Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311323
ทั่วไป:13284728
ทั้งหมด:13596051
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ลุยเดี่ยว สำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะ ช่องเขาขาด
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ลุยเดี่ยว สำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะ ช่องเขาขาด
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 29, 30, 31  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 30/08/2016 6:39 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ออกมาจากห้องฉายภาพยนต์ มีทางเดินทอดผ่านอยู่ ฝั่งตรงข้ามเป็นผนังยาว มีภาพวาดและแผ่นบอร์ดข้อมูลติดไว้อีกเช่นกัน (รู้สึกว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งข้อมูล คล้ายห้องสมุดนะครับ)

Click on the image for full size
เข้าไปดูบอร์ดข้อมูลใกล้ๆ เรื่อง "ความอยู่รอด" ซึ่งพอสรุปได้ว่า มีเชลยศึกเสียชีวิตประมาณ 12,800 คน และกรรมกรรับจ้าง(โรมูซ่า) เสียชีวิตประมาณ 90,000 คน ในระหว่างสร้างทางรถไฟในระยะเวลา 15 เดือน นับเป็นนรกบนดินอย่างแท้จริง (อันหลังนี้ผมเปรียบเทียบเองนะครับ)

ส่วนอีกฝั่งเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งปกติก็มีให้ทุกบอร์ด แต่ที่ผ่านมาผมเลือกเฉพาะภาษาไทย เพราะไม่งั้นคงต้องใช้เนื้อที่กระทู้นี้เพิ่ิมไปอีกเท่าตัวแน่นอนครับ

Click on the image for full size
มองออกไปทางซ้าย สุดทางเดินด้านข้างห้องฉายภาพยนต์ เป็นผนังที่เป็นกระจกล้วน ทำให้เห็นวิวข้างนอก ดูน่าจะผ่อนคลายจากเรื่องร้ายๆ ที่รับทราบจากในนี้ได้

Click on the image for full size
ผมเลยเดินไปดูวิวข้างนอกสักหน่อย พอมีอะไรเขียวๆ ให้เห็นบ้าง เหลือบเห็นทางเดินไม้ไปทางซ้าย ซึ่งเป็นทางไปยังช่องเขาขาดที่เราจะไปกันต่อไปครับ


Last edited by mirage_II on 01/10/2017 1:21 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 30/08/2016 7:00 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
หันกลับมาเซลฟี่ตัวเองสักภาพ (หันไปทางกระจกไม่ได้เพราะหน้าจะมืด แสงมันเข้ามาจากข้างนอกครับ)

Click on the image for full size
เดินกลับเข้าไปข้างในดีกว่า ตรงนี้จะมองเห็นห้องถัดไปที่เป็นทางผ่านกลับออกไปด้วย ซึ่งห้องฉายภาพยนต์นั้นจะอยู่ทางขวาก่อนถึงห้องถัดไป

Click on the image for full size
ระหว่างเดินผ่านห้องฉายภาพยนต์ หันมองเข้าไปข้างในอีกที ตอนนี้ถึงเวลาพักระหว่างรอบฉายแล้ว ถ้าต้องการดูเนื้อเรื่องเต็มๆ ก็เข้าไปนั่งรอกันช่วงนี้ พักแค่ 3 นาทีเอง

Click on the image for full size
แต่เนื่องจากผมไม่มีเวลาดูภาพยนต์ ไปห้องถัดไปกันดีกว่า ห้องนี้จะมีรูปปั้น เชลยศึกแบกเสาอยู่ตรงกลางห้อง ดูน่ากลัวพอสมควร เพราะรูปปั้นทาด้วยสีแดง


Last edited by mirage_II on 01/10/2017 1:25 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 30/08/2016 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
เข้ามาในห้องจัดแสดงห้องที่สาม (อันนี้ผมนับเองนะครับ) จะเห็นรูปปั้นเชลยศึกชัดเจนว่ามีสีหน้าตื่นกลัวที่ถูกบังคับ อย่างทารุณให้ต้องทำงานหนักอย่างนี้ (ที่คิดว่าเป็ันเชลยศึก มากกว่า โรมูซ่าชาวเอเชีย ก็เพราะหน้าตาแบบฝรั่งนะครับ)

