Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272987
ทั้งหมด:13584283
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 35, 36, 37 ... 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/03/2022 3:29 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
11 มี.ค. 65 15:16 น.

https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/261499899507813

"แผนปฏิบัติราชการ ขร. (พ.ศ. 2565 - 2567) ของกรมการขนส่งทางราง"
มุ่งเน้นในการผลักดัน และสนับสนุนให้ ขร. ดำเนินการในบทบาทหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาการขนส่งทางรางให้มีความปลอดภัย และมีการบริการที่ดีด้วยนวัตกรรมและธรรมาภิบาล

ติดตามข้อมูลข่าวสารกรมการขนส่งทางรางได้ที่
Website : www.drt.go.th
Youtube : กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม https://www.youtube.com/channel/UCYkohmMwS8v_JbGyfNPJJ0Q
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2022 11:57 am    Post subject: Reply with quote

กรมขนส่งทางรางแจงร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ไม่ขัดหลักพีพีพี
วันที่ 14 มีนาคม 2565 เวลา 11:13 น.


กรมขนส่งทางราง แจงยิบข้อโต้แย้งร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง ชี้ให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเพิกถอนสัมปทานไม่ขัดหลักพีพีพี

วันที่ 14 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีการออกร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. …. ฉบับเสนอสภาผู้แทนราษฎรเดือนกุมภาพันธ์ 2565 กฎหมายฉบับใหม่ ได้เกิดข้อถกเถียงในแง่มุมต่าง ๆ

โดยที่ผ่านมานักกฎหมาย ได้ออกมาท้วงติง และตั้งข้อสังเกตสาระสำคัญไว้ถึง 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิกถอนสัญญาสัมปทาน 2.การไม่ส่งเสริมการแข่งขันระหว่างเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมทางราง และ 3.หลักเกณฑ์และอำนาจที่มีความซ้ำซ้อน

ซึ่งมองว่าร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มอบอำนาจรัฐมนตรีเพิกถอนสัมปทาน ขัดแย้งหลักการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ



ล่าสุด กรมขนส่งทางราง (ขร.) ชี้แจง 3 กรณีข้อโต้แย้งร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …. โดยระบุว่า

ตามที่ได้มีการโต้แย้งความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ….. ผ่านสื่อสาธารณะกรมการขนส่งทางรางจึงขอชี้แจง แต่ละประเด็นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของสาธารณชนต่อร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. …. ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1 การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิกถอนสัญญาสัมปทาน หรืออนุมัติการต่ออายุสัญญาสัมปทาน เป็นการขัดแย้งกับพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนหรือพีพีพี

การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในการเพิกถอนสัญญาสัมปทาน หรืออนุมัติการต่ออายุสัมปทาน ทำได้ในกรณีใบอนุญาตนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ออกใบอนุญาตตามร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง

และเพิกถอนใบอนุญาตเฉพาะในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตก่อให้เกิดอันตรายหรือกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนอย่างร้ายแรง เช่น มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากและไม่ยอมแก้ไขเหตุดังกล่าว เท่านั้น

ส่วนกรณีของผู้ได้รับสัญญาสัมปทานก่อน พ.ร.บ.การขนส่งทางรางมีผลใช้บังคับ หากเกิดกรณีที่ผู้ได้รับสัญญาสัมปทานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน พ.ร.บ.การขนส่งทางราง และเกิดเหตุอันตรายต่อประชาชนอย่างร้ายแรงมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากและไม่ยอมแก้ไขเหตุดังกล่าวก็ต้องเข้ากระบวนการเพิกถอนสัญญาสัมปทานอยู่ดี

และยังเป็นกระบวนการของ ครม. ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือพีพีพี “จึงไม่ได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ. พีพีพี แต่อย่างใด”


ประเด็นที่ 2 ไม่ส่งเสริมการแข่งขันระหว่างเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง

มาตรา 60 ของ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางได้ห้ามโอนสิทธิในใบอนุญาตแก่บุคคลอื่น เพื่อป้องกันผู้ไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดเข้ามาประกอบกิจการเกี่ยวกับราง และเป็นการป้องกันการผูกขาดในกิจการเกี่ยวกับการขนส่งทางราง มาตราดังกล่าวจึงเป็นการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง

การที่ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มีข้อห้ามเกี่ยวกับการห้ามถือหุ้นในบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการขนส่งทางราง เกินกว่า 50% หรือห้ามให้บริษัทที่สามถือหุ้นเกินกว่า 50% ของทั้งในบริษัทผู้รับใบอนุญาตและบริษัทที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางอื่น

และห้ามไม่ให้บุคคลต่างด้าวขอใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง จึงไม่เป็นการกีดกันเอกชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับรางเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน



เนื่องจากการขอใบอนุญาตประกอบกิจการเกี่ยวกับรางต้องทำตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเอกชนที่จะเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน

ประเด็นที่ 3 หลักเกณฑ์และอำนาจหน้าที่มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับอยู่แล้ว เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

เมื่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางประกาศใช้บังคับแล้ว และตามบทเฉพาะกาล บรรดาอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ไม่ได้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงานแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ แก้ไขปัญหาในอดีตที่ ในการให้บริการระบบราง ที่ยังมีปัญหาด้านความปลอดภัยและคุณภาพการให้บริการที่มีต่อประชาชน ทำให้จำเป็นต้อง มีกรมการขนส่งทางรางทำหน้าที่ Regulator และกำหนดพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางขึ้น

ซึ่งจะช่วยกำกับการดำเนินงานของระบบขนส่งทางรถไฟให้มีมาตรฐานความปลอดภัย การกำหนดเขตปลอดภัย การสอบสวนอุบัติเหตุ และยกระดับคุณภาพการให้บริการระบบรางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการระบบราง

รวมถึงคุ้มครองผู้โดยสาร ความล่าช้าในการเดินรถ การคืนค่าโดยสารและการเยียวยา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม และได้มีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างครบถ้วน ทุกขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ขร. แจงข้อโต้แย้งร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง
วันที่ 14 มีนาคม 2565 เวลา 10:16 น.

กรมการขนส่งทางราง แจงข้อโต้แย้งร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... ยันให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิกถอนสัญญาสัมปทาน เฉพาะกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตก่อให้เกิดอันตราย กระทบบริการประชาชน

ตามที่ได้มีการโต้แย้งความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. ..... ผ่านสื่อสาธารณะกรมการขนส่งทางรางจึงขอชี้แจง แต่ละประเด็นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของสาธารณชนต่อร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1 การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิกถอนสัญญาสัมปทาน หรืออนุมัติการต่ออายุสัญญาสัมปทาน เป็นการขัดแย้งกับพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนหรือพีพีพี

- การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในการเพิกถอนสัญญาสัมปทาน หรืออนุมัติการต่ออายุสัมปทาน ก็แต่ในกรณีที่ใบอนุญาตนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ออกใบอนุญาตตามร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง และให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิกถอนใบอนุญาตเฉพาะในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตก่อให้เกิดอันตรายหรือกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนอย่างร้ายแรง เช่นมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากและไม่ยอมแก้ไขเหตุดังกล่าว เท่านั้น

ส่วนกรณีของผู้ได้รับสัญญาสัมปทานก่อน พ.ร.บ.การขนส่งทางรางมีผลใช้บังคับ หากเกิดกรณีที่ผู้ได้รับสัญญาสัมปทานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน พ.ร.บ.การขนส่งทางราง และเกิดเหตุอันตรายต่อประชาชนอย่างร้ายแรงมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากและไม่ยอมแก้ไขเหตุดังกล่าวก็ต้องเข้ากระบวนการเพิกถอนสัญญาสัมปทานอยู่ดี และยังเป็นกระบวนการของ ครม. ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือพีพีพี จึงไม่ได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ พีพีพี แต่อย่างใด



ประเด็นที่ 2 ไม่ส่งเสริมการแข่งขันระหว่างเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง

- มาตรา 60 ของ ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางรางได้ห้ามโอนสิทธิในใบอนุญาตแก่บุคคลอื่น เพื่อป้องกันผู้ไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดเข้ามาประกอบกิจการเกี่ยวกับราง และเป็นการป้องกันการผูกขาดในกิจการเกี่ยวกับการขนส่งทางราง มาตราดังกล่าวจึงเป็นการส่งเสริมการแข่งขันระหว่างเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง

