RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311409
ทั่วไป:13309370
ทั้งหมด:13620779
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - มอเตอร์เวย์ใหม่ สร้างถึงไหนแล้ว และข่าวทางหลวง ถนน สะพาน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

มอเตอร์เวย์ใหม่ สร้างถึงไหนแล้ว และข่าวทางหลวง ถนน สะพาน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 15, 16, 17  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2022 6:53 am    Post subject: Reply with quote

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ประตูการค้าเชื่อมอาเซียน | TNN ข่าวค่ำ | 28 ต.ค. 65
Oct 28, 2022
TNN_Online


https://www.youtube.com/watch?v=6p6ea0KqcYM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2022 7:13 am    Post subject: Reply with quote

เปิดเส้นทางใหม่ สถานีรถไฟบางซื่อ-วัดเสมียนนารี หลังอุโมงค์รถไฟเปิด 1 พ.ย.นี้
เผยแพร่: 29 ต.ค. 2565 04:50
ปรับปรุง: 29 ต.ค. 2565 04:50
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ศึกษาเส้นทางใหม่ อุโมงค์ลอดทางรถไฟ สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงจตุจักร เชื่อมต่อถนนกำแพงเพชร 6 จากวัดเสมียนนารี ไปยังสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ปูนซีเมนต์ไทย และถนนเทอดดำริ ไปถนนสวรรคโลกและแยกยมราช

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมเปิดใช้อุโมงค์ลอดทางรถไฟ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง จตุจักร ในวันที่ 1 พ.ย. 2565 เป็นต้นไป เพื่ออำนวยความสะดวก และแก้ไขปัญหาการจราจรของประชาชนในพื้นที่เขตบางซื่อและใกล้เคียง หลังก่อสร้างพร้อมกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยอุโมงค์ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2563 แต่ไม่ได้เปิดใช้บริการมานานกว่า 2 ปี กระทั่งเกิดปัญหาน้ำท่วมอุโมงค์และขยะลอยเกลื่อน และมีคนร้ายลักลอบขโมยสายไฟ

อาจมีคนสงสัยว่า อุโมงค์แห่งนี้จะเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่บางซื่อและใกล้เคียงอย่างไร?

Click on the image for full size

ย้อนกลับไปในอดีต มีการก่อสร้างถนนโลคัลโรด (Local Road) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2540 สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น รมว.คมนาคม หลังบอกเลิกสัญญาโครงการโฮปเวลล์ เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพปี 2541 ระยะทาง 33.79 กิโลเมตร มีกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ แบ่งการก่อสร้างเป็น 10 ตอน งบประมาณ 693.23 ล้านบาท เป็นถนนนลาดยางขนาด 4 ช่องจราจร มีกำแพงคอนกรีตกั้นระหว่างถนนกับทางรถไฟ มีการควบคุมน้ำหนัก ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกผ่านเข้าวิ่ง ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2541

ถนนโลคัลโรดแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 จากถนนรังสิต-ปทุมธานี เลียบทางรถไฟสายเหนือ ถึงถนนกำแพงเพชร 2 บริเวณสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ เรียกว่าถนนกำแพงเพชร 6, ช่วงที่ 2 จากบริเวณคลองบางซื่อ เลียบทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออก ถึงถนนพระราม 6 ใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ เรียกว่าถนนกำแพงเพชร 5 และช่วงที่ 3 จากถนนนิคมมักกะสัน เลียบทางรถไฟสายตะวันออก ถึงถนนศรีนครินทร์ เรียกว่าถนนกำแพงเพชร 7

ต่อมาในปี 2558 การรถไฟฯ ได้ปิดถนนกำแพงเพชร 6 เริ่มตั้งแต่ด้านหลังสถานีขนส่งหมอชิต ถึงที่หยุดรถไฟ กม.11 บริเวณใต้ทางด่วนศรีรัชเป็นการถาวร เพื่อก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยได้ก่อสร้างถนนใหม่ทดแทน บริเวณฝั่งทิศเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2 รวมทั้งก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟสายใต้ตรงจุดดังกล่าว ซึ่งเดิมเป็นทางตัน ถนนเลียบทางรถไฟไปยังชุมชนสวนผัก ชุมชนเคหะสถานเจริญชัย ชุมชนภักดี และชุมชน กม.11 เพื่อเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ถนนเทอดดำริ และถนนประดิพัทธ์

