RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311867
ทั่วไป:13559535
ทั้งหมด:13871402
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนทางคู่ 4 เส้นทาง และรถจักร EV
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนทางคู่ 4 เส้นทาง และรถจักร EV
Goto page 1, 2, 3 ... 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2018 8:12 am    Post subject: โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนทางคู่ 4 เส้นทาง และรถจักร EV Reply with quote

‘รฟท.’ ศึกษาเดินรถไฟ 4 สาย วงเงิน ‘แสนล้าน’
กรุงเทพธุรกิจ 17 ก.พ. 61 นโยบายเศรษฐกิจ

การรถไฟฯ ศึกษาการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า 4 เส้นทาง วงเงินลงทุน 1 แสนล้าน ผลการศึกษาชี้สายใต้-อีสานคุ้มสุด เตรียมชงครม.ของบ 200 ล้านออกแบบรายละเอียด ก่อนจัดทำลำดับความสำคัญของการลงทุน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วานนี้ (16 ก.พ.) ว่า การรถไฟฯ ได้ศึกษาการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าเพิ่มเติม 4 เส้นทาง จากปัจจุบันมีแผนลงทุนเพียง 1 เส้นทางคือ เส้นทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ในโครงการรถไฟทางคู่เฟสที่ 2

เส้นทางที่ศึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา โดยหลังจากนี้ การรถไฟฯ จะเสนองบประมาณออกแบบรายละเอียดวงเงิน 100-200 ล้านบาทให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก่อนจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนเส้นทางต่าง ๆ


นายอาคม กล่าวต่อว่า โครงการรถไฟทางคู่เฟสแรก 7 เส้นทาง เริ่มก่อสร้างหมดแล้ว ยกเว้นเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร–ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 70 กิโลเมตร ที่อยู่ระหว่างการปรับแบบและจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน ส.ค. นี้

นอกจากนี้ การรถไฟฯ อยู่ระหว่างการผลักดันโครงการรถไฟทางคู่เฟสที่ 2 จำนวน 7 เส้นทางและรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง รวมเป็น 9 เส้นทาง โดยรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร วงเงิน 71,696 ล้านบาท และช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร วงเงิน 54,684 ล้านบาท วงเงินรวม 1.3 แสนล้านบาทจะเสนอให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบได้ก่อนในเดือน มี.ค.นี้

โครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 ที่เหลืออีก 7 เส้นทาง อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม คาดว่าจะทยอยเสนอให้ ครม. เห็นชอบได้เร็วที่สุดในเดือน เม.ย.-พ.ค. นี้ ด้านโครงการทางรถไฟสายใหม่เชื่อมต่อจังหวัดสำคัญ หรือรถไฟทางคู่เฟสที่ 3 จำนวน 14 เส้นทาง วงเงินลงทุน 5 แสนล้านบาท ได้ขอให้เร่งศึกษาและออกแบบรายละเอียดให้แล้วเสร็จภายในปี 2562

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะประสานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดสภาพัฒน์) เพื่อขอให้จัดประชุมและเร่งพิจารณาโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ในต้นเดือน มี.ค. ก่อนเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาในปลายเดือน มี.ค.นี้

ขณะเดียวกันการรถไฟฯ จะเสนอโครงการจัดหาหัวรถจักใหม่ด้วยวิธีซื้อ 50 คัน วงเงิน 6,500 ล้านบาท ให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาในเดือน มี.ค. เพื่อเร่งเปิดประมูล เพราะต้องได้ตัวเอกชนในปีนี้ เพื่อให้ทันกับการเปิดบริการรถไฟทางคู่เฟส 1 ที่จะเริ่มตั้งแต่ปี 2562-2565

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การศึกษาโครงการการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนทางคู่ 4 เส้นทาง รางกว้าง 1 เมตรครอบคลุมระยะทาง 885 กิโลเมตร ประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ปากน้ำโพ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย-ชุมทางถนนจิระ, สายใต้ ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน และสายตะวันออก ชุมทางบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา

ผลการศึกษาชี้ว่า การรถไฟฯ ต้องลงทุนเรื่องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ก่อสร้างงานโยธา, วางราง, ระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม, ระบบไฟฟ้า, ล้อเลื่อน, โรงซ่อมบำรุงและที่พัก รวมวงเงินประมาณ 100,907 ล้านบาท ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) รวมอยู่ที่ 9%และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 13.84%

สำหรับการลงทุนระบบไฟฟ้าสายเหนืออยู่ที่ราว 2.9 หมื่นล้านบาท, สายตะวันออกเฉียงเหนือ 3 หมื่นล้านบาท, สายตะวันออก 1 หมื่นล้านบาท, สายใต้ 3.4 หมื่นล้านบาท โดยสายตะวันออกเฉียงเหนือมีFIRRสูงสุดอยู่ที่ 10.84%ด้านEIRRสูงสุดเป็นของสายใต้อยู่ที่ 13.64%และรองลงมาเป็นสายตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ 13.19%

