Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181508
ทั้งหมด:13492746
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ระยองอยากมีระบบขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ระยองอยากมีระบบขนส่งมวลชน
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2017 6:40 pm    Post subject: ระยองอยากมีระบบขนส่งมวลชน Reply with quote

ระยองอยากมีระบบขนส่งมวลชนเชื่อมรถไฟความไวสูงกะเขา
https://drive.google.com/file/d/0B4W1V7TYUz1FYVNXWmFGLTNqTDQ/view
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2017 11:18 am    Post subject: Reply with quote

ฟังเสียงชาวระยองครั้งสุดท้ายสร้าง"ระบบขนส่ง"
จันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2560 เวลา 17.33 น.
20 ธ.ค.ฟังความเห็นประชาชนระยองครั้งสุดท้าย สร้างระบบขนส่งสาธารณะ ศึกษาไว้ 3 แนวทาง 3 ระบบ ได้แก่

1.รถไฟฟ้ารางเบาบนดิน
2.รถไฟฟ้าล้อยาง และ
3.รถชัตเติ้บบัส ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที (BRT)

ผศ.ดร.ศักรธร บุญทวียุวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (ทีโอดี) ในเขตเทศบาลนครระยอง เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 ธ.ค.60 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการขนส่งมวลชนระยองและการพัฒนาพื้นที่ รอบสถานีขนส่งมวลชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนเป็นครั้งสุดท้าย ที่โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ จ.ระยอง ในการประชุมวันดังกล่าวที่ปรึกษาโครงการนำเสนอผลการศึกษา อาทิ โครงข่ายแนวเส้นทาง ระยะทาง จำนวนสถานี สถานที่ตั้งตำแหน่งสถานี ที่ได้พิจารณา 3 ถนนสายหลัก อ.เมืองระยอง ประกอบด้วย 1.ถนนสุขุมวิท 2.ถนนสาย 36 และถนนตากสินมหาราช รวมทั้งประเภทระบบขนส่งสาธารณะที่นำมาใช้ โดยได้มีการศึกษา 3 ระบบ ได้แก่ 1.รถไฟฟ้ารางเบาบนดิน 2.รถไฟฟ้าล้อยาง และ 3.รถชัตเติ้บบัส ระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที (BRT)



ผศ.ดร.ศักรธร กล่าวต่อว่า ตลอดจนการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจให้มีความเหมาะสมกับเมืองระยองมากที่สุด เช่น หากใช้รถไฟฟ้ารางเบา ปัจจุบัน อ.เมืองระยอง เริ่มมีปัญหาการจราจรที่หนาแน่นโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน ความเร็วรถเฉลี่ยที่ 20 กม. ต่อ ชม. หากนำระบบช่วยแก้ไขปัญหาได้ แต่มีการลงทุนสูง และอาจไม่คุ้มค่าหากรัฐบาลไม่ให้การสนับสนุน ขณะเดียวกันระยะแรกอาจจะเริ่มพิจารณาลงทุนกับรถชัตเติ้ลบัสบีอาร์ทีก่อน เพื่อประเมินผล จากนั้นหากได้รับกระแสตอบรับที่ดี มีปริมาณผู้ใช้บริการมากขึ้น ค่อยขยับไปสู่การลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาต่อไป รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินการ โครงการและวงเงินในการลงทุนระบบขนส่งแต่ละประเภท เพื่อนำข้อแสดงความคิดเห็นจากการับฟังครั้งนี้ไปสู่การพิจารณาพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะใน จ.ระยองต่อไป

 สำหรับโครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ มก. เป็นผู้ศึกษา โดยได้รับการมีส่วนร่วมจากเทศบาล จ.ระยอง ใช้เวลาศึกษา 1 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.60
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2017 10:34 am    Post subject: Reply with quote

ระยองอยากได้รถรางไฟฟ้า สายสีแดง ห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี
ศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2560 เวลา 09.36 น.
ชาวระยองอยากได้รถรางไฟฟ้า สายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี 23 กม. 18 สถานี ลงทุน 17,000 ล้านบาท ชี้สะดวก ตรงต่อเวลา เหมาะแก้รถติดเมืองระยองและทันสมัย


ผศ.ดร.ศักรธร บุญทวียุวัฒน์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน(ทีโอดี) ในเขตเทศบาลนครระยอง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนเป็นครั้งสุดท้ายโดยนำเสนอผลการศึกษาระบบขนส่งมวลชนระยอง 3 รูปแบบ ประกอบด้วย1.รถรางไฟฟ้า (LRT) โครงข่ายสายสีแดงเส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี ระยะทาง 23 กม. 18 สถานี ได้แก่
R1 ห้วยโป่ง,
R2 สถานีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด,
R3 สถานีมาบตาพุด,
R4 สถานีศูนย์ราชการเนินสาลี,
R5 สถานีวัดโขดหิน,
R6 สถานีแยกขนส่งใหม่,
R7 สถานีกรอกยายชา,
R8 สถานีเพลินใจ,
R9 โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง,
R10 สถานีหนองสนม,
R11 สถานีแหลมทอง พลาซ่า,
R12 สถานีแยกออคิด,
R13สถานีโลตัส (ศูนย์การค้าสตาร์),
R14 โรงพยาบาลระยอง,
R15 สถานีเพลินตา,
R16 สถานีสองพี่น้อง,
R17 สถานีคลองคา และ
R18 สถานี ไออาร์พีซี ซึ่งเป็นสถานีสุดท้าย
 
