RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311328
ทั่วไป:13290449
ทั้งหมด:13601777
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42790
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2023 3:49 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เดินหน้าลุยสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ไม่ต้องเวนคืนที่ดินบริเวณแยกพงษ์เพชร
1 พฤศจิกายน 2023 - 11:12 น.

คมนาคม เดินหน้าลุยสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไม่ต้องเวนคืนที่ดินบริเวณแยกพงษ์เพชร 96 ครัวเรือน ช่วยรัฐลดงบประมาณกว่า 1,250 ล้านบาท ชี้มีจุดตัดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 7 สายทาง สร้างเสร็จคาดมีผู้โดยสารกว่า 2 แสนคนเที่ยวต่อวัน


นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงศ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาแนวทางลดผลกระทบการจราจรจากการดำเนินการในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (ช่วง แยกแคราย-เกษตรนวมินทร์-แยกลำสาลี) ระยะทาง 22.1 กม. นั้นที่ประชุมได้ข้อสรุปถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาบริเวณแยกพงษ์เพชรนั้นทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะไม่เวนคืนที่ดินจากประชาชนเพื่อสร้างสถานี และ แนวเขตทาง ผิวจราจจร ซึ่งทำให้ประชาชนกว่า 96 ครัวเรือน บริเวรณดังกล่าวไม่ต้องถูกเวนคืน และทำให้กระทรวงคมนาคม รฟม. ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณกว่า 1,250 ล้านบาทมาเวนคืนที่ดิน

ส่วนประเด็นรูปแบบการก่อสร้างที่มีโครงการทับซ้อนกันในโครงการสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ระหว่าง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่มีแนวก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางด่วนสายเหนือขั้นที่ 1 หรือ N1 บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่รูปแบบก่อสร้างจะเป็นการขุดอุโมงค์ กับรฟม. นั้นทางกทพ.และรฟม. ตกลงร่วมกันว่าจะบูรณาการร่วมกันในการก่อสร้างลงเสาเข็มกลุ่มพร้อมกัน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการจราจร ส่วนช่วงบริเวณจุดแยกเกษตรนวมินทร์-ลาดปลาเค้า ซึ่งเป็นจุด N1 ที่พ้นการลอดอุโมงค์มาชนช่วงก่อสร้าง เชื่อมต่อกับ N2 และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ให้มีการปรับแบบการเชื่อมต่อ ให้กระทบการก่อสร้างสายสีน้ำตาลให้น้อยที่สุด

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลนั้นเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้เป็นรถไฟฟ้าที่มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 7 สายทางใน 5 จุดหลักประกอบด้วยเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีชมพู ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี และยังเชื่อมต่อรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่สถานีบางเขนส่วนแนวเส้นทางบนถนนเกษตรนวมินทร์ก็จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่บริเวณสถานีแยกเกษตร และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีต่างระดับฉลองรัช และเมื่อเดินทางมาสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลียังสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอีกด้วย ทั้งนี้ในเบื้องต้นการประเมินผู้โดยสารที่จะเข้ามาใช้เส้นทางนี้คาดว่าจะมีประมาณ 218,547 คน-เที่ยว/วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ตลอดระยะทาง 22.1 กม. นั้นจะเป็นโครงสร้างยกระดับจำนวน 20 สถานี มีรูปแบบสถานีแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับการออกแบบโครงการ คือ สถานีที่ตั้งอยู่โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางพิเศษฯ โดยจะเป็นสถานีรูปแบบชานชาลาข้าง (Side Platform) หรือรูปแบบชานชาลากลาง (Centre Platform) และสถานีที่ตั้งอยู่ใต้โครงสร้างทางพิเศษฯ โดยมีทางวิ่งของรถไฟฟ้าขนาบข้างเสาทางพิเศษฯ ซึ่งจะเป็นสถานีรูปแบบชานชาลาข้าง (Side Platform) เท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42790
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2023 9:41 am    Post subject: Reply with quote

🚅🤎 วันนี้ชีวิตติดรถไฟฟ้าอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) รถไฟฟ้าแบบยกระดับ ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร เชื่อมต่อกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก ล่าสุดได้รับการระบุลงในแผนแม่บทรถไฟฟ้า (M-MAP 2)

…รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)
เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ ถูกบรรจุลงในแผนแม่บทรถไฟฟ้า ระยะที่ 1 (M-MAP 1) เป็นเส้นทางสุดท้าย และล่าสุดได้รับการระบุลงในแผนแม่บทรถไฟฟ้า (M-MAP 2) เป็นเส้นทางที่มีความจำเป็น/มีความพร้อม สามารถดำเนินการได้ทันที และคาดการณ์ว่าจะเปิดประมูลได้ปลายปี 2567 พร้อมลงนามสัญญาได้ในช่วงปลายปี 2568 ครับ
.
โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากศูนย์ราชการนนทบุรี ผ่านแยกแคราย และวิ่งตรงไปตามแนว ถ.งามวงศ์วาน ผ่าน ม.เกษตรศาสตร์ หลังจากนั้นวิ่งตามแนว ถ.ประเสริฐมนูกิจ ผ่านทางพิเศษฉลองรัช แล้วเลี้ยวขวาเข้า ถ.นวมินทร์ มุ่งลงทิศใต้ตามแนวถนน ไปสิ้นสุดที่บริเวณแยกบางกะปิครับ

เป็นเส้นทางที่มีความจำเป็น/มีความพร้อม สามารถดำเนินการได้ทันที โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงปลายปี 2568 รายละเอียดข้อมูลโครงการนี้จะเป็นอย่างไรวันนี้นำมาให้ชมกันครับ ส่วนความคืบหน้าเราก็จะอัปเดตเป็นระยะ

ซึ่งตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลส่วนใหญ่ จะเป็นย่านที่มีผู้คนพลุกพล่าน ทั้งมหาวิทยาลัย สำนักงาน และห้างสรรพสินค้ากระจุกตัวกันอยู่ตามแนวรถไฟฟ้า การเข้ามาของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจึงถือเป็นตัวเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างนนทบุรีและกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกให้สะดวกสบายมากขึ้น คราวนี้มาดูความน่าสนใจของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลกันครับ
.
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) โครงการสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวม 22.1 กม. ทั้งหมด 20 สถานี โดยสถานีที่ตั้งอยู่ใต้โครงสร้างทางพิเศษฯ จะมีทางวิ่งของรถไฟฟ้าขนาบข้างเสาทางพิเศษฯ ทำให้รูปแบบสถานีเป็นแบบชานชาลาข้าง (Side Platform) เท่านั้น
.
เบื้องต้นได้มีการกำหนดสถานีของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ทั้ง 20 สถานี ไว้คร่าว ๆ ดังนี้
1. ศูนย์ราชการนนทบุรี
2. งามวงศ์วาน 2
3. งามวงศ์วาน 18
4. ชินเขต
5. บางเขน
6. งามวงศ์วาน 48
7. แยกเกษตร
8. คลองบางบัว
9. ประเสริฐมนูกิจ-ลาดปลาเค้า
10.ประเสริฐมนูกิจ-เสนานิคม
11. สตรีวิทยา 2
12. ทางต่างระดับฉลองรัช
13. คลองลำเจียก
14. นวลจันทร์
15. ประเสริฐมนูกิจ-นวมินทร์
16. โพธิ์แก้ว
17. อินทรารักษ์
18. สวนนวมินทร์ภิรมย์
19. การเคหะแห่งชาติ
20. แยกลำสาลี

และด้วยความที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เป็นรถไฟฟ้าที่พาดผ่านย่านสำคัญหลายโซน ทำให้มีจุด Interchange เกือบครบทุกสายในปัจจุบัน ทำให้อนาคตการเดินทางในกรุงเทพฯ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จะไปไหนก็สะดวกสบายไม่ต้องใช้รถส่วนตัวให้เสียเวลากับการจราจรที่ติดขัด
.
โดยสายสีน้ำตาลเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าถึง 7 สาย
🚅 #รถไฟฟ้าสายสีม่วง 🟣 ช่วงศูนย์ราชการนนทบุรี - สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
🚅 #รถไฟฟ้าสายสีชมพู 🔴 ช่วงศูนย์ราชการนนทบุรี - สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
🚅 #รถไฟฟ้าสายสีแดง 🔴 ช่วงแยกบางเขน - สถานีบางเขน
🚅 #รถไฟฟ้าสายสีเขียว 🟢 ช่วงแยกเกษตร - สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
🚅 #รถไฟฟ้าสายสีเทา ⚪ ช่วงทางต่างระดับฉลองรัช - สถานีเกษตรนวมินทร์
🚅 #รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 🟡 ช่วงแยกลำสาลี - สถานีแยกลำสาลี
🚅 #รถไฟฟ้าสายสีส้ม 🟠 ช่วงแยกลำสาลี - สถานีแยกลำสาลี

