Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311309
ทั่วไป:13279801
ทั้งหมด:13591110
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แวะชมรถจักร CRRC (CSY) U16 ใหม่เอี่ยมป้ายแดง ล็อตแรก 20 คัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แวะชมรถจักร CRRC (CSY) U16 ใหม่เอี่ยมป้ายแดง ล็อตแรก 20 คัน
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 06/02/2022 10:46 am    Post subject: Reply with quote

รถจักร CRRC หมายเลข 5218 และ 5217

Click on the image for full size

ขบวนรถลำเลียงรถจักร CRRC เที่ยวที่ 3 หมายเลข 5218, 5213 และ 5217 จากแหลมฉบัง มายังชุมทางศรีราชา วันที่ 31 ม.ค. 65

Click on the image for full size

ย้ายบ้านมาจอดที่ชุมทางศรีราชา เตรียมงานเปิดตัวในวันศุกร์ที่ 4 ก.พ. 65

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 06/02/2022 10:48 am    Post subject: Reply with quote

รถจักร CRRC หมายเลข 5212

Click on the image for full size

------------------------------------
Technical Specification
------------------------------------
- Model: CDA5B1
- บริษัทผู้ผลิต: CRRC Qishuyan Co., Ltd. ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- หมายเลข 5201-5250 (ล็อตแรก 5201-5220)
- ใช้กับทางขนาด 1.00 m (Metre-gauge)
- น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน (U16)
- ความเร็วสูงสุดของรถจักร 120 km/h
- ระบบขับเคลื่อนแบบดีเซลไฟฟ้า AC-DC-AC ใช้ Generator สร้างกระแสไฟฟ้า เพื่อขับเคลื่อน Traction Motor (TM) ที่เพลาล้อ
- รูปแบบการจัดวางแคร่ล้อรถจักร Co-Co (Six Driving Axles) โดยรถจักร มี 2 โบกี้ โบกี้ละ 3 เพลา โดยแต่ละเพลามี Traction Motor 1 ชุด รวมทั้งหมด 6 ชุด/คัน)

- เครื่องยนต์ MTU 16V 4000 R43L จากประเทศเยอรมนี Speed Max: 1,800 rpm Single-stage Turbocharger
- เครื่องยนต์ใช้ตามมาตรฐาน UIC IIIA / EU Stage IIIA รองรับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซลถึง B20 เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ตามนโยบายของภาครัฐ
- กำลังสูงสุดของเครื่องยนต์ 3,263 hp (2,400 kW)
- ลากจูงขบวนรถโดยสาร น้ำหนัก 550 ตัน (13 คัน) ได้ที่ความเร็วสูงสุด 120 km/h
- ลากจูงขบวนรถโดยสาร น้ำหนัก 1,000 ตัน ได้ที่ความเร็วสูงสุด 100 km/h
- ลากจูงขบวนรถสินค้า น้ำหนัก 2,100 ตัน (บทต. 33 คัน) ได้ที่ความเร็วสูงสุด 70 km/h
- สามารถวิ่งบนทางลาดชันสูงสุดได้ที่ 25 per mill และความสูงของทางที่ 650 m จากระดับน้ำทะเล ที่น้ำหนักรถพ่วง 650 ตัน
- สามารถวิ่งบนทางรัศมีโค้ง 180 m ทางยกโค้ง (Super Elevation) 90 mm
- ขอพ่วงแบบอัตโนมัติ มาตรฐาน AAR (Knuckle) ความสูงของ Center ขอพ่วงจากระดับสันราง 850 mm

- ติดตั้งระบบห้ามล้ออัตโนมัติ ATP Onboard ตามมาตรฐาน ETCS (European Train Control System) Level 1
- ความจุถังน้ำมัน 4,500 L ถังทราย 200 L
- ใช้ระบบเบรกจากประเทศเยอรมัน แบบ Electronic Air Brake System (รถจักรปัจจุบันใช้แบบ Pneumatic Air Brake System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเบรก และง่ายในการบำรุงรักษา
- ติดตั้งระบบกล้อง CCTV ด้านหน้ารถจักรทั้งสองฝั่ง และเครื่องพ่วงด้านหน้ารถจักร (Full HD Cameras with night vision: IR LEDs)
- ติดตั้งระบบปรับอากาศในห้องขับ
- จะนำมาใช้งานทำขบวนทั้งรถโดยสารและรถสินค้า