การที่ ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง มีข้อห้ามเกี่ยวกับการห้ามถือหุ้นในบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการขนส่งทางราง เกินกว่า 50% หรือห้ามให้บริษัทที่สามถือหุ้นเกินกว่า 50% ของทั้งในบริษัทผู้รับใบอนุญาตและบริษัทที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางอื่น และห้ามไม่ให้บุคคลต่างด้าวขอใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง จึงไม่เป็นการกีดกันเอกชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับรางเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน เนื่องจากการขอใบอนุญาตประกอบกิจการเกี่ยวกับรางต้องทำตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเอกชนที่จะเข้าร่วมกระบวนการคัดเลือกตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน


ประเด็นที่ 3 หลักเกณฑ์และอำนาจหน้าที่มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับอยู่แล้ว เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

- เมื่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางประกาศใช้บังคับแล้ว และตามบทเฉพาะกาล บรรดาอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ไม่ได้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงานแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวมีวัถตุประสงค์ แก้ไขปัญหาในอดีตที่ ในการให้บริการระบบราง ที่ยังมีปัญหาด้านความปลอดภัยและคุณภาพการให้บริการที่มีต่อประชาชน ทำให้จำเป็นต้อง มีกรมการขนส่งทางรางทำหน้าที่ Regulator และกำหนดพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางขึ้น ซึ่งจะช่วยกำกับการดำเนินงานของระบบขนส่งทางรถไฟให้มีมาตรฐานความปลอดภัย การกำหนดเขตปลอดภัย การสอบสวนอุบัติเหตุ และยกระดับคุณภาพการให้บริการระบบรางให้กับประชาชนผู้ใช้บริการระบบราง รวมถึงคุ้มครองผู้โดยสาร ความล่าช้าในการเดินรถ การคืนค่าโดยสารและการเยียวยา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม และได้มีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างครบถ้วน ทุกขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ขร. ชี้แจงเกี่ยวกับข้อโต้แย้งร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. ....
https://www.thailandplus.tv/archives/497081
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2022 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

ขร. ชี้แจง กรณี สร.รฟท. คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. .... ฉบับที่ 2
...

ด้านเศรษฐกิจ
วันที่ 17 มีนาคม 2565

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กระทรวงคมนาคม ขอยืนยันว่า ไม่มีบทบัญญัติใด มาตราใด ในร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ... ที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปใด ๆ ทั้งสิ้น การเสนอโครงการการขนส่งทางราง กำหนดหลักเกณฑ์ในการเสนอโครงการให้หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของโครงการ โดยแบ่งเป็นกรณีรถไฟของ รฟท. รถไฟฟ้า ของ รฟม.หรือ กทม. และกรณีรถรางของกระทรวงมหาดไทย หากโครงการใดมีเอกชนร่วมลงทุนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานหรือสัญญาร่วมลงทุนที่ได้จัดทำขึ้นต้องมีข้อกำหนดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ไม่มีกรณีที่จะดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด และการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการรับฟังความคิดเห็นครบถ้วนตามหลักเกณฑ์แล้วโดยมีหนังสือถึงหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อขอรับฟังความคิดเห็น และกรมการขนส่งทางรางได้รับความเห็นและข้อสังเกตดังกล่าวมาดำเนินการแล้ว อีกทั้ง กรมการขนส่งทางรางได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียโดยผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (https://lawtest.egov.go.th/) ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2564 และผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมการขนส่งทางราง (https://www.drt.go.th/) ภายหลังการรับฟังความคิดเห็น ขร. ได้นำผลมาสรุปวิเคราะห์ปัญหา ชี้แจงประเด็นปัญหา เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ ขร. อีกครั้งหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ หาก สร.รฟท.มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... เพิ่มเติม สามารถเสนอความเห็นได้ในชั้นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. .... สภาผู้แทนราษฎร

สำหรับสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... ที่กำลังจะเสนอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและประกาศใช้บังคับต่อไปนั้น เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (7) ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนปฏิรูปประเทศที่ 5 ด้านเศรษฐกิจ ประเด็นการปฏิรูปที่ 9 Connectivity พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ

ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. .... จึงมีหลักการและเหตุผลความจำเป็น ตามที่ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมและพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมอย่างไร้รอยต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เชื่อมต่อระบบการขนส่งทางรางกับการขนส่งระบบอื่น และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดกิจการขนส่งทางรางขึ้นในระดับประเทศและในระดับภูมิภาคอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยในการเดินทาง สมควรมีกฎหมายที่กำกับดูแลกิจการขนส่งทางราง ให้สามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง การบริหารจัดการการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ให้เป็นโครงข่ายเดียวกันอย่างสมบูรณ์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. .... มีผลใช้บังคับ มีกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรกำหนดให้กรมการขนส่งทางรางมีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางรางเพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารและให้บริการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีหน่วยงานที่มากำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางราง ทำให้การขนส่งทางรางไม่ได้รับความนิยมเมื่อเทียบสัดส่วนของการขนส่งระบบอื่น ดังนั้น เพื่อยกระดับการให้บริการการขนส่งทางรางที่มีต้นทุนการขนส่งต่ำกว่าระบบอื่น กรมการขนส่งทางราง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายกำหนดหน้าที่และอำนาจการกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางราง ในการกำหนดมาตราฐานการประกอบกิจการ โดยการกำหนดมาตรฐานการให้บริการ ดังนี้

1. มีการกำหนดอัตราค่าโดยสารและค่าขนส่งสินค้าที่เป็นธรรมโดยมีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางรางกำหนดค่าโดยสารและค่าขนส่งสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเดินทางและการขนส่งสินค้าให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการ

2. มีการกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางรางมีการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้โดยสารหรือผู้ขนส่งสินค้า กรณีมีการยกเลิกขบวนรถ หรือขบวนรถล่าช้า เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้โดยสารและผู้ขนส่งสินค้าจะไม่ได้รับความเสียหายในการใช้บริการการขนส่งทางราง

3. มีการกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางรางจัดทำประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้โดยสาร และจัดทำประกันวินาศภัย เพื่อรับประกันความเสียหายให้กับผู้โดยสาร และผู้ใช้บริการขนส่งสินสินค้า

4. มีการกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางรางกำหนดค่าโดยสารโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้โดยสารบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก หรือคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ให้มีความเหมาะสมแก่การใช้บริการแก่ประชาชน

5. มีการกำหนดให้ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการขนส่งสินค้ามีสิทธิร้องเรียนปัญหาต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางราง เมื่อได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการขนส่งทางราง เพื่อตักเตือนเป็นหนังสือให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการประกอบกิจการขนส่งทางราง ที่ออกตาม ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ....

ขร. มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้มีการขนส่งทางรางเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ร้อยละ 2.03 ในปี พ.ศ. 2563 เป็นร้อยละ 4.3 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมและพัฒนาการขนส่งทางรางให้มากขึ้นตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการตามแผนดังกล่าว ร่าง พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. .... จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินการให้สำเร็จตามภาระกิจในการก่อตั้งกรมการขนส่งทางราง โดย ขร.จะเชิญผู้แทน สร.รฟท.ร่วมหารือ กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อหารือทำความเข้าใจร่วมกันต่อไป


สหภาพฯ ปลุกคนรถไฟ ต้าน พ.ร.บ.ขนส่งทางรางฯ สกัด "กรมราง" รวบอำนาจ-แปรรูปสมบัติชาติ-เอื้อนายทุน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 17 มีนาคม 2565 เวลา 07:12 น.
ปรับปรุง: วันที่ 17 มีนาคม 2565 เวลา 07:12 น.

หลังจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) จัดตั้งขึ้นเมื่อ 15 เม.ย. 2562 โดยเป็นการยกฐานะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง ในสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ให้กรมรางฯ ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงการเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานการกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางให้เป็นมาตรฐาน ในทางคู่ขนานได้มีการจัดทำพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ...เพื่อเป็นเครื่องมือให้กรมรางฯ ใช้วางกฎเหล็ก รวมถึงลงโทษการกระทำผิดต่างๆ เพื่อให้การบริการมีคุณภาพและคุ้มครองผู้โดยสารให้ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งมุมมองเจตนารมณ์แรกเพื่อ “กำกับดูแล ส่งเสริมสนับสนุน”
กิจการรถไฟของประเทศไทยถือกำเนิดและอยู่คู่กับคนไทยมากว่า 124 ปี โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำหน้าที่ทั้งก่อสร้าง เดินรถ ซ่อมบำรุง ให้บริการแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย....และรัฐบาลทุกยุค ทุกสมัยใช้รถไฟเป็นเครื่องมือหาเสียง เรียกคะแนนจากประชาชน โดยเฉพาะชนชั้นกลางไปถึงระดับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

แรกเริ่มของร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …นั้น คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ได้เคยมีมติให้ตรากฎหมายขึ้นมา และเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งในขณะนั้นมีการตรวจสอบพบว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ “กลายพันธุ์” จากการกำกับดูแล เป็นการเข้ามาบริหารจัดการควบคู่ไปด้วย โดยในบางมาตรากำหนดให้เส้นทาง ราง อาคารสถานี สถานที่ต่างๆ ที่ดินสองข้างทางของระบบการขนส่งทางรางเป็นกรรมสิทธิ์ของ “กรมราง” และยังสามารถออกใบอนุญาตให้เอกชนเข้ามาสร้างทาง สัมปทานเส้นทางและเดินรถในเส้นทางเดิมได้ด้วย ซึ่งเท่ากับว่า....“เป็นการแปรรูปกิจการขนส่งทางรางของรัฐไปให้เอกชน”
จึงเป็นเหตุทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (สร.รฟม.) และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฟ้า (สร.รฟฟท.) ไม่เห็นด้วย และได้ร่วมกันก่อตั้ง “สมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.)” ขึ้นในปี พ.ศ. 2560 และได้ยื่นหนังสือคัดค้านต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการกฤษฎีกา และรัฐบาลหลายครั้ง แต่ไม่มีการรับฟัง การพิจารณากฎหมายก็ยังดำเนินการกันต่อไป จากเริ่มต้นไม่กี่มาตรา จนกลายเป็นร้อยกว่ามาตรา และส่อถึงการทำลายหลักการสาระสำคัญแนวคิดเดิมโดยสิ้นเชิง
กระทั่ง 20 ก.ค. 2564 ครม.ได้อนุมัติหลักการร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางราง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบแผนการพัฒนาการขนส่งทางรางและโครงการของหน่วยงานรัฐ, เสนอแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น ที่ได้รับประโยชน์จากการขนส่งทางราง การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี การเชื่อมต่อการขนส่งทางรางกับการขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางน้ำ สถานีขนส่งทางบก ศูนย์กระจายสินค้า ที่พักสินค้า ท่าเรือบก นิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการกำหนดอัตราขั้นสูงของค่าโดยสาร ค่าขนส่ง ค่าใช้ประโยชน์จากราง และค่าธรรมเนียมอื่น และการกำหนดประเภทของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร
กำหนดให้กรมการขนส่งทางรางจัดทำแผนพัฒนาการขนส่งทางราง โดยให้กรมการขนส่งทางรางมีอำนาจหน้าที่สำรวจพื้นที่เบื้องต้น เพื่อกำหนดแนวเส้นทางการขนส่งทางรางให้เป็นไปโดยเหมาะสมแก่การบริการสาธารณะและมีความปลอดภัยแก่ประชาชน และให้เสนอขอความเห็นชอบแผนดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางรางเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป และกำหนดให้ในการเสนอโครงการเกี่ยวกับการขนส่งทางรางให้เจ้าของโครงการดำเนินการ เป็นต้น
@“สาวิทย์ แก้วหวาน” ปลุกคนรถไฟต่อสู้ รักษาสมบัติชาติ ชี้ไม่สู้ รถไฟล่มสลายแน่!

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2564 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565 “สาวิทย์ แก้วหวาน” ที่ปรึกษา สร.รฟท.กล่าวกับพนักงาน รฟท.ว่า ร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง.. ได้เคยผ่าน ครม.เมื่อ ธ.ค.ปี 2559 แต่ตนไม่ยอมและคัดค้านอย่างต่อเนื่องถึงชั้นกฤษฎีกา ปี 2559-2564 ร่างกฎหมายไม่สามารถออกมาได้ แต่กลุ่มทุน นักธุรกิจที่ต้องการเข้ามาหาประโยชน์กับระบบราง ที่รัฐได้มีการลงทุนมหาศาลในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ซึ่งเกิดช่องทางในการสร้างความร่ำรวยกับกลุ่มทุนได้อย่างมาก แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากติดกฎหมายรถไฟ 2 ฉบับ
คือ พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ. 2464 ซึ่งกำหนดถึง ลิขสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เหนือที่ดิน เหนือสันราง เหนือสถานี และ พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์กร เมื่อเอกชนเข้ามาหาประโยชน์ไม่ได้ จำเป็นต้องล้มกฎหมาย 2 ฉบับนี้ ซึ่งมติ ครม.ล้มไม่ได้ จำเป็นต้องทำกฎหมายใหม่ขึ้นมาให้เท่ากัน เพื่อล้มหรือเลิกกฎหมายเดิมที่มีอยู่ 2 ฉบับนี้ นั่นก็คือร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง...

เดือน ก.ค. 2564 ครม.อนุมัติ พ.ร.บ.ขนส่งทางราง... โดยยังไม่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมพิจารณาเลย และเป็นการนำร่าง พ.ร.บ.เดิมที่ รฟท.เคยคัดค้านกลับมานำเสนอใหม่ มีการพิจารณาแบบรวบรัด ตัดตอน และตั้งเป้าจะเร่งเสนอสภาพิจารณา 3 วาระให้เร็วที่สุด เพื่อให้กฎหมายออกมาบังคับใช้ เพราะรอไม่ได้แล้ว รถไฟทางคู่กำลังจะก่อสร้างเสร็จ เอกชนจะเข้ามาหาประโยชน์บนทางรถไฟ
หันมามองรถไฟ จากที่มีพนักงาน 2 หมื่นคน วันนี้เหลือพนักงาน 9,300 คน เพราะมีการจำกัดการเพิ่มพนักงานไว้ เมื่อรถไฟทางคู่เสร็จ คนทำงานไม่พอ ก็ต้องยกเส้นทางให้เอกชนไป ในที่สุดรถไฟจะเป็นเอกชนรายหนึ่ง
“ที่สหภาพฯ รฟท.คัดค้าน พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ก็เพราะ กฎหมายนี้ให้กรรมสิทธิ์ในรางและทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่ง ได้แก่ สถานี ทางเข้าสถานี รวมถึงพื้นที่เชื่อมต่อกับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของเอกชน ฯลฯ จะถูกโอนไปที่กรมราง ...เส้นทางรถไฟจะเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาเช่าค่าใช้ทางรถไฟ อาจมี 3-4 บริษัท รถไฟทำอะไรไม่ได้ และจะเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่งที่ต้องแข่งกับ BTS BEM หรือเอกชนไหนก็ตามที่จะเข้ามา”
คำถามคือ รฟท.ในสภาพปัจจุบันจะแข่งได้หรือไม่ แค่ กรมรางฯ ประกาศห้ามรถไฟระบบส้วมเปิดห้ามวิ่ง เพราะเป็นมลภาวะ รฟท.ทำไง ... เป็นการทำลาย รฟท.ให้ตกอยู่ในสภาพล้มละลาย
แล้วรถไฟจะเหลืออะไร คนรถไฟจะอยู่กันอย่างไร ต้องลุกขึ้นมาสู้กันด้วยปัญหา เอาความจริง เปิดเผยให้สาธารณะเห็น เรื่องนี่คนรถไฟยอมไม่ได้ มรดกจากประวัติศาสตร์กำลังจะถูกทำลายจากกลุ่มทุน นักธุรกิจที่เข้ามาหาผลประโยชน์ ความมั่งคั่ง ร่ำรวย โดยไม่ใส่ใจประวัติศาสตร์
@สหภาพฯ รฟท.ค้านสุดซอย ชี้เร่งรวบรัด...ตัดตอน ฟังความเห็นไม่ครบถ้วน

