RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274348
ทั้งหมด:13585644
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 17, 18, 19, 20  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2024 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดกำหนดการ "เศรษฐา" เตรียมลุยระนอง | เนชั่นทันข่าวเช้า | NationTV22
Nation STORY
Jan 21, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=o4DhjXGATAw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2024 4:21 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ โหมโรง: แลนด์บริดจ์...ใครบิดเบือน?
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, January 22, 2024 04:02
ปกรณ์

twitter@pakorn_kt

ประชุม ครม.สัญจร ที่ระนองสัปดาห์นี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสเรื่อง "แลนด์บริดจ์" อย่างไม่ต้องสงสัย หลังจากท่านนายกฯเศรษฐา ไปโรดโชว์ มาหลายประเทศ ล่าสุดดูเหมือนจะมีข่าวดีจากกลุ่ม "ดูไบเวิลด์"

แต่ความน่าสนใจกว่าข่าวดีก็คือ เรากำลังพูด เรื่องเดียวกันอยู่หรือเปล่า?

ห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนจะมีข่าวดีจาก "ดูไบเวิลด์"ข่าวคราวของโครงการแลนด์บริดจ์ดูจะไม่ค่อยดีเท่าไร เนื่องจากตัวแทนจากพรรคก้าวไกล และนักวิชาการ ระดับ "กูรูโลจิสติกส์" ตบเท้าลาออกจาก กมธ.ศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ ของสภา มีการตั้งคำถามถึงข้อมูลที่รัฐบาลนำมาใช้ว่าถูกต้อง ตรงปกจริงหรือไม่ ข้อกล่าวหาร้ายแรงถึงขั้น หลอก นักลงทุนต่างชาติกันอยู่หรือเปล่า

สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้พบกับ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ท่านสรุปง่ายๆ แบบไม่ซับซ้อนว่า "นักลงทุนต่างชาติ ไม่ได้โง่" ฉะนั้นจึงไม่มีทางถูกหลอก

ส่วนข้อมูลไหนจริง ข้อมูลไหนบิดเบือน อีกไม่นานก็คงจะรู้ เพราะถ้าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และสร้างกำไรได้จริง ย่อมต้องมีนักลงทุนเข้ามา แต่ปัญหาคือเราต้องคุยเรื่องเดียวกันเสียก่อน...

เพราะดูเหมือนสิ่งที่ "ดูไบเวิลด์" ให้ข่าว เกี่ยวกับ โรงกลั่นน้ำมัน คลังน้ำมัน อาจเป็นคนละเรื่องกับ "แลนด์บริดจ์"

ดร.สามารถ ตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มดูไบเวิลด์อาจสนใจ มาลงทุนธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงานซึ่งเป็นทางถนัด โดยรัฐบาลไทยต้องลงทุนด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับหรือไม่ นั่นก็คือ "แลนด์บริดจ์" ตลอดจน facility อื่นๆ หรือเปล่า โดยที่รัฐบาลไทยเป็นผู้ลงทุนเอง!?!

เรื่องนี้ยังไม่มีคำตอบ เช่นเดียวกับคำถามเรื่องความคุ้มทุนของโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งต้องตอบ 3 เรื่อง แต่เหมือนผู้รับผิดชอบจะตอบ "คนละเรื่องเดียวกัน"

ย้อนกลับไปจุดตั้งต้นของโครงการ คือการเพิ่มช่อง ทางการเดินเรือและขนส่งสินค้าเชื่อมสองมหาสมุทร โดยไม่ต้องไปอ้อม "ช่องแคบมะละกา"

แนวคิดนี้พัฒนามาตั้งแต่ขุดคอคอดกระ ขุดคลองไทย ที่หวั่นเกรงปัญหาความมั่นคง กระทั่งมาจบที่ "แลนด์บริดจ์" ไอเดียการพัฒนาภาคใต้ด้วยโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ "เมกะโปรเจกต์" ไม่มีใครค้าน แต่แรงต้านและคำถาม มาจากความคุ้มทุน คุ้มค่า ว่าดึงนักลงทุนมาได้จริงหรือไม่ และที่สำคัญคือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีชีวิต ของผู้คน คุ้มกับผลที่จะได้รับกลับมาจริงหรือเปล่า หัวใจของแลนด์บริดจ์ที่จะทำให้เกิดการลงทุนได้จริงมี 3 อย่าง คือ 1.ย่นระยะทาง 2.ย่นเวลา และ 3.ลดค่าใช้จ่าย แต่ความจริงของแลนด์บริดจ์ไทยที่ยังกลายเป็นคำถาม ก็คือ

1.อาจจะย่นระยะทางจริง แต่ทุกเส้นทางหรือไม่ เพราะเส้นทางที่จะผ่านแลนด์บริดจ์ไทย แล้วใกล้กว่ามะละกา ไม่ใช่ทุกเส้นทางเดินเรือ

2.อาจจะย่นระยะทางจริง แต่ย่นเวลาด้วยหรือไม่ เพราะต้องถ่ายสินค้าขึ้น-ลง 2 รอบ

3.อาจจะย่นระยะทาง หรืออาจจะย่นเวลาด้วย แต่ลดค่าใช้จ่ายหรือไม่ เพราะต้องขนสินค้าขึ้น-ลงเรือ และมีการขนโดยรถหรือรถไฟผ่านแลนด์บริดจ์ ซึ่งมีค่าใช้จ่าย

โครงการแลนด์บริดจ์ที่คิดจะทำ หากไม่ตอบโจทย์ทั้ง 3 ข้อ ก็จะไม่มีคนมาใช้ เมื่อไม่มีคนใช้ ก็จะไม่มีคนมาลงทุนสูงถึง 1 ล้านล้านบาท

ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วโครงการนี้จะสำเร็จได้อย่างไร หรือทำได้แค่โรดโชว์... ทั้งหมดนี้เป็นการตั้งคำถามจากความเข้าใจของผมเอง ซึ่งไม่ได้เป็น "กูรูด้านโลจิสติกส์" แต่หากไปฟัง "กูรูตัวจริง เสียงจริง" อย่าง รศ.ดร.สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ อาจารย์พิเศษหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และ โซ่อุปทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะพบข้อสังเกตและคำถามที่แหลมคมมากยิ่งขึ้น

ผมสรุปให้เข้าใจง่ายๆ จากเนื้อหาที่รายการของเนชั่นทีวีไปสัมภาษณ์อาจารย์มา ก็คือ กลุ่มลูกค้าแลนด์บริดจ์มี 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มสินค้าถ่ายลำ กลุ่มที่ 2 สินค้านำเข้า-ส่งออกของไทย กลุ่มที่ 3 คือสินค้าที่มาจากจีน

แต่ผลศึกษาของ สนข. หรือ สำนักงานนโยบายและ แผนการขนส่งและจราจร วางน้ำหนักการออกแบบ โครงการแลนด์บริดจ์เพื่อรองรับ "กลุ่มถ่ายลำ" ถึง 78% ส่วนสินค้าที่นำเข้า-ส่งออกของไทยอยู่ที่ประมาณ 18% และสินค้า จากจีน 4% ความหมายก็คือโครงการแลนด์บริดจ์กำลังสร้างเพื่อรองรับสินค้าถ่ายลำ 80% แล้วอะไรจะเกิดตามมา

-พื้นที่โครงการต้องใหญ่มากๆ ตั้งแต่ท่าเรือ ลานวาง ตู้คอนเทนเนอร์ ขนาดถนน (มอเตอร์เวย์) และต้องมีรางรถไฟ ทั้งขนาดมาตรฐานและขนาดรางของไทย

-เมื่อพื้นที่โครงการใหญ่มาก ก็ต้องเวนคืนมาก ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนก็จะมากตาม (เป็นมูลค่าที่ประเมิน ไม่ได้)

-เมื่อกระทบสิ่งแวดล้อมและคนจำนวนมาก แรงต้าน ก็จะมากด้วยเช่นกัน

ย้อนกลับไปคำถามตั้งต้นที่ดูจะยังไม่มีใครตอบ โดยเฉพาะฝั่งรัฐบาลและภาครัฐที่ผลักดันโครงการนี้ก็คือ คอนเซปต์ หรือ หลักคิดในการพัฒนาภาคใต้คืออะไรกันแน่ ก่อนจะมาจบ ที่แลนด์บริดจ์

เราจะทำให้ภาคใต้เป็นทางผ่านของเรือ เป็นจุดขนถ่ายสินค้า ข้ามแลนด์บริดจ์แล้วเก็บค่าต๋ง โดยเป้าหมายการผลิตและ ส่งออกสินค้าของไทยถูกจัดความสำคัญเป็นลำดับรอง กระนั้นหรือ?

หากนี่คือคำตอบ ก็ต้องไปตอบ 3 คำถามต่อมาเรื่องความคุ้มค่า ที่ผมตั้งไว้ด้านบน ส่วนเรื่อง "ดูไบเวิลด์" ต้องรอฟังความชัดเจนว่า พูดเรื่องเดียวกันกับเราหรือยัง

ข้อสังเกตที่น่าสนใจในทางการเมืองก็คือ ถ้าโครงการนี้ ไปต่อไม่ได้ เท่ากับว่า 3 นโยบายหาเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทยทำท่าจะล้มเหลว

ทั้งหมด ในห้วงเวลา 5 เดือนแรกของการเป็นรัฐบาล1.ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เพื่อไปแตะ 600 บาทในปี 2570 ยังทำไม่ได้

2.ดิจิทัลวอลเล็ต กลับตัวไม่ได้ เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง แถมมีโอกาสมีคดีติดตัว

3.แลนด์บริดจ์ ยังตอบคำถามสำคัญไม่ได้ และยังหา นักลงทุนใจถึงไม่เจอ ได้แต่โรดโชว์

แรงกดดันทางการเมือง จะกลายเป็นความสุ่มเสี่ยง ให้รัฐบาลเร่งเดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์อย่างไม่รอบคอบ และส่งผลกระทบร้ายแรงตามมาในภายหลังหรือไม่... เป็นประเด็นที่น่ากังวลจริงๆ

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2567


'กอบศักดิ์'แนะเร่ง'ท่าเรือระนอง'ดัน'แลนด์บริดจ์' เจาะตลาดอินเดีย
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Monday, January 22, 2024 03:07

กรุงเทพธุรกิจ"กอบศักดิ์" หนุนแลนด์บริดจ์ เปิดตลาดการค้าไทย ด้านตะวันตก ตามเทรนด์การค้าอุตสาหกรรมโลก ตลาดอินเดียเติบโตจาก GDP ที่เติบโตกว่าปีละ 6 -7% ชูท่าเรือระนองเป็นท่าเรือยุทธศาสตร์ ที่สำคัญของการเปิดตลาดด้านตะวันตก แนะเร่ง FTA ไทย-บังคลาเทศ เจาะตลาด 160 ล้านคน

โครงการสะพานเศรษฐกิจไทย (แลนด์บริดจ์) เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ สำคัญที่รัฐบาลกำลังผลักดันและมีการโรดโชว์โครงการในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการเปิดให้บริษัททั่วโลกยื่นข้อเสนอ ลงทุนโครงการในช่วงต้นปี 2568

กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงโครงการว่า โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งใช้ประโยชน์จากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยที่อยู่ระหว่างสองมหาสมุทร คือ อินเดียและแปซิฟิกซึ่งหากมีการออกแบบโครงการให้ดีจะส่งผลดี ต่อเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้ ในระยะยาวเราแข่งขันกับเวียดนามได้ โครงการที่สำคัญในระยะแรกที่ต้อง ผลักดันให้เกิดขึ้นคือโครงการท่าเรือระนอง ซึ่งมีที่ตั้งและทำเลที่เหมาะสมจะก่อสร้างและพัฒนาให้เป็นท่าเรือน้ำลึก และเป็นท่าเรือยุทธศาสตร์ที่สำคัญของภูมิภาค ซึ่งท่าเรือระนองนั้นจะเป็นท่าเรือสำคัญเพราะจะเปิดประตูการค้าด้านตะวันตก ไปยังด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งมีตลาดขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง และมีประชากรมาก เช่น อินเดีย และ บังคลาเทศ ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจปีละ 7-8% เป็นโอกาสในการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆได้

ในแง่ของการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน ระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือแหลมฉบังในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รัฐบาลที่ผ่านมาก็ได้มีการ อนุมัติแผนการก่อสร้างรถไฟทางคู่ไว้ ทั้งหมดแล้ว ซึ่งในภาพใหญ่จะสามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากทางตอนใต้ ของจีนมายังท่าเรือทั้งสองแห่ง คือ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือระนอง เพื่อส่งสินค้าไปยังด้านตะวันตกได้ซึ่งถือว่าเป็นเกตเวย์การขนส่งที่สำคัญ

ทั้งนี้ ระยะเวลาจากการขนส่งสินค้าจากท่าเรือระนองไปถึงอินเดียใช้เวลา 4-7 วัน เท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลาขนส่งที่ไปอ้อม ช่องแคบมะละกาไปยังประเทศจีนใช้เวลากว่า 20 วัน แต่เส้นทางต่อไปจะสามารถส่งสินค้า มายังท่าเรือระนองแล้วขนส่งทางรถไฟต่อไป ยังจีนได้ หรือในทางกลับกันก็ส่งสินค้าจากจีน ไปอินเดียโดยผ่านท่าเรือระนองได้เช่นกัน

