Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274161
ทั้งหมด:13585457
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 62, 63, 64, 65, 66  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2024 2:39 pm    Post subject: Reply with quote

ปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟโดยสารประเทศไทย พ.ศ. 2566
ผู้ใช้รวมทั้งหมด 488,735,151 คน-เที่ยว ประกอบด้วย
1. รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 464,174,569 คน-เที่ยว (94.97%)
แบ่งออกเป็น
แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 22,495,300 คน-เที่ยว (4.6%)
สายสีแดง 7,835,605 คน-เที่ยว (1.6%)
สายสีน้ำเงิน 137,313,092 คน-เที่ยว (28.1%)
สายสีม่วง 18,390,832 คน-เที่ยว (3.8%)
สายสีเหลือง 8,295,241 คน-เที่ยว (1.7%)
สายสีเขียว 264,066,131 คน-เที่ยว (54%)
สายสีทอง 2,430,934 คน-เที่ยว (0.5%)
สายสีชมพู 3,347,461 คน-เที่ยว (0.7%)
2. รถไฟระหว่างเมือง 24,560,555 คน-เที่ยว (5.03 %)
หมายเหตุ : คน-เที่ยว หมายถึง หน่วยการนับจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการ คือ ผู้โดยสารแตะเข้าสู่ระบบจนออกจากระบบ นับเป็น 1 คน-เที่ยว
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/672860378371761
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/01/2024 9:45 am    Post subject: Reply with quote

คืบหน้าเชื่อมรถไฟ"ไทย-มาเลเซีย"ดันขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนไน้รอยต่อ เล็งฟื้นเส้นทางสุไหงโก-ลก - รันเตาปันยัง
ผู้จัดการออนไลน์ 18 ม.ค. 2567 10:08

กรมราง ร่วมประชุมรถไฟ"ไทย-มาเลเซีย"(RJWC) หาทางเพิ่มความสะดวกขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนอย่างไร้รอยต่อ ผลักดันกลับมาเปิดเดินรถไฟเส้นทางสุไหงโก-ลก - รันเตาปันยัง อีกครั้งหลังปิดมากว่า 20 ปี และความเป็นไปได้เชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และนาย MOHD SHAHRIMAN BIN SHAFEIN อธิบดีกรมรถไฟ สหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นประธานร่วมการประชุม คณะทำงานความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย-มาเลเซีย(Thailand and Malaysia Railway Joint Working Committee: RJWC) ครั้งที่ 2 เพื่อผลักดันการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย และมาเลเซีย พร้อมด้วยนายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้าร่วม

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า ในที่ประชุมทั้งสองฝ่ายได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยและมาเลเซียที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าจะร่วมมือกันเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางและอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ ตามที่มีการพบกันระหว่างผู้นำสองประเทศระหว่าง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย และ ดาโต๊ะ ซรี อันวาร์ บิน อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนปี 2566 ที่ผ่านมา ที่ได้ยืนยันถึงความสำคัญของการพัฒนาชายแดนร่วมกัน และเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นระหว่างไทยและมาเลเซีย

สำหรับประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยและมาเลเซียในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. การเดินรถไฟข้ามพรมแดนอย่างไร้รอยต่อ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางรางผ่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ในประเด็นด้านมาตรฐาน ทั้งกฎระเบียบและการขนส่งข้ามพรมแดนที่ไร้รอยต่อ ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขสัญญาระหว่างรัฐบาลสหรัฐมลายูกับรัฐบาลสยาม เพื่อความสะดวกในการเดินรถไฟ ระหว่างพระราชอาณาจักรสยาม กับกลันตัน ไทรบุรี เปอร์ลิศ และสหรัฐมลายู ปี 2465 โดยมุ่งเน้นการลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง รวมทั้งการประสานงานด้านพิธีการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง

ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงในการเดินรถไฟข้ามพรมแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส อำเภอตากใบ และความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสุไหงโก-ลก – ปาเสมัส เข้ากับเส้นทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (East Coast Rail Link: ECRL) ของมาเลเซีย ซึ่งฝ่ายไทยมีความพร้อมในการกลับมาเปิดเดินรถในเส้นทางสุไหงโก-ลก - รันเตาปันยัง ซึ่งเคยเป็นเส้นทางรถไฟที่ใช้บริการขนส่งมวลชนและสินค้าในอดีตและได้หยุดให้บริการมากว่า 20 ปี เนื่องจากประเด็นความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยและปัญหาการลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย

โดย รฟท. ได้ทำการปรับปรุงสะพานทางรถไฟที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย สุดทางรถไฟสายใต้ที่สุไหงโก-ลกแล้วและฝ่ายไทยได้นำเสนอข้อมูลสถานะความคืบหน้าการพัฒนารถไฟทางคู่สายใต้ของไทยให้ฝ่ายมาเลเซียได้รับทราบ

นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการด้านระบบราง เช่น การแลกเปลี่ยนฝึกอบรมบุคลากรด้านระบบราง ตลอดจนการทบทวนและแก้ไขความตกลงเดินรถไฟระหว่างไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) เพื่อให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

2. การเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานทางราง โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย-มาเลเซีย

การประชุมครั้งถัดไปมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2567 โดยฝ่ายมาเลเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 3 เพื่อติดตามประเด็นที่ต้องการผลักดันร่วมกันในในระยะถัดไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/01/2024 11:04 am    Post subject: Reply with quote

กรมราง เล็งต่อเวลาค่าโดยสาร 20 บาทสายสีแดง-ม่วง/ขยายเพิ่มสายสีชมพู-เหลือง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 ม.ค. 67) ข่าวทั่วไป 9:10น.

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง ว่า เป็นการสัมมนารับฟังความคิดเห็น พร้อมนำเสนอข้อสรุปการศึกษาครั้งสุดท้าย โดยจะสรุปผลการศึกษาภายในเดือนก.พ. 2567 และนำเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป

สำหรับผลการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้าและหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง ประกอบด้วย

1. ) อัตราค่าโดยสารระหว่างเมือง คำนวณอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง แบ่งได้ดังนี้

ชั้น 1 :

ระยะทาง 100 กม. แรก ราคา 1.165 บาทต่อ กม.

ระยะทาง 101 – 200 กม. ราคา 1.066 บาทต่อ กม.

ระยะทาง 201 – 300 กม. ราคา 0.981 บาทต่อ กม.

ระยะทางมากกว่า 300 กม. ราคา 0.924 บาทต่อ กม.

ทั้งนี้ การขึ้นค่าโดยสารจะไม่เกิน 25% จากความพึงพอใจที่จะจ่าย

ชั้น 2 :

ระยะทาง 100 กม. แรก ราคา 0.610 บาทต่อ กม.

ระยะทาง 101 – 200 กม. ราคา 0.525 บาทต่อ กม.

ระยะทาง 201 – 300 กม. ราคา 0.469 บาทต่อ กม.

ระยะทางมากกว่า 300 กม. ราคา 0.420 บาทต่อ กม.

ทั้งนี้ การขึ้นค่าโดยสารจะไม่เกิน 25% จากความพึงพอใจที่จะจ่าย และขึ้นค่าโดยสารเฉพาะตู้นอน


ชั้น 3 :

ระยะทาง 100 กม. แรก ราคา 0.269 บาทต่อ กม.

ระยะทาง 101 – 200 กม. ราคา 0.255 บาทต่อ กม.

ระยะทาง 201 – 300 กม. ราคา 0.200 บาทต่อ กม.

ระยะทาง มากกว่า 300 กม. ราคา 0.181 บาทต่อ กม.