ผศ.ดร.ศักรธร กล่าวต่อว่า  ใช้แนวเส้นทางเกาะกลางถนนสุขุมวิทตลอดสาย  เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท มี 8 ขบวน 1 ขบวนบรรจุผู้โดยสาร 300 คน  ค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท ต่อไปคิด 1.8 บาท ต่อกม. หรือจากต้นทาง-ปลายทาง 15-56 บาท ก่อสร้าง 3 ปี 62-64 เปิดให้บริการปี 65 โดยเสนอก่อสร้างจุดจอดและจร 3 สถานี ได้แก่ สถานีห้วยโป่ง สถานีไออาร์พีซี และสถานีเทศบันเทิง เพื่อขอพื้นที่เทศบาลนครระยอง

ผศ.ดร.ศักรธร กล่าวอีกว่า 2.รถไฟฟ้าล้อยาง (Trolley Bus) โครงข่ายสายสีแดง สถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี ระยะทาง 23 กม. วิ่งบนถนนสุขุมวิทตลอดแนวเส้นทางใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท จัดซื้อรถไฟฟ้าล้อยาง 12 คัน คันละ 16 ล้านบาท โดยมีค่าก่อสร้างระบบไฟฟ้า 1,000 ล้านบาท  และ 3.รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (ชัตเติ้ลบัส) แบบเส้นทางเฉพาะ (Exclusive Lane) โครงข่ายสายสีแดง สถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี  23 กม. วิ่งถนนสุขุมวิทตลอดสาย ใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านบาท ซื้อรถ 12 คัน คันละ 16 ล้านบาท แต่ไม่มีค่าใชhจ่ายระบบไฟฟ้า สามารถดำเนินการได้ทันที



ผศ.ดร.ศักรธร กล่าวด้วยว่า โดยผลการศึกษาได้ระบุสายสีแดงสามารถใช้ระบบรถรางไฟฟ้ามาปฏิบัติการได้ เนื่องจากมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง จากปกติหากเดินทางด้วยรถยนต์ในชั่วโมงเร่งด่วนจากจุดต้นทาง-จุดหมายปลายทางจะใช้เวลาการเดินทางประมาณ 70 นาที ขณะเดียวกันหากเดินทางด้วยรถไฟฟ้ารางเบาจะใช้เวลาประมาณ 40 นาทีถึงจุดหมายหมายปลายทาง ซึ่งได้รวมระยะเวลาการหยุดจอดรับ/ส่งผู้โดยสารในแต่ละสถานีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้ 30 นาที นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนด้วย แต่การลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาด้านการเงินจะขาดทุน ซึ่งถ้าหากรัฐบาลช่วยสนับสนุนบางส่วน เช่น ที่ดินที่อยู่ตามแนวเส้นทางทำให้โครงการดังกล่าวสามารถลงทุนได้

นอกจากนี้ได้เสนอนำระบบชัตเติ้ลบัสเป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองโครงข่ายสายสีเหลือง เส้นทางแยกขนส่งใหม่-สถานีโรงเรียนมัธยมตากสินระยอง 13 กม. 14 สถานี ได้แก่
Y1 สถานีแยกขนส่งใหม่,
Y2 สถานีขนส่ง 2,
Y3 สถานีโกลบอลเฮ้าส์,
Y4 สถานีทับมา,
Y5 สถานีศูนย์ฮอนด้า,
Y6 สถานีเซ็นทรัล,
Y7 สถานีจันทอุดม,
Y8 สถานีโรงพยาบาลระยอง,
Y9 สถานีเทศบันเทิง,
Y10 สถานีวัดลุ่ม,
Y11 สถานีอนุบาลระยอง,
Y12 สถานีระยองวิทย์,
Y13 สถานีก้นปึก และ
Y14 สถานีโรงเรียนมัธยมตากสินระยอง

วิ่งบนถนนสายรอง เช่น ถนนตากสินมหาราช ใช้วงเงินลงทุน 500 กว่าล้านบาท จัดซื้อรถ 12 คัน คันละ 12 ล้านบาท รูปแบบการเดินรถวิ่งแชร์เลนร่วมกับรถประเภทอื่น ต้องขอความร่วมมือตำรวจจราจร เช่น ห้ามจอดรถตามไหล่ทางโดยเฉพาะถนนตากสินมหาราชที่ประชาชนนำรถยนต์ส่วนตัวมาจอดข้างทางจำนวนมาก
 
ผศ.ดร.ศักรธร   กล่าวต่อว่า  ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยให้มีระบบขนส่งมวลชนในจังหวัด และอยากให้สร้างรถรางไฟฟ้ามากกว่าเพราะสะดวก ตรงต่อเวลา ทำความเร็วได้ 40 กม.ต่อชม.เหมาะกับสภาพจราจรในเมืองระยองที่เริ่มติดขัดในชม. เร่งด่วน  ใช้ความเร็วได้แค่ 20 กม.ต่อชม.และเป็นระบบที่ทันสมัย รองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก แต่บางส่วนมีข้อเสนอว่าจำนวนสถานีใกล้กันเกินไปควรตัดออก หรือลดจำนวนสถานี หรือบางสถานีบนเชิงเนินเขา เช่นสถานีสองพี่น้อง และสถานีคลองคา พื้นที่เทศบาลตำบลเชิงเนินควรจัดรับฟังความคิดเห็นให้ครอบคลุมด้วย รวมทั้งต้องการให้แนวเส้นทางขยายไปยังโครงการอื่นๆ ที่ระยองกำลังดำเนินการ อาทิ  โครงการเมืองใหม่อัจฉริยะ(สมาร์ทซิตี้) บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง
 
ทั้งนี้จะสรุปผลเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์  และคาดว่ามี.ค. 61 จะนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ให้ทุนวิจัยโครงการนำเสนอเทศบาลนครระยองเสนอผู้บริหารจังหวัดผลักดันต่อไป ... อ่านต่อที่ :
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2017 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง เชื่อมไฮสปีดเทรนกระตุ้นศก.แหล่งท่องเที่ยว
ฐานเศรษฐกิจ 28 December 2017

