RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311981
ทั่วไป:13605062
ทั้งหมด:13917043
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟสายตาก และหนองบัวลำภู
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43790
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2023 12:54 am    Post subject: Reply with quote

รัฐผนึกเอกชน ดันโครงการแสนล้าน "มอเตอร์เวย์ ตาก -แม่สอด"

ฐานเศรษฐกิจ
28 ตุลาคม 2566

เลขานุการรองประธานสภาฯพร้อมพ่อเมืองตาก-ภาคเอกชน ประชุมหาแนวทางพัฒนาพื้นที่แม่สอด พร้อมผลักดันโครงการ MR-MAP หรือมอเตอร์เวย์คู่ราง ในเส้นทางตาก - แม่สอด ให้เป็นรูปธรรม
https://www.thansettakij.com/business/economy/579692
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43790
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2023 9:16 pm    Post subject: Reply with quote

หนองบัวลำภูขอ ครม.สัญจรเร่งทางรถไฟ
27 ตุลาคม 2566

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายศรัณศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (อุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย-หนองคาย-บึงกาฬ) มีผู้แทนภาครัฐและเอกชน จ.อุดรธานี ร่วมประชุมในห้อง ขณะอีก 4 จังหวัดร่วมประชุมทางไกล

นายศรัณศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคมนี้ มีกำหนดการนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะมีกำหนดการ เดินทางมาตรวจราชการในพื้นที่ จ.อุดรธานี หนองบัวลำภู และหนองคาย พร้อมชี้แจงงานมหกรรมพืชสวนโลก ว่าที่ผ่านมาอุดรธานีใช้งบ 55 ล้านบาท จากกรอบวงเงิน 2,500 ล้านบาท เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาเท่านั้น ยังไม่มีการเบิกงบมาใช้อีกเลย



ที่ประชุมมีมติรับหลักการ ข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอโครงการ ของภาคเอกชนผ่านความเห็นชอบ ของ กรอ.หนองบัวลำภู เพื่อนำเข้าการประชุม ครม.นอกสถานที่ ที่จะมีขึ้นที่ จ.หนองบัวลำภู ประกอบไปด้วย

1. การเลื่อนเวลาโครงการรถไฟสายใหม่ ที่มีการศึกษาเบื้องต้นไว้แล้ว คือสายจัตุรัส-ชัยภูมิ-ชุมแพ-หนองบัวลำภู-เลย จากแผนปี 76-85 มาเป็น ปี 71-79 และสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย จากแผนปี 74-82 มาเป็นปี 71-79 โดยจะมีการหาลือกรมราง และการรถไฟแห่งประเทศไทยอีกครั้ง


2.โครงการก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนา ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างถนน ขยายช่องจราจร ทล.2146 เส้นทาง หนองบัวลำภู-โนนสัง-อุบลรัตน์ เชื่อมขอนแก่น ระยะทาง 58.46 กม. และโครงการก่อสร้างถนน ขยายช่องจราจร ทล.2420 สายทาง ศรีบุญเรือง-นากลาง ระยะทาง 44.49 กม. โดยจะกลับไปทำรายละเอียด ว่าตลอดระยะทางมีการขยาย หรือมีแผนขยาย ในช่วงปีและช่วงระยะไหนบ้าง


กรอ.หนองบัวลำภู เตรียมเสนอ ครม.นอกสถานที่ เลื่อนแผนโครงการรถไฟสายใหม่ เส้นทาง“อุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย” จากแผนปี 2574- 2582 มาเป็นปี 2571-2579

1.เส้นทาง สถานีหนองตะไก้ อ.เมืองอุดรธานี - สถานีหนองวัวซอ - สถานีหนองบัวลำภู - สถานีเมืองเลย
2.เส้นทาง สถานีจัตุรัส จ.ชัยภูมิ -สถานีชุมแพ - สถานีหนองบัวลำภู-สถานีเมืองเลย

Note: เกรงว่าจะได้แค่เส้นทางเดียว เพื่อความประหยัด เพราะ เส้นทางใกล้ๆ จตุรัส ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายนครสวรรค์ ผ่าน ท่าตะโก ไพศาลี ศรีเทพ เทพสถิต จตุรัส ชัยภูมิ ช่องสามหมอ บ้านไผ่

Note 2: ทางรถไฟสายอุดรธานี (หนองตะไก้) - หนองบัวลำพู - เลย - 11 สถานี 170 กม.
0. หนองตะไก้ (สถานีชานเมืองด้านใต้เมืองอุดรธานี)
1. หนองวัวซอ (สถานีสุดท้ายก่อนข้ามไปหนองบัวลำพู)
2. หนองบัวลำพู (สถานีประจำจังหวัด)
3. นาคำไฮ
4. นากลาง
5. นาเลา
6. ผาอินทร์แปลง (สถานีสุดท้ายของหนองบัวลำพู )
7. หนองหญ้าปล้อง (สถานีแรกของเลย)
8. วังสะพุง
9. น่าโป่ง
10. น้ำมาน
11. เมืองเลย (สถานีประจำจังหวัด ปลายราง)

