Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13284170
ทั้งหมด:13595492
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 34, 35, 36 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2022 11:44 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โครงการศึกษาการพัฒนาระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง
Feb 24, 2022
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม

https://www.youtube.com/watch?v=_QxqZxg-d14



กรมการขนส่งทางรางลงสำรวจจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพิจารณาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกายภาพจุดตัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือมีอุบัติเหตุเคยเกิดขึ้นแล้วให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 18:12 น.

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ขร. ลงพื้นที่สำรวจจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพิจารณาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกายภาพของจุดตัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือมีประวัติการเกิดอุบัติเหตุเพื่อให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมาในจุดตัดในจังหวัดบุรีรัมย์เคยเกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาท
หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงเช้าแล้ว ดร.พิเชฐฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ขร. ได้ลงพื้นที่จุดต่างๆ ตามที่ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอ และจุดอื่นๆ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.จุดตัดกิโลเมตรที่ 373+500 บริเวณเสาโทรเลขที่ 373/8-9 (บริเวณใกล้สะพานข้ามทางรถไฟถนน 288) เป็นจุดตัดที่เคยเกิดอุบัติเหตุรถกระบะติดสันรางรถไฟ เป็นเหตุให้ขบวนรถไฟชนกับรถกระบะ เมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำรางมาเป็นเสากั้น เพื่อไม่ให้รถยนต์ผ่าน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติแบบดังกล่าว โดยจุดนี้มีชุมชนและประชาชนในพื้นที่ต้องการใช้สัญจรเพื่อเชื่อมระหว่างที่พักกับตัวเมืองและรพ.บุรีรัมย์ โดยเฉพาะรถจักรยานและรถจักรยานยนต์ ในระยะเร่งด่วนจะติดตั้งไฟกระพริบพร้อมเสียง เพื่อแจ้งเตือนผู้ขับขี่ว่าจะมีขบวนรถไฟมาถึง ส่วนในระยะถัดไปเมื่อมีโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ซึ่งเดิมโครงการฯพิจารณาก่อสร้างเป็นทางลอด (box culvert) 1 ช่อง จะแจ้งให้ รฟท.พิจารณาก่อสร้างทางรถไฟเป็น Short Span Bridge เพื่อให้รถสามารถสัญจรได้
2.จุดตัดกิโลเมตรที่ 376+574 (บริเวณใกล้โรงพยาบาลบุรีรัมย์ราม) ระหว่างเสาโทรเลขที่ 376/11-12 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ เป็นจุดตัดเสมอระดับประเภทคานกั้นอัตโนมัติ (ข.1) โดยบริเวณดังกล่าวมีการจราจรหนาแน่นและได้จัดอยู่ในแผนปรับปรุงระยะเร่งด่วนของโครงการศึกษาเพื่อลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ โดยจะเสนอให้มีการปรับปรุงทาสี ตีเส้นจราจรให้ชัดเจน ปรับปรุงป้ายที่ซีดจาง ปรับปรุงความชันของถนนก่อนจุดตัด พร้อมทั้งปรับปรุงคานกั้นและระบบสัญญาณแจ้งเตือนที่เป็นระบบใหม่ เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนเครื่องกั้น ทั้งนี้ ในโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ออกแบบเป็นทางรถไฟยกระดับในช่วงที่ผ่านตัวเมืองบุรีรัมย์ต่อไป
3.จุดตัดกิโลเมตรที่ 382+506 ระหว่างเสาโทรเลขที่ 382/9-10 อำเภอห้วยราช เป็นทางลักผ่าน ที่มีรถบรรทุกขนดินสัญจรผ่านเป็นระยะ ขร. จึงเห็นควรเสนอติดตั้งสัญญาณเสียงแจ้งเตือน พร้อมด้วยไฟกระพริบ เพื่อเป็นการแจ้งเตือนว่ารถไฟกำลังจะมา
4.จุดตัดกิโลเมตรที่ 399+006 ระหว่างเสาโทรเลขที่ 399/1-2 อำเภอกระสัง ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดตัดประเภทคานทำงานด้วยไฟฟ้า (ก.1) โดยผู้แทนเทศบาลตำบลกระสังเห็นว่า การติดตั้งเครื่องกั้น ทำให้การจราจรติดขัดทำให้การเดินทางไปมาโรงพยาบาลกระสังอาจเกิดความล่าช้า จึงเสนอขอทำถนนทางลอดใต้ทางรถไฟแทนที่อยู่ถัดไปประมาณ 200 เมตร เพื่อเชื่อมถนนของเทศบาลตำบลทั้ง2 ฝั่งในปัจจุบัน
สำหรับการดำเนินการแก้ปัญหาจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงคมนาคม ในการปรับปรุงจุดตัดให้มีความปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางถนนและทางรถไฟอย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2022 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมกลุ่มย่อย (Working Group) ครั้งที่ 2 เสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัย พัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เต็มประสิทธิภาพ
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันจันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น.