เมื่อเปิดการจราจรอุโมงค์ลอดทางรถไฟ การเดินทางไปยังอุโมงค์ดังกล่าว จะเริ่มจากสี่แยกวัดเสมียนนารี ถนนเทศบาลสงเคราะห์ ตัดกับถนนกำแพงเพชร 6 แล้ว แนวเส้นทางจะอยู่ใต้ทางรถไฟยกระดับสายสีแดง ผ่านโครงการบ้านกลางเมืองมอนติคาโล บ้านกลางเมืองรัชวิภา บ้านกลางกรุง สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงจตุจักร ชุมชนเคหะสถานเจริญชัย โรงแรมตึกเขียว ก่อนลอดอุโมงค์ จากนั้นจะเป็นถนนรถไฟ 1 ผ่านชุมชนตึกแดง โรงจักรดีเซลบางซื่อ มีทางลัดซอยประชาชื่น 4 แยก 4-1 ไปออกถนนประชาชื่น บริเวณสำนักงานเขตบางซื่อ

จากนั้นจะเป็นสามแยก ถ้าเลี้ยวซ้าย จะไปบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ สถานีรถไฟฟ้า MRT บางซื่อ ซอยปูนซีเมนต์ไทย (ไปถนนเตชะวณิช และถนนประชาราษฎร์ สาย 2) ถนนเทอดดำริ แต่ถ้าเลี้ยวขวาจะไปกองบังคับการตำรวจรถไฟ และแฟลตตำรวจรถไฟบางซื่อ สภาพถนนบริเวณดังกล่าว แม้จะมีช่องจราจร 4 ช่องจราจร แต่พบว่าที่ผ่านมากลายเป็นที่จอดรถยนต์และรถทัวร์ เนื่องจากมีชุมชนตั้งอยู่ตลอดเส้นทาง และผ่านเขตชุมชน จึงใช้ความเร็วได้ไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม หากสภาพการจราจรติดขัดบนถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธิน อุโมงค์เส้นนี้จะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการสัญจร (ควรตรวจสอบสภาพการจราจรก่อนเดินทาง) โดยเริ่มจากแยกยมราช ไปทางถนนสวรรคโลก ผ่านถนนศรีอยุธยา ถนนราชวิถี ถนนสุโขทัย ถนนนครไชยศรี ต่อเนื่องถนนเทอดดำริ ผ่านสถานีรถไฟสามเสน ถนนเศรษฐศิริ กรมยุทธศึกษาทหารบก ถนนระนอง 2 ถนนระนอง 1 กรมสวัสดิการทหารบก ถนนประดิพัทธ์ อาคารสวัสดิการกองทัพบกส่วนกลางบางซื่อ ข้ามสะพานปูนซีเมนต์ไทย 1 ถึงสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อให้ตรงไป ผ่านบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ถึงทางโค้งจะเจอสามแยก เลี้ยวขวา ผ่านชุมชนตึกแดง ลอดอุโมงค์รถไฟ ผ่านสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงจตุจักร ถึงแยกวัดเสมียนนารี

จากจุดนี้สามารถเลี้ยวขวาไปถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวซ้ายไปออกถนนประชาชื่น หรือจะตรงไปตามถนนกำแพงเพชร 6 ก็ได้ ซึ่งจะผ่านถนนงามวงศ์วาน (เลี้ยวซ้าย ไปแคราย บางใหญ่ บางบัวทอง) ถนนนอร์ทพาร์ค สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนแจ้งวัฒนะ (เลี้ยวซ้าย ไปปากเกร็ด ถนนราชพฤกษ์) ถนนเคหะทุ่งสองห้อง ถนนช่างอากาศอุทิศ ถนนสรงประภา (เลี้ยวซ้ายไปถนนศรีสมาน ออกถนนติวานนท์ สะพานนนทบุรี และถนน 345) ถนนเดชะตุงคะ (เลี้ยวซ้ายไปโรงพยาบาลทหารอากาศ สีกัน) หมู่บ้านแกรนด์คาแนล ดอนเมือง ตลาดสี่มุมเมือง (เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานไปตลาดสี่มุมเมือง) สิ้นสุดที่ถนนรังสิต-ปทุมธานี (เลี้ยวซ้ายไปจังหวัดปทุมธานี หรือกลับรถที่แยกบางพูนเพื่อไปยังรังสิตได้)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2022 9:03 am    Post subject: Reply with quote

Time Lapse งานวางคานสะพานลอย น้ำหนัก 160 ตัน ยาว 30 เมตร ข้ามถนนทางเลี่ยงเมืองสาย 366 ลพบุรี
Oct 31, 2022
sawang songmue นานาสาระ


https://www.youtube.com/watch?v=m8q6cZ_vRf8


ชมยาวๆ!!.มอเตอร์เวย์ สายพระราม2 ตั้งแต่บางขุนเทียนไปจนถึงบ้านแพ้ว 25 กม.
Oct 31, 2022
ัvnp story

พาชม..ตั้งแต่ช่วงที่ 1 ด่านบางขุนเทียน-ถนนเอกชัย และช่วงที่2 ถนนเอกชัย -บ้านแพ้ว ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ การจราจรที่ติดขัดบนถนนพระราม 2ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ภาคใต้บริเวณบางขุนเทียน จนไปถึงตัวเมืองสมุทรสาครเป็นช่วงที่มีการจราจรหนาแน่นเฉลี่ยราว1.3แสนคันต่อวันโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน

กรมทางหลวงพยายามแก้ปัญหามาโดยตลอด ทางยกระดับมอเตอร์เวย์สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว (M82) เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดและรองรับจำนวนรถยนต์ที่นับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น

คลิปนี้ผมจะพาชม ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว (M82)ระยะทางรวม 25 กิโลเมตร
วงเงินลงทุนรวม 30,420 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้าง 30,200 ล้านบาท และ ค่าเวนคืน 220 ล้านบาท มีด่านเก้บค่าผ่านทางทั้งหมด 7ด่าน 1.ด่านบางขุนเทียน 2.ด่านพันท้ายนรสิงห์ 3.ด่านมหาชัย 1 4.ด่านมหาชัย 2 5.ด่านสมุทรสาคร 1 6.ด่านสมุทรสาคร 2 7.ด่านบ้านแพ้ว1


https://www.youtube.com/watch?v=R4iyFGLUnNc


รายงาน: ปูพรมเมกะโปรเจ็กต์ พลิกโฉม'บึงกาฬ'
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, November 02, 2022 05:29

*ยงยุทธ ขาวโกมล

สะพานข้ามโขง 5 คืบหน้าแล้ว 62% มั่นใจพร้อมเปิดใช้ตามแผนปี 2571 ไล่เลี่ยกับเมกะโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ทั้งสนามบิน ถนน 4 เลนสายใหม่อุดรธานี-บึงกาฬ นิคมอุตสาหกรรมก่อนยกระดับเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในอนาคต พร้อมพลิกโฉมบึงกาฬ

วันที่ 28 ต.ค. 2565 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของไทย และ นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.)ลาว ร่วมกันทำพิธีวางศิลาฤกษ์ การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ซึ่งเชื่อมระหว่างจังหวัดบึงกาฬของไทย และแขวงบอลิคำไซของสปป.ลาว ในพื้นที่โครงการทั้ง 2 ฝั่ง

นับว่าเป็นอีกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งความร่วมมือ ระหว่างไทยและสปป.ลาว นับแต่ร่วมกันก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามน้ำโขงแห่งแรก เชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์ ในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" จนกลุ่มประเทศในอินโดจีนหันมาเปิดความสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้นเป็นลำดับ รวมถึงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่เพิ่มขึ้นถึงแห่งที่ 5

สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) มูลค่ากว่า 4,300 ล้านบาทเศษ ผลการก่อสร้างถึงต.ค. 2565 ในภาพรวม 3 สัญญา คืบหน้าประมาณ 62.533% ช้ากว่ากำหนดการประมาณ -1.884% และคาดว่าจะเสร็จตามโครงการในปี 2571

นายเจตน์ เกตุจำนง ที่ปรึกษาหอการค้าและสภาอุตสาห กรรมจังหวัดบึงกาฬ นักธุรกิจไทย-ลาว กล่าวว่า เมื่อเปิดใช้สะพานแห่งใหม่นี้ จะเสริมศักยภาพของบึงกาฬทั้งในด้านการค้า การลงทุน การเดินทางสัญจร ตลอดจนการคมนาคมขนส่งอย่างมหาศาล รวมไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ในการ เดินทางขนส่งเพิ่มไม่น้อยกว่า 30% รวมทั้งช่วยแบ่งเบาภาระการขนส่งผ่านสะพานข้ามโขงที่หนองคาย 12% ที่นครพนม 18%

เส้นทางคมนาคมขนส่งผ่านบึงกาฬ เพื่อข้ามไปสปป.ลาวแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงต่อไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งกัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้ แต่ทั้งนี้ต้องรีบหารือสะสางกฎระเบียบการเดินทาง การผ่านแดนของยานพาหนะ หรือการขนส่งระหว่างประเทศ ที่ยังแตกต่างและมีข้อจำกัด ให้เกิดความชัดเจน ได้มาตรฐาน เพื่อความสะดวกและอำนวยประโยชน์ในการใช้โครงข่ายเส้นทางสูงสุด

นายเจตน์กล่าวด้วยว่า นอกจากสะพานและโครงข่ายเส้นทางคมนาคมปัจจุบันแล้ว เวลานี้ทางการสปป.ลาว มีแผนพัฒนาทางหลวงและเส้นทางรถไฟ ต่อจากรถไฟจีน-ลาวที่เวียงจันทน์ ผ่านแขวงบอลิคำไซ ต่อเข้าท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๋างในเวียดนาม ตามยุทธศาสตร์ของสปป.ลาว ที่จะเปลี่ยนสู่ประเทศที่มีทางออกทะเล คาดจะแล้วเสร็จในอีก 2-3 ปี ซึ่งโครงข่ายถนนและสะพานข้ามโขง 5 แห่งนี้ สามารถเชื่อมต่อได้ และเอื้อต่อการขนส่งสินค้าของภาคเหนือและอีสาน มีเส้นทางออกสู่ทะเลเพิ่มอีกแห่ง โดยจากบึงกาฬมีระยะทางเพียง 300 กิโลเมตรเศษ หรือเชื่อมโครงข่ายรถไฟของจีน ก็สามารถส่งสินค้าถึงยุโรปได้