ข้อดีของระบบไฟฟ้าคือ ค่าซ่อมบำรุงถูกกว่ารถดีเซลไฟฟ้า, มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานถูกกว่า, เครื่องยนต์มีน้ำหนักเบากว่า ส่งผลให้ค่าซ่อมรางถูกลง 2-5%, ความเร็วสูงสุดเพิ่มขึ้น, มลพิษทางอากาศลดลง 20-30%


Last edited by Mongwin on 07/01/2023 12:07 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43663
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2018 1:49 am    Post subject: Reply with quote

บางซื่อ - ปากน้ำโพ 243 กิโลเมตร 33,626.73 ล้านบาท - ค่าติดระบบรถไฟฟ้า และ ซื้อรถไฟฟ้าไว้ใช้ - เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 20 นาที
บางซื่อ - โคราช 257 กิโลเมตร 34,956.42 ล้านบาท - ค่าติดระบบรถไฟฟ้า และ ซื้อรถไฟฟ้าไว้ใช้ - เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 30 นาที
บางซื่อ - พัทยา 155 กิโลเมตร 14,932.78 ล้านบาท - ค่าติดระบบรถไฟฟ้า และ ซื้อรถไฟฟ้าไว้ใช้ - เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาที
บางซื่อ - หัวหิน 222 กิโลเมตร 35,377.91 ล้านบาท - ค่าติดระบบรถไฟฟ้า และ ซื้อรถไฟฟ้าไว้ใช้ - เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 15 นาที
เร็วสูงสุด 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง EIRR 13.84 - พอให้สภาพัฒน์พิจารณาได้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10209523110309157&set=a.1784865115936.78741.1668776543&type=3&theater&comment_id=10209523793366233&notif_t=feedback_reaction_generic&notif_id=1529233465509670
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43663
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2018 1:45 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ทุ่ม 1 แสนล้าน ผุดรถไฟไฟฟ้า 4 เส้นทางเชื่อมกทม. กับ นครสวรรค์ โคราช หัวหิน และพัทยา
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 - 18:32 น.
รฟท.ทุ่มแสนล้านลุยรถไฟไฟฟ้า นำร่อง 4 เส้นทางเปลี่ยนถ่ายจากระบบดีเซลร้อยปี
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 13 สิงหาคม 2561 - 05:01



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยทและมอบนโยบายการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ได้เร่งรัดให้รฟท. ยกระดับคุณภาพการให้บริการ โดยเร่งรัดทำโครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า หรือรถไฟไฟฟ้า ทดแทนการเดินรถแบบระบบดีเซล เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เพิ่มความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งจากการผลการศึกษาเบื้องต้น รฟท. แจ้งว่าจะทำโครงการรถไฟไฟฟ้าในจำนวน 4 เส้นทาง เชื่อม 4 ภูมิภาค คือ

1. กทม.-นครสวรรค์
2. กทม.-นครราชสีมา
3. กทม.-หัวหิน และ
4. กทม.-พัทยา
โดยขั้นตอนหลังจากนี้ จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการออกแบบก่อสร้างประมาณ 100-200 ล้านบาท จากนนั้นจึงจะมาจัดลำดับความสำคัญว่าจะเริ่มก่อสร้างเส้นทางไหนก่อน

รายงานข่าวจากรฟท. แจ้งว่า การดำเนินโครงการรถไฟไฟฟ้า 4 เส้นทาง เป็นไปตามแผนวิสาหกิจของการรถไฟฯ ระหว่างปี 2560- 2564 ซึ่งจากผลการศึกษาระบุว่าโครงการรถไฟไฟฟ้าทั้ง 4 เส้นทาง มีความเหมาะสมในการดำเนินงาน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 100,907.57 ล้านบาท โดยมีแผนที่จะเดินรถด้วยระบบไฟฟ้ารวม 885 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น

1. เส้นทาง กทม.-นครสวรรค์ เส้นทาง เริ่มจาก ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ปากน้ำโพ ระยะทางรวม 243 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 57 แห่ง
(252 ก.ม. ถ้านับจากกรุงเทพ) มูลค่า 28,720,240,462 บาท

2. เส้นทางกทม.-นครราชสีมา ช่วงชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย-ชุมทางจิระ ระยะทาง 176 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 31 แห่ง
(243 ก.ม. ถ้านับจากกรุงเทพ) มูลค่า 23,682,122,249 บาท