-------------------------------------------------------
CRRC Engine: MTU 16V4000 R43L (Rolls-Royce)
-------------------------------------------------------

Rated power max. kW (bhp) 2,400 (3,218)
Width (W): 1,562 mm
Length (L): 2,865 mm
Height (H): 2,015 mm
Overall Weight: 7,900 kg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 06/02/2022 11:14 am    Post subject: Reply with quote

------------------------------
ปิดท้าย Base on True Story
------------------------------

หลังจากที่ลงข้อมูลในเพจไป ก็เห็นหลาย ๆ คอมเมนต์ มีทั้งชม และติ ส่วนใหญ่ก็ไม่พ้น เก่า โบราณ ไม่พัฒนา ล้าหลัง อายเพื่อนบ้าน แต่ขออนุญาตแชร์มุมมองส่วนตัวไว้ ณ ที่นี้นิดนึงว่า

สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ "วัตถุประสงค์" ในการนำมาใช้งาน บนพื้นฐานความเป็นจริง และสภาพการใช้งานในปัจจุบัน ร่วมกับแผนงานในอนาคต เป็นหลัก

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ปัญหารถจักรชำรุด มีมานานแล้ว แต่ รฟท. ก็เพิ่งจะได้รับโอกาสให้ซื้อรถใหม่มาไม่นาน เริ่มจาก SDA3 (U20) เมื่อปี 2558 แต่ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ไม่ได้นำมาใช้กับขบวนรถโดยสารในปัจจุบัน เนื่องจากน้ำหนักกดเพลามาก และเส้นทางรถไฟทั้งประเทศยังไม่ได้ปรับปรุงให้รองรับรถ U20 ได้ทั้งหมด ดังนั้น การมาของ CRRC หรืออุลตร้าแมน ก็คือเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพในการหมุนเวียนรถจักรสำหรับรถโดยสารและรถสินค้า ให้สามารถเดินได้ตามกำหนดเวลา มีกำลังลากจูงมากขึ้น และทำขบวนได้เร็วขึ้น รถจักรชุดเดิมที่ใช้งานหนัก ได้มีโอกาสเข้าซ่อมบำรุง เปลี่ยนอะไหล่และอุปกรณ์ตามวาระ หรือคันไหนที่ไม่คุ้มจะซ่อม ก็จะได้ปลดระวาง หรือเอาไปใช้งานในหน้าที่อื่นต่อไป

อย่าลืมว่า Infra ของรถไฟพื้นฐานในประเทศไทย ยังเป็นทาง 1.00 เมตร รวมถึงทางคู่และทางรถไฟสายใหม่ที่จะสร้าง ก็ไม่ได้มีสายส่งไฟฟ้าตลอดทางทั่วประเทศ ดังนั้น ระบบรถจักรดีเซลไฟฟ้า ก็ยังจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานอยู่ ณ เวลานี้ และที่หน้าตาดูไม่แตกต่างจากรุ่นเดิมๆ ที่มี 2 CAB ไม่ได้เป็นหัวแหลม ๆ ก็เพราะความสะดวกในการใช้งาน สามารถนำรถไปทำขบวนไหนก็ได้ ทั้งรถโดยสารและสินค้า ไม่ได้ Fixed กับชุดรถเฉพาะเหมือนพวกรถไฟโดยสารที่เป็น Trainset (คือถ้าเอาหัวแหลมแบบความเร็วสูงมา แล้วจะเอาไปลากรถสินค้าได้อย่างไร) และเมื่อทำขบวนไปถึงปลายทาง ก็ทำสับเปลี่ยนรถจักร แล้วก็มาควบคุมรถที่อีกฝั่งได้เลย ไม่จำเป็นต้องใช้วงเวียน หรือสามเหลี่ยมกลับรถจักร เป็นต้น

หากในอนาคต ภาครัฐมีนโยบายให้เดินระบบสายส่งไฟฟ้าทั้งหมด รถจักรดีเซลไฟฟ้าก็น่าจะลดบทบาทลงตามลำดับ แล้วเปลี่ยนไปใช้รถจักรไฟฟ้า หรือชุดรถโดยสารที่ใช้ไฟฟ้าแทนต่อไป แต่แน่นอนว่ามันไม่ได้สร้างกัน 2-3 เดือนเสร็จ มันต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ส่วนรถไฟความเร็วสูง ถ้าทำได้สำเร็จจริง มันก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาด้านการขนส่ง และเพิ่มตัวเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน ลดอุบัติเหตุและความหนาแน่นในการจราจรบนท้องถนน แต่ก่อนอื่นอย่าลืมว่า เราเพิ่งเริ่มลงมือสร้างไม่นาน และก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปี (ตามกำหนดคือ ปี 2572) แล้วระหว่างนี้ ถ้าเราไม่สั่งรถดีเซลไฟฟ้าชุดใหม่มาใช้งานก่อน ก็ต้องเจอกับปัญหาเดิมๆ ที่รถจักรชำรุด ล่าช้า เสียเวลา ไม่ต่างจากเดิม ปัญหาเฉพาะหน้าตอนนี้ที่เจอมานานหลายปี ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขครับ

และอีกอย่างรถไฟพื้นฐานของเรา ก็ยังต้องคงอยู่ไปอีกนาน รถไฟความเร็วสูงมันก็แค่เส้นทางเฉพาะ ไม่ได้สร้างเพื่อทดแทนรถไฟเดิมได้ทั้งประเทศ เพราะทางก็คนละขนาดกัน รถจักรรถพ่วงก็ใช้ร่วมกันไม่ได้ รถไฟโดยสารและรถไฟสินค้าเดิม ก็ต้องเดินรถอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้ไปใช้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงแต่อย่างใด แล้วถ้าไม่ซื้อรถใหม่เพิ่ม รฟท. จะให้บริการด้านการขนส่งต่อเนื่องไปได้อย่างไร

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2022 12:49 am    Post subject: Reply with quote

ความเห็นของขุนโกลับคับอุรา
Quote:
ว่าด้วยน้องอุลตร้าแมน
น้องมีขนาดความสูงที่พอๆ กับพี่ใหญ่ SDA3 ที่จอดอยู่ใกล้ๆ กัน เทียบแล้วแทบไม่มีความต่างอะไรใดๆ เรียกว่าน้องมีความสูงใหญ่ และอาจไม่เป็นมิตรกับหลังคาสถานีบางแห่ง ส่วนความยาวก็คาดว่าน่าจะไม่ต่างกัน
ดีไซน์รูปร่าง ถ้าดูแบบจับผิด น้องแทบจะลอกเลียนแบบพี่ใหญ่มาเช่นกัน ทั้งตำแหน่งวางห้องเครื่อง ห้องไฟฟ้า การวางช่องระบายอากาศ ประตู หน้าต่าง มีความต่างแค่หน้าตาด้านหน้าที่มีความโค้งมนกว่าเท่านั้น
ช่วงล่าง ตัวแคร่จะเล็กกว่าพี่ใหญ่เล็กน้อย เช่นเดียวกับขนาดล้อเพลา ส่วนถังน้ำมันก็มา 4,500 ลิตรตาม TOR เป๊ะ แต่รูปร่างภายนอกก็เช่นเดียวกันที่ดูจะลอกแบบมาเลย
กันชนด้านหน้า เหล็กดูจะมีความบางกว่าพี่ใหญ่เล็กน้อย แต่ชดเชยด้วยคานด้านหลังและแท่งเหล็กที่ยึดระหว่างโครงประธานกับกันชน เรียกว่าถึงจะบางกว่าแต่ก็พร้อมกวาดสิ่งกีดขวางเช่นกัน
โครงประธานและบอดี้ของรถ เมื่อลองเคาะดูก็จะรู้สึกได้ว่ามวลความหนาแน่นจะน้อยกว่าพี่ใหญ่เล็กน้อย อาจจะด้วยการใช้เหล็กที่มีขนาดความหนาที่ต่างกัน แต่โดยรวมถือว่าดูหนาและแข็งแรง ก็น่าจะตอบข้อสงสัยที่ว่าขนาดเท่ากับพี่ใหญ่ แต่ทำไมเบากว่า 24 ตันได้ ก็คงรวมถึงน้ำหนักแคร่และเครื่องยนต์ด้วย
เครื่องยนต์ อันนี้สันนิษฐานส่วนตัวว่าเป็น MTU ที่ไม่ได้นำเข้าจากเยอรมันนี แต่เป็นเครื่องที่ผลิตในจีนและได้ไลเซนส์การผลิตของ MTU มากกว่า ทั้งนี้ก็ไม่ได้ติดอะไร และคนรถไฟเองก็มีประสบการณ์จากเครื่อง MTU มาระดับนึง ก็น่าจะดูแลและบำรุงรักษาได้
กล้องหน้ารถ ดูเหมือนจมูกโคอาล่าดี และกล้องที่ติดด้านใน คิดว่าคงไม่แค่เอาไว้เก็บภาพอย่างเดียว ก็อยากให้รักษาเอาไว้นานๆ ติดมาแล้วก็ขอให้ใช้ได้ยาวนานละกัน
สุดท้าย คาดหวังว่าน้องจะไม่ดื้อ ไม่งอแง และพร้อมทำงานภายใต้อากาศร้อนในเมืองไทย ไม่ไปอู้งานแถวเชียงรากหรือตลิ่งชัน เดี๋ยวพี่ใหญ่ต่างสัญชาติต้องเหนื่อยมาจูงน้องกลับโรงพยาบาลแถวบางซื่ออีก
ยินดีต้อนรับสู่เมืองไทยนะ CDA5B1