วันที่ 9 มีนาคม 2565 สหภาพฯ รฟท.ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และองค์การสมาชิก สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) พร้อมด้วย องค์กรสมาชิก ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คัดค้านแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และขอให้ยับยั้งการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.... เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ... ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 และส่งไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เนื้อหาสาระของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐหลายภาคส่วน รวมทั้งภาคประชาชนที่เป็นผู้ใช้บริการ ซึ่งในเรื่องของการตรากฎหมายและหลักการมีส่วนร่วมต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในมาตรา 77 เสียก่อน

ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ให้เป็นไปตามขั้นตอนอย่างทั่วถึงและรอบด้าน ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของสังคมและประชาชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการหลักการมีส่วนร่วมตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด

“กรมรางอ้างว่ารับฟังความเห็นแล้วผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถได้ครบถ้วน และก่อนนำเสนอ ไม่มีการเปิดเผยข้อสรุป ความคิดเห็นที่รับฟังมา ว่ามีผลกระทบอย่างไร แต่ไม่มีการชี้แจงรายละเอียด แบบนี้ทำตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญครบถ้วนหรือไม่”

ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ... มีเจตนามุ่งหมายเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กับหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) เพื่อให้ทำหน้าที่ดูแลเรื่องมาตรฐานด้านต่างๆ และการสร้างมาตรฐานให้เป็นสากลแก่ระบบขนส่งทางราง แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ กลับมีบทบัญญัติที่มีความซ้ำซ้อน ขัดแย้งกับบรรดาสิทธิ และอำนาจหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กร โดยกำหนดว่า

“ให้บรรดาอำนาจ สิทธิและประโยชน์ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติฉบับนี้การขนส่งทางราง พ.ศ. ....”

เท่ากับว่าร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางฯ ที่ออกมาซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่การรถไฟฯ ถือใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และเป็นการจำกัดอำนาจ และสิทธิของการรถไฟฯ

สหภาพฯ เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการมีกฎหมายเพื่อกำกับดูแล และพัฒนามาตรฐานด้านระบบการขนส่งทางราง เนื่องจากเป็นระบบการขนส่งที่มีความสำคัญในอนาคต ....แต่เมื่อพิจารณาสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ แล้ว กลับมีเนื้อหาที่มีความซ้ำซ้อน และไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผลของการร่างกฎหมายฉบับนี้ รวมทั้งกระบวนการในการตรากฎหมายไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด

จุดยืน สร.รฟท.ในการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ. .... จนถึงที่สุด โดยขอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณายับยั้งกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปก่อน โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องระบบการขนส่งทางรางของรัฐให้มีความมั่นคง และยั่งยืน เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชนต่อไป

@ ซัดหมกเม็ดแปรรูป ยกสัมปทานให้เอกชน ทำค่าบริการแพงประชาชนเดือดร้อนทั้งแผ่นดิน
“สราวุธ สราญวงศ์” ประธาน สหภาพ รฟท. ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณตอบรับจากรัฐบาล สหภาพฯ จะเดินหน้าคัดค้านต่อไป การให้กรมรางมีหน้าที่เกินจากการกำกับดูแล เช่น มีอำนาจและสิทธิในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล และยังซ้ำซ้อนกับอำนาจของ รฟท.ที่มีตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494 , การให้กรมรางฯ สำรวจเส้นทางและนำเสนอโครงการ, ให้อำนาจกรมรางเวนคืนที่ดิน เป็นต้น

มีความพยายามในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เอกชนเข้ามาแสวงหาประโยชน์ในรัฐวิสาหกิจในรูปแบบต่างๆ ทั้งการให้สัมปทาน การตั้งบริษัทลูกแล้วถ่ายโอนภารกิจทรัพย์สินจากบริษัทแม่ไปยังบริษัทลูก การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เรียกว่า PPP ซึ่งที่สุดแล้วมันคือ "การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ"

โดยอ้าง...เพื่อประสิทธิภาพและลดภาระงบประมาณของรัฐ แต่ผลประโยชน์จะตกที่กลุ่มทุนและนักธุรกิจทางการเมือง แต่ที่เลวร้ายที่สุดผลกระทบไปตกที่ผู้ใช้บริการ จ่ายราคาแพงขึ้น เช่น ราคาพลังงาน น้ำ ไฟฟ้า ประปา ยา สื่อสารโทรคมนาคม การขนส่งสาธารณะ ฯลฯ "ประชาชนเดือดร้อนทั้งแผ่นดิน"

@นักกฎหมายชี้ ขัดแย้ง "พีพีพี"

มีข้อสังเกตจากทั้งศาลยุติธรรม อัยการสูงสุด ล่าสุด ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชนและกฎหมายรัฐธรรมนูญ และเป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีการชุดที่ 4 ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กฤษฎีกายังพิจารณาไม่เรียบร้อยแต่กระทรวงคมนาคม เร่งรัดเสนอกฎหมายเข้าสู่สภาฯ

โดยได้ตั้งข้อสังเกต 3 ประเด็น ได้แก่ 1. การให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิกถอนสัญญาสัมปทาน หรืออนุมัติการต่ออายุสัญญาสัมปทาน (ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว) เป็นการขัดแย้งกับพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือพีพีพี 2. บริษัทที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางอื่นเกินกว่า 50% หรือการห้ามมิให้มีบริษัทที่สามถือหุ้นเกินกว่า 50% และ 3. หลักเกณฑ์และอำนาจที่มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับอยู่แล้ว เช่น รฟท. และ รฟม.

@กรมรางแย้งทุกประเด็น ยันไม่รวบอำนาจ แค่กำกับ ไม่ขัดพีพีพี

“พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ชี้แจงว่า ตามร่างมาตรา 9 กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่และอำนาจในอนุมาตรา (3) เสนอแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการขนส่งทางรางต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ เป็นการเสนอแนะแนวทางในเชิงนโยบายให้หน่วยงานที่ประกอบกิจการขนส่งทางรางปฏิบัติตาม

X

ยืนยัน การให้อำนาจกรมรางไม่ทับซ้อนกับหน่วยงานปฏิบัติ โดยหากเป็นโครงการที่มอบหมายให้หน่วยงานรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งหรือกฎหมายเฉพาะของหน่วยนั้นๆ ให้อำนาจหน้าที่ในการเวนคืนหรือจัดหาที่ดินให้ได้มาเพื่อดำเนินการจัดทำโครงการได้อยู่แล้ว

ส่วนกรณีให้กรมรางเสนอ ครม.และพิจารณาเห็นชอบให้เอกชนดำเนินการ ซึ่งเอกชนไม่สามารถใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนหรือได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ในการดำเนินโครงการ กรมรางควรจะมีหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้การดำเนินโครงการของเอกชนที่เข้ามาดำเนินโครงการได้

ประเด็นให้อำนาจ รมต.คมนาคม เพิ่มถอน/อนุมัติ/ต่อสัญญาสัมปทาน เฉพาะใบอนุญาตที่ รมต.คมนาคมเป็นผู้ออก และเป็นกรณีที่จะก่อให้เกิดอันตราย หรือกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนอย่างร้ายแรง ไม่ครอบคลุมสัมปทานที่มีก่อน พ.ร.บ.ขนส่งทางรางบังคับใช้

สหภาพฯ รฟท.ทิ้งท้ายว่า การเร่งออกกฎหมายนี้ เจตนาสำคัญเพราะรถไฟทางคู่ใกล้เสร็จ กรมรางต้องมีอำนาจในการให้เอกชนเข้ามาสัมปทานเดินรถ...แต่!!!ต้องไม่ลืมว่ารถไฟเป็นสาธารณูปโภค สวัสดิการเพื่อประชาชน เป็นบริการที่ไม่มีกำไร และหากยกที่ดินไปอยู่ในมือกรมรางอีก ยิ่งหมดความหวังที่จะให้รฟท.พัฒนาที่ดินหารายได้มาชดเชยการขาดทุนจากการเดินรถ รถไฟไม่มีสภาพคล่องสุดท้ายก็จะถูกยุบไป เหมือน ร.ส.พ. ซึ่งผลกระทบต่อพนักงานก็ส่วนหนึ่ง แต่ประชาชนผู้เสียภาษีให้รัฐมาลงทุนก่อสร้างทาง แต่รัฐเอาทางไปให้เอกชน แล้วประชาชนจ่ายค่าบริการแพง..แบบนี้ถูกต้องหรือไม่!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2022 6:52 am    Post subject: Reply with quote