เปิดรับฟังความเห็นไปเรียบร้อยแล้วสำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดระยองและการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยนำเสนอทั้ง 2 ระยะคาดว่าจะใช้งบประมาณลงทุนไม่น้อยกว่า 8,000ล้านบาทให้ประชาชนนำเสนอความเห็น

โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดระยองในครั้งนี้จะเน้นการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนหลักอย่างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ท่าเรือมาบตาพุด ซึ่งยังไม่ถึงตัวเมืองระยองเหลือราว 30-40 กิโลเมตร แม้ ว่ารัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมจะมีแผนก่อสร้างไปถึงจังหวัดตราดก็ตามแต่ยังจัดอยู่ในแผนระยะต่อไปซึ่งไม่ได้สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่เนื่องจากจะต้องรองบประมาณการลงทุนในส่วนต่อขยายและผลการศึกษาด้านความคุ้มค่าของโครงการในเฟสแรกมาประกอบการพิจารณาด้วย

Click on the image for full size

ดังนั้นจังหวัดระยองจึงได้ขอรับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการศึกษาแนวเส้นทาง ความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อนำเสนอเทศบาลเมืองระยอง ตลอดจนคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งผลักดันต่อไป โดยได้รับงบประมาณกว่า 3.6 ล้านบาทจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไปดำเนินการ

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดระยอง แบ่งออกเป็น 2 ระยะดำเนินการ โดยแนวเส้นทางแรกจะอยู่บนถนนสุขุมวิท เริ่มต้นจากพื้นที่คลังนํ้ามันพีทีที (PTT) ผ่านตลาดมาบตาพุด ผ่านสถานีขนส่ง ผ่านย่านแหลมทอง ผ่านโรงเรียนระยองวิทย์ ผ่านโรงพยาบาลระยอง ผ่านโรงเรียนมัธยมระยอง ผ่านบ้านล่าง ไปสิ้นสุดที่บริษัทปูนไออาร์พีซี ระยะทางรวมกว่า 20 กิโลเมตร โดยเส้นทางระยะที่ 1จะเป็นเส้นเมนหลัก ส่วนระยะที่ 2 ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรจะเน้นเป็นเส้นทางรองในการเชื่อมโยงให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ให้สามารถเชื่อมโยงถึงสนามบินอู่ตะเภาและแหล่งท่องเที่ยวบ้านเพ เกาะเสม็ด ทั้งนี้ในเบื้องต้นจะใช้รถบัสไฟฟ้าให้บริการแต่ในอนาคต แผนระยะ 10-20 ปีจะนำรถไฟฟ้ารางเบาเข้าไปให้บริการแทน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,325 วันที่ 24 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2018 10:00 am    Post subject: Reply with quote

โคราช-ขอนแก่น-ระยอง ร้องว๊าว!ได้นั่งรถไฟฟ้า
เดลินิวส์ อังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ชาวโคราช-ขอนแก่น-ระยอง เตรียมร้องว๊าว!! ต่อคิวรอได้นั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุง ส่วนอุดรฯ รอลุ้น!! แต่ชาวสองแควโหนรถเมล์รอไปก่อน ไปดูสิว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่??

สัปดาห์ที่แล้วพาไปอัพเดท “โครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด” ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษารายละเอียดเสร็จแล้ว เริ่มจากใต้สุด...โมโนเรลหาดใหญ่ จ.สงขลา และรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต รวมทั้งขึ้นเหนือไปสแกนรถไฟฟ้ารางเบา จ.เชียงใหม่กันแล้ว

สัปดาห์นี้จะพาไปส่องความคืบหน้ารถไฟฟ้าภาคอีสานและภาคกลางกัน ล่าสุดการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล รับทราบโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา

ที่ได้ข้อสรุปว่า...ระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม คือระบบรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทาง ได้แก่ สีเขียว สีส้ม และสีม่วง ระยะทางรวม 70 กม. รวม 75 สถานี แบ่งเป็น 2 ระยะ (เฟส) เฟสแรกสายสีเขียวพร้อมสายสีส้ม และเฟส 2 สายสีม่วง ให้ดำเนินการหลังสายสีเขียวและสีส้มเปิดให้บริการแล้ว 3 ปี

พร้อมพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหรือจุดจอดของระบบขนส่งสาธารณะ 2 แห่ง ได้แก่ ย่านสถานีรถไฟนครราชสีมา และสถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.นครราชสีมา แห่งที่ 2 โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณารูปแบบการลงทุนและการก่อสร้างน่าจะตอกเสาเข็มได้ในปี 62 ใช้เวลา 3 ปี เปิดบริการปี 65

โดย “สายสีเขียว” เส้นทางชลประทาน-สำนักงานขนส่ง2 มี 34 สถานี ระยะทาง 30 กม., “สายสีส้ม” เส้นทางดูโฮม-รพ.ป.แพทย์ 22 สถานี 20 กม. และ “สายสีม่วง” เส้นทางตลาดเซฟวัน-ค่ายสุรนารายณ์ 22 สถานี 20 กม.วงเงินลงทุน 32,000 ล้านบาท

ต่อด้วย รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น ที่ประชุม คจร. รับทราบผลการศึกษาโครงการฯ รูปแบบการลงทุนรัฐเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานระบบและจัดหาตัวรถ งานดำเนินการและบำรุงรักษา สำหรับเส้นทางที่เหมาะสมนำร่อง คือเส้นทางแนวเหนือ - ใต้ (บ้านสำราญ ต.สำราญ - ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น) ระยะทาง 22.8 กม.