Click on the image for full size
รอบๆ ห้องจะเป็นบอร์ดข้อมูลแบบกล่องแสงสลับช่องจัดวางวัสดุอุปกรณ์ที่ เชลยศึกใช้ระหว่างทำงาน เริ่มจากผนังด้านซ้าย(ยืนหันหน้าเข้าหารูปปั้น) มีบอร์ด 2 บอร์ด และ 1 ช่องจัดวางอุปกรณ์ดำรงชีพ

Click on the image for full size
บอร์ดข้อมูล 2 อัน ผมพอจะแสดงให้เห็นพร้อมๆกันได้ในภาพเดียวกัน(จะได้ประหยัด ความยาวกระทู้สักหน่อย) แสดงเฉพาะภาษาไทยนะครับ พอสรุปได้ว่า เรื่อง "ความโหดร้ายทารุณ" และ"สภาพความเป็นอยู่" เรียกได้ว่านรกบนดิน ใครที่บอกว่า ชีวิตความเป็นอยู่ย่ำแย่ ถ้ามาศึกษา ความเป็นอยู่ของเชลยศึกและกรรมกร ระหว่างสร้างทางรถไฟ จะทราบว่าดีกว่ากันเทียบไม่ติดเลยครับ

"ความโหดร้ายทารุณ" ระบบบังคับบัญชาของญี่ปุ่นจะถือว่าเชลยศึกอยู่ต่ำสุด ได้รับความโหดร้ายทารุณที่สุด (ทหารญี่ปุ่นเองก็โดนทำร้ายร่างกายได้เช่นกันนะครับ) ผู้ดูแลหรือที่เรียกว่าผู้คุมชาวเกาหลี ที่หน้างานจะเป็นที่เลื่องลือในการทารุณ ฆ่า เชลยศึกและกรรมกรมาก การลงโทษจะเริ่มจากตบหน้า ทุบตี หรือให้ยกหินหนักๆไว้บนหัว หลายๆ ชั่วโมง พอแสดงอาการเมื่อยล้าก็จะถูกทุบตี

"สภาพความเป็นอยู่" เชลยศึกและกรรมการต้องสร้างค่ายทีพักเอง ตั้งแต่โรงครัวถึงห้องส้วม ที่พักบางแห่งเป็นเต้นท์ที่รั่ว บางแห่งเป็นกระท่อมมุงจากที่แบ่งเป็นห้องเล็กๆ อัดกันนอนบนแคร่ไม้ไผ่เปล่าๆ โรงครัวเป็นแบบง่ายๆ โดยการขุดหลุมเป็นเตาทำอาหาร ค่ายของเชลยศึกจะดีกว่ากรรมกรมาก

Click on the image for full size
ช่องจัดแสดงอุปกรณ์ดำรงชีพ เป็นกล่องใส่ข้าวเหลวๆ มีแผ่นป้ายข้อมูลเรื่อง "การขาดแคลนโภชนาการ" ด้วย สรุปได้ว่า อาหารหลักเป็นข้าวคุณภาพต่ำที่มีตัวด้วง สิ่งสกปรกติดมาด้วย ส่วนเศษเนื้อสดมีให้เป็นบางครั้ง แต่มักมีหนอนหรือแมลงไชอยู่ด้วย อาหารเช้าจะได้รับมากหน่อยคล้ายโจ๊ก มื้อกลางวันต้องนำติดตัวไปเอง มื้อเย็นกลับมากินที่ค่ายเป็นผักและเนื้อตุ๋นที่มีน้ำเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เชลยศึกหรือกรรมกรต้องเข้าไปหาของกินเองในป่า จากพ่อค้าชาวไทยหรือพม่า