ก่อนจะไปดูความน่าอยู่ตลอดแนวเส้นรถไฟฟ้า ขอแวะพามาดู Timeline แผนการดำเนินงานรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แบบคร่าว ๆ กันดีกว่าครับ ว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรครับ
.
◾ ปี 2556 สนข. ปรับโครงการเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล “สายสีน้ำตาล” เนื่องจากม.เกษตรศาสตร์มีข้อกังวลเกี่ยวกับการทับซ้อนกันของ 2 โครงการคือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและทางด่วนขั้นที่ 3
◾ ปี 2561 สรุปแนวเส้นทางสามารถสร้างได้ทั้ง 2 เส้นทาง เพราะมีจุดมุ่งหมายในการใช้งานที่ต่างกัน จึงมีการศึกษาแนวเส้นทาง และทำทั้ง 2 โครงการเลย
◾ ปี 2562 มีการหารือกันระหว่าง สนข. และ ม.เกษตร โดย ม.เกษตรขอให้ สนข. ทบทวนรถไฟฟ้ารูปแบบอื่น เกรงจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยและภูมิทัศน์โดยรอบ
◾ ปี 2563 ม.เกษตรศาสตร์เห็นด้วย ให้ใช้พื้นที่ในรูปแบบของการรอนสิทธิที่ดิน
.
🟤 แผนการดำเนินงานในปัจจุบัน
◾ ปี 2566 ถูกระบุลงในแผนแม่บทรถไฟฟ้า (M-MAP 2) ว่าเป็นเส้นทางที่มีความจำเป็น/มีความพร้อม สามารถดำเนินการได้ทันที
.
🟤 แผนการดำเนินงานในอนาคต
◾ ปี 2567 คาดการณ์ รฟม. มีแผนเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
◾ ปี 2568 คาดการณ์ ลงนามสัญญา + เริ่มก่อสร้างโครงการ
◾ ปี 2571 คาดการณ์ เปิดให้บริการ

และนอกเหนือจากการเดินทางที่สะดวกสบาย ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลยังเป็นเส้นทางที่พร้อมทั้งสถานที่ กิน 🍕เที่ยว ช้อป แบบครบจบในย่าน ไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า, ร้านอาหาร, Hypermarket, โรงเรียน, โรงพยาบาล และห้างสรรพสินค้า 🛍️ ครั้งนี้เลยอยากจะพาไปรู้จักกับ 2 โครงการ “โกลเด้น ทาวน์ ๔ ลาดพร้าว-เกษตร” และ “โกลเด้น ทาวน์ เกษตร-นวมินทร์” ทาวน์โฮมซีรีส์ใหม่ บนถ.นวมินทร์ และถ.ประเสริฐมนูกิจ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
.
รอบโครงการจะมีอะไรน่าสนใจไปดูกัน
🛍️🛒 แหล่งช้อปปิ้ง
◾ เดอะมอลล์ บางกะปิ 4.9 กม.
◾ เดอะวอค เกษตรนวมินทร์ 6.3 กม.
◾ เดอะพรอมานาด 7.7 กม.
◾ แฟชั่น ไอซ์แลนด์ 7.9 กม.
◾ นวมินทร์ ซิตี้ อเวนิว 8.3 กม.
◾ เซ็นทรัลอีสต์วิลล์ 8.6 กม.
.
🚑💉 โรงพยาบาล
◾ รพ.นวเวช
◾ รพ.พญาไทนวมินทร์
◾ รพ.เวชธานี
◾ รพ.สินแพทย์
◾ รพ.นพรัตนราชธานี
.
🏫🎓 โรงเรียน
◾ ร.ร. บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
◾ ร.ร.เลิศล้า
◾ ม.รามคำแหง
◾ ร.ร.สตรีวิทยา2
◾ ม.เกษตรศาสตร์
https://www.facebook.com/LifeAtStation/posts/900686794741088
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42790
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2024 4:23 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”ตีกลับรถไฟฟ้าสีน้ำตาลทบทวน“โมโนเรล“
*ให้พิจารณาข้อดีข้อเสียเทียบระบบรางเบาชนิดอื่น
*พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงยังไม่ชัดเจนให้หาข้อสรุปด้วย
*เลื่อนไทม์ไลน์ชงครม.ก่อสร้างปี69เปิดบริการ72
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/915217143388854
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42790
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2024 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