3. เส้นทางกทม.-หัวหิน ช่วง ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 148 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 46 แห่ง แห่ง และ
(209 ก.ม. ถ้านับจากกรุงเทพ) มูลค่า 33,572,420,609 บาท
4. เส้นทาง กทม.-พัทยา ช่วงชุมทางบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา ระยะทาง 159 ก.ม. สถานีหยุดรถ 37แห่ง
(160 ก.ม. ถ้านับจากกรุงเทพ) มูลค่า 10,127,296374 บาท

“การยกระดับการเดินรถไฟดีเซลให้เป็นการเดินรถระบบไฟฟ้า สำหรับ 4 เส้นทางนำร่อง การรถไฟฯ จะต้องใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 100,907.57 ล้านบาท เพราะต้องมีการลงทุนซื้อหัวรถจักรไฟฟ้าใหม่มาวิ่งแทนรถดีเซล, ต้องปรับปรุงระบบบเดินรถ และติดตั้งระบบไฟฟ้าป้อนเข้าระบบ ติดตั้งระบบอาณัติสัญญา รวมทั้งสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟไฟฟ้าด้วย”

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรถไฟไฟฟ้าทั้ง 4 เส้นทาง จากการศึกษาพบว่ามีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจรวมทั้ง 4 เส้นทางค่อนข้างดี อยู่ที่ 13.84% โดยสามารถเรียงลำดับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากมากมาหาน้อยได้ดังนี้ 1. เส้นทางกทม.-หัวหิน อยู่ที่ 13.64% รองลงมาได้แก่ กทม.-โคราช อยู่ที่ 13.19% , กทม.-พัทยา 10.55% และ เส้นทาง กทม.-นครสวรรค์ อยู่ที่ 7.01%

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่ารฟท. กล่าวว่า รถไฟฯ จะเสนอโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และเส้นทางบ้านไผ่-นครพนม มูลค่ารวม 1.4 แสนล้านบาท ให้ ครม. เห็นชอบเดือนมี.ค. นี้ สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟส 2 ที่เหลืออีก 7 เส้นทาง จะเร่งจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมและทยอยเสนอให้ ครม. พิจารณาตั้งแต่เดือนเม.ย.-พ.ค.
https://www.youtube.com/watch?v=8LKGjQfVoXw
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43663
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2018 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้การต้อนรับและหารือกับ Mr. Shigeki Miyake JICA Senior Representative และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง
ข่าวโดย นายปัญญะ รัตนวราหะ
ภาพโดย นางสาวดริน ชัยเดช
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้การต้อนรับและหารือกับ Mr. Shigeki Miyake JICA Senior Representative และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง เกี่ยวกับแนวทางการเปลี่ยนระบบการเดินรถไฟจากระบบดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า แนวทางการพิจารณาเลือกเส้นทางที่เหมาะสมในการดำเนินการในประเทศไทย และประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงระบบการเดินรถไฟของประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เข้าร่วมการหารือ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม

Jica ศึกษา พบว่า เส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ คุ้มค่ามากที่สุด นัยว่า ขนคน ขนปูน ขนข้าวขนมัน ไปลงเรือและขนน้ำมันกลั่นไปส่งภาคอีสานที่เป็นตัวทำเงินทำทองเยอะ จุดคุ้มทุนของการติดระบบรถไฟฟ้าคือในเส้นทางควรมีขบวนรถวิ่งมากกว่า80 ขบวน/วัน ซึ่งสายอีสานมีความเป็นไปได้มากสุด รองลงมาสายเหนือ งานนี้ คงได้มี โคราช คอมมูเตอร์ เหมื่อนเคแอลคอมมูเตอร์หละสินะ
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2043571695689765
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43663
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2018 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดตำนานหัวรถจักรดีเซลใช้ไฟฟ้า ไจก้าช่วยปั้นโมเดล 2 สาย 4 หมื่นล้านบาท [สาย กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครราชสีมา และ สาย กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - พิษณุโลก] มีทั้งรถจักรไฟฟ้า และ รถไฟฟ้า EMU เหมือนรถไฟฟ้าสายสีแดงแต่คราวนี้วิ่งระหว่างเมืองเหมือน KTMB ทำ จะได้ปลดถ่ายรถจักรดีเซลไฟฟ้าไปทำขบวนรถสินค้า หรือ รถระหว่างเมื่องที่ความต้องการยังไม่มากพอเดินรถไฟฟ้า และ รถดีเซลราง ไปทำขบวน รถท้องถิ่น เพราะ รถท้องถิ่นตอนนี้ขาดแคลนเหมือนกัน โดยหมายใจจะทำให้สำเร็จในปี 2575 หลังจากที่รอมานานแต่ปี 2472

ถ้าจะให้มีกำไรจากการเดินรถไฟฟ้าต้องเดินได้อย่างน้อย 80 ขบวน

งานนี้ได้ย้ายโรงงานมักกะสันมาที่เชียงราก แก่งคอย และ ที่ ศรีราชา ส่วนในเขตเมืองเช่ที่โรงรถุดีเซลรางกรุงเทพและ ที่ โรงรถจักรบางซื่อ ทำหน้าที่ซ่อมรถไฟฟ้าที่จะมาใหม่แทน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2735179213162793&set=a.213819491965457&type=3&theater

ปิดตำนานหัวรถจักรดีเซลใช้ไฟฟ้า
จันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 13.18 น.