วันนี้ (28 ก.พ.65) เวลา 09.00 น. กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จัดประชุมกลุ่มย่อย (Working Group) ครั้งที่ 2 ตามกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการศึกษาการพัฒนาระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อร่างระเบียบ ร่างข้อบังคับ และข้อเสนอแนะ รวมถึงมาตรการกำกับดูแลด้านความปลอดภัย โดยมี ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมการค้า เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมอินฟินิตี้ ชั้น G โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ
ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ เปิดเผยว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัย และเสริมสร้างเศรษฐกิจให้เติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในฐานะหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยเดียวกัน ดำเนินการศึกษาโครงการการพัฒนาระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง เพื่อจัดทำมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงการขนส่งทางราง รวมทั้งจัดทำมาตรฐาน ร่างกฏกระทรวง ร่างระเบียบ ร่างข้อบังคับและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง
สำหรับการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและความมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 กระบวนการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและความมั่นคง ประกอบด้วย
1.การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
2.การออกแบบขั้นต้นและกำหนดคุณสมบัติ
3.การออกแบบรายละเอียดและการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ
4.การจัดหา การก่อสร้าง การผลิต การติดตั้ง
5.การทดสอบและการเตรียมพร้อมใช้งาน
6.การฝึกอบรม
7.การดำเนินงานและการบำรุงรักษา 8.การกำจัดวัสดุอุปกรณ์ที่หมดอายุการดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย
ส่วนที่ 2 จัดทำแผนพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคง แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1.แผนพัฒนาระยะเร่งด่วน (1 ปี) ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาระบบกำกับดูแลและรับรองความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง รวมทั้งการจัดทำข้อกำหนด (Regulations) จัดทำมาตรฐาน (Standards) การจัดทำแนวทางและคู่มือ (Guidelines & Manuals) และการจัดทำแผนแม่บท
2.แผนพัฒนาระยะกลาง (5 ปี) ประกอบด้วย 1) การปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางรางเพิ่มเติม 2) การตรากฎหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง 3) การกำหนดกลไกเพื่อการบริหารจัดการ กำกับดูแลตรวจสอบ โครงการระบบรางของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐาน การพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง
3.แผนพัฒนาระยะยาว (10 ปี) ประกอบด้วย 1) การยกระดับระบบความปลอดภัยของการขนส่งทางรางให้มีความน่าเชื่อถือได้ในระดับสากล 2) การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางรางเพื่อรองรับการเชื่อมโยงและเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบคมนาคมในระดับภูมิภาคอาเซียนและในระดับสากล
ด้านนายทยากร จันทรางศุ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง กรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า โครงการฯ ได้รวบรวมและศึกษาเชิงเปรียบเทียบกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการขนส่งทางรางทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านขบวนรถขนส่งทางราง ด้านการจัดการเดินรถและการให้บริการ ด้านการควบคุมการเดินรถขนส่งทางราง และด้านสิ่งแวดล้อม นำมาจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ซึ่งแบ่งเป็น 4 หมวด ได้แก่
หมวดที่ 1 คำจำกัดความ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ประกอบด้วย การให้คำจำกัดความ ความหมายของคำที่มีความหมายเฉพาะสำหรับใช้ในร่างกฎกระทรวง
หมวดที่ 2 บททั่วไป มีเนื้อหาสาระสำคัญ ประกอบด้วย การกำหนดเรื่องทั่วไปที่จะใช้บังคับเฉพาะในกฎกระทรวงนี้
หมวดที่ 3 มาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งทางราง เป็นหมวดที่มีเนื้อหาสาระสำคัญมากที่สุด เนื่องจากจะเป็นการกำหนดข้อกำหนด เงื่อนไขต่างๆ ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้มาตรฐานแนะนำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการขนส่งทางราง
หมวดที่ 4 บทเฉพาะกาล เนื่องจากการมาตรฐานต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงมีการประกาศให้ปฏิบัติตามหลังจากที่หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชนได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งทางรางมาก่อนแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เวลาและงบประมาณในการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นในบทเฉพาะกาลจึงจะมีการกำหนดเงื่อนไข เงื่อนเวลาในการบังคับใช้กฎกระทรวงตลอดถึงมาตรฐานต่าง ๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
สำหรับร่างกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ฉบับนี้ยังเป็นเพียงฉบับร่างเท่านั้น ยังจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขอีกและผ่านความเห็นชอบก่อนที่จะมีการดำเนินการเพื่อจัดทำกฎหมายตามขั้นตอนในการจัดทำร่างกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ขร. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม จึงได้จัดกิจกรรมระดมความเห็นจากทั้งภาครัฐรัฐวิสาหกิจ และเอกชนทุกท่าน ซึ่งจะร่วมกันพัฒนาการมาตรฐานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางราง และ ยกระดับความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนสูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2022 2:27 am    Post subject: Reply with quote

ขร.เร่งกฎหมายลูก "พ.ร.บ.ขนส่งทางราง" วางมาตรฐานกลางด้านความปลอดภัย เข้มบทลงโทษ เล็งใช้ปลายปีนี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 17:04 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 17:04 น.

ขร.เร่งทำกฎหมายลูก วางมาตรฐานกลางกำกับความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง เข้มบทลงโทษ ยกระดับบริการรถไฟ-รถไฟฟ้าเสร็จอีก 2 เดือน พร้อมรับ พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ ที่คาดจะเข้า ครม.พรุ่งนี้ (1 มี.ค.) คาดประกาศใช้ได้ปลายปีนี้

วันที่ 28 ก.พ. 65 กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จัดการประชุมกลุ่มย่อย (Working Group) ครั้งที่ 2 ตามกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โครงการศึกษาการพัฒนาระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อร่างระเบียบ ร่างข้อบังคับ และข้อเสนอแนะ รวมถึงมาตรการกำกับดูแลด้านความปลอดภัย โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ สมาคมการค้า เข้าร่วม

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า จากที่ ขร.ได้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ...ซึ่งคาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันนี้ (1 มี.ค.) โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะเสนอร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 3 วาระ โดยคาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ปลายปี 2565 ภายใต้ พ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ. จะมีกฎหมายลำดับรองประกอบ พ.ร.บ.ประมาณ 57 ฉบับ ซึ่งจะมีทั้งกฎกระทรวง และข้อบังคับ กำหนดเป็นรายละเอียด โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง และกลุ่มด้านที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เช่น อัตราค่าโดยสาร และการคุ้มครองผู้ใช้บริการ รวมถึงการบริหารจัดการทางให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

ในส่วนของโครงการศึกษาการพัฒนาระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางรางนั้น ขร.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา วงเงิน 24 ล้านบาท คาดว่าจะสรุปผลศึกษาในเดือน เม.ย.นี้ โดยจัดทำมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงการขนส่งทางราง รวมทั้งจัดทำมาตรฐานร่างกฎกระทรวง ร่างระเบียบ ร่างข้อบังคับและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางรางทั่วประเทศให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยเดียวกัน

โดยหลังร่างรายละเอียดกฎหมายลูกแต่ละฉบับเสร็จ ซึ่งส่วนที่เป็นกฎกระทรวง จะเสนอ ครม.เห็นชอบ ส่วนที่เป็นข้อบังคับ เป็นอำนาจอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ลงนาม เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

“ปัจจุบันผู้ให้บริการรถไฟ รถไฟฟ้า จะมีมาตรการด้านความปลอดภัยเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานอยู่แล้วโดย ขร.ในฐานะหน่วยงานรัฐจะวางระบบกำกับดูแลความปลอดภัยมาตรฐานกลางควบคุมอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยจะมีบทลงโทษ ทั้งแพ่ง และอาญา ซึ่งระบบรถไฟฟ้าในเขตเมืองนั้นส่วนใหญ่ทำได้ดีเกินกว่าแนวคิดกฎกระทรวงกำหนดแล้ว แต่รถไฟระหว่างเมือง เนื่องจากระยะทางมีโครงข่ายยาวกว่า 4,000 กม. ทำให้การป้องกันควบคุมทำได้ยาก แต่หลังจากนี้จะต้องเข้มข้นในการดำเนินการตามที่กฎกระทรวงกำหนด เช่น การตรวจเขตทาง รฟท.จะต้องปรับไปใช้โดรนแทนรถตรวจทางเพราะจะสามารถตรวจได้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า รวมถึง ปรับการส่งข้อมูลผลการตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ด้วย”

สำหรับระบบกำกับดูแลความปลอดภัยฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 กระบวนการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและความมั่นคง ประกอบด้วย 8 หัวข้อ คือ 1. การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 2. การออกแบบขั้นต้นและกำหนดคุณสมบัติ 3. การออกแบบรายละเอียดและการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ

4. การจัดหา การก่อสร้าง การผลิต การติดตั้ง 5. การทดสอบและการเตรียมพร้อมใช้งาน 6. การฝึกอบรม 7. การดำเนินงานและการบำรุงรักษา 8. การกำจัดวัสดุอุปกรณ์ที่หมดอายุการดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย

ส่วนที่ 2 จัดทำแผนพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคง แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. แผนพัฒนาระยะเร่งด่วน (1 ปี) ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาระบบกำกับดูแลและรับรองความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง รวมทั้งการจัดทำข้อกำหนด (Regulations) จัดทำมาตรฐาน (Standards) การจัดทำแนวทางและคู่มือ (Guidelines & Manuals) และการจัดทำแผนแม่บท

2. แผนพัฒนาระยะกลาง (5 ปี) ประกอบด้วย 1. การปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางรางเพิ่มเติม 2. การตรากฎหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง 3. การกำหนดกลไกเพื่อการบริหารจัดการ กำกับดูแลตรวจสอบ โครงการระบบรางของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐาน การพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง

3. แผนพัฒนาระยะยาว (10 ปี) ประกอบด้วย 1. การยกระดับระบบความปลอดภัยของการขนส่งทางรางให้มีความน่าเชื่อถือได้ในระดับสากล 2. การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางรางเพื่อรองรับการเชื่อมโยงและเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบคมนาคมในระดับภูมิภาคอาเซียนและในระดับสากล

ด้านนายทยากร จันทรางศุ ผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทาง ขร. กล่าวว่า ในการศึกษาได้รวบรวมและศึกษาเชิงเปรียบเทียบกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐาน ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการขนส่งทางรางทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านขบวนรถขนส่งทางราง ด้านการจัดการเดินรถและการให้บริการ ด้านการควบคุมการเดินรถขนส่งทางราง และด้านสิ่งแวดล้อม นำมาจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ซึ่งแบ่งเป็น 4 หมวด

หมวดที่ 1 คำจำกัดความ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ประกอบด้วย การให้คำจำกัดความ ความหมายของคำที่มีความหมายเฉพาะสำหรับใช้ในร่างกฎกระทรวง

หมวดที่ 2 บททั่วไป มีเนื้อหาสาระสำคัญ ประกอบด้วย การกำหนดเรื่องทั่วไปที่จะใช้บังคับเฉพาะในกฎกระทรวงนี้

หมวดที่ 3 มาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งทางราง เป็นหมวดที่มีเนื้อหาสาระสำคัญมากที่สุด เนื่องจากจะเป็นการกำหนดข้อกำหนด เงื่อนไขต่างๆ ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้มาตรฐานแนะนำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการขนส่งทางราง

หมวดที่ 4 บทเฉพาะกาล เนื่องจากมาตรฐานต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงมีการประกาศให้ปฏิบัติตามหลังจากที่หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งทางรางมาก่อนแล้ว

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เวลาและงบประมาณในการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นในบทเฉพาะกาลจึงจะมีการกำหนดเงื่อนไข เงื่อนเวลาในการบังคับใช้กฎกระทรวงตลอดถึงมาตรฐานต่างๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้

สำหรับร่างกฎกระทรวงว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ฉบับนี้ยังเป็นเพียงร่างที่ที่ปรึกษาจัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อกรมการขนส่งทางรางเพื่อพิจารณาประกอบการจัดทำรายงานฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งยังจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขอีก และผ่านความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางรางก่อนที่จะมีการดำเนินการเพื่อจัดทำกฎหมายตามขั้นตอนในการจัดทำร่างกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ ขร.ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม จึงได้จัดกิจกรรมระดมความเห็นจากทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทุกท่าน ซึ่งจะร่วมกันพัฒนาการมาตรฐานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางราง และยกระดับความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนสูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44781
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/03/2022 7:23 am    Post subject: Reply with quote

สกู๊ปพิเศษ : กรมขนส่งทางรางเร่งแก้ไข-พัฒนาจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศ
แนวหน้า วันอังคาร ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.

