RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13284183
ทั้งหมด:13595505
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2021 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

กรมขนส่งทางราง แจงมาตรการ “งดพูดคุยบนรถไฟ-รถไฟฟ้า”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:53 น.

กรมขนส่งทางราง แจงที่มาที่ไปห้ามสนทนาระหว่างใช้บริการรถไฟฟ้า
หน้าข่าวทั่วไป
วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:08 น.

กรมการขนส่งทางราง แจงที่มาที่ไปของมาตรการงดสนทนา ขณะใช้บริการรถไฟฟ้า เผยโดยได้เพิ่มขึ้นรับNew Normal ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.63แล้ว ไม่ใช่เพิ่งเริ่มใช้ครั้งนี้


วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 จากกรณีที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ออกประกาศเรื่อง มาตรการพึงปฏิบัติการจัดการระบบขนส่งทางราง ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 10 เพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางรางทุกระบบถือปฏิบัติ

โดยหนึ่งในมาตรการที่ ขร. ได้ประกาศไว้ในข้อ 5. กำกับดูแล ตรวจติดตาม และขอความร่วมมือให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ได้แก่ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และงดสนทนาขณะใช้บริการระบบขนส่งทางราง ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งเมื่อเข้าและออกจากระบบ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายที่จุดคัดกรอง และใช้แอปพลิเคชั่นไทยชนะนั้น

ปรากฏว่า ได้สร้างความสงสัยให้กับประชาชนและผู้ใช้บริการระบบขนส่งทางรางถึงสาเหตุและที่มาของการกำหนดให้ผู้โดยสารงดสนทนาขณะใช้บริการระบบขนส่งทางรางว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดถึงได้กำหนดมาตรการขึ้นมาในลักษณะนี้

ก่อนอื่นทาง ขร. ขอแจ้งให้ทราบว่าข้อกำหนดที่ระบุให้งดสนทนาขณะใช้บริการระบบขนส่งทางรางนี้ ไม่ได้เพิ่งกำหนดออกมาเพื่อบังคับใช้ในครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ข้อกำหนดดังกล่าวได้ถูกกระบุไว้ในมาตรการเพื่อรองรับการเดินทางที่จะเพิ่มขึ้นภายหลังการเปิดภาคเรียนในรูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563


ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้ผ่านการเห็นชอบจากการประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 โดยเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มขีดความสามารถด้านการบริการขนส่งสาธารณะเพื่อรองรับการเปิดภาคการศึกษา ซึ่งกำหนดให้งดการพูดคุยและต้องสวมหน้ากากอนามัยระหว่างการเดินทางควบคู่กับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอื่น ๆ

ทั้งนี้ ขอชี้แจงว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่มีข้อมูลทางวิชาการด้านสาธารณสุขมาสนับสนุน

จากการร่วมประชุมหารือระหว่าง ขร. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาลงกรณ์ และหน่วยงานที่ให้บริการขนส่งทางรางทุกระบบ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมรองรับการเปิดเทอมและปรับปรุงการดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ร่วมกัน

โดยทางกรมควบคุมโรคและศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้ง 2 หน่วยงานได้มีความเห็นทางวิชาการด้านสาธารณสุขเห็นพ้องร่วมกันในการกำหนดให้ผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางต้องสวมหน้ากากและงดการพูดคุยขณะอยู่ในขบวนรถและตลอดเวลาเมื่อใช้บริการ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของสารคัดหลั่ง และการแพร่เชื้อโรคทางฝอยละอองน้ำลายนั่นเอง การออกมาตรการใด ๆ ก็ตามทาง ขร. คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ แม้บางมาตรการอาจทำให้ผู้โดยสารได้รับความไม่สะดวกมากนัก จึงขอความร่วมมือจากผู้โดยสารเพื่อให้ผู้โดยสารทุกคนเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางอย่างปลอดภัยห่างไกลโควิด-19
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2827761334107249


Last edited by Wisarut on 15/07/2021 3:01 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2021 12:23 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์! ต.ค.นี้ เปิดตัวทางการ ‘สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง‘ เร่งวิจัย ‘ชิ้นส่วนรางผลิตภายในประเทศ-สร้างรถไฟ EV ต้นแบบ
เผยแพร่: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

“กรมรางฯ” เปิดตัว “สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง” ลุ้น “ปลัดคมนาคม” เคาะแต่งตั้ง “รักษาการผอ.สถาบัน” ในการประชุมคณะกรรมการนัดแรกภายใน 1-2 เดือน พ่วงสรรหาเจ้าหน้าที่เบื้องต้น 80 คน คาดสถาบันเปิดทางการภายใน ต.ค.นี้ ก่อนเร่งวิจัยชิ้นส่วนรางให้ผลิตภายในประเทศ สนองนโยบาย Thai First-วิจัยสร้างรถไฟ EV ต้นแบบ
รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ตามที่เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หรือ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป เนื่องจากการที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงต้องพึ่งพาองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศเป็นหลัก