"ท่าเรือระนองนั้นเป็นท่าเรือที่ใช้ในการพัฒนาให้เป็นท่าเรือเชิงยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ เป็นเกตเวย์ในการเปิดประตูการค้า ไปยังอีกหลายประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง และมีประชากรจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น บังกลาเทศ อินเดีย เมื่อดูจาก แผนที่จะเห็นว่าท่าเรือระนองนั้นอยู่ในระดับเดียวกับการเดินเรือ จากศรีลังกา และแอฟริกาซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างเส้นทางเดินเรือได้" ส่วนโอกาสของประเทศไทยในการเปิดตลาดการค้าในเอเชียใต้ ประเทศไทยควรเร่งการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) กับอินเดีย และบังกลาเทศ ซึ่งเป็น ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตสูง โดยเฉพาะบังกลาเทศที่ได้เคยมีการพูดคุยกัน เบื้องต้นในระดับรัฐบาลแล้วมีความต้องการที่จะทำ FTA กับไทยมาก โดยบังกลาเทศ มีประชากรมากถึง 160 ล้านคน เป็น ประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ และ ประชาชนของบังกลาเทศมีความชื่นชอบสินค้าไทยมาก

โดยหากไทยสามารถทำ FTA กับบังกลาเทศได้จะเพิ่มบทบาทของไทยในกลุ่มประเทศ "CLMVB" ที่มีประชากรมากถึง 400 ล้านคน ซึ่งมากกว่าตลาด ในอินโดนิเซีย และบังกลาเทศเองยังมีความต้องการที่จะเข้ามาตั้งสำนักงาน ในการทำธุรกิจในประเทศไทยเพื่อขยายการทำธุรกิจไปยังภูมิภาคนี้ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยที่จะร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศนี้ได้

ท่าเรือระนองเป็นท่าเรือเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เป็นเกตเวย์ในการเปิดประตูการค้าไปยังหลายประเทศ

กอบศักดิ์ ภูตระกูล

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 2567


จับตา 4 ประเด็น ‘แลนด์บริดจ์‘ ‘เศรษฐา’ พา ครม.ลงพื้นที่ 'สัญจร จ.ระนอง'
กรุงเทพธุรกิจ 22 ม.ค. 2567 เวลา 7:01 น.

“เศรษฐา” ลงพื้นที่ตรวจราชการ - ครม.สัญจร จ.ระนอง 22 – 23 ม.ค.นี้ ลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติแหลมสน พื้นที่สร้างท่าเรือในโครงการแลนด์บริดจ์ฝั่งระนองครั้งแรก ติดตาม 4 ประเด็น จับตาเสียงหนุน - ค้าน จากชุมชน เดินหน้าโรดโชว์โครงการกว่า 4 เดือน พบปะผู้แทนชาวประมงถกแก้ไขปัญหา IUU
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่าวันนี้ (22 ม.ค.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง และคณะรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางไปตรวจราชการจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ (ครม.สัญจร) ณ จ.ระนอง ระหว่างวันที่ 22 – 23 มกราคม 2567

ทั้งนี้ในวันนี้ (22 ม.ค.) เวลา 14.00 น. นายกรัฐมนตรี และคณะมีกำหนดการเดินทาง ไปยังพื้นที่โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเล อ่าวไทย - อันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร - ระนอง) ณ อุทยานแห่งชาติแหลมสน ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์จ.ระนอง ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีเดินทางลงพื้นที่ซึ่งเป็นจุดที่จะสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ ภายหลังจากที่รัฐบาลมีการโรดโชว์โครงการนี้ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงานตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา

สำหรับประเด็นการลงพื้นที่ก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ มีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีต้องติดตาม 4 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่

1.การผลักดันให้แลนด์บริดจ์เป็นประตูการค้า (Gateway) โดยเป็นประตูการค้ารองรับการนำเข้า - ส่งออกของไทย และเป็นประตูการค้ารองรับการนำเข้า - ส่งออกของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประเทศในกลุ่ม GMS รวมถึงจีนตอนใต้

2.การถ่ายลำเรือสินค้า (Transshipment) โดยพัฒนาให้แลนด์บริดจ์เป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในมหาสมุทรอินเดีย (BIMSTEC) และประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ใต้หวัน เป็นต้น โดยเชื่อมต่อทางรางและทางถนน

3.การพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่า (Port Industry) โดยมีการตั้งเขตพื้นที่เศรษฐกิจเสรี ดึงดูดนักลงทุน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่าเรือระนอง และท่าเรือชุมพร ส่งเสริมแลนด์บริดจ์ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้

และ 4.การรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนในพื้นที่ และการทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานทางกฎหมาย และแผนงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น

จับตา 4 ประเด็น ‘แลนด์บริดจ์‘ ‘เศรษฐา’ พา ครม.ลงพื้นที่ 'สัญจร จ.ระนอง'

จับตาเสียงหนุน - ค้านโครงการ
ทั้งนี้ปัจจุบันมีในพื้นที่จ.ระนอง มีประชาชนที่คัดค้านและสนับสนุนโครงการแลนด์บริดจ์ โดยผู้ที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่อ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว เป็นแหล่งทำประมงพื้นบ้าน หากก่อสร้างท่าเรือแล้วจะไม่มีที่ทำมาหากิน นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในแนวเส้นทางโครงการ ก็จะได้รับผลกระทบด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่อาศัย จึงอยากให้รัฐบาลเยียวยาและจัดหาที่อยู่ให้ใหม่ ขณะที่บางคนเห็นด้วยกับโครงการแลนด์บริดจ์ เพราะบ้านเมืองจะได้เจริญ ลูกหลานจะได้มีงานทำ

ก่อนหน้านี้นายพรศักดิ์ แก้วถาวร ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง ระบุว่า ทุกโครงการย่อมมีผลกระทบ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยไม่ว่าโครงการเกิดขึ้นที่ไหน โครงการอะไรก็แล้วแต่ย่อมมีคนเห็นด้วยและคนคัดค้าน ซึ่งการคัดค้านไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติ แต่เราต้องคัดค้านด้วยเหตุด้วยผลถึงผลได้ผลเสีย ทุกคนอยากให้ประเทศไทย เดินไปข้างหน้า

ตนเชื่อว่าโครงการแลนด์บริดจ์มีประโยชน์ต่อจังหวัดระนอง ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มประมงพื้นบ้าน ฉะนั้น เมื่อโครงการแล้วเสร็จต้องตั้งกองทุนเพื่อชดเชยรายได้ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบให้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ไม่น้อยกว่าเดิม ต้องเทรนคนเหล่านี้เพื่อรองรับงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกว่า 2 แสนตำแหน่ง ให้ลูกหลานเขาได้ทำงานและเพิ่มพื้นที่ในการจับปลาให้เขาด้วย ฉะนั้นโดยรวมโครงการแลนด์บริดจ์ มีประโยชน์ต่อจังหวัดระนอง แต่สิ่งที่ประชาชนเป็นห่วง คือ รัฐบาลจะดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างไร การคัดค้าน ในอีกมุมก็เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งต้องตอบด้วยเหตุด้วยผลว่าควรจะแก้ไขให้เขาได้อย่างไร

มติ ครม.ปี 61 ที่มาโครงการแลนด์บริดจ์

สำหรับความเป็นมาของโครงการแลนด์บริดจ์ สืบเนื่องมาจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561ได้เห็นชอบกรอบแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

กระทรวงคมนาคม จึงได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการลงทุน (Business Development Model) โครงการแลนด์บริดจ์

โดยผลการศึกษาที่ออกมาระบุถึงความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์จากตำแหน่งที่ตั้งโครงการ 4 ข้อคือ

1.ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน ด้วยความได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยสามารถเป็นประตูในการขนส่ง และแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศในภูมิภาค และระหว่างทวีปต่าง ๆ ของโลก

2.ลดเวลาและระยะทางการขนส่งจากเดิมที่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ทำให้ประหยัดต้นทุน และระยะเวลาในการขนส่งของเส้นทางเดินเรือโลก

3.ลดปัญหาการติดขัดของช่องแคบมะละกา ของสายการเดินเรือโลก ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโต อยู่ตลอดเวลา คาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ปัญหาจะหนักหนามากขึ้น

และ 4.มีแนวโน้มในการจูงใจผู้ประกอบการขนส่งและนักลงทุน ให้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางนี้


องค์ประกอบที่สำคัญของโครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย

ท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน ที่แหลมอ่าวอ่าง อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย ที่แหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
เส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง มีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ประกอบด้วย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร (Standard Gauge) และทางรถไฟขนาดราง 1.0 เมตร (Meter Gauge)
การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังท่าโดยการถมทะเลเพื่อพัฒนากิจการสนับสนุนท่าเรือ
ส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการ เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership : PPP) โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งโครงการในลักษณะท่าเรือเดียวเชื่อม 2 ฝั่ง (One Port Two Sides) โดยมีองค์ประกอบ ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย เส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังท่า

จับตา 4 ประเด็น ‘แลนด์บริดจ์‘ ‘เศรษฐา’ พา ครม.ลงพื้นที่ 'สัญจร จ.ระนอง'

นายกฯถกชาวประมงหารือแก้ IUU

สำหรับกำหนดการอื่นๆของนายกรัฐมนตรีตลอดทั้งวันนี้นอกจากเดินทางไปดูที่ตั้งโครงการแลนด์บริดจ์ฝั่งจ.ระนอง นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปสักการะศาลหลักเมืองระนองและอนุสาวรีย์พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ณ ศาลหลักเมืองระนอง ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

จากนั้นเดินทางไป ติดตามประเด็นการค้าผ่านแดน แรงงานข้ามชาติ พิธีการศุลกากร และประมง และพบปะผู้แทนชาวประมงในการแก้ไขปัญหา IUU ณ ท่าเรือระนอง - เกาะสอง ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

โดยในช่วงเย็นนายกรัฐมนตรี และคณะจะเดินทางไปเยี่ยมชมการบริหารจัดการบ่อน้ำแร่ร้อนรักษะวาริน ณ บ่อน้ำแร่ร้อนรักษะวาริน ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2024 8:22 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ ถกครม.สัญจร จ.ระนองย้ำ แลนด์บริดจ์ มีประโยชน์ l TNN ข่าวเช้า l 22-01-2024
TNN Online
Jan 22, 2024

นายกรัฐมนตรี นำทีม ประชุม ครม.สัญจร ครั้งที่ 2 จังหวัดระนอง พร้อมถือโอกาสลงพื้นที่ไปติดตามโครงการแลนด์บริดจ์ ยืนยัน โครงการนี้จะเป็นประโยชน์กับประเทศ แต่ก็พร้อมรับฟังความเห็นที่แตกต่าง


https://www.youtube.com/watch?v=UsxvJ0D9SLY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2024 5:23 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เดินหน้า"แลนด์บริดจ์" เฟสแรก กว่า 5 แสนลบ. คาดเปิดบริการปี 73
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Monday, January 22, 2024 at 16:08

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 ม.ค. 67)

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการสำคัญในพื้นที่จังหวัดระนอง หนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ผลักดันแลนด์บริดจ์เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน Andaman Riviera กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน โดยมีความคืบหน้าโครงการ ดังนี้

1. โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลฝั่งอ่าวไทย - อันดามัน (Land Bridge ชุมพร - ระนอง) เป็นโครงการเชื่อมต่อการขนส่งทางทะเลระหว่าง 2 ฝั่งทะเล เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย โดย สนข. ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2567 ให้ดำเนินการศึกษาจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา โดยการลงทุนเบื้องต้นในระยะที่ 1 มีมูลค่าการลงทุนกว่า 522,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี มีแผนงานก่อสร้างในปี 2568 และจะสามารถเปิดให้บริการในระยะแรกได้ในปี 2573 โดยการลงทุนครั้งนี้จะให้เอกชนลงทุนทั้ง 100% ภาครัฐจะเป็นผู้เวนคืนพื้นที่

ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า โครงการฯ จะส่งเสริมให้ GDP ของไทย ขยายตัวในภาพรวมไม่ต่ำกว่า 5.5% และเกิดการจ้างงานในพื้นที่จังหวัดระนอง และชุมพร จำนวนกว่า 280,000 อัตรา ในอุตสาหกรรมท่าเรือ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปขั้นสูง อุตสาหกรรมไฮเทค และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่รอบโครงการ ทำให้ในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัดรวมถึงพื้นที่ภาคใต้ได้กลับมาทำงานใกล้บ้าน และมีความกินดีอยู่ดีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

2. โครงการแนวเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน (Andaman Riviera) ช่วงระนอง - สตูล กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดอันดามัน โดย สนข. ได้รับงบประมาณปี 2566 ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นและออกแบบแนวคิดเบื้องต้นเส้นทาง Andaman Riviera ช่วงระนอง - สตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน จัดทำแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) และจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนาด้านคมนาคมทางบกเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน และสนับสนุนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นด้านการท่องเที่ยว ระยะทางโครงการไม่น้อยกว่า 600 กิโลเมตร

ปัจจุบันที่ปรึกษาได้จัดส่งรายงานความก้าวหน้าฉบับที่ 1 แล้ว สนข. อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดก่อนกำหนดนัดประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณา คาดว่าจะมีการสัมมนาแนะนำโครงการในพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัดภาคใต้อันดามันช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนายกระดับระบบคมนาคมอย่างต่อเนื่อง ให้ครอบคลุมทุกมิติ ประกอบด้วย

1. มิติการพัฒนาทางถนน มีโครงการที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดระนอง อาทิ การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง ทางหลวงชนบท แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP โครงการถนนเพื่อการท่องเที่ยว Andaman Riviera และการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดระนอง

2. มิติการพัฒนาทางราง อาทิ โครงการรถไฟสายสุราษฎร์ธานี - ท่านุ่น (MR9) โครงการเส้นทางรถไฟ สายชุมพร - ระนอง (MR8) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลนด์บริดจ์ และโครงการรถไฟทางคู่ ชุมพร - ระนองแนวเส้นทางเชื่อมโยงโครงการท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร และท่าเรือน้ำลึกฝั่งระนอง

3. มิติการพัฒนาทางน้ำ มีโครงการที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดระนอง และภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้แก่ สะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย - อันดามัน (Land Bridge ชุมพร - ระนอง) การขุดลอกร่องน้ำและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเล จังหวัดระนอง โครงการวงแหวนอันดามัน และโครงการท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal)

4. มิติการพัฒนาทางอากาศ มีท่าอากาศยานภาคใต้ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในปัจจุบัน 8 แห่ง ประกอบด้วย ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 ท่าอากาศยานภูเก็ต แห่งที่ 2 (ท่าอากาศยานอันดามัน) ท่าอากาศยานกระบี่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานเบตง ท่าอากาศยานชุมพร และท่าอากาศยานระนอง

โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/รัชดา คงขุนเทียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2024 6:41 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคม เดินหน้า"แลนด์บริดจ์" เฟสแรก กว่า 5 แสนลบ. คาดเปิดบริการปี 73
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
วันจันทร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:08 น.
โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/รัชดา คงขุนเทียน


“สุริยะ”ลุยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม”จังหวัดอันดามัน” ดัน”แลนด์บริดจ์”ผุดถนนเลียบทะเล ระนอง - สตูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:51 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 17:51 น.




“สุริยะ” นำทีม “คมนาคม”ลงพื้นที่ระนอง เตรียมร่วมประชุม ครม. สัญจร หนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผลักดัน”แลนด์บริดจ์”เชื่อมอ่าวไทย - อันดามัน เริ่มสร้างปี 68 ฟังเสียงประชาชนเร่งเยียวยาผลกระทบ ผุดถนนเลียบทะเล “อันดามัน ริเวียร่า”ระนอง - สตูล กว่า 600 กม. บูมท่องเที่ยว

วันที่ 22 มกราคม 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางมนพร เจริญศรี และนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าและรับฟังการบรรยายสรุปงานโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคม ณ ห้องประชุมแขวงทางหลวงชนบทระนอง และลงพื้นที่ติดตามการก่อสร้างโครงการสำคัญในพื้นที่จังหวัดระนอง ในการลงพื้นที่ เพื่อประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 ณ จังหวัดระนอง ระหว่างวันที่ 22 - 23 มกราคม 2567 โดยมี นายนริศ นิรามัยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน ร่วมต้อนรับ



นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวว่า ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการสำคัญต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม และมอบนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาระบบโครงข่ายทางถนน ให้ครอบคลุมความต้องการเดินทางของประชาชน และช่วยลดระยะเวลาการเดินทาง ลดต้นทุนการขนส่ง มีโครงข่ายที่ส่งเสริมต่อภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การค้า การลงทุน แหล่งอุตสาหกรรม และสามารถบูรณาการกับระบบขนส่งได้ ในทุกมิติ ลดระยะเวลาต้นทาง - ปลายทาง เนื่องจากกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะส่งเสริมต่อการเพิ่มขีดความสามารถ สมรรถภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และเชื่อมโยงการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ

ทั้งนี้ได้ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคมขนส่งให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดระนอง และกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามันได้รับประโยชน์สูงสุดในการขนส่งสินค้า การเดินทาง และการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว โดยได้เน้นย้ำดูแลการให้บริการประชาชน เป็นหลัก รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคมจากเมืองสู่ชุมชน ให้สะดวกปลอดภัยเชื่อว่าในวาระรัฐบาลชุดนี้จะมีการพัฒนาการคมนาคมขนส่งกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยวได้มากที่สุด



สำหรับพื้นที่จังหวัดระนอง กระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนายกระดับระบบคมนาคมอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการขยาย 4 ช่องจราจร บน ทล.4 ทล.4006 และถนนสาย รน.1039 รน.1038 รวมทั้งมีแผนการพัฒนาท่าอากาศยานระนอง เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งกระทรวงคมนาคมได้มีการพัฒนาพื้นที่ จังหวัดระนองให้ครอบคลุมทุกมิติ ประกอบด้วย

1. มิติการพัฒนาทางถนน ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง ทางหลวงชนบท แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP โครงการถนนเพื่อการท่องเที่ยว Andaman Riviera และการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดระนอง



2. มิติการพัฒนาทางราง อาทิ โครงการรถไฟ สายสุราษฎร์ธานี - ท่านุ่น (MR9) โครงการเส้นทางรถไฟ สายชุมพร - ระนอง (MR8) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย - อันดามัน (แลนด์บริดจ์ ) เชื่อมโยง ท่าเรือน้ำลึกฝั่งชุมพร และ ฝั่งระนอง

3. มิติการพัฒนาทางน้ำ ได้แก่ ท่าเรือ โครงการแลนด์บริดจ์ (ชุมพร - ระนอง) การขุดลอกร่องน้ำและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเล จังหวัดระนอง โครงการวงแหวนอันดามัน และโครงการท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal)

4. มิติการพัฒนาทางอากาศ มีท่าอากาศยานภาคใต้ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในปัจจุบัน 8 แห่ง ประกอบด้วย ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ,ท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 ,ท่าอากาศยานภูเก็ต แห่งที่ 2 (ท่าอากาศยานอันดามัน) ท่าอากาศยานกระบี่ ,ท่าอากาศยานตรัง ,ท่าอากาศยานเบตง ,ท่าอากาศยานชุมพร และท่าอากาศยานระนอง



@พัฒนา”แลนด์บริดจ์” เริ่มสร้างปี 68 ฟังเสียงประชาชนเร่งเยียวยาผลกระทบ

จากนั้น นายสุริยะ รมว.คมนาคม และคณะ ได้เดินทางไปสมทบกับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ณ พื้นที่โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย - อันดามัน อุทยานแห่งชาติแหลมสน (บริเวณชายหาดอุทยาน) ก่อนเดินทางไปยังพื้นที่โครงการถนนเชื่อมโยงแนวเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง - สตูล

สำหรับ ความคืบหน้าโครงการ โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลฝั่งอ่าวไทย - อันดามัน (แลนด์บริดจ์ ชุมพร - ระนอง) เป็นโครงการเชื่อมต่อการขนส่งทางทะเลระหว่าง 2 ฝั่งทะเล เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย โดยอาศัยความได้เปรียบของตำแหน่งที่ตั้งประเทศไทย ซึ่งอยู่ในใจกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีโครงข่ายการคมนาคมทางบก ทั้งทางถนน และทางราง ที่เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสมบูรณ์ สิ่งสำคัญที่จะเกิดตามมา คือ การพัฒนาพื้นที่เขตจังหวัดระนอง ที่จะทำให้พี่น้องชาวระนองมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการจ้างงาน ซึ่งจะช่วยทำให้พื้นที่ภาคใต้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข. ) ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2567 ให้ดำเนินการศึกษาจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา โดยการลงทุนเบื้องต้นในระยะที่ 1 มีมูลค่าการลงทุนกว่า 522,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี มีแผนงานก่อสร้างในปี 2568 และจะสามารถเปิดให้บริการในระยะแรกได้ในปี 2573

นายสุริยะ กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมที่จะผลักดันโครงการ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกกลุ่ม ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่าจะต้องรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย และกำหนดแนวทางในการเยียวยาที่เหมาะสมให้กับทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ โดยการลงทุนครั้งนี้จะให้เอกชนลงทุนทั้ง 100% ภาครัฐจะเป็นผู้เวนคืนพื้นที่ ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า โครงการฯ จะส่งเสริมให้ GDP ของไทย ขยายตัวในภาพรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 และเกิดการจ้างงานในพื้นที่จังหวัดระนอง และชุมพร จำนวนกว่า 280,000 อัตรา ในอุตสาหกรรมท่าเรือ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปขั้นสูง อุตสาหกรรมไฮเทค และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่รอบโครงการ ทำให้พี่น้องในพื้นที่ทั้งสองจังหวัดรวมถึงพื้นที่ภาคใต้ได้กลับมาทำงานใกล้บ้าน และมีความกินดีอยู่ดีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน



@ผุดถนนเลียบลทะเล”อันดามันริเวียร่า”ระนอง - สตูล กว่า 600 กม. บูมท่องเที่ยว

สำหรับโครงการแนวเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน (Andaman Riviera) ช่วงระนอง - สตูล กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดอันดามัน โดย สนข. ได้รับงบประมาณปี 2566 ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นและออกแบบแนวคิดเบื้องต้นเส้นทาง Andaman Riviera ช่วงระนอง - สตูล ระยะทางโครงการไม่น้อยกว่า 600 กิโลเมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน จัดทำแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) และจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนาด้านคมนาคมทางบกเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน และสนับสนุนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นด้านการท่องเที่ยว

ปัจจุบันที่ปรึกษาได้จัดส่งรายงานความก้าวหน้าฉบับที่ 1 แล้ว สนข. อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดก่อนกำหนดนัดประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณา คาดว่าจะมีการสัมมนาแนะนำโครงการในพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัดภาคใต้อันดามันช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2024 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

กาง 4 เหตุผล ภาคประชาชน ค้าน "แลนด์บริดจ์" ชุมพร-ระนอง
สังคม 23 ม.ค. 67

เปิด 4 เหตุผลภาคประชาชนค้าน โครงการ แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ชี้ไม่คุ้มค่า พื้นที่ก่อสร้างไม่เหมาะสมกระทบประชาชน - สิ่งแวดล้อม
โครงการแลนด์บริดจ์ ที่ขณะนี้ การเป็นโครงการเรือธงของ "รัฐบาลเศรษฐา" หากหนึ่ง กมธ.แลนด์บริดจ์ ก็เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นประชาชน คู่ขนาน กับการที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ที่เดินสายชักชวนนักลงทุนให้มาลงทุนในโครงการนี้ในเวทีต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกับการจัด ครม.สัญจร ที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอจากภาคประชาชนในพื้นที่ ภายหลังการเข้าให้ความเห็นกับ กมธ.แลนด์บริดจ์ สภาฯถึง 2 ครั้ง จนล่าสุด สามารถสรุปเหตุผลของการคัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ ใน 4 ด้านดังนี้

1.โครงการไม่คุ้มค่า ไม่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินภาษี และเป็นหนี้ต่างชาติ โครงการนี้ใช้งบประมาณสูงถึง 1 ล้านล้านบาท โดยร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน

ทั้งนี้นักเดินเรือและนักวิชาการหลายคน เห็นว่า การขนส่งโดยใช้เส้นทางแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าและใช้เวลานานกว่าการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา เนื่องจากต้องใช้เวลาในการยกตู้คอนเทนเนอร์จากเรือขึ้นรถไฟ และจากรถไฟลงเรือ

อีกทั้งแนวโน้มการขนส่งทางเรือจะลดลง เปลี่ยนไปขนส่งทางรถไฟแทน โดยจีนจะสร้างเส้นทาง One Belt One Road ทั้งถนน รถไฟ ไปสหภาพยุโรป เอเชียกลาง อินเดีย ปากีสถาน ลดการขนส่งผ่านช่องแคบต่าง ๆ จึงไม่มีแรงจูงใจให้มาใช้เส้นทางแลนด์บริดจ์

อ่านข่าว : “โครงการแลนด์บริดจ์” โปรเจคใหญ่ “รัฐบาลเศรษฐา” ที่ต้องฟังเสียง "คนเล็กคนน้อย" ในพื้นที่

2.พื้นที่ไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล รูปแบบโครงการแลนด์บริดจ์ หรือ สะพานเศรษฐกิจ ประกอบด้วย

2.1ส่วนหัว ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ทุ่นเทียบ ส่งน้ำมันดิบในทะเลทั้ง 2 ฝั่ง พื้นที่อุตสาหกรรมหลังท่า ถังสำรองน้ำมันดิบ

2.2 ส่วนตัว หรือระบบคมนาคมเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ได้แก่ มอเตอร์เวย์ รถไฟรางคู่ ระบบท่อส่งน้ำมัน พื้นที่อุตสาหกรรม ทางคู่ขนานสำหรับการใช้ประโยชน์ของประชาชน

รวมถึงจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แยกเป็น 4 โครงการย่อย 3 หน่วยงาน เอกสารประกอบการประชุม ครั้งที่ 1 ระบุถึงพื้นที่ศึกษาของโครงการ ดังนี้

1) ท่าเรือน้ำลึกชุมพร บริเวณแหลมริ่ว อยู่ในพื้นที่ ต.บางน้ำจืด ต.ปากน้ำ อ.หลังสวน และ ต.ปากตะโก อ.ทุ่งตะโก มีชุมชนรอบพื้นที่ตั้งโครงการ 5 กม. 18 ชุมชน มีพื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติฯ พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ชั้นที่ 2 พื้นที่ป่าชายเลนตามมติ ครม. แหล่งปะการัง แหล่งปะการังเทียม

พื้นที่ถมทะเลมีขนาดประมาณ 5,808 ไร่ หน้าท่าเทียบเรือยาว 7.58 กม. เขื่อนกันคลื่น 2 แนว มีความยาว 5.4 กม. และ 685 เมตร ขุดร่องน้ำเดินเรือ ยาว 8.7 กม. ที่ความลึกของน้ำ 17 ม.