กรมการขนส่งทางราง ร่วมกับกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) จัดประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟที่ห้องฟังก์ชั่นรูม Modena by Fraser Buriram อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธาน โดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยที่บุรีรัมย์ในครั้งนี้ถือเป็นจังหวัดนำร่อง ทั้งนี้ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลจุดตัด พร้อมจัดทำเป็นแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการแก้ไขอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ ซึ่งแบ่งเป็นระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารถไฟทางคู่ และโครงการรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งจัดทำคู่มือมาตรฐานจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์จุดตัดทางถนนและทางรถไฟให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และเกิดความปลอดภัยมากที่สุด ตลอดจนพัฒนาคู่มือในการสอบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุเชิงลึกบริเวณจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ โดยการประชุมย่อยครั้งนี้ มีส่วนราชการในพื้นที่ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุม

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า จากสถิติที่ผ่านมาในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 2558-2564 พบว่ามีอุบัติเหตุยานพาหนะชนรถไฟเกิดขึ้นกว่า 455 ครั้ง และที่ผ่านมาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรง สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยจากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟทั้งประเทศเฉลี่ยปีละกว่า 100 ราย ซึ่งทั้งประเทศมีจุดตัดทางถนนและทางรถไฟมากถึง 2,969 แห่ง แบ่งเป็นจุดตัดต่างระดับ 618 แห่ง จุดตัดเสมอระดับ 1,509 แห่ง ทางลักผ่าน 625 แห่ง และจุดตัดที่ถูกยกเลิกไป 217 แห่ง ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาอุบัติเหตุดังกล่าว

โดยได้กำหนดให้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟสายใหม่และรถไฟความเร็วสูงได้มีการออกแบบแก้ไขปัญหาจุดตัดทางถนนและทางรถไฟให้เป็นจุดตัดต่างระดับทั้งหมด ในรูปแบบสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ ทางลอดใต้ทางรถไฟ ทางรถไฟยกระดับ ทั้งนี้สำหรับจุดตัดอื่นๆ ที่อยู่นอกเส้นทางรถไฟทางคู่ ทางกรมการขนส่งทางรางจึงได้ดำเนินโครงการศึกษาเพื่อลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟขึ้น โดยดำเนินการสำรวจทางกายภาพและเก็บปริมาณจราจรที่จุดตัดทางถนนและทางรถไฟทั่วประเทศ (traffic moment)จากนั้นจึงนำข้อมูลจากการสำรวจมาวิเคราะห์และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ประกอบด้วย จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ความเสี่ยงทางกายภาพ ความเสี่ยงด้านความหนาแน่นของปริมาณจราจร และสัดส่วนปริมาณรถบรรทุก มาประกอบการจัดทำแผนแม่บทการดำเนินการปรับปรุงจุดตัดทางถนนและทางรถไฟทั่วประเทศตามความเสี่ยง ให้มีความปลอดภัยและลดการสูญเสีย โดยแบ่งออกเป็นระยะเร่งด่วน (2566-2568) ระยะกลาง (2569-2570) และระยะยาว (2571-2575)

ด้าน นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ รองผู้ว่าราชการ จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า เชื่อว่าโครงการพัฒนาปรับปรุงจุดตัดถนนและจุดตัดทางรถไฟ จะเกิดประโยชน์และเกิดความปลอดภัยกับประชาชนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีความเจริญเติบโตมากขึ้น มีผู้คนเดินทางเข้ามาในจังหวัดเพิ่มขึ้นจำนวนมาก หากมีการพัฒนาด้านการขนส่งไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์ อากาศ หรือทางราง ก็จะทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้สัญจรและประชาชนอย่างแน่นอน

ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ มีจุดตัดทางถนนและทางรถไฟผ่านพื้นที่ 4 อำเภอได้แก่ อำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอห้วยราช และอำเภอกระสัง มีจุดตัดทางถนนและทางรถไฟรวม 32 แห่งเป็นจุดตัดต่างระดับ 1 แห่ง และจุดตัดเสมอระดับ 31 แห่ง ในจำนวนนี้มีเครื่องกั้นแล้ว20 แห่ง มีป้ายจราจรแจ้งเตือน 6 แห่ง และทางลักผ่าน 5 แห่ง อนาคตเมื่อมีโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานีจุดตัดจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเป็นจุดตัดต่างระดับทั้งหมด ส่วนที่เป็นเส้นทางสายแยก ซึ่งเป็นจุดตัดเสมอระดับทั้ง 9 แห่ง จะดำเนินการปรับปรุงทางกายภาพบริเวณจุดตัดพร้อมแผงกั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นต่อไป



วีดิทัศน์เดินหน้า M MAP 2 แผนแม่บทรถไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาสู่อนาคต
Mar 1, 2022
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม

เปิดตัว"โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2)"


https://www.youtube.com/watch?v=mPZQ20rf_XU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2022 9:55 am    Post subject: Reply with quote


ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ....
เพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางมีโครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วประเทศ เชื่อมต่อกับการขนส่งระบบอื่น และประเทศเพื่อนบ้าน
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/260014442989692
https://www.youtube.com/watch?v=RPSnGu9Mi8s
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44781
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/03/2022 11:29 am    Post subject: Reply with quote

สรส.-สหภาพฯรฟท.ยื่นค้านกม.ขนส่งทางราง ชี้รับฟังความเห็นไม่ทั่วถึง-เปิดช่องแปรรูป
เผยแพร่: 9 มี.ค. 2565 11:17 ปรับปรุง: 9 มี.ค. 2565 11:17 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สรส.-สหภาพฯรฟท. ลั่นค้านพ.ร.บ.ขนส่งทางรางถึงที่สุด ยันปกป้องประโยชน์ของประชาชน ย้ำเห็นด้วยพัฒนาระบบรางของประเทศ แต่ต้องรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องก่อน และแก้ไขให้อำนาจกรมราง ที่ซ้ำซ้อนหน่วยปฎิบัติ

วันนี้ ( 9 มี.ค. 2565) เวลา 10.00 น. ณ.ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) พร้อมด้วย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
การประปาส่วนภูมิภาค (สร.กปภ.) ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และเพื่อให้ยับยั้งการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ....