ล่าสุดบริษัท ขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด (เคเคทีเอส) ผู้บริหารโครงการฯ จะเข้าพบ รมว.มหาดไทย หรือ มท.1 เพื่อหารือการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะการขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่ มาพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง และพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังเข้าพบ รมว.เกษตรและสหกรณ์ขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่ไปแล้ว วางแผนเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ หรืออย่างช้าปี 62 เปิดบริการปี 63

ส่วนรูปแบบการลงทุนจะจ้างเอกชนบริหารการเดินรถมีเคเคทีเอสเป็นผู้กำกับดูแล ออกนโยบายและบริหารภาพรวม สำหรับเคเคทีเอส ท้องถิ่นได้ผลักดันให้เกิดขึ้นมาจากการจดทะเบียนจัดตั้งจาก 5 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลสำราญ เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

นอกจากนี้ คจร. ยังรับทราบผลการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่มีความเป็นไปได้ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram) อัตราค่าโดยสารสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สูงอายุและผู้พิการ 10 บาท ประชาชนทั่วไป 20 บาท และนักท่องเที่ยว 30 บาท

มีแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี 3 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารพิษณุโลก แห่งที่ 1 ขนาด 6 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ศูนย์การค้าโลตัส ท่าทอง ขนาด 25 ไร่ รองรับกิจกรรมที่พักอาศัยเป็นหลัก และสถานีขนส่งผู้โดยสารพิษณุโลก แห่งที่ 2 ขนาด 50 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ การบริการขนส่งสาธารณะและบริการด้านโลจิสติกส์

สนข. จะไปศึกษารายละเอียดแนวเส้นทางเพิ่มเติม แต่แน่นอนแล้วว่า...ชาวสองแควที่รอรถไฟฟ้าก็ต้องทำใจว่า... “รถไฟฟ้ายังไม่ไปหานะเธอ” ต้องใช้รถ 2 แถวและรถเมล์ไปก่อนในรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น

นอกจากนี้ สนข. อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองอุดรธานี แต่ยังไม่ตกผลึกว่าจะเป็น ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ระบบรถโดยสารสาธารณะ (มินิบัส) รถรางเบาล้อยาง หรือรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปีนี้...ชาวอุดรฯ ต้องลุ้นว่าจะได้นั่งรถไฟฟ้าหรือไม่?!?

ปิดท้ายกับภาคกลางที่ จ.ระยอง ทำเลทองของ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ “อีอีซี” อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาล นอกจากชาวระยองฮิ!! จะได้ร้องว้าวว...กับ รถไฟฟ้าเชื่อม3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภาแล้ว

ล่าสุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ยังวิจัยพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (ทีโอดี) ในเขตเทศบาลนครระยอง ผลการศึกษามี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้า (LRT) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี ระยะทาง 23 กม.มี 18 สถานี

ใช้แนวเกาะกลางถนนสุขุมวิทตลอดสาย เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท ต่อไปคิด 1.8 บาท/กม. หรือจากต้นทาง-ปลายทาง 15-56 บาท ใช้เวลา 3 ปี เริ่มก่อสร้าง 62-64 เปิดบริการปี 65

2.รถไฟฟ้าล้อยาง (Trolley Bus) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี 23 กม. วิ่งบนถนนสุขุมวิทตลอดแนวเส้นทาง ใช้เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท และ 3.รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (ชัตเติ้ลบัส) แบบเส้นทางเฉพาะ (Exclusive Lane) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี 23 กม. ตามแนวถนนสุขุมวิท ใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท

ผลการศึกษาชี้ชัดว่า... “โครงข่ายสายสีแดง” เหมาะที่จะใช้ระบบรถรางไฟฟ้ามากที่สุด เนื่องจากคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ช่วยประหยัดเวลาเดินทาง จากปกติใช้รถยนต์ราว 1 ชม. ถึงจุดหมาย หากใช้รถไฟฟ้ารางเบาจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ประหยัดได้ถึงครึ่ง คือ 30 นาที

นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทางและช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนด้วย แต่การลงทุนรถรางไฟฟ้าอาจขาดทุน รัฐบาลควรช่วยสนับสนุนโครงการให้เดินหน้าไปได้ ทั้งนี้จะสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์ภายในเดือน มี.ค. นี้เพื่อนำผลการศึกษาเสนอสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ให้ทุนวิจัยโครงการนำเสนอเทศบาลนครระยองและเสนอผู้บริหารจังหวัดช่วยกันผลักดันต่อไป

ฝันของคนต่างจังหวัดได้นั่ง “รถไฟฟ้า”...สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยเหมือนคนกรุงเทพฯ คงไม่ไกลเกินเอื้อม...
…..........................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2018 10:56 pm    Post subject: Reply with quote

'ระยอง' ลุยศึกษาระบบขนส่งมวลชนรับไฮสปีดเทรนด์-ทางคู่

ศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2561 เวลา 06.10 น.

เรือโทศตวรรษ อนันตกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เปิดภายหลังเป็นประธานเปิดงานการประชุมสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจใน จ.ระยอง เพื่อรองรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่รองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)ว่า การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่งภายใน จ.ระยอง ถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ระยองได้เติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่ระบบขนส่งต่างๆ กลับได้รับการพัฒนาช้ากว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้ประชาชนชาวระยอง ได้รับผลกระทบด้านการขนส่งและการจราจร รวมทั้งปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนและการสูญเสียทางเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเป็นปริมาณมาก

ด้านนายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง กล่าวว่า ขณะนี้ระยองอยู่ระหว่างการว่าจ้างสถาบันการศึกษาของจังหวัดระยอง เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระบบขนส่งมวลชนจ.ระยอง ทั้งในเส้นทางหลัก และเส้นทางรองในหลายรูปแบบ อาทิ รถประจำทางบีอาร์ที รถไฟรางเบา (แทรม) รถไฟรางเดี่ยว(โมโนเรล) รวมถึงรถไฟฟ้าด่วนพิเศษ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆ และการขนส่งในภูมิภาคอาเซียนด้วย