คำอธิบาย Interlocking ผิดพลาดทำรถไฟฟ้าขัดข้อง(พร้อมกันทั่วโลก)
Source - เดลินิวส์
Monday, March 21, 2022 04:52
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

การขัดข้องของรถไฟฟ้า 2 สาย 2 สี MRT เส้นสีม่วงและบีทีเอสสายสีเขียวพร้อมกันในครึ่งวันเช้า 17 มี.ค.ที่ผ่านมา สร้างความปั่นป่วนให้คนกรุงเทพฯ เดินทางล่าช้า ต้องเดือดร้อน ไปทำงานไปเรียนและไปทำธุระ "สาย"

ไล่เรียงไทม์ไลน์เกิดเหตุ ตั้งแต่ช่วงเช้าเวลา 06.07 น. รถไฟฟ้า MRT สายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) ขัดข้องระหว่างสถานีสะพานพระนั่งเกล้าถึงสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จนเวลา 07.35 น. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการ ต้องใช้แผนเดินรถสำรองด้วยการจัดเดินรถแบบไป-กลับ (Shuttle) ระหว่างสถานีกระทรวงสาธารณสุขถึงสถานีเตาปูน และแบบวงย่อย (Short loop) ระหว่างสถานีคลองบางไผ่ถึงสถานีกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นเวลา 08.35 น. BEM ยกเลิกแผนสำรองกลับมาเดินรถแบบปกติอีกครั้งโดยมีความถี่ (Headway) 7 นาที

ต่อมาเวลา 10.33 น. BEM เกิดขัดข้องอีกต้องกลับไปใช้แผนเดินรถสำรองรูปแบบไป-กลับแบ่งเป็น 5 ช่วง ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่-สถานีบางพลู, สถานีบางพลู-สถานีพระ นั่งเกล้า, สถานีสะพานพระนั่งเกล้า-สถานีศูนย์ราชการ นนทบุรี, สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี-สถานีวงศ์สว่าง และ สถานีวงศ์สว่าง-สถานีเตาปูน โดยมีความถี่ (Headway) ที่ 20 นาที แก้ไขปัญหาได้เรียบร้อยในเวลา 12.35 น. จึงให้บริการเดินรถตามปกติ

ห้วงเวลาเดียวกัน 09.24 น. รถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียว) สายสุขุมวิทขัดข้องระหว่างสถานีห้าแยกลาดพร้าว (N9) ถึงสถานีสายหยุด (N19) เวลา 10.05 น. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการได้ปรับรูปแบบเดินรถเฉพาะช่วงสถานีหมอชิต (N8) - สถานีเคหะ (E23) ส่วนระหว่างสถานีห้าแยกลาดพร้าว (N9) ถึงสถานีคูคต (N 24) ต้องปิดบริการชั่วคราว รอจนถึงเวลา 12.55 น. เจ้าหน้าที่แก้ไขระบบเรียบร้อยจึงกลับมาให้บริการสายสุขุมวิทตามปกติ

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) หน่วยงานที่กำกับดูแลการขนส่งทางราง ระบุว่า ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงการขัดข้องของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายมาจากการใช้ซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์ระบบบังคับสัมพันธ์ (Interlocking) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ ผู้ผลิตรายเดียวกัน

ระบบรถไฟฟ้าในหลายประเทศที่ใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกันนี้เกิดเหตุขัดข้องในลักษณะเดียวกันในช่วงเวลา (time zone) ใกล้เคียงกัน เช่น รถไฟฟ้า Metro สายสีม่วง สีเขียว และ สีชมพู รวม 3 สายในกรุงเดลี ประเทศอินเดีย รถไฟฟ้า subway หมายเลข 5 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ทั้ง บีทีเอส และ BEM ได้แก้ปัญหาโดยรีเซตระบบใหม่จนกลับมาเดินรถบีทีเอสได้ตามปกติในเวลา 12.55 น. ส่วนสายสีม่วงกลับมาเดินรถได้ตามปกติในเวลา 12.35 น. ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าทั้ง 2 ราย ได้ประสานผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบบังคับสัมพันธ์เพื่อหาวิธีป้องกันและแนวทางให้ระบบเกิดความเสถียรภาพมากขึ้นต่อไป

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) อธิบายระบบบังคับสัมพันธ์ (Interlocking) ว่า เป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมการเดินรถไฟฟ้า มีหน้าที่ควบคุมให้การทำงานของอุปกรณ์อาณัติสัญญาณบนทางวิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมทางให้ขบวนรถไฟเคลื่อนที่สามารถทำงานให้สอดคล้อง และไม่ขัดแย้งกัน อาทิ ประแจกล และไฟสัญญาณ โดยเมื่อเตรียมทางเรียบร้อยแล้ว ระบบจะล็อกท่าของอุปกรณ์แต่ละชนิดไว้ ป้องกันการเปลี่ยนโดยไม่ตั้งใจ เพื่อยืนยันความถูกต้อง และเกิดความมั่นใจว่าการเดินรถมีความปลอดภัย

ระบบบังคับสัมพันธ์ที่ใช้ในระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ของประเทศไทย เป็นระบบบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Based Interlocking System: CBI) ที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาเขียนเงื่อนไขของการเดินรถ โดยคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนทางรถไฟ แล้วประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และสั่งการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ หากระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้องจะทำให้การเดินรถไฟฟ้าต้องหยุดชะงักลง

Interlocking ของรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวขัดข้อง เมื่อช่วงเช้าวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมาถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบ ที่เพิ่งติดตั้งกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีเขียวส่วนต่อขยาย หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก เบื้องต้นจะใช้วิธีรีเซตระบบใหม่ทันที ก็จะสามารถกลับมาเดินรถได้ตามปกติ ขร. จะจัดประชุมหารือร่วมกับผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าทั้ง 2 ราย เพื่อหาแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีก

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้โดยสารขนส่งทางรางในภาพรวมยังมีจำนวนไม่มากนักเฉลี่ยวันละประมาณกว่า 6 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 62 ที่มีผู้โดยสารทั้งระบบรวมอยู่ที่ประมาณวันละ 1.2 ล้านคน วันเกิดเหตุ 17 มี.ค.65 มีผู้โดยสารระบบขนส่งทางราง 6.76 แสนคน แบ่งเป็นรถไฟฟ้า BTS 3.97 แสนคน, รถไฟฟ้า MRT 2.08 แสนคน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 3.20 หมื่นคน, รถไฟ 2.94 หมื่นคน, รถไฟระบบชานเมือง (สายสีแดง) 8.65 พันคน

ด้านเว็บไซต์ www.arabnews.com รายงานว่า สำนักงานใหญ่ บริษัท อัลสตอม (Alstorm) ประเทศฝรั่งเศส ได้ชี้แจงถึงการขัดข้องของระบบบังคับสัมพันธ์ (Interlocking) ด้วยคอมพิวเตอร์ของอัลสตอม ที่ทำให้การให้บริการรถไฟหยุดชะงักในยุโรปและเอเชียว่า เกิดข้อผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ ทำให้การให้บริการในระบบรางหยุดชะงักในประเทศโปแลนด์, ประเทศอิตาลี และประเทศในทวีปเอเชีย

โดยบริษัท อัลสตอม ตรวจพบปัญหาแล้ว อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขระบบ โดยระบุว่าสาเหตุไม่ได้มาจากการโจมตีทางไซเบอร์ แต่เกิดจากข้อผิดพลาดในการจัดรูปแบบเวลา (time formatting error) ในระบบอาณัติสัญญาณที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์ต จำกัด ก่อนที่บริษัท อัลสตอม จะเข้าซื้อกิจการเมื่อต้นปี 64

ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการล่าช้า และมีการยกเลิกเที่ยวเดินรถไฟจำนวนมากในประเทศโปแลนด์ การรถไฟแห่งประเทศโปแลนด์ให้ข้อมูลว่า การขัดข้องส่งผลกระทบต่อศูนย์ควบคุมรถไฟแห่งชาติถึง 19 แห่ง จาก 33 แห่ง และกระทบเส้นทางเดินรถอีกกว่า 800 กิโลเมตร (กม.) นอกจากนี้ในประเทศอิตาลี บริษัท เทรนอิตาเลีย ได้ประกาศแจ้งเตือนว่าเกิดเหตุการณ์ระบบควบคุมขัดข้อง ทำให้เกิดปัญหาในการเดินรถไฟในเส้นทางสายโรมถึงฟลอเรนซ์ รถไฟหลายขบวนต้องล่าช้าถึงกว่า 2 ชั่วโมง หรือถูกยกเลิก เนื่องจากปัญหาการควบคุมการเดินรถไฟจากศูนย์ควบคุมกลาง