2) ท่าเรือน้ำลึกระนอง บริเวณแหลมอ่าวอ่าง อยู่ในพื้นที่ ต.ราชกรูด ต.เกาะพยาม อ.เมือง ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ มีชุมชนรอบพื้นที่ตั้งโครงการรัศมี 5 กม. 6 ชุมชน มีพื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติฯ 2 แห่ง พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง 2 แห่ง พื้นที่แรมซาร์ไซต์ พื้นที่ป่าชายเลนตามมติ ครม. ป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งปะการัง แหล่งปะการังเทียม แหล่งหญ้าทะเล

พื้นที่ถมทะเลมีขนาดประมาณ 6,975 ไร่ หน้าท่าเทียบเรือยาว 9.35 กม. เขื่อนกันคลื่น 3 แนว มีความยาว 3.12 กม. 340 ม. และ 290 ม. ขุดร่องน้ำเดินเรือ ยาว 11.5 กม. ที่ความลึกน้ำ 19 ม.

การถมทะเลทั้ง 2 ฝั่ง ใช้แหล่งหิน 5 แหล่งใน จ.ชุมพร ได้แก่ เขาวง ต.ทุ่งระยะ อ.สวี เขาหอยโข่ง ต.ขุนกระทิง อเมือง เขาตะแคง ต.สะพลี อ.ปะทิว บจก.สมบูรณ์ศิลาทอง ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ เขาสันกำแพง ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ


3) โครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง มีระยะทางประมาณ 90 กม. อยู่ในพื้นที่ 9 ตำบล 3 อำเภอ ของ จ.ชุมพร และ ระนอง ได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.นาขา ต.วังตะกอ ต.หาดยาย อ.หลังสวน ต.ปังหวาน ต.พระรักษ์ ต.พะโต๊ะ ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร และ ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ภูเขา และป่าชายเลน มีการก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ และอุโมงค์รถไฟ จำนวน 3 จุด ในช่วงที่ผ่านพื้นที่ภูเขา ทางวิ่งยกระดับข้ามถนน แม่น้ำสายหลัก และหุบเขา

4) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ซึ่งยังไม่ปรากฎข้อมูลโครงการ ประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดชุมพรและระนอง เลี้ยงชีพด้วยการทำเกษตร ประมง และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ จ.ชุมพร ซึ่งมีรายได้ต่อหัว (2563) สูงถึง 250,823 บาทต่อปี หรือ 20,902 บาทต่อเดือน มีรายได้หลักจากเกษตรกรรมถึง 55%

ภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด มีพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน กาแฟ จังหวัดชุมพรเป็นแหล่งปลูกทุเรียนอันดับ 2 ของประเทศ มีเนื้อที่ราว 3 แสนไร่ มีผลผลิตราว 3.4 แสนตันต่อปี มูลค่าราว 5-6 หมื่นล้านบาท โดยพื้นที่ปลูกทุเรียน 1 ใน 4 อยู่ในพื้นที่ อ.พะโต๊ะ และ อ.หลังสวน

ดังนั้น โครงการอาจต้องแลกกับต้นทุนเศรษฐกิจฐานราก ต้นทุนชุมชน ทั้งพื้นที่ทำกิน แหล่งผลิตอาหาร ประชาชนในพื้นที่ต้องสูญเสียอาชีพดั้งเดิม ประชาชนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ หากถูกบังคับให้โยกย้ายจะได้รับค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรม

อีกทั้งต้องแลกกับต้นทุนทางธรรมชาติ ฐานทรัพยากร แหล่งท่องเที่ยว จะเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างชุมชนดั้งเดิมกับภาคอุตสาหกรรม อาจส่งผลกระทบกับประชาชนที่เปราะบาง เช่น ชาติพันธุ์ คนไทยพลัดถิ่น


นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติจากพื้นที่รอยเลื่อน และการกัดเซาะชายหาดอย่างรุนแรง และมีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการก่อสร้างและการดำเนินการโครงการ ทั้งทางบกและทางทะเล

ทั้งนี้ อาจพลาดโอกาสขึ้นทะเบียนมรดกโลกอันดามัน เนื่องจากที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกระนองอยู่ใกล้พื้นที่เตรียมประกาศมรดกโลก อีกทั้งอยู่ใกล้พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก

3.ที่มาของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการไม่โปร่งใส ไม่มีธรรมาภิบาล ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่


โครงการนี้ไม่ได้เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนมาตั้งแต่ต้น และมีการดำเนินการแบบเร่งรัด ลัดขั้นตอน นอกจากนั้นไม่ได้ให้ข้อมูลเชื่อมโยงภาพรวมทั้งหมดของโครงการ ให้ข้อมูลโครงการเฉพาะด้านดี ไม่ได้ให้ข้อมูลผลกระทบเชิงลบของโครงการ และขาดการให้ข้อมูลคุณค่าและมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจ ที่ต้องสูญเสียจากการเข้ามาของโครงการ

4. เป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ซึ่งกลุ่มการเมืองกำลังผลักดันกฎหมาย ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวบอำนาจและให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2024 2:45 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลตอบ 18 ข้อสงสัย 'แลนด์บริดจ์' ยันเป็นยุทธศาสตร์หนุนเศรษฐกิจภาคใต้
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Tuesday, January 23, 2024 13:57

รัฐบาลตอบ 18 ข้อสงสัยของประชาชน ปมพัฒนาโครงการ "แลนด์บริดจ์" ยืนยันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย นำมาซึ่งการสร้างรายได้ให้ประเทศ และดึงดูดนักลงทุน

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการพัฒนาโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือ แลนด์บริดจ์ โดยระบุว่า การผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ของรัฐบาล จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน นำมาซึ่งการสร้างรายได้ให้ประเทศ และดึงดูดนักลงทุนมาใช้ประเทศไทย

สำหรับกรณีที่ประชาชนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือ แลนด์บริดจ์ ขณะนี้รัฐบาลได้สรุปประเด็นข้อสงสัยทั้งหมด พร้อมชี้แจงแบ่งออกเป็น 18 ประเด็น ได้แก่

1. จะมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันหรือโรงแยกก๊าซหรือไม่

โดยรัฐบาลยืนยันว่าในแผนการพัฒนาโครงการ ไม่มีกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ หรือ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ขณะที่เรือสินค้าที่เข้า – ออกและเทียบท่าบางครั้งงอาจมีความจำเป็นต้องเติมน้ำมัน โครงการจึงออกแบบผังแม่บทการใช้พื้นที่ท่าเรือให้มีพื้นที่ส่วนท่าเรือบริการน้ำมัน (Bunkering Service)สำหรับรองรับกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้การก่อสร้างถังเก็บน้ำมันสำเร็จรูปต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการหรือผู้ลงทุนที่จะเข้ามาดำเนินกิจการในอนาคต ซึ่งต้องมีการออกแบบและขออนุญาตตามขั้นตอนและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

2. อุตสาหกรรมที่จะพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมประเภทใด

โดยจากการศึกษาจะอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้ประชาชนในพื้นที่ได้พัฒนาเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ เช่น การแปรรูปยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ อาหารทะเล อาหารฮาลาล และอุตสาหกรรมไฮเทค เป็นต้น ทั้งนี้ หากอุตสาหกรรมที่จะมีการพัฒนาเข้าข่ายประเภท โครงการที่ต้องมีการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการต้องดำเนินการศึกษาและประเมินผลกระทบเพื่อประกอบการขออนุญาตก่อสร้างและดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด

3. โครงการแลนด์บริดจ์จะใช้ระยะเวลาในการขนส่งและงบประมาณเท่าไร

โครงการแลนด์บริดจ์ จะมีการบูรณาการรูปแบบการขนส่งเชื่อมโยงสองท่าเรือ และระบบขนส่งด้วยทางรถไฟและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดระยะเวลาขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ลงได้อย่างน้อยประมาณ 5 วัน ทั้งนี้ คาดว่าตลอดโครงการจะใช้งบประมาณลงทุนรวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยแบ่งระยะการพัฒนาและเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนกับภาครัฐในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP)

4. ปัญหาการรั่วไหลของน้ำมัน/คราบน้ำมัน

จะมีการศึกษาผลกระทบน้ำมันรั่วไหล/คราบน้ำมัน ทั้งในช่วงก่อสร้างและดำเนินการ เพื่อกำหนดแผนและทีมปฏิบัติงานจัดการเหตุรั่วไหล ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าช่วยเหลือและระงับเหตุตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ

5. สินค้าที่มาใช้บริการท่าเรือมีอะไรบ้าง มาจากที่ใด

สินค้ากลุ่มนำเข้า/ส่งออก โดยผ่านท่าเรือระนอง และท่าเรือชุมพร จะมาจากทุกส่วนของประเทศ เช่น EEC ภาคกลาง เป็นต้น สินค้าเกษตร ผลผลิตจากการยางพารา ปาล์ม น้ำมัน และอุตสาหกรรมแปรรูป ผักผลไม้ จากภาคใต้ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลโลก สินค้าจากการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม AI อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สินค้าผ่านแดน (Transit and Transshipment) ที่มาจากทั้งการเชื่อม 2 ฝั่งทะเลและจีนตอนใต้

6. ออกแบบเส้นทางโดยให้ค้านึงถึงปัญหาน้ำท่วมขัง

การออกแบบรายละเอียดแนวเส้นทางจะต้องมีการสำรวจสภาพปัจจุบันของพื้นที่โครงการ โดยจะมีการพิจารณารูปแบบการก่อสร้าง ให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขวางทางน้ำ เช่น การออกแบบเป็นทางยกระดับ เป็นต้น

7. จะกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน และประมงพื้นบ้านในการเดินทางหรือไม่

สามารถสัญจรลอดผ่านสะพานข้ามหรือบริเวณที่เป็นร่องน้ำเดินเรือได้ตามปกติ โดยโครงการจะมีระบบควบคุมการเดินเรือเข้าออก เพื่อความปลอดภัยของการเดินเรือเข้าเทียบท่า และจะมีการกำหนดพื้นที่การทำประมงนอกเขตพื้นที่เดินเรือของโครงการที่ชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของกลุ่มประมงในพื้นที่

8. จะมีมาตรการในการชดเชยเยียวยากับผู้ได้รับผลกระทบอย่างไร

จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลางมาพิสูจน์หาสาเหตุ รวมทั้งการจัดการเรื่องการเยียวยา ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าชุมชนและกลุ่มประมงได้รับผลกระทบอันมีสาเหตุมาจากการดำเนินงานของโครงการ โดยคณะกรรมการฯ จะประกอบด้วยตัวแทนจาก 3 ฝ่าย คือ เจ้าของโครงการ ภาครัฐ และภาคประชาชน

9. แลนด์บริดจ์เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องกับภาครัฐหลายหน่วยงาน และแต่ละหน่วยงานมีการให้ข้อมูลแยกส่วนกัน ทำให้เกิดความสับสนและความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน

แลนด์บริดจ์ เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ตามมติ ครม. เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน โดยมี สนข. เป็นหน่วยงานที่ศึกษาในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่การพัฒนาท่าเรือ และการเชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ส่วนการพัฒนาถนนกำกับดูแลโดย กรมทางหลวง และการพัฒนาเส้นทางรถไฟกำกับดูแลโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งแต่ละโครงการจะมีการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แยกตามประเภทโครงการ เป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด

10. สนข. ได้ทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) หรือไม่

สนข. ได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา สำหรับใช้เป็นกรอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาลในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

11. การพัฒนาโครงการจะก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของตะกอนในทะเลเกิดการกัดเซาะในพื้นที่ และกระแสน้ำเปลี่ยนแปลงไป

