RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311330
ทั่วไป:13292030
ทั้งหมด:13603360
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 9, 10, 11  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/01/2024 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

เช็ก!! โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย ปี 67 คืบหน้าถึงไหนแล้ว? | The Tomorrow 6 ม.ค. 67
THE STATES TIMES
Jan 6, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=SpV1ztSojeU

อัปเดตโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงรถไฟท่องเที่ยว ระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ ในปี พ.ศ. 2567 มีความเคลื่อนไหวอย่างไร ดำเนินการถึงไหนแล้ว เส้นทางไหนพร้อมเปิดบริการ เส้นทางไหนยังไม่เปิด ติดตามรายละเอียดได้เลย
.
🎤 แขกรับเชิญ: จิรวัฒน์ จังหวัด เจ้าของเพจโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
🎤ผู้ดำเนินรายการ: วสันต์ มนต์ประเสริฐ (อ๊อดโต้)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/01/2024 7:48 am    Post subject: Reply with quote

งบ’67ช้า”คมนาคม”กางแผนเร่งเบิกจ่าย 2.29 แสนล้านบาท ทล.-ทช.โหมประมูลกว่า 6,600 โครงการเซ็นรับเหมาในพ.ค.
ผู้จัดการออนไลน์ 11 ม.ค. 2567 07:00 น.

ผ่านฉลุยวาระแรก ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วงเงินกว่า 3.48 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นจากปีงบประมาณที่แล้ว 9.3% โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณา เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2567 ลงมติด้วยคะแนน เห็นด้วย 311 คน ไม่เห็นด้วย 177 คน งดออกเสียง 4 คน โดยมีผู้แสดงตนทั้งหมด 492 คน และเข้าสู่ขั้นตอนคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 โดยใช้เวลาในการแปรญัตติ 30 วัน และพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 วันที่ 3-4 เม.ย.2567 โดยคาดว่าจะนำ ร่าง พ.ร.บ.งบปี 2567 ทูลเกล้าฯ วันที่ 17 เม.ย.2567

โดยร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายปี 2567 ได้จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งกระทรวงคมนาคม ติดอันดับท้อป 5 กระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงสุด ทุกปี

กระทรวงคมนาคมได้รับการจัดสรรงบประมาณฯ ปี 2567 รวมทั้งสิ้น 229,433.8539 ล้านบาท
มีส่วนราชการ 9 หน่วยงาน ได้รับงบประมาณวงเงินรวม 183,635.0399 ล้านบาท ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 121,827.3559 ล้านบาท กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 47,926.3593 ล้านบาท กรมท่าอากาศยาน (ทย.) จำนวน 4,624.1804 ล้านบาท กรมเจ้าท่า (จท.) จำนวน 4,364.6429 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จำนวน 3,509.4083 ล้านบาท สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม จำนวน 635.0409 ล้านบาท สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) (สทร.) จำนวน 381.7964 ล้านบาท กรมการขนส่งทางราง (ขร.) จำนวน 115.3823 ล้านบาท สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จำนวน 250.8735 ล้านบาท

หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 5 หน่วยงาน ได้รับงบประมาณรวมทั้งสิ้น 45,798.8140 ล้านบาท ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 21,092.6810 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 20,045.0349 ล้านบาท องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 3,249.6410 ล้านบาท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จำนวน 1,251.1939 ล้านบาท และสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) จำนวน 160.2632 ล้านบาท

โดยจำแนกตามโหมดการเดินทาง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการขนส่งทางบก ร้อยละ 77.48 ด้านการขนส่งทางราง ร้อยละ 18.15 ด้านการขนส่งทางอากาศ ร้อยละ 2.09 ด้านการขนส่งทางน้ำ ร้อยละ 1.90 และด้านนโยบาย ร้อยละ 0.39

“สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ”รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานจัดลำดับความสำคัญของโครงการ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้ตรงกับตามความต้องการของประชาชน รวมทั้งดำเนินโครงการตามขั้นตอนและถูกต้องตามหลักของกฎหมาย และมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้การนำงบประมาณไปพัฒนางานด้านคมนาคมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คาดว่าพ.ร.บ.งบประมาณ พ.ศ.2567 จะผ่านสภาฯ และประกาศใช้ได้ประมาณเดือน พ.ค.2567 ซึ่งล่าช้ากว่าปกติ ส่งผลทำให้เหลือเวลาเบิกจ่ายงบประมาณอีก 5-6 เดือนเท่านั้น ซึ่งตนได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทมั้งหมดให้เตรียมความพร้อมทั้งการออกแบบ การจัดทำทีโออาร์ เพื่อให้ความพร้อมสำหรับการเปิดประมูลได้เร็วที่สุดหลังพ.ร.บ.งบประมาณพ.ศ. 2567 เริ่มใช้

“ต้องยอมรับว่าโครงการก่อสร้างต่างๆ จะเกิดการจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง เกิดการจ้างแรงงาน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ ของประเทศไทย”

สำหรับ กรมทางหลวง (ทล.) ได้รับงบประมาณมากสุดนั้นในปี 2567 ได้รับจำนวน 121,827.3559 ล้านบาท ตามด้วยกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้รับจำนวน 47,926.3593 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงาน ได้เตรียมแนวทางในการปฏิบัติราชการ ด้านการจัดซื้อจัดจ้างโครงการในปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้สอดคล้องกับ เวลาในการดำเนินการงาน และการก่อสร้าง รวมไปถึงการเบิกจ่ายงบประมาณที่เหลือเพียง เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนโครงการให้มีประสิทธิภาพที่สุด

@ทล.เทกระจาดโหมประมูล 3,600 โครงการ กว่า 6 หมื่นล้านบาท

“สราวุธ ทรงศิวิไล” อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า กรมทางหลวงมีงบลงทุนรายการผูกพันใหม่ ทั้งโครงการเล็ก โครงการใหญ่ ในปีงบประมาณ 2567 ประมาณ 3,600 โครงการ วงเงินรวมกว่า 60,000 ล้านบาท ข้อกังวลเรื่องการดำเนินโครงการ จะทำได้ภายในระยะเวลาที่เหลือหรือไม่นั้น ต้องบอกว่า เหตุการณ์ งบประมาณในปี 2567 ที่ล่าช้า ซ้ำรอยงบประมาณปี 2563 ที่กว่าจะประกาศใช้ได้เป็นช่วงปลายเดือนก.พ. 2563 แล้ว กว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้จริงเป็นช่วงปลายเดือนมี.ค. 2563 มีระยะเวลาใช้จ่ายราว 7 เดือน

ส่วนไทม์ไลน์ งบประมาณปี 2567 จะแล้วเสร็จ วันที่ 17 เม.ย.2567 ซึ่งกรมทางหลวงมีแนวทางปฎิบัติจากประสบการณ์ ในปี 2563 โดยใช้ช่วงระหว่างรองบปี 2567 ประกาศใช้ ได้เตรียมการ ออกแบบ จัดเตรียมรายละเอียด คำนวนราคากลาง เตรียมพร้อมจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่า อนุกรรมาธิการงบประมาณกลั่นกรองฯ จะสรุปงบหน่วยงานได้ข้อยุติช่วงต้นเดือนมี.ค. 2567 ซึ่งกรมบัญชีกลาง จะมีคำสั่งให้หน่วยงานดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในส่วนของโครงการใหม่รอได้ไว้ก่อน