นายมนตรี กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จากนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาพื้นที่อีอีซีที่มีหลายโครงการสำคัญในพื้นที่จ.ระยองประกอบด้วย โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 นั้น ระยองอยู่ระหว่างการเตรียมบุคลากร เพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่างๆ ของโครงการ และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน โดยได้ประสานงานกับมหาวิทยาลัยของประเทศจีน 5 แห่ง ในการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบราง รองรับการก่อสร้างและการซ่อมบำรุง ของโครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ด้วย ตอนนี้รัฐบาล โดยสำนักงานอีอีซี อยู่ระหว่างการทำการตลาด เพื่อเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติมาร่วมลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งล่าสุดพบว่ามีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมาร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งยุโรป อเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย

นายมนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่ อีอีซีนั้น จะช่วยสร้างมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจของพื้นที่และประเทศเติบโตอย่างมหาศาล โดยในปัจจุบัน จังหวัดระยองสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยกว่า 7% ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้านี้ จังหวัดระยอง จะสร้างรายได้ถึง 10% ของจีดีพี โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นด้านของปิโตรเคมี และเชื่อว่าอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างจะเติบโตตามด้วย จากการที่ตนได้หารือร่วมกับหอการค้าจังหวัดระยอง และสมาคมอสังหาริมทรัพย์นั้น ตนได้ให้คำแนะนำให้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมร่วมภาครัฐและเอกชนจังหวัดระยอง (กรอ.) จังหวัดระยอง ได้ตั้งศูนย์ประสานงานอีอีซีแห่งแรก และช่วยตรวจสอบโครงการต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร หรือกระทบประชาชนหรือไม่

ด้านรายงานข่าวจาก จ.ระยอง ระบุว่า โครงการดังกล่าว มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นผู้ดำเนินการศึกษา โดยได้รับทุนอุดหนุนวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประจำปี 61 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2018 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

ดันคมนาคมระบบรองระยอง เชื่อมไฮสปีดเทรนหนุนพื้นที่
ออนไลน์เมื่อ 5 กรกฎาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,379 วันที่ 1-4 กรกฎาคม 2561 หน้า 11



“ระยองพัฒนาเมือง” จี้คณะกรรมการอีอีซี เร่งผลักดันคมนาคมระบบรอง เมืองระยอง ประเดิมเปิดให้บริหารรถโดยสาร เชื่อมรถไฟความเร็วสูง และ 7 ศูนย์เศรษฐกิจใหม่ หวังให้เกิดการบริการที่ทั่วถึง และจูงใจผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน

จากนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ได้ส่งผลให้ภาคเอกชนมีความตื่นตัวด้านการลงทุน และเห็นโอกาสจากการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว จึงมีเอกชนในพื้นที่จังหวัดระยองเห็นโอกาสตรงจุดนี้ และรวมตัวกันจัดตั้งบริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด ขึ้นมารองรับการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ โดยใช้ศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่ ในการขับเคลื่อน โดยไม่ต้องไปพึ่งภาครัฐ และยังเป็นการช่วยปลดล็อกอุปสรรคด้านการลงทุน กรณีเวนคืนที่ดินมาพัฒนา เป็นต้น

นายภูษิต ไชยฉํ่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งผลักดันการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งระบบรอง ในพื้นที่อีอีซี เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับพื้นที่การพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจ โดยจะนำรถโดยสารประจำทาง (สมาร์ทบัส) มาเปิดให้บริการในระยะแรก เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบคมนาคมในพื้นที่ รองรับผู้โดยสารจากสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่มาสิ้นสุดที่สถานีอู่ตะเภาและหลังจากนั้นจะลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ในระยะต่อไป เพื่อให้เข้าถึงบริการระบบขนส่งมวลชนได้อย่างทั่วถึง


อีกทั้ง ยังรองรับการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นใหม่ 7 แห่ง ในเมืองระยอง ได้แก่ ศูนย์เศรษฐกิจใหม่รอบท่าอากาศยานอู่ตะเภา ศูนย์เศรษฐกิจบ้านฉาง ศูนย์เศรษฐกิจมาบตาพุด ศูนย์เศรษฐกิจเซ็นทรัลพลาซาระยอง ศูนย์เศรษฐกิจศูนย์การค้าแหลมทอง ศูนย์เศรษฐกิจเมืองระยอง และศูนย์เศรษฐกิจเทศบันเทิง


โดยขณะนี้ได้ส่งแผนการพัฒนาดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) บรรจุเป็นโครงการเร่งด่วนแล้ว เพื่อไปผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปหาผู้ให้บริการ ซึ่งบริษัทก็มีความพร้อมที่จะดำเนินการในจุดนี้ และได้ประสานงานกับสำนักงานขนส่งจังหวัดระยองไปเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ หากมีระบบฟีดเดอร์ให้บริการอย่างทั่วถึง พร้อมกับการเร่งพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ แล้วจะส่งผลให้เกิดแรงจูงใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ระยองมากขึ้น เนื่องจากจะมีโครงข่ายระบบคมนาคมเชื่อมโยงกับพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจใหม่ 7 แห่ง

ดังนั้น จึงต้องเร่งผลักดัน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นที่การพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจต่างๆ พร้อมกับการเร่งเปิดให้บริการรถโดยสารสาธารณะรูปแบบสมาร์ทบัสก่อนที่จะปรับรูปแบบเป็นโมโนเรลในระยะต่อไป หากเต็มพิกัดให้บริการ จะมีทั้งแนวเส้นทางในพื้นที่เมืองเก่าระยอง ขยายออกไปสู่พื้นที่โซนใหม่ต่างๆ