2.) อัตราค่าโดยสารเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณตาม MRT Standardization (MRT STD) ทั้งค่าแรกเข้าและอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง (บาท/กม.) การคำนวณค่าโดยสารขั้นสูง คือ ค่าแรกเข้า + (อัตราค่าโดยสาร (บาท/กม.) x ระยะทางเปอร์เซนไทล์ที่ 85) และการขึ้นค่าโดยสารจะใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค แบบไม่รวมอาหารละเครื่องดื่ม (CPI NFB) กรุงเทพฯ

3.) อัตราค่าโดยสารในเมือง ภูมิภาค 7 จังหวัด มีหลักเกณฑ์การคำนวณตาม MRT STD โดยใช้ CPI NFB รายจังหวัด คือ ค่าแรกเข้า (10.79 – 12.17 บาท) และอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง (บาท/กม.) (1.94 – 2.19 บาทต่อ กม.) ทั้งนี้ มีหลักเกณฑ์การคำนวณค่าโดยสารขั้นสูง คือ ค่าแรกเข้า + (อัตราค่าโดยสาร (บาท/กม.) x ระยะทางเปอร์เซนไทล์ที่ 85)

4.) อัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง เมื่อพิจารณาต้นทุนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว จะกำหนดค่าแรกเข้า (95 บาท) และอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง (บาท/กม.) โดยระยะทาง 300 กม. แรก ราคา 1.97 บาทต่อ กม. และระยะทางมากกว่า 300 กม. ราคา 1.70 บาทต่อ กม. ทั้งนี้ การขึ้นค่าโดยสารจะใช้ CPI NFB ทั่วประเทศ

เล็งขยายใช้มาตรการ 20 บาทสายสีแดง-ม่วงต่อ

ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคม มีนโยบายลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และเพื่อให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งทางรางมากขึ้น โดยปรับลดอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566 นำร่อง 2 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) (สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และ โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน โดยจำนวนผู้โดยสารก่อนเริ่มมาตรการเปรียบเทียบหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย พบว่า มีค่าเฉลี่ยของปริมาณผู้โดยสาร ในช่วงวันทำงาน และช่วงวันหยุดเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาดการณ์ และทำให้ประเมินตัวเลขที่รัฐต้องชดเชยรายได้ของทั้ง 2 สายที่ประมาณ 300 ล้านบาท/ ปี ก็จะลดลงไปด้วย

โดยกรมรางจะจัดเก็บข้อมูล เพื่อรายงานต่อกระทรวงคมนาคม ตัดสินใจก่อน วันที่ 16 ต.ค. 2567 ที่จะครบ 1 ปี เพื่อให้นโยบายพิจารณาว่าจะใช้มาตรการ 20 บาทต่อไปหรือไม่ ซึ่งมั่นใจว่าในรอบปีต่อไป การชดเชยส่วนต่างรายได้จะลดลงจาก 300 ล้านบาท/ปี ตามสัดส่วนปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่งผ่านมา 3 เดือน หาก อีก 9 เดือน มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น เช่น 25% ค่าชดเชยจะลดลง 25% เป็นต้น ซึ่งกรมรางจะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนาปรับปรุงระบบฟีดเดอร์เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความสะดวกและกระตุ้นให้ประชาชนมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มคาดว่าจะเห็นผลในอีก 3 เดือนข้างหน้า

ลุ้นขยาย 20 บาท “ชมพู-เหลือง”

ขณะที่กรมรางมีแนวคิดในการขยายมาตรการ ค่าโดยสาร 20 บาท กับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ที่จำนวนผู้โดยสารอยู่ในระดับ 4-5 หมื่นคน ไม่มากเกินไป

โดยประเมินว่า รฟม.ยังสามารถนำรายได้ส่วนแบ่งจากสัมปทานสายสีน้ำเงิน มาชดเชยให้ สีเหลืองและสีชมพูได้ ซึ่งจะมีการหารือแนวทางกับกระทรวงคมนาคมในสัปดาห์หน้า ส่วน สายสีน้ำเงินมีผู้โดยสาร เฉลี่ยกว่า 3 แสนคน/วัน สายสีเขียวมี 7-8 แสนคน/วัน ผู้โดยสารค่อนข้างมาก ดังนั้นการชดเชยอาจจะทำลำบาก