ดังนั้น เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบรางได้อย่างยั่งยืนและลดการพึ่งพาต่างประเทศ จึงควรจัดตั้งหน่วยงานในประเทศที่มีหน้าที่ศึกษา วิจัย เปรียบเทียบเทคโนโลยีระบบราง และประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อใช้ในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ พร้อมทั้งบริหารจัดการงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบรางและการขนส่งทางราง ตลอดจนการรับ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบการขนส่งทางราง รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบราง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้นมา

*** เร่งตั้ง ผอ.สถาบันฯ – เปิดสถาบันฯ ทางการ ต.ค.นี้ ***
รายงานข่าวจาก ขร. ระบุอีกว่า ภายหลังการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 แล้ว คณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางตามบทเฉพาะกาลตามมาตรา 45 โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันประชุมหารือในวาระแรก เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (รักษาการในช่วงแรกเริ่ม) ซึ่งคาดว่า จะประชุมภายใน 1-2 เดือนนี้ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการสรรหาผู้อำนวยการฯ ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจาฯ ต่อไป



นอกจากนี้ ในการประชุมนัดแรกนั้น จะมีการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันฯ และการสรรหาเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานยังสถาบันฯ ในระยะแรกเริ่ม (ปีที่ 1 หรือประมาณ 6 เดือน) จำนวน 80 คน แบ่งเป็น ผู้บริหารระดับสูง 3 คน, ผู้บริหารระดับกลาง 9 คน, ผู้บริหารระดับต้น 14 คน, ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน, ผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับสูง 14 คน และผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับต้น 31 คน และจะเพิ่มในปีที่ 2 อีก 46 คน รวมมีบุคลากรและเจ้าหน้าที่ 126 คน อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะมีการพิจารณาหาสถานที่ เพื่อจัดตั้งอาคารของสถาบันฯ โดยในเบื้องต้น จะเป็นการเช่า โดยกระบวนการทั้งหมดนั้น จะแล้วเสร็จ และมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) อย่างเป็นทางการใน ต.ค. 2564 ตามแผน

*** ภารกิจด่วนเร่งวิจัยผลิตชิ้นส่วนในประเทศ-รถไฟ EV ต้นแบบ ***
สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางนั้น จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง สร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการสนับสนุนอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ (Local Content) ได้ตามนโยบาย Thai First การวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ EV ต้นแบบครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย–จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการอื่นๆ ในอนาคต



ในส่วนของเรื่องทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการจะมีเงินประเดิม เงินอุดหนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนจากการให้บริการของสถาบันวิจัยฯ และดอกผลรายได้จากทรัพย์สิน โดยสถาบันวิจัยฯ จะมีแนวทางในการจัดองค์การในแบบศูนย์ความเป็นเลิศในแต่ละด้าน เช่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟความเร็วสูงศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟขนส่งสินค้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าในเมือง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาบุคลากรระบบราง และศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้อมูลระบบราง เป็นต้น ซึ่งแต่ละศูนย์จะเน้นการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และหน่วยงานผู้ใช้เทคโนยี เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมระบบรางให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมต่อไป

Wisarut wrote:
กรมรางเปิดตัวสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง ลุยผลิตชิ้นส่วน-รถไฟ EV ในประเทศ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:29 น.
ปรับปรุง: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:29 น.
13 กรกฎาคม 2564 พระราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:21 น.

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๔


#เพื่อความสุขความปลอดภัยของผู้ใช้ราง
#ลดการนำเข้าและการพึ่งพาจากต่างประเทศ
#ระบบรางของคนไทย
#ศูนย์รวมความรู้ด้านระบบราง
#วิจัยและพัฒนาระบบรางให้คนไทย
#กรมการขนส่งทางราง #Departmentofrailtransport #DRT
ติดตามข่าวสารกรมการขนส่งทางรางได้ที่
Website : www.drt.go.th
Facebook : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
Youtube : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2021 2:45 am    Post subject: Reply with quote

“รถไฟ/รถไฟฟ้า” ต้องนั่งที่เว้นที่-ขึ้นได้ไม่เกิน 50% เริ่ม 21 ก.ค.นี้

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
18 กรกฎาคม 2564 เวลา 17:31 น.