“ขณะนี้บริษัทได้รับอนุญาตจากสำนักงานขนส่งจังหวัดให้ทดสอบการเดินรถเรียบร้อยแล้ว ซึ่งภายใน 3 เดือนต่อจากนี้จะเปิดให้บริการสมาร์ท บัส เส้นทางนำร่องประมาณ 15 กิโลเมตรเพื่อให้ประชาชนคุ้นเคยกับการใช้บริการสาธารณะรูปแบบใหม่กันมากขึ้น ลดอุบัติเหตุและลดปัญหาการจราจร โดยศูนย์เศรษฐกิจจะเชื่อมต่อได้ทั้งย่านการค้าดั้งเดิม และย่านใหม่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น”

ด้านนายฐาปนา บุญยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย และที่ปรึกษาบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิทคอร์เปอร์เรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ในการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่อีอีซี จะมีการเสนอ “ศูนย์คมนาคมขนส่งระบบรอง” ไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เพื่อเร่งผลักดันให้โครงการต่างๆ เกิดขึ้นใน 4 พื้นที่ทั้งฉะเชิงเทรา ศรีราชา-พัทยา และระยอง โดยเฉพาะเขตจ.ระยอง ที่จะมีศูนย์เศรษฐกิจเกิดขึ้น 7 แห่งจำเป็นต้องวางระบบให้เกิดการเชื่อมโยงกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2018 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

'ระยอง'จับมือ'ม.บูรพาฯ'จัดประชุมโครงการออกแบบก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน
วันพุธ ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561, 18.56 น.

5 ก.ย.61 ที่ห้องสร้อยทอง 2 โรงแรมโกเด้นซีตี้ระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง นายธีรวัฒน์ สุดสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา และรับฟังความคิดเห็นการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง



ผศ.อุทาร พิชญาภรณ์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการบริการงานราชการแผ่นดิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายมนตรี ชนะชัยวิบูลย์วัฒน์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริการส่วนจังหวัดระยอง หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น สื่อมวลชน กว่า 200 คน เข้าร่วมประชุมสัมมนาฯ

นายธีรวัฒน์ สุดสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า จากการที่จังหวัดระยองร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาดำเนินโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบ เพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน เมืองระยอง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ครั้งสุดท้าย

โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเขตเมืองระยอง จะนำมาใช้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้สำหรับการวางแผนและการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาหรือแผนปฏิบัติ การก่อน-ระหว่าง-หลัง การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองไปยังระบบการขนส่งอื่นๆภายในจังหวัดระยอง

สำหรับภายในงานการประชุมสัมมนาฯ มีการบรรยายให้ทราบถึงข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ จากคณะที่ปรึกษาฯ ของมหาวิทยาลัยบูรพา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2019 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

ระยองคึกรับเมืองไฮสปีด ชงรถไฟฟ้า4สายเชื่อมEEC
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2562 เวลา 09:25 น.

ระยองตื่นรับไฮสปีดเทรนแต่หัววัน รื้อระบบขนส่งใหม่ทั้งกระบิ ชงลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา 4 สาย เชื่อม smart bus 3 เส้นทาง เปิดให้เอกชนร่วมวง PPP กว่า 2.5 หมื่นล้าน พลิกที่ดินย่าน CBD เมืองเก่า พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริการผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง เชื่อมเศรษฐกิจอีอีซีบูม ม.บูรพา-ม.เกษตร ดันพิมพ์เขียวแจ้งเกิด

แหล่งข่าวระดับสูงจากองค์การบริหารจังหวัดระยองเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ระยองกำลังจะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหม่ คู่กับการพัฒนาที่ดินรอบสถานี เงินลงทุน 15,000-25,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามการศึกษา 2 ฉบับคือ 1.โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง 25,000 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานจังหวัดระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยบูรพาศึกษา

ฉบับที่ 2.การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง 15,000 ล้านบาท ซึ่งเทศบาลนครระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษา พร้อมเสนอแผนพัฒนาเมืองรัศมีรอบสถานีหลัก เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาและสรรหาผู้ดำเนินโครงการ อาจให้เอกชนร่วมลงทุน PPP หัวใจของการศึกษาทั้ง 2 ฉบับ พบว่า”จราจรติดขัดเป็นปัญหาหลักของระยอง และในอนาคต EEC เกิด จะมีคนเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล ปริมาณจราจรในอนาคตมีความต้องการเดินทางในเขตผังเมืองรวมระยอง จะเพิ่มขึ้นเป็น 383,231 เที่ยว/วัน ปี 2563 จะมีปริมาณการเดินทางเพิ่มขึ้น 73.06% โดยระบบขนส่งใช้รถสองแถวเป็นหลัก จึงต้องพัฒนา”

โชว์รถไฟฟ้า 4 สายเชื่อมเมือง

โครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยองนั้น แบ่งเป็น 3 ระยะ รวม 316.40 กม.84 สถานี วงเงิน 25,845,252,880 บาท แบ่งเป็น โครงการระยะสั้น รถไฟฟ้า light rail transit (LRT) (ระยะที่ 1) วิ่งยกระดับบนเกาะกลางคือ สายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง -สถานีตะพง 20 กม. 7 สถานี วงเงิน 12,854,980,000 บาท และ smart bus 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) สายสีแดง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1-ห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 2) สายสีฟ้า สถานีห้างสรรพสินค้า Passion-สถานีอู่ตะเภาและ 3) สายสีเทา สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2-แยกทับมา-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 รวม 89.93 กม. 36 สถานี วงเงิน 194,403,000 บาท



โครงการระยะกลาง วงเงิน 12,641,539,880 บาท แบ่งเป็นรถ LRT 1 สายสีม่วง (ระยะที่ 2) สถานี รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์-สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง 23.99 กม. 5 สถานี วงเงิน 12,458,741,880 บาท และ smart bus 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.สายสีเขียวเข้ม สถานีขนส่งแห่งที่ 1-สถานีบ้านค่าย 2.สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 รวม103.88 กม. 21 สถานี วงเงินรวม 182,798,000 บาท