คมนาคมผุดไอเดียพัฒนาระบบรถไฟพลังงานไฟฟ้าเพื่อยกระดับโลจิสติกส์ ใช้แทนหัวรถจักรดีเซล ไจก้าช่วยปั้นโมเดล2 เส้นทางแรก กรุงเทพ-นครราชสีมาและกรุงเทพ-พิษณุโลก วงเงิน4หมื่นล้านบาท ... อ่านต่อที่ :

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมเปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้ประชุมร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า) เรื่องแนวทางพัฒนาระบบรถไฟพลังงานไฟฟ้าเพื่อยกระดับโลจิสติกส์ของประเทศ โดยทางญี่ปุ่นได้แนะนำว่าประเทศไทยเหมาะสมที่จะพัฒนาระบบรถไฟพร้อมเสาส่งไฟฟ้าตามรางในเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากคุ้มค่าเพราะมีปริมาณสินค้าจำนวนมากสามารถเชื่อมต่อการส่งออกสินค้าเข้าพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษหรืออีอีซี ผลการศึกษายังพบว่าเส้นทางที่เหมาะสมต่อการลงทุนคือช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมางบประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยมีข้อดีเรื่องต้นทุนบริหารทั้งด้านพลังงานและการบำรุงรักษา ส่วนด้านความคุ้มทุนหากต้องการให้เส้นทางมีกำไรต้องมีความถี่ของรถไฟไม่ต่ำกว่า80 เที่ยว/วัน (ไป-กลับ)

นายวรวุฒิ มาลารักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่า อนาคตรถไฟไทยจะเปลี่ยนจากระบบดีเซลเป็นระบบหัวรถจักรไฟฟ้าเกือบทั้งหมดภายในปี75 เพื่อลดการใช้พลังงานดีเซลและลดการสร้างมลพิษระยะยาว โดยรถจักรดีเซลในปัจจุบันที่มีประมาณ120-130 ชุดจะเปลี่ยนไปเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าด้วยการเติมน้ำมันให้เครื่องปั่นไฟแล้วใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นระบบจ่ายไฟฟ้าผ่านเสาตามรางทั้งหมด นอกจากนี้จะลงทุนจัดซื้อหัวรถจักรไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยตัวเอง(EMU)นำมาวิ่งให้บริการในเส้นทางที่มีศักยภาพส่วนรถจักรดีเซลเก่าจะนำไปวิ่งในเส้นทางที่มีผู้โดยสารน้อยและใช้เป็นรถขนส่งสินค้าระยะไกล อยู่ระหว่างจัดทำแผนแม่บทเพื่อวางยุทธศาสตร์การจัดซื้อรถใหม่และการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงแห่งใหม่แทนที่มักกะสัน

สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงในพื้นที่มักกะสันจะต้องย้ายออกไปจากเขตตัวเมืองหลวงโดยมีจุดที่เหมาะสมอยู่ 3 แห่งได้แก่ อ.เชียงราก จ.ปทุมธานีอ.ศรีราชา จ.ชลบุรีและอ.แก่งคอย จ.สระบุรี ส่วนในเขตตัวเมืองหลวงและปริมณฑลจะเป็นที่ตั้งของโรงซ่อมรถไฟระบบไฟฟ้าของรถไฟชานเมืองสายสีแดงความคุ้มค่าในการนำรถจักรระบบไฟฟ้ามาวิ่งในแต่ละเส้นทางอยู่ที่ 80ขบวนต่อวัน ไม่เช่นนั้นจะขาดทุน

นายฐากูร อินทรชมผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ รฟท. กล่าวว่า การศึกษาความเหมาะสมพบว่าระบบไฟฟ้าจะช่วยให้การขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งยังลดมลพิษยกระดับบริการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้รถไฟน่าใช้มากขึ้นสำหรับเส้นทางที่เหมาะสม 2 เส้นทางได้แก่

1.กรุงเทพ-นครราชสีมา

2.กรุงเทพ-พิษณุโลก

คาดว่าจะมีวงเงินลงทุนรวมมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นลานเทกองสินค้าและจุดกระจายสินค้าจำนวนมากคล้ายเส้นทางหลักของระบบโลจิสติกส์ที่ขนส่งมาภาคกลางรวมถึงสินค้าส่งออกทางทะเลอีกด้วย