เส้นทางรถไฟสายใหม่ จัตุรัส - ชัยภูมิ - หนองบัวลำภู – เลย มีระยะทาง 333 กิโลเมตร 30 สถานี
0. จตุรัส - ถ้าไม่ใช่ชุมทางกุดน้ำใส ทางสายนครสวรรค์ - บ้านไผ่
1. บ้านกอก - สถานีขนาดเล็ก
2. หนองบัวบาน - สถานีขนาดเล็ก
3. บ้านเขว้า - สถานีขนาดกลาง
4. ชัยภูมิ (สถานีประจำจังหวัด - สถานีใหญ่)
5. ห้วยบง (มีสิทธิ์ที่จะเป็นชุมทางไปที่บ้านไผ่ สำหรับทางรถไฟสายนครสวรรค์ - บ้านไผ่ - สถานีขนาดกลาง),
6. โคกมั่งงอย - สถานีขนาดกลาง
7. ช่องสามหมอ (พื้นที่ยุทธศาสตร์),
8. แก้งคล้อ - สถานีขนาดกลาง
9. หลุบค้า - สถานีขนาดเล็ก
10. กวางโจน - สถานีขนาดเล็ก
11. ภูเขียว (สถานีสุดท้ายของชัยภูมิ - สถานีขนาดกลาง)
12. ชุมแพ (สถานีแรกของขอนแก่น - สถานีใหญ่),
13. นาจาน - สถานีขนาดเล็ก
14. ศรีสุข - สถานีขนาดเล็ก
15. วังเพิ่ม (สถานีสุดท้ายของขอนแก่น - สถานีขนาดกลาง),
16. นากอก (สถานีแรกของหนองบัวลำพู - สถานีขนาดเล็ก),
17. เมืองใหม่ - สถานีขนาดกลาง
18. หัวนา - สถานีขนาดเล็ก
19. หนองบัว - สถานีขนาดเล็ก
20. บ้านพร้าว - สถานีขนาดเล็ก
21. หนองบัวลำพู (สถานีประจำจังหวัด - สถานีใหญ่)
22. นาคำไฮ - สถานีขนาดเล็ก
23. นากลาง - สถานีขนาดกลาง
24. นาเหล่า - สถานีขนาดกลาง
25. ผาอินทร์แปลง (สถานีสุดท้ายของหนองบัวลำพู - สถานีขนาดเล็ก)
26. หนองหญ้าปล้อง (สถานีแรกของเลย - สถานีขนาดเล็ก)
27. วังสะพุง - สถานีขนาดกลาง
28. น่าโป่ง - สถานีขนาดเล็ก
29. น้ำมาน - สถานีขนาดเล็ก
30. เมืองเลย (สถานีประจำจังหวัด ปลายราง - สถานีใหญ่)
https://www.facebook.com/insideudon/posts/630931232587959/
https://udontoday.co/271066/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47029
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/02/2024 7:23 am    Post subject: Reply with quote

เซ็นทรัลบุกนครสวรรค์มิกซ์ยูสมี'รพ.'ครั้งแรก
Source - เดลินิวส์
Thursday, February 01, 2024 04:51

นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดให้บริการสาขาเซ็นทรัล นครสวรรค์ อย่างเป็นทางการสาขาที่ 41 หลังจากใช้เงินลงทุน 5,800 ล้านบาทในช่วงที่ผ่านมา เป็นโครงการมิกซ์ยูส ประกอบด้วย ศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย โรงแรม ซึ่งยังไม่รวมกับเงินลงทุนสร้างโรงพยาบาลสินแพทย์ ไฮไลต์หลัก ที่ร่วมจับมือเปิดให้บริการไปกับเซ็นทรัลเป็นครั้งแรก และมีความเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะกลายเป็นศูนย์รวมด้านสุขภาพและเหมาะสำหรับผู้สูงอายุวัยเกษียณ ตั้งเป้าหมายแล้วเสร็จทั้งโครงการภายใน 3 ปี

ทั้งนี้จากเทรนด์ที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่าคนในจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมานครสวรรค์ เพื่อมารักษาสุขภาพ เรา จึงนำเทรนด์นี้มาพัฒนาให้เป็นโครงการมิกซ์ยูสที่มีเมดิคัลฮับสร้างบริการสำหรับผู้สูงอายุ และมีโซนสุขภาพเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ 2 ไร่ สำหรับเด็กวิ่งเล่น ออกกำลังกาย และนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาได้ สำหรับสาเหตุที่เปิดในนครสวรรค์เพราะเป็น 1 ใน 10 จังหวัดเมืองรองที่ภาครัฐยกระดับขึ้นมา และยังเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่มีรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและรถไฟทางคู่สายนครสวรรค์แม่สอด ที่สามารถเชื่อมโยงไปเวียดนาม กัมพูชา และในอนาคตบริษัทจะสนับสนุนความโดดเด่นทางวัฒนธรรมโดยสร้างให้เป็นฮับเทศกาลตรุษจีน ร่วมกับทางหน่วยงานจังหวัดเพื่อสร้างให้เป็นไชน่าทาวน์เนื่องจากมีชุมชนชาวจีนอาศัยอยู่จำนวนมาก รวมไปถึงจัดงานประเพณีอื่น ๆ อาทิ สงกรานต์ ปีใหม่ โดยตั้งเป้าหมายมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการวันละ 20,000 คน ทั้งคนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 ก.พ. 2567 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43790
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2024 6:21 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟ‘นครสวรรค์-บ้านไผ่’ ผ่าน‘บัวใหญ่’ถือว่าตอบโจทย์ เชื่อย่นระยะทางเชื่อมอีอีซี
นสพ.โคราชคนอีสาน
ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๒๖๕๕
วันพุธที่ ๒๕ เดือนพฤศจิกายน - วันอังคารที่ ๑ เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๓