คาดว่า ประมาณเดือนมี.ค. 2567 จะเริ่มทยอยประกวดราคา 3,600 โครงการ และเมื่อพ.ร.บ.งบประมาณฯ2567 ประกาศใช้ จึงดำเนินการลงนามสัญญาผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นแนวทางปฎิบัติที่จะช่วยให้งานไม่ล่าช้า ประเมินว่า งบประมาณจะออกปลายเดือนเม.ย. 2567 เป้าหมายลงนามสัญญาทั้งหมดในเดือนพ.ค. 2567

@งานใหญ่ 64 โครงการ กว่า4.9 หมื่นล้านบาท ปีแรกเบิก 15% ไม่มีค้างท่อ

“กรมฯมีความพร้อมประกวดราคา เมื่อปี 2566 งบประมาณใช้ปกติ มีงาน 3,200 โครงการ กรมฯได้เริ่มประมูลรอตั้งแต่ก.ย.65 สามารถลงนามสัญญาครบในเดือนธ.ค. 2565 และทำงานได้ตามเป้า งานขนาดเล็ก ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 6-7 เดือน ภาพรวมเบิกจ่ายงบปี 2566 ได้ถึง 96% ส่วนปี 2567 เริ่มงานขนาดใหญ่ 64 โครงการ วงเงินรวม 49,683.755 ล้านบาท เสนอขอตั้งงบดำเนินการปีแรก15-20% รวม 7,452.56 ล้านบาท ซึ่งเมื่อลงนามสัญญาผู้รับจ้างจะเบิกจ่ายงวดแรก 15%นี้ โครงการเกิน 1,000 ล้านบาท ประมูลเสร็จต้องเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีขั้นตอน กว่าจะลงนามสัญญาอาจจะเดือนส.ค. 2567 ซึ่งจะขอความร่วมมือผู้รับเหมาเร่งเบิกจ่ายเงินงวดแรก ดังนั้นแม้จะมีเวลาเบิกจ่ายน้อยแต่คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายงบได้ไม่ต่ำกว่า 90% แน่นอน และ ไม่มีงบค้างท่อ

สำหรับข้อกังวล งบปี 367 และปี 2568 ที่เตรียมจัดทำกรอบวงเงินแล้ว จะมีช่วงใช้ทับซ้อนกันนั้น และอาจมีผลกระทบต่อการประมูลและการทำงานของผู้รับเหมา อธิบดีกรมทางหลวง ประเมินว่า แม้ช่วงงบปี 67 และ 68 จะออกมาซ้อนกันเชื่อว่าไม่กระทบหรือเกิดภาวะผู้รับเหมางานล้นมือ ผู้รับเหมากรมทางหลวงทั่วประเทศมีเกือบ 1,000 ราย ช่วงที่ผ่านมา งานรัฐไม่ค่อยมาก ผู้รับเหมามีเวลาเตรียมความพร้อม ทั้งการ ซ่อมบำรุงเครื่องมือ เครื่องจักร รวมถึงเตรียมสต๊อกวัสดุ อุปกรณ์ แหล่งดิน แหล่งหินทราย และเชื่อว่าเมื่อต้องเริ่มงาน จะไม่เสียเวลา ตอนนี้ทุกรายเห็นอยู่แล้วว่างบประมาณจะออก มีโครงการอะไร งบเท่าไร น่าจะเตรียมพร้อมประมูลจำนวนมาก

@ทช.เตรียมประมูล 14 โครงการใหญ่ 3,000 โครงการย่อย

“อภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย”อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า ปี2567 ทช.ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 47,926.3593 ล้านบาทโดยมีโครงการขนาดใหญ่จำนวน 14 โครงการ และโครงการขนาดเล็กกว่า 3,000 โครงการ เป็นการก่อสร้าง บำรุงรักษาอำนวยความปลอดภัยของถนนและสะพานทั่วประเทศรองรับการเดินทางของประชาชนและสนับสนุนการขนส่งสินค้า ได้เน้นเรื่องการบริหารการเบิกจ่ายงบประมาณ การบริหารสัญญา ให้วางแผนล่วงหน้าเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการทำงานที่สั้นลงของงบปี 2567 ซึ่งปี 2566 ได้รับงบ 47,108.9146 ล้านบาทเบิกจ่ายได้ 90.44 %

สำหรับโครงการใหญ่ในปี 2567 ได้แก่ โครงการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำโขงนาคาวิถี ช่วงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (แห่งที่ 2) ระยะทาง 43.485กม. , โครงการก่อสร้างถนนสาย จ ผังเมืองรวมเมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ระยะทาง 3.510 กม., โครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.11 -ทล.1 อ.เมือง จ.ลำปาง (ตอนที่ 1) ระยะทาง 5.400 กม. เป็นต้น

2 หน่วยใหญ่”คมนาคม”ที่มีงบรวมกันกว่า 1.69 แสนล้านบาท ต้องลุ้นกันหนักกับเวลาที่มีเพียง 5 เดือน จะติดเทอร์โบ ประมูลงานขนาดกลาง-เล็กกว่า 6,600 โครงการและงานใหญ่อีก 78 โครงการได้เรียบร้อยตามที่คาดหวังหรือไม่ เพราะงานก่อสร้าง เป็นเซ็กเตอร์สำคัญในการลงทุนของภาครัฐอัดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจแต่หากมีอุทรธณ์ร้องเรียนเกิดติดล็อก ก็อาจจะเสี่ยงที่จะเกิดงบค้างท่อได้!!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2024 3:21 pm    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ” ดันระบบขนส่งราง ตั้งเป้าลดต้นทุนโลจิสติกส์ 5 ปี
ฐานเศรษฐกิจ
24 มกราคม 2567

“สุริยะ” เปิดสัมมนาเดินหน้า 72 บิ๊กโปรเจ็กต์คมนาคม หนุนระบบขนส่งทางราง ตั้งเป้าลดต้นทุนโลจิสติกส์ภายใน 5-6 ปี เร่งรถไฟทางคู่-รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ 554 กม.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อความอุดมสุขของประชาชน ปี 2567-2568 ว่า การสัมมนาในครั้งนี้ได้จัดทำ Action Plan ทุกหน่วยงานจะได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นตลอดช่วงเวลาของการ Workshop โดยผลักดันนโยบาย Quick Win 2567-2568 พบว่ามีโครงการสำคัญ 72 โครงการ

นอกจากนี้กระทรวงได้เร่งรัดทุกหน่วยงานพิจารณานโยบายของนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. นโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค 2. บูรณาการแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับเส้นทางในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับจีนตอนใต้ (รถไฟไทย - สปป.ลาว - จีน) โครงการ EEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ 3. ให้ความสำคัญกับโครงการแลนด์บริดจ์ เปิดประตูการค้าสองฝั่งสมุทรทางภาคใต้

“ตลอดช่วงเวลากว่า 3 เดือน ที่ผมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมทั้ง 2 ท่านเข้ามาปฏิบัติงานที่กระทรวงคมนาคม พวกเราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากทุกท่าน ผมจึงมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าผลที่ได้จากการ Workshop ในครั้งนี้ จะนำไปสู่ Action Plan ที่มีประสิทธิภาพและผลักดันให้นโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ”

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันหลายประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่ามีต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์คิดเป็น 9.5-9.8 % ของจีดีพี ขณะที่ไทยมีต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์คิดเป็น 11-12 % ของจีดีพี ซึ่งถือว่าไทยมีปริมาณต้นทุนที่สูง เนื่องจากไทยใช้ระบบถนนเป็นหลัก หากสามารถหันไปใช้ระบบขนส่งทางรางได้ จะช่วยลดต้นทุนขนส่งโลจิสติกส์ได้มากขึ้น เบื้องต้นได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันการใช้ระบบขนส่งทางรางเพื่อลดต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์ ภายใน 5-6 ปี โดยเฉพาะการเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 และระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะทาง 554 กม.