ศึกษาผลกระทบจากการฟุ้งกระจายของตะกอนในทะเลและการกัดเซาะชายฝั่ง โดยจะมีการลงพื้นที่ เพื่อศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบัน และใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในการจำลองการฟุ้งกระจายของตะกอน จากการก่อสร้างโครงการ ซึ่งจะสามารถระบุบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้ ทั้งนี้ โครงการจะนำผลการศึกษาดังกล่าวมากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการชดเชยเยียวยาแก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป

12. แจ้งให้ชุมชนทราบก่อนจะมีการดำเนินการต่างๆ ในพื้นที่ เช่น การสำรวจพื้นที่ การปักหมุดที่ดิน เป็นต้น

การสำรวจหมุดพิกัดอ้างอิงของที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพรท่าเรือน้ำลึกระนอง จะมีการแจ้งข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้นำชุมชนในพื้นที่ได้รับทราบก่อนการดำเนินโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

13. หลักเกณฑ์พิจารณาการเวนคืนที่ดิน

พื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ พิจารณาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 สำหรับราคาในการจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้ได้รับผลกระทบคณะกรรมการกำหนดราคาฯ จะนำปัจจัยหลายๆ ด้านมาประกอบการพิจารณา โดยจะไม่ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์มากำหนดราคา เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์เป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก

พื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์/ที่ดิน ส.ป.ก. ประสานกับกระทรวงเกษตรฯ และจะเจรจาด้านผลประโยชน์จากผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ ส.ป.ก. โดยมีแนวทางเพื่อเสนอประกอบการอนุมัติโครงการฯ เช่น การชดเชยค่ารื้อย้าย ค่าชดเชยพืชผล ต้นไม้การหรือจัดที่ดิน ส.ป.ก. แปลงอื่นให้ หรือการจัดซื้อที่ดินแปลงใหม่ รวมถึงเงินเยียวยาที่ต้องโยกย้ายออกจากที่ดิน เป็นต้น

14. มีหลักเกณฑ์การพิจารณาการชดเชยพืชพรรณ ต้นไม้ ในกรณีที่ถูกเวนคืน อย่างไร

การพิจารณาการชดเชยต้นไม้ที่มีมูลค่า อ้างอิงจากราคาของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจกรรมพลังงาน โดยมีรายชื่อบัญชีประเภทไม้ยืนต้น จำนวน 412 ชนิด บัญชีรายชื่อประเภทไม้ล้มลุก จำนวน 154 ชนิด ทั้งนี้ ในกรณีไม่พบรายชื่อพันธุ์ไม้ตามบัญชีอ้างอิง ทางคณะกรรมการพิจารณาเทียบเคียงจากชนิด ประเภทที่ใกล้เคียงที่สุดในการพิจารณาราคาค่าเวนคืน

15. มีการสร้างการรับรู้สร้างและความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างไร

ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การรับรู้ ภาพรวมในการพัฒนาโครงการ โดยกำหนดช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมและทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่หลากหลาย ทั้งการเข้าพบผู้บริหารหน่วยงานราชการ การจัดสัมมนาโครงการการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เชิงรุก และการจัดประชุมกลุ่มย่อย และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน สามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูลหรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาศึกษาโครงการ

16. ผลกระทบต่อพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ เขตป่าชายเลน พื้นที่ทะเลและชายฝั่ง สัตว์น้ำและสัตว์ป่า การเวนคืนที่ดิน และการอพยพย้ายถิ่นฐาน

ในการศึกษาและจัดทำร้ายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) โครงการจะมีการรวบรวมข้อมูลและสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องครอบคลุมปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ คุณค่าต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต เพื่อศึกษาและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของโครงการ และกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ต่อไป

17. การจัดการน้ำจืดและปัญหาการแย่งน้ำใช้จากธรรมชาติที่ประชาชนใช้อยู่ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม

ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการจะต้องมีการสำรวจการใช้แหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อวางแผนและออกแบบไม่ให้กระทบกับผู้ใช้แหล่งน้ำเดิม และกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไป

18. การพัฒนาโครงการจะเป็นการท้าลายทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนหรือไม่

โครงการจะยึดหลักการพัฒนาแบบยั่งยืน เพื่อให้โครงการสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนควบคู่กับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้ โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพของคนท้องถิ่นผ่านกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์และกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) โดยมีแหล่งเงินทุนในระยะก่อสร้าง จากผู้รับเหมาก่อสร้างหรือผู้ดำเนินการถมทะเลสมทบเงินเข้ากองทุนสำหรับระยะดำเนินการ ผู้ประกอบการท่าเรือแต่ละแห่งบนพื้นที่ถมทะเลจะเป็นผู้สมทบเงินเข้ากองทุนเป็นรายปี

ขณะที่วันนี้ (23 ม.ค.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะพบเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและคัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ที่มารวมตัวที่จังหวัดระนอง ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร โดยเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและคัดค้านโครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย ตัวแทนชาวสวนจาก อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ตัวแทนชาวประมงพื้นบ้าน รวมถึงตัวแทนคนไทยพลัดถิ่น จากอำเภอเมือง จังหวัดระนอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2024 5:56 am    Post subject: Reply with quote

ดันสุดตัว แลนด์บริดจ์
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, January 24, 2024 05:40

จัดโซนนิ่ง 4 จังหวัด SEC ถมทะเลชุมพรสร้างท่าเรือ2.5หมื่นไร่

ชู3โมเดล ตั้งนิคมฯ

ครม.สัญจร ระนอง จุดพลุ 'แลนด์บริดจ์' เศรษฐา ลงพื้นที่เช็คอินโครงการ ประกาศดันเป็นเมกะโปรเจ็กต์ใหญ่รอบ 20 ปี พร้อมสั่งให้ดูผลกระทบสิ่งแวดล้อม เดินหน้าลุยโรดโชว์ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก 'คมนาคม' รวมปัญหาเวนคืน ยกเครื่องกม.SEC ก่อนประมูล เฟสแรก ชุมพรอ่วมถมทะเล สร้างท่าเรือ 2.5 หมื่นไร่

โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (แลนด์บริดจ์) ชุมพร-ระนอง มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท ถูกจุดพลุอย่างเป็นทางการ หลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ยกคณะลงพื้นที่ไปยังจุดที่จะทำโครงการเป็นครั้งแรก บริเวณ อุทยานแห่งชาติแหลมสน ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ในช่วงการเดินทางมาประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ครั้งที่สองของรัฐบาล

การเดินทางมาครั้งนี้มีนัยสำคัญ เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่ารัฐบาลเอาจริงกับการเดินเครื่องเมกกะโปรเจ็กต์ครั้งใหญ่ โดยนายกฯ ได้ให้สัมภาษณ์ในช่วงเดินทางลงพื้นที่ว่า โครงการแลนด์บริดจ์ จะเป็นหนึ่งในเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ ในรอบ 20-30 ปีของประเทศไทย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยเข้าด้วยกัน เพื่อร่นระยะทางการขนถ่ายสินค้าที่ผ่านช่องแคบมะละกา นับเป็นโครงการสำคัญ ที่จะนำความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ ทั้งการขนถ่ายสินค้า การเป็นแรงจูงใจให้บริษัทข้ามชาติหลายบริษัทมาสร้างแหล่งผลิตและยอมรับว่า ขณะเดียวกันรัฐบาลก็พร้อมฟังเสียงประชาชนทุกคน ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

นายกฯรับเรื่องร้องเรียน

อย่างไรก็ตามในช่วงของการประชุม ครม.สัญจร เสร็จสิ้น นายกฯ ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังถึงโครงการยักษ์แลนด์บริดจ์ว่า จากการลงพื้นที่ท่าเรือที่จะมีการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ จังหวัดระนอง ซึ่ง ได้สั่งศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการแลนด์บริดจ์ ภายหลังรับหนังสือร้องเรียนจากฝ่ายที่ไม่เห็นชอบเพื่อรับไปดำเนินการต่อไป

ด้าน นายชัย วัชรรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม.สัญจรว่าการขับเคลื่อนโครงการตอนนี้ อยู่ในช่วงของการโรดโชว์โครงการ โดยรัฐบาลจะเดินหน้าเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลกต่อไป หลังจากนายกรัฐมนตรีได้มีการโรดโชว์ เชิญชวนนักลงทุนไปแล้ว 3 เวที คือ APEC และประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งในเวทีการประชุม เวิร์ลอีโคโนมิคส์ฟอรั่ม หรือ WEF ที่ดาวอส สวิสเซอร์แลนด์ ปัจจุบันโครงการแลนด์บริดจ์อยู่ในชั้นตอนนำเสนอข้อมูลที่มีการศึกษาไว้แล้วให้กับนักลงทุนและทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย โดยรัฐบาลมีแผนการเชิญชวนผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ทั้งด้านการบริหารท่าเรือ การบริหารระบบโลจิสติกส์ มาร่วมลงทุนต่อเนื่อง

ขณะที่ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะกระทบต่อพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม จะทำการศึกษาไว้ระดับหนึ่งแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาที่รัฐบาลจะดำเนินการจริง ต้องศึกษาเชิงลึกด้านสิ่งแวดล้อมด้วย โดยรัฐบาลยืนยันว่าในส่วนของผลกระทบต่าง ๆ นั้น แม้มีประโยชน์มหาศาลด้านเศรษฐกิจ แต่หากมีกระทบใด ๆ ต่อประชาชน แม้แต่เป็นเพียงกลุ่มน้อย ต้องได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด

ลุยประมูลเฟสแรก

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการ แลนด์บริดจ์ ขณะนี้สนข. ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2567 ให้ดำเนินการศึกษาจัดเตรียมเอกสารและให้คำปรึกษาในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา โดยการลงทุนเบื้องต้นในระยะที่ 1 มีมูลค่าการลงทุนกว่า 522,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี มีแผนงานก่อสร้างในปี 2568 และจะสามารถเปิดให้บริการในระยะแรกได้ในปี 2573

นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ร่วมกับคณะนายกรัฐมนตรีในกรณีที่มีชาวบ้านคัดค้านการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์นั้น เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สนข.ต้องรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ที่คัดค้านเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจริง เนื่องจากโครงการต้องเวนคืนที่ดินผ่านพื้นที่ชาวบ้าน รวมทั้งชาวประมงพื้นบ้านที่อาจจะมีผลกระทบบางส่วนเล็กน้อยจากการก่อสร้างท่าเรือ ขณะนี้มีชาวบ้านมายื่นหนังสือถึงนายกฯในเรื่องนี้แล้ว

"เรื่องนี้เป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องรับไปดำเนินการเพื่อหาทางแก้ไข ส่วนภาครัฐจะมีการเยียวยาและจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯหรือไม่นั้น เบื้องต้นมีมาตรการและแนวทางที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าความเป็นอยู่ของเขาต้องเหมือนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องดูข้อกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง คาดว่าการจัดหาที่อยู่ใหม่นั้นจะเป็นพื้นที่ของกรมธนารักษ์"
เดินหน้าโรดโชว์

จากการโรดโชว์เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติร่วมทุนในโครงการฯที่ผ่านมา พบว่ามีต่างชาติหลายประเทศให้ความสนใจโครงการฯ เช่น อินเดีย,ดูไบเวิล์ดเป็นบริษัทที่บริหารท่าเรือและเรือขนส่งตู้สินค้า ซึ่งมีแผนเดินทางมาไทยในเดือนกุมภาพันธ์นี้นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่สนใจ อาทิ สิงคโปร์, ญี่ปุ่น ฯลฯ

ทั้งนี้โครงการฯในปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและโรดโชว์ในต่างประเทศ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 และยังมีแผนเดินทางโรดโชว์หลายประเทศ เช่น เยอรมัน,ออสเตรเลีย ฯลฯ หลังจากนั้นสนข.จะต้องนำข้อมูลและความคิดเห็นทั้งหมดมาสรุป ซึ่งเป็นการปรับโมเดลรูปแบบการลงทุนเพื่อให้สอดรับกับ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ( SEC ) รวมทั้งการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในส่วนของท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง โดยตั้งเป้าดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2567

ขณะการศึกษาโครงการฯในส่วนของมอเตอร์เวย์นั้น เบื้องต้นกรมทางหลวง (ทล.) จะเป็นผู้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการและจัดทำรายงานอีไอเอ ขณะนี้ทราบว่าทางกรมฯอยู่ระหว่างรอรับจัดสรรงบประมาณปี 2567 ที่ยังมีความล่าช้า ด้านทางรถไฟ ปัจจุบันรฟท.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่ศึกษาแล้ว คาดว่าจะเสนอกระทรวงและครม.อนุมัติการเปิดประมูลโครงการได้ภายในปลายปี 2568 หรือต้นปี 2569

"หากจะเปิดประมูลโครงการฯนั้นจำเป็นต้องรอให้พ.ร.บ. SEC ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯก่อน เพราะจะเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมให้โครงการฯสำเร็จได้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภาฯ คาดว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้ หากเร่งรัดจะใช้ระยะเวลาการพิจารณาไม่นาน"
จัดโซนนิ่ง -วางแนวพัฒนา