Click on the image for full size
ชาวบัวใหญ่ปลื้ม กรมขนส่งทางรางเห็นชอบรถไฟทางเดี่ยว‘นครสวรรค์-บ้านไผ่’ เชื่อมต่อทางรถไฟเดิมที่ กุดน้ำใส พร้อมปรับปรุงทางรถไฟช่วงกุดน้ำใส-จัตุรัส-บัวใหญ่ ระยะทาง ๖๖.๒ กิโลเมตร ด้าน “เจ้าสัวอรุณ อัครปรีดี” ประธานเครือข่าย ๘ อำเภอ เชื่อย่นระยะทางเชื่อมต่อ EEC กว่า ๑๐๐ กิโลเมตร



สืบเนื่องจาก การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ๒ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ มีมติเห็นชอบแนวทางและข้อสั่งการให้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก สายนครสวรรค์-บ้านไผ่ เพื่อให้แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่จากแม่สอด-นครพนม ที่ใช้ขนาดทาง ๑ เมตร ให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์และสอดคล้องกับการเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งสินค้า ผู้โดยสารและศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ รวมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานและพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ

ต่อมา นายอรุณ อัครปรีดี ประธานเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่ม ๘ อําเภอโซนบัวใหญ่ ได้ทำหนังสือถึงกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เพื่อผลักดันให้มีการปรับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-บ้านไผ่ โดยให้มีเส้นทางเพิ่มเติมจากอําเภอเมืองชัยภูมิ-บัวใหญ่ อีกเส้นทางหนึ่ง

จากนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม จึงว่าจ้างที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จํากัด บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จํากัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จํากัด และบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จํากัด ให้ดําเนินงานศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ พร้อมจัดทํารายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานศึกษาความเหมาะสมฯ ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งดําเนินการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมถึงข้อเสนอแนะจากเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่ม ๘ อําเภอโซนบัวใหญ่ โดยทําการกําหนดทางเลือกในการพัฒนาเพิ่มเติมเป็น ๔ กรณี และคํานึงถึงความสอดคล้องกับแผนการพัฒนาของการคมนาคมในระดับภูมิภาคอาเซียน และการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการเชื่อมต่อกับโครงข่ายใหม่ในอนาคต เพื่อเกิดการเชื่อมโยงของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor EWEC) ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ



โดยรายละเอียดการศึกษาเพิ่มเติมมี ๔ กรณี ดังนี้ กรณีที่ ๑ (กรณีฐาน) แนวเส้นทางนครสวรรค์-กุดน้ำใส-ชัยภูมิ-บ้านไผ่ โดยแนวเส้นทางจะเป็นไปตามผลการศึกษาความเหมาะสม ซึ่งเป็นแนวเส้นทางใหม่ของโครงการทั้งหมด แนวสีเขียว ตั้งแต่จุดเริ่มต้นโครงการ สถานีชุมทางกุดน้ำใสระยะทาง ๑๘๑.๒๐๐ กม. แนวสีชมพู ตั้งแต่สถานีชุมทางกุดน้ำใส-สถานีชัยภูมิ ระยะทาง ๓๙.๑๐๐ กม. และแนวสีแดง ตั้งแต่สถานีชัยภูมิ-จุดสิ้นสุดโครงการสถานีบ้านไผ่ ระยะทาง ๘๔.๐๑๘ กม. ระยะทาง รวมทั้งสิ้น ๓๐๔.๓๑๘ กม. โดยประมาณค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่เขตทาง ๕๐ เมตร ด้านวิศวกรรมโยธา ๔๙,๐๕๕ ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ๓,๓๐๔ ล้านบาท อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา (งานขนส่งทางราง) ๓,๐๒๑ ล้านบาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ๕๕,๓๘๐ ล้านบาท และค่าก่อสร้างรถไฟทางเดี่ยวเขตทาง ๕๐ เมตร ด้านวิศวกรรมโยธา ๓๒,๐๒๒ ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ๓,๓๐๔ ล้านบาท อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา (งานขนส่งทางราง) ๒,๑๗๓ ล้านบาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ๓๗,๔๙๙ ล้านบาท