https://www.facebook.com/SuperBallSpotter/posts/5425811330779629
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2022 3:43 am    Post subject: Reply with quote

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักคำว่า หัวรถจักร หรือ Locomotives ก่อนครับ
หัวรถจักร คือชุดขับเคลื่อนของขบวนรถไฟ ซึ่งเป็นทั้งห้องคนขับ และเครื่องยนต์ของรถไฟทั้งขบวน
โดยจะทำการพ่วงกับตู้โดยสาร หรือขบวนสินค้า ซึ่งไม่มีระบบขับเคลื่อน (power unit) อยู่บนตู้
ซึ่งต่างจากรถไฟดีเซลราง ซึ่งมีการกระจายระบบขับเคลื่อนไปตามตู้
แล้วตัวรถจักรมีกี่แบบ???
หัวรถจักรมี 2 แบบหลักๆ คือ
- รถจักร ดีเซลไฮโดรลิก เช่นรถจักรสับเปลี่ยน และรถจักรเก่ามากๆ แบบ Krupp
- รถจักรดีเซลไฟฟ้า ซึ่งเป็นรถจักรที่เราเห็นวิ่งกันอยู่ทั่วไป รวมถึงเจ้าอุลตร้าแมน CRRC U16 ที่พึ่งรับมาด้วย
—————————
ขอมาลงรายละเอียดเฉพาะรถจักรดีเซลไฟฟ้านะครับ เพราะเป็นรถจักรที่เราใช้อยู่และในอนาคตก็ยังมีแผนต้องหามาทดแทนของเดิมอยู่อีก
คนมักจะสงสัยว่าทำไมเรียกรถจักรดีเซล-ไฟฟ้า มันไฟฟ้ายังไง??? ผมขอมาสรุปให้ฟังง่ายๆอย่างนี้นะครับ

พอเราเข้าใจเรื่องรูปแบบของระบบส่งกำลังแล้ว เราก็มาดูลึกเรื่องเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นขุมกำลังของหัวรถจักรกันบ้าง
จากที่บอกว่า ต้นกำลังที่จะเอาไปผลิตไฟฟ้ามาจากเครื่องยนต์ดีเซล จึงต้องให้ความสำคัญกับเครื่องยนต์กันมากๆ เพื่อจะให้ได้เครื่องยนต์ที่ ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัดน้ำมัน ซ่อมบำรุงได้ง่าย และเสถียรที่สุด
จึงทำให้เราต้องคัดสรรเครื่องยนต์ที่ดีมีประสิทธิภาพมาใช้
ในเจ้าอุลตราแมน เราเลือกใช้เครื่องยนต์ ยี่ห้อ MTU จากประเทศเยอรมันนี รุ่น 16V 4000 R43L มาใช้เลย
*** Spec ของเครื่องยนต์ รุ่น 16V 4000 R43L จากสังกัด MTU กันครับ
กำลังที่ผลิตได้ 2400 kW / 3218 HP @1800 rpm
ทอร์ค 13096 Nm
การจัดวางเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ v16 ทำองศา 90 องศา
ขนาดลูกสูบ 4.77 l
ขนาดลูกสูบรวมทั้งเครื่องยนต์ 76 l (เทียบกับรถกระบะดีเซลบ้านเรา เครื่องยนต์ 2-3 l )
มาตรฐานไอเสีย UIC IIIA และ EU Stage IIIA
อัตราสิ้นเปลือง 205 g/kW หรือ 592 l/ชั่วโมง
สามารถใช้ดีเซลได้ถึง B20
รายละเอียดเพิ่มเติมของเครื่องยนต์