ส่วนข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯเห็นควรให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำหนดโซนนิ่งในพื้นที่ 4จังหวัดภาคใต้ของโครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร, ระนอง ,สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เนื่องจากพื้นที่มีข้อจำกัดในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พร้อมการบุกรุกที่ดิน การเกิดพื้นที่ทับซ้อน และการจัดระเบียบบริหารจัดการยังไม่ทันต่อการลงทุน จึงควรเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลอย่างเต็มที่

ที่ผ่านมาการพัฒนา มีมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 เห็นชอบกรอบแนวคิดในการพัฒนา SEC ในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยให้เร่งผลักดันแผนงานเบื้องต้น ประกอบด้วย การพัฒนาท่าเรือระนอง,โครงการระบบรถไฟทางคู่ และโครงการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสของ 4 จังหวัด ในพื้นที่ SEC

ทั้งนี้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง ประกอบด้วย 1.การพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอ่าวไทยและอันดามัน การท่องเที่ยวแบบผสมผสานเชิงสุขภาพและวิถีชุมชน 2.การพัฒนา SEC ให้เป็นประตูการค้าและโลจิสติกส์ของภาคใต้ 3.การพัฒนาให้เป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง พัฒนากระบวนการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และ 4.การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ วัฒนธรรม การพัฒนาเมืองน่าอยู่

ชู3โมเดล ตั้งนิคมฯ

ขณะเดียวกันโครงการฯได้มีศึกษาความเหมาะสมของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่า ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง,ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าวและหาทีมเข้ามาสนับสนุนโครงการ คาดว่าจะได้พื้นที่ศักยภาพสำหรับการจัดตั้งนิคมฯ เบื้องต้นในเดือนเมษายน 2567 โดยกรอบการศึกษามีเรื่องประเภทของอุตสาหกรรม ความต้องการของตลาด วัตถุดิบที่มาสนับสนุนเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งรูปแบบการตั้งนิคมฯ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ลักษณะการเวนคืน 2. ซื้อที่ดิน และ 3. ร่วมลงทุนกับเอกชน

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง วงเงินลงทุน 1,001,206.47 ล้านบาท โดยเป็นการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสองฝั่งทะเลและมีโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างกันด้วยระบบราง (รถไฟทางคู่) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ภายใต้แนวคิด One Port Two Side และการพัฒนาพื้นที่หลังท่าด้วยอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและกิจกรรมเชิงพาณิชย์โดยได้คัดเลือกจุดก่อสร้างท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง คือ บริเวณแหลมริ่ว ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และแหลมอ่าวอ่าง ตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

ถมทะเลสร้างท่าเรือ

ส่วนรูปแบบการลงทุนของโครงการแลนด์บริดจ์ที่เหมาะสม คือ การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership หรือ PPP) แบ่งเป็นรัฐดำเนินการเวนคืนที่ดิน 6,212 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนโครงการ 994,994.47 ล้านบาท โดยให้สิทธิเอกชนลงทุนในการก่อสร้างและการบริหารจัดการเป็นระยะเวลา 50 ปี ซึ่งกำหนดให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งโครงการ ประกอบด้วย ท่าเรือ,ทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร และมอเตอร์เวย์ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่หลังท่า โดยภาครัฐทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดิน ลงทุนทางรถไฟขนาด 1 เมตร และกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับเอกชนผู้ร่วมลงทุนในโครงการ

ทั้งนี้โครงการฯมีการพัฒนา 4 ระยะ โดยเมื่อพัฒนาครบ 4 ระยะแล้วจะสามารถรองรับตู้สินค้าได้ฝั่งละ 20 ล้านทีอียู (ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดยาว 20 ฟุต) สำหรับท่าเรือฝั่งชุมพรจะมีพื้นที่ถมทะเลประมาณ 5,808 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ท่าเทียบเรือ 4,788 ไร่ และพื้นที่พัฒนาอเนกประสงค์ 1,020 ไร่ ส่วนท่าเรือฝั่งระนองจะมีพื้นที่ถมทะเลประมาณ 6,975 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ท่าเทียบเรือ 5,633 ไร่ และพื้นที่อเนกประสงค์ 1,342 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 25,566 ไร่

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 - 27 ม.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2024 6:03 am    Post subject: Reply with quote

ลุยคุยต่อต้านแลนด์บริดจ์ นายกฯยัน รับฟังเสียงปชช.ในทุกมิติ
Source - เดลินิวส์
Wednesday, January 24, 2024 at 05:56

สุทินตั้งกก.สางปมเรือดำน้ำ ครม.ทุ่มงบโครงการ6จว.ใต้

"สุทิน" ตั้งคณะทำงานศึกษาแก้ไขปัญหาซื้อเรือ ดำน้ำ เชิญ "วิโรจน์" หรือ "โรม" ร่วมทีม ให้คณะทำงานศึกษาภายใน 1 เดือน เสนอ รมว.กลาโหมแล้วเข้า ครม. ใน 2 เดือนจะได้แนวทาง"วิโรจน์" ห่วงจะเอาความเห็นฝ่ายนิติบัญญัติไปอ้างอิงการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ตามหลักการต้องไม่แทรกแซงกัน "โรม" แฉสาเหตุเลิกซื้อไม่ได้เพราะมี "ลุง" คนหนึ่งไปเกี่ยว นายกฯลงพื้นที่พบม็อบต้านแลนด์บริดจ์ รับฟังข้อเสนอทั้งเรื่องการศึกษาผลกระทบ กระบวนการให้ข้อมูลไม่รอบด้าน รับปากจะเป็นข้อประกอบเอกสารศึกษา สว. ชี้การต้องถ่ายสินค้าขึ้นทางรางอีกใช้เวลามากขึ้นถึง 5 วัน บอกพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่ทำมา 10 เมืองยังไม่พบความสำเร็จ จี้นายกฯพูดให้ชัดว่าประเทศไหนสนใจลงทุน "อ้วน" ชี้เพื่อไทยยื่นแก้รัฐธรรมนูญคนละบทบาทกับรัฐบาล แต่เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในสภาแล้วถามศาลรัฐธรรมนูญได้ว่าต้องทำประชามติกี่ครั้ง "ไอติม" เห็นด้วยกับเพื่อไทย ขอสองพรรคจับมือให้แน่น ช่วยโน้มน้าว สส., สว. หันมาเห็นชอบแก้ ม.256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. โดยไม่ต้องทำประชามติก่อน "สมชาย" ยกเหตุผลเชื่อ "ทิม" ไม่รอดคดีหุ้นสื่อไอทีวี เทียบคดี "ธนาธร" ถือหุ้นวีลัค ไม่ทำสื่อแล้วแต่ยังไม่จดยกเลิกบริษัท แถมคดีฟ้อง สปน. ยังอยู่ศาลปกครองสูงสุด

นายกฯประชุมครม.ระนอง

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. เวลา 10.00 น. ที่หอประชุมคอซู้เจียง ศูนย์ราชการจังหวัดระนอง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ นายกฯและ ครม.สวมเสื้อผ้าบาติกสีฟ้าที่ทางจังหวัดมอบให้ เป็นลายทรัพย์รักษ์ระนอง ลายผ้าประจำจังหวัดระนอง ซึ่งเป็นลายแปดเหลี่ยม ที่ "คอซู้เจียง" เจ้าเมืองระนองเคยใส่ มีลวดลายลักษณะเหมือนเก๋งจีน ฝนแปดแสดงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของเมืองฝนแปดแดดสี่ มีความเจริญทางการค้าทางทะเล นายกฯ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ ก่อนประชุม ชิมมังคุดแช่อิ่มอบแห้ง รวมทั้งได้ลองดมกลิ่นกะปิเคยแท้ ชิมชาดอกกาแฟ นายกฯยังได้ชิมก๊กซิมบี้ อาหารท้องถิ่นที่มีการพัฒนาเป็นอาหารแช่แข็งซึ่งนายกฯระบุว่าเป็นเมนูซอฟต์พาวเวอร์ และบอกผู้สื่อข่าวว่า ยังมีอาการหวัดอยู่ แต่ไม่เป็นไร

เผยแผนเพื่อไทยยื่นแก้รธน.

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ 60 กล่าวถึงการที่พรรคเพื่อไทย เสนอญัตติแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ขณะที่รัฐบาลก็เตรียมแก้รัฐธรรมนูญเช่นกัน สรุปว่าจะยึดแนวทางใด ว่า การยื่นของพรรคเพื่อไทย เป็นเรื่องของพรรคการเมือง เป็นบทบาทที่แยกกัน ก็ต้องไปว่ากับที่พรรคการเมือง ส่วนของรัฐบาลนั้น หลังจากกลับจากต่างประเทศ ก็ทราบว่าเรื่องมาถึงแล้ว นำเสนอต่อ ครม.ได้ไม่เกินปลาย ก.พ.
"การที่พรรคเพื่อไทยยื่น ไม่ได้ตั้งประเด็นให้เกิดความขัดแย้ง แต่ฝ่ายการเมืองมีความเป็นห่วงและรวมถึงรัฐบาลก็เป็นห่วงเช่นกันว่าจะทำประชามติให้ถูกต้องกี่ครั้ง เพราะมีหลายคนยืนยันว่าทำแค่ 2 ครั้งก็พอ ถ้าได้ 2 ครั้งจริงก็ประหยัดเงินไปได้ 3,000 กว่าล้าน แต่หากว่ามีหลักประกันว่า ใช้เงินเพิ่มแล้วรัฐธรรมนูญผ่าน เราก็ยินดี แต่หากรัฐบาลไปถามกับศาลเองก็จะไม่มีคำตอบอะไร เพราะเหตุยังไม่เกิด ศาลอาจจะไม่รับวินิจฉัย แต่หากสภาเสนอเข้าไป และมีการคุยกัน หากเกิดความขัดแย้ง เหตุมันเกิดก็จะสามารถยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ หากศาลรัฐธรรมนูญบอกทำประชามติ 3 ครั้ง ก็เป็นเรื่องที่เราเตรียมการไว้แล้ว หากจะติดก็คงจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้น 3 พันกว่าล้าน"นายภูมิธรรม กล่าว

ให้"มนพร"ประสานอภิปราย

นายภูมิธรรม กล่าวถึงกรณีที่ สว. ยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปให้กับรัฐบาลแต่ไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 ว่า สว.ก็ใช้สิทธิตามกฎหมาย และไม่น่ามีปัญหาอะไรแต่เราต้องขอมาดูประเด็นที่ติดใจว่าคืออะไร เพราะรัฐบาลเพิ่งทำงานเข้าเดือนที่ 4 กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมก็ต้องไปดูว่าอะไรที่ไม่เท่าเทียม คิดว่าสามารถคุยได้ เพราะญัตติที่เสนอมาเป็นข้อเสนอแนะจากรัฐบาลไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ สว.จะพาดพิงนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม 2 มาตรฐานหรือไม่ยังไม่ทราบต้องขอฟังเขาก่อน

นายเศรษฐา ทวีสิน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี สว. ยื่นญัตติอภิปรายทั่วไป ครม. โดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ในเดือน ก.พ. ว่า ต้องให้นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างสภากับ ครม. เป็นผู้กำหนดวันที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลพร้อมชี้แจงทุกเรื่อง ส่วนผลการประชุม ครม. ได้เห็นชอบโครงการกลุ่ม 6 จังหวัด (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) 13 โครงการมูลค่า 350 ล้านบาท คิดเป็นจังหวัดละ 50 ล้านบาท และโครงการตามข้อเสนอของภาคเอกชน 5 โครงการมูลค่า 202 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณปี 2566 งบกลางไปพลางก่อน
"ไอติม"เห็นด้วยกับเพื่อไทย

ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ที่ผ่านมาสิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันคือ การทำประชามติครั้งที่ 2 และ 3 ถูกบังคับโดยรัฐธรรมนูญมาตรา 256 และคำวินิจฉัย 4/2564 ของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นข้อถกเถียงหลักจึงอยู่ที่การทำประชามติครั้งแรกจำเป็นหรือไม่ เนื่องจากมีการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน บางฝ่ายมองว่าคำวินิจฉัยกำหนดให้ทำประชามติก่อนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะยกร่างรัฐธรรมนูญ ขณะบางฝ่าย โดยเฉพาะ สว. มองว่าต้องทำประชามติก่อนที่จะมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใด ๆ เข้าสู่สภา พรรคก้าวไกล เห็นด้วยกับที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เสนอว่าตามหลักกฎหมายการทำประชามติ 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ต่อไปนี้จะมีโจทย์สำคัญคือทั้ง 2 พรรค ต้องร่วมมือกันหาแนวทางโน้มน้าวให้สมาชิกรัฐสภาทุกส่วน โดยเฉพาะ สว.เห็นชอบกับการทำประชามติ 2 ครั้ง