กรณีที่ ๒ แนวเส้นทางนครสวรรค์-กุดน้ำใส-บัวใหญ่-บ้านไผ่ โดยแนวเส้นทางเป็นแนวเส้นทางใหม่จากนครสวรรค์-กุดน้ำใส และมาเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟเดิม และปรับปรุงแนวเส้นทางจากสถานีกุดน้ำใสไปสถานีชุมทางบัวใหญ่เป็นทางคู่ และเข้าสู่สถานีบ้านไผ่ แนวสีเขียว ตั้งแต่จุดเริ่มต้นโครงการ-ชุมทางกุดน้ำใสระยะทาง ๑๘๑.๒๐๐ กม. แนวสีเหลือง ตั้งแต่สถานีชุมทางกุดน้ำใส-สถานีชุมทางบัวใหญ่ ระยะทาง ๖๖.๒๐๐ กม. และแนวสีเหลืองเข้ม ตั้งแต่สถานีชุมทางบัวใหญ่ จุดสิ้นสุดโครงการสถานีบ้านไผ่ ระยะทาง ๖๒.๒๒๐ กม. ระยะทางรวมทั้งสิ้น ๓๐๔.๖๒๐ กม. โดยประมาณค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่เขตทาง ๕๐ เมตร ด้านวิศวกรรมโยธา ๓๗,๘๔๙ ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ๑,๘๔๙ ล้านบาท อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา (งานขนส่งทางราง) ๒,๕๒๒ ล้านบาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ๔๒,๒๒๐ ล้านบาท และค่าก่อสร้างรถไฟทางเดี่ยวเขตทาง ๕๐ เมตร ด้านวิศวกรรมโยธา ๒๔,๐๔๐ ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ๑,๘๔๙ ล้านบาท อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา (งานขนส่งทางราง) ๑,๗๖๔ ล้านบาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ๒๗,๖๕๓ ล้านบาท

กรณีที่ ๓ แนวเส้นทางนครสวรรค์-กุดน้ำใส-บัวใหญ่-บ้านไผ่ และต่อขยายแนวเส้นทางไปจังหวัดชัยภูมิ แนวสีเขียว ตั้งแต่จุดเริ่มต้นโครงการ-ชุมทางกุดน้ำใสระยะทาง ๑๘๓.๒๐๐ กม. แนวสีชมพู ตั้งแต่สถานีชุมทาง กุดน้ำใส-สถานีชัยภูมิ ระยะทาง ๓๙.๑๐๐ กม. แนวสีเหลือง ตั้งแต่สถานีชุมทางกุดน้ำใส-สถานีชุมทางบัวใหญ่ ระยะทาง ๖๖.๒๐๐ กม. และแนวสีเหลืองเข้ม ตั้งแต่สถานีชุมทางบัวใหญ่-จุดสิ้นสุดโครงการสถานีบ้านไผ่ ระยะทาง ๖๒.๒๒๐ กม. ระยะทางรวมทั้งสิ้น ๓๔๘,๔๒๐ กม. โดยประมาณค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่เขตทาง ๕๐ เมตร ด้านวิศวกรรมโยธา ๔๓,๑๔๔ ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ๒,๓๖๙ ล้านบาท อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา (งานขนส่งทางราง) ๒,๙๑๘ ล้านบาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ๔๘,๔๓๑ ล้านบาท และค่าก่อสร้างรถไฟทางเดี่ยวเขตทาง ๕๐ เมตร ด้านวิศวกรรมโยธา ๒๗,๗๓๐ ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ๒,๓๖๙ ล้านบาท อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา (งานขนส่งทางราง) ๒,๐๔๘ ล้านบาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ๓๒,๑๔๗ ล้านบาท

กรณีที่ ๔ แนวเส้นทางนครสวรรค์-กุดน้ำใส-ชัยภูมิ-บ้านไผ่ และรวมถึงเชื่อมต่อพร้อมปรับปรุงทาง รถไฟเดิมช่วงกุดน้ำใส-จัตุรัส-บัวใหญ่ (รวมเส้นทางกรณี ๑ และ ๒) แนวสีเขียว ตั้งแต่จุดเริ่มต้นโครงการ-สถานีชุมทาง กุดน้ำใสระยะทาง ๑๘๑.๒๐๐ กม. แนวสีชมพู ตั้งแต่สถานีชุมทางกุดน้ำใส-สถานีชัยภูมิ ระยะทาง ๓๙.๑๐๐ กม. แนวสีแดง ตั้งแต่สถานีชัยภูมิ-จุดสิ้นสุดโครงการสถานีบ้านไผ่ ระยะทาง ๘๔.๐๑๘ กม. แนวสีเหลือง ตั้งแต่สถานีชุมทางกุดน้ำใส-สถานีชุมทางบัวใหญ่ ระยะทาง ๖๖.๒๐๐ กม. และแนวสีเหลืองเข้ม ตั้งแต่สถานีชุมทางบัวใหญ่-จุดสิ้นสุด โครงการสถานีบ้านไผ่ ระยะทาง ๖๒.๒๒๐ กม. ระยะทางรวมทั้งสิ้น ๔๓๒.๗๓๘ กม. โดยประมาณค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่เขตทาง ๕๐ เมตร ด้านวิศวกรรมโยธา ๕๔,๕๒๒ ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ๓,๕๓๑ ล้านบาท อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา (งานขนส่งทางราง) ๓,๗๔๘ ล้านบาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ๖๑,๘๐๑ ล้านบาท และค่าก่อสร้างรถไฟทางเดี่ยวเขตทาง ๕๐ เมตร ด้านวิศวกรรมโยธา ๓๕,๖๕๘ ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ๓,๕๓๑ ล้านบาท อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา (งานขนส่งทางราง) ๒,๖๖๐ ล้านบาท รวมค่าก่อสร้างทั้งหมด ๔๑,๘๔๙ ล้านบาท