โฆษกบริษัท อัลสตอม ได้แจกแจงด้วยว่า เหตุการณ์นี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร และทีมของบริษัท อัลสตอมได้จัดทำแผนการแก้ไขเชิงรุก ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาของระบบอาณัติสัญญาณ และบริการเชิงพาณิชย์ได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง สำหรับลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาในขั้นต้น รวมถึงรถไฟบางสายในประเทศอินเดีย และประเทศไทย ที่สามารถแก้ไขระบบการเดินรถกลับมาสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การรถไฟแห่งประเทศอิตาลีได้ให้ข้อมูลว่า การเดินรถไฟในเส้นทางโรมถึงฟลอเรนซ์ได้กลับมาให้บริการตามปกติแล้วเช่นกัน

คำอธิบายเกี่ยวกับ "Interlocking" ระบบบังคับสัมพันธ์ของรถไฟฟ้า ......ความท้าทายในการแก้ไขปัญหาเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ไม่ได้สมบูรณ์ 100% ยังเออเรอร์...เกิดความผิดพลาด ทำให้รถไฟฟ้าขัดข้อง (พร้อมกันทั่วโลก).

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 21 มี.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2022 11:47 am    Post subject: Reply with quote

สาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ที่จะทำให้ให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ 24 มีนาคม 2565 เวลา 09:25 น.

ดร. พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยถึงสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ประกอบไปด้วย 10 หมวด และบทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 165 มาตรา ปรากฏสาระสำคัญดังนี้
หมวด 1 ว่าด้วยการให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง (นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ) มีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดแผนพัฒนาการขนส่งทางราง แนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับประโยชน์ แนวทางการเชื่อมต่อการขนส่งรูปแบบอื่น รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการในการประกอบกิจการขนส่งทางรางและมาตรฐานการขนส่งทางรางด้านต่าง ๆ ตลอดจนกำหนดอัตราขั้นสูงของค่าโดยสาร ค่าขนส่ง และกำหนดประเภทของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าโดยสาร เป็นต้น
หมวด 2 ว่าด้วยการจัดทำโครงการขนส่งทางราง โดยกำหนดให้เจ้าของโครงการต้องจัดทำรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมและรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์โครงการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง แล้วเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเห็นชอบก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายขนส่งทางราง ส่วนการดำเนินกิจการขนส่งทางรางเป็นได้ทั้งหน่วยงานของรัฐดำเนินการเอง และการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดในการเสนอโครงการขนส่งทางรางที่แสดงถึงความคุ้มค่า ความเหมาะสม และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
หมวด 3 ว่าด้วยเขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัยระบบรถขนส่งทางราง ให้เจ้าของโครงการเป็นผู้กำหนด พร้อมทั้งจัดทำและแสดงเครื่องหมายแสดงแนวเขตฯ โดยห้ามไม่ให้ผู้ใดจะกระทำการ ที่อาจเป็นอันตรายหรือกระทบกระเทือนต่อระบบรถขนส่งทางรางในเขตที่กำหนด
หมวด 4 ว่าด้วยการประกอบกิจการขนส่งทางราง โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่ง ใบอนุญาตประกอบกิจการการเดินรถขนส่งทางราง และใบอนุญาตประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่งและการเดินรถขนส่งทางราง ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติฯ กำหนด รวมทั้งต้องกำหนดอัตราค่าโดยสารและค่าบริการไม่เกินกว่าอัตรา ขั้นสูงที่คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางรางกำหนด นอกจากนี้ เจ้าของโครงการหรือเอกชนเจ้าของรางหรือทางเฉพาะ มีหน้าที่ต้องยินยอมให้มีการเชื่อมต่อรางเมื่อมีการร้องขอและได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ซึ่งเจ้าของโครงการหรือเจ้าของรางหรือทางเฉพาะ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน โดยหมวดนี้ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการจัดสรรเวลาการเดินรถขนส่งทางราง มีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ การจัดสรรเวลาการเดินรถขนส่งทางหรือปรับเปลี่ยนเวลาการเดินรถขนส่งทางรางหรือปรับขีดความสามารถของความจุทาง ซึ่งจะกระทบต่อการจัดสรรเวลาเดินรถขนส่งทางราง
หมวด 5 ว่าด้วยการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ กำหนดให้มีคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ มีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติเหตุร้ายแรง และอุบัติการณ์ ดำเนินการสอบสวนเพื่อประโยชน์ในการใช้ข้อมูลสำหรับความปลอดภัยในการขนส่งทางราง เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุทำนองเดียวกันขึ้นอีก รวมทั้ง วิเคราะหข้อมูลและเสนอแนะมาตรการเชิงป้องกันให้แก่หน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวกับการขนส่งทางราง ติดตามการดำเนินการ และจัดทำรายงานผลการดำเนินการประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง
หมวด 6 ว่าด้วยผู้ตรวจการขนส่งทางราง โดยกำหนดให้ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางราง ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการขนส่งทางราง มีหน้าที่และอำนาจตรวจสอบและดำเนินการใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับการประกอบกิจการขนส่งทางรางที่เข้าข่ายว่าจะเป็นความผิด
หมวด 7 ว่าด้วยผู้ประจำหน้าที่ โดยกำหนดให้ผู้ประจำหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี กรมการขนส่งทางราง หรือออกให้โดยรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย ผู้ประจำหน้าที่ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาต ได้แก่ พนักงานขับรถขนส่งทางรางและพนักงานควบคุมรถขนส่งทางราง
หมวด 8 ว่าด้วยการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง โดยกำหนดให้รถขนส่งทางรางต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด มีความมั่นคงแข็งแรง และมีส่วนควบอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเดินรถขนส่งทางราง จากนั้น จะต้องนำรถขนส่งมาดำเนินการจดทะเบียนก่อนนำไปใช้ในการประกอบกิจการ
หมวด 9 ว่าด้วยการคุ้มครองผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ โดยกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้โดยสารเมื่อมีเหตุล่าช้าหรือถูกยกเลิก ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตและร่างกายของผู้โดยสารและผู้ใช้บริการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการโดยเฉพาะผู้ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็ก ให้มีความเหมาะสม ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการมีสิทธิร้องเรียนต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางรางเมื่อได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการขนส่งทางรางได้
หมวด 10 ว่าด้วยบทกำหนดโทษ กำหนดมาตรการบังคับทางปกครองในกรณีเป็นการกระทำความผิดใดที่มีโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง และเป็นการกระทำของผู้ประจำหน้าที่ ผู้ได้รับใบอนุญาต
และกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ได้รับใบอนุญาต อาจถูกดำเนินมาตรการลงโทษปรับทางปกครองได้
บทเฉพาะกาล กำหนดให้โครงการเกี่ยวกับการขนส่งทางรางที่ได้เริ่มดำเนินการไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับและยังไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามเดิม บรรดาอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือกฎหมายว่าด้วยการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง
จากร่างพระราชบัญญัติที่กล่าวมา จะเห็นว่า มีเหนื้อหาเป็นการควบคุมและกำกับดูแลมาตรฐาน ระเบียบด้านความปลอดภัย การบำรุงทาง การประกอบกิจการขนส่งทางราง การบริหารจัดการการขนส่งทางรางอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่งทางรางให้สามารถยกระดับมาตรฐาน ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัยในการเดินทางระบบขนส่งทางรางอย่างแท้จริง
...............................................................................................
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/03/2022 12:45 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางเคลียร์ชื่อ 2 สถานีรถไฟฟ้า "ชมพูและส้ม" ยึดตามที่ตั้ง ป้องกันสับสน
เผยแพร่: 24 มี.ค. 2565 09:05 ปรับปรุง: 24 มี.ค. 2565 09:05 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

