Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287484
ทั้งหมด:13598808
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รฟท.เปิดเอกชนเช่าใช้รางขนส่งสินค้าเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รฟท.เปิดเอกชนเช่าใช้รางขนส่งสินค้าเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2008 4:37 pm    Post subject: Reply with quote

กรอบแผนการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม (ต่อ)

ในขณะนี้ เป็นเรื่องของการแข่งขันทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ ยุทธศาสตร์สำคัญก็เป็นเรื่องของการที่จะทำอย่างไรให้ระบบการขนส่งเป็นไปโดยรวดเร็ว ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างประหยัด ลองหันไปดูส่วนของข้อมูลตัวเลขขนส่ง ถ้าลองดูที่ผ่านมา เราได้ใช้ภาคขนส่งในแต่ละภาค ถนน ราง ทางน้ำ อากาศ ทางท่อ กี่เปอร์เซ็นต์ จะเห็นว่าเราใช้ทางถนนประมาณ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ ระบบรางประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ทางน้ำไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทางอากาศประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ทางท่อประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์เศษ จะมองชัดๆ ถ้าเปรียบเทียบกับงบประมาณ ก่อนจะถึง ลองดูของต่างประเทศ ตัวเลขที่ได้มายังไม่ถึงปัจจุบัน แต่ว่าข้อมูลของปี 2545 ของประเทศต่าง ๆ จะเห็นว่า การขนส่งสินค้าของญี่ปุ่น ทางรางสูง ส่วนทางน้ำจะน้อย ของสหรัฐอเมริกา ทางถนน ทางรางใกล้เคียงกัน ส่วนทางน้ำประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในยุโรป ประเทศอังกฤษ ถนน 62 เปอร์เซ็นต์ ราง 7 เปอร์เซ็นต์ ทางน้ำ 26 เปอร์เซ็นต์ ออสเตรเลียนั้นถนน 35 เปอร์เซ็นต์ ราง 36 เปอร์เซ็นต์ ทางน้ำ 27 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใกล้เคียงกัน อันนี้เป็นตัวเลขให้เห็นว่า ในระบบภาคการขนส่งนั้นถ้าดูแล้ว ทางรางเป็นสิ่งที่ในหลาย ๆ ประเทศ ก็ให้ความสำคัญ รวมทั้งทางน้ำเป็นลำดับรอง

ถ้าถามถึงปัญหาพลังงานที่มีในปัจจุบันในเรื่องของภาคการขนส่ง ตัวเลขที่ Escap ได้เคยศึกษาไว้ว่า น้ำมัน 1 ลิตร : ระยะทาง 1 กิโลเมตร จะขนส่งได้กี่ตัน เป็นตัวเลขเปรียบเทียบโดยไม่ต้องตัดราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นการแปรผันมาเปรียบเทียบ เอาเฉพาะในเรื่องของปริมาณน้ำมันที่ใช้ขนส่ง น้ำมัน 1 ลิตร ระยะทาง 1 กิโลเมตร ทางน้ำขนได้ 217 ตัน ทางรางขนได้ 85 ตัน ทางถนนขนได้ 25 ตัน นี้เป็นตัวเลขที่เปรียบเทียบว่า ในภาคการขนส่งที่ประหยัด สามารถขนส่งได้มากก็คือการขนส่งทางน้ำ รองลงมาก็คือทางราง ทางบกเป็นอันดับสุดท้าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2008 4:48 pm    Post subject: Reply with quote

กรอบแผนการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม (ต่อ)

เกี่ยวกับงบประมาณในภาคการขนส่งจะเห็นว่า ตั้งแต่มีแผนพัฒนาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ถึงปัจจุบัน หน่วยงานทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ แต่ละหน่วย ได้รับงบประมาณกี่เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย อันนี้เป็นตัวเลขที่สะท้อนถึงเปอร์เซ็นต์ในการใช้ระบบขนส่ง