🔎 สำรวจเสาะส่อง “รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม)” เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายไหนบ้าง?
.
.
#รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลคือโครงการอะไร
.
เป็นโครงการ “รถไฟฟ้าโครงสร้างรางเดี่ยว (Straddle Monorail System)สายสีน้ำตาล
ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม)” ความเร็วสูงสุดที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ปัจจุบันกรมขนส่งทางราง มีมติให้ รฟม. พิจารณารูปแบบรถไฟฟ้าใหม่ หลังจากเกิดอุบัติเหตุจากโครงการสายสีชมพู และสายสีเหลืองขึ้นพร้อมกัน
.

#แล้วรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลพิเศษอย่างไร?
.
สำหรับความพิเศษของ “รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล” จะเป็นดำเนิน การก่อสร้าง บน “เสาตอม่อ” บนแนวกึ่งกลาง “ถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์)” ซึ่งมีระยะทาง 22.1 กิโลเมตร 20 สถานีใหม่ โดยเป็นสถานียกระดับทั้งหมด นอกจากนี้ มี “จุดเริ่มต้นที่แยกแคราย
และจุดสิ้นสุดโครงการที่แยกลำสาลี”
.
.
🚄 อีกทั้งยังเป็น
#รถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าหลายสาย
ดังนี้
.
1. รถไฟฟ้าสายสีม่วง
▶ เชื่อมต่อที่ “สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี”
-----------------------------
2. รถไฟฟ้าสายสีชมพู
▶ เชื่อมต่อที่ “สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี”
-----------------------------
3. รถไฟฟ้าสายสีแดง
▶ เชื่อมต่อที่ “สถานีบางเขน”
-----------------------------
4. รถไฟฟ้าสายสีเขียว
▶ เชื่อมต่อที่ “สถานี ม.เกษตรศาสตร์”
-----------------------------
5. รถไฟฟ้าสายสีเทา
▶ เชื่อมต่อที่ “สถานีคลองลำเจียก”
-----------------------------
6. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
▶ เชื่อมต่อที่ “สถานีลำสาลี”
-----------------------------
7. รถไฟฟ้าสายสีส้ม
▶ เชื่อมต่อที่ “สถานีลำสาลี”
.
.
#แล้ว20สถานีใหม่ตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง
.
1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
▶ ฝั่งตรงข้ามไทยคม
-----------------------------
2. สถานีงามวงศ์วาน 2
▶ อยู่บริเวณ ซ.อัคนี
-----------------------------
3. สถานีงามวงศ์วาน 18
▶ อยู่ระหว่างห้างพันธุ์ทิพย์
และเดอะมอลล์งามวงศ์วาน
-----------------------------
4. สถานีชินเขต
▶ อยู่ปาก ซ.ชินเขต
-----------------------------
5. สถานีบางเขน
▶ อยู่ข้างสะพานข้ามแยกวิภาวดี
ตัดกับ ถ.โลคัลโรด
{เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง}
-----------------------------
6. สถานี ม.เกษตรศาสตร์
(ประตูงามวงศ์วาน)
▶ อยู่บริเวณ ม.เกษตรศาสตร์
ประตูงามวงศ์วาน
-----------------------------
7. สถานีแยกเกษตร
▶ อยู่หน้าธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
-----------------------------
8. สถานีคลองบางบัว
▶ อยู่ตรงสะพานข้าม
คลองบางบัว
-----------------------------
9. สถานีประเสริฐมนูกิจ-ลาดปลาเค้า
▶ อยู่แยกปลาเค้า
-----------------------------
10. สถานีประเสริฐมนูกิจ-เสนานิคม
▶ อยู่ทางแยกเสนานิคม
-----------------------------
11. สถานี รร.สตรีวิทยา 2
▶ อยู่ รร.สตรีวิทยา 2
-----------------------------
12. สถานีต่างระดับฉลองรัช
▶ อยู่บริเวณจุดตัด ถ.เลียบทางด่วน
-----------------------------
13. สถานีคลองลำเจียก
▶ อยู่แยกตัดกับ ถ.คลองลำเจียก
-----------------------------
14. สถานีนวลจันทร์
▶ อยู่ตัดกับ ซ.นวลจันทร์ 11
-----------------------------
15. สถานีประเสริฐมนูกิจ-นวมินทร์
▶ บริเวณแยกนวมินทร์
-----------------------------
16. สถานีโพธิ์แก้ว
▶ บริเวณปาก ซ.โพธิ์แก้ว
-----------------------------
17. สถานีอินทรารักษ์
▶ บริเวณหน้าตลาดอินทรารักษ์
-----------------------------
18. สถานีสวนนวมินทร์ภิรมย์
▶ บริเวณแฮปปี้แลนด์
-----------------------------
19. สถานีการเคหะแห่งชาติ
▶ บริเวณสำนักงานเคหะแห่งชาติ
-----------------------------
20. สถานีแยกลำสาลี
▶ บริเวณ ถ.รามคำแหง
แยกลำสาลี
-----------------------------
.
.
#ส่งผลอย่างไรต่อชีวิตเรา
ถ้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลสร้างเสร็จ จะส่งผลต่อชีวิตเราในเรื่องของการ เดินทางเข้า-ออก กรุงเทพฯ รอบนอก กับใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกสบาย ขึ้น เพราะรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เชื่อมต่อรถไฟฟ้าถึง 7 สาย
.
.
#ในด้านอสังหาฯ
โครงการอสังหาฯ ที่ตั้งอยู่ใกล้สถานีใหม่ ทั้งในฝั่งตะวันตก และตะวันออก ก็มีโอกาสเปิดใหม่มากขึ้น รวมทั้งมูลค่าที่ดิน ที่มีโอกาสเติบโต หากรถไฟฟ้าดำเนินการสร้างเสร็จ และเปิดใช้งาน
https://www.facebook.com/properlist.project/posts/986049696418774
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44880
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/05/2024 7:31 am    Post subject: Reply with quote