Last edited by mirage_II on 02/10/2017 12:18 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 02/09/2016 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ย้ายมาดูบอร์ดข้อมูลทางฝั่งขวามือบ้าง มี 7 ช่อง เป็นป้ายแสง 4 ช่อง ช่องใส่สิ่งของเชลยศึก 4 ช่อง เริ่มจากช่องแรกทางประตูที่มาจากห้องฉายภาพยนต์นะครับ มีชื่อที่น่าสะพรึงกลัวครับ "การลงโทษ" และ "ถูกทอดทิ้ง สรุปได้ว่า ถูกลงโทษอย่างรุนแรงถึงประหารชีวิต ไม่มีใครหนีรอดออกมาได้ ไม่ถูกจับได้ก็เสียชีวิตระหว่างหนี ญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับรถบรรทุกวัสดุก่อสร้าง และการปันส่วนอาหารให้กับกองทัพของตน ปล่อยให้เชลยศึกและแรงงาน อดอาหาร เสื้อผ้าไม่พอใส่ และที่พักพิงไม่เพียงพอ

และมีรูป หลุมสำหรับลงโทษเชลยศึก กับสภาพเชลยศึกในสภาพขาดอาหารด้วย

Click on the image for full size
บอร์ดถัดไปเป็นเรื่อง "พื้นที่ทำงาน" ซึ่งก็คือบริเวณที่สร้างทางรถไฟ สภาพยิ่งเลวลงเมื่ออยู่ห่างจากปลายทางของเส้นทางรถไฟ ยิ่งใกล้ด่านพระเจดีย์สามองค์ต้องเจออุปสรรคมากมาย มีแรงงานกลุ่ม "F" ที่เป็นเชลยศึกชาวออสเตรเลียและอังกฤษจากสิงค์โปร์ มาถึงในเดือนเมษายน พ.ศ.2486 ได้ถูกทุบตีอย่างหนัก จนเสียชีวิตไปมาก แบ่งเป็นชาวออสเตรเลีย 1,060 คน ชาวอังกฤษ 2,036 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตมากเกือบ 45%

Click on the image for full size
ถัดมาเป็นช่องใส่อุปกรณ์เครื่องใช้ของเชลยศึก เป็นรองเท้าแตะแบบจีนที่เรียกว่า "เกี๊ยะ" และแผ่นข้อมูลด้านหลัง เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ (เฉพาะภาษาไทย)
Click on the image for full size
พอสรุปได้ว่า เสื้อผ้าและรองเท้าเดิมๆ ที่ติดตัวมาของเชลยศึกจะชำรุดเสียหายอย่างรวดเร็วและไม่ได้รับการเปลี่ยนใหม่ หลายคนต้องเดินเท้าเปล่า หรือรองเท้าไม้แบบจีนที่เรียกว่า "เกี๊ยะ" ส่วนเสื้อผ้าก็จะใส่ผ้าชิ้นเดียวที่เรียกว่า "เตี่ยว" แทน ยิ่งผ้าห่มแล้วก็มีน้อยไม่เพียงพอสำหรับฤดูหนาว


Last edited by mirage_II on 02/10/2017 12:21 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 02/09/2016 4:41 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ช่องถัดไป เป็นช่องใส่อุปกรณ์เชลยศึกที่ใหญ่ เกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่นไม้ค้ำยันที่สร้างจากบ้องไม้ไผ่ และแผ่นข้อมูลข้างหลัง 2 เรื่อง