หน่วยงานแรก กรมทางหลวง เราจะเห็นตัวเลขถึง 78 เปอร์เซ็นต์ คือประมาณ 7-8 แสนล้านบาท กรมทางหลวงชนบทเก็บตัวเลข 2 ปี แต่สูงกว่าทางน้ำ และทางอากาศ เปรียบเทียบให้เห็นตัวเลขการจัดสรรงบประมาณ ทางอากาศ 3 เปอร์เซ็นต์ ทางน้ำ 2.2 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าทางอากาศ ทางรถไฟ 9 เปอร์เซ็นต์ ทางท่าเรือไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าการท่าเรือพัฒนาโดยใช้เงินของตัวเองส่วนหนึ่ง

ฉะนั้นถ้านำตัวเลขงบประมาณที่ได้จัดสรรมาในช่วง 40 ปี เปรียบเทียบกับการใช้ในการขนส่ง จะเห็นว่าใกล้เคียงกัน จะเห็นว่าในระบบทางเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขงบประมาณก็ใกล้เคียง ทางราง 15 เปอร์เซ็นต์ ของรถไฟ 9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทางน้ำไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทางอากาศ 15 เปอร์เซ็นต์ ในเรื่องของการขนส่งสินค้า

ฉะนั้น จะเห็นว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา จะเน้นในเรื่องทางบก ทางราง รองลงมา ส่วนทางอากาศ ทางด้านบริการท่าเรือก็ไปอีกส่วนหนึ่ง นี่เป็นเรื่องของการขนส่งในอดีต เปรียบเทียบคร่าว ๆ ในเรื่องของประเทศที่เราจะเทียบเคียงข้อมูลในปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ของประเทศเราวางไว้อย่างไร ถ้าเราพูดถึงการขนส่งต่อเนื่องเป็นนโยบายโดยชัดเจนแล้วในเรื่องการขนส่งต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมโดยตรง โดยหน่วยงานต่าง ๆ ต้องรับผิดชอบ ซึ่งจะเห็นว่าโครงข่ายที่มีนั้น คำว่าต่อเนื่อง คือ บก น้ำ อากาศ ที่เชื่อมโยงกัน ถ้าดูจากแผนงานก็จะวางกลับกันที่ว่า เอาตัวท่าเรือเป็นตัวหลัก เนื่องจากว่า การขนส่งที่ประหยัดก็คือทางน้ำ ฉะนั้นจึงเอาตัวท่าเรือเป็นตัวตั้ง เนื่องจากว่าท่าเรือนั้น ถ้าจะสร้างตรงไหนเป็นจุดที่ต้องศึกษา เป็นจุดเฉพาะที่จะตั้งหรือก่อสร้างท่าเรือให้มีขึ้น ณ จุดนั้น ในอดีตที่ผ่านมา เรามีท่าเรือที่สงขลา ภูเก็ต (ท่าเรือน้ำลึกที่สร้างขึ้นมา) ที่ประสบผลสำเร็จคือ ท่าเรือสงขลา ส่วนที่ภูเก็ตเป็นท่าเรือท่องเที่ยว เพราะว่าไม่สอดคล้องกับปริมาณสินค้าที่อยู่ในภูมิภาคนั้น แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ในส่วนของทางใต้ที่มีการพัฒนาขณะนี้ก็คือ ทางด้านตะวันตกของของประเทศ เราไม่มีท่าเรือน้ำลึกเลย คือได้มีการขยายท่าเรือที่ระนอง ซึ่งเดิมเป็นท่าเรือขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส เป็นท่าเรือทั่วไปในบริเวณชายฝั่งแถบจังหวัดระนอง แต่ว่ามีสินค้าที่ไปที่บังคลาเทศ ลังกา หรือไปอินเดีย ที่สามารถออกที่จังหวัดระนองได้ เพราะภาคใต้ตอนบน มีสินค้าส่วนหนึ่ง คือสินค้าเกษตร (ผลไม้) ได้มีการขยายท่าเรือระนอง จากที่รองรับเรือขนาด 500 ตันกรอส มาเป็น 12,000 ตันกรอส ขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงอยู่ ปีหน้าจะแล้วเสร็จ อันเป็นนโยบายของรัฐบาลที่มอบให้กรมการขนส่งทางน้ำฯ ดำเนินการ ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ตามมาคือ ในเรื่องของเส้นทางถนนที่จะเชื่อมโยงระหว่างภาคกลางลงไป ซึ่งกรมทางหลวงกำลังดำเนินการที่จะศึกษาก่อสร้างเส้นทาง ชุมพร-ระนอง ซึ่งจะไปที่ท่าเรือ ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงที่จะพัฒนาตามมา เช่นเดียวกัน อีกข้างหนึ่ง ท่าเรือภูเก็ตไม่เหมาะสมในเรื่องของที่จะขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางน้ำฯ ได้มีการศึกษาความเหมาะสมที่จะได้มีการสร้างท่าเรือน้ำลึกทางฝั่งตะวันตก เดิมดูที่จังหวัดสตูล มีที่บุโบย แต่ไม่คุ้มค่าในการลงทุนทางเศรษฐกิจ จึงได้ศึกษาหาที่ใหม่ จึงได้ศึกษาที่ ปากบารา จังหวัดสตูล ซึ่งมีระดับน้ำลึกประมาณ 14 เมตร เทียบได้เท่ากับท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งได้รับงบประมาณปี 2548 ขณะนี้กำลังทำ Detail Design ก่อสร้างท่าเรือแล้ว ฉะนั้น ตามเป้าหมายในปี 2549 จะได้รับงบประมาณการก่อสร้าง 4,000 ล้านบาทไม่รวมอุปกรณ์ ฉะนั้นในขณะนี้ ท่าเรือปากบาราเป็นนโยบายที่ชัดเจนจะสร้างเป็นท่าเรือน้ำลึก

