Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311318
ทั่วไป:13282073
ทั้งหมด:13593391
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 9, 10, 11  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 15/12/2022 8:49 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ลุยพัฒนาระบบธรรมาภิบาลโครงการ PPP เพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:24 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:24 น.

“คมนาคม” จับมือ "สถาบันพระปกเกล้า" ร่วมมือพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในโครงการ PPP ด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน เร่งพัฒนาทั้งกลไกและบุคลากร

วันที่ 15 ธ.ค. 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในโครงการเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ ระหว่างกระทรวงคมนาคมกับสถาบันพระปกเกล้า โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ร่วมลงนามฯ



นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า เอ็มโอยูดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธรรมาภิบาล การกำกับดูแลที่ดีของโครงการเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน เพื่อพัฒนากลไกในการขับเคลื่อน กำกับดูแล ติดตามประเมินผลโครงการเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้านคมนาคมและโลจิสติกส์

โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี มีขอบเขตความร่วมมือและหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน เช่น การจัดเตรียมหลักสูตรในการจัดอบรมตามที่โครงการกำหนดให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือด้านทรัพยากรบุคคลและผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาบุคลากร ให้ความร่วมมือด้านทรัพยากร อาคาร สถานที่ในการจัดอบรม และการศึกษาดูงาน จัดสรรค่าใช้จ่ายในการพัฒนาองค์ความรู้ ศึกษาวิจัย ความร่วมมือด้านวิชาการ ด้านทรัพยากร ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม และความร่วมมือด้านอื่นๆ

ทั้งนี้ ได้มีการหารือสถาบันพระปกเกล้า เพื่อจัดทำหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงคมนาคมเข้าใจหลักธรรมาภิบาลและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยภายในปีนี้คาดว่าจะเปิดรับสมัครรุ่นละ 20 คน เพื่อเข้าร่วมหลักสูตรระยะเวลา 45 วัน

“เชื่อว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชน และนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในโครงการด้านคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์เข้ามาลงทุนในประเทศไทย นำไปสู่การสร้างการแข่งขันของไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้างความมั่นใจถึงความโปร่งใสในการดำเนินการต่างๆ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2022 11:05 am    Post subject: Reply with quote

เจาะงบลงทุนเมกะโปรเจกต์คมนาคมปี 2566 โค้งสุดท้ายรัฐบาลลุยเทกระจาดกว่า 1.24 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:04 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:04 น.

เปิดศักราชใหม่ 2566 หลังสถานการณ์ โควิด-19 คลี่คลาย รัฐบาลพยายามเดินหน้าการลงทุนในทุกเซ็กเตอร์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและเศรษฐกิจของประเทศอย่างเต็มกำลัง ซึ่งการลงทุนของหน่วยงานภาครัฐและรัฐสาหกิจ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ยังเป็นเครื่องจักรหลักที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพื่อหวังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวไปตามเป้าหมาย เนื่องจากเป็นการลงทุนที่เกิดการสร้างงาน และผลสำเร็จของโครงการต่างๆ นอกจากจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์การขนส่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย

“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมนั้น มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ลง 30% โดยจะมีการนำระบบเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานอื่น และการเชื่อมต่อการขนส่งจากทางบก สู่ระบบราง และเชื่อมต่อกับขนส่งทางน้ำ และทางอากาศ อย่างไร้รอยต่อ

โครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา
โครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา

@ กางงบปี 66 กว่า 2.28 แสนล้านบาท ทล.มากสุด 1.13 แสนล้าน เร่งประมูลงานปีเดียวกว่า 8 หมื่นล้านใน ธ.ค. 65

หากย้อนไปเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ คือ ปี 2564 กระทรวงคมนาคม ได้รับจัดสรรงบประมาณ วงเงิน 227,894 ล้านบาท ส่วนปี 2565 ได้รับจัดสรรงบประมาณวงเงิน 208,455.2336 ล้านบาท ซึ่งปรับลดลงเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 สำหรับปี 2566 กระทรวงคมนาคม ได้รับจัดสรรงบประมาณวงเงิน 228,930.28 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น ราว 20,000 ล้านบาท

โดยงบประมาณกว่า 2.28 แสนล้านบาทนั้น แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 27,419.32 ล้านบาท (11.98%) รายจ่ายลงทุน จำนวน 201,510.96 ล้านบาท (88.02%) โดยมี 8 ส่วนราชการ และ 5 รัฐวิสาหกิจ จาก 12 รัฐวิสาหกิจ ที่มีการใช้งบแผ่นดิน ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.)

ซึ่งส่วนราชการ 8 หน่วย นั้น กรมทางหลวง (ทล.) ได้รับงบมากที่สุด จำนวน 113,464.41 ล้านบาท รองลงมาคือ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้รับจำนวน 45,583.25 ล้านบาท และกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้รับจำนวน 4,761.01 ล้านบาท

จัดแบ่งเป็น 1. งบรายการปีเดียว จำนวน 80,360.11 ล้านบาท (39.88%) 2. งบผูกพันเดิม จำนวน 58,013.85 ล้านบาท (28.79%) 3. งบผูกพันใหม่ จำนวน 12,981.22 ล้านบาท (6.40%) 4. ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 24,305.38 ล้านบาท (12.06%) 5. งานดำเนินการเอง จำนวน 14,175.84 ล้านบาท (7.03%) 6. อื่นๆ จำนวน 11,764.57 ล้านบาท (5.84%) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง วงเงิน 3,739.95 ล้านบาท (รฟท.), ชำระคืนเงินต้น รฟท. วงเงิน 4,351.72 ล้านบาท รฟม.วงเงิน 2,667.92 ล้านบาท, รายการที่เบิกจ่ายในลักษณะประจำ (ค่าใช้จ่ายประเมินผลโครงการก่อสร้างทางหลวง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกรณีส่วนรวมของประชาชน เป็นต้น) วงเงิน 1,004.98 ล้านบาท

สำหรับ 5 รัฐวิสาหกิจ ได้รับงบลงทุนรวม 32,764.02 ล้านบาท โดย รฟม.ได้รับมากที่สุด จำนวน 17,042.87 ล้านบาท รองลงมาคือ รฟท. จำนวน 15,535.84 ล้านบาท ด้านรายจ่ายประจำ 5 รัฐวิสาหกิจ ได้รับจัดสรรจำนวน 15,853.35 ล้านบาท โดยรฟท.ได้รับมากสุด 7,191.54 ล้านบาท รองลงมาคือ รฟม. จำนวน 4,481.92 ล้านบาท และ ขสมก.จำนวน 4,074.13 ล้านบาท

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า งบประมาณปี 2566 ได้ให้หน่วยงานจัดทำแผนการลงนามในสัญญา โดยรายการปีเดียวให้ลงนามในสัญญาแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. 2565 และรายการผูกพันใหม่ให้ลงนามในสัญญาแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 พร้อมทั้งจัดทำแผนการเบิกจ่ายในแต่ละเดือน เพื่อสามารถเบิกจ่ายเงินให้ได้ตามเป้าหมายของรัฐบาล

@เปิดที่มา 7 แหล่งงบลงทุนปี 2566 รวมกว่า 3.11 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ งบลงทุนรวมในปี 2566 ของกระทรวงคมนาคมมีทั้งสิ้นถึง 311,483.56 ล้านบาท โดยนอกจากงบแผ่นดิน จำนวน 201,510.96 ล้านบาท (คิดเป็น 64.69%) แล้ว ยังมีงบลงทุนจากแหล่งอื่นๆ อีก 6 แหล่ง ได้แก่ 1. เงินกู้ วงเงิน 44,087.01 ล้านบาท (14.15%) 2. รายได้ วงเงิน 42,433.25 ล้านบาท (13.62%) 3. เงินงบประมาณ (งบแผ่นดิน +เงินกู้ที่รัฐรับภาระ) วงเงิน 8,825.70 ล้านบาท (2.83%) 4. กองทุน TFF วงเงิน 8,598.26 ล้านบาท (2.76%) 5. PPP วงเงิน 5,701.71 ล้านบาท (1.83%) 6. กองทุน วงเงิน 326.67 ล้านบาท (0.01%)



@ เจาะแผนงานปี 2566 สานต่อ 115 โครงการเดิม & ผลักดัน 55 โครงการใหม่ มูลค่ารวมกว่า 1.24 แสนล้านบาท

ข้อมูลแผนการดำเนินงานปี 2566 ของกระทรวงคมนาคม พบว่า มีทั้งสิ้น 170 โครงการ คิดเป็นวงเงินลงทุนรวม 2.7 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2565 จำนวน 115 โครงการ วงเงินลงทุน 2,618,270 ล้านบาท และงานใหม่ 51 โครงการ วงเงินลงทุน 124,724 ล้านบาท (เงินงบประมาณ 35,388 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ 89,337 ล้านบาท) โดยมีสัดส่วนเงินกู้ 49% , งบประมาณ 28% ,อื่นๆ 11% ,PPP 7% ,รายได้รัฐวิสาหกิจ 5%