กรมฯราง คลอดกฎให้รถไฟ/รถไฟฟ้า มีผู้โดยสารภายในขบวนรถห้ามเกิน 50% ของความจุสูงสุด ต้องนั่งที่เว้นที่ ยืนเว้นระยะห่าง 0.5-1 เมตร ย้ำพื้นที่สีแดงเข้ม ผู้โดยสารต้องมีเอกสารยืนยันความจำเป็นในการเดินทาง พร้อมเอกสาร ต.8-คค


เมื่อวันที่ 18 ก.ค. นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในประกาศ ขร. เรื่อง มาตรการพึงปฏิบัติการจัดการระบบขนส่งทางราง ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ฉบับที่ 11 เพื่อขอความร่วมมือหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางรางทุกระบบถือปฏิบัติเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับประกาศข้อกำหนดของรัฐบาล




นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับประกาศดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้ 1. กำกับดูแลให้มีผู้โดยสารภายในขบวนรถไม่ให้เกิน 50% ของความจุสูงสุด โดยบริหารจัดการพื้นที่ภายในขบวนรถให้ผู้โดยสารเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลบริเวณที่นั่งแบบที่เว้นที่ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลในการยืนประมาณ 0.50 – 1 เมตร และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารทราบและถือปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ได้แก่ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่หันหน้าเข้าหากัน สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และงดสนทนาภายในขบวนรถ ให้ผู้โดยสารล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการใช้บริการทุกครั้ง เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค



2. กรณีรถไฟโดยสารเข้าและออกพื้นที่จังหวัดที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้มีจุดคัดกรองและจัดเจ้าหน้าที่ในการตรวจคัดกรองผู้โดยสารโดยเคร่งครัดตลอดเวลา โดยกำหนดให้ผู้โดยสารต้องเตรียมเอกสารยืนยันตนพร้อมแสดงแก่เจ้าหน้าที่ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง เอกสารยืนยันความจำเป็นในการเดินทางตามที่ทางราชการกำหนด และเอกสาร ต.8-คค พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและขอความร่วมมือในการงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีเหตุจำเป็น


3. ให้เพิ่มความเข้มงวดและรัดกุม ในการปฏิบัติมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ปฏิบัติงาน และ 4. ให้รายงานผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค (ถ้ามี) ให้ ขร. ทราบผ่านช่องทางแอพพลิเคชันไลน์ Anti COVID-19 เพื่อเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวมีผล ณ ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค.64 เป็นต้นไป โดย ขร. หวังว่าการออกประกาศดังกล่าว จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และช่วยให้ประชาชนปลอดภัยห่างไกลจากการติดเชื้อได้.

ประกาศกรมราง! เริ่ม21ก.ค.ห้ามโดยสารเกิน50%
* ย้ำเว้นที่นั่ง-ยืนเว้นระยะห่าง 0.5-1 เมตร
*พื้นที่สีแดงเข้มต้องมีเอกสารยืนยันจำเป็น
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2955202651367900
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2021 3:11 am    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง นายกฯ ปธ.นโยบาย คุ้มครองผู้ใช้บริการ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:06 น.
ปรับปรุง: 20 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:06 น.

รองโฆษกรัฐบาล เผย ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง กำหนดนายกฯนั่งประธานคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง พร้อมกำหนดการคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ
วันนี้ (20 ก.ค.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางรางของประเทศ

มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง การจัดทำแผนพัฒนาการขนส่งทางราง หลักเกณฑ์การเสนอโครงการขนส่งทางรางและการดำเนินโครงการขนส่งทางราง เขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัย การกำกับดูแลการประกอบกิจการการขนส่งทางราง หลักเกณฑ์การสอบสวนอุบัติเหตุ หลักเกณฑ์ของผู้ตรวจการขนส่งทางรางและผู้ประจำหน้าที่ การจดทะเบียนการขนส่งทางราง การคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ บทกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาล

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง จะช่วยควบคุมและกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางให้สามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมขนส่งทางรางและการบริหารจัดการการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ให้เป็นโครงข่ายเดียวกันอย่างสมบูรณ์

ในร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางจะมีรายละเอียดที่สำคัญ เช่น การกำหนดให้มี คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบแผนการพัฒนาการขนส่งทางราง และโครงการของหน่วยงานรัฐ, เสนอแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น ที่ได้รับประโยชน์จากการขนส่งทางราง การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี การเชื่อมต่อการขนส่งทางรางกับการขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางน้ำ สถานีขนส่งทางบก ศูนย์กระจายสินค้า ที่พักสินค้า ท่าเรือบก นิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการกำหนดอัตราขั้นสูงของค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าใช้ประโยชน์จากราง และค่าธรรมเนียมอื่น และการกำหนดประเภทของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร

นอกจากนี้ ยังกำหนดเรื่องการคุ้มครองผู้โดยสาร ประกอบด้วย ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเรียกเก็บค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าใช้ประโยชน์จากราง และทรัพย์สินที่จำเป็นในการประกอบกิจการขนส่งทางราง และค่าธรรมเนียมอื่นเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนดไม่ได้, ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้โดยสารเมื่อการเดินรถขนส่งทางรางมีเหตุล่าช้าหรือถูกยกเลิก

ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตและร่างกายของผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ และผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะผู้ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็ก ให้มีความเหมาะสมแก่การใช้บริการขนส่งทางราง และในกรณีที่ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการ หรือบุคคลอื่น ได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการขนส่งทางรางให้มีสิทธิร้องเรียนต่ออธิบดี และต้องสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งโดยเร็วไม่เกิน 60 วัน นับตั้งแต่ได้รับเรื่องร้องเรียน

ครม.ไฟเขียว พ.ร.บ.การขนส่งทางราง “นายกฯ” ประธานกำกับแผนพัฒนาพื้นที่-คุ้มครองผู้ใช้บริการ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:50 น.
ปรับปรุง: 20 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:50 น.




ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง “นายกฯ” เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง ยกระดับมาตรฐานขนส่งทางรางและพื้นที่รอบสถานี กำหนดค่าใช้ประโยชน์จากราง รวมถึงคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 20 ก.ค. มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางรางของประเทศ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง การจัดทำแผนพัฒนาการขนส่งทางราง หลักเกณฑ์การเสนอโครงการขนส่งทางรางและการดำเนินโครงการขนส่งทางราง เขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัย การกำกับดูแลการประกอบกิจการการขนส่งทางราง หลักเกณฑ์การสอบสวนอุบัติเหตุ หลักเกณฑ์ของผู้ตรวจการขนส่งทางรางและผู้ประจำหน้าที่ การจดทะเบียนการขนส่งทางราง การคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ บทกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาล

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางจะช่วยควบคุมและกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางให้สามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมขนส่งทางรางและการบริหารจัดการการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ให้เป็นโครงข่ายเดียวกันอย่างสมบูรณ์

โดยในร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางจะมีรายละเอียดที่สำคัญ เช่น การกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบแผนการพัฒนาการขนส่งทางรางและโครงการของหน่วยงานรัฐ, เสนอแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับประโยชน์จากการขนส่งทางราง การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี การเชื่อมต่อการขนส่งทางรางกับการขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางน้ำ สถานีขนส่งทางบก ศูนย์กระจายสินค้า ที่พักสินค้า ท่าเรือบก นิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการกำหนดอัตราขั้นสูงของค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าใช้ประโยชน์จากราง และค่าธรรมเนียมอื่น และการกำหนดประเภทของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร

นอกจากนี้ ยังกำหนดเรื่องการคุ้มครองผู้โดยสาร ประกอบด้วย ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเรียกเก็บค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าใช้ประโยชน์จากราง และทรัพย์สินที่จำเป็นในการประกอบกิจการขนส่งทางราง และค่าธรรมเนียมอื่นเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนดไม่ได้, ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้โดยสารเมื่อการเดินรถขนส่งทางรางมีเหตุล่าช้าหรือถูกยกเลิก

ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตและร่างกายของผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ และผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะผู้ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็ก ให้มีความเหมาะสมแก่การใช้บริการขนส่งทางราง และในกรณีที่ผู้โดยสาร ผู้ใช้บริการ หรือบุคคลอื่น ได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการขนส่งทางราง ให้มีสิทธิร้องเรียนต่ออธิบดี และต้องสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งโดยเร็วไม่เกิน 60 วัน นับตั้งแต่ได้รับเรื่องร้องเรียน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2021 3:30 am    Post subject: Reply with quote

ประกาศจัดตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง (สทร.) (องค์การมหาชน) ศูนย์กลางพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางของไทย รองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง (ไทย-จีน)
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
เผยแพร่: 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:34 น.

วันนี้เอาอีกความคืบหน้าที่สำคัญของอุตสาหกรรมระบบรางของไทย คือการจัดตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง (องค์การมหาชน) เพื่อจะมาเป็นผู้พัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของไทยในอนาคต
โดยจะเป็นศูนย์กลางของการวิจัยและพัฒนาระบบราง พร้อมทั้งเป็นผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศ และส่งต่อให้กับหน่วยงานในประเทศที่สนใจในด้านนี้
โดยงานแรกที่เป็นเหตุผลหลักของการจัดตั้งสถาบัน เพื่อมารองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีน จากโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาย กรุงเทพ-นครราชสีมา เพื่อมาเป็นผู้รับ รวบรวม และส่งต่อให้กับหน่วยงานอื่นๆในประเทศต่อไป!!!!
ในอนาคต ในโครงการขนาดใหญ่ที่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี จะถูกส่งให้กับ สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง เป็นผู้ศึกษาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทั้งนักวิชาการ นักวิจัย และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำไปพัฒนาต่อได้ง่าย!!!
—————————
ซึ่งเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 64 ที่ผ่านมา ได้มีประกาศจัดตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง ในราชกิจจานุเบกษา
รายละเอียดตามลิ้งค์

พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๔


ซึ่งได้มีการจัดทำ คลิปสรุปรายละเอียดวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ไว้ตามลิ้งค์นี้
https://www.youtube.com/watch?v=s544U8lDxAc
สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบรางมีวัตถุประสงค์ 6 ข้อ ตาม พรฏ จัดตั้งคือ
1. จัดทายุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
2. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบราง และ ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อนางานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
3. วิจัยและพัฒนามาตรฐานระบบรางและระบบการทดสอบด้านระบบราง ดาเนินการ ทดสอบด้านระบบราง และรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพสาหรับใช้ประกอบการยื่นคาขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง
4. ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนท้ังในประเทศและต่างประเทศด้านการวิจัย และนวัตกรรมและการรับ แลกเปลี่ยน ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง และเป็นศูนย์กลาง ในการรับ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง
5. พัฒนาบุคลากรด้านระบบรางและจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อให้การรับรองความรู้และทักษะ ให้แก่บุคลากรด้านระบบราง
6. จัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบรางเพื่อรวบรวมข้อมูลเก่ียวกับงานวิจัย และนวัตกรรม หน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ และข้อมูลอื่นท่ีเก่ียวข้องกับเทคโนโลยีระบบราง
—————————
ซึ่งจากรายละเอียดการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง จะเน้นในการรับเทคโนโลยีและพัฒนา เพื่อส่งต่อให้กับเอกชนในประเทศในการขยายอุตสาหกรรมระบบรางต่อไป
หวังว่าเราจะได้เห็นรถไฟ รถราง ตู้โดยสาร แคร่บรรทุกสินค้า ผลิตในประเทศไทยออกมาให้ประชาชนได้ใช้กันบ้างนะครับ

Wisarut wrote:
ดีเดย์! ต.ค.นี้ เปิดตัวทางการ ‘สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง‘ เร่งวิจัย ‘ชิ้นส่วนรางผลิตภายในประเทศ-สร้างรถไฟ EV ต้นแบบ
เผยแพร่: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

“ กรมรางเปิดตัวสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง ลุยผลิตชิ้นส่วน-รถไฟ EV ในประเทศ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:29 น.
ปรับปรุง: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:29 น.
13 กรกฎาคม 2564 พระราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:21 น.

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๔


#เพื่อความสุขความปลอดภัยของผู้ใช้ราง
#ลดการนำเข้าและการพึ่งพาจากต่างประเทศ
#ระบบรางของคนไทย
#ศูนย์รวมความรู้ด้านระบบราง
#วิจัยและพัฒนาระบบรางให้คนไทย
#กรมการขนส่งทางราง #Departmentofrailtransport #DRT
ติดตามข่าวสารกรมการขนส่งทางรางได้ที่
Website : www.drt.go.th
Facebook : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
Youtube : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
[/quote]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2021 3:15 am    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารระบบรางโล่ง!โควิดฉุดเดินทางลดกว่า 91% เหลือไม่ถึงแสนคน/วัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:29 น.
ปรับปรุง: 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:29 น.

ระบบรางทรุดหนักผู้โดยสารลดฮวบกว่า 91% หลังรัฐออกมาตรการ ล็อกดาวน์ให้ประชาชนอยู่บ้านมากที่สุด เผย 25 ก.ค.เหลือเพียง 98,453 คน/วัน เทียบกับช่วงก่อนมีโควิด ที่มีผู้โดยสารระบบรางกว่า 1.2 ล้านคน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รัฐบาล เพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดขั้นสูงสุด โดย ขอความร่วมมือประชาชนในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีเหตุจำเป็น รวมถึงเลี่ยง จำกัดหรืองดเว้นภารกิจที่ต้องเดินทางออกนอกเคหสถานหรือที่พำนักโดยไม่จำเป็น ส่งผลปริมาณผู้โดยสานระบบขนส่งทางรางในภาพรวมทุกระบบ ลดลง 91.82% เมื่อเปรียบทียบกับผู้โดยสารช่วงปี 2562 ก่อนเกิดโรคโควิด-19 ซึ่งระบบรางมีผู้โดยสารรวม 1,203,145 คน/วัน ล่าสุด เหลือเพียง 98,453 คน/วันเท่านั้น



ทั้งนี้แยกออกเป็น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปี 2562 มีผู้โดยสารเฉลี่ย 59,764 คน/วัน ปัจจุบันเหลือ 5,350 คน/วัน ลดลง 91.05% รถไฟฟ้าแอร์พอร์เรลลิงก์ ปี 2562 มีผู้โดยสารเฉลี่ย 71,953 คน/วัน ปัจจุบันเหลือ 4,355 คน/วัน ลดลง 93.95% รถไฟฟ้า MRT ปี 2562 มีผู้โดยสารเฉลี่ย 337,015 คน/วัน ปัจจุบันเหลือ 28,223 คน/วัน ลดลง 91.63%, รถไฟฟ้า BTS ปี 2562 มีผู้โดยสารเฉลี่ย 734,411 คน/วัน ปัจจุบันเหลือ 60,525 คน/วัน ลดลง 91.76 %