ทำทันที4สายสีน้ำตาล-ขยายแดง
Source - เดลินิวส์
Tuesday, May 07, 2024 05:22

เคาะแผนแม่บทราง2ส่งครม. แต่น้ำตาลศึกษาใหม่ใส่20บ.

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า กรมการขนส่งทางราง (ขร.) อยู่ระหว่างตรวจรับงาน โครงการเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพ มหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 ในงวดสุดท้าย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.67 จากนั้นประมาณเดือน มิ.ย. 67 ขร. จะนำผลการศึกษาเสนอกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาเห็นชอบ และรายงานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ

เบื้องต้นผลการศึกษาฯ ได้จัดลำดับความสำคัญแผนการพัฒนา M-Map 2 มี 46 เส้นทาง ระยะทางรวม 659.85 กิโลเมตร(กม.) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่ม A1 เส้นทางที่มีความจำเป็น/มีความพร้อม (ดำเนินการได้ทันที) 4 เส้นทาง 31 สถานี ระยะทางรวม 51.40 กม., กลุ่ม A2 เส้นทางที่มีความจำเป็น/แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน คาดว่าดำเนินการภายในปี 72 จำนวน 6 เส้นทาง 41 สถานี ระยะทางรวม 51.45 กม., กลุ่ม B เส้นทางที่มีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-Map 1 และบางเส้นทางเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ รวม 10 เส้นทาง 95 สถานี ระยะทางรวม 167.50 กม. และกลุ่ม C เส้นทาง ที่จะเป็นระบบ Feeder อาทิ Tram ล้อยาง และรถเมล์ไฟฟ้า 26 เส้นทาง ระยะทางรวม 389.50 กม.