สำหรับแถลงการณ์ เรื่อง ขอให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... และดำเนินการตามกระบวนการแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัด มีรายละเอียด ว่า
จากพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 “พระปิยมหาราช” ที่ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลเพื่อความเจริญของบ้านเมือง ได้ทรงโปรดให้มีกิจการรถไฟเพื่อเป็นการขยายความเจริญ ออกสู่หัวเมือง เพื่อประโยชน์ในการเดินทางของพสกนิกรทั่วทุกสารทิศ นับจากวันที่พระองค์ท่านทรงกระทำพิธีตอกหมุดตรึงราง เป็นเวลายาวนานกว่า 125 ปีจวบจนปัจจุบัน นับเป็นคุณูปการที่เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติและประชาชน ดังพระราชดำรัสที่พระองค์ทรงตรัสไว้ให้พสกนิกรเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2434 ได้สำนึกถึงเสมอว่า

“ เรา รู้สำนึกแน่อยู่ว่าธรรมดาความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนย่อมอาศัยถนน หนทางไปมากันเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ เมื่อมีถนนหนทาง คนจะไปมาได้ง่ายได้ไกล ได้เร็วขึ้นเพียงใด ก็เป็นการขยายชุมชนให้ไพศาลยิ่งขึ้นเพียงนั้น ...เราจึงได้อุตส่าห์คิดจะทำทางรถไฟให้สมกำลังบ้านเมือง”

ในการดำเนินกิจการรถไฟแผ่นดินหรือรถไฟหลวง จวบจนมาเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน มีกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกิจการให้บริการแก่ประชาชน เป็นไปโดยระเบียบเรียบร้อยดังเช่น พระราชบัญญัติการจัดวางการรถไฟแลทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 และ พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ใช้บังคับ เพื่อเป็นกลไกที่ให้รัฐใช้เป็นเครื่องมือในการให้บริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค ที่รัฐพึงมีหน้าที่จัดหาให้ประชาชนผู้อยู่ในปกครอง และดำเนินการนำมาซึ่งความเจริญของกิจการรถไฟอันเป็นประโยชน์ต่อรัฐ และประชาชน

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ...เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 โดยมีหลักการและเหตุผล “เพื่อให้มีบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมกำกับดูแลกิจการขนส่งทางราง ให้สามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง การบริหารจัดการการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ให้เป็นโครงข่ายเดียวกันอย่างสมบูรณ์ ”

โดยก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งหนังสือไปให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยหน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความเห็นและข้อสังเกตโดยให้มีการทบทวนเนื้อหา มิให้มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายฉบับอื่นๆที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เช่น บรรดาสิทธิ อำนาจหน้าที่ของกรมการขนส่งทางราง ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ

กรมการขนส่งทางราง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบกิจการขนส่งทางราง มาตรฐานทางด้านความปลอดภัย มาตรฐานการให้บริการ และการกำหนดอัตราค่าบริการ เพื่อควบคุมและกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางให้สามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมขนส่งทางรางและการบริหารจัดการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ แต่มีการกำหนดให้อำนาจหน้าที่กรมการขนส่งทางราง มากเกินกว่าหน่วยงานกำกับดูแล ( Regulator ) และอาจมีผลให้กรมการขนส่งทางรางเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการขนส่งทางรางนั้นเอง จึงควรมีการพิจารณาทบทวนในรายละเอียดที่ชัดเจนและคำนึงถึงการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่และอำนาจ ให้กรมการขนส่งทางรางใช้ในการกำกับดูแล ในกิจการขนส่งทางรางให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายอื่น

เมื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ พ.ศ. ... ที่ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เห็นว่าในเนื้อหาสาระของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อหน่วยงานต่างๆของรัฐหลายภาคส่วน รวมทั้งภาคประชาชนที่เป็นผู้ใช้บริการ ซึ่งในเรื่องของการตรากฎหมายและหลักการมีส่วนร่วมต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนํามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในมาตรา 77 เสียก่อน

โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ให้เป็นไปตามขั้นตอน อย่างทั่วถึงและรอบซึ่ง ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของสังคมและประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการหลักการมีส่วนร่วมตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด

ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ พ.ศ. ... มีเจตนามุ่งหมายเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กับหน่วยงานกำกับดูแล( Regulator ) เพื่อให้ทำหน้าที่ดูแลเรื่องมาตรฐานด้านต่างๆ และการสร้างมาตรฐานให้เป็นสากลแก่ระบบขนส่งทางราง แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ กลับมีบทบัญญัติที่มีความซ้ำซ้อน ขัดแย้งกับบรรดาสิทธิ และอำนาจหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กร

โดย กำหนดให้“ให้บรรดาอำนาจ สิทธิและประโยชน์ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติฉบับนี้การขนส่งทางราง พ.ศ. ....” เท่ากับว่าร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางฯที่ออกมา ซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่การรถไฟฯถือใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และเป็นการจำกัด อำนาจ และสิทธิของการรถไฟฯ

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการมีกฎหมายเพื่อกำกับดูแล และพัฒนามาตรฐานด้านระบบการขนส่งทางราง เนื่องจากเป็นระบบการขนส่งที่มีความสำคัญในอนาคต แต่เมื่อพิจารณาสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... แล้ว กลับมีเนื้อหาที่มีความซ้ำซ้อน และไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผลของการร่างกฎหมายฉบับนี้ รวมทั้งกระบวนการในการตรากฎหมายไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ อย่างเคร่งครัด สร.รฟท. จึงขอแสดงจุดยืนในการคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... จนถึงที่สุด

และขอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณายับยั้งกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปก่อน โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องระบบการขนส่งทางรางของรัฐให้มีความมั่นคง และยั่งยืน เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และ ประชาชนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44781
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/03/2022 5:17 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางโต้สหภาพฯ รฟท. ยันไม่มีประเด็นแปรรูปใน กม.ขนส่งทางราง ฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์ครบถ้วนแล้ว
เผยแพร่: 9 มี.ค. 2565 12:21 ปรับปรุง: 9 มี.ค. 2565 12:21 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