เสนอรัฐลงทุนระบบราง 100% เหมือนงบสร้าง-ซ่อม ถนน

ที่ผ่านมา ระบบรางมีการลงทุนแบบ PPP ทั้งแบบรัฐลงทุนโครงสร้างงานโยธา 70% เอกชนลงทุนระบบและเดินรถซ่อมบำรุง30% หรือให้เอกชนลงทุน 100% ซึ่งเอกชนจึงต้องบวกค่าดำเนินการและซ่อมบำรุงไปที่ค่าโดยสาร ในขณะที่การขนส่งทางบก รัฐเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ก่อสร้างถนน ซ่อมบำรุง รวมไปถึงอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลอีก โดยช่วง 18 เดือน รัฐอุ้มดีเซลไปเป็นเงินกว่า 1.7 แสนล้านบาท

ดังนั้น ในระยะยาว การศึกษาของกรมรางจึงเห็นว่า ในโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ๆจากนี้ รัฐควรลงทุนระบบราง 100% เหมือนลงทุนถนน ที่รัฐจัดสรรงบประมาณก่อสร้างถนนและซ่อมบำรุงซึ่งจะเป็นรูปแบบ PPP Gross Cost รัฐลงทุนหมด 100% แล้วจ้างเอกชนมาเดินรถ ซึ่งจะทำให้รัฐกำหนดค่าโดยสารได้ โดยหลังพ.ร.บ.ขนส่งทางราง…มีผลบังคบใช้ กรมรางจะเสนอคณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณา แต่ประเด็นคือ พอบอกให้รัฐลงทุนระบบราง ขนส่งมวลชนมีคำถาม แต่เวลารัฐจัดงบก่อสร้างถนนหรืออุ้มราคาน้ำมันดีเซลกลับไม่มีคำถาม เรื่องภาระงบประมาณ

ส่งร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง เสนอคมนาคมก.พ.นี้ เร่งชงครม.

นายพิเชฐ กล่าวว่า การจัดทำอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้าและหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง จะเป็นหนึ่งในหมวดของร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ. ….ที่ปัจจุบันพ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ. ….นั้นอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความเห็น ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2567 โดยหลังปิดรับฟังความเห็น กรมฯจะทำบทวิเคราะห์ความเห็น และนำเสนอกระทรวงคมนาคมภายในเดือนก.พ. 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระ 1 ต่อไป คาดว่าจะบังคับใช้ได้ในปลายปี 2567

สภาองค์กรผู้บริโภคแนะค่าโดยสาร 5-10% ของรายได้ เหมาะสมที่สุด

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวในเวที เสวนา “โอกาสในการเข้าถึงการพัฒนาพื้นที่ กระจายความเจริญ จากนโยบายค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนทางราง” ว่า รัฐควรกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าไม่เกิน 5-10% ของรายได้ขั้นต่ำและทำเป็นกลไกอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหลักสากลที่หลายประเทศใช้อีกทั้งไม่ต้องมีปัญหากับผู้ให้บริการ โดยไม่มีค่าแรกเข้าที่ซ้ำซ้อน มีเส้นทางครอบคลุมนอกจากนี้ ต้องให้ประชาชนเข้าถึงระบบได้ใน 15 นาที หรือ 500 เมตร และมีความถี่ไม่เกิน 15 นาทีในชั่วโมงเร่งด่วนและ ไม่เกิน 30 นาทีในช่วงนอกเร่งด่วน