โดยสถานการณ์การเดินทางด้วยระบบรางในเดือนก.ค. 2564 ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด-19 รุนแรงมากขึ้นประกอบกับรัฐบาลออกมาตรการล็อกดาวน์การเดินทาง โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านทาง ระหว่างวันที่ 19-24 ก.ค. ปริมาณผู้โดยสาร ยังอยู่ในระดับ กว่า 2 แสนคน/วัน
วันที่ 19 ก.ค. ระบบรางมีผู้โดยสารรวม 286,090 คน วันที่20 ก.ค. ผู้โดยสารรวม 250,009 คน วันที่ 21 ก.ค. มีผู้โดยสารรวม 240,113 คน วันที่ 22 ก.ค. มีผู้โดยสารรวม 232,660 คน วันที่ 23 ก.ค. มีผู้โดยสารรวม 240,227 คน วันที่ 24 ก.ค. มีผู้โดยสารรวม 123,262 คน และวันที่ 25 ก.ค. มีผู้โดยสาร 98,453 คน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2021 3:29 am    Post subject: Reply with quote

ขร.คาด พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ ใช้ปลายปี เร่งผลักดันขนส่งรถไฟเพิ่ม 30%
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:49 น.
ปรับปรุง: 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:49 น.


กรมรางคาดพรบ.การขนส่งทางรางฯ บังคับใช้ปลายปี มี 10 หมวด149 มาตรา กำกับมาตรฐานและการใช้ประโยชน์จากราง ผลักดันเพิ่มสัดส่วนขนส่งทางราง30% ภายใน 3 ปี

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า ขร.เดินหน้าผลักดันร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ.... ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ระบบการขนส่งทางรางของไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล ซึ่งร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ.... ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางมีโครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วประเทศ เชื่อมต่อกับการขนส่งระบบอื่น และประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็วประหยัด และปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560 – 2564 ที่ต้องการส่งเสริมการขนส่งทางรางให้เป็นระบบหลักของประเทศ เพิ่มการขนส่งทางรางร้อยละ 30 ภายใน 3 ปี และให้ทันสมัยก้าวทันเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

โดยที่ผ่านมากรมการขนส่งทางราง ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการออก พ.ร.บ. ดังกล่าว ได้มีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องตามชั้นตอนการเสนอร่างกฎหมาย ซึ่งมีผู้เห็นด้วยมากถึงร้อยละ 80.60

สำหรับร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... มีบทบัญญัติทั้งหมด 10 หมวด ดังนี้

หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง หมวด 2 การจัดทำโครงการการขนส่งทางราง หมวด 3 เขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัยระบบรถขนส่งทางราง หมวด 4 การกำกับดูแลการประกอบกิจการ หมวด 5 การสอบสวนอุบัติเหตุ หมวด 6 ผู้ตรวจการขนส่งทางราง หมวด 7 ผู้ประจำหน้าที่ หมวด 8 การจดทะเบียนรถขนส่งทางราง หมวด 9 การคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ และหมวด 10 บทกำหนดโทษ ซึ่งรวมกับบทเฉพาะกาล

ร่างพระราชบัญญัตินี้จะมีมาตรารวมทั้งสิ้น 149 มาตรา โดยมีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย การจัดสรรความจุ ตารางเวลาเดินรถและเส้นทาง การสอบสวนอุบัติเหตุและการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง โดยเมื่อร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. มีผลบังคับใช้จะช่วยให้เกิดประโยชน์กับการคมนาคมขนส่งทางรางดังนี้

1. มีกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรกำหนดให้กรมการขนส่งทางรางมีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางราง

2. มีคณะกรรมการระดับชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการกำหนดนโยบายและแผนด้านการขนส่งทางรางเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาด้านการขนส่งระบบอื่นๆ ให้เป็นโครงข่ายเดียวกันทั่วประเทศ

3. ส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง

4. ส่งเสริมให้มีการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้โดยสารในการกำหนดอัตราค่าโดยสารและค่าขนส่งสินค้าที่เป็นธรรม

5. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถขนส่งทางราง


6. กำหนดให้มีคณะกรรมการสวบสวนอุบัติเหตุ เพื่อค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีก

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ตามที่เสนอ ซึ่งเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางรางของประเทศ ตามภารกิจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางรางของประเทศ โดยจะส่งร่างไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ อีกครั้ง จากนั้นจะส่งกลับมาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งร่างไปยังสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา 3 วาระ ก่อนจะส่งกลับมาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อทูลเกล้าถวายฯ โดยคาดว่าภายในปลายปีนี้จะประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ต่อไป