Last edited by Wisarut on 04/12/2018 3:43 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 03/12/2018 6:13 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปิดตำนานหัวรถจักรดีเซลใช้ไฟฟ้า ไจก้าช่วยปั้นโมเดล 2 สาย 4 หมื่นล้านบาท [สาย กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครราชสีมา และ สาย กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - พิษณุโลก] มีทั้งรถจักรไฟฟ้า และ รถไฟฟ้า EMU เหมือนรถไฟฟ้าสายสีแดงแต่คราวนี้วิ่งระหว่างเมืองเหมือน KTMB ทำ จะได้ปลดถ่ายรถจักรดีเซลไฟฟ้าไปทำขบวนรถสินค้า หรือ รถระหว่างเมื่องที่ความต้องการยังไม่มากพอเดินรถไฟฟ้า และ รถดีเซลราง ไปทำขบวน รถท้องถิ่น เพราะ รถท้องถิ่นตอนนี้ขาดแคลนเหมือนกัน โดยหมายใจจะทำให้สำเร็จในปี 2575 หลังจากที่รอมานานแต่ปี 2472

ถ้าจะให้มีกำไรจากการเดินรถไฟฟ้าต้องเดินได้อย่างน้อย 80 ขบวน

งานนี้ได้ย้ายโรงงานมักกะสันมาที่เชียงราก แก่งคอย และ ที่ ศรีราชา ส่วนในเขตเมืองเช่ที่โรงรถุดีเซลรางกรุงเทพและ ที่ โรงรถจักรบางซื่อ ทำหน้าที่ซ่อมรถไฟฟ้าที่จะมาใหม่แทน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2735179213162793&set=a.213819491965457&type=3&theater


ที่จริงแล้ว จะบอกว่าปิดตำนานการใช้หัวรถจักรดีเซลมาเป็นหัวรถจักรไฟฟ้าก็ไม่เสมอไปนะครับ ก็ยังมีใช้ในการลากจูงอยู่ครับ เพราะหัวรถจักรดีเซลที่ใช้ในการลากจูงหรือการวิ่งระยะทางไกลจะมีความถึก สมบุกสมบัน แรง และมีสมรรถนะดีกว่าหัวรถจักรไฟฟ้า และการดูแลรักษาง่าย ในบางประเทศอย่างประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีใช้หัวรถจักรดีเซลอยู่ เช่น อเมริกา หรือบางประเทศในแถบยุโรป หรือแม้แต่รัสเซีย ซึ่งใช้หัวรถจักรในการลากจูงขบวนรถสินค้าได้มาก ได้เยอะ และสามารถลากจูงในระยะทางที่ไกลๆ ได้ดีครับ แต่ถ้าหากใช้ในการลากจูงขบวนรถโดยสาร อาจจะได้ครับ ในเรื่องการทำความเร็วในการวิ่งทำเวลารับ - ส่ง ผดส. ครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43663
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2018 10:35 am    Post subject: Reply with quote

ข้อควรคิดคำนึงเมื่อต้องเปลี่ยนผ่านจากระบบดีเซลเป็นระบบรถไฟฟ้า
Suphalerk Soodyodprasert wrote:
ระบบ Bi-mode Solution ที่รัฐบาลอังกฤษที่เลือกใช้ระบบ Bi-mode Solution ของ Hitachi ซื่งเป็นโครงกาาระบบรถไฟแบบ PPP ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักรนั้น มีข้อดีอย่างไร แล้วทำอะไรกันบ้าง
-ทำการเปลี่ยนตัวรถที่ใช้การขนส่งระหว่างเมือง ปัจจุบันที่มีอายุถึง 30 ปี
- สัญญาการซ่อมบำรุง 30 ปี
-ความเร็วสูงสุดคือ 200 กม/ชม.

ซึ่งจุดประสงค์คือต้องการปรับปรุง เพิ่มเติมระบบเดิมด้วยการที่ให้รถไฟนั้นสามารถวิ่งได้ด้วยระบบไฟฟ้าในเขตเมือง และให้วิ่งโดยใช้ระบบเครื่องยนต์ดีเซลในเขตชานเมือง โดยที่ยังสามารถใช้รางเดิม โดยลดการลงทุนด้านไฟฟ้าเช่น สายส่ง สถานีไฟฟ้า เป็น

หลักการคือตัวรถไฟนั้นจะติดตั้งชุดขับเคลื่อนที่รับไฟฟ้าและเครื่องยนต์ดีเซลไว้ด้วย ซึ่งสามารถทำงานได้ในระบบรางทั้งสองระบบดังภาพ