ทั้งนี้ภาคประชาชนสนับสนุนค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท โดยรัฐบาลทั่วโลกเป็นผู้ลงทุนขนส่งสาธารณะและไม่มีประเทศไหนที่ประชาชนจ่ายค่าโดยสาร 100% โดยรัฐไม่อุดหนุน เพราะระบบขนส่งมวลชน จะเป็นคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดปัญหา PM2.5 ซึ่งในปี 2566 คนไทยป่วยไปโรงพยาบาลด้วยปัญหา PM2.5 ถึง 1.739 ล้านคน ซึ่วคิดเป็นค่าใช้จ่ายสาธารณสุบ 1.20 หมื่นล้านบาท ประชาชนเสียค่าเดินทางไปโรงพยาบาลและขาดรายได้ ราว 3,000-5,000 ล้านบาท

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 ม.ค. 67)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2024 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คืบหน้าเชื่อมรถไฟ"ไทย-มาเลเซีย"ดันขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนไน้รอยต่อ เล็งฟื้นเส้นทางสุไหงโก-ลก - รันเตาปันยัง
ผู้จัดการออนไลน์ 18 ม.ค. 2567 10:08



ที่มาของข่าว

กรมการขนส่งทางราง ร่วมประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย-มาเลเซีย(Thailand and Malaysia Railway Joint Working Committee: RJWC) ครั้งที่ ๒ เพื่อผลักดัน
การบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย และมาเลเซีย
วันนี้ (17 มกราคม 2567) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง และนาย MOHD SHAHRIMAN BIN SHAFEIN อธิบดีกรมรถไฟ สหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นประธานร่วมการประชุม พร้อมด้วย
นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าร่วม
การประชุม ณ ห้องราชดำเนิน อาคารสโมสรและหอประชุม ชั้น 2 กระทรวงคมนาคม ที่ประชุมทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยและมาเลเซียในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การเดินรถไฟข้ามพรมแดนอย่างไร้รอยต่อ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับแนวทางการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าทางรางผ่านชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมุ่งเน้นการลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง รวมทั้งการประสานงานด้านพิธีการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการด้านระบบราง เช่น การแลกเปลี่ยนฝึกอบรมบุคลากรด้านระบบราง ตลอดจนการทบทวนและแก้ไขความตกลงเดินรถไฟระหว่างไทย-มาเลเซีย พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) เพื่อให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
2. การเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานทางราง ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย-มาเลเซีย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสุไหงโก-ลก – ปาเสมัส เข้ากับเส้นทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (East Coast Rail Link: ECRL) ของมาเลเซีย และแนวทางการเชื่อมต่อรถไฟทางคู่ของมาเลเซียในปัจจุบันกับโครงการรถไฟทางคู่ของไทยในอนาคต
โดย ดร. พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า ที่ประชุมทั้งสองฝ่ายได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทยและมาเลเซียที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าจะร่วมมือกันเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางและอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ ตามที่มีการพบกันระหว่างผู้นำสองประเทศระหว่างท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และท่านนายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซรี อันวาร์ บิน อิบราฮิม ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา ที่ได้ยืนยันถึงความสำคัญของการพัฒนาชายแดนร่วมกัน และเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นระหว่างไทยและมาเลเซีย
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/679764917681307
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/01/2024 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
18 ม.ค. 67 11:28 น.

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งทางรางของไทย 2030
เชื่อมโครงข่ายระบบราง สร้างทางสายใหม่ ขยายทางคู่ มุ่งสู่ไฮสปีด เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ร่วมผลักดันเทคโนโลยี ราคาที่เหมาะสม เพื่อการคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=680217237636075&set=a.237099418614528

English version https://www.facebook.com/photo.php?fbid=680283820962750&set=a.237099421947861
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/01/2024 3:04 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมเสนอค่ารถไฟสายชมพู-เหลือง สูงสุด 20 บาทตลอดสาย | จับตาสถานการณ์ | 18 ม.ค. 67
Thai PBS

อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า สรุปผลการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารระบบราง จะสามารถกำหนดได้ เฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ เท่านั้น ส่วนนโนบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ยืนยันว่า ทำได้ก่อนในสายสีชมพูและสายสีเหลือง


https://www.youtube.com/watch?v=46RmqbjLIV0


รถไฟฟ้าเมืองไทยอยู่ในมือของใครกันบ้าง ? | เศรษฐกิจติดบ้าน
Thai PBS

ในช่วงระยะหลังมานี้กรุงเทพมหานครมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นหลายสาย สามารถเชื่อมต่อการเดินทางทั้งจากภายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า รถไฟฟ้าที่วิ่งกันอยู่ภายในกรุงเทพฯ นั้นปัจจุบันมีทั้งหมดกี่สาย แล้วแต่ละสายมีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้จัดการเดินรถบ้าง ? เจ้าของแต่ละลายส่งผลถึงผู้โดยสารอย่างไรบ้าง ? ร่วมพูดคุยเพื่อหาคำตอบในประเด็นนี้กับ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และริชาร์ต วัชราทิตย์ เกษศรี

ติดตามชมช่วงเศรษฐกิจติดบ้าน ได้ในรายการวันใหม่วาไรตี้ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 - 10.00 น.


https://www.youtube.com/watch?v=LYKOm7BgxZc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2024 9:02 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กรมราง เล็งต่อเวลาค่าโดยสาร 20 บาทสายสีแดง-ม่วง/ขยายเพิ่มสายสีชมพู-เหลือง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 ม.ค. 67) ข่าวทั่วไป 9:10น.


ที่มาของข่าว: วันนี้ (17 มกราคม 2567) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง พร้อมจัดเสวนา “โอกาสในการเข้าถึงการพัฒนาพื้นที่ กระจายความเจริญ จากนโยบายค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนทางราง” ณ ห้องพญาไท 4 ชั้น 6 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/679701087687690
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2024 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
กรมราง เล็งต่อเวลาค่าโดยสาร 20 บาทสายสีแดง-ม่วง/ขยายเพิ่มสายสีชมพู-เหลือง
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18 ม.ค. 67) ข่าวทั่วไป 9:10น.


ที่มาของข่าว: วันนี้ (17 มกราคม 2567) ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 โครงการศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นสูง ค่าแรกเข้า และหลักเกณฑ์การขึ้นอัตราค่าโดยสารขนส่งมวลชนระบบราง พร้อมจัดเสวนา “โอกาสในการเข้าถึงการพัฒนาพื้นที่ กระจายความเจริญ จากนโยบายค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนทางราง” ณ ห้องพญาไท 4 ชั้น 6 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/679701087687690

‘กรมราง’ แนะรัฐควรมีบทบบาทลงทุนระบบราง 100% เหมือนทำถนน
วันพฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2567 เวลา 10:00 น. isranews

‘กรมราง’ อัปเดตเรื่องระบบราง ชี้รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วงที่เก็บ 20 บ.ตลอดสายบ ผู้โดยสารเพิ่ม ชดชเยรายได้ลดลง เตรียมหารือ ‘คมนาคม’ ดัน ‘สายสีเหลือง-ชมพู’ เก็บ 20 บ.ในปีนี้ ก่อนแนะนำรัฐบาลควรมีบทบาทลงทุนทำระบบราง 100% เหมือนที่ลงทุนสร้างถนนเองหมด ก่อนเล็งรื้อใหม่ พ.ร.บ.กรมราง เสนอคมนาคมก.พ.นี้ ด้านสภาผู้บริโภคแนะ ค่าโดยสารไม่ควรเกิน 5-10% ของรายได้ประชาชน

https://www.isranews.org/article/isranews/125580-isranews-1000-1000-284.html
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44652
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2024 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า “สายสีแดง” นิวไฮ! ศุกร์สิ้นเดือนแรกปี 67 ผู้โดยสารใช้บริการทะลุ 3.5 หมื่นคน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
Saturday, January 27, 2024 13:26