เพิ่มเส้นทางบัวใหญ่-ชัยภูมิ

ต่อมา กรมขนส่งทางราง (ขร.) ได้ส่งหนังสือที่ คค ๐๙๐๕.๒/๑๕๖๙ ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เรื่องความก้าวหน้าการศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมกรณีแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ สายนครสวรรค์-บ้านไผ่ ถึงประธานเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่ม ๘ อําเภอโซนบัวใหญ่ โดยมีรายละเอียดว่า ตามหนังสือที่อ้างถึงประธานเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่ม ๘ อําเภอโซนบัวใหญ่ (นายอรุณ อัครปรีดี) มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เพื่อผลักดันให้มีการปรับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ สายนครสวรรค์-บ้านไผ่ โดยให้มีเส้นทางเพิ่มเติมจากอําเภอเมืองชัยภูมิ-บัวใหญ่ อีกเส้นทางหนึ่ง โดย ขร. ได้ประสานหารือกับ รฟท. เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ และได้มีหนังสือตามที่อ้างถึงประธานเครือข่าย ภาคประชาชนฯ เพื่อแจ้งความก้าวหน้าในการประสานหารือกับ รฟท. กรณีการดําเนินการศึกษาความเหมาะสม เพิ่มเติมกรณีแนวเส้นทางรถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-บ้านไผ่ ผ่านสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ โดย ขร.จะแจ้ง ผลการพิจารณาให้ประธานเครือข่ายภาค ประชาชนฯ ทราบต่อไป ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

ขร.ได้รับหนังสือแจ้งความก้าวหน้าการศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมกรณีแนวเส้นทาง รถไฟทางคู่ สายนครสวรรค์-บ้านไผ่ ผ่านสถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่แล้ว โดยผลการวิเคราะห์ความเหมาะสม เพิ่มเติมฯ พบว่า แนวเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดสําหรับการพัฒนาโครงการ คือ การพัฒนาทางรถไฟทางเดี่ยว บนเขตทาง ๕๐ เมตร โดยเริ่มต้นแนวเส้นทางจากนครสวรรค์-กุดน้ำใส-ชัยภูมิ-บ้านไผ่ ระยะทาง ๓๐๔.๓๑๘ กิโลเมตร และเชื่อมต่อทางรถไฟเดิมที่กุดน้ำใส พร้อมปรับปรุงทางรถไฟเดิม ช่วงกุดน้ำใส-จัตุรัส-บัวใหญ่ ระยะทาง ๖๖.๒๐๐ กิโลเมตร รวมถึงการเดินรถไฟจากบัวใหญ่ จุดสิ้นสุดโครงการที่บ้านไผ่ ระยะทาง ๖๒.๒๒๐ กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น ๔๓๒.๗๓๘ กิโลเมตร ทั้งนี้ ผลการศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมๆ ที่ รฟท. ดําเนินการมีความสอดคล้องกับข้อสังเกตของ ขร. ในการประสานหารือร่วมกันเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

๑.ขอให้พิจารณาศึกษาเพิ่มเติมความเหมาะสมของแนวเส้นทางนครสวรรค์-บ้านไผ่ และเชื่อมเส้นทางจากกุดน้ำใส-บัวใหญ่ อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งการศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมของ รฟท.ระบุว่า รฟท.แบ่งการพิจารณาแนวเส้นทางรถไฟโครงการเป็น ๔ แนว ได้แก่ เส้นทางนครสวรรค์-กุดน้ำใส-ชัยภูมิ-บ้านไผ่ เส้นทางนครสวรรค์-กุดน้ำใส-บัวใหญ่-บ้านไผ่ และปรับปรุงเส้นทางจากกุดน้ำใส-บัวใหญ่ เป็นทางคู่และเข้าบ้านไผ่ เส้นทางนครสวรรค์-กุดน้ำใส-บัวใหญ่-บ้านไผ่ และต่อขยายแนวเส้นทางไปจังหวัดชัยภูมิ และเส้นทางนครสวรรค์-กุดน้ำใส-ชัยภูมิ-บ้านไผ่ และเชื่อมต่อพร้อมปรับปรุงทางรถไฟเดิมช่วงกุดน้ำใส-จัตุรัส-บัวใหญ่

๒.ปัจจัยในการคัดเลือกแนวเส้นทางควรมี ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรมและการเดินรถ ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งการศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมของ รฟท.ระบุว่า วิเคราะห์เพิ่มเติมเส้นทางใน ๔ ด้าน ดังนี้ ๑.การศึกษาผลอบแทนรายอำเภอของทางเลือกแต่ละกรณี ๒.สรุปการประเมินผลกระทบเบื้องต้นด้านสิ่งแวดล้อมของทางเลือกแต่ละกรณี ๓.ค่าลงทุนในการก่อสร้างโครงการแต่ละทางเลือก และ ๔.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและซ่อมบำรุงของแต่ละทางเลือก

๓.ศึกษาผลตอบแทนรายอำเภอเพิ่มเติม แนวเส้นทางจากกุดน้ำใส-บ้านไผ่ และบริเวณแนวเส้นทางจากกุดน้ำใส-บัวใหญ่ ซึ่งการศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมของ รฟท.ระบุว่า ศึกษาเพิ่มเติมผลประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดที่มีการก่อสร้างตลอดอายุโครงการ ๓๐ ปี พบว่า แนวเส้นทางนครสวรรค์-บ้านไผ่ และปรับปรุงทางเดิมจากจัตุรัส-บัวใหญ่ สามารถสร้างผลประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดฯ และผลประโยชน์ในพื้นที่หลายอำเภอมากกว่าเส้นทางอื่น ทั้งนี้ การดำเนินโครงการจะเป็นการวางโครงข่ายคมนาคม เชื่อมโยงสู่เมืองหลักของภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งเป็นการกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐)