รถจักรดีเซลไฟฟ้า คือการนำเครื่องยนต์ดีเซล มาปั่น Generator เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า แล้วค่อยเอาไฟฟ้าตรงนั้น ไปจ่ายที่มอเตอร์ขับเคลื่อน (Traction Motor) เพื่อไปขับเคลื่อนหัวรถจักรอีกที
*** ถ้ามองว่าคล้ายกับรถยนต์ Hybrids ก็ได้ แต่ไม่มีแบตเตอรี่มาคอยรับกำลังไฟฟ้าที่เกิน
คลิปอธิบายเรื่องรถจักรดีเซลไฟฟ้า
https://youtu.be/wgHh-JYRlts
ซึ่งในรูปแบบรถจักรดีเซลไฟฟ้า ก็มีรูปแบบผลิตไฟฟ้า และจ่ายไฟฟ้า ในหลายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพแตกต่างกันได้แก่
- DC-DC คือ ผลิตไฟฟ้า DC จ่ายลงมอเตอร์ DC
- AC-DC คือ ผลิตรถไฟฟ้าเป็น AC 3 Phase แล้วจัดเรียงกระแสไฟฟ้า (Rectified) พร้อมกับแปลงเป็น DC แล้วจ่ายลงมอเตอร์ DC ซึ่งได้แรงน้อยกว่า และมีความร้อนที่มอเตอร์มาก
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบเก่าใช้กับรถไฟรุ่นเก่า ตั้งแต่ ฮิตาชิ และ GEA ขึ้นไป
- AC-DC-AC คือ ผลิตรถไฟฟ้าเป็น AC 3 Phase แล้วจัดเรียงกระแสไฟฟ้า (Rectified) พร้อมกับแปลงเป็น DC แล้วเปลี่ยนกลับมาเป็นไฟฟ้า AC 3 Phase ผ่าน Inverter ในการควบคุมกระแสไฟฟ้า แล้วจ่ายลงมอเตอร์ AC
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ใช้กับหัวรถจักรที่เราซื้อมาใหม่ทุกรุ่นตั้งแต่ CSR U20 (มินเนี่ยน) รวมถึงเจ้าอุลตร้าแมน CRRC U16 ที่เราพึ่งรับมอบมาด้วย!!!
ใครอยากรู้จักรายละเอียดของรถจักรรูปแบบต่างๆ จะแนะนำให้ไปอ่างหนังสือ หลักการวิศวกรรมระบบราง ของ อาจารย์ วิชัย

พอเราเข้าใจเรื่องรูปแบบของระบบส่งกำลังแล้ว เราก็มาดูลึกเรื่องเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นขุมกำลังของหัวรถจักรกันบ้าง
จากที่บอกว่า ต้นกำลังที่จะเอาไปผลิตไฟฟ้ามาจากเครื่องยนต์ดีเซล จึงต้องให้ความสำคัญกับเครื่องยนต์กันมากๆ เพื่อจะให้ได้เครื่องยนต์ที่ ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ประหยัดน้ำมัน ซ่อมบำรุงได้ง่าย และเสถียรที่สุด
จึงทำให้เราต้องคัดสรรเครื่องยนต์ที่ดีมีประสิทธิภาพมาใช้
ในเจ้าอุลตราแมน เราเลือกใช้เครื่องยนต์ ยี่ห้อ MTU จากประเทศเยอรมันนี รุ่น 16V 4000 R43L มาใช้เลย
*** Spec ของเครื่องยนต์ รุ่น 16V 4000 R43L จากสังกัด MTU กันครับ
กำลังที่ผลิตได้ 2400 kW / 3218 HP @1800 rpm
ทอร์ค 13096 Nm
การจัดวางเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ v16 ทำองศา 90 องศา
ขนาดลูกสูบ 4.77 l
ขนาดลูกสูบรวมทั้งเครื่องยนต์ 76 l (เทียบกับรถกระบะดีเซลบ้านเรา เครื่องยนต์ 2-3 l )
มาตรฐานไอเสีย UIC IIIA และ EU Stage IIIA
อัตราสิ้นเปลือง 205 g/kW หรือ 592 l/ชั่วโมง
สามารถใช้ดีเซลได้ถึง B20
รายละเอียดเพิ่มเติมของเครื่องยนต์
https://www.mtu-solutions.com/content/dam/mtu/ReportsAssets/1874/3232331_MTU_Rail_spec_4000_03.pdf/_jcr_content/renditions/original./3232331_MTU_Rail_spec_4000_03.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42782
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2022 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดรหัสรถจักรดีเซลไฟฟ้า(ใหม่) 5201-5250 พลิกโฉมรถไฟไทย
คอลัมน์ มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง..
8 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 8:00 น.

