื่นข้อเสนอเดิมอีก 45 วัน เพื่อให้ผู้ยื่นข้อเสนอได้มีเวลาจัดเตรียมข้อมูลข้อเสนอเพิ่มเติมอีก พยานหลักฐานยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าการแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใดรายหนึ่ง

ส่วนประเด็นที่จำเลยที่ 1 ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนนั้น เห็นว่าคณะกรรมการคัดเลือกใช้ดุลพินิจพิจารณายกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุน จากนั้นจำเลยที่ 1 ออกประกาศเรื่องยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามมติคณะกรรมการคัดเลือก โดยไม่มีพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หรือการกระทำที่นอกขอบเขตแห่งกฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ประกอบกับการสงวนสิทธิของ รฟม.ตามประกาศเชิญชวนฯ และเอกสารฯ เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ (RFP) ที่กำหนดการสงวนสิทธิของ รฟม. ในข้อ 12.1 ว่า รฟม.สงวนสิทธิตามดุลพินิจที่จะยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ โดยที่ผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใดๆ ได้

จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อีกทั้งการกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดไม่ได้เป็นกรณีที่มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่ง ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดจึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง


@บีทีเอสไม่ถอย ยันใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อ หาความเป็นธรรมและข้อยุติที่เป็นบรรทัดฐาน

ด้านนายธงชัย พรเศรษฐ์ หัวหน้าคณะทนายความของบีทีเอส กล่าวว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง โดยเบื้องต้นศาลเห็นว่าการปรับเกณฑ์คัดเลือกฯ สายสีส้ม คณะกรรมการมาตรา 36 และ รฟม.มีอำนาจสามารถทำได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่บีทีเอสได้ยื่นคำแย้งไป ดังนั้น เมื่อศาลมีคำพิพาษาออกมา ทางบีทีเอสจะใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาแน่นอน ซึ่งบีทีเอสยังเชื่อมั่นในพยานหลักฐานที่นำเสนอ

โดยจะรอคำสั่งศาลที่เป็นทางการ ซึ่งจะมีคำพิพากษาโดยละเอียดหลังจากนี้ประมาณ 10 วันทำการ และคณะทำงานทางกฎหมายของบีทีเอสจะร่วมกันพิจารณา ว่ายังมีกรณีหรือประเด็นใดที่ยังไม่เห็นด้วย และยังไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการต่อไป โดยใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ ตามกำหนดยื่นภายใน 1 เดือนนับจากมีคำพิพากษา แต่เนื่องจากในคำพิพากษาจะมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก อาจจะใช้สิทธิขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป ส่วนจะขยายไปแค่ไหน จะขอพิจารณาข้อเท็จจริงในเรื่องพยานเอกสารที่มีจำนวนมากก่อน

“ต้องยอมรับว่าการประมูลสายสีส้มที่มีข้อพิพาท หรือการดำเนินกระบวนการ มีเรื่องที่ปรากฏออกมาทางสื่อในแง่มุมต่างๆ มากมาย ซึ่งบีทีเอสจะพยายามหาข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อยื่นอุทธรณ์ และเพื่อให้เรื่องนี้มีข้อยุติที่เป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับกันได้ และแสวงหาความเป็นธรรม และโครงการนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ประเทศ ในฐานะบีทีเอสเป็นบริษัทเอกชนที่ทำงานมีธรรมาภิบาลมาตลอด จึงจะต่อสู้ถึงที่สุด”


@รฟม.คาดสรุปผลพิจารณาเสนอ ครม.ในปีนี้

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการคัดเลือกฯ สายสีส้มอยู่ระหว่างพิจารณา หลังได้เปิดข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน คาดว่าจะสรุปและเสนอผลการพิจารณาในเดือน ต.ค.นี้ และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบและคาดว่าจะลงนามสัญญากับผู้ได้รับคัดเลือกฯ ได้ภายในปีนี้
https://www.thebangkokinsight.com/news/business/956186/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2022 8:29 pm    Post subject: Reply with quote

ทางเชื่อมเข้าไปยังสายสีส้ม ที่กำลังจะก่อสร้างเสร็จในเร็วๆนี้ 🟠⚪️
ทางเชื่อมนี้ถูกตั้งอยู่ในพื้นที่ Paid-Area ของระบบรถไฟฟ้าสายสีนำ้เงิน สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีทั้งชั้นออกบัตรโดยสาร และชั้นชานชาลา
ซึ่งภายในมีการตกแต่งที่สวยงามแต่งต่างในแต่ละสถานี เช่น สถานีวัดพระราม๙ ภายในตกแต่งไปด้วยรูปปั้นลายไทย เป็นต้น
ส่วนเรื่องการเปิดให้บริการคาดว่าจะเปิดให้ได้ในปี 2568 ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการประมูลสายสีส้มตะวันตกด้วยครับ
#รถไฟฟ้าสายสีส้ม
https://www.facebook.com/bkkmetrolife/posts/218872460470060
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2022 12:12 am    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้า #สถานีมีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
จุดเชื่อมต่อกับสถานีมีนบุรี ของรถไฟฟ้าสายสีชมพู
เครดิตภาพ See nothing Chennel
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1430591590776928&id=100014783023170
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 72, 73, 74 ... 89, 90, 91  Next
Page 73 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©