ป.ล. ถ้าคิดจะเปลี่ยนจากดีเซลไฟฟ้า เป็น bi-mode solution นั่นหมายความว่าค่าลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 30 %

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2054511957929072
http://www.hitachi-rail.com/products/rolling_stock/bi_mode/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43663
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2019 1:01 pm    Post subject: Reply with quote

เปลี่ยนรถไฟดีเซลไปสู่รถไฟฟ้ากันเถอะ
โดย Adisorn Singhakarn
ศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562

ปัญหาของฝุ่นขนาดจิ๋ว ขนาดPM 2.5 กลายเป็นปัญหาระดับชาติ จนทุกคนต้องใส่หน้ากากเข้าหากัน ตัวแปรสำคัญของมลภาวะทางอากาศ ที่ไร้กรอบการควบคุมคือ ควันไอเสียจากยานยนต์ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล ในขณะที่ ฝุ่นผงจากการก่อสร้างขนาดใหญ่ ก็มะรุ่มมะตุมมาเร่งงานกันช่วงนี้ มันเลยกลายเป็นปัญหาใหญ่

ผมค้นหางานวิจัยเก่าๆ มานั่งอ่านช่วงรอฟังผลตรวจไขมัน จากคุณหมอ ทำให้นึกถึง ตัวหัวรถจักรดีเซล (DL) ของ รฟท. และตัวรถดีเซลราง (DMU) ก็เป็นหนึ่งสาเหตุหลักที่ปล่อยมลพิษทางอากาศอย่างร้ายกาจ จริงๆ

ยิ่งพอไปอ่านข้อตกลงพิธีสารเกียวโตซึ่งไปเกี่ยวพันธ์กับการปล่อยสาร เรือนกระจก (Green House Gas :GHG) ซึ่ง พูดถึงก๊าซเรือนกระจกไว้ 6 ชนิด 1ในตัวของสารที่ถูกปล่อยออกมาคือ คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการเผาไหม้พลังงานจากฟอสซิลเป็นหลัก โดยเฉพาะยานยนต์ !!และ โรงงานอุตสาหกรรม!!

แต่ด้วยความที่ตัวเราทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางราง จึงต้องหาผลงานวิจัยมาศึกษาดูซึ่งหลักๆก็มาจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ผมนั่งดูตาราง การปล่อยสารคาร์บอนของระบบการขนส่งในสหราชอาณาจักร (UK) ยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซคาร์บอน (Carbon emissions)สูงสุด คือรถยนต์ส่วนบุคคล ตามด้วยรถบัสชั้นเดียว และรถไฟดีเซล (Diesel train) ไล่ตามไป จนสุดท้ายคือรถไฟฟ้า (Electric train)

จริงๆแล้วมันไม่ต้องหาคำตอบให้ครบทุกประเทศ เพราะหลายๆประเทศถ้าสามารถขยับตัวได้ ก็จะพยามปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการขนส่งที่สะอาด ไม่สร้างมลภาวะแย่ๆทำให้ต้องใส่หน้ากากเข้าหากัน กลายเป็นเมืองในหมอกแบบเช่นทุกวันนี้

ตอนผมศึกษาการเปลี่ยนถ่าย การใช้รถไฟดีเซลไปสู่ระบบรถไฟฟ้าของ รฟท ซึ่งต้องดูผลประโยชน์ของโครงการ สิ่งที่น่าสนใจคือ ตัวGHG เป็นสิ่งที่ตอบแทนสู่สังคมในแง่การลดก๊าซเรือนกระจก ถ้าคิดเป็นตัวเลข (โดยประมาณ) 3,157ล้าน ในปีแรกและขยับไปจน 4,442 ล้านบาทในปีที่ 5 น่าสนใจครับถ้าเราสามารถปรับเปลี่ยนการใช้รถไฟดีเซลไปสู่รถไฟฟ้าได้ ถ้าครอบคลุมทั้งประเทศ

ในกรณีนี้ ถ้าผมไม่กล่าวถึงค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนปัจจุบัน ของค่าน้ำมันเชื้อเพลิงการใช้รถไฟดีเซล ซึ่งเมื่อรวมกัน 5 ปีสามารถสร้างรถไฟฟ้า จากกรุงเทพ ไปพัทยาได้เลย แต่ถ้ารวมค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ใน5ปี มันก็คือต้นทุนค่าค่าก่อสร้างไป หัวหินเลยนะ ยังแถมได้ตัวรถไฟฟ้า มาอีกด้วย

ท้ายสุด ผมอยากขอบคุณพี่เจี๊ยบ สศช.ที่ย้ำผมก่อนการประชุมจะจบเมื่อวานนี้ ให้ ทำRoadmapการเปลี่ยนถ่ายระบบรถไฟดีเซลไปสู่รถไฟฟ้า และก้าวไปสู่การออกแบบ และก่อสร้างตามแผนงาน สิ่งที่ได้กลับคืนมาสู่สังคมผมว่ามันมากกว่าตัวเงินแต่มันคือสุขภาพประชาชน ครับ


Last edited by Wisarut on 11/02/2019 10:45 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46771
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2019 8:02 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. ลุยรถไฟไฟฟ้าเส้นแรก บางซื่อ-ชุมทางจิระ คาดเปิดประมูลปี’64
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 - 20:46 น.