เปิดรหัสพลิกโฉมรถไฟไทย ด้วย “รถจักรดีเซลไฟฟ้า”...อุลตร้าแมน 5201-5250 ทันสมัย มีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรง และมีสมรรถนะการใช้งานที่ดีกว่าเดิม


การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตัดริบบิ้นรับมอบ “รถจักรดีเซลไฟฟ้า” (Diesel Electric Locomotive) ใหม่ ส่งตรงจากประเทศจีน ลอตแรก 20 คัน จาก กิจการร่วมค้า เอสเอฟอาร์ ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างบริษัท ซานโฟโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด



 ตามโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ จำนวน 50 คัน วงเงิน 6,525 ล้านบาท ที่สถานีรถไฟศรีราชา จ.ชลบุรี เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา ปิดภารกิจที่ดำเนินการมานับ 10 ปี กว่าที่ รฟท.จะได้รถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า รถจักรดีเซลไฟฟ้าที่รับมอบครั้งนี้ เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่ คุณภาพสูง ผลิตโดย บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน (CRRC Qishuyan) ผู้ผลิตรถจักรดีเซลชั้นนำของประเทศจีน และมีเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศเยอรมนี เพื่อนำมาใช้ทดแทนรถจักรเดิมที่มีอายุการใช้งานอย่างยาวนาน โดยบางคันมีการใช้งานมากกว่า 50 ปี จึงถือเป็นการพลิกโฉมการให้บริการครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของการรถไฟฯ ที่จะช่วยให้มีรถจักรเพียงพอต่อการให้บริการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าได้มากขึ้น เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ที่ทยอยเปิดใช้งานในอนาคต


“รถจักรดังกล่าวจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี เพราะถือเป็นรถจักรที่มีความทันสมัย มีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรง และมีสมรรถนะการใช้งานที่ดีกว่าเดิม ช่วยให้การขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร มีความรวดเร็ว ปลอดภัย รวมถึงช่วยสร้างโอกาสในการหารายได้ของ รฟท. ตลอดจนเสริมศักยภาพการขนส่งทางรางให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างดีด้วย”

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า การได้รับรถจักรดีเซลไฟฟ้าใหม่ เป็นความสำเร็จเบื้องต้นของ รฟท. แต่หลังจากนี้ สิ่งที่เราต้องพิสูจน์ต่อไปคือ จะนำรถเหล่านี้มาเพิ่มศักยภาพในการให้บริการได้อย่างไร โดยเฉพาะปัจจุบันที่การขนส่งสินค้า และผู้โดยสาร เน้นระบบรางมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโจทย์สำคัญว่า รฟท. จะสามารถใช้โอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่หรือไม่ 

หัวรถจักรถือเป็นเครื่องมือทำมาหากินที่สำคัญ หากเก่าทรุดโทรม และไม่จัดหามาเพิ่ม จะทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางราง ที่ขณะนี้ รฟท. กำลังเร่งดำเนินการอยู่ อาทิ โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1, รถไฟทางคู่สายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม และโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จะใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่


จุดเด่นของรถจักรดีเซลไฟฟ้าถูกออกแบบและผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีกำลังสูงสุดของเครื่องยนต์ 3,263 แรงม้า (2,400 กิโลวัตต์) มีสมรรถนะในการลากจูงขบวนรถโดยสารได้ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) และลากจูงขบวนรถสินค้าที่ความเร็วสูงสุด 70 กม.ต่อ ชม. นอกจากนี้มีการติดตั้งระบบห้ามล้ออัตโนมัติ (Automatic Train Protection – ATP) รองรับกับมาตรฐาน ETCS level 1 : (European Train Control System: ETCS) รวมถึงมีเครื่องยนต์รถจักรผลิตจากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีค่ามาตรฐานในการปล่อยควันไอเสียต่ำตามมาตรฐานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนได้ติดตั้งระบบกล้อง CCTV เพื่อบันทึกเหตุการณ์ด้านหน้ารถจักรและเครื่องพ่วง เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการเดินรถอีกด้วย