กรมรางแจงสหภาพฯ รฟท.ยัน พ.ร.บ.ขนส่งทางรางไม่มีบทบัญญัติเรื่องแปรรูป โต้รับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องครบถ้วนผ่านเว็บไซต์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้โต้แย้งคัดค้านร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... ในประเด็นว่ามีเนื้อหามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินการโดยรัฐให้เป็นเอกชน ซึ่งก็คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคตอย่างแน่นอนนั้น

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ชี้แจงว่า ไม่มีบทบัญญัติใด มาตราใด ในร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ... ที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปใดๆ ทั้งสิ้น การเสนอโครงการการขนส่งทางรางกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอโครงการให้หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของโครงการ โดยแบ่งเป็นกรณีรถไฟของ รฟท. รถไฟฟ้าของ รฟม.หรือ กทม. และกรณีรถรางของกระทรวงมหาดไทย หากโครงการใดมีเอกชนร่วมลงทุนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน

ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานหรือสัญญาร่วมลงทุนที่ได้จัดทำขึ้นต้องมีข้อกำหนดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ไม่มีกรณีที่จะดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ จะช่วยกำกับการดำเนินงานของระบบขนส่งทางรถไฟให้มีมาตรฐานความปลอดภัย การกำหนดเขตปลอดภัย การสอบสวนอุบัติเหตุ และยกระดับคุณภาพการให้บริการระบบรางให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการระบบราง รวมถึงคุ้มครองผู้โดยสาร ความล่าช้าในการเดินรถ การคืนค่าโดยสารและการเยียวยา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม

สำหรับร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... มีบทบัญญัติทั้งหมด 10 หมวด ดังนี้

หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง หมวด 2 การจัดทำโครงการการขนส่งทางราง หมวด 3 เขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัยระบบรถขนส่งทางราง หมวด 4 การกำกับดูแลการประกอบกิจการ หมวด 5 การสอบสวนอุบัติเหตุ หมวด 6 ผู้ตรวจการขนส่งทางราง หมวด 7 ผู้ประจำหน้าที่ หมวด 8 การจดทะเบียนรถขนส่งทางราง หมวด 9 การคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ และหมวด 10 บทกำหนดโทษ ซึ่งรวมกับบทเฉพาะกาล

ร่างพระราชบัญญัตินี้จะมีมาตรารวมทั้งสิ้น 149 มาตรา โดยมีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย การจัดสรรความจุ ตารางเวลาเดินรถและเส้นทาง การสอบสวนอุบัติเหตุและการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง โดยเมื่อร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการคมนาคมขนส่งทางราง นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบรางของไทยให้เทียบเท่าสากล ส่งเสริมเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการเเข่งขันของประเทศ

ส่วนประเด็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึงและรอบด้าน อีกทั้งยังมีความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานต่างๆ ที่เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของสังคมและประชาชนโดยส่วนรวม

ขร.ขอชี้แจงว่า ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... โดยมีหนังสือถึงหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อขอรับฟังความคิดเห็นรวมถึง รฟท. ด้วย โดยสำนักงานยุทธศาสตร์ธุรกิจการเดินรถของ รฟท.เป็นผู้ให้ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... และกรมการขนส่งทางรางได้รับความเห็นและข้อสังเกตดังกล่าวมาดำเนินการแล้ว

อีกทั้งกรมการขนส่งทางรางได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียโดยผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (https://lawtest.egov.go.th/) ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2564 และผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมการขนส่งทางราง (https://www.drt.go.th/) ด้วยแล้ว

หาก สร.รฟท.ยังคงไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 77 และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของกรมการขนส่งทางรางเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2022 5:46 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กรมรางโต้สหภาพฯ รฟท. ยันไม่มีประเด็นแปรรูปใน กม.ขนส่งทางราง ฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์ครบถ้วนแล้ว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:21 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:21 น.


“กรมราง” ยันกฎหมาย “ขนส่งทางราง” ไม่มีเนื้อหาใดจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันพุธ ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:11 น.

“กรมราง” แจงยิบโต้สหภาพฯ รถไฟ ยันกฎหมายขนส่งทางราง ไม่มีเนื้อหาใดที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน ย้ำที่ผ่านมาเปิดรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน สลค.-กฤษฎีกา ไฟเขียวแล้ว ขร. ดำเนินการครบทุกขั้นตอนตามกฎหมาย



กรมการขนส่งทางราง (ขร.) แจ้งว่า ขร. ขอชี้แจงถึงกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) โต้แย้งคัดค้านร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …. ในประเด็นดังนี้ 1.มีเนื้อหามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินการโดยรัฐให้เป็นเอกชน ซึ่งคือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคต ทาง ขร. ขอชี้แจงว่า ไม่มีบทบัญญัติใด มาตราใด ในร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง เกี่ยวข้องกับการแปรรูปใด ๆ ทั้งสิ้น การเสนอโครงการการขนส่งทางราง กำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอโครงการให้หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของโครงการ หากโครงการใดมีเอกชนร่วมลงทุนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน ทั้งนี้สัญญาสัมปทาน หรือสัญญาร่วมลงทุนที่ได้จัดทำขึ้น ต้องมีข้อกำหนดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ไม่มีกรณีที่จะดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด

ADVERTISEMENT



ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ จะช่วยกำกับการดำเนินงานของระบบขนส่งทางรถไฟให้มีมาตรฐานความปลอดภัย การกำหนดเขตปลอดภัย การสอบสวนอุบัติเหตุ และยกระดับคุณภาพการให้บริการระบบรางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการระบบราง รวมถึงคุ้มครองผู้โดยสาร ความล่าช้าในการเดินรถ การคืนค่าโดยสาร และการเยียวยา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม สำหรับร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มีบทบัญญัติ 10 หมวด ดังนี้ หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง, หมวด 2 การจัดทำโครงการการขนส่งทางราง, หมวด 3 เขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัยระบบรถขนส่งทางราง,