โดยทางถนน มีวงเงินลงทุนรวม 30,960.32 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง วงเงิน 18,683.32 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 446 ล้านบาท โครงการ PPP วงเงิน 5,973 ล้านบาท โครงการใช้เงิน TFFวงเงิน 5,858 ล้านบาท

ทางบก วงเงินลงทุนรวม 541.09 ล้านบาท โดยเป็น โครงการต่อเนื่อง ทั้งหมด

ทางราง วงเงินลงทุนรวม 83,147.74 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง วงเงิน 80,947.55 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 11.12 ล้านบาท โครงการ PPP วงเงิน 2,189.07 ล้านบาท

ทางน้ำ วงเงินลงทุนรวม 2,936.15 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่องวงเงิน 1,556.15 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 1,380 ล้านบาท

ทางอากาศ วงเงินลงทุนรวม 7,197.70 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อเนื่อง 2,799.19 ล้านบาท โครงการใหม่ วงเงิน 4,398.51 ล้านบาท



@โปรเจ็กต์ไฮไลต์ ปี 66 ลุยประมูล PPP มอเตอร์เวย์และรถไฟสีแดงส่วนต่อขยาย

น่าจับตา ปี 2566 ว่า โครงการที่อยู่ในแผน จะสามารถผลักดันให้เปิดประมูลได้ตามเป้าหมายหรือไม่ เฉพาะมอเตอร์เวย์ 4 เส้นทาง และรถไฟสีแดง 3 เส้นทางมูลค่ารวมกัน กว่า 1.1 แสนล้านบาท หากทำได้ จะเกิดการกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง ผู้รับเหมา และอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ไม่น้อย ขณะที่รัฐบาล”ประยุทธ์ จันทร์โอชา”จะหมดวาระ เกิดรอยต่อหลังการเลือกตั้ง ก็เป็นอีกปัจจัยที่อาจทำให้โครงการไม่เป็นไปตามแผนงาน

ทั้งนี้ ภายใต้นโยบายการขับเคลื่อนโครงการเพื่อพัฒนาระบบคมนาคมที่ยั่งยืน ในปี 2566 จึงมีการลงทุนโครงการใหม่ โดยมุ่งเน้นการร่วมลงทุนกับเอกชน เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ โครงการไฮไลต์ที่จะมีการเปิดประมูล โดยกรมทางหลวง มีโครงการมอเตอร์เวย์เตรียม ประมูล ได้แก่ มอเตอร์เวย์ สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) หรือ M9 ตอน ทางยกระดับบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 56,035 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการ PPP มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565

มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) หรือ M 5 ระยะทาง 22 กม. วงเงินลงทุน 28,700 ล้านบาท เป็น PPPGross Cost ,มอเตอร์เวย์ สายนครปฐม-ชะอำ (M8) ระยะทาง 109 กม.วงเงินลงทุน 79,006 ล้านบาท อยู่ะหว่าง ทบทวนผลการศึกษาโครงการใหม่ ,มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M7)ระยะทาง 1.92 กม. วงเงินลงทุน 4,508 ล้านบาท

ด้านกทพ. มีทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม. วงเงิน 14,470 ล้านบาท ที่เปิดเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนเมื่อกลางเดือนธ.คง 2565 และกำหนดยื่นข้อเสนอในเดือนเม.ย. 2566 และยังมีทางด่วนสายเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ระยะทาง 30 กม. วงเงินลงทุน 30,896 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างศึกษา PPP

กรมทางหลวงชนบท มี สะพานเชื่อมเกาะลันตา จ.กระบี่ วงเงินลงทุน 1,849.50 ล้านบาท, สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา -อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง วงเงินลงทุน4,829.25 ล้านบาท ที่เตรียมเปิดประมูล

ด้าน บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) มีแผนพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงินลงทุน 36,829.499 ล้านบาท รองรับผู้โดยสาร 40 ล้านคน/ปี ที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจาก ครม. ,การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตระยะที่ 2 วงเงิน 6,211 ล้านบาท รองรับผู้โดยสาร 18 ล้านคน/ปีจากเดิม 12.5 ล้านคน/ปี เตรียมจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดความเหมาะสม

ส่วนกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เตรียมพัฒนาท่าอากาศยานระนอง ต่อความยาวทางวิ่ง เป็น 2,400 เมตร วงเงิน วงเงิน 750 ล้านบาท , การพัฒนาท่าอากาศยานใหม่ จ.มุกดาหาร วงเงิน 41.0427 ล้านบาท และจ. บึงกาฬ วงเงิน 41.0427 ล้านบาท ที่ได้งบออกแบบศึกษารายละเอียด

กรมเจ้าท่า เดนหน้าแผนพัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา อีก 3 แห่ง วงเงินรวม 79 ล้านบาท คือ ท่าเรือพระปิ่นเกล้า วงเงิน 20 ล้านบาท ท่าเรือพระราม 5 วงเงิน 24 ล้านบาท ท่าเรือปากเกร็ด วงเงิน 35 ล้านบาท

@ชงครม.เคาะประมูลก่อสร้างรถไฟสีแดง ส่วนต่อขยาย

อีกโครงการสำคัญที่คาดว่าจะมีการผลักดันให้เปิดประมูลก่อสร้างในปี 2566 คือ โครงการรถไฟสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) 4 เส้นทาง โดยขณะนี้ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา 3 เส้นทาง ที่มีการปรับกรอบวงเงิน คือ 1. เส้นทางตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท 2. เส้นทางตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม.วงเงิน 4,694.36 ล้านบาท 3. เส้นทางรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,468.69 ล้านบาท

X

สำหรับเส้นทางบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 47,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานีใหม่

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2565 ด้านขนส่งทางบก เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 เส้นทาง คือ M 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา กรอบวงเงิน 84,600 ล้านบาท ,M 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี กรอบวงเงิน 56,047.77 ล้านบาท ,M 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว กรอบวงเงินรวม 30,177 ล้านบาท รวมถึงโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก กรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท

โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 , โครงการรถไฟไทย-จีน รวมถึงเริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลังการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนได้ข้อยุติ

สำหรับงานที่ดำเนินการต่อเนื่องตามนโยบาย”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” ได้แก่ ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) มอเตอร์เวย์และทางด่วน ,การขยายผลโครงข่ายถนนที่สามารถรองรับความเร็ว 120 กม./ชม. ,แผนแม่บท MR-MAP ,แต่งแต้มสีสันทางหลวง ส่งเสริมการท่องเที่ยว

ผลักดันพัฒนารถไฟ EV แก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ,ผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับเรือโดยสารสาธารณะ ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการบิน พัฒนาท่าอากาศยานเป็นศูนย์กลางรวบรวม กระจายสินค้าเกษตร/สินค้าเน่าเสียง่าย

โครงการรถไฟทางคู่สายใต้
โครงการรถไฟทางคู่สายใต้

@รถไฟทางคู่ระยะแรก 4 เส้นทางก่อสร้างเสร็จ

ขณะที่ในปี 2566 จะมีหลายโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเช่น รถไฟทางคู่ ระยะแรก 5 เส้นทาง ได้แก่ สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. ค่าก่อสร้าง 18,699 ล้านบาท สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. ค่าก่อสร้าง 23,910 ล้านบาท สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. ค่าก่อสร้าง 15,718 ล้านบาท สายใต้ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. ค่าก่อสร้าง 5,807 ล้านบาท , สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. ค่าก่อสร้าง 12,457 ล้านบาท

ขณะที่การติดตั้งงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมรถไฟทางคู่ที่แบ่งงาน เป็น 3 สาย ได้แก่ สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. ค่าก่อสร้าง 2,988.57 ล้านบาท มีกำหนดแล้วเสร็จเดือน เม.ย. 2566 สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. ค่าก่อสร้าง 2,549.89 ล้านบาท มีกำหนดเสร็จเดือน ต.ค. 2566 และสายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กม. ค่าก่อสร้าง 7,384.84 ล้านบาท กำหนดเสร็จเดือน ม.ค. 2566



@ทดสอบระบบโมโนเรล”สีเหลือง-สีชมพู”ตั้งเป้าเปิดหวูดกลางปี 66

ส่วนโครงการ รถไฟฟ้าสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. โครงการ รถไฟฟ้าสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. การก่อสร้างใกล้เสร็จและเตรียมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2566 โดยสายสีเหลือง เริ่มทำการทดสอบเดินรถ จากศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ไปตามถนนศรีนครินทร์- ถนนลาดพร้าว โดยในต้นปี 2566 ทั้ง 2 โครงการจะทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ก่อนจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ โดยสีเหลือง คาดว่าเปิดเดือนมิ.ย. 2566 ส่วน สีชมพู เปิดช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. 2566

การลงทุนสารพัดโปรเจกต์ใหญ่”คมนาคม”ในช่วงโค้งสุดท้าย”รัฐบาล น่าจับตาอย่างยิ่ง เพราะเชื่อว่า คงต้องเร่งทิ้งทวน ผลักดันผูกสัญญาให้ได้มากที่สุด!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44769
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/12/2022 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เจาะงบลงทุนเมกะโปรเจกต์คมนาคมปี 2566 โค้งสุดท้ายรัฐบาลลุยเทกระจาดกว่า 1.24 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:04 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:04 น.