ในฝั่งตะวันตกประเทศไทยไม่มีท่าเรือน้ำลึก แต่มาเลเซียมีท่าเรือน้ำลึก 3 ท่า คือ ปีนัง พอร์ทลาง และท่าเรือตันหยงปาลบัส ใต้สุดคือ ท่าเรือสิงคโปร์ ถ้าถามว่าท่าเรือทั้ง 2 แห่งไม่ว่าจะเป็นท่าเรือระนอง ปากบาราที่ จ.สตูล จะเป็นอย่างไรนั้น คือว่า สินค้าที่ไปทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ไปอินเดีย ศรีลังกา หรือว่าไปตะวันออกไกลไปยุโรป สามารถจะผ่านท่าเรือปากบารา โดยไม่ต้องอ้อมแหลมที่สิงคโปร์ หรือไปถ่ายลำที่สิงคโปร์ จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่จะพัฒนาจุดเชื่อมโยงการขนส่งจากภาคต่าง ๆ ของประเทศที่จะออกไปสู่ต่างประเทศ จึงเป็นสิ่งแน่นอน และที่จะตามมาคือ การก่อสร้างถนน และรถไฟจะต้องเข้าไปเชื่อมโยง ในเรื่องของรถไฟ ก็มีแผนการศึกษาทางเชื่อมเข้าไปสู่ที่ท่าเรือปากบารา เช่นเดียวกัน กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ก็พิจารณาศึกษาว่าจะทำการปรับปรุงเส้นทางเข้ามาเชื่อมโยงท่าเรือ ณ จุดนี้ ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกฝั่งตะวันตกแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นท่าเรือสำคัญที่จะเชื่อมโยงทางฝั่งตะวันออก ด้านอ่าวไทยมาฝั่งตะวันตก และด้านมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงข่ายที่ได้วางไว้เรียบร้อยแล้ว