สำหรับการสัมมนาฯ ในวันนี้ มีความคาดหวังอยากให้ทุกหน่วยงานได้เร่งรัดและบูรณาการโครงการที่จะดำเนินงานในปี 2567 รวมทั้งร่วมกันพิจารณากำหนดโครงการใหม่ที่จะดำเนินการในปี 2568 ตามภารกิจและโหมดการขนส่งในทุกมิติ และเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานได้นำเสนอกรอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุน แยกตามแหล่งเงิน ประโยชน์ที่จะประชาชนจะได้รับ และแผนการดำเนินการตั้งแต่เริ่มจนก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งเมื่อนำภาพผลงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้วในช่วง 99 วันที่ผ่านมา มารวมกับผลลัพธ์จากการทำ Workshop ในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนได้เห็นภาพที่ชัดเจนถึงทิศทางการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในอนาคต ซึ่งสามารถจับต้องได้และสามารถทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/01/2024 8:13 pm    Post subject: Reply with quote

"สุริยะ" เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายคมนาคม 150 โครงการ
Source - บ้านเมืองออนไลน์
Tuesday, January 30, 2024 20:09

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ได้ดำเนินการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อความอุดมสุขของประชาชน" ปี 2567 - 2568 โดยมีเป้าหมายผลักดันทุกโครงการให้เป็นรูปธรรม รวมถึงจัดทำแผนเพิ่มเติม สอดรับกับกรอบนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมและทุกหน่วยงานในสังกัดฯ พร้อมที่จะดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันภาพรวมเศรษฐกิจ มุ่งเน้นความปลอดภัย พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตให้ที่ดีขึ้น

สำหรับภาพรวมการลงทุนด้านคมนาคมในปี 2567 - 2568 นั้น มีจำนวนโครงการรวมทั้งสิ้น 150 โครงการ แบ่งเป็น โครงการที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2567 จำนวน 64 โครงการ และโครงการที่จะเริ่มก่อสร้างอีกจำนวน 31 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 389,750 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2568 มีโครงการใหม่อีกจำนวน 57 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 263,016 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนดังกล่าวของปี 2568 นั้น มีโครงการขนาดใหญ่ ที่มีมูลค่าลงทุนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 254,183 ล้านบาท

นายสุริยะ กล่าวว่า รายละเอียดโครงการมิติทางถนน พบว่า มีโครงการที่จะเปิดให้บริการ ปี 2567 จำนวน 18 โครงการ เช่น มอเตอร์เวย์ M81 สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี, มอเตอร์เวย์ M6 สายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา, สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) จ.บึงกาฬ เป็นต้น ส่วนโครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 13 โครงการ เช่น มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ตอนบางบัวทอง - บางปะอิน มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยาย M7 เชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ทางพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ - ลำลูกกา) ทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ตอนกะทู้ - ป่าตอง เป็นต้น และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 24 โครงการ เช่น ก่อสร้างทางแนวใหม่เชื่อม M6 - ทล.32 ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลก แห่งที่ 2 ที่ อ.สุไหงโกลก - รันเตาปันยัง จ.นราธิวาส โครงการพัฒนาถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3 (ทล.121) เป็นต้น

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ด้านการพัฒนาการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ และโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 รถไฟความเร็วสูงและโครงข่ายการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้บริการได้ตรงเวลา และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและการเดินทางของประชาชน รวมทั้งผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการให้บริการระบบการขนส่งทางราง โดยโครงการที่จะเปิดให้บริการ ปี 2567 จำนวน 9 โครงการ เช่น รถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม - หัวหิน ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร เป็นต้น ส่วนโครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 6 โครงการ เช่น รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มธ. ศูนย์รังสิต รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช รถไฟทางคู่ ช่วง ชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี เป็นต้น และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 10 โครงการ เช่น การจัดหารถจักรและล้อเลื่อนเพื่อรองรับรถไฟทางคู่ การศึกษาจัดทำมาตรฐานเขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัยระบบรถขนส่ง การจัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... เป็นต้น

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ในปี 2568 กระทรวงคมนาคมมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) ที่มีมูลค่าลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ และมีมูลค่าลงทุนรวม 254,183 ล้านบาท ได้แก่ มิติการขนส่งทางถนน เช่น โครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านทิศใต้, โครงการทางแยกต่างระดับสันป่าตอง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่, โครงการพัฒนาถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3 (ทล.121) และโครงการต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ - ศาลายา ด้านมิติการขนส่งทางบก ได้แก่ โครงการสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนมิติการขนส่งทางราง ได้แก่ แผนการจัดหารถจักรและล้อเลื่อนเพื่อรองรับรถไฟทางคู่ ขณะที่ มิติการขนส่งทางน้ำ ได้แก่ ขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำเศรษฐกิจ จำนวน 10 แห่ง เป็นต้น และมิติการขนส่งทางอากาศ ได้แก่ โครงการก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ ของท่าอากาศยานชุมพร

อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 กระทรวงคมนาคมจะเร่งลงทุนโครงการฯ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบราง และโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงโครงการแก้ปัญหา Missing Link และโครงการเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุในการขนส่ง ได้แก่ มิติระบบราง จะเร่งลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน (Timeline) ดังนี้ เร่งลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2569) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 กิโลเมตร (กม.) และเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ และบ้านไผ่ - มุกดาหาร - นครพนม ให้แล้วเสร็จตามแผน

ขณะเดียวกัน จากนโยบาย Visa Free ของรัฐบาล คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยจำนวนมากนั้น ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา Gateway ทางอากาศ โดยมีโครงการ Quick Win ในด้านการพัฒนาปรับปรุงอาคาร ท่าอากาศยาน ให้มีความสะอาด ปลอดภัย สร้างความสะดวก ให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอาคารผู้โดยสาร และทางวิ่ง (Runway) ให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยกระทรวงคมนาคมมุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถทางด้านอากาศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Aviation Hub
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2024 10:47 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"สุริยะ" เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายคมนาคม 150 โครงการ
Source - บ้านเมืองออนไลน์
วันอังคาร ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:09 น.


“สุริยะ” กางแผนปี 67-68 ลุย 150 โครงการ วงเงิน 6.52 แสนล้าน ผุด "มอเตอร์เวย์" เร่งทางคู่เฟส 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 00:48 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 09:42 น.