ลองเข้าไปดูแผ่นข้อมูลแรกทางซ้ายก่อน เรื่อง"ความเจ็บป่วยและโรคภัยไข้เจ็บ" แค่นึกแล้วก็ขนลุกครับ เพราะไหนจะมีฝนตกเฉอะแฉะ หนาว ร้อน เสื้อผ้าแทบไม่มี นอนพักไม่เพียงพอ ขาดอาหาร แถมยังมียุงแพร่เชื้อไข้มาเลเรียอีก..
Click on the image for full size
พอสรุปได้ว่า เชลยศึกและกรรมกรได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคต่างๆ มาก ตั้งแต่ โรคขาดอาหาร เหน็บชา โรคบิด อหิวาต์ จนถึงเรื่องแผลเปื่อยพุพอง ที่นำไปสู่การเสียชีวิตอย่างสุดโหด เพราะส่วนใหญ่จะไม่มียารักษาโรค หรือเครื่องมือศัลยกรรม แพทย์ของเชลยศึกพันธมิตร ต้องอดทนสู้กับโรคภัย และการบังคับให้คนป่วยออกไปทำงาน จนบางครั้งต้องเข้าขัดขวางจนถูกเฆี่ยน เป็นที่เล่าสืบกันมา ว่า แพทย์เหล่านี้คือ "นักบุญ" หรือ "วีรบุรุษ" ตัวจริงของทางรถไฟ

Click on the image for full size
อีกแผ่นเป็นเรื่อง "การเตรียมงานด้านการแพทย์" สรุปได้ว่า ทุกๆค่ายจะมีโรงพยาบาลที่เป็นเพียงกระท่อม ที่มีแคร่รองรับผู้ป่วยเท่านั้น แผนกผู้ป่วยแผลพุพองจะน่ากลัวที่สุด เพราะมีกลิ่นแผลเน่า และมีคนเสียชีวิตมากที่สุด

มีการจัดตั้งโรงพยาบาลประจำฐานทัพในพม่าและไทย ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์เล็กน้อย มีการตัดแขนขาผู้ป่วยด้วยมีดแล่เนื้อด้วย

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจเริ่มรู้สึกคลื่นเหียน จะอาเจียรกันแล้ว ถึงความสยดสยองในค่ายที่มีผู้ป่วยมากมาย ซึ่งทยอยตายกันไปเรื่อยๆ ทุกวันSad


Last edited by mirage_II on 02/10/2017 12:24 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 02/09/2016 4:56 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ถัดมาเป็นบอร์ดป้ายแสง 2 อัน ชื่อ "โลกภายนอก" กับ "ธรรมชาติของมนุษย์" จะเห็นตัวอักษร "V" อยู่ด้วย เดี๋ยวเข้าไปดูใกล้ๆ กันว่ามีความหมายอย่างไร

Click on the image for full size
แผ่นแรกทางซ้าย เรื่อง "โลกภายนอก" ในระหว่างอยู่ในค่าย เชลยศึกจะถูกตัดขาดจากโลกภายนอก หลายคนรู้สึกว่าไม่มีใครจากโลกภายนอกที่สงสารและเห็นใจในการได้รับความทุกข์ทรมานครั้งนี้ รัฐบาลไทยเองที่เคยเป็นมิตรกับประเทศอังกฤษ ก็ต้องจำประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2485 และในเดือนกันยายนมีพ่อค้าชาวไทยที่แอบติดต่อกับเชลยศึกที่บ้านโป่ง โดยใช้สัญญลักษณ์ตัวอักษรวี "V" นำโดยนายบุญผ่อง เขาใช้ธุรกิจตัวเองเป็นเครื่องบังหน้า ลักลอบขนเสบียงและสิ่งต่างๆที่เชลยศึกต้องการ ต้องเสี่ยงต่อการถูกจับได้ พวกเขาช่วยเชลยศึกจนสงครามสิ้นสุดลงเลย

Click on the image for full size
แผ่นข้อมูลถัดมาเป็นเรื่อง "ธรรมชาติของมนุษย์" สรุปได้ว่า การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดทำให้เชลยศึกต้องรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนอย่างเหนียวแน่น คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเคียดแค้นเกิดขึ้นกับเจ้าพนักงานบางคนและเชลยศึกบางคนที่ได้รับสิทธิ์พิเศษทำงานสบายๆ มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสัญชาติต่างๆ ส่วนการให้ความช่วยเหลือในกลุ่มของเชลยศึก จะช่วยแบ่งปันเสื้อผ้า อาหาร ช่วยพยุง ดูแลคนป่วยมิให้เขาต้องตายอย่างโดดเดี่ยว