ส่วนด้านตะวันออก ด้านอ่าวไทย ท่าเรือสงขลาปัจจุบัน ซึ่งเอกชนบริหารจัดการอยู่ ทางการท่าเรือแห่งประเทศไทย เสนอตัวเข้าบริหารจัดการ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบ อย่างไรก็ตาม ปริมาณความต้องการการใช้ท่าเรือสงขลามีปริมาณที่สูงขึ้น กรมการขนส่งทางน้ำฯ ขณะนี้ กำลังศึกษาว่าจะสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ เพราะว่าท่าเรือสงขลาไม่อาจจะขยายได้ ติดขัดทั้งในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และเส้นทางที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบันที่จะเชื่อมโยงไปทางด้านฝั่งทะเลด้านตะวันตก ทางด้านจังหวัดสตูล กำลังศึกษาและหาที่ใหม่ ในขณะเดียวกันทางด้านอ่าวไทยนั้น มีการขนส่งชายฝั่ง ในอดีตนั้นมีเรือทะเลชายฝั่งมาก จาก 40-50 ลำ ในอดีต ปัจจุบันเหลือประมาณ 10 กว่าลำ แต่อย่างไรก็ตาม จากภาวะเรื่องของน้ำมันในปัจจุบัน และเรื่องของปัญหาการจราจร การขนส่งทะเลชายฝั่งก็กลับเข้ามาใหม่ ขณะนี้ก็มีบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ก็ได้มีการใช้เรือ Roll on Roll off ขนส่งสินค้าจากแหลมฉบังไปสู่สงขลา ขณะนี้กรมการขนส่งทางน้ำฯ ได้กำลังสร้างท่าเรือที่อำเภอดอนสัก เป็นท่าเรือที่รองรับสำหรับเรือเฟอร์รี่ที่จะบริการอยู่แถบนั้น รวมทั้งจะสามารถรับเรือทั่วไป แต่ว่าขนาดไม่ใหญ่มาก ประมาณ 500 ตันกรอส อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ทางด้านฝั่งนี้ ยังมีศักยภาพในการขนส่งสินค้าที่จะขึ้นมาโดยไม่ต้องใช้ถนนผ่านเข้าไปที่ในกรุงเทพ กำลังศึกษาที่จังหวัดชุมพร เพราะเป็นจุดที่เหมาะสมถ้าหากสร้างท่าเรือตรงนี้ได้ก็จะมีการขนส่งชายฝั่ง โดยเฉพาะเรือ Roll on Roll off ที่บริษัทไทยเดินเรือทะเลกำลังดำเนินการอยู่ ที่จะไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง หรือเข้ามาที่ท่าเรือคลองเตยได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่ ในเรื่องที่ขนส่งสินค้าก็เรียนให้ที่ประชุมทราบว่า ขณะนี้เรือ Roll on Roll off ของบริษัทไทยเดินเรือทะเลที่ไปที่สงขลา วันก่อนได้คุยกับบริษัทโตโยต้า ก็สนใจที่จะขนส่งรถยนต์ ซึ่งขณะนี้ ก็ขนส่งไปที่สงขลาประมาณเดือนละ 2,000 คัน สนใจที่จะขนส่งโดยเรือ Roll on Roll off อันนี้ก็ขอบอกข่าวดีให้บริษัทไทยเดินเรือทะเล ติดต่อกับบริษัทโตโยต้าด้วย วันนั้นประสานกันแล้ว บริษัทโตโยต้าสนใจที่จะใช้บริการทางด้านเรือ Roll on Roll off ในการขนส่ง ขณะนี้มีสินค้าเดือนละประมาณ 2,000 คัน ถ้าขนส่ง บริการดี ๆ อาจมากกว่านั้น แล้วอย่าลืมแบ่งโบนัสให้กับที่ประชุมนี้ด้วยนะ ก็เลยทำการตลาดไปให้ด้วย อันนี้แหละที่เป็นส่วนของการจัดการในส่วนตอนล่าง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2008 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

กรอบแผนการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม (ต่อ)