ลุยต่อ! ปี 66 “ศักดิ์สยาม” เร่งดัน 171 โครงการ 2 ล้านล้าน
เดลินิวส์ 27 ธันวาคม 2565 19:13 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

ปี 66 “ศักดิ์สยาม” ลุยต่อสารพัดโปรเจ็กท์ บก-ราง-น้ำ-อากาศ 171 โครงการ 2 ล้านล้าน เผยปี 65 มอบ 79 นโยบาย 167 โครงการ เปิดให้บริการแล้ว 61 โครงการ เน้นย้ำยึกหลักกฎหมาย หลักธรรมาภิบาลเคร่งครัด

เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า  ผลงานกระทรวงคมนาคมตามนโยบายในปี 65 จาก 79 นโยบาย 167 โครงการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ หรือเปิดให้บริการแล้ว 61 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ 64 โครงการ และกำลังจัดทำแผนงาน หรือออกแบบ 42 โครงการ มีรายละเอียดดังนี้ ด้านขนส่งทางถนน 13 นโยบาย 25 โครงการ แบ่งเป็น เปิดบริการแล้ว 5 โครงการ อาทิ การกำหนดความเร็วรถยนต์สูงสุดไม่เกิน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง โครงการพัฒนาระบบ M-Flow โครงการที่ประกวดราคาแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินงาน 14 โครงการ อาทิ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว (M82) โครงการทางพิเศษในจังหวัดภูเก็ต สายกะทู้-ป่าตอง และอยู่ระหว่างจัดทำแผน หรือออกแบบ 6 โครงการ อาทิ โครงการจัดทำแผนแม่บท MR-MAP โครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง และมอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M7)

ด้านขนส่งทางบก 19 นโยบาย 24 โครงการ เปิดให้บริการแล้ว 15 โครงการ อาทิ โครงการระบบติดตามตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ โครงการการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์เดลิเวอรี่ โครงการการจัดระเบียบรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โครงการยกระดับคุณภาพการออกใบอนุญาตขับรถ โครงการผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถขนส่งสาธารณะ (EV) อยู่ระหว่างดำเนินงาน 4 โครงการ อาทิ โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย เป็นต้น และอยู่ระหว่างจัดทำแผนหรือออกแบบ 5 โครงการ อาทิ การปรับเวลาเดินรถบรรทุก 10 ล้อ ขึ้นไป โครงการจัดหารถประจำทาง EV ของ ขสมก. จำนวน 2,511 คัน

ด้านขนส่งทางราง 23 นโยบาย 55 โครงการ เปิดให้บริการแล้ว 18 โครงการ อาทิ โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารสินทรัพย์ รฟท. (บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด) เร่งรัดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ การใช้บัตร EMV เพื่อจ่ายค่าโดยสารบนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วง รถไฟชานเมืองสายสีแดง อยู่ระหว่างดำเนินงาน 15 โครงการ อาทิ โครงการพัฒนารถไฟทางคู่ (ระยะแรก) โครงการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง และอยู่ระหว่างจัดทำแผน หรือออกแบบ 22 โครงการ อาทิ พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงและสถานีรถไฟทางคู่ และผลักดันการพัฒนารถไฟ EV (EV on Train)

ด้านขนส่งทางน้ำ 15 นโยบาย 34 โครงการ เปิดให้บริการแล้ว 8 โครงการ อาทิ เปิดบริการเรือ RoRo เส้นทางสัตหีบ-เกาะสมุย ผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสำหรับเรือโดยสารสาธารณะ ปรับปรุงลักษณะทางกายภาพท่าเรือ 3 ท่า คือ ท่าบางโพ ท่าราชินี ท่าสาทร การพัฒนาบุคลากรทางน้ำ มากกว่า 3,500 คน อยู่ระหว่างดำเนินการ 15 โครงการ อาทิ โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และอยู่ระหว่างจัดทำแผน หรือออกแบบ 11 โครงการ อาทิ ศึกษาความเป็นไปได้การจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ การศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ ให้เป็น Automation Port

ด้านขนส่งทางอากาศ 9 นโยบาย 29 โครงการ เปิดบริการแล้ว 13 โครงการ อาทิ พัฒนาระบบการเดินอากาศระบบใหม่ ณ ศูนย์ควบคุมการบินหัวหิน โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร-เพิ่มประสิทธิภาพของสนามบินสุราษฎร์ธานี อยู่ระหว่างดำเนินการ 10 โครงการ อาทิ การให้สิทธิบริหารท่าอากาศยานของ ทย. แก่ ทอท. 3 ท่าอากาศยาน (กระบี่ อุดรธานี และบุรีรัมย์) เป็นต้น และอยู่ในขั้นตอนจัดทำแผนงาน หรือออกแบบ 6 โครงการ อาทิ โครงการศึกษา ออกแบบ และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยานภูมิภาคของ ทย. จำนวน 2 แห่ง (ระนอง และชุมพร)

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ปี 66 กระทรวงคมนาคม ยังคงสานต่อนโยบายปี 65 รวม 79 นโยบาย 167 โครงการ ซึ่งในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จ 106 โครงการ ต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามมี 24 นโยบายใหม่ที่ต้องดำเนินการในปี 66 มีดังนี้ ด้านขนส่งทางถนน 4 นโยบาย 15 โครงการ ประกอบด้วย 1.การพัฒนาระบบ M-Flow ทางพิเศษสายฉลองรัช สายบูรพาวิถี สายกาญจนาภิเษก 2.การแก้ไขปัญหาจราจรบนทางด่วน คือ ศึกษาความเหมาะสมทางพิเศษ สายศรีนครินทร์-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3.ต่อเติมโครงข่ายทางพิเศษเชื่อมโยงภูมิภาค อาทิ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงนครปฐม-ปากท่อ PPP มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา-อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง และโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะลันตา ต.เกาะกลาง-ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ และ 4.จัดทำมาตรฐานการควบคุมงานก่อสร้างในพื้นที่เปิด

ด้านขนส่งทางบก 5 นโยบาย 5 โครงการ ประกอบด้วย 1.แผนพัฒนาการบริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS 2.แผนเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า 3.ต่อยอดการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนส่งสินค้า คือ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนส่งสินค้า 4.โรงเรียนสอนขับรถขนาดใหญ่ เปิดรับคัดเลือกโรงเรียนสอนขับรถขนาดใหญ่ และ 5.ยกระดับด้านทะเบียนอย่างต่อเนื่อง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาระบบการจดทะเบียนรถ

ด้านขนส่งทางราง 5 นโยบาย 5 โครงการ ประกอบด้วย 1.เร่งพัฒนาระบบตั๋วร่วม 2.พัฒนามาตรฐานรถไฟทางคู่ 3.พัฒนารถไฟความเร็วสูง ศึกษาความเหมาะสมการเชื่อมโยงรถไฟไทย สปป.ลาว และจีน 4.พัฒนามาตรฐานรถไฟฟ้าในเมือง และ 5.ผลักดันการพัฒนารถไฟฟ้าในเมืองภูมิภาค คือ โครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายท่าฉัตรไชย

ด้านขนส่งทางน้ำ 6 นโยบาย 9 โครงการ ประกอบด้วย 1.แนวป้องกันการกัดเซาะตลิ่งต้องคงทน เช่น ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในแม่น้ำป่าสัก ระยะที่ 2 และ 3 2.Master Plan ฟื้นฟูชายหาด 3.ท่าเรือยอร์ชคลับ ต้องสร้างรายได้ 4.แผนการเชื่อมต่อท่าเรือ กับสถานีรถไฟฟ้าต้องสมบูรณ์ 5.เพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางน้ำ เช่น ศึกษาพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ และ 6.การพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่หลังท่า


ด้านขนส่งทางอากาศ 4 นโยบาย 24 โครงการ ประกอบด้วย 1.พัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ/เพิ่มประสิทธิภาพ เช่น โครงการขยายลานจอดเครื่องบินท่าอากาศยานขอนแก่น โครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานตรัง และนครศรีธรรมราช โครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายด้านตะวันออก และทางวิ่งเส้นที่ 3 2.พัฒนาห้วงอากาศ/ระบบการเดินอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ/เพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ก่อสร้างอาคารหอควบคุมการจราจร  และสำนักงานแห่งใหม่ (เชียงใหม่) 3.ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการบิน เช่น โครงการบริหารและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data & Analytics) 4.เตรียมการรองรับนักท่องเที่ยวตามนโยบายการเปิดประเทศ เช่น การการแก้ไขปัญหาในการให้บริการผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ส่วนการขับเคลื่อนนโยบายปี 67 มีดังนี้ ด้านการขนส่งทางถนน 4 นโยบาย 20 โครงการ อาทิ การแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางด่วน การต่อเติมเพื่อแก้ Missing Link เชื่อมโยงภูมิภาค/เชื่อมโยงต่างประเทศ การติดตามปัญหาอุทกภัย แก้ไขอย่างยั่งยืน และการวางระบบติดตามโครงการขนาดใหญ่, ด้านการขนส่งทางบก 8 นโยบาย 13 โครงการ อาทิ สนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า และส่งเสริมยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ส่งเสริมให้มีจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เร่งรัดแผนฟื้นฟู ขสมก. ยกระดับระบบการออกใบอนุญาตขับรถ การเชื่อมโยง และพัฒนาระบบการขนส่งด้วยรถโดยสารสาธารณะ การพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่าย และสถานีขนส่งสินค้า การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนส่งสินค้า การดำเนินการเพื่อรองรับเทคโนโลยียานยนต์อัตโนมัติ และยกระดับมาตรฐานใบอนุญาตขับรถขนาดใหญ่