หมวด 4 การกำกับดูแลการประกอบกิจการ, หมวด 5 การสอบสวนอุบัติเหตุ, หมวด 6 ผู้ตรวจการขนส่งทางราง, หมวด 7 ผู้ประจำหน้าที่, หมวด 8 การจดทะเบียนรถขนส่งทางราง, หมวด 9 การคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ และหมวด 10 บทกำหนดโทษ ซึ่งรวมกับบทเฉพาะกาล อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีมาตรารวม 149 มาตรา มีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัย การจัดสรรความจุ ตารางเวลาเดินรถและเส้นทาง การสอบสวนอุบัติเหตุและการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง โดยเมื่อร่าง พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการคมนาคมขนส่งทางราง นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบรางของไทยให้เทียบเท่าสากล ส่งเสริมเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการเเข่งขันของประเทศ

ADVERTISEMENT


และ 2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึงและรอบด้าน อีกทั้งยังมีความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของสังคมและประชาชนโดยส่วนรวม ทาง ขร. ขอชี้แจงว่า ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง โดยมีหนังสือถึงหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อขอรับฟังความคิดเห็น รวมถึง รฟท. ด้วย โดยสำนักงานยุทธศาสตร์ธุรกิจการเดินรถ ของ รฟท. เป็นผู้ให้ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ และ ขร. ได้รับความเห็นและข้อสังเกตดังกล่าวมาดำเนินการแล้ว อีกทั้ง ขร. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (https://lawtest.egov.go.th/) ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.-19 เม.ย. 64 และผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมการขนส่งทางราง (https://www.drt.go.th/) ด้วย

หาก สร.รฟท. ยังคงไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 77 และ พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตาม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของ ขร. เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายแล้ว...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44781
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/03/2022 7:45 am    Post subject: Reply with quote

นักกฎหมายชี้ขัด'พีพีพี'ร่าง พรบ.ขนส่งทางราง
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Friday, March 11, 2022 04:20

กรุงเทพธุรกิจ ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค ซึ่งการขนส่งทางรางเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของแผนการพัฒนาเพื่อ ทำให้อุตสาหกรรมนี้เป็นกลไกสำคัญ อย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประเทศ ปัจจุบันจึงมี "ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ.... ฉบับเสนอสภา ผู้แทนราษฎรเดือน ก.พ.2565 (พ.ร.บ. การขนส่งทางราง)" ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่อีกฉบับที่กำลังมีข้อถกเถียงในมุมต่างๆ

อมร จันทรสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านกฎหมายมหาชนและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตั้งข้อสังเกตในสาระสำคัญของหลักการและภาพรวมไว้ 3 ประเด็น ได้แก่
    1.การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิกถอนสัญญา สัมปทาน
    2.การไม่ส่งเสริมการแข่งขันระหว่างเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางราง และ
    3.หลักเกณฑ์และอำนาจที่มีความซ้ำซ้อน

สำหรับประเด็นที่ 1 การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิกถอน สัญญาสัมปทาน หรืออนุมัติการต่ออายุสัญญาสัมปทาน (ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ไว้แล้ว) เป็นการขัดแย้งกับพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ พีพีพี

โดยหลักการในเรื่องนี้ มีการระบุไว้ใน พ.ร.บ.การขนส่งทางราง กำหนดให้ผู้ได้รับสัมปทานเดิมต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนด โดยหากผู้ได้รับสัมปทานเดิมกระทำผิดใดของ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ถือเป็นเหตุเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง และให้เพิกถอนสัญญาสัมปทาน (มาตรา 162 วรรค 2)

นอกจากนั้น ในกรณีที่มีการต่ออายุสัญญาสัมปทานเดิมต้องขอรับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ด้วย (มาตรา 162 วรรค 4) ส่งผลให้เกิดข้อสังเกตที่สำคัญในเรื่องดังกล่าวแบ่งเป็น ข้อสังเกตที่ 1 พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 มีหลักเกณฑ์ให้โครงการร่วมลงทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้น การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคมใช้อำนาจเพิกถอนสัมปทานได้ เป็นการให้อำนาจเพิกถอนการดำเนินการ ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ และขัดแย้งกับหลักการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะของคณะรัฐมนตรีในการบอกเลิกสัญญาร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.พีพีพี พ.ศ.2562

อีกทั้งข้อสังเกตที่ 2 ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฉบับล่าสุด เนื้อหาต่างจากฉบับก่อนหน้า ที่กระทรวงคมนาคม ขอเพิกถอนไปในปี 2563 (ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาร่าง) ที่มิได้กำหนดหลักการนี้ เอาไว้ แต่กำหนดหลักการไว้ว่า "จะต้อง ไม่กระทบสิทธิของผู้ประกอบกิจการ ขนส่งทางรางเดิม" (มาตรา 33)

ประเด็นที่ 2 การไม่ส่งเสริมการแข่งขันระหว่างเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นและการครอบงำกิจการ เช่น การห้ามผู้รับใบอนุญาตถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางอื่นเกินกว่า 50% หรือการห้ามมิให้มีบริษัทที่สามถือหุ้น เกินกว่า 50% ของทั้งในบริษัทผู้รับใบอนุญาต และบริษัทที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางอื่น (มาตรา 60) และการกำหนดเกี่ยวกับการสัดส่วนการถือหุ้นและอำนาจบริหารจัดการโดยคนต่างด้าวไม่ให้เกินกว่ากึ่งหนึ่ง (มาตรา 45 และ 46)

โดยข้อสังเกตที่สำคัญในประเด็นนี้ อาจเป็นการกีดกันไม่ให้เอกชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการขนส่งทางราง เข้าร่วมดำเนินการเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่ง ทางรางในโครงการอื่นได้อีก จึงไม่เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่มีประสบการณ์สามารถเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกเอกชนตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในอนาคตได้ ซึ่งจะทำให้รัฐและประเทศชาติเสียประโยชน์ เป็นต้น