Last edited by mirage_II on 02/10/2017 12:26 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 02/09/2016 5:25 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ช่องใส่อุปกรณ์เชลยศึกถัดไปคือ "เครื่องวิทยุ" แบบง่ายที่สร้างได้เองและสะดวกต่อการซุกซ่อนไว้ยามออกไปทำงานตอนกลางวัน และมาแอบฟังข่าวในตอนกลางคืน

Click on the image for full size
มีการซุกซ่อนวิทยุมาจากสิงค์โปร์และชวา โดยซ่อนไว้หลังขวดน้ำ หรือโครงสร้างกระท่อม เพราะถ้าญี่ปุ่นจับได้จะถูกลงโทษถึงตายได้ ข่าวชัยชนะฝ่ายพันธมิตร ทำให้เหล่าเชลยศึกมีความยินดีปรีดามาก เพราะเชื่อว่าจะได้กลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน

Click on the image for full size
มีแผ่นป้ายภาษาอังกฤษวางไว้ติดกับอุปกรณ์วิทยุตัวอย่างนี้ด้วย พอสรุปได้ว่า "วิทยุลับ" นี้ดัดแปลงจากรุ่นคริสตัน 1920 (พ.ศ.2463) สามารถสร้างได้จากวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น และถูกซ่อนไว้กับกระป๋องกาแฟ หรือไม้กวาด ในตอนกลางวัน และนำมาฟังในตอนกลางคืน ตัวอย่างวิทยุที่นำมาแสดงนี้ เป็นแบบ FoxHole ที่เคยใช้ในสงครามยุโรป สร้างจากขดลวดที่พันกับแกนกระดาษ 120 รอบ และใบมีดโกนที่แปะติดไว้กับแผ่นอะไรสักอย่าง ต่อสายไฟสองข้างกับขดลวด ด้านหนึ่งต่อลงดินกับหูฟัง อีกด้านหนึ่งต่อกับใบมีดโกนกับสายอากาศ และนำสายไฟอีกเส้นต่อกับหูฟัง และเข็มกลัด แล้วใช้เข็มกลัดเคลื่อนไปมาในร่องใบมีดโกนเพื่อหาคลื่นสถานีวิทยุให้พบ ซึ่งเป็นสถานีทางประเทศอินเดีย ที่จะรายงานความคืบหน้าของฝ่ายพันธมิตรต่อสู้กับญี่ปุ่น สำหรับวิทยุตัวอย่างที่เห็นนี้ได้รับบริจาคมาจาก กลุ่มนักวิทยุประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2543


Last edited by mirage_II on 02/10/2017 12:28 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 02/09/2016 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ถัดไปเป็นผนังด้านสุดท้าย ที่มีบอร์ดข้อมูลและตัวอย่างอุปกรณ์เครื่องใช้ของเชลยศึกครับ เข้าไปดูกันอีกหน่อยก็ครบถ้วนสำหรับห้องที่ถือว่าที่สุดของความโหดร้ายทารุณ จนทางพิพิธภัณฑ์ต้องทำให้ดูมืด สมกับความรู้สึกของเชลยศึกยามนั้นที่ มืดมนไร้ทางออกใดๆ Crying or Very sad

Click on the image for full size
เริ่มจากช่องแรกที่เป็นเครื่องใช้เชลยศึกกันเลย ซึ่งเป็น "จดหมาย" ในช่องนี้จะมีจดหมายตัวอย่างที่ส่งกันจริงๆ ในช่วงนั้น และใบอนุสรณ์รูปสิงห์กับม้า ของนาย Private G.Baxter กับนาย Suffolk Rigiment ที่อุทิศตนในช่วงสงครามโลกให้กับ พระมหากษัตริย์และประเทศ ทำให้เกิดสันติภาพและอิสระภาพแก่มวลมนุษย์ชาติ จากเผด็จการ ด้วยครับ