ด้านขนส่งทางราง 6 นโยบาย 13 โครงการ อาทิ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางราง เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) เช่น พัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีธนบุรี การแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างยั่งยืน การป้องกันการลอบวางระเบิดทางรถไฟ เช่น จัดตั้งศูนย์ประสานงานความปลอดภัยประสานเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ตรวจสอบเส้นทางที่ชุมทางหาดใหญ่ สถานีเทพา และสถานีตันหยงมัส การป้องกันการขโมยสายไฟ และการผลักดันการพัฒนารถไฟ EV (EV on train)


ด้านขนส่งทางน้ำ 6 นโยบาย 7 โครงการ ประกอบด้วย งานจัดระเบียบการรุกล้ำลำน้ำในแม่น้ำ และชายฝั่ง ท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยว การพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่หลังท่า เสริมทรายชายหาด สนับสนุนการท่องเที่ยว การจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ และพัฒนาการเชื่อมต่อท่าเรือกับสถานีรถไฟฟ้า, ด้านขนส่งทางอากาศ 1 นโยบาย 3 โครงการ ประกอบด้วย การพัฒนาท่าอากาศยานระนองก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานระนอง การพัฒนาท่าอากาศยานชุมพร งานก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่งขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบินและองค์ประกอบอื่นๆ และการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง ระยะที่ 2 งานต่อเติมความยาวทางวิ่ง

อย่างไรก็ตามจาก 79 นโยบายปี 65 ที่มีทั้งหมด 167 โครงการ เป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ หรือเปิดให้บริการแล้ว รวม 61 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ 64 โครงการ อยู่ในช่วงจัดทำแผนงานหรือออกแบบ 42 โครงการ ส่วนโครงการ/กิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องให้แล้วเสร็จ รวมถึงโครงการใหม่ที่จะทำในปี 66 จำนวน 171 โครงการ เป็นโครงการใหม่ปี 66 จำนวน 58 โครงการ สำหรับแหล่งเงินในการพัฒนา 171 โครงการ วงเงินลงทุนทั้งใน และนอกงบประมาณภาคคมนาคม ทั้งโครงการตั้งแต่ปี 58-70 จำนวน 2,718,959 ล้านบาท ส่วนวงเงินลงทุนทั้งใน และนอกงบประมาณภาคคมนาคมเฉพาะของปี 66 จำนวน 124,839 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44769
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2022 9:58 am    Post subject: Reply with quote

ผลงานด้านโครงสร้างพื้นฐานทางราง ปี 2565 ตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
MOT Channel
Dec 28, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=NG2rG7Cwajs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2022 2:23 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
เจาะงบลงทุนเมกะโปรเจกต์คมนาคมปี 2566 โค้งสุดท้ายรัฐบาลลุยเทกระจาดกว่า 1.24 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:04 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:04 น.

ลุยต่อ! ปี 66 “ศักดิ์สยาม” เร่งดัน 171 โครงการ 2 ล้านล้าน
เดลินิวส์ 27 ธันวาคม 2565 19:13 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


'ศักดิ์สยาม'เสนอครม.อนุมัติ 9 โครงการ ลงทุน 5 แสนล้านบาท
28 ธันวาคม 2565

'คมนาคม' ทิ้งทวนส่งท้ายรัฐบาล เล็งชง ครม. 9 โครงการ ลงทุน 5 แสนล้านบาท
เศรษฐกิจ
27 ธันวาคม 2565 เวลา 18:19 น.

ศักดิ์สยาม รมว.คมนาคม แจงเพื่อให้งานสอดคล้องกับแอคชั่นแพลนที่กำหนดไว้ เตรียมเสนอครม.อนุมัติ9โครงการลงทุน 5แสนล้านบาท
1.รถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร วงเงิน 3 แสนล้านบาท

2.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670 ล้านบาท

3.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,694 ล้านบาท

4.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,468 ล้านบาท

5.ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 47,000 ล้านบาท

6. รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 29,748 ล้านบาท

7.รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร ววงเงิน 62,859 ล้านบาท

8. รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร วงเงิน 37,527 ล้านบาท

9.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) บางปะอิน-นครราชสีมา จำนวน 16 ตอน ระยะทาง 196 กม. วงเงินราว 6,700 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเปิดประมูลก่อสร้างหลังจากที่ก่อนหน้านี้มีความจำเป็นต้องปรับแบบก่อสร้างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน


“ศักดิ์สยาม”ชงครม.ทิ้งทวน9โครงการยักษ์5แสนล้าน
*ไฮสปีดเทรนเฟสสอง-รถไฟทางคู่เฟสสอง 3 เส้น
*ต่อขยายสีแดง 4 สาย-เพิ่มค่าก่อสร้างM6โคราช
*ภูมิใจที่สุด”ผลงานโดดเด่นอีวีบัส-อีวีโบทเอกชน”
https://www.posttoday.com/politics/688962
https://www.thailandplus.tv/archives/652646
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1045149
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/710786577165246
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44769
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2022 5:51 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ STOCK GOSSIP: PTC แตกไลน์ธุรกิจใหม่ชิงเค้ก'พลังงานขยะชุมชน'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Thursday, December 29, 2022 04:19
ดาริน โชสูงเนิน

กรุงเทพธุรกิจ

จากภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศ- ท่องเที่ยว "ฟื้นตัว" ส่งผลให้ปริมาณ การใช้น้ำมันในประเทศยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังรัฐบาลได้ทยอยผ่อนคลายล็อกดาวน์ การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประชาชนหันมาเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวและการเดินทางด้วยรถขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจการขนส่งสินค้าที่มี แนวโน้มเติบโตสูง สะท้อนผ่านพฤติกรรม ผู้บริโภคย้ายจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการด้านการขนส่ง ที่เติบโตต่อเนื่อง

และหนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับ "ปัจจัยบวก" อย่าง บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTC ผู้ให้บริการคลังน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับรับ เก็บ ผสม และจ่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงรายใหญ่ของไทย โดยดูแลในพื้นที่ภาคอีสานโดยบริษัทมีคลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่จังหวัดขอนแก่น (คลังขอนแก่น) และคลังน้ำมันเชื้อเพลิงที่จังหวัดศรีสะเกษ (คลังศรีสะเกษ)

ทว่า อีกจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจ และ ไม่สามารถมองข้ามได้ คือ บริษัทมีเป้าหมายในการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน โดยเฉพาะ"โรงไฟฟ้าขยะชุมชน"

"วีรวัฒน์ บูรพพัฒนพงศ์" ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีเมียร์ แทงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTC เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัท "สนใจ" ลงทุนด้าน "พลังงานทดแทน" อย่าง โรงไฟฟ้าขยะชุมชน ซึ่งได้ศึกษามาพอสมควร แล้วว่าเป็นธุรกิจที่มีสัญญาบริการชัดเจน สร้างรายได้สม่ำเสมอ

คาดว่าในปีหน้าภาครัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะทยอย เปิดประมูลโครงการออกมามากกว่า 10 โครงการ ซึ่งบริษัทมีความพร้อมจะ เข้าร่วมประมูล เนื่องจากมีความมั่นคง ด้านฐานะการเงิน ไม่มีหนี้สถาบันทางการเงิน ทำให้มีความสามารถการลงทุนใน ธุรกิจใหม่ๆ

สำหรับทิศทางธุรกิจหลักในปี 2566 คาดว่ารายได้จะเติบโตไปตามความต้องการ ใช้น้ำมันสอดคล้องกับการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศที่คาดว่า จะเติบโตราว 2.8-4.7% ตามการฟื้นตัว จากการเปิดประเทศ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย

"การเติบโตของเราในปีหน้า จะเติบโต ทั้ง Inorganic และ Organic โดย Organic จะเป็นการเติบโตตาม GDP ของประเทศไทย ส่วน Inorganic เรามีความคาดหวังที่จะได้โครงการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่เรามีความพร้อมและศึกษามานาน"
สำหรับ กรณีราคาน้ำมันดิบโลก "ผันผวน" ไม่ได้ส่งผลกระทบทางตรง ต่อบริษัท เนื่องจากเป็นเพียงผู้ให้บริการ คลังน้ำมันเท่านั้น แต่อาจกระทบในแง่ของ ดีมานด์บางช่วงจังหวะ หรือในช่วงที่ราคาขาขึ้น ทำให้ยอดจ่ายของ PTC สูงผิดปกติ แต่ไม่ได้ ส่งผลต่อผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ

ส่วนการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ปัจจุบันยังไม่เห็นถึงผลกระทบต่อการ ใช้น้ำมันให้ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันบริษัทก็มองเรื่องของการ Diversifyไปในธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์ อย่างโครงการโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ได้เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมประมูล

นอกจากนี้ PTC ได้วางแผนสร้าง การเติบโตในอนาคตอีกหลายโครงการ ในช่วงระยะเวลา 1-3 ปี ประกอบไปด้วย

1.สร้างจุดรับน้ำมันทางรถไฟ บริเวณด้านหลังของคลังน้ำมันศรีสะเกษ สำหรับการรับน้ำมันทางรถไฟโดยบริษัทมีแผน ที่จะปรับพื้นที่และวางรางรถไฟที่ด้านหลัง ของคลังน้ำมันเพื่อใช้เป็นจุดจอดของ รถไฟและเป็นจุดสูบถ่ายน้ำมันเข้าถังเก็บ การลงทุนในส่วนนี้จะมีมูลค่าประมาณ 85-90 ล้านบาท

2.สร้างระบบท่อเพื่อลำเลียง รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการ สูบรับน้ำมันจากจุดรับน้ำมันทางรถไฟ เข้าถังเก็บน้ำมันของบริษัท โดยการลงทุน ในส่วนนี้จะมีมูลค่าประมาณ 15-20 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทยังมีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรับ-จ่ายน้ำมัน โดยรองรับวิธีการ โอนคลังที่หลากหลาย และเพิ่มจำนวน สถานีบริการที่มารับน้ำมันจากคลังของบริษัท รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งมอบพลังงาน เพื่อให้ทุกพื้นที่มีโอกาสเข้าถึงพลังงานอย่างเท่าเทียมกัน

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44769
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/01/2023 2:59 pm    Post subject: Reply with quote

“อนุทิน” ให้คมนาคมลุยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรับนทท.
INN News 07 มกราคม 2023 - 14:00

“อนุทิน”พอใจผลงานกระทรวงในกำกับดูแล ให้ความเชื่อมั่นหน่วยงานช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้คมนาคมลุยลงทุนเตรียมโครงสร้างพื้นฐานพร้อมรับนักท่องเที่ยว

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้ติดตามผลงานขอกระทรวงในการกำกับดูแลตลอดปี 2565 และช่วงก่อนหน้า ทั้งสาธารณสุข คมนาคม การท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้ความเชื่อมั่นว่าหน่วยงานในกำกับได้มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน

รองนายกรัฐมนตรีพอใจการดำเนินงานของหน่วยงานในกำกับ โดยเฉพาะในช่วงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด19คลี่คลายทุกหน่วยงานได้ประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้การเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นไปอย่างราบรื่น ขณะที่การแพร่ระบาดอยู่ในการควบคุม

ทั้งนี้ ในช่วงที่โควิด19 ยังแพร่ระบาดกระทรวงคมนาคมได้เร่งผลักดันการลงทุนโครงการที่อยู่แผนหลายโครงการ ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าสายต่างๆ รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ทางด่วน มอเตอร์เวย์ สนามบิน ท่าเรือ ระบบโลจิสติกส์และการขนถ่ายสินค้า เพื่อเป็นเครื่องยนต์ประคองเศรษฐกิจได้ในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงจากโรคระบาด และเตรียมประเทศให้พร้อมรับการกลับมาของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวทันทีที่โควิด19 คลี่คลาย

ขณะเดียวกัน นายอนุทิน มั่นใจว่าขณะนี้ประเทศไทยมีความพร้อมรับทั้งนักท่องเที่ยว และนักลงทุน เพราะในช่วงโควิด19 ระบาด ทุกหน่วยงานไม่ได้หยุดรออะไร แต่เดินหน้าตามแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อพ้นโควิด19 แล้วนักท่องเที่ยว นักลงทุนจะต้องมาประเทศไทย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รองนายกรัฐมนตรีเห็นว่าประเด็นที่ต้องมีการผลักดันในระยะต่อไปคือ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่จะชิงใช้ความได้เปรียบหรือความโดดเด่นทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ตั้งอยู่กลางอาเซียน ทำให้นักลงทุนเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าไปทั่วโลกได้ด้วยการขนส่งผ่านระบบรางทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ถนน และมอเตอร์เวย์ เนื่องจากปัจจุบันไทยมีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เหล่านี้เชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านตั้งแต่เหนือจรดใต้ และตะวันออกสู่ตะวันตก และหากผลักดันโครงการพัฒนาการขนทางรางกับการขนส่งทางทะเลเชื่อมระหว่างอ่าวไทยและอันดามันสำเร็จ จะเพิ่มศักยภาพและเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจการลงทุนประเทศไทยได้อีกมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44769
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2023 10:45 am    Post subject: Reply with quote

ด้วย สำนักงบประมาณ ได้จัดการประชุมสัมมนาการมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในการนี้ขอเรียนเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมรับฟังรับชมได้ตามช่อ่งทางตามรายละเอียดเอกสารดังแนบ
12 ม.ค. 66

🎞️ https://www.facebook.com/LiveNBT2HD/videos/690523955944072

เอกสาร PPT ประกอบ
https://drive.google.com/drive/folders/1fUR1nw5UJJQuH9z35g22j-La2vvgIsJ1
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44769
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2023 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม" เปิดแผนลงทุนปี 66 แตะ 1.2 แสนล้าน ปลุกจีดีพีโต 2.3%
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล 12 มกราคม 2566

“คมนาคม” เปิดแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กค์ ปี 66 แตะ 1.2 แสนล้านบาท ปั้นจีดีพีโต 2.3% ดึงเงินสะพัดในอุตสาหกรรมก่อสร้างพุ่ง 1.24 ล้านล้านบาท หวังพลิกโฉมประเทศ เชื่อมประตูการค้าอาเซียน-โลก

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ มีแผนผลักดันการลงทุนในปี 2566 รวม 124,839 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินงบประมาณ 35,395 ล้านบาท และนอกงบประมาณ 89,443 ล้านบาท ซึ่งในวงเงินส่วนนี้เป็นการจัดสรรเพื่อพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางรางสูงสุดด้วยมูลค่ารวม 883,147 ล้านบาท หรือคิดเป็น 66.6% รองลงมา คือ ขนส่งทางถนน มูลค่ารวม 30,960 ล้านบาท คิดเป็น 24.8% ระบบขนส่งทางอากาศมูลค่า 6,331 ล้านบาท คิดเป็น 5.8% และระบบขนส่งทางน้ำ มูลค่า 2,936 ล้านบาท คิดเป็น 2.4% และขนส่งทางบก มูลค่า 597 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.4% ของวงเงินลงทุนทั้งหมด
    "การลงทุนของกระทรวงคมนาคมในปี 2566 จะก่อให้เกิดการพลิกโฉมประเทศ คาดว่าสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงถึง 2.35% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) หรือราว 4 แสนล้านบาทต่อปี รวมทั้งการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 154,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้เงินสะพัดในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องอีกราว 1.24 ล้านล้านบาท"
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า หากการลงทุนในปี 2566 เป็นไปตามที่วางไว้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทั้งระบบขนส่งทั้ง 4 มิติ เช่น ระบบขนส่งทางถนน,ระบบขนส่งทางน้ำ,ระบบขนส่งทางทางราง,ระบบขนส่งทางอากาศ ที่จะก่อให้เกิดการเดินทางและการขนส่งในภูมิภาคสะดวกมากขึ้น เป็นเสมือนประตูการค้าเชื่อมอาเซียนและโลก

ขณะเดียวกันกระทรวงฯมีแผนผลักดันลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานภายในปีนี้ เช่น โครงการ MR-MAP เพื่อพัฒนาทางรถไฟและทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) รวม 10 เส้นทาง ระยะทางกว่า 7,003 กิโลเมตร ครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาแนวเส้นทาง ขณะที่โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย (แลนด์บริดจ์) ชุมพร - ระนอง ซึ่งเป็นโครงการที่ครอบคลุมโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก, ทางรถไฟและมอเตอร์เวย์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกจากนี้ยังมีโครงการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ,การพัฒนาท่าเรือสำราญทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ฯลฯ

สำหรับโครงการลงทุนอื่นๆของกระทรวงคมนาคมที่เร่งผลักดันภายในปี 2566 เช่น
มอเตอร์เวย์วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน - บางบัวทอง วงเงิน 56,035 ล้านบาท,
มอเตอร์เวย์สายวงแหวนตะวันตก ช่วงบางบัวทอง - บางปะอิน วงเงิน 23,025 ล้านบาท,
มอเตอร์เวย์สายนครปฐม – ปากท่อ วงเงิน 43,227 ล้านบาท ,
ส่วนต่อขยายยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) วงเงิน 31,358 ล้านบาท ,
โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ,ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3,
โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 2.74 แสนล้านบาท ,
โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย วงเงิน 3.18 แสนล้านบาท,
โครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดง 5 โครงการ วงเงินรวมกว่า 70,000 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเปิดประกวดราคาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44769
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2023 7:04 am    Post subject: Reply with quote