บึงกาฬจึงต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยนอกจากสะพานข้ามโขง แห่งที่ 5 ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างแล้ว ยังมีเมกะโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ประกอบด้วย ซึ่งมีเป้าหมายจะแล้วเสร็จภายในปี 2571-2572 ที่จะพลิกโฉมบึงกาฬ ประกอบด้วย

โครงการก่อสร้างสนามบินบึงกาฬ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาท่าอากาศยานในภูมิภาคหลายแห่งในอีสาน ของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม โดยของบึงกาฬอยู่ในขั้นตอนประชาพิจารณ์ สำรวจออกแบบ ล่าสุดกระทรวงคมนาคม จัดสรรงบ 41.01 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาฯออกแบบรายละเอียดอาคารที่พักผู้โดยสาร คาดเริ่มก่อสร้างปี 2566 เสร็จปี 2571 บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ต.ป่าเปลือย และต. วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ ห่างตัวเมือง 12 กิโลเมตร บนทางเลี่ยงเมืองสู่สะพานข้ามโขง 5 งบประมาณ 3,000 ล้านบาทเศษ

การก่อสร้างถนน 4 เลน สายใหม่อุดรธานี-บึงกาฬ ระยะทาง 155.531 กม. โดยไม่ต้องอ้อมไปผ่านหนองคาย อยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ ก่อนตั้งงบก่อสร้างต่อไป โดยนอกจากจะเป็นเส้นทางสัญจรแล้ว ยังเป็นเส้นทางขนส่งสินค้ารับกับการก่อสร้างสะพานข้ามโขง 5 และเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว รวมถึงโครงการก่อสร้างและพัฒนาศักยภาพโครงข่ายถนนสู่บึงกาฬ ขยายไหล่ทาง เพิ่มความสะดวกปลอดภัย

โครงการนิคมอุตสาหกรรมบึงกาฬ เดิมภาคเอกชนในพื้นที่เสนอผ่านกรอ.จังหวัด ขอให้จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนบึงกาฬ ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นชอบด้วย แต่อาจมีขั้นตอนล่าช้า ล่าสุดได้ร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เดินหน้าเตรียมจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดบึงกาฬไปพลางก่อน โดยกนอ.ลงพื้นที่สำรวจครั้งที่ 2 เมื่อ 20 ต.ค. 2565 เอกชนเสนอใช้ที่สปก.ประมาณ 2,000 ไร่ บริเวณต่อเนื่องสู่สะพานข้ามโขง 5 เช่นกัน เมื่อมีนิคมฯเกิดขึ้นแล้วคาดว่าจะสามารถขอจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อสะพานข้ามโขง 5 เปิดใช้ จะเสริมสร้างศักยภาพด้านต่างๆ ของบึงกาฬ จากจังหวัดชายแดนริมน้ำโขง ให้กลายเป็นประตูการค้า การลงทุนใหม่ ตลอดจนฐานการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 3 - 5 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2022 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์นำเสนอ ครม. พิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 บึงกาฬ-บอลิคำไซ
Daoreuk Channel
Nov 2, 2022

วีดิทัศน์นำเสนอ ครม. พิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 บึงกาฬ - บอลิคำไซ
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565
โดย กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม


https://www.youtube.com/watch?v=sqRLvva0Cns
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2022 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

1 ในถนนสวยสุดของไทย
The king communication
Nov 25, 2022

ถ้าพูดถึงถนนสวยสุดในไทย ชื่อถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ต้องติดอันดับทุกครั้ง
ชมภาพสวยสุด ถนนเลียบทะเลตะวันออกไทย ที่ทีมงานตั้งใจเก็บภาพบรรยากาศสวยๆมาฝากคุณผู้ชม
ขอบคุณสำหรับทุกกำลังใจ และขอบคุณทุกท่านที่รับชมนะคะ
ฝากกด Like กดแชร์ และ กดติดตามนะคะ


https://www.youtube.com/watch?v=y46Yela-dZo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/11/2022 8:22 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ เล็งทำเล: ตัดถนน 6 เลน "เพชรเกษม-สุขสวัสดิ์"
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, November 30, 2022 06:16