ส่วนที่ตอนบนนั้น ขอเรียนว่า ใน Inland เราเองที่ผ่านมานั้น ใช้น้อยลง ใน Inland นั้นเราใช้น้อยมาก แต่ว่าขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ จะสังเกตว่าเรือลำเลียงในช่วงก่อนภาวะที่จะถึงวิกฤตเศรษฐกิจนั้น เรือลำเลียงก็มีขนาดจำนวนพอสมควร แต่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจนั้น เรือลำเลียงแทบจะหายไปจากแม่น้ำเจ้าพระยา จอดเป็นจำนวนมาก แต่หลังปี 2544 นี้ เรือลำเลียงต่อมากขึ้น ขยายใหญ่มากขึ้น แล้วก็มีขนส่งมากขึ้นเป็นลำดับ จนขนาดที่ว่าเดือนหนึ่งประมาณตัวเลขที่เก็บไว้ประมาณ 100,000 ตัน ที่ใช้ในแม่น้ำเจ้าพระยาในการขนไปจนถึงที่เกาะสีชัง โดยการขนถ่ายทางทะเล หรือว่าขนส่งที่ในแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณท่าเรือกรุงเทพ อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในการขนส่งมาจากทางภาคกลาง โดยเฉพาะจากที่อำเภอนครหลวง แล้วก็ทางด้านจังหวัดอ่างทอง แต่จังหวัดอ่างทอง ส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งในเรื่องของทราย เรื่องหินพวกนั้น ที่จะมาก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ทุกวันนี้จะสังเกตว่าจะไม่เห็นรถทรายที่วิ่งอยู่บนถนนขณะที่ขนทรายไปทำสนามบินสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมาก เพราะว่าขนส่งโดยทางเรือ เรือลำเลียงลำหนึ่งประมาณ 1,300-1,500 คิว พวงหนึ่ง 3 ลำ ก็ 4,000 กว่าคิว มาในจุดนี้ก็มีจุดที่ทางเรือลำเลียงที่ใช้มากที่สุด และสะดวกที่สุด ก็คือที่อำเภอนครหลวง ในการขนส่งทางเรือขณะนี้ ก็มีท่าเรือเอกชนที่ขนส่งพืชไร่ และถ่านหินเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณแม่น้ำป่าสัก ในขณะเดียวกันที่ทางจังหวัดอ่างทอง ที่อำเภอป่าโมก นั่นก็เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ส่วนหนึ่งที่มีการขนส่งในเรื่องของสินค้า อีกส่วนหนึ่ง จากการศึกษานั้นในสองเส้นทางที่เรียนว่า ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่อำเภอป่าโมก กับที่อำเภอนครหลวง แม่น้ำป่าสักนั้นเดินเรือได้ทั้งปี อันนี้สามารถเดินเรือได้ทั้งปี ปริมาณน้ำ สามารถเดินเรือได้ขนาดเรือลำเลียงที่ใช้อยู่ขณะนี้ กินน้ำลึกประมาณ 4-6 เมตร ที่เป็นเรือลำเลียงขนาดใหญ่ เราสามารถที่จะใช้ได้ตลอดปี เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ขณะนี้ทางกรมขนส่งทางน้ำฯ ได้ศึกษาในการที่จะพัฒนาท่าเรือนครหลวง จะทำเป็นท่าเรือภายในสำหรับ Inland จุดนี้เป็นจุดที่ดี เนื่องจากว่าจะใกล้ถนน ไม่ว่าจะเป็นสายเอเซีย หรือว่าถนนที่ไปทางจังหวัดสระบุรี ไปทางด้านถนนมิตรภาพ ทั้งสองข้างเพราะว่าจะอยู่ตรงกลาง ขณะเดียวกัน ก็จะมีสถานีรถไฟภาชีอยู่ จากสถานีรถไฟภาชี ถ้าจะไปที่อำเภอนครหลวง ประมาณ 15 กิโลเมตร ณ จุดนี้ทางการรถไฟฯ เองก็กำลังศึกษาดูว่า ถ้าจะต่อเชื่อมระบบรางจากที่อำเภอภาชี มาที่อำเภอนครหลวง นั้น เพื่อที่จะให้รางเชื่อมกับน้ำมีความเหมาะสมประการใด แต่แน่นอนว่า ในระบบการขนส่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว และเป็นจำนวนมาก ทางถนนเอง ก็จะต้องพิจารณาพัฒนาตรงนี้ควบคู่กันไป จะเห็นว่าที่เรียนตรงนี้ก็คือว่า ระบบราง ระบบถนน ระบบน้ำ ต้องมาพบกันตรงจุดที่ใน Inland ที่จะพบกันได้ที่สะดวกที่สุดที่ใกล้กรุงเทพคือที่ อำเภอนครหลวง เพราะว่าอยู่ด้านเหนือขึ้นไป ก็มีทางจังหวัดอยุธยาได้ศึกษาว่าจะใช้ที่บางปะอิน แต่บางปะอินจะทำเป็นศูนย์ส่งสินค้านี่ ผมเห็นว่านครหลวงนี่น่าจะดีกว่า เนื่องจากว่าการจราจรตั้งแต่จังหวัดอยุธยา จนถึงบางปะอินนั้น การจราจรก็หนาแน่นทวีขึ้นตลอด เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าระบบสินค้าอยู่เหนือจังหวัดอยุธยา ก็สามารถจะกระจายเข้าไปสู่ระบบวงแหวนทั้งด้านตะวันออก-ตะวันตกได้ และก็เชื่อมโยงทั้งทางด้านเหนือ และด้านตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งไปด้านลำนารายณ์ หรือเพชรบูรณ์ ก็สามารถไปได้สะดวกทุกทิศทาง เพราะว่าอยู่ตรงกลาง ท่านจะเห็นว่า ถ้าดูจากแผนที่จะเห็นภาพว่า ตรงจุดนี้เป็นจุดที่สามารถจะเชื่อมต่อในระบบการขนส่งทางระบบราง ระบบถนน มาสู่ระบบน้ำได้ในทางหนึ่ง ตอนนี้จะถามว่าเมื่อขนส่งมาแล้ว ในภาคกลางจะต่อได้อย่างไร ขอเรียนว่าการรถไฟฯ มีสถานีแม่น้ำ มีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ ตอนนี้กำลังประสานกับทางการรถไฟฯ ให้พิจารณาศึกษาว่าตรงนี้ ถ้าหากว่าจะทำเป็นคลังสินค้าในเมือง นอกจากจะได้ประโยชน์ในเรื่องของคลังสินค้ารับทางน้ำภายใน ใน Inland แล้ว ยังสามารถจะพัฒนาไปสู่ทะเลชายฝั่ง เพราะว่าอยู่ติดกับท่าเรือกรุงเทพ เพราะฉะนั้น บริเวณนั้นก็มีน้ำลึกพอที่เรือทะเลชายฝั่ง หรือว่าเรือเดินทะเลที่เข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ ก็สามารถเข้ามาใช้ได้ อันนี้ก็จะเป็นการที่จะพัฒนาเชื่อมโยงในระบบตรงนี้