บางจากทุ่ม5.5หมื่นล.ซื้อเอสโซ่ 'ปตท.'สุดอั้นขึ้น'เบนซิน'30สต. ฟันธงตรุษจีนเงินสะพัด1.3หมื่นล.
Source - มติชน
Friday, January 13, 2023 03:51

บางจากทุ่ม 5.5 หมื่นล้านซื้อเอสโซ่ เพิ่มกำลังกลั่น-ปัมกว่า 2,100 แห่ง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี ปี'66 ท่องเที่ยวโกยเงิน 2.25 ล้านล้าน ตรุษจีนใช้จ่ายเฉียด 1.3 หมื่นล้าน

ความเชื่อมั่นปชช.-ธุรกิจพีครอบ2ปี

เมื่อวันที่ 12 มกราคม นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เดือนธันวาคม 2565 พบว่า ดัชนีทุกรายการปรับตัวดีขึ้น ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภค (CCI) อยู่ที่ 49.7 จากระดับ 47.9 ความเชื่อมั่นในปัจจุบัน และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคต อยู่ที่ 34.6 และ 56.9 จากระดับ 32.6 และ 55.2 เทียบเดือนพฤศจิกายน 2565 อีกทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 43.9 47.0 และ 58.1 ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ที่อยู่ระดับ 42.0 45.2 และ 56.4 ตามลำดับ ขณะที่มุมมองต่อการซื้อบ้านใหม่ ซื้อรถยนต์ใหม่ ลงทุน ท่องเที่ยว และความสุขในการดำเนินชีวิตดีขึ้นทุกรายการ

นายธนวรรธน์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่มีผลต่อความเชื่อมั่นทุกรายการดีขึ้นในระดับ 1-2 จุด และแนวโน้มเป็นขาขึ้น เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่การท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งการท่องเที่ยวของคนไทยและต่างชาติ รวมถึงดูแลสถานการณ์โควิดในประเทศดีขึ้น ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับ ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงอย่างมาก ทำให้ประชาชนรู้สึกผ่อนคลายเรื่องค่าครองชีพ ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังคงกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต รวมถึงกังวลต่อสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนยืดเยื้อ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก เป็นปัจจัยเพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย การส่งออกไม่ได้สูงนัก จึงทำให้ประชาชนยังใช้จ่ายแบบระมัดระวังอยู่

ชี้ท่องเที่ยวต่างชาติกระตุ้นศก.

นายธนวรรธน์กล่าวต่อว่า พร้อมกันนี้ ได้สำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (ภาคธุรกิจ) เดือนธันวาคม 2565 พบว่า ดัชนีดีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยดัชนีฯโดยรวม อยู่ที่ 45.5 ดัชนีฯในปัจจุบัน 45.2 และดัชนีฯในอนาคต 45.7 เพิ่มขึ้นจาก 43.9, 43.5 และ 44.4 ตามลำดับ ปัจจัยบวก คือ มุมมองต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวจากภาคท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น มีผลต่อการจ้างงานและรายได้ที่เพิ่มขึ้นและกระจายทั่วถึงมากขึ้น การผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิด ทำให้เดินทางมากขึ้นตามราคาน้ำมันโลกเริ่มทรงตัวระดับ และราคาพืชผลเกษตรยังดี แต่ยังกังวลเรื่องค่าไฟและค่าแรง บาทแข็งเร็วเกินไป ดอกเบี้ยปรับเร็ว ภัยธรรมชาติมีผลต่อผลผลิตอยากให้รัฐช่วยเงินอุดหนุนช่วยเหลือโดยเร็ว

"ผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคประชาชน และภาคธุรกิจ สะท้อนว่าความเชื่อมั่นเป็น ขาขึ้น และมีโอกาสกลับไปแตะระดับปกติ คือความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ระดับ 100 และความเชื่อมั่นธุรกิจอยู่ระดับ 50 หลังไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งมีปัจจัยหนุนหลายเรื่อง อาทิ การจัดตั้งรัฐบาลใหม่และออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ บวกกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การส่งออกยังบวกได้ 1-2% และภาคท่องเที่ยวไทยกลับมาเป็นไฮซีซั่นอีกครั้ง คาดจำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติเกิน 25 ล้านคน อีกทั้งการออกมาทำกิจกรรมมากขึ้นตามเทศกาลต่างๆ ก็จะส่งผลต่อจีดีพีครึ่งปีหลังโตเกิน 3.7-3.8% จากครึ่งปีแรก 3.4-3.5% ส่งผลให้จีดีพีไทย ทั้งปีโตเกิน 3.6% และมีโอกาสใกล้ถึง 4%" นายธนวรรธน์กล่าว
ลุ้นนโยบายดันจีดีพีหลังเลือกตั้ง

นายธนวรรธน์กล่าวต่อว่า ในการสำรวจประชาชนและธุรกิจ พบว่า ให้ความสนใจและติดตามการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น ทางศูนย์พยากรณ์ฯจะมีการสำรวจประชาชนและภาคเอกชน ถึงความต้องการด้านนโยบายและความคาดหวังหลังการเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่ ซึ่งประเมินว่าการเลือกตั้ง คาดจะอยู่ในช่วงไตรมาส 2 จะมีเงินสะพัด 4-5 หมื่นล้านบาท ช่วยเพิ่มจีพีดีไตรมาส 2 อีก 0.3% และเพิ่ม จีดีพี 0.5-0.6% ในไตรมาส 3-4 โดยมีการคาดหวังจะเห็นนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ต่อเนื่อง

บิ๊กแลนด์ฯจับตาศก.โลกยังผันผวน

นายนพร สุนทรจิตต์เจริญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงมากที่สุดของปี 2566 คือความไม่แน่ไม่นอนของเศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวนสูง เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก อเมริกา ยุโรป รวมถึงจีน มีผลต่อภาวะเงินเฟ้อ ราคาพลังาน และโควิด ที่กระทบในประเทศจีนซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ยัง ไม่นิ่ง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังขึ้นแต่คาดว่าน่าจะถดถอย

นายนพรกล่าวว่า ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2566 น่าจะดีขึ้นเพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไปอิงกับการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ช่วงโควิดเจ็บตัวกันมาก หลังเปิดประเทศโควิดคลี่คลายมีการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวค่อนข้างมากตั้งแต่ปลายปี 2565 และมีข่าวดีว่าจีนเปิดประเทศ จะทำให้การท่องเที่ยวดีขึ้น เกิดการจ้างงานในภาคบริการ และกำลังซื้อในประเทศดีขึ้น ทั้งนี้ จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงและความไม่แน่ไม่นอนในหลายเรื่องกระทบกับเศรษฐกิจรวมของโลก จะกระทบต่อการส่งออกไม่ขยายตัว ซึ่งต้องจับตาเรื่องของอัตรา แลกเปลี่ยนจะมีความผันผวนหรือไม่ ซึ่งปีนี้จะเป็นปีที่จะเห็นทิศทางอะไรชัดเจนมากขึ้นว่าจะมูฟออนอย่างไร เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเป็นสิ่งที่เห็นและเกิดขึ้นจากปี 2565 ไปหมดแล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาสักระยะในการฟื้นตัว คง ไม่ได้เห็นในเร็ววัน ดังนั้น การทำธุรกิจปีนี้ก็ต้องรู้จักประมาณตน

หนุนหอค้าไทย-จีนจัดถกธุรกิจ

"จีนเปิดประเทศต่อธุรกิจอสังหาฯ คงต้องรอดูอีกสักระยะ ยังเร็วเกินไปที่จะประเมิน เพราะกรณีของกลุ่มทุนจีนสีเทามีลูกค้าคนจีนเกิดความกังวล อย่างไรก็ตาม ไทยเป็นประเทศเป้าหมายที่จีนอยากเข้ามาอยู่อาศัยทั้งคอนโดและบ้าน ทั้งนี้ การที่ประธานหอการค้าไทย-จีนจะมีการจัดให้นักลงทุนชาวจีนเข้ามาและเชิญนักธุรกิจรายใหญ่ของไทยร่วมด้วยนั้น มองว่าเป็นเรื่องที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์การค้าระหว่างประเทศ เหมือนกับที่รัฐบาลฟื้นความสัมพันธ์กับซาอุดีอาระเบีย เพราะเราอยู่ในโลกนี้คนเดียวไม่ได้ในความเป็นจริงในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะไประบบการผลิต หรือบริโภค หากเราคล่องตัวมากขึ้น เทคโนโลยีถ่ายเทมากขึ้น แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน" นายนพรกล่าว
ชี้เลือกตั้งความหวังบูสต์ศก.ไทย