บอร์ดรถไฟ เห็นชอบทำโครงการเร่งด่วน ติดตั้งระบบไฟฟ้าบนพื้นที่เดินรถรถไฟสีแดงทางไกล แก้ปัญหาควันจากรถไฟดีเซลวิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ คาดใช้งบลงทุนขั้นต่ำ 1.7 พันล้าน – พร้อม ทุ่ม 2.3 หมื่นล้าน ลุยรถไฟไฟฟ้าเส้นแรก บางซื่อ-ชุมทางจิระ คาดเปิดประมูลปี’64
รฟท. ลุยรถไฟไฟฟ้าเส้นแรก – นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหามลภาวะควันที่จะเกิดจากขบวนรถไฟสายสีแดงทางไกล (ระบบดีเซล) ที่จะวิ่งเข้าไปยังสถานีกลางบางซื่อในอนาคต ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควันภายในสถานีกลางซึ่งเป็นห้องปรับอากาศ เบื้องต้น รฟท. เร่งแก้ไขปัญหานี้ด้วยการจัดทำโครงการเร่งด่วนติดตั้งระบบไฟฟ้าในพื้นที่รถไฟสายสีแดงระยะทางไกล 2 เส้นทาง คือ ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน พร้อมจัดหาหัวรถจักรไฟฟ้าเข้ามาทำการลากขบวนรถทางไกลทั้ง 2 ขบวนเข้ามายังสถานีกลางบางซื่อแทนการให้หัวรถจักรดีเซลวิ่งเข้ามายังสถานีกลางบางซื่อเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควัน

เบื้องต้นจะต้องลงทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าบนพื้นที่รถไฟสายสีแดงระยะทางไกลราว 1,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมวงเงินจัดซื้อหัวรถจักรไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมตัวเลขว่าจะใช้เงินลงทุนรในโครงการรวมทั้งสิ้นเท่าไหร่ คาดว่าจะนำเสนอวงเงินงบประมาณรวมและเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาได้ในสัปดาห์หน้า โดยจะต้องเร่งรัดดำเนินโครงการให้สามารถเปิดให้บริการด้ก่อนที่สถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการเป็นทางการในปี 2564

นอกจากนี้ บอร์ด ยังรับทราบผลการศึกษาโครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนเส้นทางคู่ (รถไฟไฟฟ้า) เพื่อทดแทนการเดินรถไฟด้วยเครื่องยนต์ดีเซล จำนวน 4 เส้นทาง ตามที่ รฟท. เสนอ คือชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 252 ก.ม. วงเงิน 28,720,240,462, ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 243 ก.ม. วงเงิน 23,682,122,249 ล้านบาท, ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 209 ก.ม. วงเงิน 33,572,420,609 ล้านบาท และ ชุมทางบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา ชุมทางบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา ระยะทาง 160 ก.ม. วงเงิน 10,127,296,374 ล้านบาท

ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า เส้นทางที่มีความคุ้มค่าสูงสุดและจะมีการเร่งดำเนินการก่อนคือ ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย-ชุมทางถนนจิระ โดย หลังจากนี้ รฟท. จะต้องกลับไปจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2563 และเปิดประมูลได้ประมาณปี 2564 ใช้เวลาในการติดตั้งระบบไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้าและสามารถเปิดให้บริการภายในปี 2566 ทันกับการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43663
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2019 11:56 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท. ลุยรถไฟไฟฟ้าเส้นแรก บางซื่อ-ชุมทางจิระ คาดเปิดประมูลปี’64
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 - 20:46 น.

เร่งแผนเดินรถไฟไทยด้วยระบบไฟฟ้า โดยจะเร่วงทำจาก บางซื่อไปถนนจิระเสียก่อน เพราะ คุ้มทึุนที่สุด
https://www.thebangkokinsight.com/101649/

รถไฟเลิกเครื่องดีเซลปรับเป็นไฟฟ้า ลดควันพิษที่วิ่งมาบางซื่อ เร่งแผนใช้บนทางคู่4เส้น
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 - 20:04 น.