ศุกร์สิ้นเดือนแรกปี 67 “สายสีแดง” ทำสถิติผู้โดยสารใช้บริการนิวไฮ ทะลุ 3.5 หมื่นคน ขณะที่ภาพรวมทั้งระบบมีผู้ใช้บริการ 1.7 ล้านคน “สุรพงษ์” สั่งจัดฟีดเดอร์ เพิ่มศักยภาพจุดเชื่อมต่อสีม่วง/แดง ขณะที่ “กรมราง” ประสาน รฟฟท.-บีทีเอส เตรียมพร้อมรับผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเที่ยวงานเกษตรแฟร์ คาดทะลักเหมือนปีที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 26 ม.ค.67 ซึ่งเป็นวันศุกร์สิ้นเดือนแรกของปี 67 หลังจากมีนโยบายอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตั้งแต่ 16 ต.ค.66 มีผู้ใช้บริการสายสีแดง 35,463 คน-เที่ยว (รวมผู้ใช้รถไฟทางไกลต่อสายสีแดงฟรี 111 คน-เที่ยว) สูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการมา โดยมีผู้ใช้บริการระบบรางรวมทั้งสิ้น 1,742,807 คน-เที่ยว ประกอบด้วย 1.รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ให้บริการเดินรถไฟ 212 ขบวน มีผู้ใช้บริการรวม 83,132 คน-เที่ยว แบ่งเป็น ขบวนรถเชิงพาณิชย์ 29,308 คน-เที่ยว และขบวนรถเชิงสังคม 53,824 คน-เที่ยว

และ 2.รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,659,675 คน-เที่ยว ประกอบด้วย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้บริการ 224 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 9 เที่ยววิ่ง) 77,223 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้าสายสีแดง ให้บริการ 294 เที่ยววิ่ง35,463 คน-เที่ยว (รวมผู้โดยสารรถไฟทางไกลใช้บริการสายสีแดงฟรี 111 คน-เที่ยว) สูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง (นิวไฮ) โดยนิวไฮสายสีแดงครั้งก่อนเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.66 จำนวน 34,719 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ให้บริการ 321 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 3 เที่ยววิ่ง) จำนวน 79,996 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ให้บริการ 488 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 36 เที่ยววิ่ง) 512,685 คน-เที่ยว

รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว (สายสุขุมวิทและสายสีลม) ให้บริการ 1,240 เที่ยววิ่ง 847,525 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้าBTS สายสีทอง ให้บริการ 170 เที่ยววิ่ง 7,102 คน-เที่ยว, รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองให้บริการ 276 เที่ยววิ่ง40,479 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูให้บริการ 384 เที่ยววิ่ง 59,202 คน-เที่ยว อย่างไรก็ตามนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ได้สั่งการให้มีการจัดระบบฟีดเดอร์ (feeder) เพื่ออำนวยความสะดวก และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางป้อนผู้โดยสารให้กับระบบราง โดยเฉพาะสายสีม่วง และสายสีแดง ให้เพิ่มศักยภาพจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญต่างๆ อาทิ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ศิริราช และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต่อไป

นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ขร. ได้ประสานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะมาร่วมงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 2-10 ก.พ.67 โดยใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ที่สถานีบางเขน และรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท ที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมากดังเช่นปีที่ผ่านมา.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2024 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟฟ้า “สายสีแดง” นิวไฮ! ศุกร์สิ้นเดือนแรกปี 67 ผู้โดยสารใช้บริการทะลุ 3.5 หมื่นคน | เดลินิวส์
Source - เว็บไซต์เดลินิวส์
วันเสาร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 13:26 น.


นิวไฮต่อเนื่อง! ศุกร์26 ม.ค. สายสีแดงผู้โดยสารพุ่ง 3.54 หมื่นคน “สุรพงษ์”สั่งเตรียมพร้อมช่วง”เกษตรแฟร์”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:21 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:21 น.