๔.เขตทางรถไฟปัจจุบันใช้เกณฑ์ ๘๐ เมตร สามารถปรับลดเหลือ ๕๐ เมตร ได้หรือไม่ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ค่าเวนคืน และค่าก่อสร้าง ซึ่งการศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมของ รฟท.ระบุว่า ใช้เกณฑ์ทางรถไฟ ๕๐ เมตร เป็นเกณฑ์ในการศึกษาความเหมาะสมเพิ่มเติมฯ แทนเกณฑ์ทางรถไฟเดิม ๘๐ เมตร



ผ่านบัวใหญ่ถือว่าเหมาะสมแล้ว

ล่าสุด เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นายอรุณ อัครปรีดี ประธานเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่ม ๔ อําเภอโซนบัวใหญ่ เปิดเผยกับ ‘โคราชคนอีสาน’ ถึงกรณีดังกล่าวว่า “เดิมทีทางรถไฟสายร้อยเอ็ด-นครพนม ที่เชื่อมจากต่อบัวใหญ่ไป มีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติก่อสร้างตั้งแต่สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ต่อมาเมื่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เกิดโครงการใหม่ที่เชื่อมระหว่างตะวันออกไปตะวันตก ซึ่งภาครัฐไปรับฟังความคิดเห็นแค่ที่อำเภอบ้านไผ่ ไม่เคยมารับฟังที่อำเภอบัวใหญ่ ทั้งที่อำเภอบัวใหญ่เคยเป็นมติคณะรัฐมนตรีเดิม และทำเป็นโครงการจากบ้านไผ่-นครสวรรค์ แต่ถ้าทำเส้นทางนครสวรรค์-บัวใหญ่ เส้นนี้จะช่วยให้การเชื่อมต่อ EEC ย่นระยะได้มากถึง ๑๐๐ กิโลเมตร ดังนั้นการศึกษาเส้นทาง ไม่ใช่แค่ศึกษาเฉพาะการเชื่อมระหว่างตะวันออกไปตะวันตก แต่ควรศึกษาให้ครอบคลุมทั้งเครือข่าย แต่ที่ ขร.สรุปผลเส้นทางออกมาก็ถือว่าตอบโจทย์แล้ว”





Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
เปิดผลศึกษาทางคู่'นครสวรรค์-บ้านไผ่'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วจ้า : เปิดผลศึกษาทางคู่'นครสวรรค์-บ้านไผ่'
เดลินิวส์
ฉบับวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:48 น.
1. นครสวรรค์ กม. 0+000.00 (กม. 245 + 780 จากสถานีกรุงเทพ)
2. สถานีท่าตะโก แถวตำบลหัวถนน (กม. 34 + 500 จากนครสวรรค์ ที่ หนองปลิง กม. 280 + 280 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดเล็ก มีย่านคอนเทนเนอร์รับข้าว ที่ กม. 35+000 (กม. 280 + 780 จากสถานีกรุงเทพ)
3. สถานีไพศาลี (กม. 55 + 500 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 301 + 280 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดกลาง
4. สถานีบ้านพุเตย (กม. 98 + 075 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 343 + 855 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดเล็ก จุดลงรถไฟวิเชียรบุรี มีย่านคอนเทนเนอร์รับมะขาวหวาน ที่ กม. 98+575 (กม. 344 + 355 จากสถานีกรุงเทพ) ไปเพชรบูรณ์ลงสถานีนี้
5. ที่หยุดรถบ้านวังไผ่ (กม. 105 + 900 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 351 + 680 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดเล็ก
6. สถานีศรีเทพ (กม. 113 + 300 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 359 + 080 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดกลาง จุดลงรถไปอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ หลังโดนคนเพชรบูรณ์ทักท้วง และ ยิ่งเป็นมรดกโลกด้วยทำให้ ต้องสร้างสถานีให้ได้
7. สถานีบ้านคลองสระแก้ว, (กม. 140 + 825 จาก สถานีนครสวรรค์ ใกล้น้ำตกเทพประทาน กม. 386 + 605 จากสถานีกรุงเทพ) สถานีขนาดเล็ก
8. ชุมทางสถานีกุดน้ำใส (กม. 181 + 200 จาก สถานีนครสวรรค์ กม. 426 + 980 จากสถานีกรุงเทพ สถานีขนาดกลาง ใกล้ถนนโกสีย์ ห่างจากสถานีจตุรัสไปทางทิศตะวันตกแค่ 2 กิโลเมตรเอง สถานีใหม่บนทางช่วงแก่งคอย - บัวใหญ่ เพื่อไปต่อชัยภูมิได้)
9. สถานีบ้านเขว้า กม. 211 + 100 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 456 + 880 จากสถานีกรุงเทพ ) สถานีขนาดเล็ก
10. สถานีชัยภูมิ กม. 220 + 300 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 466 + 080 จากสถานีกรุงเทพ ) สถานีขนาดกลาง มีย่านคอนเทนเนอร์รับข้าวเหนียว ที่ กม. 220+300 (กม. 466 + 080 จากสถานีกรุงเทพ ) และเป็นสถานีประจำจังหวัดด้วย
11. สถานีบ้านผือ กม. 229 + 950 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 475 + 730 จากสถานีกรุงเทพ ) สถานีขนาดเล็ก
12. สถานีบ้านห้วยบง กม. 237 + 975 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 483 + 755 จากสถานีกรุงเทพ ) สถานีขนาดเล็ก
13. ที่หยุดรถยางหวาย, กม. 251 + 250 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 497 + 030 จากสถานีกรุงเทพ )
14. สถานีแวงใหญ่ กม. 282 + 300 จาก สถานีนครสวรรค์ (กม. 528 + 080 จากสถานีกรุงเทพ สถานีขนาดเล็ก )
15. สถานีบ้านไผ่ กม. 304+318 (กม. 407 + 720 จากสถานีกรุงเทพ ถ้าไปจากนครราชสีมา หรือ กม. 550 + 098 จากสถานีกรุงเทพ ถ้าไปจากนครสวรรค์ สถานีลอยฟ้า สถานีขนาดเล็ก)