ทั้งนี้ เมื่อมีผลบังคับใช้แล้ว กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จะต้องดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองประกอบ พ.ร.บ. ดังกล่าวซึ่งในเบื้องต้นได้เตรียมการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่มีความจำเป็นเร่งด่วนไว้แล้ว จำนวน 17 ฉบับ โดยร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางราง มีกฎหมายลำดับรองประกอบ พ.ร.บ. ประมาณ 57 ฉบับ ซึ่งจะเร่งดำเนินการจัดทำให้ครบถ้วนในระยะถัดไป เพื่อให้การดำเนินการตามภารกิจของกรมการขนส่งทางรางครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไปตามวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งกรมการขนส่งทางรางโดยร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบรางของไทยให้เทียบเท่าสากล ส่งเสริมเศรษฐกิจเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการเเข่งขันของประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2021 8:36 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
2 สิงหาคม 2564 เวลา 18:21 น.
จากการเร่งรัดผลักดันการพัฒนาระบบรางมาอย่างต่อเนื่อง จนวันนี้ (2 สิงหาคม 2564) รถไฟฟ้าสายสีแดง 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงบางซื่อ – รังสิต ระยะทาง 26.30 กิโลเมตร และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ระยะทาง 15.26 กิโลเมตร ได้เปิดทดลองให้บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทำให้โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มขึ้นเป็น 210.51 กิโลเมตร เทียบชั้นมหานครใหญ่ของโลก อาทิ กรุงปารีส ระยะทาง 219 กิโลเมตร สิงคโปร์ ระยะทาง 203 กิโลเมตร

Note: เทียบกะ U-Bahn กับ S-Bahn ของเยอรมันจะถูกต้องเหมาะสมกว่า เสียดายที่โครงการบางซื่อไปคลองตันแท้งก่อนคลอดทั้งๆที่เวนคืนที่ดินไว้แล้วเลยไม่ได้แจ้งเกิดรถไฟวงแหวน ⭕️ เหมือนที่ย่างกุ้งกะที่โตเกียว แม้ว่าจะได้สายน้ำเงินเป็นรถไฟฟ้ามหานครวงแหวน ⭕️ ก็ตามที ดูท่าจะต้องแปรสภาพสายสุพรรณบุรี และสายแก่งคอยคลองสิบเก้า เป็นสายวงแหวนของ รฟท. เสียแล้วครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2021 8:17 am    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
2 สิงหาคม 2564 เวลา 22:00 น.
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เรื่องการกำหนดเครื่องหมายราชการ (ตราสัญลักษณ์หน่วยงาน) ของกรมการขนส่งทางราง อย่างเป็นทางการ

30 ก.ค.64. ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๓๐๖) [กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม] #โลโก้กรมการขนส่งทางราง
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4290473250999587
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/172/T_0001.PDF
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2021 2:57 pm    Post subject: Reply with quote

พีคสุด! คนใช้บริการ “รถไฟ-รถไฟฟ้า” ไม่ถึง 1 แสนคน/วัน

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:29 น.

กรมฯราง เปิดตัวเลขผู้โดยสารขนส่งทางรางทุกระบบยุคโควิด ลดลง 82.5% เหลือผู้โดยสารวันละ 2.14 แสนคน 25 ก.ค.64 พีคสุด ผู้โดยสารรวมแค่หลักหมื่น เหลือไม่ถึง 1 แสนคน ลดลง 91%


นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า ขร. ได้จัดทำข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งทางราง ก่อน-หลังการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 62-64 โดยพบว่า ก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ มีผู้โดยสารทุกระบบเฉลี่ย 1.22 ล้านคน/วัน และหลังการแพร่ระบาดฯ มีผู้โดยสารทุกระบบเฉลี่ย 2.14 แสนคน/วัน ซึ่งปริมาณผู้โดยสารรวมลดลงถึง 82.5% ทั้งนี้เมื่อจำแนกตามระบบ พบว่า
1. รถไฟ ลดลง 90.76% เหลือ 7,896 คน/วัน
2. รถไฟฟ้า MRT ลดลง 80.05% เหลือ 6.72 หมื่นคน/วัน
3. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ลดลง 86.75% เหลือ 9,531 คน/วัน และ
4. รถไฟฟ้า BTS ลดลง 82.27% เหลือ 1.3 แสนคน/วัน  