เชื่อมวงแหวนใต้ จุดพลุทำเลทอง

กรุงเทพมหานคร (กทม.) เร่งเวนคืน โครงการก่อสร้างถนนตามแนวผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร "ฉ 1 และ ง21" เชื่อมถนนเพชรเกษมกับถนนสุขสวัสดิ์ และสายเชื่อมระหว่างสายเชื่อมดังกล่าวกับถนนกาญจนาภิเษก เพื่อช่วยระบายรถจากกรุงเทพฯชั้นในออกนอกเมืองจุดพลุทำเลทอง ย่านฝั่งธนบุรี และโซนด้านใต้ของกทม.ให้เกิดการพัฒนารองรับความเจริญในอนาคต

ถนนสาย "ฉ1" มีจุดเริ่มต้นจากถนนเพชรเกษมบริเวณจุดเชื่อมต่อ

กับถนนพุทธมณฑลสาย1 ผ่าน ถนนเทิดไท ถนนกัลปพฤกษ์ ถนนเอกชัยถนนพุทธบูชา สิ้นสุดที่ ถนนสุขสวัสดิ์ระยะทาง 17.20 กิโลเมตร และถนนสาย "ง21" เชื่อมต่อกับแนวถนนสาย "ฉ 1" ไปสิ้นสุดโครงการบริเวณถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ (ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 4.70 กิโลเมตรรวมระยะทางทั้งโครงการ 21.90 กิโลเมตร การก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 6 ช่องจราจรไป-กลับ ถนนสาย "ง21" เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ มีทางเท้ากว้าง 3.1 เมตรทางจักรยานขนาด 1.3 เมตร

การเวนคืนถนน "ฉ1" ที่ดินได้รับผลกระทบ จำนวน 1,672 แปลง วงเงิน 7,061 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้าง 1,330 รายการ วงเงิน 3,669 ล้านบาทถนนสาย "ง21" ที่ดินจำนวน 324 แปลง 1,702 ล้านบาท โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างจำนวน 113 รายการ 248 ล้านบาท เมื่อรวมที่ดินที่ได้รับผลกระทบ ทั้งสองช่วง จำนวน 1,996 แปลง สิ่งปลูกสร้างรวม 1,443 รายการ วงเงิน 10,731 ล้านบาท

การดำเนินโครงการ แหล่งข่าวจากกทม.อธิบายว่า อยู่ระหว่างจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยวิธีปรองดอง ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2500 ขณะเดียวกันได้เสนอตราพระราชกฤษฎีกา คาดว่าจะประกาศได้ราวปลายปีนี้ ทั้งนี้การชดเชยด้วยวิธีปรองดอง ได้รับจัดสรรงบประมาณ ตั้งแต่ปี ปี 2561-2564 ซึ่งเป็นงบของกทม.100% ส่วนที่เหลือหากงบประมาณไม่เพียงพอจะเสนอขอรับจัดสรรจากรัฐบาล

การชดเชย เริ่มจากช่วงถนนประชาอุทิศ-ถนนสุขสวัสดิ์ ที่ดิน 304 แปลงเป็นเงิน 2,234 ล้านบาท สิ่งปลูกสร้างจำนวน 161 รายการ เป็นเงิน 495 ล้านบาท ซึ่งเบิกจ่ายให้กับเจ้าของที่ดินแล้ว 80 รายสิ่งปลูกสร้าง 79 ราย วงเงิน 849 ล้านบาท ช่วงถนนประชาอุทิศ-ถนนพุทธบูชา ซอย 39 ที่ดิน 90 แปลงวงเงิน 1,007 ล้านบาท ส่วน ถนน "ง21" เริ่มชดเชยจากจุดตัดถนน "ฉ 1" -ถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นส่วนที่ดิน 324 แปลงวงเงิน 1,702 ล้านบาท

สำหรับค่าชดเชย เฉลี่ยตั้งแต่ 10,000 บาทต่อตารางวาไปจนถึงสูงสุดที่ 100,000 บาทต่อตารางวา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ว่างพื้นที่สีเขียว ชุมชนอยู่อาศัย บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์ โรงงานฯลฯ

ทั้งนี้ทั้งโครงการ เริ่มจากถนน สุขสวัสดิ์ เส้นทางรถไฟสายสีม่วงใต้ แยกสองขา จากพุทธบูชาไปเชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนด้านใต้) หรือ ถนน "ง21" ขนาด 4 ช่องจราจร ส่วนอีกขา วิ่งตรงไปถนนพระราม 2 ตัด เอกชัย เชื่อมกับพุทธมณฑลสาย 1 บริเวณถนนเพชรเกษม ขณะค่าก่อสร้างอยู่ที่ประมาณไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าไม่เกิน 2-3 ปีนับจากนี้ จะเปิดใช้เส้นทาง และที่นี่จะเป็นอีกทำเลทองบ้านจัดสรรที่น่าจับตา ไม่แพ้โซนตะวันออกของกทม.!!!