ประเด็นที่ 3 หลักเกณฑ์และอำนาจหน้าที่มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับอยู่แล้ว เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ด้านสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "ขอให้ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.... เพราะจะมีผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งหน่วยงานต่างๆ ของรัฐหลายภาคส่วน รวมทั้งประชาชนที่เป็นผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง

อีกทั้งเมื่อพิจารณาเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว กลับมีบทบัญญัติที่มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่การ รถไฟฯ ถือใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และเป็นการจำกัดอำนาจและสิทธิของการรถไฟฯ

สราวุธ สราญวงศ์ ประธาน สร.รฟท. กล่าวว่า ได้เข้าร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค (สร.กปภ.) เพื่อร่วมแสดงพลังการคัดค้านแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

และเพื่อให้ยับยั้งการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.. เพราะ มีสาระสำคัญที่จะนำไปสู่การแปรรูป กิจการขนส่งทางรางที่เป็นของรัฐให้ เอกชน

ขณะที่กรมการขนส่งทางรางออกหนังสือชี้แจงว่า ไม่มีบทบัญญัติใด มาตราใดที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปใดๆ และ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ..... ตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.2564 ถึงวันที่ 19 เม.ย.2564 ทั้งนี้ หาก สร.รฟท.ยังคงไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.... สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาได้

ขอให้ยับยั้งร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ.... เพราะจะมีผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งหน่วยงาน ของรัฐ รวมทั้งประชาชน ที่เป็นผู้ใช้บริการ

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 มี.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44781
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/03/2022 2:57 pm    Post subject: Reply with quote

“กรมราง” ลุยจัดการ 24 ทางลักผ่าน “ชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ – คีรีรัฐนิคม”
เดลินิวส์ 11 มีนาคม 2565 11:43 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

“กรมราง” ลุยระดมความคิดเห็นชาวสุราษฎร์ฯ ร่วมลดอุบัติเหตุจุดตัดทางรถไฟ เร่งจัดการ 24 ทางลักผ่าน ช่วง “ชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ – คีรีรัฐนิคม” เพิ่มความปลอดภัย

เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ห้องเทพลักษณ์ เอ โรงแรมเคพาร์ค แกรนด์ จ.สุราษฎ์ธานี นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานเปิดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 3 โครงการศึกษา เพื่อลดอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือระหว่าง ขร. และกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลจุดตัด และจัดทำเป็นแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการแก้ไขอุบัติเหตุจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ แบ่งเป็นระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารถไฟทางคู่ และโครงการรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งจัดทำคู่มือมาตรฐานจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์จุดตัดทางถนนและทางรถไฟให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ตลอดจนพัฒนาคู่มือในการสอบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุเชิงลึกบริเวณจุดตัดทางถนนและทางรถไฟ

นายพิเชฐ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการขยายตัวของเมืองเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความต้องการในการเดินทาง และปริมาณการจราจรเพิ่มมากขึ้น มีการใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางถนนเป็นคมนาคมขนส่งหลักในการเดินทาง ทำให้เกิดปัญหาการจราจร ปัญหามลภาวะ ตลอดจนปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยจากข้อมูลอุบัติเหตุ 3 ฐานข้อมูล ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน พบว่า ในปี 2563 ถึงแม้จะอยู่ในช่วง Covid-19 ประเทศไทยยังมีอัตราผู้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทางถนนสูงถึง 17,831 คนต่อปี

Click on the image for full size

อีกทั้งยังมีผู้บาดเจ็บและผู้พิการจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้บาดเจ็บและผู้พิการดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการลดอุบัติเหตุดังกล่าว โดยการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง โดยได้เร่งปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟในปัจจุบัน พัฒนารถไฟทางคู่ ก่อสร้างรถไฟสายใหม่ รวมทั้งรถไฟความเร็วสูง เพื่อสนับสนุนการขนส่งทางรางที่มีความปลอดภัย ให้เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าหลักของประเทศ เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนน แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ลดปัญหามลภาวะทางเสียงและอากาศ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทางรถไฟผ่านพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าชนะ, อำเภอไชยา, อำเภอท่าฉาง, อำเภอพุนพิน, อำเภอบ้านนาเดิม, อำเภอบ้านนาสาร, อำเภอเวียงสระ และอำเภอคีรีรัฐนิคม มีจุดตัดทางถนนและทางรถไฟรวม 153 จุด แบ่งเป็น สายประธานในเส้นทางชุมทางบางซื่อ–สุไหงโกลก จำนวน 125 จุด และสายแยกชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์–คีรีรัฐนิคม 28 จุด โดยปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว 7 จุด คงเหลือ 146 แห่ง ประกอบด้วย จุดตัดต่างระดับ 17 จุด และจุดตัดเสมอระดับ 129 จุด ในจำนวนนี้มีเครื่องกั้นแล้วจำนวน 36 จุด มีป้ายจราจรแจ้งเตือน 13 จุด และมีทางลักผ่านมากถึง 80 จุด หรือคิดเป็น 54.80% ของจุดตัดทางรถไฟในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี

Click on the image for full size

โดยอนาคต เมื่อมีโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี–ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา จุดตัดทางรถไฟต่าง ๆ บนทางสายประธานจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเป็นจุดตัดต่างระดับทั้งหมด ส่วนที่เป็นเส้นทางสายแยกในช่วงชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์–คีรีรัฐนิคม ซึ่งยังคงมีจุดตัดทางลักผ่าน 24 จุด จะดำเนินการปรับปรุงทางกายภาพบริเวณจุดตัด หรือยกเลิกจุดตัดที่ไม่จำเป็น และนำไปรวมใช้จุดตัดที่อยู่ใกล้เคียงแทน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 34, 35, 36 ... 64, 65, 66  Next
Page 35 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©