กรมราง เผยศุกร์สิ้นเดือนม.ค. สายสีแดง ผู้โดยสารทุบสถิติทะลุ 3.54 หมื่นคน-เที่ยว ผลพวงค่าโดยสาร 20 บาท “สุรพงษ์”สั่งเร่ง จัดระบบฟีดเดอร์ เชื่อมเข้าสถานีเพิ่มความสะดวก และเตรียมพร้อมรับการเดินทาง ช่วงงานเกษตรแฟร์
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567 มีผู้ใช้บริการสายสีแดง 35,463 คน-เที่ยว (รวมผู้ใช้รถไฟทางไกลต่อสายสีแดงฟรี 111 คน-เที่ยว) นับเป็นจำนวนผู้โดยสารสูงสุดตั้งแต่ สายสีแดงเปิดให้บริการมา และเป็นผลส่วนหนึ่ง ที่มาจาก นโยบายอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ที่เริ่มตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2566

ขณะที่ ผู้ใช้บริการระบบราง ในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567 รวมทั้งสิ้น 1,742,807 คน-เที่ยว ประกอบด้วย


1. รถไฟระหว่างเมืองของ รฟท. ให้บริการเดินรถไฟ 212 ขบวน มีผู้ใช้บริการรวม 83,132 คน-เที่ยว แบ่งเป็นขบวนรถเชิงพาณิชย์ 29,308 คน-เที่ยว และขบวนรถเชิงสังคม 53,824 คน-เที่ยว



2. รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1,659,675 คน-เที่ยว ประกอบด้วย

- รถไฟฟ้า Airport Rail Link ให้บริการ 224 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 9 เที่ยววิ่ง) จำนวน 77,223 คน-เที่ยว

- รถไฟฟ้าสายสีแดง ให้บริการ 294 เที่ยววิ่ง จำนวน 35,463 คน-เที่ยว (รวมผู้โดยสารรถไฟทางไกลใช้บริการสายสีแดงฟรี 111 คน-เที่ยว) สูงสุดตั้งแต่เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง (นิวไฮ) (รวมทางไกลต่อสายสีแดงฟรี 145 คน-เที่ยว) (นิวไฮสายสีแดงครั้งก่อนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 จำนวน 34,719 คน-เที่ยว)

- รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ให้บริการ 321 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 3 เที่ยววิ่ง) จำนวน 79,996 คน-เที่ยว

- รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ให้บริการ 488 เที่ยววิ่ง (รวมเสริม 36 เที่ยววิ่ง) จำนวน 512,685 คน-เที่ยว

- รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว (สายสุขุมวิทและสายสีลม) ให้บริการ 1,240 เที่ยววิ่ง จำนวน 847,525 คน-เที่ยว

- รถไฟฟ้า BTS สายสีทอง ให้บริการ 170 เที่ยววิ่ง จำนวน 7,102 คน-เที่ยว

- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองให้บริการ 276 เที่ยววิ่ง จำนวน 40,479 คน-เที่ยว

-รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูให้บริการ 384 เที่ยววิ่ง จำนวน 59,202 คน-เที่ยว



ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้มีการจัดระบบฟีดเดอร์ (feeder) เพื่ออำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางป้อนผู้โดยสารให้กับระบบราง โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดง ภายหลังจากได้มีการปรับค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายแล้ว พบว่า มีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการในปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จึงมีแนวทางเพิ่มศักยภาพจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญต่าง ๆ ที่ควรนำมาใช้อำนวยความสะดวก อาทิ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ศิริราช ตลอดจนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต่อไป



นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางรางได้ประสานบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะมาร่วมงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 2-10 กุมภาพันธ์ 2567 โดยใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ที่สถานีบางเขน และรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท ที่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมากดังเช่นปีที่ผ่านมา

“กรมการขนส่งทางราง” เผยวันศุกร์สิ้นเดือนแรกของปี 67 หลังมีนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย สำหรับสายสีแดงและสายสีม่วง ทำให้มีประชาชนใช้บริการสายสีแดงเพิ่มขึ้นสูงสุด (นิวไฮ) ต่อเนื่องตั้งแต่มีการเปิดให้บริการเดินรถมา
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/685670100424122
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 62, 63, 64, 65, 66  Next
Page 63 of 66

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©