Click on the image for full size
ด้านหลังตัวอย่างจดหมาย ที่เป็นลักษณะแผ่นโปสการ์ด ก็มีบอร์ดข้อความสั้นๆ ด้วยว่า เหล่าเชลยศึกได้รับอนุญาตส่งจดหมายกลับไปบ้านตัวเองได้ เพียงเพื่อให้ทราบว่า ตนเองยังมีชีวิตอยู่ ส่วนการได้รับจดหมายตอบกลับมานั้นน้อยมาก โดยเฉพาะกรรมกรแรงงานแทบจะไม่ได้รับเลย

Click on the image for full size
ในช่องถัดมาเป็นเรื่อง "สภากาชาด" ที่มีตัวอย่างกล่องพัสดุภัณฑ์ที่ใช้ใส่ของไปให้เชลยศึก

Click on the image for full size
มีแผ่นป้ายข้อมูลสั้นๆ เรื่องนี้ด้วย สรุปได้ว่า สภากาชาดไทยได้เป็นผู้ัจัดหาอาหาร ยา บุหรี่ และเครื่องใช้ส่วนตัวไปให้เหล่าเชลยศึกที่ทำงานบนทางรถไฟ แต่กลับถูกปฏิเสธโดยทหารญี่ปุ่น จนทางรถไฟสร้างเสร็จ จึงมีเชลยศึกบางคนได้รับในอัตรา 6 คนต่อหนึ่งห่อ จนสงครามสิ้นสุด จึงได้พบว่า มีพัสดุจากสภากาชาดไทยจำนวนมากถูกเก็บไว้ในห้องเก็บของผู้คุมชาวญี่ปุ่น Mad


Last edited by mirage_II on 02/10/2017 12:32 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 02/09/2016 6:10 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ช่องถัดมาอีกช่อง ที่นับเป็นช่องสุดท้ายที่แสดงอุปกรณ์เครื่องใช้เชลยศึกในห้องนี้และในห้องแสดงทั้งหมดด้วย เป็นกระเป๋าสตางค์ สมุดโน๊ต ช้อน และไปค์สำหรับสูบบุหรี่ มีแผ่นป้ายข้างหลังชื่อ "การพูดถึงประสบการณ์ในอดีต" ด้วยครับ

Click on the image for full size
เข้าไปดูแผ่นข้อมูล "การพูดถึงประสบการณ์ในอดีต" ใกล้ๆสักหน่อยครับ พอสรุปได้ว่า เป็นการปลดปล่อยผ่อนคลายจิตใจของเหล่าเชลยศึก โดยให้ความสนใจต่อทัศนียภาพอันงามของประเทศที่ตนไปอยู่ มีการวาดภาพผีเสื้อ สัตว์ต่างๆ ในป่า หรือสภาพการทำงาน ส่วนกล้องถ่ายภาพนั้น มีคนลักลอบไปถ่ายบนทางรถไฟ ในขณะที่บางคนจะบันทึกกิจวัตรประจำวันตามประสบการณ์ของตัวเอง

Click on the image for full size
มาถึงแผ่นป้ายข้อมูลอันสุดท้ายในห้องนี้ ที่ถือว่าสุดโหดทารุณที่สุดในเรื่องการดำรงชีวิตอยู่ในค่ายนี้แล้ว ใช้ชื่อหัวข้อว่า "การอยู่รอดหรือการเสียชีวิต" การทำงานบนทางรถไฟสายนี้ ถือว่าเป็นการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดจริงๆ เพราะมีคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน จำต้องมีความตั้งใจกำลังใจและโชคด้วย คนกลุ่มแรกที่ไปทำงาน จะอยู่ในฤดูร้อน ต้องมีความแข็งแรงบึกบึน พอเข้าสู่ฤดูมรสุม จะร้ายขึ้นมาก เพราะบริเวณที่ทำงานจะเละเป็นโคลน เฉอะแฉะตลอดเวลา ยิ่งบริเวณค่ายเป็นที่น่าเวทนา กระท่อมที่พักรั่ว ห้องส้วมที่มีน้ำท่วมเต็ม เกิดโรคที่มาจากน้ำ เช่นอหิวาต์ มากมาย คนที่อยู่ก็ต้องทำงานกันจนหมดแรง มีความหวังเพียงว่าจะได้กลับบ้าน เพราะมีวิธีเดียวที่จะหยุดการเสียชีวิตได้คือ "ทางรถไฟต้องสร้างเสร็จ" เท่านั้น Sad