ที่น่าทึ่งก็คือมีอุโมงค์ ยาว 3.3 กิโลเมตร ระหว่าง เพชรบูรณ์กะลพบุรี [แถวๆ กุดตาเพชร] และ อุโมงค์ยาว 8 กิโลเมตร ระหว่างลพบุรี กะ ชัยภูมิ [แถวตำบลบ้านไร่]
https://www.youtube.com/watch?v=dE2iz5y2y-Y
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2876210172600482
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47029
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2024 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืน 9,838 ไร่ สร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ 'แม่สอด-นครสวรรค์' แสนล้าน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, August 14, 2024 05:22

รฟท. กางแผนศึกษา "รถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอดตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์" วงเงิน 1.01 แสนล้าน ปูพรมเวนคืน เวนคืน 9,838 ไร่ เร่งชง สผ.เคาะอีไอเอ 2 เฟส ลุ้นครม.ไฟเขียวมิ.ย.68 เปิดประมูลต.ค. 68-มิ.ย.69

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ตามนโยบายรัฐบาล และ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง จุดเปลี่ยนสำคัญของ ระบบขนส่งทางรางในของไทย หนึ่งในนั้น คือ โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 250 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 108,498 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้าง 101,918 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 3,895 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 2,684 ล้านบาท หากโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางทั้ง 3 จังหวัด มีความสะดวกรวดเร็วและประหยัดต้นทุนด้าน โลจิสติกส์ ในอนาคต

ขณะความคืบหน้า แหล่งข่าวจากรฟท.ระบุว่าอยู่ระหว่างจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อชี้แจงเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เนื่องจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) มีมติให้แก้ไขรายงานฯเพิ่มเติม โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก และช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด คาดว่าจะเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายในเดือนสิงหาคมนี้

ทั้งนี้ตามแผนจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคม,สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2568 หลังจากนั้นจะดำเนินการเปิดประมูลหาผู้รับจ้าง ภายในเดือนตุลาคม 2568-มิถุนายน 2569 และเริ่มก่อสร้างทันที คาดว่าจะดำเนินการ แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในกลางปี 2575

ด้านการเวนคืนที่ดินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอด-ตากกำแพงเพชร-นครสวรรค์ ประมาณ 9,838 ไร่ (เขตทางกว้าง 50 เมตร) จะเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน (พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน) ภายในเดือนกรกฎาคม 2568-มิถุนายน 2569 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมขอใช้พื้นที่กรมอุทยานฯ กรมป่าไม้ และหน่วยงานอื่นๆ ภายในเดือนมกราคม 2569-ธันวาคม 2570

สำหรับการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 สัญญา ดังนี้

สัญญาที่ 1 ช่วงนครสวรรค์-ตาก ระยะทางรวม 183 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 177.6 กม.ทางรถไฟยกระดับ 5.4 กม. สะพานรถไฟ 196 แห่ง สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) 6 แห่ง ที่หยุดรถไฟ 8 แห่งสถานีรถไฟ 15 สถาน ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี หรือ 48 เดือน

สัญญาที่ 2 ช่วงตาก-แม่ละเมา ระยะทางรวม 34.025 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 24.5 กม. ทางรถไฟยกระดับ 9.5 กม.อุโมงค์รถไฟ 1 แห่ง 15.5 กม. สถานี 1 สถานี ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี หรือ 72 เดือน

สัญญาที่ 3 ช่วงแม่ละเมา-แม่สอด ระยะทางรวม 32.995 กม.ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน 22.8 กม.ทางรถไฟยกระดับ 10.2 กม. สะพานรถไฟรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) 1 แห่ง อุโมงค์รถไฟ 3 แห่ง 14.2 กม. สถานี 3 สถานี ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี หรือ 72 เดือน

แนวเส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เป็นรถไฟทางคู่ ขนาดทาง 1.000 เมตร มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ นครสวรรค์ กำแพงเพชร และตาก แนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง รวมระยะทาง 250 กม. จำนวน 29 สถานี ประกอบด้วย

ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชรอำเภอเมือง จังหวัดตาก ระยะทาง 183 กม.มีจุดเริ่มต้นที่สถานีปากน้ำโพ โดยแนวเส้นทางแยกออกจากทางรถไฟเดิมของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ จำนวน 24 สถานี โดยมี15 สถานี 8 ที่หยุดรถไฟ เช่น สถานีบึงเสนาท, สถานีบ้านมะเกลือ, สถานีมหาโพธิ, สถานีเก้าเลี้ยว, สถานีวังแขม, สถานีกำแพงเพชร, สถานีตาก ฯลฯ มีย่านกองเก็บสินค้า (CY) 2 แห่ง ที่สถานีหนองปลิงและสถานีหนองบัวใต้

ช่วงที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดตาก-อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระยะทาง 67 กม. มีจุดเริ่มต้นที่สถานีตาก มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีด่าน แม่ละเมา, สถานีแม่ปะ, สถานีแม่สอดและสถานี ด่านแม่สอด มีจุดสิ้นสุดโครงการที่แม่สอด

นอกจากนี้มีรูปแบบเป็นโครงสร้างอุโมงค์ 4 แห่ง ระยะทางรวมประมาณ 29.7 กม. ประกอบด้วย 1. อุโมงค์ดอยรวก ความยาว 15.5 กม. 2.อุโมงค์ด่านแม่ละเมา 1 ความยาว 1.4 กม. 3.อุโมงค์ด่านแม่ละเมา 2 ความยาว 0.8 กม. และ 4. อุโมงค์ดอยพะวอ ความยาว 12.0 กม. มีย่านกองเก็บสินค้า (CY) และศูนย์ซ่อม บำรุง (Depot) 1 แห่ง ที่สถานีด่านแม่สอด

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 - 17 ส.ค. 2567


Expropriation of 9,838 rai for the new 'Mae Sot-Nakhon Sawan' double-track railway line, worth hundreds of billions

Source - Thansettakij
Wednesday, August 14, 2024 05:22


The State Railway of Thailand (SRT) is pushing forward with the construction of a new double-track railway line connecting Mae Sot, Tak, Kamphaeng Phet, and Nakhon Sawan. The project, with a budget of 108.498 billion baht, will span 250 kilometers and involve the expropriation of 9,838 rai of land.

The project is currently in the process of preparing an Environmental Impact Assessment (EIA) and is expected to be submitted to the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP) within August. The plan is to propose the project to the Ministry of Transport, the National Economic and Social Development Council (NESDC), and the Cabinet for approval by June 2025. Bidding for the construction contract is expected to open between October 2025 and June 2026, with construction commencing immediately thereafter. The project is anticipated to be completed and operational by mid-2032.

Land expropriation for the project, estimated at 9,838 rai, will be proposed to the Council of State for the issuance of a Royal Decree specifying the areas of land to be expropriated between July 2025 and June 2026. The survey of properties and land ownership, along with requests for land use from the Department of National Parks, the Royal Forest Department, and other agencies, will begin between January 2026 and December 2027.

The construction will be divided into 3 contracts:

* Contract 1: Nakhon Sawan-Tak section, with a total distance of 183 km. It includes 177.6 km of ground-level railway, 5.4 km of elevated railway, 196 railway bridges, 6 overpasses, 8 train stops, and 15 railway stations. The construction period is estimated to be approximately 4 years or 48 months.
* Contract 2: Tak-Mae Lamao section, with a total distance of 34.025 km. It includes 24.5 km of ground-level railway, 9.5 km of elevated railway, 1 railway tunnel spanning 15.5 km, and 1 railway station. The construction period is estimated to be approximately 6 years or 72 months.
* Contract 3: Mae Lamao-Mae Sot section, with a total distance of 32.995 km. It includes 22.8 km of ground-level railway, 10.2 km of elevated railway, 1 overpass, 3 railway tunnels spanning 14.2 km, 3 railway stations, and 1 maintenance center. The construction period is estimated to be approximately 6 years or 72 months.

The new double-track railway line will be a 1.000-meter gauge railway covering 3 provinces: Nakhon Sawan, Kamphaeng Phet, and Tak. The route is divided into 2 sections with a total distance of 250 km and 29 stations.

* Section 1: Nakhon Sawan-Kamphaeng Phet- Mueang District, Tak Province, with a distance of 183 km. It starts at Pak Nam Pho Station and branches off from the existing railway line of the Lop Buri-Pak Nam Pho double-track railway project. It includes 24 stations, with 15 stations and 8 train stops. There are also 2 container yards (CY) at Nong Pling Station and Nong Bua Tai Station.
* Section 2: Mueang District, Tak Province - Mae Sot District, Tak Province, with a distance of 67 km. It starts at Tak Station and includes 4 stations: Dan Mae Lamao Station, Mae Pa Station, Mae Sot Station, and Dan Mae Sot Station. The project ends at Mae Sot.

Additionally, there are 4 tunnel structures with a total distance of approximately 29.7 km, including:

1. Doi Ruak Tunnel, 15.5 km long
2. Dan Mae Lamao 1 Tunnel, 1.4 km long
3. Dan Mae Lamao 2 Tunnel, 0.8 km long
4. Doi Pha Wo Tunnel, 12.0 km long

There is also 1 container yard (CY) and 1 maintenance center (Depot) at Dan Mae Sot Station.

Source: Thansettakij Newspaper, Issue dated August 15-17, 2024
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 25, 26, 27
Page 27 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©