โครงการระยะยาว แบ่งเป็น smart bus สายสีน้ำเงิน สถานีตะพง-สถานีท่าเรือบ้านเพ 29.80 กม. 6 สถานี วงเงิน 61,160,000 บาท และสายสีเหลือง สถานีโรงพยาบาลระยอง-สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ระยะทาง 48.80 กม. มี 13 สถานี วงเงิน 93,170,000 บาท

นอกจากศึกษาพื้นที่ 3 สถานีหลัก ได้แก่ 1) สถานีตะพง ลักษณะ TOD ในพื้นที่อยู่อาศัยชุมชนชานเมือง เน้นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ผู้มีรายได้ปานกลางพัฒนาเป็นคอมมิวนิตี้มอลล์ 2) สถานีเทศบันเทิง ในศูนย์กลางเมือง เน้นพัฒนาสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง-รายได้สูง

3) สถานีสำนักงานขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 เน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ส่งเสริมเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่การค้า และที่อยู่อาศัยด้วยจักรยาน ส่งเสริมการพัฒนา community mall ขนาดเล็ก

พลิกที่ดิน 3 ย่าน CBD เก่า

นายฉัตรนุชัย สมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ผลการศึกษาให้เริ่มต้นด้วยรถชัตเทิลบัส (shuttle bus) ก่อน หลังจากนั้นจึงทำรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน ภายใต้เงื่อนไขที่มีสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีที่ 10 ระยองแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ สายสีแดง ระยะทาง 23 กม. มี 18 สถานี ถ้าใช้ระบบ LRT วงเงินลงทุน 14,476.43 ล้านบาท เริ่มจากถนนสุขุมวิทบริเวณห้วยโป่ง ถึงบริษัท IRPC และสายสีเหลือง ใช้รถชัตเทิลบัสวงเงินลงทุน488.01 ล้านบาท ระยะทาง 13 กม. มี 14 สถานี เริ่มจากถนนตากสินมหาราช บริเวณก้นปึกถึงถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทอุดม บรรจบสาย 36 และเลี้ยวซ้ายแยกโกลบอลเฮ้าส์ ไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทบริเวณแยกขนส่ง (เพิ่มสถานี ร.ร.ตากสิน 1 สถานี)

รวมถึงเสนอการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง หรือ TOD จำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีระยองวิทยาคม สถานีโรงพยาบาลระยอง สถานีเทสโก้ โลตัส สถานีแหลมทอง และสถานีเซ็นทรัล เกาะลอย และแผนในการพัฒนาเมืองระยอง เพื่อพลิกฟื้นย่านเมืองเก่าที่เคยเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) เมื่อ50 ปีก่อนให้กลับคืนมาใน 3 ย่านเก่าได้แก่ บริเวณถนนยมจินดา เทศบันเทิง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ขณะเดียวกันจะนำรถสมาร์ทบัสมาวิ่งในเส้นทางสายสีเหลืองก่อน

นายภูษิต ไชยฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แผนการพัฒนาย่านพาณิชยกรรม หรือเมืองเก่าบนถนนสุขุมวิท ซึ่งกินพื้นที่รวมที่ดินของเอกชน 4 ตร.กม. จะมุ่งพัฒนาพื้นที่ที่อยู่ใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลนครระยอง บริเวณตลาดเทศบันเทิง เชื่อมต่อกับถนนยมจินดาเท่านั้น ทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงกลางปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2019 3:33 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ระยองคึกรับเมืองไฮสปีด ชงรถไฟฟ้า4สายเชื่อมEEC
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2562 เวลา 09:25 น.


ส่องโครงข่าย “รถไฟฟ้าระยอง” พัฒนาพื้นที่เมืองเชื่อม CBD
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 11:26 น.

Click on the image for full size

ขณะที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กำลังเร่งเจรจากับกลุ่ม ซี.พี. เพื่อหาข้อสรุปให้จบภายในเดือน มี.ค.นี้

ด้าน “จังหวัดระยอง” หนึ่งในจังหวัดซึ่งถูกประกาศเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้เด้งรับนโยบายดังกล่าว ด้วยการศึกษาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงเครือข่ายกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้าสู่อำเภอเมืองระยอง เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในปัจจุบัน และเตรียมรองรับ EEC ในอนาคต พร้อมชงให้ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาคัดเลือกถึง 2 ฉบับ

ระหว่างผลการศึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง มูลค่า 25,845,252,880 บาท ซึ่งสำนักงานจังหวัดระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยบูรพาศึกษา และ 2.การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง มูลค่า 15,000 ล้านบาท ซึ่งเทศบาลนครระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษา

จว.ชง 4 สาย LRT-สมาร์ทบัส

สำหรับผลการศึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยองของสำนักงานจังหวัด แหล่งข่าวระดับสูงจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองระบุว่า โครงการจะเริ่มด้วยการนำรถสมาร์ทบัส (smart bus) วิ่งก่อน ค่อยทยอยก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเบา (light rail transit-LRT) ยกระดับคล้าย BTS เพื่อไม่ให้มีปัญหาจุดตัดกับถนน ระยะทาง 316.40 กม. มี 88 สถานี แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะ รวมวงเงิน 25,845,252,880 บาท (ดูแผนที่)



เริ่มจากระยะสั้น (ระยะที่ 1) 316.40 กม. มี 43 สถานี วงเงินรวม 13,049,383,000 บาท แบ่งเป็น รถไฟฟ้า LRT (ระยะที่ 1) วิ่งยกระดับบนเกาะกลางถนนสุขุมวิท 1 เส้นทาง คือ สายสีม่วง เริ่มจากสถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ผ่านมาสถานีสำนักงานขนส่ง สถานีสนามกีฬากลาง ผ่านสถานี Passion สถานีโรงพยาบาลระยอง สถานี IRPC มาถึงสถานีตะพง ระยะทาง 20 กม. มี 7 สถานี วงเงิน 12,854,980,000 บาท และ smart bus 3 เส้นทาง ระยะทาง 89.93 กม. มี 36 สถานี วงเงิน 194,403,000 บาท ได้แก่ 1) สายสีแดง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1-ห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 2) สายสีฟ้า สถานีห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีอู่ตะเภา และ 3) สายสีเทา สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ถึงแยกทับมา-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2