"ที่นี่จะเป็นอีกทำเลทองบ้านจัดสรรที่น่าจับตาไม่แพ้โซนตะวันออกของกทม.!!!"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 - 3 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/11/2022 8:26 am    Post subject: Reply with quote

ลุยสร้างมอเตอร์เวย์ “บางขุนเทียน – บางบัวทอง” มูลค่า 5.6 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 29 พ.ย. 2565 เวลา 18:04 น.

บอร์ด PPP เห็นชอบโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ ทางยกระดับ “บางขุนเทียน – บางบัวทอง” มูลค่า 56,035 ล้านบาท ของกรมทางหลวง คาดสร้างเสร็จเปิดใช้บริการ ปี 2571

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบหลักการโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน - บางบัวทอง ของกรมทางหลวง มูลค่ารวมประมาณ 56,035 ล้านบาท

โดยเป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 35.85 กิโลเมตร เพื่อเติมเต็มโครงข่ายทางหลวงพิเศษรอบนอกกรุงเทพมหานครให้ครบสมบูรณ์ (Missing Link) และเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางรวมถึงระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะ 20 ปี (2560 - 2579)

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมทางหลวง ไปดำเนินการสร้างความชัดเจนในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการฯ ให้เป็นไปตามแผนงาน เป็นต้น เพื่อประกอบการพิจารณา


สำหรับ โครงการมอเตอร์เวย์ ช่วงบางขุนเทียน – บางบัวทอง (M9) มีรายละเอียดดังนี้

1. แนวเส้นทาง

แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน - บางบัวทอง หรือ M9 มีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียนเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ด้านทิศใต้, ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว และทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครแนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศเหนือ

ผ่านทางรถไฟสายแม่กลอง มีทางขึ้น – ลง พระราม 2 ทางขึ้นเชื่อมกับถนนเอกชัย ถนนกัลปพฤกษ์ ถนนเพชรเกษม ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ถนนบรมราชชนนี ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร และถนนนครอินทร์ ทางแยกต่างระดับบางใหญ่เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี

จากนั้นแนวเส้นทางทางขนานไปกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงผ่านสถานีตลาดบางใหญ่ สถานีคลองไผ่ บางบัวทอง และสิ้นสุดโครงการบริเวณห่างจากทางแยกต่างระดับบางบัวทองประมาณ 1 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร

มอเตอร์เวย์ ช่วงบางขุนเทียน – บางบัวทอง

Click on the image for full size

โดยตลอดสายทางมีจุดขึ้น-ลง/จุดเชื่อมต่อ จำนวน 14 แห่ง ดังนี้

จุดเชื่อมต่อทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน
จุดขึ้น-ลงพระราม 2
จุดขึ้นเอกชัย
จุดขึ้นกัลปพฤกษ์
จุดขึ้น-ลงเพชรเกษม
จุดขึ้น-ลงพรานนก-พุทธมณฑล
จุดขึ้น-ลงบรมราชชนนี
จุดเชื่อมต่อทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี
จุดเชื่อมต่อทางแยกต่างระดับศรีรัช
จุดขึ้น-ลงนครอินทร์
จุดขึ้น-ลงบางใหญ่
จุดเชื่อมต่อทางแยกต่างระดับบางใหญ่
จุดขึ้น-ลงบางบัวทอง
จุดเชื่อมต่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน

2. รูปแบบการก่อสร้าง

เป็นทางยกระดับอยู่บนถนนกาญจนาภิเษก ระยะทางรวมทั้งโครงการประมาณ 38 กิโลเมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร (ทิศทางละ 3 ช่องจราจร) กว้างช่องจราจรละ 3 เมตร ไหล่ทางด้านซ้าย กว้าง 2 เมตร ไหล่ทางด้านขวากว้าง 1 เมตร

3. การจัดเก็บค่าผ่านทาง

การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง กรมทางหลวงได้กำหนดให้จัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบปิด (Closed System) ซึ่งคิดค่าธรรมเนียมตามระยะทางที่ใช้จริง โดยกรมทางหลวงจะกำหนดให้มีวิธีการจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งแบบเงินสด (Manual Toll Collection : MTC) และแบบอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection : ETC ) ซึ่งสามารถพัฒนาสู่ระบบให้เป็นแบบ (Multi-lane-free flow) หรือ M-Flow

4.ระยะเวลาการดำเนินโครงการ

กรมทางหลวง คาดว่า จะดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในปี 2566 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2567-2570 และเปิดให้บริการปี 2571
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2022 7:20 am    Post subject: Reply with quote

เปิดฉาก! สร้างมอเตอร์เวย์สาย 9 วงแหวนด้านตะวันตก ‘ยกระดับบางขุนเทียน–บางบัวทอง’ มูลค่า 5.17 หมื่นล้าน คาดตอกเข็มปี 67 เปิดใช้ปี 71
Transport Journal พ.ย. 30, 2022