“คมนาคม” เปิดแผนปี 67-68 ขับเคลื่อน 150 โครงการวงเงินรวม 6.52 แสนล้านบาท ดัน 64 โครงการเปิดบริการปี 67 เปิดไซต์ก่อสร้าง 31 โครงการ วงเงิน 3.89 แสนล้านบาท ผุดถนน-มอเตอร์เวย์ จัดหารถโดยสาร EV ส่วนปี 68 ลุยอีก 57 โครงการ กว่า 2.6 แสนล้าน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อความอุดมสุขของประชาชน” ปี 2567 และปี 2568 โดยมีเป้าหมายผลักดันโครงการ Quick Win จำนวน 72 โครงการสำคัญ และการจัดทำแผนงาน/โครงการเพิ่มเติม เพื่อสอดรับกรอบนโยบายของรัฐบาล นโยบายของนายกรัฐมนตรี และนโยบายที่ตนและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบให้กระทรวงคมนาคมรับไปเป็นกรอบในการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านความปลอดภัย ด้านคุณภาพชีวิต และด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับภาพรวมการลงทุนด้านคมนาคมในปี 2567-2568 นั้นมีจำนวนโครงการรวมทั้งสิ้น 150 โครงการ แบ่งเป็นโครงการที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2567 จำนวน 64 โครงการ และโครงการที่จะเริ่มก่อสร้างอีกจำนวน 31 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 389,750 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2568 มีโครงการใหม่อีกจำนวน 57 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 263,016 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนดังกล่าวของปี 2568 นั้นมีโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าลงทุนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 254,183 ล้านบาท

โดยแยกเป็นมิติการพัฒนาการขนส่งทางถนน โดยจะเร่งรัดการพัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์และทางพิเศษ เพิ่มทางเลือกในการเดินทาง เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจและเชื่อมโยงโครงข่ายสู่เมืองหลักในภูมิภาค รวมทั้งเพิ่มเศรษฐกิจฐานราก โดยการพัฒนาโครงข่ายถนนสายรองและสะพานเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ชุมชน รองรับสินค้าเกษตรกรรม และสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วย

ทั้งนี้ โครงการที่คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2567 จำนวน 18 โครงการ เช่น มอเตอร์เวย์ M81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี, มอเตอร์เวย์ M6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา / สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) จ.บึงกาฬ



@ผุดโครงการใหม่ "ถนน-มอเตอร์เวย์" ปี 67 รวม 13 โครงการ วงเงิน 2.54 แสนล้าน

สำหรับโครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 13 โครงการ มีมูลค่าลงทุน 254,183 ล้านบาท ได้แก่ มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ตอนบางบัวทอง-บางปะอิน วงเงิน 15,260 ล้านบาท, M9 ด้านตะวันตก ตอนบางขุนเทียน-บางบัวทอง วงเงิน 56,035 ล้านบาท, มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยาย M7 เชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,508 ล้านบาท, มอเตอร์เวย์ M5 ต่อขยายอุตราภิมุข รังสิต-บางปะอิน วงเงิน 31,358 ล้านบาท

ทางพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ลำลูกกา) วงเงิน 24,060 ล้านบาท, ทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ตอนกะทู้-ป่าตอง วงเงิน 16,494 ล้านบาท, ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 (ประเสริฐมนูกิจ-วงแหวนรอบนอกฯ ตะวันออก) วงเงิน 13,300 ล้านบาท, Service Center ศรีราชา วงเงิน 1,010 ล้านบาท, Service Area บางละมุง วงเงิน 850 ล้านบาท

ที่พักริมทางทางด่วนบางโปรง วงเงิน 628 ล้านบาท, ที่พักริมทาง มธ.รังสิต วงเงิน 707 ล้านบาท, ขยาย ทล.4027 ช่วงบ.พารา-บ.เมืองใหม่ จ.ภูเก็ต, ทางแนวใหม่ ช่วง บ.เมืองใหม่-สนามบินภูเก็ต 2,600 ล้านบาท

ส่วนปี 2568 มีโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 24 โครงการ เช่น ก่อสร้างทางแนวใหม่เชื่อม M6-ทล.32 / ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลก แห่งที่ 2 ที่ อ.สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง จ.นราธิวาส / โครงการพัฒนาถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3 (ทล.121) เป็นต้น

@ปี 67 ดันแผนจัดหารถโดยสาร EV ขสมก.ส่วน บขส.จัดหา 75 คัน

มิติการพัฒนาการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการขนส่งสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้า รวมทั้งการกำกับดูแลและยกระดับการให้บริการ และการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้บริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่

โดยมีโครงการที่จะเปิดให้บริการปี 2567 จำนวน 11 โครงการ เช่น การพัฒนาระบบการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (Feeder) ของ ขบ. จำนวน 29 เส้นทาง และของ บขส. จำนวน 21 เส้นทาง

โครงการใหม่ที่จะเริ่มในปี 2567 จำนวน 8 โครงการ เช่น การผลักดันรถโดยสารพลังงานสะอาด ของ ขบ. ขสมก. และ บขส. / และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 7 โครงการ เช่น โครงการจัดหารถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ของ บขส. จำนวน 75 คัน เป็นต้น



@ เร่งรถไฟทางคู่เฟส 2

สำหรับมิติการพัฒนาการขนส่งทางราง นายสุริยะกล่าวว่า ได้เร่งรัดโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ และโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2, รถไฟความเร็วสูง และโครงข่ายการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้บริการได้ตรงเวลา และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและการเดินทางของประชาชน รวมทั้งผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล มีโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในปี 2567 จำนวน 9 โครงการ เช่น รถไฟทางคู่ ช่วง นครปฐม-หัวหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร รวมถึงเร่งผลักดัน พ.ร.บ.การขนส่งทางรางให้สามารถประกาศใช้ได้ในปี 2567

@ สายสีแดง เพิ่มเติมข้อมูล พร้อมชง ครม.ภายใน 1 เดือน

ส่วนโครงการใหม่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 6 โครงการ เช่น รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต-มธ. ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,468.69 ล้านบาท, สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท, สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4,616 ล้านบาท

โครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 10 โครงการ เช่น การจัดหารถจักรและล้อเลื่อนเพื่อรองรับรถไฟทางคู่, การศึกษาจัดทำมาตรฐานเขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัยระบบรถขนส่ง, การจัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง เป็นต้น

มิติการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ เน้นย้ำให้ขยายขีดความสามารถการขนส่งทางน้ำ เปิดประตูการค้าทางน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการเดินเรือ เร่งการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาค รวมทั้งการปรับปรุงท่าเรือโดยสารอัจฉริยะ (Smart Pier) เช่น โครงการที่จะเปิดให้บริการปี 2567 จำนวน 8 โครงการ เช่น พัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier) จำนวน 4 ท่า ได้แก่ ท่าเรือพระราม 7 ท่าเรือปากเกร็ด จ.นนทบุรี ท่าเรือพระปิ่นเกล้า ท่าเรือพระราม 5

โครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 2 โครงการ เช่น พัฒนาท่าเรือภูมิภาคเชื่อมโยงกระบี่-พังงา-ภูเก็ต (วงแหวนอันดามัน) ได้แก่ ท่าเรือมาเนาะห์ และท่าเรือช่องหลาด จ.พังงา และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 8 โครงการ เช่น พัฒนาท่าเรือวงแหวนอันดามัน เพิ่มอีกจำนวน 2 ท่า ได้แก่ ท่าเรือท่าเลน จ.กระบี่ และท่าเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต, พัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier) เพิ่มอีกจำนวน 15 ท่า เป็นต้น