กรมรางเคลียร์ชื่อสถานีรถไฟฟ้าสีชมพู คงชื่อสถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 และสายสีส้ม ชื่อ “สถานีรามคำแหง 34” ชี้บอกถึงตำแหน่งที่ตั้งสถานีได้ชัดเจน ไม่สับสน

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับและบริหารจัดการระบบขนส่งทางราง ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 65 ซึ่งที่ประชุมมีการพิจารณาทบทวนการกำหนดชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี กรณี สวทช.เสนอเรื่องเข้ามาให้คณะกรรมการพิจารณา ชื่อ สถานี PK 08 แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 เป็นสถานีซอฟต์แวร์ปาร์ก โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 เนื่องจากมีความเหมาะสมด้านความยั่งยืน สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ไม่สร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ และเชื่อมโยงในการวางแผนการเดินทางได้

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

นอกจากนี้ ได้พิจารณาการกำหนดชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) สถานี OR 19 รามคำแหง 34 กรณีข้อร้องเรียนประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณรามคำแหง 40 ได้คัดค้านการใช้ชื่อ “สถานีรามคำแหง 34” และเสนอให้ใช้ชื่อ “สถานีหัวหมากเหนือ” โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้สถานีรามคำแหง 40 เนื่องจากสามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนสอดคล้องกับที่ตั้งสถานี ไม่สร้างความสับสนแก่ผู้ใช้บริการ มีความยั่งยืน และเชื่อมโยงในการวางแผนการเดินทางได้

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ รฟม. ประสานชี้แจงประชาชนเพื่อทำความเข้าใจในการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่อไป

และเห็นชอบแบบเบื้องต้นตามที่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบพื้นผิวต่างสัมผัสภายในสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์

นอกจากนี้ ยังมีความเห็นชอบการกำหนดมาตรฐานรหัสสีเส้นทางระบบขนส่งทางราง และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รฟท. รฟม. รฟฟท. กทม. BTSC BEM EBM NBM และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ใช้เป็นรหัสสีมาตรฐานในการดำเนินการจัดทำป้ายสัญลักษณ์ แผนที่เส้นทาง ข้อมูลการบริการต่อไป

พร้อมกับรับทราบความคืบหน้าของผลการดำเนินงานของกิจกรรมการประเมินคุณภาพสถานีขนส่งทางรางทั่วประเทศ “สถานีดีพร้อม” โดยเบื้องต้นได้มีสถานีที่ส่งรายชื่อเข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 30 สถานี ประกอบด้วยกลุ่มสถานีรถไฟทั่วประเทศ จำนวน 12 สถานี และกลุ่มสถานีรถไฟฟ้าในเมืองและชานเมือง จำนวน 18 สถานี ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดการสมัคร และการประชาสัมพันธ์ ผ่านเว็บไซต์ และ QR Code ต่อไป

รวมไปถึงมีการพิจารณาติดตั้งป้ายแนะนำอาคารจอดแล้วจร สถานีศรีเอี่ยม โดยเห็นชอบแนวทางการติดตั้งป้ายฯ ตามที่ฝ่ายเลขานุการนำเสนอ โดยมอบหมายให้กรมทางหลวง (ทล.) และ ขร.ดำเนินการติดตามและตรวจสอบการติดตั้งป้ายฯ ให้เหมาะสมไม่เป็นอุปสรรคต่อผู้สัญจรเดินเท้าและสังเกตเห็นได้โดยง่ายต่อผู้ขับขี่

และพิจารณาแนวทางการปรับรูปแบบสัญลักษณ์รถไฟบนป้ายแนะนำสถานีหรืออาคารจอดแล้วจร โดยใช้รูปแบบสัญลักษณ์รถไฟรางเดี่ยว (Monorail) สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และโครงการอื่นๆ ในอนาคต

นอกจากนี้ ได้มีการพิจารณาหารือแนวทางการป้องกันเหตุรถขัดข้องร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการเยียวยาผู้โดยสารและแผนเผชิญเหตุ โดยจะได้มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาต่อไป

และมีการพิจารณาการประเมินตัวชี้วัดผลการดำเนินงานจ้างบริหารระบบเดินรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ซึ่งจะมีการประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการทบทวน ประมวลตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่เหมาะสม เพื่อนำเสนอที่ประชุมในรายละเอียดต่อไป

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/03/2022 6:57 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘คมนาคม’ จ่อชง ครม.ไฟเขียวตั้ง ‘สถาบันรางฯ’ รองรับเมกะโปรเจ็กต์
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:42 น.

'สถาบันวิจัยราง'ขอทุนประเดิม596ล้าน
Source - เดลินิวส์
Tuesday, March 29, 2022 04:16

ค่าใช้จ่ายเดินงานระยะแรก 1 ปีครึ่ง ชิ้นที่ 1 เร่งพัฒนารถไฟ EV ต้นแบบ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) เตรียมเสนอของบประมาณ 596 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยฯ พ.ศ. 2564 คาดว่าจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเดือน เม.ย. 65 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป งบประมาณครั้งนี้จะครอบคลุมการดำเนินงานของสถาบันวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ทั้งด้านบุคลากร และค่าใช้จ่ายทั่วไปของสถาบันวิจัยฯ เป็นระยะเวลา 18 เดือน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า การขอจัดสรรงบประมาณ 596 ล้านบาท นั้น เพื่อให้ระยะเริ่มแรกสถาบันวิจัยฯ สามารถ ดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง และยืนยันว่าสถาบันฯ จะนำทุนประเดิมไปใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า มากที่สุด เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีระบบราง การวิจัย และการเชื่อมโยงผู้ประกอบการด้านระบบรางจากส่วนต่าง ๆ เข้า ด้วยกัน รวมทั้งสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมภายในประเทศ อันจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ (Know How) ด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนคนไทย

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า นอกจากนี้งบประมาณจะถูกนำ ไปใช้จัดทำฐานข้อมูลด้านระบบรางของประเทศ ที่จะเป็นศูนย์รวมข้อมูลระบบราง ครอบคลุมตั้งแต่ข้อมูลด้านบุคลากร งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมมาตรฐาน การทดสอบ การผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมระบบราง ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งนักศึกษา และประชาชน รวมถึงธุรกิจอุตสาหกรรมระบบราง ในการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบรางของประเทศ ไทย และต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาต่อยอด

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขณะเดียวกันจะนำงบประมาณ ไปใช้สำหรับการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบรถไฟ EV โดยใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ขับเคลื่อนรถไฟ ตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคมด้วย ซึ่งจะประเดิมด้วยโครงการศึกษาและพัฒนารถไฟ EV Shuttle Train ต้นแบบ นอกจากนี้จะวิจัยชิ้นส่วนที่ใช้ซ่อมบำรุงระบบราง เพื่อให้ระบบรางมีความปลอดภัย และสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ โดยจะออกแบบ และจัดทำต้นแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ จากการใช้วัสดุภายในประเทศ (Local Content) เพื่อนำองค์ความรู้ถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถผลิตไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากร การจ้างงานบุคลากรในประเทศ และลดการนำเงินตราออกนอกประเทศ

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เงินทุนประเดิม 596 ล้านบาท เป็นเงินทุนที่จะทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนงานได้ในระยะแรก ส่วนในระยะต่อไปสถาบันฯ จะมีรายได้จากการฝึกอบรมต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรับรองก่อนที่ ขร. จะพิจารณา ออกใบอนุญาตพนักงานขับรถไฟ และรถไฟฟ้า รวมถึงเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ซ่อมบำรุง ขณะเดียวกันสถาบันวิจัยฯ จะมีรายได้จากการที่ภาคเอกชนสนับสนุนการศึกษาวิจัยต่าง ๆ ด้วย.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 มี.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2022 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคมจัดประชุมคณะทำงานจัดทำมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ครั้งที่ 4-1/2565
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 17:36 น.