โครงการระยะกลาง (ระยะที่ 2) วงเงินรวม 12,641,539,880 บาท แบ่งเป็นรถ LRT 1 สายสีม่วง (ระยะที่ 2) ใช้เกาะกลางถนนสุขุมวิท เริ่มจากสถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วิ่งมาสถานีบ้านฉาง เลี้ยวมาทางสถานีตลาดสี่ภาค สถานีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตรงมาถึงสถานีมาบตาพุด มาสิ้นสุดที่สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ระยะทาง 23.99 กม. มี 5 สถานี วงเงิน 12,458,741,880 บาท และ smart bus 2 เส้นทาง รวมระยะทาง 103.88 กม. มี 21 สถานี วงเงินรวม 182,798,000 บาท ได้แก่ 1.สายสีเขียวเข้ม สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถึงสถานีบ้านค่าย 2.สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยองถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2

และโครงการระยะยาว วงเงิน 154,330,000 บาท แบ่งเป็น smart bus 2 เส้นทาง ระยะทาง 48.80 กม. มี 13 สถานี วงเงิน 93,170,000 บาท ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สถานีตะพงถึงสถานีท่าเรือบ้านเพ ระยะทาง 29.80 กม. จำนวน 6 สถานี วงเงิน 61,160,000 บาท และสายสีเหลือง สถานีโรงพยาบาลระยองถึงสถานีขนส่งแห่งที่ 1

เทศบาลชู 2 สายแดง-เหลือง

ด้านโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง เสนอนำรถชัตเทิลบัส (shuttle bus) มาวิ่งก่อนค่อยก่อสร้างระบบรถรางไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าล้อยาง (tram) วิ่งเกาะกลางถนนระดับพื้นดินในถนน 2 สายหลัก คือ สุขุมวิท และสาย 36 เพื่อไม่ให้มีตอม่อ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ เป็นการศึกษาภายใต้เงื่อนไขมีรถไฟความเร็วสูงสถานีที่ 10 ระยอง และพยายามวางแนวเส้นทางเชื่อมย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจ (CBD) สำคัญ

เริ่มเส้นทางหลักสายสีแดง ทำรถรางไฟฟ้า ระยะทาง 23 กม. มี 18 สถานี วงเงินลงทุน 14,476.43 ล้านบาท จากถนนสุขุมวิทบริเวณห้วยโป่ง ผ่านสถานีหลัก ได้แก่ สถานีห้วยโป่ง วิ่งมาสถานีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สถานีมาบตาพุด สถานีศูนย์ราชการเนินสำลี สถานีโขดหิน สถานีแยกขนส่งใหม่ สถานีกรอกยายชา สถานีโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง สถานีหนองสนม สถานีแหลมทองพลาซ่า สถานีแยกออคิด สถานีเพลินตา สถานีสองพี่น้อง สถานีคลองคา มาสิ้นสุดที่สถานี IRPC

ส่วนสายสีเหลือง จะใช้รถชัตเทิลบัสวิ่ง วงเงินลงทุน 488.01 ล้านบาท ระยะทาง 13 กม. มี 14 สถานี เริ่มจากถนนตากสินมหาราชบริเวณก้นปึก ถึงถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทอุดม บรรจบสาย 36 และเลี้ยวซ้ายแยกโกลบอลเฮ้าส์ ไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทบริเวณแยกขนส่ง ประกอบด้วยสถานีหลัก อาทิ สถานีแยกขนส่ง 2 สถานีโกลบอลเฮ้าส์ สถานีทับมา สถานีศูนย์ฮอนด้า สถานีเซ็นทรัล สถานีโรงพยาบาลระยอง สถานีเทศบันเทิงพลาซ่า สถานีก้นปึก สถานีระยองวิทย์ และสถานีโรงเรียนตากสิน

ลุ้นเอกชนรายใหญ่ลงทุน PPP

ในด้านเงินลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน ทางจังหวัดเองไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะลงทุน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนไม่ได้มีเงินลงทุนเหมือนกับจังหวัดขอนแก่น ดังนั้น ความเป็นไปได้คงต้องให้ทาง สกพอ.หางบประมาณมาลงทุน หรือสรรหาผู้มาดำเนินโครงการ อาจจะให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP โดยมีพื้นที่ตามสถานีให้พัฒนาคล้ายกับโครงการรถไฟความเร็วสูง

แหล่งข่าวจากจังหวัดระยองระบุว่า ยอมรับว่าการลงทุนโครงการระดับ 15,000-25,000 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนที่มหาศาล ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเลือกโครงการที่สำนักงานจังหวัด หรือเทศบาลนครระยองศึกษา ล้วนไม่คุ้มค่าในการลงทุน แม้จะบวกจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเมื่อ EEC เกิดแล้ว เนื่องจากเมื่อคำนวณประชากรที่จะใช้บริการรถขนส่งมวลชนของระยองในเมืองมีเพียง 2 แสนคน (จากปัจจุบันประชากรทั้งจังหวัดตามทะเบียนบ้านมีประมาณ 7 แสนคน มีประชากรแฝงประมาณ 5 แสนคน) ดังนั้น จุดเริ่มต้นจึงเชื่อมโยงการเดินทางสาธารณะด้วยระบบสมาร์ทบัสเป็นตัวตอบโจทย์ขนส่งมวลชนได้ระดับหนึ่ง ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©