นายนพรกล่าวว่า สำหรับปัจจัยการเมืองที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในปีนี้ เป็นอะไรบางอย่างที่ทุกคนมีความหวังหลังมีการเลือกตั้ง ปฏิเสธไม่ได้ว่าในครรลองคลองธรรมในเชิงประชาธิปไตยคงต้องเดินหน้าเลือกตั้ง และต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจะดูอะไรในหลายๆ ส่วน ดังนั้น การเลือกตั้งและมีจัดตั้งรัฐบาลใหม่น่าจะเป็นเรื่องที่ดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

"จากที่เราทำโครงการอสังหาฯขายในต่างจังหวัดพบว่าการทำตลาดค่อนข้างเหนื่อย เพราะกำลังซื้อไม่ค่อยดี โดยเฉพาะเชียงใหม่และภูเก็ตที่ตลาดหดตัวมากเพราะพึ่งนักท่องเที่ยวมาก ส่วนภาคอีสานยังพอไปได้" นายนพรกล่าว
นายนพรกล่าวว่า ในการหาเสียงหรือมีนโยบายต่างๆ ออกมานั้นก็ต้องดูภาพรวมของเศรษฐกิจด้วย ซึ่งเรื่องปากท้องส่วนหนึ่ง เศรษฐกิจก็ส่วนหนึ่ง สิ่งสำคัญคือการออกนโยบายที่ออกมาจะกระทบต่อเศรษฐกิจต้องนิ่ง อย่ากลับไปกลับมา เช่น มาตรการแอลทีวีที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา การลดค่าธรรมเนียมการโอนจากเดิมเคยให้ 0.01% เหลือ 1% การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565 เก็บเต็ม 100% ปี 2566 ลดให้ 15% รวมถึงนโยบายให้ต่างชาติซื้อบ้านหรือที่ดินก็ต้องมีอะไรที่ชัดเจน เป็นต้น

ปี'66ท่องเที่ยวโกย2.25ล้านล.

รายงานจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ระบุว่า รายได้ท่องเที่ยวไทยปี 2565 อยู่ที่ 1.25 ล้านล้านบาท และ คาดการณ์รายได้ในปี 2566 เติบโตอัตราเร่งอีก 1 ล้านล้านบาท หรือทั้งปีนี้ทำรายได้ 2.25 ล้านล้านบาท ผลจากอานิสงส์จีนเปิดประเทศหนุนตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมถึง 28.9 ล้านคน และส่งผลทางอ้อมให้การท่องเที่ยวภูมิภาคไทยมีความคึกคักสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดเมืองหลักท่องเที่ยว ได้แก่ กทม. ชลบุรี ภูเก็ต สงขลา เชียงใหม่ ขณะที่เมืองรองมีโอกาสเติบโตมากขึ้นด้วยการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเมืองหลักในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อหนุนให้ภาคการท่องเที่ยวไทยเติบโตในระยะยาวและก้าวข้ามระดับสูงสุดใน 1-2 ปีข้างหน้า

รายงานระบุว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวคาดว่าจะเพิ่มขึ้น คือ 1.กลุ่มตะวันออกกลางที่มีสัดส่วนรายจ่ายต่อทริปสูงจากรายจ่ายเชิงการแพทย์ที่ไทยมีข้อได้เปรียบ 2.กลุ่มนักท่องเที่ยวจากอินเดียที่คาดว่าเป็นกลุ่มที่จะมีอัตราการเติบโตที่สูงจากกลุ่มชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นบนฐานประชากรที่ใหญ่ กอปรกับมีพฤติกรรมการจับจ่ายที่เน้นภาคท่องเที่ยวและภาคโรงแรมในสัดส่วนที่สูง 3.กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีระยะ พักแรมนาน เช่น กลุ่มยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่ได้อานิสงส์จากการทำงานได้ทุกพื้นที่มากขึ้นที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวจัดสรรเวลาเพื่อการ ท่องเที่ยวได้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมาในอดีต

ตรุษจีนใช้จ่ายเฉียด1.3หมื่นล้าน

รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า คาดว่าเม็ดเงินใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนของคนกรุงเทพฯปี 2566 อยู่ที่ 12,330 ล้านบาท หรือขยายตัว 5% เมื่อเทียบกับตรุษจีนปีก่อน ซึ่งเป็นการกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในรอบ 3 ปี เป็นผลจากราคาสินค้าสูงขึ้น 3.5% เทียบกับปี 2565 ทำให้คนระมัดระวังกับการใช้จ่าย โดยสำรองเงินซื้อเครื่องเซ่นไหว้เพิ่มขึ้น แต่ปรับลดการแจกอั่งเปาลง ขณะที่จำนวนคนกรุงเทพฯ ที่เข้าร่วมกิจกรรมช่วงตรุษจีนอาจเพิ่ม 1.5% จากปีก่อน โดยเฉพาะการกลับมาทำกิจกรรมท่องเที่ยว ทำบุญ ทานข้าวนอกบ้านมากขึ้น ซึ่งมีแรงหนุนจากสถานการณ์โควิดที่ผ่อนคลายและมาตรการช้อปดีมีคืน อย่างไรก็ตาม ภายหลังหมดเทศกาลตรุษจีนคาดว่าคนกรุงเทพฯจะกลับมาวางแผนใช้จ่ายอย่างรัดกุมมากขึ้น ท่ามกลางค่าครองชีพที่ยังสูง

รายงานระบุว่า ช่วงตรุษจีนปี 2566 ทิศทางราคาเครื่องเซ่นไหว้ส่วนใหญ่ยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับตรุษจีนปีก่อน จากปัจจัยต้นทุนการผลิตที่ยังสูง โดยเฉพาะผัก-ผลไม้บางรายการที่นิยมในช่วงตรุษจีนยังมีราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% เช่น กล้วยหอมทอง ส้มเขียวหวาน ผักกาดขาว ขึ้นฉ่าย เป็นต้น ขณะที่กลุ่มเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ ราคาน่าจะปรับขึ้นราว 10% ส่วนเนื้อหมู แม้จะมีราคาย่อลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดในสุกร แต่โดยรวมแล้วราคาก็ยังยืนตัวสูงอาจส่งผลให้คนกรุงเทพฯเผชิญปัจจัยกดดันมาจากราคาสินค้าที่มีแนวโน้มขยับสูงขึ้น สอดคล้องกับแบบสำรวจระบุว่าปัจจัยที่กระทบกับพฤติกรรมการจับจ่ายในช่วงตรุษจีนปี 2566 มากสุด ได้แก่ ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น กำลังซื้อและค่าครองชีพ ตลอดจนความกังวลต่อการกลับมาระบาดอีกครั้งของโควิด ตามลำดับ

บางจากซื้อเอสโซ่

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่ บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือบางจาก ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 มีมติเอกฉันท์อนุมัติการเข้าทำธุรกรรมและเห็นชอบให้เสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ("เอสโซ่") จาก ExxonMobil Asia Holdings Pte. Ltd. ("ExxonMobil") โดยบางจากได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับ ExxonMobil เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 และคาดว่าจะสามารถดำเนินการซื้อขายและชำระเงินค่าหุ้นแก่ผู้ขายได้ภายในครึ่งหลังของปี 2566 โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนที่กำหนด และเตรียมพร้อมทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของ เอสโซ่ หลังจากการทำธุรกรรมกับ ExxonMobil เสร็จสิ้น

"การลงทุนครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญสู่ความมั่นคงทางพลังงานที่มากขึ้นของบางจากและประเทศไทย เป็นการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่เพิ่มความยั่งยืนและเพิ่มการเข้าถึงพลังงานได้ง่ายขึ้น ผมเชื่อมั่นว่าการทำธุรกรรมครั้งนี้ ถือเป็นการพลิกโฉมสู่บริบทใหม่สำหรับบางจากและประเทศไทย" นายชัยวัฒน์กล่าว
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า การลงทุนครั้งนี้มีสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง คือ โรงกลั่นน้ำมันกำลังการกลั่น 174,000 บาร์เรลต่อวัน เครือข่ายคลังน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศกว่า 700 แห่ง ก่อให้เกิดการประหยัดเชิงขนาดและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนของบริษัท โดยจะทำให้บางจากมีกำลังการกลั่นน้ำมันรวม 294,000 บาร์เรลต่อวัน และเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,100 แห่ง สามารถดำเนินธุรกิจโรงกลั่นได้ครบวงจรมากขึ้น จัดหาน้ำมันดิบได้หลากหลายขึ้น และได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีการกลั่นที่เสริมกันของโรงกลั่นทั้งสอง และการให้บริการด้านการตลาดที่ครอบคลุมและนำเสนอบริการให้กับลูกค้าได้ยิ่งขึ้นผ่านสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี ช่วยเพิ่มพูนทักษะและความสามารถของพนักงาน สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจและก่อให้เกิดการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดสู่ลูกค้า และเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มบริษัทบางจากในการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