กลุ่ม A1 ที่สามารถดำเนินการได้เลย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งผลักดันโครงการเข้าสู่การพิจารณาของกระทรวงคมนาคม และครม. ให้ได้รับการอนุมัติภายในปี 67 จำนวน 4 เส้นทาง วงเงิน 70,236 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.รถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,473 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม เสนอโครงการไปสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อรอบรรจุวาระของที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาแล้ว
2.รถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท รฟท. อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม คาดว่า รฟท. จะส่งกลับมายังกระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้งภายในเดือน พ.ค.นี้

3. รถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ ครม. จะรอให้รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่ง มีคดีพิพาทเกี่ยวกับการ คัดเลือกโครงการฯ ได้รับ คำพิพากษาของศาลปกครอง สูงสุดก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เพราะ การก่อสร้างทั้ง 2 โครงการใช้พื้นที่ร่วมกัน

และ
4. โครงการ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วง แคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.10 กม. วงเงิน 48,477 ล้านบาท

รฟม. กำลังทบทวน และปรับปรุงผลการศึกษา ตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม อาทิ การวิเคราะห์เพิ่มเติมกรณีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตามนโยบายรัฐบาล, การบูรณาการโครงการทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นต้น

ส่วนรูปแบบของรถกระทรวงคมนาคมไม่มีนโยบายบังคับแม้ว่ารถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองและสีชมพูจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งก็ตาม ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ รฟม. โดยก่อนหน้านี้ รฟม. มีแผนจะใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) กระทรวงคมนาคมให้ รฟม. เสนอโครงการฯ กลับมาพิจารณาอีกครั้งภายในปี 67.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 พ.ค. 2567 (กรอบบ่าย)

Thailand's Transport Ministry Proposes Immediate Construction of 4 Electric Train Lines

Brown Line and the Red Line extension are included in a new Master Plan for Rail.

The Thai Ministry of Transport has announced the completion of the Master Plan for Rail 2 (M-MAP 2). This plan outlines a comprehensive development strategy for the rail transit network in Bangkok and surrounding areas and is expected to be submitted to the Cabinet for approval in June 2024.

M-MAP 2: Key Details

The plan prioritizes 46 rail routes covering 659.85 km.

Immediate Action (Group A1): 4 routes (31 stations, 51.40 km) prioritized for immediate development.

Red Line Extensions:
○ Rangsit-Thammasat
○ Taling Chan-Salaya
○ Taling Chan-Siriraj

Brown Line: Khae Rai-Lam Sali

The Ministry of Transport is pushing for approval of these Group A1 projects within 2024.

Review of the Brown Line project is underway, addressing policy considerations like the proposed 20 baht flat fare for electric trains.

Additional Notes

The Ministry of Transport has not yet issued an official directive on vehicle type in response to recent monorail issues.

Further details are expected as the plan moves toward Cabinet consideration.

Source: Daily News (May 8, 2024)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42790
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2024 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ทำทันที4สายสีน้ำตาล-ขยายแดง
Source - เดลินิวส์
Tuesday, May 07, 2024 05:22

เคาะแผนแม่บทราง2ส่งครม. แต่น้ำตาลศึกษาใหม่ใส่20บ.


ลิงก์มาแล้วครับ
เคาะM-Map2แผนแม่บทรถไฟฟ้า(2)ส่งคจร.-ครม.
*ทำทันที4เส้นทางสายสีน้ำตาล-ส่วนขยายสีแดง
*แต่สายสีน้ำตาลรอศึกษาใหม่นโยบาย 20 บาท
*ไม่กังวลรูปแบบรถเป็นโมโนเรลเหมือนเดิมก็ได้

กรมรางชง “คมนาคม-คจร.” เคาะ M-MAP 2 ทำทันที 4 เส้นทาง “น้ำตาล” เร่งศึกษา 20 บาท
นวัตกรรมขนส่ง
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 เวลา 12:09 น.