สำหรับมิติการพัฒนาการขนส่งทางอากาศ นายสุริยะกล่าวว่า จะเร่งรัดการเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานหลักของประเทศ ให้รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น และขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค หรือ Aviation Hub ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านการบินให้มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมการบิน เช่น โครงการที่จะเปิดให้บริการ ปี 2567 จำนวน 18 โครงการ เช่น ทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานตรัง, อาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 3 พร้อมอาคารจอดรถยนต์ท่าอากาศยานกระบี่

เริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 2 โครงการ เช่น ก่อสร้างส่วนต่อขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้านทิศตะวันออก วงเงิน 9,000 ล้านบาท และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 8 โครงการ เช่น ก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน ท่าอากาศยานชุมพร, ซ่อมบำรุงเสริมผิวทางวิ่ง ทางขับ ท่าอากาศยานกระบี่ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/01/2024 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดกรอบคำของบบูรณาการคมนาคม-โลจิสติกส์ 25 หน่วยงานปี 68 รวม 2.04 แสนล้านบาทอัดลงทุนแก้คอขวด
ผู้จัดการออนไลน์ 31 ม.ค. 2567 19:10

“มนพร”เผยคณะกรรมการบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์เคาะกรอบคำของบปี 68 ของ 7 กระทรวง 25 หน่วยงาน วงเงินรวม 2.04 แสนล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผุด Missing Link แก้คอขวด เพิ่มขีดความสามารถประเทศดันดัชนีประสิทธิภาพไทยอยู่ 25 อันดับแรก ในปี 70

วันที่ 31 มกราคม 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คณะที่ 2.3 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ชั้น 3 ทำเนียบรัฐบาลและผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings โดยมี นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมได้เข้าร่วมประชุมปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและ แผนการขนส่งและจราจร เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม

นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า คณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาคำของบประมาณ เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งตามปฏิทินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบไว้ กำหนดให้หน่วยขอรับงบประมาณจัดส่งคำขอให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 โดยการจัดทำข้อเสนอการจัดทำงบประมาณดังกล่าว เป็นการบูรณาการร่วมกันของ 7 กระทรวง 25 หน่วยงาน

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบคำของบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์) วงเงินรวมทั้งสิ้น 204,716.5671 ล้านบาท (สองแสนสี่พันเจ็ดร้อยสิบหกล้านห้าแสนหกหมื่นเจ็ดพันหนึ่งร้อยบาท) แบ่งเป็น

เป้าหมายที่ 1 โครงข่ายคมนาคมมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงทั่วถึงอย่างไร้รอยต่อ จำนวน 12 หน่วยงาน (กรมทางหลวง/ กรมทางหลวงชนบท/ กรมเจ้าท่า/ กรมท่าอากาศยาน/ กรมการขนส่งทางบก/ กรมการขนส่งทางราง/ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร/ การรถไฟ แห่งประเทศไทย/ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย /สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย/ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) วงเงิน 203,912.4440 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.61

โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง M6 บางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา/ M81 บางใหญ่ -กาญจนบุรี/ โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 21 สาย อ.หล่มเก่า - เลย ตอน ต.ร่องจิก - ต.สานตม จ.เลย/ โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1020 สาย เชียงราย - อ.เชียงของ ตอน บ.หัวดอย - บ.ใหม่ดอยลาน จ.เชียงราย/ โครงการทางแยกต่างระดับสันป่าตอง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่/ โครงการถนนสาย ง3 ผังเมืองรวมเมืองหนองคาย จ.หนองคาย/ โครงการขุดลอกร่องน้ำสำคัญ 10 แห่ง/ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย/ โครงการศูนย์ขนส่งชายแดน จ.นครพนม/ โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานชุมพร กระบี่ และ สุราษฎร์ธานี/ โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จ.ภูเก็ต/ โครงการทางหลวงพิเศษสายฉลองรัชส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ - ลำลูกกา/ โครงการออกแบบรายละเอียดงานโยธาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 2ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย/ โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม และสายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ เป็นต้น

เป้าหมายที่ 2 การบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน และการอำนวยความสะดวก ทางการค้า พร้อมด้วยการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานสากล จำนวน 17 หน่วยงาน (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ/กรมวิชาการเกษตร/ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม/ กรมเจ้าท่า/ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน/ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ/ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)/สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ/ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย/ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี/ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา/ มหาวิทยาลัยพะเยา/ มหาวิทยาลัยขอนแก่น/ มหาวิทยาลัยนครพนม/ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์/ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี วงเงิน 804.1231 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.39

โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการพัฒนาระบบการตรวจสอบ รับรองมาตรฐาน และระบบการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมวิชาการเกษตร ผ่านระบบ NSW/ โครงการเสริมสร้างความสามารถการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน/ โครงการส่งเสริมการพัฒนาบริการและขยายเครือข่ายของ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์/ การศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของประเทศไทย/ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพด้านระบบรางของประเทศ (National Quality Infrastructure, NQI)/ โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต/ โครงการพัฒนามาตรฐานการวัดพลังงานไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ และคุณภาพไฟฟ้าระดับมาตรฐานอ้างอิงแห่งชาติเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศไทย/ โครงการพัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์/ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจค้นสินค้าทางเรือเพื่อการยกระดับมาตรฐานงานตำรวจในระบบโลจิสติกส์

นางมนพร เจริญศรี กล่าวว่า การพิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ปี พ.ศ. 2568 นี้ ถือได้ว่า มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผุด Missing Link และลดปัญหาคอขวด รวมถึงช่วยให้การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์บรรลุเป้าหมายเป็นไปตามตัวชี้วัดที่ช่วยให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศลดลง และเพิ่มอันดับดัชนีประสิทธิภาพโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (Logistics Performance Index : LPI) ของไทยให้สูงขึ้น โดยอยู่ภายใน 25 อันดับแรก ในปี 2570

โดยมีโครงการสำคัญที่มีวงเงินมากกว่า 1,000 ล้านบาท เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ถนนสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ช่วงบางบัวทอง - บางปะอิน ส่วนที่ 1 บางบัวทอง - ลาดหลุมแก้ว ในส่วนงานโยธา/ โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ช่วงพุทธมณฑล สาย 3 - พุทธมณฑล 4 จ.กรุงเทพมหานคร/ โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 331 สายเกาะโพธิ์ - บ.เนินเหิน จ.ชลบุรี/ โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สาย บ.ใหม่ – สามแยกเข้าสนามบิน จ.ภูเก็ต/ โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 304 สาย ฉะเชิงเทรา - เขาหินซ้อน ตอน บ.ท่าทองหลาง/ และโครงการเชื่อมต่อถนนนครอินทร์ - ศาลายา จ.นนทบุรี จ.นครปฐม

ดังนั้น จึงต้องบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การนำงบประมาณไปพัฒนางานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศและตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติฯ และนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำสรุปข้อเสนอการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์นำเสนอนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจัดส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ตามขั้นตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2024 10:26 am    Post subject: Reply with quote

‘สุริยะ’กางพิมพ์เขียวคมนาคมปี 67-68 เดินหน้า 150 โครงการ‘บก-น้ำ-ราง –อากาศ’
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 16.33 น.
“คมนาคม” คลอดแอกชั่นแพลน ปี 67-68 ลุย 152 โครงการ เก่า-ใหม่ 6.5 แสนล้าน
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 23:28 น.