Click on the image for full size
ได้เวลาอำลาห้องแสดงชีวิตเชลยศึกและกรรมกรที่โหดร้ายทารุณ ไร้ความหวังที่จะรอดใดๆ กันสักทีครับ ก่อนออกไปยังห้องถัดไปอันเป็นห้องสุดท้ายในส่วนห้องจัดแสดงนี้ ก็หันกลับไปดูข้างหลังอีกที ที่จะเห็นด้านหลังของรูปปันสองเชลยศึกแบกเสาตรงกลางห้อง ซึ่งเขาหันหน้าไปทางด้านหน้าของห้องฉายภาพยนต์ อันเป็นห้องที่สองของการจัดแสดงครับ


Last edited by mirage_II on 02/10/2017 12:35 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 06/09/2016 3:03 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
มาถึงห้องสุดท้ายที่จัดแสดงแล้วครับ ถัดจากห้องนี้ก็คือประตูทางออกของส่วนจัดแสดง บอร์ดและผนังจะทาด้วยสีแดงให้เห็นถึงสภาพสงครามที่ร้อนแรง

Click on the image for full size
เริ่มเข้าไปอ่านใกล้ๆ จากบอร์ดแรกทางซ้ายมือเรื่อง "การวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายของการใช้ทางรถไฟ" หลังจากทางรถไฟสร้างเสร็จ ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2488 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 ที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามนั้น มีการส่งเสบียงมากกว่า 2 แสนตันโดยรถไฟเส้นนี้ เพื่อต่อสู้กับกองทัพอังกฤษที่บุกพม่าเอาคืน แต่ก็พ่ายแ้พ้ ทางรถไฟสายนี้จึงได้ใช้ประโยชน์สุดท้ายในการอพยพผู้บาดเจ็บ และหลบนีออกจากพม่า

Click on the image for full size
มีภาพวาดเล็กๆ อยู่ด้วย แสดงให้เห็นการสร้างสะพานไม้สำหรับทางรถไฟเพื่อข้ามแม่น้า ซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลัก (แม้ไม่มีเครื่องมือใหญ่ๆ แต่ก็ใช้ปัญญาในการสร้างได้)

Click on the image for full size
ภาพถัดมาเป็นแผนที่ แสดงเส้นทางรถไฟที่สร้างเชื่อมระหว่างพม่ากับไทย จะสังเกตุว่าเป็นการเชื่อมทางรถไฟเดิมที่มีอยู่ทั้งสองประเทศด้วย ทำให้นึกเสียดายที่ถูกรื้อทิ้ง แต่ถึงอย่างไรก็ดีในปีพ.ศ.2527 ก็มีการสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขาแหลม) ทำให้น้ำท่วมบริเวณแนวทางรถไฟตั้งแต่ สถานีน้ำโจนใหญ ไปจนถึงสถานีซองกาเลีย ถ้าไม่ถูกรื้อก็ต้องมีการสร้างใหม่ในอีกเส้นทางที่ไม่โดนน้ำท่วม เหมือนกรณีสร้างเขื่อนลำตะคอง นะครับ


Last edited by mirage_II on 02/10/2017 12:41 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 29, 30, 31  Next
Page 8 of 31

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©