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ครั้งที่ 4-1/2565 ในวันที่ 29 มีนาคม 2565 โดยมี ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง รองประธานคณะทำงานและผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางบก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นคณะทำงาน เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom
ที่ประชุมฯ รับทราบผลการทดสอบการขนส่ง LNG ทางรถไฟ ครั้งที่ 2 ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ JR-Freight ทำการทดสอบการขนส่งถัง LNG แบบยกและเคลื่อนที่ได้ (ISO Container Tank) ทางรถไฟจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต จังหวัดระยอง ไปยังสถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 17 - 18 มกราคม 2565 โดยมีเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางรางเข้าร่วมการทดสอบ ซึ่งเป็นการทดสอบการขนส่ง LNG เป็นครั้งแรกทางรางในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ โดยมีข้อเสนอแนะที่สามารถปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟยิ่งขึ้น ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. ผู้ที่จะขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ต้องติดป้าย UN Number รวมทั้งป้ายเตือนวัตถุอันตรายตามมาตรฐานสากล บริเวณข้างบรรจุภัณฑ์ ให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้สังเกตได้ง่าย
2. จัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ที่เกี่ยวข้องตลอดแนวเส้นทางการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ
3. ศึกษามาตรฐานการกองเก็บสินค้าอันตรายที่ลานกองเก็บสินค้า (Container Yard หรือ CY) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้สามารถกองเก็บสินค้าอันตรายได้อย่างปลอดภัย
4. จัดให้มีการทำชุมชนสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเรื่องการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟในพื้นที่ทั้งต้นทางและปลายทาง
5. การจัดหาซีลล๊อคอุปกรณ์และที่จ่ายก๊าซของตัวถังและตีตราให้เรียบร้อยก่อนขนส่ง
นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ยังร่วมกันพิจารณาร่างมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ที่กรมการขนส่งทางราง ได้ดำเนินการอ้างอิงมาจาก “The Regulation concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Rail (RID) 2021” ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้ในการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟทั่วโลก โดยมีมติที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของร่างมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ และมอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง รวบรวมข้อเสนอแนะของคณะทำงานก่อนกรมการขนส่งทางรางออกประกาศกรมการขนส่งทางราง เป็นข้อกำหนดที่พึงปฏิบัติของการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟต่อไป ทั้งนี้ รองปลัดกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้กรมการขนส่งทางรางพิจารณาการใช้ประโยชน์ของลานกองเก็บสินค้า (CY) แต่ละแห่งในปัจจุบัน เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่คุ้มค่า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางรางได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2022 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กระทรวงคมนาคมจัดประชุมคณะทำงานจัดทำมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ครั้งที่ 4-1/2565
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 17:36 น.


รฟท.จับมือ ปตท.ทดสอบการขนส่งถัง LNG ทางรถไฟ จากนิคมฯมาบตาพุดหวังชิฟโหมดสินค้าอันตราย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 17:59
ปรับปรุง: วันที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 17:59



คมนาคม-กรมราง ประเมินผลการทดสอบขนส่งถัง LNG ทางรถไฟจาก มาบตาพุต -ชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จ.สุราษฎร์ธานี หลังรฟท. จับมือ ปตท. หวังเพิ่มสัดส่วนขนส่งทางรางสินค้าอันตราย ช่วยลดต้นทุน พร้อมเห็นชอบหลักการร่างมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ให้กรมรางประกาศใช้ต่อไป

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ครั้งที่ 4-1/2565 วันที่ 29 มีนาคม 2565 ว่า ที่ประชุมฯ รับทราบผลการทดสอบการขนส่ง LNG ทางรถไฟ ครั้งที่ 2 ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ JR-Freight ทำการทดสอบการขนส่งถัง LNG แบบยกและเคลื่อนที่ได้ (ISO Container Tank) โดยทางรถไฟจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต จังหวัดระยอง ไปยังสถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 17 - 18 มกราคม 2565 ซึ่งเป็นการทดสอบการขนส่ง LNG เป็นครั้งแรกทางรางในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางของประเทศ โดยเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เข้าร่วมการทดสอบ

สำหรับการทดสอบ การขนส่ง LNG ครั้งนี้มีจำนวน 1 ตู้ จากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต จังหวัดระยอง ถึงสถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 842 กม. ซึ่งในการทดสอบพบว่า ใช้ระยะเวลาประมาณ 22 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งรวมเวลาในการขนส่งทั้งหมด มีการขนส่งด้วยรถบรรทุกจากต้นทางมายังรถไฟ และเวลาโหลดตู้ ขึ้นลง และรวมเวลาในการรอสับหลีก ซึ่งหลังจากนี้ต้องมีการวิเคราะห์การบริการอีกครั้ง ทั้งด้านความปลอดภัยรวมถึงระยะเวลาเมื่อรถไฟทางคู่แล้วเสร็จ

โดยเบื้องต้น มีข้อเสนอแนะที่สามารถปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟยิ่งขึ้น ได้แก่

1. ผู้ที่จะขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ต้องติดป้าย UN Number รวมทั้งป้ายเตือนวัตถุอันตรายตามมาตรฐานสากล บริเวณข้างบรรจุภัณฑ์ ให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อให้สังเกตได้ง่าย 2. จัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ที่เกี่ยวข้องตลอดแนวเส้นทางการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ

3. ศึกษามาตรฐานการกองเก็บสินค้าอันตรายที่ลานกองเก็บสินค้า (Container Yard หรือ CY) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้สามารถกองเก็บสินค้าอันตรายได้อย่างปลอดภัย 4. จัดให้มีการทำชุมชนสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเรื่องการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟในพื้นที่ทั้งต้นทางและปลายทาง และ 5. การจัดหาซีลล๊อคอุปกรณ์และที่จ่ายก๊าซของตัวถังและตีตราให้เรียบร้อยก่อนขนส่ง

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ร่วมกันพิจารณา โดย ได้ดำเนินการอ้างอิงมาจาก “The Regulation concerning the International Carriage of Dangerous Goods by Rail (RID) 2021” ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้ในการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟทั่วโลก

และมอบหมายให้กรมการขนส่งทางราง รวบรวมข้อเสนอแนะของคณะทำงานก่อนออกประกาศกรมการขนส่งทางราง เป็นข้อกำหนดที่พึงปฏิบัติของการขนส่งสินค้าอันตรายทางรถไฟต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2022 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางรางจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและประชาสัมพันธ์ความรู้ ครั้งที่ 3 ส่งเสริมความรู้ด้านความปลอดภัย พัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เต็มประสิทธิภาพ
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันที่ 30 มีนาคม 2565 เวลา 11:14 น.

วันนี้ (30 มี.ค.65) เวลา 09.00 น. กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จัดกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและประชาสัมพันธ์ความรู้ ครั้งที่ 3 โครงการศึกษาการพัฒนาระบบกำกับดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการอพยพของระบบขนส่งทางราง โดยแบ่งเป็นแผนการจัดการด้านความปลอดภัยของการขนส่งทางราง (Safety Operation Plan) และการอพยพของระบบขนส่งทางราง เพื่อให้เกิดการจัดทำมาตรฐาน มาตรการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและความมั่นคงการขนส่งทางรางให้มีความเหมาะสม โดยมี ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องบอลรูม 2 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์ คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
ดร.พิเชฐฯ เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้พัฒนาระบบการขนส่งทางรางมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งโครงการรถไฟทางคู่และโครงการรถไฟความเร็วสูง รวมถึงรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และสนับสนุนการขนส่งทางรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้า ดังนั้น การที่จะยกระดับการขนส่งทางรางของประเทศ จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับการขนส่งทางรางขึ้น เพื่อให้การพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะมาตรการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางราง ตลอดจนการจัดทำร่างข้อบังคับทางกฏหมายลำดับต่างๆ สำหรับผลักดันแผนปฏิบัติการในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการระบบรางได้รับความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินทางระบบราง
สำหรับการประชุมในวันนี้ได้มีการนำเสนอข้อมูลรายละเอียดด้าน “การอพยพของระบบขนส่งทางราง” ในหัวข้อเรื่อง “แผนการจัดการด้านความปลอดภัยของการขนส่งทางราง (Safety Operation Plan)” บรรยายโดย Mr.Hans Oberkampf ที่ปรึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “การอพยพในอุโมงค์ของระบบขนส่งทางราง” บรรยายโดย Professor John Roberts ที่ปรึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ทั้งนี้ ขร. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม จึงได้จัดกิจกรรมระดมความเห็น และกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีและประชาสัมพันธ์ความรู้ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อร่วมกันพัฒนามาตรฐานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยทางราง และ ยกระดับความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนสูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 35, 36, 37 ... 64, 65, 66  Next
Page 36 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©