การรถไฟฯกลับลำแก้ปัญหาควันพิษจากรถไฟเครื่องยนต์ดีเซล ที่วิ่งมาที่สถานีกลางบางซื่อ เร่งหัวรถจักรไฟฟ้ามาทดแทน 2 เส้นทาง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน พร้อมปรับรถไฟฟ้าวิ่งบนทางคู่ 4 เส้นทาง ลงทุนเฉียดแสนล้าน บอร์ดไฟเขียว ‘ซีวิล’ชนะประมูลไฮสปีด ไทย-จีน เฟสที่ 1

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า บอร์ดรฟท. รับทราบแนวทางการ แก้ไขปัญหามลภาวะควัน ที่จะเกิดจากขบวนรถไฟสายสีแดงทางไกล (ระบบดีเซล) ที่จะวิ่งเข้าไปยังสถานีกลางบางซื่อในอนาคต ซึ่งอาจทำให้ เกิดปัญหาฝุ่นควันภายในสถานีกลาง ซึ่งเป็นห้องปรับอากาศ

เบื้องต้น รฟท.เร่งแก้ไขปัญหานี้ด้วยการจัดทำโครงการเร่งด่วน ติดตั้งระบบไฟฟ้าในพื้นที่รถไฟสายสีแดงระยะทางไกล 2 เส้นทาง คือ ช่วง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน พร้อมจัดหาหัวรถจักรไฟฟ้าเข้ามาทำการลากขบวนรถทางไกลทั้ง 2 ขบวน เข้ามายังสถานีกลางบางซื่อ แทนการให้หัวรถจักรดีเซลวิ่งเข้ามายังสถานีกลางบางซื่อ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควัน

เบื้องต้นจะต้องลงทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าบนพื้นที่รถไฟสายสีแดง ระยะทางไกลราว 1,700 ล้านบาท ยังไม่รวมวงเงินจัดซื้อหัวรถจักร ไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมตัวเลขว่า จะใช้เงินลงทุนรในโครงการรวมทั้งสิ้นเท่าไหร่ คาดเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคม พิจารณา ได้ในสัปดาห์หน้า โดยเร่งรัดเปิดให้บริการได้ ก่อนที่สถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการเป็นทางการในปี 2564

นอกจากนี้ ยังรับทราบผลการศึกษา โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนเส้นทางคู่ (รถไฟไฟฟ้า) ทดแทนรถไฟเครื่องยนต์ดีเซล 4 เส้น ทาง บางซื่อ-บ้านภาชี-ปากน้าโพ 252 ก.ม. 28,720 ล้านบาท บางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-ถนนจิระ 243 ก.ม. 23,682 ล้านบาท บางซื่อ-หนองปลาดุก-หัวหิน 209 ก.ม. 33,572 ล้านบาท และ บางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา บางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา ระยะทาง 160 ก.ม. 10,127 ล้านบาท

จากผลการศึกษาพบว่า เส้นทางที่มีความคุ้มค่าสูงสุดและจะมีการเร่งดำเนินการก่อนคือ ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทาง แก่งคอย-ชุมทางถนนจิระ โดย หลังจากนี้ รฟท.จะต้องกลับไปจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2563 และเปิดประมูลได้ประมาณปี64 ใช้เวลาในการติดตั้งระบบไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้าและสามารถเปิดให้บริการภายในปี 2566 ทันกับการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรฟท. กล่าวอีกว่า นอกจากที่ บอร์ดรฟท. ยังเห็นชอบให้ บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง เป็นผู้ชนะการประมูล โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธา สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 ก.ม. ด้วย วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคา 3,115 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 7%

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขั้นตอนต่อไป รฟท. จะพิจารณาเอกสาร ร่างสัญญา และหารือเรื่องวงเงินค่าจ้างบริษัท ซี วิลเอ็นจิเนียริง กับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง จากนั้นคาดว่า จะลงนามสัญญาได้เร็วที่สุดในเดือนมีนาคมและ เริ่มต้นก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน โดยสัญญามีอายุ 18 เดือน ส่วนารประมูลงานโยธารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่เหลืออีก 12 สัญญา วง เงินกว่า 1.1 แสนล้านบาทว่า การรถไฟฯ จะแบ่งการประมูลออกเป็น 2 ล็อต ล็อตแรก 5 สัญญา และล็อตที่ 2 อีก 7 สัญญา

สำหรับ 5 สัญญาแรก คาดว่าจะนำร่างเงื่อนไขการประมูล (TOR) ขึ้นรับฟังความคิดเห็นบนเว็บไซต์ในสัปดาห์หน้าและออกประกาศเชิญ ชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลได้เร็วสุดในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม ด้าน 7 สัญญาหลัง คาดว่าจะนำร่างทีโออาร์ขึ้นรับฟังความคิดเห็นบน เว็บไซต์ได้ต้นเดือนมีนาคมและออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้เร็วที่สุดในปลายเดือนมีนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 10, 11, 12  Next
Page 1 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©