ด้านนายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า หลังจากนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ทดสอบสมรรถนะ และระบบต่างๆ อาทิ ระบบเครื่องยนต์, ไฟฟ้า, เบรก และความปลอดภัย โดยทดสอบทีละคันทั้ง 20 คัน จะไม่ใช้วิธีสุ่มตรวจ ซึ่งจะตรวจสอบทั้งแบบรถจักรอยู่กับที่ และรถจักรเคลื่อนที่ ด้วยการลากรถสินค้า และรถโดยสาร 


เงื่อนไขการตรวจรับรถ ต้องมีการทดสอบทั้งวิ่งรถเปล่า และลากขบวนรถโดยสาร โดยเฉพาะเส้นทางเชียงใหม่ด้วย เพื่อทดสอบการเคลื่อนที่แบบขึ้นเขา ทั้งนี้คาดว่าจะทดสอบแล้วเสร็จ และสามารถนำมาใช้ลากจูงขบวนรถได้ในเดือน พ.ค.65  สำหรับการใช้หัวรถจักรของ รฟท. นั้น ก่อนเกิดโควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 250 หัวต่อวัน

ในส่วนของรถจักรดีเซลไฟฟ้า ลอตที่ 2 อีก 30 คัน คาดว่ากิจการร่วมค้า เอสเอฟอาร์ จะสามารถส่งมอบให้ รฟท. ได้ในปลายปี 65 เบื้องต้น รฟท. จะนำรถจักรดีเซลไฟฟ้าลอตแรก มาใช้งานกับขบวนรถโดยสารก่อน สามารถขึ้นให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อได้ด้วย 

รถจักรสามารถลากจูงตู้รถโดยไม่ต้องใช้รถพ่วง 2 หัวเหมือนในปัจจุบัน ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันได้มาก โดยลากจูงโบกี้บรรทุกตู้สินค้า (บทต.) ได้ 33 คัน 2,100 ตัน และรถตู้โดยสาร 13 คัน 550 ตัน นอกจากนี้มีจุดเด่นที่ต่างจากรถจักรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาทิ มีระบบห้ามล้ออัตโนมัติ (ATP) มาตรฐานควบคุมรถไฟของยุโรป (ETCS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินรถมากขึ้น 


นายศิริพงศ์ กล่าวด้วยว่า การรับมอบรถจักรใหม่ครั้งนี้เกิดขึ้นในรอบ 7 ปี ก่อนหน้านี้ รฟท. ได้รับมอบรถจักร U-20 มีน้ำหนักกดเพลา 20 ตัน เพื่อใช้ลากจูงสินค้า เมื่อปี 58 หลังจากนั้นก็ยังไม่มีการรับมอบหัวรถจักรใหม่อีกเลย 

รถจักรดีเซลไฟฟ้าใหม่ นอกจากมีสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมแล้ว ยังออกแบบรูปลักษณ์ที่มีความทันสมัย ด้วยโทนสีแดง เทา และริ้วขาวเล็กน้อย สื่อถึงอัตลักษณ์ตัวตนของ รฟท. ได้เป็นอย่างดี โดยหลายคนมองว่าคล้ายกับอุลตร้าแมน ทั้งนี้ รฟท. กำหนดหมายเลขรุ่นประจำรถจักรคือ 5201 ถึง 5250 ตามลำดับ ซึ่งเป็นเลขที่รันต่อจากรถจักรรุ่นก่อนหน้านี้ U-20 ที่มีเลขรหัส 5101-5120  

พลิกโฉมรถไฟไทย ด้วย “รถจักรดีเซลไฟฟ้า”…อุลตร้าแมน  รหัสใหม่ 5201-5250

————————————
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44738
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2022 9:42 am    Post subject: Reply with quote

หัวรถจักร “อุลตร้าแมน” ลอตแรก 20 คันรองรับรถไฟทางคู่
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 - 09:29 น.