ทุ่มเงิน5.5หมื่นล้าน

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า การเข้าทำธุรกรรมดังกล่าว เป็นการเข้าซื้อหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 65.99 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของเอสโซ่ จาก ExxonMobil โดยมีมูลค่ากิจการ 55,500 ล้านบาท และมีกลไกการปรับราคาซื้อขายหุ้น ตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้น ทั้งนี้ หากอ้างอิงตามงบการเงินสอบทานในไตรมาส 3/2565 ของเอสโซ่ จะได้ราคาเบื้องต้นประมาณ 8.84 บาทต่อ 1 หุ้น โดยราคาสุดท้ายจะมีการปรับตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้ สำหรับแหล่งเงินทุน บางจากจะใช้เงินทุนทั้งแหล่งภายนอกจากสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และจากกระแสเงินสดภายในบริษัทและเตรียมพร้อมทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดภายหลังจากการเข้าซื้อหุ้นจาก ExxonMobil เสร็จสิ้น อนึ่ง ExxonMobil จะยังคงดำเนินธุรกิจนำเข้าผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและเคมีภัณฑ์ในประเทศไทยต่อไป ซึ่งการเข้าทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และขึ้นอยู่กับการอนุมัติของผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 คาดว่าจะดำเนินการซื้อขายแล้วเสร็จภายในครึ่งหลังของปี 2566

เบนซินขึ้นอีก30สตางค์

รายงานข่าวจาก พีทีที สเตชั่น และบางจาก ประกาศปรับราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดขึ้น 0.30 บาทต่อลิตร ส่วนกลุ่มดีเซลคงเดิม มีผลวันที่ 13 มกราคม 2566 เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป โดยราคาขายปลีกจะเป็นดังนี้ เบนซิน = 42.16, แก๊สโซฮอล์95 = 34.75, อี20 = 32.84, แก๊สโซฮอล์91 = 34.48, อี85 = 33.29, ดีเซลบี7 = 34.94, ดีเซลบี10 = 34.94, ดีเซลบี20 = 34.94, พรีเมียมดีเซล บี7 = 43.66 บาทต่อลิตร โดยราคาขายปลีกข้างต้นยังไม่รวมภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร

'ศักดิ์สยาม'เร่งลงทุน1.2แสนล.

ที่โรงแรมแชงกรีล่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง Thailand Seamless: Moving Forward & Go Green ประเทศไทย ก้าวไปข้างหน้าอย่างไร้รอยต่อ มุ่งสู่โลกสีเขียว หัวข้อ "มิติใหม่คมนาคม ก้าวไปข้างหน้าอย่างไร้รอยต่อ" ว่าปี 2566 กระทรวงมีแผนผลักดันการลงทุน รวม 124,839 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินงบประมาณ 35,395 ล้านบาท และนอกงบประมาณ 89,443 ล้านบาท ซึ่งในวงเงินส่วนนี้มีการจัดสรรเพื่อพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางรางสูงสุดด้วยมูลค่ารวม 883,147 ล้านบาท หรือคิดเป็น 66.6% รองลงมาคือ ขนส่งทางถนน มูลค่ารวม 30,960 ล้านบาท คิดเป็น 24.8% ระบบขนส่งทางอากาศมูลค่า 6,331 ล้านบาท คิดเป็น 5.8% และระบบขนส่งทางน้ำ มูลค่า 2,936 ล้านบาท คิดเป็น 2.4% และขนส่งทางบก มูลค่า 597 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.4% ของวงเงินลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนของกระทรวงในปี 2566 จะก่อให้เกิดการพลิกโฉมประเทศ ประชาชนคนไทยและโลกจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นผลจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 154,000 ตำแหน่ง วงเงินสะพัดในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องอีกราว 1.24 ล้านล้านบาท และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงถึง 2.35% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) หรือประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี
    นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ มีแผนที่จะเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานหลัก จาก 80 เป็น 120 ล้านคนต่อปี เพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบัง จาก 11 เป็น 18 ล้านตู้ต่อปี การเพิ่มความเร็วในการเดินทางจากกรุงเทพฯไปเมืองหลักจาก 80 เป็น 120 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง การเพิ่มความเร็วในการเดินรถไฟขบวนผู้โดยสาร จาก 60 เป็น 100 กม.ต่อชั่วโมง การเพิ่มความเร็วในการเดินรถไฟ ขบวนสินค้า จาก 40 เป็น 60 กม.ต่อชั่วโมง อีกทั้งยังเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลให้ครบ 14 สายทาง 554 กม. เพิ่มโครงข่ายรถไฟทางคู่ และแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ เป็น 1,111 กม. เพิ่มการเชื่อมต่อภูมิภาคด้วยโครงการรถไฟ ไทย-ลาว-จีน และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน และเพิ่มโอกาสสร้างอนาคตประเทศด้วยโครงการเอ็มอาร์ แมป (MR-MAP) และแลนด์บริจด์ (Land bridge) หรือโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยที่จะก่อให้เกิดการเดินทางและการขนส่งในภูมิภาคสะดวก เป็นเสมือนประตูการค้าเชื่อมอาเซียนและโลก

    นายศักดิ์สยามกล่าวว่า โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่กระทรวงมีแผนผลักดันการลงทุนในปีนี้ อาทิ โครงการเอ็มอาร์แมป เพื่อพัฒนาทางรถไฟและทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) รวม 10 เส้นทาง ระยะทางกว่า 7,003 กม. ครอบคลุมทั่วประเทศซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาแนวเส้นทาง เช่นเดียวกับโครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ที่ภายในโครงการจะพัฒนาท่าเรือน้ำลึก ทางรถไฟและมอเตอร์เวย์ ปัจจุบันเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ธปท.หนุนแบงก์ไร้สาขา

นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงาน Media Briefing : แนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแบงก์) ว่า ธปท.เปิดรับฟังความคิดเห็นถึงแนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแบงก์) เริ่ม 12 มกราคม ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2566 คาดว่าจะออกหลักเกณฑ์ภายในไตรมาส 1/2566 จากนั้นเปิดรับสมัครไตรมาส 2/2566 โดย ธปท.จะใช้เวลาพิจารณา 6 เดือน และส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาต่ออีก 3 เดือน และประกาศรายชื่อที่ได้รับการจัดตั้งไม่เกิน 3 รายในไตรมาส 2/2567 ให้เวลา 1 ปีเตรียมความพร้อมและคาดเปิดใช้บริการไตรมาส 2/2568 ทั้งนี้ การพิจารณาเพื่อให้ใบอนุญาตฯใช้หลักการเดียวกันหมดทั้งที่เป็นสถาบันการเงิน (แบงก์-นอนแบงก์) และนอกสถาบันการเงิน รวมถึงผู้ประกอบการจากต่างประเทศ กว่า 10 รายที่ให้ความสนใจ ซึ่งจำนวนนี้เป็นต่างชาติ 3 ราย จากนั้น ธปท.จะติดตามการดำเนินงานทุก 3-5 ปี หากเวอร์ชวลแบงก์ใดไม่ผ่านเกณฑ์ระยะ 3-5 ปี จะถูกยกเลิกใบอนุญาตฯ

นางสาววิภาวิน พรหมบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท.กล่าวว่า คุณสมบัติจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา คือ ต้องจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศ ทั้งแบบเดี่ยว หรือร่วมกับพาร์ตเนอร์อื่นๆ มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 5,000 ล้านบาท ผ่อนปรนให้ชาวต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% และครบคุณสมบัติ 7 ด้าน 1.มีแผนธุรกิจ 2.มีธรรมาภิบาล 3.มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการดิจิทัล 4.ใช้เทคโนโลยี ระบบต้องไม่ล่มเกิน 8 ชั่วโมงต่อปี 5.ต้องบริหารความเสี่ยงธุรกิจการเงินได้ 6.สามารถเข้าถึงที่หลากหลาย และ 7.มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง

รวมดีแทคเคาะ'ทรู คอร์ปอเรชั่น'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ว่าคณะกรรมการของทั้งสองบริษัทได้มีมติให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นร่วม ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อพิจารณาและอนุมัติเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัท โดยทั้งสองบริษัทจะดำเนินการควบรวมให้แล้วเสร็จในไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งนี้ จนกว่าการควบรวมกิจการจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งสองบริษัทจะคงแยกกันดำเนินธุรกิจ โดยให้บริการลูกค้าตามปกติและไม่ได้รับผลกระทบใดๆ สำหรับชื่อบริษัทที่ได้รับการเสนอในการจดทะเบียนบริษัทใหม่ที่ควบรวมคือ "บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)" โดยที่ทั้งแบรนด์ทรูและ ดีแทคเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ในขณะที่แบรนด์ทรูยังเป็นที่รู้จักครอบคลุมถึงธุรกิจบริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และบริการดิจิทัล ทั้งนี้ หลังจากการควบรวม ทั้งแบรนด์ดีแทคและทรูจะยังคงแยกกันให้บริการลูกค้าของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายสำหรับผู้บริโภค และสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่อไป

ที่มา: นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 13 ม.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 9, 10, 11  Next
Page 3 of 11

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©