“คมนาคม” ลุยขับเคลื่อนแอกชั่นแพลน ปี 67-68 เดินหน้า 152 โครงการทุกโหมดการเดินทาง ทั้งเก่า-ใหม่ มูลค่ารวมกว่า 6.52 แสนล้าน พร้อมเปิดบริการปีนี้ 64 โครงการ สร้างใหม่ 31 โครงการ เพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน
30 มกราคม 2567
23:28 น.
นวัตกรรมขนส่ง... สามารถติดตามต่อได้ที่ :

‘สุริยะ’กางแผนเชิงรุกขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมปี 67-68 เดินหน้า 150 โครงการ‘บก-น้ำ-ราง –อากาศ’ จ่อสร้างใหม่ปีนี้ 31 โครงการ พร้อมเปิดเมกะโปรเจกต์ปี 68 รวม 13 โครงการ มุ่งเน้นระบบราง-ฮับการบินภูมิภาค ยกระดับขนส่ง-โลจิสติกส์ กระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มความสะดวกปลอดภัยการเดินทาง

31 มกราคม 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่ได้ดำเนินการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อความอุดมสุขของประชาชน” ปี 2567 - 2568 โดยมีเป้าหมายผลักดันทุกโครงการให้เป็นรูปธรรม รวมถึงจัดทำแผนเพิ่มเติม สอดรับกับกรอบนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมและทุกหน่วยงานในสังกัดฯ พร้อมที่จะดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันภาพรวมเศรษฐกิจ มุ่งเน้นความปลอดภัย พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตให้ที่ดีขึ้น



สำหรับภาพรวมการลงทุนด้านคมนาคมในปี 2567 - 2568 นั้น มีจำนวนโครงการรวมทั้งสิ้น 150 โครงการ แบ่งเป็น โครงการที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2567 จำนวน 64 โครงการ และโครงการที่จะเริ่มก่อสร้างอีกจำนวน 31 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 389,750 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2568 มีโครงการใหม่อีกจำนวน 57 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 263,016 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนดังกล่าวของปี 2568 นั้น มีโครงการขนาดใหญ่ ที่มีมูลค่าลงทุนสูงเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 254,183 ล้านบาท


ทั้งนี้ ในด้านการพัฒนาทุกมิติด้านคมนาคมและการขนส่ง แบ่งเป็น การพัฒนาการขนส่งทางถนน โดยกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และทางพิเศษ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจและเชื่อมโยงโครงข่ายสู่เมืองหลักในภูมิภาค รวมทั้งเพิ่มเศรษฐกิจฐานราก โดยพัฒนาโครงข่ายถนนสายรองและสะพาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ชุมชน รองรับสินค้าเกษตรกรรมและสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วย

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า เมื่อมาแยกรายละเอียดโครงการมิติทางถนน พบว่า มีโครงการที่จะเปิดให้บริการ ปี 2567 จำนวน 18 โครงการ เช่น มอเตอร์เวย์ M81 สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี, มอเตอร์เวย์ M6 สายบางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา, สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) จ.บึงกาฬ เป็นต้น ส่วนโครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 13 โครงการ เช่น มอเตอร์เวย์ M9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ตอนบางบัวทอง – บางปะอิน มอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยาย M7 เชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ทางพิเศษฉลองรัช ส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ - ลำลูกกา) ทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ตอนกะทู้ – ป่าตอง เป็นต้น และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 24 โครงการ เช่น ก่อสร้างทางแนวใหม่เชื่อม M6 - ทล.32 ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลก แห่งที่ 2 ที่ อ.สุไหงโกลก - รันเตาปันยัง จ.นราธิวาส โครงการพัฒนาถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3 (ทล.121) เป็นต้น


ขณะที่ การพัฒนาการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการขนส่งสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้า รวมทั้งการกำกับดูแลและยกระดับการให้บริการ การกำกับมาตรฐานความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้บริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ โดยโครงการที่จะเปิดให้บริการ ปี 2567 จำนวน 11 โครงการ เช่น การพัฒนาระบบการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (Feeder) ของ ขบ. จำนวน 29 เส้นทาง และ ของ บขส. จำนวน 21 เส้นทาง เป็นต้น

ด้านโครงการใหม่ที่จะเริ่มในปี 2567 จำนวน 8 โครงการ เช่น การผลักดันรถโดยสารพลังงานสะอาด ของ ขบ. ขสมก. และ บขส. และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 7 โครงการ เช่น โครงการจัดหารถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ของ บขส. จำนวน 75 คัน เป็นต้น

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ด้านการพัฒนาการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ และโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 รถไฟความเร็วสูงและโครงข่ายการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้บริการได้ตรงเวลา และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและการเดินทางของประชาชน รวมทั้งผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการให้บริการระบบการขนส่งทางราง โดยโครงการที่จะเปิดให้บริการ ปี 2567 จำนวน 9 โครงการ เช่น รถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม - หัวหิน ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร เป็นต้น ส่วนโครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 6 โครงการ เช่น รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มธ. ศูนย์รังสิต รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช รถไฟทางคู่ ช่วง ชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี เป็นต้น


โครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 10 โครงการ เช่น การจัดหารถจักรและล้อเลื่อนเพื่อรองรับรถไฟทางคู่ การศึกษาจัดทำมาตรฐานเขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัยระบบรถขนส่ง การจัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... เป็นต้น

นอกจากนี้ ในด้านการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ได้เน้นย้ำให้ขยายขีดความสามารถการขนส่งทางน้ำ โดยการเปิดประตูการค้าทางน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการเดินเรือ เร่งการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาค รวมทั้งการปรับปรุงท่าเรือโดยสารอัจฉริยะ (Smart Pier) โดยโครงการที่จะเปิดให้บริการ ปี 2567 จำนวน 8 โครงการ เช่น พัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier) จำนวน 4 ท่า ได้แก่ ท่าเรือพระราม 7 ท่าเรือปากเกร็ด จ.นนทบุรี ท่าเรือพระปิ่นเกล้า ท่าเรือพระราม 5 เป็นต้น ส่วนโครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 2 โครงการ เช่น พัฒนาท่าเรือภูมิภาคเชื่อมโยงกระบี่ - พังงา - ภูเก็ต (วงแหวนอันดามัน) ได้แก่ ท่าเรือมาเนาะห์ และท่าเรือช่องหลาด จ.พังงา เป็นต้น และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 8 โครงการ เช่น พัฒนาท่าเรือวงแหวนอันดามัน เพิ่มอีกจำนวน 2 ท่า ได้แก่ ท่าเรือท่าเลน จ.กระบี่ และท่าเรืออ่าวปอ จ.ภูเก็ต พัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier) เพิ่มอีกจำนวน 15 ท่า เป็นต้น