หวังจับมือแก้ไขรัฐธรรมนูญ
"อีกโจทย์คือในเชิงรายละเอียด ทั้งรูปแบบและที่มาของอำนาจ ส.ส.ร. โดยพรรคก้าวไกลได้เตรียมร่างแก้ไขที่จะยื่นประกบกับร่างของพรรคเพื่อไทย ในส่วนที่เราเห็นด้วยกับพรรคเพื่อไทยคือ ส.ส.ร. ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100% และกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ที่ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ร. อยู่ที่ 18 ปี จุดที่เห็นต่างกับพรรคเพื่อไทยคือระบบเลือกตั้ง ความเชื่อมโยงระหว่าง ส.ส.ร.กับรัฐสภา และอำนาจของ ส.ส.ร. ในการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 ซึ่งจะใช้กลไกของรัฐสภา ในการหาข้อยุติความเห็นต่างเหล่านี้ ยืนยันว่า พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ยังยืนยันในหลักการว่าการทำประชามติ 2 ครั้ง เพียงพอแล้ว และหวังให้รัฐสภาหาทางออกกันเอง แต่ยังมีช่องให้คนที่เห็นแย้งยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญได้อยู่ ดังนั้น 2 พรรค ต้องจับมือกันให้แน่น เพื่อพยายามช่วยโน้มน้าวให้ สว. รวมถึง สส.จากบางพรรคที่ร่วมรัฐบาลอยู่ หันมาเห็นชอบ และพร้อมยกมือสนับสนุนการแก้ไขมาตรา 256 และตั้ง ส.ส.ร. โดยไม่ต้องทำประชามติก่อน" นายพริษฐ์ กล่าว

นายกพบกลุ่มค้านแลนด์บริดจ์

ภายหลังการประชุม ครม.สัญจร นายเศรษฐา ทวีสิน ได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษา จ.ระนอง เพื่อพบกับกลุ่มภาคประชาชนที่เดินทางมารวมตัวกัน เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ ประมาณ 100 กว่าคน โดยมีพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.ทำหน้าที่ประสานงานกับกลุ่มคัดค้าน ที่ชูป้ายข้อความต่าง ๆ อาทิ "มีการบิดเบือนข้อมูลและลิดรอนสิทธิ์ของประชาชน, การศึกษาผลกระทบยังไม่ชัด, แบบพัฒนาโครงการไม่รอบคอบ, กระบวนการให้ข้อมูลไม่รอบด้าน" เป็นต้น และมีการชูธงแสดงสัญลักษณ์ที่มีข้อความระบุว่า "หยุดแลนด์บริดจ์" โดยแกนนำระบุว่า นี่คือเมกะโปรเจกต์ขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จึงมีข้อแนะนำและเรียกร้องให้รัฐบาลจะต้องมีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านและได้มาตรฐาน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจน เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนอย่างรอบด้าน และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง ข้าราชการ ท้องถิ่น และภาคประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เป็นกลไกในการทำงาน ที่จะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

นายกฯ กล่าวว่า จะรับฟังข้อเสนอนำไปพิจารณาเป็นข้อประกอบการทำเอกสารศึกษา เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีความกระจ่างในจุดประสงค์ของการทำแลนด์บริดจ์ และวันที่ 23 ม.ค.ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคใต้ นอกเหนือจากแลนด์บริดจ์ มั่นใจว่ารัฐบาลนี้ทำอย่างต่อเนื่อง เช่น จะสร้างสนามบินอันดามันเนเชอรัล ที่ จ.พังงา ทราบดีว่าเราดำเนินการแล้วโดยรัฐบาลนี้ เรื่องการประมง อาทิตย์หน้าจะเอา พ.ร.บ. ประมง เพื่อให้ชาวประมงกลับมาประกอบอาชีพได้อีกครั้งตามกฎของไอยูยู รัฐบาลทำอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาได้บรรจุในนโยบายรัฐบาลอยู่แล้ว

สว.สงสัยร่นเวลาจริงหรือไม่

ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระในช่วงของการเปิดให้สมาชิกหารือ โดยนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สว. อภิปรายว่า ความเห็นของตนจากการพิจารณาข้อมูลที่ได้จากกระทรวงคมนาคม ในประเด็นปัจจัยความสำเร็จของโครงการแลนด์บริดจ์ 4 ด้าน คือ 1.ระยะเวลาที่สั้นลง ตนเห็นว่าแม้สภาพทางภูมิศาสตร์ประเทศไทยจะมีระยะทางที่สั้นลงเมื่อเทียบกับช่องแคบมะละกา 1,000 กิโลเมตร สามารถร่นระยะเวลาเดินเรือเหลือเพียง 2-3 วัน แต่ของไทยไม่สามารถเดินเรือผ่านโดยตรงได้เพราะไม่ได้ขุดคลองไทย ดังนั้นต้องใช้การขนถ่ายสินค้า จากเรือขนาดใหญ่ 2-3 หมื่นทียู ซึ่งจะใช้เวลาขนถ่ายตู้คอนเทเนอร์ 3 วัน จากนั้นต้องใช้การขนส่งทางรถและรถไฟ 1 วัน จากท่าเรือ จ.ระนองไป จ.ชุมพร จากนั้นเมื่อถึงท่าเรือต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือ อีก 3 วัน ซึ่งรวมเวลา 7 วัน ดังนั้นที่กระทรวงคมนาคมแจ้งว่าจะสั้นลงนั้นจริงหรือไม่ เพราะต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นถึง 5 วัน

จี้นายกฯตอบประเทศไหนสน

นายสุรเดช กล่าวต่อว่า 2. ค่าใช้จ่าย เมื่อมีการขนถ่ายสินค้าจากเรือไปการขนส่งอื่น รวม 6 ครั้ง ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย ประมาณหมื่นบาท ไม่ทราบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายจริงหรือไม่ 3.มีอุตสาหกรรมหลังท่า หรืออุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดย กมธ.แลนด์บริดจ์ของสภา ศึกษาและระบุว่าโครงการดังกล่าวจะสำเร็จได้ เมื่อมีอุตสาหกรรมหลังท่า หรือ เอสอีซี ทั้งนี้ต้องพิจารณาจุดแข็งของพื้นที่ที่นำไปสู่ความสำเร็จ เมื่อเทียบกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ดำเนินการ 10 เมือง ยังไม่พบความสำเร็จ ขณะที่โครงการอีอีซีที่มีโครงการปิโตรเคมี แต่จนถึงวันนี้ยังไม่สำเร็จเท่าที่ควรและ 4. ผู้ร่วมลงทุน จากที่มีมติ ครม. ให้ทำโรดโชว์ในต่างประเทศ ที่ผ่านมา นายกฯ เดินทางไปแล้ว 4 ประเทศ ตนขอเรียกร้องให้นายกฯ ชี้แจงว่ามีนักลงทุนหรือประเทศใดสนใจหรือไม่ เพราะตามข้อมูลของกระทรวงคมนาคม กำหนดเงื่อนไขให้เอกชนลงทุน 100%
"การดำเนินดังกล่าวต้องการสร้างเพื่อทดแทนความคับคั่งที่ช่องแคบมะลากา ซึ่งเป็นการแข่งขันการเดินเรือสินค้ากับสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่ปัจจัยความสำเร็จตามข้อมูลของกระทรวงคมนาคมใน 4 ประเด็น ผมขอตั้งคำถามว่าสำเร็จได้จริงหรือไม่ ควรรับฟังข้อมูลให้รอบด้าน แม้จะสร้างเสร็จแล้วต้องดำเนินการต่อ ไม่ทำให้รกร้างเพราะจะแข่งขันไม่ได้ตามที่กระทรวงคมนาคมอ้างว่าช่องแคบมะละกาคับแคบ แต่พบว่ามีความกว้างกว่า 100 กิโลเมตร ขณะที่สิงคโปร์ยังมีการปรับปรุงเพื่อรองรับการเดินเรือที่เพิ่มมากขึ้น" นายสุรเดช กล่าว

ตั้งกรรมการถกซื้อเรือดำน้ำ

มีรายงานข่าวว่า หลังสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ตอบคำถามกองทัพเรือ (ทร.) เกี่ยวกับการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน ทร.ได้ส่งรายงานให้นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหมแล้ว จากนั้น นายสุทิน เตรียมลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางและหาทางออกแก้ไขปัญหา การจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน โดยมี พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม เป็นประธาน และคณะทำงาน ชุดนี้ จะมีสัดส่วนของทหารและพลเรือนใกล้เคียงกัน เช่น ตัวแทนอัยการสูงสุด นักวิชาการ ผู้แทนกองทัพเรือ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ผู้อภิปรายเกี่ยวกับการจัดซื้อเรือดำน้ำมาตลอดสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา และ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร หรือนายรังสิมันต์ โรม สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ซึ่งคณะทำงานชุดนี้ มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 30 วัน นำคำตอบของอัยการมาร่วมกันหาทางออก

นายสุทินให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการชุดนี้มีกรรมการรวม 13-15 คน เพื่อพิจารณาหาทางเลือกที่ดีที่สุด โดยจะมาจากหลายฝ่าย จะลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวในวันที่ 24 ม.ค.นี้ ทั้งนี้ อสส. ตอบคำถามว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้ โดยให้ออกเป็นมติ ครม. จึงจะใช้เป็นเรือดำน้ำจากประเทศจีน หรือจะใช้เรือยี่ห้ออื่น หรือจะข้ามไปเป็นใช้เรือฟริเกตก็ได้ โดยต้องออกเป็นมติ ครม. คณะกรรมการที่ศึกษาเสร็จแล้วต้องเสนอ รมว.กลาโหม ก่อนจะเสนอ ครม. ถ้าศึกษาเสร็จภายใน 1 เดือน จากนั้นคงใช้เวลาไม่นาน ภายใน 2 เดือนก็น่าจะเห็นแนวทาง
ห่วงเอาฝ่ายนิติบัญญัติไปอ้าง

ที่รัฐสภา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน กมธ. การทหาร กล่าวถึงกรณีที่นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม เชิญนายวิโรจน์ และนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ เป็นที่ปรึกษาโครงหาจัดซื้อจัดจ้างเรือดำน้ำ ว่า เราต้องอย่าลืมหลักการการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจนิติบัญญัติต้องไม่เข้าไปแทรกแซงอำนาจฝ่ายบริหาร เพราะความรับผิดชอบตัดสินใจอยู่ที่ รมว.กลาโหม สิ่งที่ต้องกังวล คือจะเอาความเห็นของฝ่ายนิติบัญญัติไปอ้างอิงในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ในความรู้สึกของตนกับนาย สุทิน เข้าใจกันไม่ได้มีปัญหา แต่อยากจะรักษาหลักการตรวจสอบถ่วงดุล กมธ.การทหารของตน อยากให้อยู่ในบทบาทของ กมธ.การทหาร และกระทรวงกลาโหมมากกว่า

เมื่อถามว่าจะไม่เข้าร่วมใช่หรือไม่ นายวิโรจน์กล่าวว่า คิดว่าคงจะมีโอกาสหารือกับนายสุทิน ในช่วงเดือน ก.พ. ถ้าเรามีการข้อตกลงร่วมกัน ในการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างกระทรวงกลาโหม และ กมธ.การทหาร เพื่อให้ทำงานกันอย่างแนบแน่นมากขึ้น ไม่ใช่ว่าส่งเอกสารหรือขอหนังสืออะไรไปแล้ว ไม่เคยได้รับอย่างที่เคยเป็นมา ถ้าจะทำงานอย่างไร้รอยต่อมากขึ้น ถ้าเราสงสัยแล้วท่านชี้แจง เปิดเผยรายละเอียดเป็นสาธารณะ อะไรที่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็เข้าอกเข้าใจกัน ตรงนั้นจะทำให้เราทำงานได้อย่างเข้าใจ อย่างไรก็ตาม คงไม่นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรค คงจะมีการหารือกันในหมู่ สส. มากกว่า เพราะเป็นเรื่องอำนาจนิติบัญญัติ

"โรม"ยินดีรับฟังอยากได้ข้อมูล

นายรังสิมันต์ โรม กล่าวว่า ยังไม่มีใครติดต่อมา ถ้าทาบทามอย่างเป็นทางการอย่างน้อยควรจะมีการโทรฯมาบอกก่อน ค่อนข้างแปลกใจ หรือว่านายสุทินอยากให้มีประเด็นหน้าสื่อ ตนเป็นประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ต้องไปดูข้อกฎหมายว่าจะสามารถไปนั่งในคณะกรรมการได้หรือไม่ และแม้จะไม่ได้ไปนั่ง แต่ถ้าเชิญเราไปรับฟังข้อมูลในคณะกรรมการ ทาง กมธ.ก็ยินดี เพราะเราก็อยากได้ข้อมูลทั้งหมดจากกระทรวงกลาโหมและทางกองทัพเรือว่าข้อมูลเรื่องเรือดำน้ำ ที่เป็นปัญหาทั้งหลายเป็นอย่างไร ต้องตั้งคำถามกลับไปว่า อยากจะให้เป็นกรรมการตรวจสอบจริง ๆ ใช่หรือไม่ อยากจะให้ไปทำอะไร หรือแค่ต้องการให้มีภาพข่าวออกมาเท่านั้น ตนคงไม่ปฏิเสธ แต่ไม่รู้จะตอบรับยังไง คงจะรอโทรศัพท์ของนายสุทิน ที่คิดว่าคงยังมีเบอร์โทรฯตนอยู่ ไม่ลบเบอร์ฝ่ายค้านที่เคยร่วมสู้กันมา