นายกิตติพันธ์ กล่าวต่อว่า จำนวนผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางที่ลดลงนั้น เกิดขึ้นภายหลังจากการประกาศข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 27 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.63 จนถึงฉบับที่ 28 ในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดฯ ที่มีผลต่อปริมาณการเดินทางในระบบขนส่งทางราง ได้แก่ การห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด การจำกัดบริการการเดินทางและขบวนรถ การควบคุมความหนาแน่นในขบวนรถ และการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และจำกัดกิจกรรม/กิจการ ฯลฯ ที่มีการบังคับใช้แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์การระบาดของโรคตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.63 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังคงมีการระบาด (ระลอกใหม่)  ที่ทวีความรุนแรงขึ้น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากย้อนดูตัวเลขสถิติจำนวนผู้โดยสารตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ค.64 เป็นวันที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการขนส่งทางรางทุกระบบน้อยที่สุด โดยผู้โดยสารทุกระบบรวมอยู่ที่ 9.84 หมื่นคน ลดลง 91.82% เมื่อเทียบกับก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ แบ่งเป็น รถไฟ 5,350 คน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 4,355 คน, รถไฟฟ้า MRT 2.82 หมื่นคน และรถไฟฟ้า BTS 6.05 หมื่นคน..

ล็อกดาวน์ช่วงโควิด จำกัดการเดินทาง คนใช้ขนส่งทางรางลดลงกว่า 88.8%
เศรษฐกิจ-นโยบาย
ไทยรัฐออนไลน์
วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:04 น.

ล็อกดาวน์ช่วงโควิด จำกัดการเดินทาง ประชาชนใช้ขนส่งทางรางลดลงกว่า 88.8% เหลือเพียงวันละ 138,169 คนต่อวัน


เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 64 นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า ตั้งแต่มีโควิดระบาด และการล็อกดาวน์ตั้งแต่ 26 มี.ค. 63 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ปริมาณเฉลี่ยผู้โดยสารรายวันในระบบขนส่งทางรางทุกระบบลดลงกว่า 88.8% โดยกรมการขนส่งทางรางได้จัดทำข้อมูล

โดยเปรียบเทียบปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยในช่วงก่อนการระบาดภายในประเทศในปี 62 เทียบกับปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยในช่วงที่มีการระบาดและมีประกาศข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 27 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 64 จนถึงปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้

ผู้โดยสารลดลงประมาณ 88.8% โดยเหลือเพียงวันละ 138,169 คนต่อวัน ซึ่งสามารถจำแนกตามระบบ ดังนี้

1. การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ SRT ลดลง 90.76% เหลือ 7,896 คนต่อวัน

2. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ MRT ลดลง 80.05% เหลือ 67,251 คนต่อวัน

3. บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ ARL ลดลง 86.75% เหลือ 9,531 คนต่อวัน

4. รถไฟฟ้า BTS ลดลง 82.27% เหลือ 130,240 คนต่อวัน.

ป่วยติดเชื้อโควิด -19พ่นพิษ กรมราง เปิดยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าทุกระบบลด 88.8%
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:30 น.
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เผยข้อมูลปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้า ทุกระบบในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID – 19 ลดลง88.8%



จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้มีคนใช้บริการระบบรถไฟฟ้าลงลงจำนวนมากทั้งจากมาตรการรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนตลอดจนข้าราชการทุกภาคส่วนทำงานอยู่กับบ้าน100% ประกอบกับการลดความเสี่ยงจากการเดินทาง

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.)เปิดเผยข้อมูลปริมาณเฉลี่ยผู้โดยสารรายวันในระบบขนส่งทางรางทุกระบบ พบว่าปริมาณผู้โดยสารลดลงกว่า 88.8% ซึ่งจำนวนผู้โดยสารในระบบขนส่งทางรางที่ลดลงนั้น



เกิดขึ้นภายหลังจากการประกาศข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 27 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึง ฉบับที่ 28 ในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)


ที่มีผลต่อปริมาณการเดินทางในระบบขนส่งทางราง ได้แก่ การห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด การจำกัดบริการการเดินทางและขบวนรถ การควบคุมความหนาแน่นในขบวนรถและการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และจำกัดกิจกรรม/กิจการ ฯลฯ ที่มีการบังคับใช้แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์การระบาดของโรคตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบันซึ่งยังคงมีการระบาด (ระลอกใหม่) ที่ทวีความรุนแรงขึ้น

ขร. ได้จัดทำข้อมูล เปรียบเทียบปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยในช่วงก่อนการระบาดภายในประเทศในปี 2562 เทียบกับปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยนในช่วงที่มีการระบาดและมีประกาศข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 27 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน พบว่าปริมาณผู้โดยสารลดลง โดยรวมถึง 88.8% โดยเหลือเพียงวันละ 138,169 คน/วัน ซึ่งสามารถจำแนกตามระบบ ดังนี้

1. การรถไฟแห่งประเทศไทย (SRT) ลดลง 90.76% เหลือ 7,896 คน/วัน

2. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT) ลดลง 86.75% เหลือ 9,531 คน/วัน

3. บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ARL) ลดลง 80.05% เหลือ 67,251 คน/วัน

4. รถไฟฟ้า BTS ลดลง 82.27% เหลือ 130,240 คน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27 ... 64, 65, 66  Next
Page 26 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©