ขณะที่ การพัฒนาการขนส่งทางอากาศ ได้เร่งรัดการเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานหลักของประเทศให้รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้น และขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค หรือ Aviation Hub รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านการบินให้มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมการบิน โดยโครงการที่จะเปิดให้บริการ ปี 2567 จำนวน 18 โครงการ เช่น ทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานตรัง อาคารที่พักผู้โดยสารหลังที่ 3 พร้อมอาคารจอดรถยนต์ท่าอากาศยานกระบี่ เป็นต้น โครงการใหม่ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 จำนวน 2 โครงการ เช่น ก่อสร้างส่วนต่อขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้านทิศตะวันออก เป็นต้น และโครงการใหม่ในปี 2568 จำนวน 8 โครงการ เช่น ก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน ท่าอากาศยานชุมพร ซ่อมบำรุงเสริมผิวทางวิ่ง ทางขับ ท่าอากาศยานกระบี่ เป็นต้น


นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ในปี 2568 กระทรวงคมนาคมมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega Projects) ที่มีมูลค่าลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 13 โครงการ และมีมูลค่าลงทุนรวม 254,183 ล้านบาท ได้แก่ มิติการขนส่งทางถนน เช่น โครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านทิศใต้, โครงการทางแยกต่างระดับสันป่าตอง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่, โครงการพัฒนาถนนวงแหวนรอบเมืองเชียงใหม่ รอบที่ 3 (ทล.121) และโครงการต่อเชื่อมถนนนครอินทร์ - ศาลายา ด้านมิติการขนส่งทางบก ได้แก่ โครงการสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนมิติการขนส่งทางราง ได้แก่ แผนการจัดหารถจักรและล้อเลื่อนเพื่อรองรับรถไฟทางคู่ ขณะที่ มิติการขนส่งทางน้ำ ได้แก่ ขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำเศรษฐกิจ จำนวน 10 แห่ง เป็นต้น และมิติการขนส่งทางอากาศ ได้แก่ โครงการก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับ ลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่น ๆ ของท่าอากาศยานชุมพร

อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 กระทรวงคมนาคมจะเร่งลงทุนโครงการฯ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบราง และโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงโครงการแก้ปัญหา Missing Link และโครงการเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง ลดอุบัติเหตุในการขนส่ง ได้แก่ มิติระบบราง จะเร่งลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน (Timeline) ดังนี้

เร่งลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2569) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,479 กิโลเมตร (กม.) และเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ เด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ และบ้านไผ่ - มุกดาหาร – นครพนม ให้แล้วเสร็จตามแผน

ขณะเดียวกัน จากนโยบาย Visa Free ของรัฐบาล คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยจำนวนมากนั้น ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา Gateway ทางอากาศ โดยมีโครงการ Quick Win ในด้านการพัฒนาปรับปรุงอาคาร ท่าอากาศยาน ให้มีความสะอาด ปลอดภัย สร้างความสะดวก ให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอาคารผู้โดยสาร และทางวิ่ง (Runway) ให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยกระทรวงคมนาคมมุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถทางด้านอากาศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็น Aviation Hub นอกจากนี้ ในปี 2567 - 2568 กระทรวงคมนาคมยังได้กำหนดแผนงานแลพโครงการขยายขีดความสามารถการขนส่งทางน้ำด้วย อาทิ การเร่งรัดการพัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา (Smart Pier), การพัฒนาท่าเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) สนับสนุนการท่องเที่ยว และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 จะเร่งรัดงานก่อสร้างเพื่อให้เปิดบริการได้ในปี 2574

นายสุริยะ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันหารือและได้นำประเด็น และปัญหาของประชาชนในด้านคมนาคมมาคมนาคม และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำเป็น Action Plan เพื่อกำหนดการดำเนินงานและเวลาดำเนินงานที่ชัดเจน ในการพัฒนาระบบคมนาคมทั้งทางถนน ทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ให้ประชาชนได้รับความสะดวก ความปลอดภัยในการเดินทาง และเสียค่าใช้จ่ายในราคาที่เหมาะสม รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2024 9:18 am    Post subject: Reply with quote

การท่าเรือฯ เผยผลศึกษาพบ อ.น้ำพอง ขอนแก่น เหมาะจะตั้งท่าเรือบกที่สุดในอีสาน
Source - ไทยรัฐออนไลน์
Friday, February 02, 2024 20:54

รอง ผอ.การท่าเรือฯ เผยผลการศึกษา เรื่องการพัฒนาท่าเรือบกในพื้นที่ขอนแก่น พบว่าเหมาะที่สุดในการตั้งท่าเรือบก (Dry Port) ที่สุดในภาคอีสาน โดยพื้นที่ที่เหมาะสม คือ ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง เพราะเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟโนนพยอม

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 2 ก.พ. 2567 นายศิริวัฒน์ พินิจพาณิชย์ รอง ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นประกอบการทดสอบความสนใจนักลงทุน โครงการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น ให้เกิดขึ้นในเชิงพาณิชย์ ซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และสถาบันชุณหะวันเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน ได้กำหนดจัดการประชุมขึ้นโดยมีนักวิชาการ และนักธุรกิจในพื้นที่ จ.ขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมการประชุมจำนวนมาก

นายอภิเสต พงษ์สุวรรณ รองผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย สายบริหารสินทรัพย์และการพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า การศึกษาในเรื่องของการพัฒนาท่าเรือบกในพื้นที่ขอนแก่น ขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างมาก ซึ่งขณะนี้เข้าสู่การแลกเปลี่ยนและรับฟังข้อเสนอแนะในกลุ่มภาคธุรกิจและเชิงพาณิชย์ โดยจะทำการประชุมร่วมกันทั้งที่ขอนแก่นและกรุงเทพฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและผลการวิจัยที่ชัดเจนเสนอต่อที่ประชุมการท่าเรือแห่งประเทศไทย และเสนอต่อกระทรวงคมนาคมตามขั้นตอน โดยยอมรับว่าขอนแก่นนั้นมีความเหมาะสมอย่างมากในการก่อตั้ง โดยเฉพาะที่สถานีรถไฟโนนพยอม ที่จะเชื่อมต่อกับการขนส่งระบบรางได้อย่างครอบคลุม ซึ่งการดำเนินงานนั้นจะต้องประสานงานร่วมการรถไฟแห่งประเทศไทยในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด

"ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการค้าที่สำคัญของไทย มีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ถึง 7.7 ล้านตู้ต่อปี และในปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังประสบปัญหาความแออัดในการขนส่งสินค้า ทำให้เสียเวลาในการขนส่ง ผู้ให้บริการขนส่งสินค้ามีการเรียกเก็บค่าหัวรถลากเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ส่งออกมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาท่าเรือบกในประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือ ลดปัญหาความแออัดจากการขนส่งบริเวณท่าเรือ พร้อมทั้งรองรับการเติบโตด้านการขนส่งสินค้าที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการโดยเฉพาะ ซึ่งผลการศึกษาด้านเกณฑ์การคัดเลือกจังหวัดพบว่า ขอนแก่นมีความเหมาะสมในการจัดตั้งท่าเรือบกตาหลักเกณฑ์ทั้งหมดในพื้นที่ ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง ซึ่งเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟโนนพยอมได้ทันที" รอง ผอ.การท่าเรือแห่งประเทศไทยฯ กล่าว