“กรมทางหลวง” เตรียมเดินหน้าการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ “มอเตอร์เวย์สาย 9” วงแหวนด้านตะวันตก ทางยกระดับบางขุนเทียน–บางบัวทอง ระยะทาง 35 กม. มูลค่า 5.17 หมื่นล้าน หลังบอร์ด PPP ไฟเขียวแล้ว คาดตอกเสาเข็มปี 67 แล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้ปี 71

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ทล.ได้เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งเตรียมเดินหน้าให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการภายหลังคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) มีมติเห็นชอบโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 (M9) สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครตอนทางยกระดับบางขุนเทียน–บางบัวทอง หรือถนนกาญจนาภิเษกวงแหวนด้านตะวันตกโดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนรับผิดชอบงานในส่วนการออกแบบและก่อสร้าง พร้อมจัดหาเงินทุน รวมถึงการดำเนินงานและบำรุงรักษา

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน–บางบัวทอง หรือถนนกาญจนาภิเษก วงแหวนด้านตะวันตก เป็นหนึ่งในโครงการที่กรมทางหลวงเดินหน้าพัฒนา สำหรับความคืบหน้าการให้เอกชนร่วมลงทุน ปัจจุบันบอร์ด PPP สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้มีมติเห็นชอบรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการแล้ว เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2565

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการในครั้งนี้ กำหนดให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบงานในส่วนการออกแบบและก่อสร้าง พร้อมจัดหาเงินทุน รวมถึงการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณภาครัฐในการก่อสร้าง การดำเนินงานและบำรุงรักษาตลอดอายุโครงการ โดยมีวงเงินค่าลงทุนงานโยธาและงานระบบกว่า 51,700 ล้านบาท และค่า O&M กว่า 12,600 ล้านบาท

สำหรับโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน–บางบัวทอง จะก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ขนาด 6 ช่องจราจร ตามแนวถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันตก โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 9 วงแหวนกาญจนาภิเษก ด้านทิศใต้ รวมถึงโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน–บ้านแพ้ว และโครงการทางพิเศษพระราม 3-ดาวคะนอง–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน

ส่วนแนวเส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือข้ามทางรถไฟสายแม่กลอง ถนนเพชรเกษม เชื่อมต่อทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามทางรถไฟสายใต้ เชื่อมต่อทางพิเศษศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อมอเตอร์เวย์หมายเลข 81 สายบางใหญ่–กาญจนบุรี จากนั้นเบี่ยงแนวเส้นทางขนานไปกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง

และมีจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดตัดทางแยกต่างระดับบางบัวทอง เชื่อมต่อโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 9 วงแหวนกาญจนาภิเษก ช่วงบางบัวทอง–บางปะอิน โดยครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ จ.นนทบุรีรวมระยะทาง 35.85 กิโลเมตร (กม.) โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในต้นปี2571

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะกลายเป็นโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่ง ระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยสมบูรณ์ ซึ่งการเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้เข้ามามีร่วมลงทุนในโครงการของรัฐ จะช่วยลดภาระงบประมาณการก่อสร้างของภาครัฐ ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ส่งเสริมการจ้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจ ที่สำคัญช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยให้มีศักยภาพสูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2022 9:15 am    Post subject: Reply with quote

วงแหวนฯ “บางขุนเทียน-บางบัวทอง” เปลี่ยนโฉมสู่มอเตอร์เวย์ควัก&ฟรี
เดลินิวส์ 6 ธันวาคม 2565 8:00 น.
มุมคนเมือง, เศรษฐกิจ-ยานยนต์

อดใจรออีก 6 ปีเท่านั้น! สำหรับโครงการวงแหวนด้านตะวันตกช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง จะเปลี่ยนโฉมสู่มอเตอร์เวย์อย่างสมบูรณ์แบบ ทางลอยฟ้าวิ่งฉิวที่สะดวกสบายและมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าถนนทั่วไป

แม้ต้องแลกกับการควักกระเป๋าจ่ายค่าผ่านทาง แต่ผู้ใช้รถจำนวนมากก็ยอมใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เพราะถึงที่หมายด้วยความสะดวกรวดเร็ว และมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าถนนทั่วไป

ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีมติเห็นชอบรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการมอเตอร์เวย์สายใหม่ หมายเลข 9 (M 9) สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตอนทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 56,035 ล้านบาท

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ให้รายละเอียดว่า เมื่อโครงการผ่านบอร์ด PPP แล้ว กรมทางหลวงจะเดินหน้าโครงการทันที โดยตามแผนงานจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต้นปี 66 และเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในปี 66 เพื่อเริ่มก่อสร้างในปี 67 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบต้นปี 71

การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการในครั้งนี้ กำหนดให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบงานการออกแบบและก่อสร้าง พร้อมจัดหาเงินทุน รวมถึงการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) เพื่อลดภาระงบประมาณภาครัฐในการก่อสร้าง การดำเนินงานและบำรุงรักษาตลอดอายุโครงการ โดยมีวงเงินค่าลงทุนงานโยธาและงานระบบกว่า 51,700 ล้านบาท และค่า O&M กว่า 12,600 ล้านบาท

รูปแบบโครงการจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ขนาด 6 ช่องจราจร ตามแนวถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันตก มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อM 9 วงแหวนกาญจนาภิเษก ด้านทิศใต้ และ M 82 สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว บนถนนพระราม2 รวมทั้งโครงการทางพิเศษพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน

แนวเส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือข้ามทางรถไฟสายแม่กลอง ถนนเพชรเกษม เชื่อมต่อทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามทางรถไฟสายใต้ เชื่อมต่อทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อ M 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี จากนั้นเบี่ยงแนวเส้นทางขนานไปกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง และมีจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดตัดทางแยกต่างระดับบางบัวทอง เชื่อมต่อ M 9 วงแหวนกาญจนาภิเษก ช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน โดยครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ จ.นนทบุรี

เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเป็นโครงข่ายสำคัญเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่ง ระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยสมบูรณ์ รองรับการขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องอย่างไร้รอยต่อ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน ให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย

การเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้เข้ามามีร่วมลงทุนในโครงการของรัฐ จะช่วยลดภาระงบประมาณการก่อสร้างของภาครัฐ ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ส่งเสริมการจ้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจ ที่สำคัญช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยให้มีศักยภาพสูงสุดตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม …….อธิบดีกรมทางหลวงแจกแจงถึงข้อดีในการให้เอกชนร่วมลงทุน

ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (รอบที่ 2) หรือชื่อพระราชทาน “ถนนกาญจนาภิเษก” เป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพฯ จ.นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 181 กม. ถือเป็นถนนวงแหวนและทางเลี่ยงเมืองที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาครัฐทยอยก่อสร้างเป็นช่วงๆ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก กรมทางหลวงเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 ช่วงตลิ่งชัน–บางบัวทอง และเรียกกันว่าถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก เดิมกำหนดเป็นทางหลวงหมายเลข 37 ต่อมาได้เปลี่ยนหมายเลขทางหลวงเป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 แต่ยังให้ประชาชนใช้ฟรี ปัจจุบันวงแหวนตะวันตก (บางปะอิน–บางบัวทอง–บางขุนเทียน) มีระยะทาง รวมประมาณ 68 กม. แบ่งเป็นต่าง ๆ ได้แก่ ช่วงบางปะอิน–บางบัวทอง ขนาด 4–6 ช่องจราจร ระยะทาง 44 กม. และช่วงบางบัวทอง-บางขุนเทียน ขนาด 10–12 ช่องจราจร ระยะทาง 24กม.

ต่อมากรมทางหลวงได้ก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน-บางพลี) มีรูปแบบเป็นมอเตอร์เวย์เก็บค่าผ่านทาง รวมทั้งถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ (บางพลี-บางขุนเทียน) เป็นทางพิเศษ (ทางด่วน) เก็บค่าผ่านทาง แบ่งเป็นช่วงบางพลี-สุขสวัสดิ์ ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และช่วงสุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน ดำเนินการโดยกรมทางหลวงเดิมเปิดให้ใช้ฟรี ปัจจุบันได้มอบให้ กทพ.เก็บค่าผ่านทางให้กรมทางหลวง

วงแหวนฯ ตะวันตกช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง ปัจจุบันเป็นทางระดับดินเปิดบริการฟรีมีประมาณ 10-12 ช่องจราจรทั้งทางหลักและทางขนาน กรมทางหลวงจะก่อสร้างทางยกระดับตรงเกาะกลาง 6 ช่องเพื่อพัฒนาเป็นระบบมอเตอร์เวย์เก็บค่าผ่านทาง ส่วนพื้นราบให้วิ่งฟรีเหมือนเดิม รูปแบบคล้าย M 82 สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว บนถนนพระราม 2 ที่กำลังก่อสร้างจะแล้วเสร็จเปิดบริการปี 67-68

อดใจรออีก 6 ปี (ปี 71) วงแหวนด้านตะวันตกช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง จะเปลี่ยนโฉมสู่มอเตอร์เวย์อย่างสมบูรณ์แบบ ทางลอยฟ้าวิ่งฉิวสะดวกสบาย แต่หากไม่อยากจ่ายเงินก็วิ่งพื้นราบเหมือนเดิม

…ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์…...
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45139
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/12/2022 9:27 pm    Post subject: Reply with quote

มอเตอร์เวย์ใหม่ 3 สาย สร้างถึงไหนแล้ว
The king communication
Dec 8, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=wJFJnHr3_So
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 15, 16, 17  Next
Page 4 of 17

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©