สั่งซื้อปี 2563 ส่งมอบลอตแรก 20 คันตามกำหนดในเดือนกุมภาพันธ์ 2565

และจากลักษณะหัวรถจักรที่มีสีแดง-เทาคล้ายกับชุดของอุลตร้าแมน ทำให้มีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเป็นรุ่น “อุลตร้าแมน”

เรากำลังพูดถึง “หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า” (diesel electric locomotive) รุ่นใหม่ล่าสุด (CDA5B1) น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ ระยะที่ 1 จำนวน 20 คัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการรองรับโครงการรถไฟทางคู่ที่จะเปิดใช้งานในอนาคต

โดยมี “นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธานรับมอบรถจักรดีเซลไฟฟ้าจากกิจการร่วมค้า “เอสเอฟอาร์” (บริษัท ซานโฟโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด-บริษัท ริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด) เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2565

ถือเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่ คุณภาพสูง ผลิตโดยบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน (CRRC Qishuyan) ประเทศจีน มีเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศเยอรมนี จะนำมาใช้ทดแทนรถจักรเดิมที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน บางคันเกิน 50 ปี

การได้มาซึ่งรถจักรในครั้งนี้ จะช่วยให้การรถไฟฯมีรถจักรเพียงพอต่อการให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น

ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.เปิดประกวดราคาและลงนามในสัญญาจัดหาหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าจำนวน 50 คัน วงเงิน 6,525 ล้านบาท เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563


มีกำหนดเวลาส่งมอบรถจักร 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ไม่น้อยกว่า 20 คัน ภายใน 540 วัน นับจากวันลงนามหรือภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ระยะที่ 2 ที่เหลืออีก 30 คัน ส่งมอบภายใน 915 วัน หรือภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566

คุณสมบัติมีกำลังเครื่องยนต์สูงสุด 3,263 แรงม้า (2,400 kW) จุดเด่นถูกออกแบบและผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีสมรรถนะในการลากจูงขบวนรถโดยสารได้ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ลากจูงขบวนรถสินค้าที่ความเร็วสูงสุด 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง

มีการติดตั้งระบบห้ามล้ออัตโนมัติ (Automatic Train Protection-ATP) รองรับกับมาตรฐาน ETCS level 1 : (European Train Control System : ETCS) จากเดิมรถจักรในปัจจุบันใช้แบบ Pneumatic air brake system ซึ่งทำให้การซ่อมบำรุงรักษาที่ง่ายขึ้นกว่ารถจักรแบบเก่า


อีกทั้งรูปแบบแคร่รถจักร Co-Co (เป็นรูปแบบ 6 เพลา ชุดละ 3 เพลา) สามารถวิ่งบนเส้นทางมาตรฐานของ ร.ฟ.ท.

สำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถ (พขร.) อยู่ทางด้านขวาของตัวรถ ติดตั้งระบบกล้อง CCTV เพื่อบันทึกเหตุการณ์ด้านหน้ารถจักรและเครื่องพ่วง เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการเดินรถอีกด้วย

ตามแผนการใช้งานจะนำไปวิ่งให้บริการในเส้นทางรถไฟทางไกล เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ

“รถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่พี่น้องประชาชนได้เป็นอย่างดี เป็นรถจักรที่มีความทันสมัย มีสมรรถนะการใช้งานที่ดีกว่าเดิม ช่วยให้การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารมีความรวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยสร้างโอกาสในการหารายได้ของการรถไฟฯ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44738
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/03/2022 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

ทดลองวิ่งตัวเปล่า…รถจักรใหม่อุลตร้าแมน(CRRC) Ep.1
Mar 18, 2022
นิกเกิ้ล พาทัวร์

การทดลองวิ่งพหุสมบูรณ์และตัวเปล่าของรถจักร crrc no.5220+5205


https://www.youtube.com/watch?v=6Ivj0DNSziE


ทดลองวิ่งตัวเปล่า 120 km/h. รถจักรใหม่อุลตร้าแมน (CRRC ) Ep.2
Mar 18, 2022
นิกเกิ้ล พาทัวร์


https://www.youtube.com/watch?v=Ur_H8Cj25Nw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44738
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2022 1:48 pm    Post subject: Reply with quote

ทดลองวิ่งตัวเปล่า..รถจักรใหม่อุลตร้าแมน (CRRC) Ep.3
Mar 19, 2022
นิกเกิ้ล พาทัวร์

คลิป ep3 นี้จะเป็นคิวของหมายเลข 5205 ทดลองวิ่งบ้าง ในมุมของสถานีองครักษ์


https://www.youtube.com/watch?v=YjipXVs8Lso
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44738
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/04/2022 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

นาทีประวัติศาสตร์อันงดงาม QSY รถจักรอุลตร้าแมน 5212+5214 ลากรถนอน CNR ยาว 26 คัน ทดสอบจากฉะเชิงเทรา
Apr 28, 2022
Banpong station


https://www.youtube.com/watch?v=eoNaD7gWhmw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 12, 13, 14  Next
Page 2 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©