นายอภิเสต กล่าวอีกว่า วันนี้เป็นการรับฟังภาคธุรกิจเอกชน ตามรูปแบบที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยนำเสนอ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเด่นชัดว่า จะเป็นไปในรูปแบบใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งการพัฒนาพื้นที่ การสร้างมูลค่าที่เกิดจากการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมไปถึงระบบการเชื่อมต่อการขนส่งทางบก และทางราง ทั้งระบบรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้น

รอง ผอ.การท่าเรือแห่งประเทศไทยฯ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามในการศึกษาความเหมาะสมของการพัฒนาท่าเรือบกขอนแก่น โดยคณะทำงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอีสาน ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้นั้นจะศึกษาความเป็นไปได้ในรูปแบบการลงพื้นที่เหมาะสมกับ กทท. ทั้งในส่วนของรูปแบบตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP, รูปแบบการลงทุนร่วมกันบริษัทเอกชน หรือ Joint Venture, รูปแบบใช้เงินทุนของ กทท. หรือรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสม ซึ่งทั้งหมดอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย. ปี 2567 นี้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2024 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการสำคัญปี 2567 และโครงการใหม่ ปี2568 l 27 ม.ค. 67
Daoreuk Channel
Feb 9, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=NufexS9vdNA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44910
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/02/2024 8:02 am    Post subject: Reply with quote

นิวลุกคมนาคม 'สุรพงษ์ ปิยะโชติ' มิติใหม่ 'ขนส่งสาธารณะทุกคนขึ้นได้ทุกวัน'
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, February 14, 2024 03:30

ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน มิตใหม่ในการบริหารราชการแผ่นดินเกิดขึ้นได้ทุกวัน เกิดขึ้นได้ทุกกระทรวง

วันนี้เป็นคิวของกระทรวงคมนาคม ที่มี "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และมีอีกหนึ่งคีย์แมน "สุรพงษ์ ปิยะโชติ" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รับผิดชอบ 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางบก (ขบ.), กรมการขนส่ง ทางราง (ขร.), บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.), การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.), บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด, บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.), การรถไฟฟ้าขนส่ง มวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.)

ล่าสุด "รมช.สุรพงษ์" ปาฐกถาพิเศษ "ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทุกคนขึ้นได้ทุกวัน" ผลักดันการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ปลอดภัยและเป็นธรรม จัดโดยสภาองค์กรผู้บริโภค ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อเร็ว ๆ นี้

"ราง" กระดูกสันหลังขนคน
"นโยบายรัฐบาลโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายระบบคมนาคมและโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบกับ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งจะมี ส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในอนาคตที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

และถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างขีด ความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต พฤติกรรมการ เดินทางของผู้คน รูปแบบในการทำธุรกิจ และความต้องการในการเดินทาง อันเป็น ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์

โดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายบูรณาการระบบขนส่ง "ถนน-น้ำ-ราง" กำหนดหน้าที่การขนส่งให้เมืองใหญ่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม และกระจายการเดินทางไปสู่ภูมิภาค โดยใช้ระบบราง รถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง เป็นกระดูกสันหลังในการขนส่งผู้โดยสาร

ควบคู่กับระบบล้อ รถเมล์ EV แท็กซี่ EV สามล้อ EV เป็นระบบ Feeder เพื่อลดการสร้างมลพิษทางอากาศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น เพื่อการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ปลอดภัยและเป็นธรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม กฎระเบียบ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถประกอบการขนส่งด้วย รถโดยสารสาธารณะ เพื่อให้ระบบการขนส่งสาธารณะมีความครอบคลุมสอดรับกับความต้องการใช้บริการของประชาชน

ภายใต้กลไกและศักยภาพขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการ กระจายอำนาจที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการในพื้นที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เร่ง กม.ตั๋วร่วม D-Ticket

ทั้งนี้ "ทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทุกคนขึ้นได้ทุกวัน"สรุปสาระสำคัญได้ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายใน 2 สายหลักคือ "สายสีม่วง+สายสีแดง" ซึ่งเป็นโครงการที่ลดค่าใช้จ่ายของประชาชน

ส่วนจะเดินหน้านโยบาย 20 บาทตลอดสายกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ หรือไม่นั้น อยู่ระหว่างการพิจารณา

นอกจากเรื่องราคาค่าโดยสารแล้ว รัฐบาลยังได้พัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งร่างพระราชบัญญัติตั๋วร่วม พ.ศ.... จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเดือนมีนาคม 2567

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงระบบการจองตั๋วรถไฟผ่านระบบ D-Ticket โดยประชาชนสามารถขยายเวลาจองตั๋วรถไฟล่วงหน้าได้ จากเดิม 30 วัน เพิ่มสูงสุดเป็น 90 วัน และจัดเสริมขบวนรถ/พ่วงตู้ ให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน

2572 จุดเปลี่ยนประเทศไทย

ส่วนภาพรวมของการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะนั้น เชื่อว่าในปี 2572 จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ชัดเจนของประเทศไทย เนื่องจากการขนส่งสาธารณะ ขนส่งสินค้า ถูกยกระดับให้สามารถบูรณาการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั้งในไทย รวมถึงเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและลาว ทำให้ระบบขนส่งทางรางเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศผ่าน 60 จังหวัด

ส่วนที่เหลือจะเป็นระบบล้อ โดยรูปแบบ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส.ต้องไม่วิ่งแข่งขันระยะไกล แต่เปลี่ยนเป็นระบบฟีดเดอร์บริการขนส่งระยะใกล้ เพื่อส่งคนเข้าระบบรางที่เป็นขนส่งหลักของประเทศ

"อนาคตระบบขนส่งทางรางจะเป็นขนส่งหลักของประเทศ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการรถไฟทางคู่ที่มีรางขนาด 1 เมตร ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กับรถไฟความเร็วสูง มีความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขนาดราง 1.43 เมตร ทำให้ร่นเวลาในการเดินทางและการขนส่งลง ทำให้รถบรรทุกหายไปจากท้องถนน และลดมลพิษ PM 2.5 ด้วย เพราะเมื่อรถไฟทางคู่เสร็จแล้ว จะมีทางรถไฟมากกว่า 8,000 กิโลเมตร ให้บริการประชาชนได้ 61 จังหวัด ทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น"
หัวใจสำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของขนส่งมวลชนสาธารณะอีกประเด็นคือ การกระจายอำนาจในการจัดการระบบขนส่งมวลชนให้กับท้องถิ่นในการจัดการตัวเอง

โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้แก้กฎกระทรวงให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการเดินรถของตัวเองได้ ทำให้เกิดการกระจายขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

"ผมเชื่อว่าให้อำนาจท้องถิ่นในการ จัดการขนส่งสาธารณะ ถือเป็นเครื่องมือ สำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพราะที่ผ่านมาจัดการโดยส่วนกลาง แต่หลังจากนี้จะไม่มีการส่งผ้าเป็นม้วน ลงไปให้พื้นที่แล้ว แต่ให้แต่ละท้องถิ่นไป จัดการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้เหมาะสมกับท้องที่ของตัวเอง ซึ่งท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งจะรู้ว่าต้องจัดระบบขนส่งมวลชนแบบไหน ที่จะตอบสนอง ความต้องการของคนในพื้นที่"

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 15 - 18 ก.พ. 2567
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 9, 10, 11  Next
Page 10 of 11

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©