สงสัยจีนจะยอมง่าย ๆ หรือไม่

"นายสุทินพูดเสมอว่า เรากับประเทศจีนมีผลประโยชน์กันเยอะมาก หากการพิจารณาเรื่องนี้จะทำให้เป็นเงื่อนไขในการเสียผลประโยชน์ ขอถามกลับว่า จีนจะยอมให้เป็นอย่างนั้นหรือไม่ อย่าไปคิดว่าไทยต้องเอาใจจีนร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ทั้ง 2 ประเทศจะต้องยืนอยู่ด้วยกันอย่างมีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน ไม่คิดว่านายสุทินจะมองข้ามในเรื่องนี้ ซึ่งไม่อยากจะเดาว่าทำไมนายสุทินจะเชิญร่วม กมธ. แต่คิดว่าหากเราต้องซื้ออาวุธจริง ๆ ต้องดูว่าซื้อด้วยภัยคุกคามความมั่นคงแบบไหน เราก็ยังไม่ได้รับข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมว่า ตกลงเราจะซื้อเรือดำน้ำด้วยภัยความมั่นคงแบบไหน และเมื่อซื้อมาแล้ว สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ การเชื่อมโยงอาวุธต่าง ๆ มีหรือไม่ ถ้าทำได้ถึงจะซื้อ แต่เรากลับไม่ได้ข้อมูลอะไรเลย นายสุทินก็กลายเป็นคนละคน เข้าใจว่าเมื่อมาเป็นรัฐมนตรีก็ต้องรักษาท่าที แต่ต้องเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนก่อน การตรวจสอบต่าง ๆ กมธ.ก็ยินดี หากกระทรวงกลาโหมร่วมมือ โดยไม่จำเป็นต้องไปเป็นกรรมการ แต่นี่เหมือนบังคับว่าถ้าเราไม่ไปเข้าร่วมกับเขาเลย การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนก็ทำไม่ได้" นายรังสิมันต์ กล่าว

นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า "เรื่องเรือดำน้ำที่เลิกไม่ได้ เพราะมันเป็นเงื่อนไขก่อนตั้งรัฐบาลหรือเปล่า มี 'นาย บ.' คนหนึ่งหรือไม่ ที่ไปจ่ายค่าหัวคิว แล้วสุดท้าย 'ลุง' คนนั้นที่เอาไปแล้ว 20% หรือมากกว่านั้น เขาจ่ายไปแล้วมันถึงคืนไม่ได้ กลายเป็นเรื่องทุจริตคอร์รัปชันไปแล้วใช่หรือไม่"
"สมชาย"ฟันธง"ทิม"ไม่รอด
อีกเรื่องหนึ่ง วันที่ 24 ม.ค.นี้ จะมีการตัดสินนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ขาดคุณสมบัติความเป็น สส.เนื่องจากถือหุ้นไอทีวีหรือไม่ นายสมชาย แสวงการ สว.โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า "ความเห็นส่วนตัว ดังนี้ 1.บริษัท ไอทีวี ยังคงเป็นสื่อ โดยมีสถานะความเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีวัตถุประสงค์ จดแจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับสื่อ รวม 5 ข้อ ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัท หรือจดยกเลิกวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อดังกล่าว สอดรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 14/2562 วินิจฉัยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ในคดีการถือหุ้น บริษัทวีลัคมีเดีย ที่อ้างว่า ปิดกิจการแล้ว แต่ไม่จดทะเบียนยกเลิกบริษัท ศาลเห็นว่า ยังสามารถประกอบกิจการสื่อมวลชนได้ตลอดเวลา ตราบใดที่ไม่ได้จดเลิกบริษัท

คดีไอทีวียังอยู่ศาลปค.สูงสุด

นายสมชาย ระบุว่า 2.บริษัท ไอทีวี ชนะคดีเบื้องต้นแล้ว 2 ยก รัฐต้องคืนคลื่นความถี่ ชดใช้ค่าเสียหาย โดยไอทีวีถูกปิดสถานี และยึดคลื่นคืน เมื่อ 17 ปีก่อน ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ขอให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ชดเชยความเสียหายตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ-คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ไอทีวีชนะ สถานะปัจจุบัน ศาลปกครองสูงสุด ยังไม่มีคำพิพากษาในคดีนี้ จึงเห็นว่า นายพิธา น่าจะขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้าม เพราะคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและศาลปกครองกลาง ให้ไอทีวีเป็นผู้ชนะคดี ได้รับการเยียวยา และคืนสัมปทานคลื่นความถี่โทรทัศน์ ไอทีวี จึงอยู่ในฐานะที่พร้อมประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ได้ 3.บริษัทไอทีวี ไม่ได้ประกอบกิจการแล้ว แต่ยังมีบริษัทลูกประกอบกิจการสื่อ มีรายรับ จากบริษัทอาร์ตแวร์มีเดีย ที่ไอทีวี เป็นผู้ถือหุ้น99% โดยมีผลประกอบกิจการจดทะเบียนทำสื่อโฆษณา รายการให้เช่าเครื่องมือ ลิขสิทธิ์ แลอื่น ๆ ฯลฯ ที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจสื่อ"

นายสมชาย กล่าวว่า 4.นายพิธา ถือหุ้นไอทีวี เพียงแค่เล็กน้อย ทำไมจึงผิด ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีคำวิจฉัยที่ 12-14/2553 ในคดีถือหุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานรัฐ ที่วินิจฉัยให้รมต. สส. สว.พ้นจากสมาชิกภาพ และเคยวินิจฉัยไว้ว่า หุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานเป็นลักษณะต้องห้ามแม้ถือหุ้นเพียง1หุ้น ก็ขาดคุณสมบัติ การที่นายพิธา อ้างว่าถือหุ้นไอทีวีเพียง 42,000 หุ้น จาก 1,206,697,400 หุ้น คิดเป็น 0.0035% ไม่มีอำนาจสั่งการบริษัท ข้อโต้แย้งนี้นายพิธาจึงฟังไม่ขึ้น ไม่อาจหักล้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่เคยวางแนวไว้เดิม.

บรรยายใต้ภาพ

คุยม็อบ...นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและ รมว.คลัง พบปะกลุ่มภาคประชาชนที่ชุมนุมยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาศูนย์การศึกษา จ.ระนอง ยันรับฟังทุกปัญหา


ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 25 ม.ค. 2567 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44655
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2024 6:18 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ คิด เขียน คุย: 'แลนด์บริดจ์'อภิมหาโปรเจกท์ขายฝัน
Source - แนวหน้า
Wednesday, January 24, 2024 06:11
รุ่งเรือง ปรีชากุล

โครงการของรัฐบาลชุดนี้แต่ละโครงการ นับวันก็ยิ่งเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เป็นโครงการที่ฝันอยู่ในอากาศ เหมือนฟังเพลง "เป็นไปไม่ได้" ของวง ดิ อิมพอสซิเบิ้ลส์ คือมีแต่คำว่าถ้าแต่ยังทำไม่ได้แม้แต่โครงการเดียว

โครงการ "ดิจิทัล วอลเล็ต" ยิ่งนานวันก็ยิ่งเลือนราง ส่วนโครงการแลนด์บริดจ์ อภิมหาโปรเจกท์ มูลค่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการสร้างสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง) ที่เวลานี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะผลักดันกันไปได้ถึงไหน

โดยเฉพาะโครงการอภิมหาโปรเจกท์แลนด์บริดจ์ ที่เห็นก็คือ ภาพนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีที่ประกาศตัวว่าเป็นเซลส์แมนเบอร์หนึ่งของประเทศไทย นุ่งกางเกงขาลีบใส่ถุงเท้าสีแดงเดินสายโรดโชว์ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และล่าสุดก็เพิ่งจะประชุมครม.สัญจร ที่จังหวัดระนอง ระหว่าง วันที่ 22-23 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อสำรวจพื้นที่พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากเอกชนและประชาชน ก่อนผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็น การลงพื้นที่ครั้งแรก หลังจากที่ไปเดินสายโรดโชว์ในต่างประเทศเพื่อดึงการลงทุน

ครั้งที่ไปประชุมกลุ่ม "ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก 2023" ที่นครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพฤศจิกายนปลายปีที่แล้ว นายเศรษฐา ทวีสิน ก็ไปขายฝันเพื่อจะดึงภาคเอกชนและนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนในโครงการแลนด์บริดจ์ ฝันเพ้อไปว่าเมื่อโครงการนี้เกิดขึ้นจะเกิดอุตสาหกรรมใหม่ และจะขยายเป็นฐานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะภาคการเกษตรเท่านั้น แต่จะมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเกิดขึ้นด้วย เป็นการยกระดับรายได้ประชาชนที่เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น

ทุกครั้งที่นายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งประกาศตัวเป็นเซลส์แมนเบอร์หนึ่งของประเทศไทยแต่สื่อให้ฉายาว่า "เซลส์แมนสแตนด์ชิน" กลับมาจากการประชุมในต่างประเทศ คำพูดที่ได้ยินจนคุ้นหูก็คือ "ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนต่างชาติเป็นอย่างดี" ไม่ว่าจะไปประชุม "UNGA78" ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ไปฮ่องกง บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ซาอุดีอาระเบีย และล่าสุดที่เพิ่งกลับจาก การประชุม "World Economic Forum" ที่เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส

แต่คำถามจากหลายๆ ฝ่ายที่ว่า การที่รัฐบาลชุดนี้โดยนายเศรษฐา ทวีสิน หวังจะดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศมาลงทุนที่เป็นสูตรสำเร็จเดียวกันของทุกรัฐบาล คือเพื่อการสร้างงานในประเทศและผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น หากโครงการแลนด์บริดจ์เปิดทำการได้เต็มศักยภาพเมื่อสร้างแล้วเสร็จซึ่งเวลานี้ยังไม่รู้ว่าเมื่อใด จะยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมการเดินเรืออยู่หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับท่าเรือที่มีอยู่เดิมในมาเลเซียและสิงคโปร์

ทั้งนี้ "โครงการแลนด์บริดจ์" เป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงคมนาคมได้ศึกษาความเป็น ไปได้ ตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยการก่อสร้างทั้งหมดจะแล้วเสร็จในปี 2582 ซึ่งทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น และโครงการขนาดใหญ่แบบนี้จะต้องมองถึงความคุ้มหรือไม่คุ้ม เกี่ยวกับความยั่งยืนของวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ถ้าหากถูกทำลายลงไปแล้วก็มิอาจทำให้ฟื้นคืนกลับมาได้ดังเดิม

เมื่อตามไปดูรายละเอียดของโครงการก็จะพบว่า มิอาจหลีกเลี่ยงต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมไปได้ อาทิ ต้องมีการถมทะเลเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ทั้งทางด้าน ฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณแหลมอ่าวอ่าง อำเภอราชกรูด จังหวัดระนอง และท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย ที่แหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังจะต้องมีการก่อสร้างเส้นทาง เชื่อมโยงท่าเรือทั้งสองฝั่งซึ่งมีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ประกอบด้วย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ขนาด 6 ช่องจราจร โดยเป็นอุโมงค์ 3 แห่ง ระยะทางอุโมงค์ประมาณ 21 กิโลเมตร และทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร (Standard Gauge) จำนวน 2 ทาง รวมทั้งทางรถไฟขนาดราง 1.0 เมตร (Meter Gauge) จำนวน 2 ทาง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายทางรางหลักของประเทศ ตลอดจน เชื่อมต่อพื้นที่สำหรับวางท่อขนส่งน้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนการขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทางท่อในพื้นที่ของโครงการ

นึกภาพดูแล้ว นี่ก็ย่อมมีผลกระทบต่อ ระบบนิเวศ ต่อทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของชาวบ้านทั้งสองฝั่งทะเล และตลอดแนวการสร้างทางหลวงพิเศษและการสร้างทางรถไฟ ทั้งอาชีพการทำประมง อาชีพทำไร่ทำสวน มิพักต้องเอ่ยถึงทัศนียภาพสำหรับการท่องเที่ยว และที่สำคัญที่สุด คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนย่อมได้ผลกระทบอย่างแน่นอน

ถึงบรรทัดนี้สำหรับความเห็นของผมนั้น ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะความเจริญ ทางวัตถุที่หวังว่าจะบันดาลชีวิตความเป็นอยู่ของ ผู้คนให้มีฐานะดีขึ้นนั้น ไม่ใช่ความยั่งยืนที่แท้จริง เมื่อเทียบกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและชีวิต อันเป็นปกติสุขของประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คนที่จะร่ำรวยสุขสบาย ขณะที่ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ก็มีแต่นายทุนเท่านั้นที่ได้ประโยชน์

ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 24 ม.ค. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 17, 18, 19, 20  Next
Page 18 of 20

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©