“กรมราง” ชง M-MAP 2 โครงข่ายขนส่งทางรางให้ “คมนาคม” เคาะ มิ.ย. นี้ 46 เส้นทาง 659 กม. “รฟท.-รฟม.” เร่งดัน 4 เส้นจำเป็น ทำทันที 51.4 กม. กว่า 7 หมื่นล้าน อนุมัติให้จบในปี 67 “แดงต่อขยาย” ลุยเพิ่มเติมข้อมูล ขณะที่ “น้ำตาล” ทบทวนผลศึกษาใหม่ เติมนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ไม่บังคับรูปแบบรถ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ขณะนี้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) อยู่ระหว่างการตรวจรับงาน โครงการเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 ในงวดสุดท้าย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 67 จากนั้นประมาณเดือน มิ.ย. 67 ขร. จะนำผลการศึกษาเสนอมายังกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบ และรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบต่อไป

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า เบื้องต้นผลการศึกษาฯ ได้จัดลำดับความสำคัญแผนการพัฒนา M-Map 2 มี 46 เส้นทาง ระยะทางรวม 659.85  กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่ม A1 เส้นทางที่มีความจำเป็น/มีความพร้อม (สามารถดำเนินการได้ทันที) 4 เส้นทาง 31 สถานี ระยะทางรวม 51.40 กม., 
กลุ่ม A2 เส้นทางที่มีความจำเป็น/แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน คาดว่าดำเนินการภายในปี 72 จำนวน 6 เส้นทาง 41 สถานี ระยะทางรวม 51.45 กม., 
กลุ่ม B เส้นทางที่มีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-Map 1 และบางเส้นทางเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ รวม 10 เส้นทาง 95 สถานี ระยะทางรวม 167.50 กม.และกลุ่ม C เส้นทางที่จะเป็นระบบ Feeder อาทิ Tram ล้อยาง และรถเมล์ไฟฟ้า 26 เส้นทาง ระยะทางรวม 389.50 กม.


รายงานข่าวแจ้งอีกว่า กลุ่ม A1 เป็นกลุ่มที่สามารถดำเนินการได้เลย และขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งผลักดันโครงการเข้าสู่การพิจารณาของกระทรวงคมนาคม และ ครม. ให้ได้รับการอนุมัติภายในปี 67 โดยกลุ่ม A1 จำนวน 4 เส้นทาง วงเงิน 70,236 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.รถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,473 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งปัจจุบันกระทรวงคมนาคม เสนอโครงการดังกล่าวไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อรอบรรจุวาระของที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาแล้ว

ADVERTISEMENT




2.รถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท รฟท. อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม คาดว่า รฟท. จะส่งกลับมายังกระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้งภายในเดือน พ.ค. นี้ 3. รถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ ครม. จะรอให้รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งขณะนี้มีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการฯ ได้รับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เพราะการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการใช้พื้นที่ร่วมกัน


ADVERTISEMENT


และ 4. โครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.10 กม. วงเงิน 48,477 ล้านบาท ขณะนี้ รฟม. อยู่ระหว่างทบทวน และปรับปรุงผลการศึกษา ตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม อาทิ การวิเคราะห์เพิ่มเติมกรณีนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตามนโยบายรัฐบาล, การบูรณาการโครงการทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นต้น ส่วนรูปแบบของรถที่จะนำมาใช้กับสายสีน้ำตาล กระทรวงคมนาคมไม่ได้มีนโยบายบังคับว่าจะต้องใช้รถรูปแบบใด ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ รฟม. โดยก่อนหน้านี้ รฟม. มีแผนจะใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมให้ รฟม. เสนอโครงการฯ กลับมา เพื่อพิจารณาอีกครั้งภายในปี 67...
https://www.dailynews.co.th/news/3408983/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/984116256498942

Note: โมโนเรลไม่ใช่ปัญหา เพราะ ถ้าเชื่อมต่อสายสีน้ำตาลเข้ากับสายสีชมพูกะสายเหลืองจนสามารถแลกเปลี่ยนขบวนรถได้แล้ว ก็สามารถปรับขบวนรถไปเดินรถชั่วคราวก่อนที่รถโมโนเรลสายน้ำตาลที่สั่งมาใหม่เข้ามาแทนได้ เพียงแต่ต้องปรับสเปกให้ดีเลิศกว่านี้ คือ ต้องมีระบบ ลดแรงสะเทือนที่ดีกว่าเก่า ถ้าจำเป็นต้องให้ญี่ปุ่นช่วยก็ได้ แต่จีนคงค้อนขวับๆ งานนี้เดือดร้อนบอมบาดิเออร์และอัลสตอมต้องหาทางปรับระบบใหม่ให้ดีกว่าเดิม
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©