เมื่อสักครู่พูดถึงทางด้านใต้ ทางภาคกลาง มีจุดหนึ่งที่ท่านทราบก็คือ ในเรื่องของที่ท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนั้นมีท่าเรือที่สร้างเสร็จแล้ว รับเรือได้จำนวนหนึ่ง ปริมาณที่เข้าใช้อยู่ขณะนี้ก็เดือนละประมาณเกือบ 200 ลำ แต่อย่างไรก็ตาม อันนี้เนื่องจากมีขีดจำกัดในเรื่องพื้นที่การใช้ท่า หลังท่าไม่มีโกดังเก็บสินค้า ไม่มีที่รองรับเพียงพอ กำลังศึกษาที่จะทำเป็นท่าเรือเชียงแสน 2 ขณะนี้กำหนดพื้นที่เรียบร้อย พื้นที่ประมาณ 300 กว่าไร่ กำลังศึกษาออกแบบที่จะก่อสร้าง โดยคาดว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าจะเริ่มก่อสร้างได้ เพื่อรองรับหมายถึงปริมาณสินค้าที่มาจากจีน อันนี้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งในเรื่องของนิคมอุตสาหกรรมที่จะมีขึ้นที่ จังหวัดเชียงรายด้วย อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่เป็นแผนเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะมอบให้ดำเนินการในการสร้างท่าเรือ สำหรับเชื่อม 4 ประเทศ ทางตอนเหนือคือในแม่น้ำโขง ระหว่างจีน ลาว พม่า ไทย

อีกเส้นหนึ่งก็คือ ทางด้านจังหวัดนครพนม ก็มีการสร้างท่าเรือที่จะเชื่อมกับ สปป.ลาว ขณะนี้รัฐบาลไทยเองก็สร้างท่าเรือให้ฝั่งลาว รวมทั้งกรมทางหลวงก็ไปทำถนนที่ลงท่าเรือให้ด้วย นอกจากนี้ ก็ยังมีเส้นทางสะพานต่าง ๆ ไม่ว่าที่ได้สร้างมาแล้วหรือที่มีแผนจะสร้างที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศ อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง อันนี้ก็จะขอเว้นไปว่า ในการเชื่อมโยงกับรอบประเทศนั้น ก็ยังมีอีกมากทุกท่านคงทราบแล้ว อันนี้ก็เห็นว่าทุกเส้นนั้น ความเชื่อมโยงก็คือความสำคัญในการที่จะต้องสร้างโครงข่ายที่โยงให้ลงมาสู่ภาคกลาง และกระจายไปสู่ทุกภาคไม่ว่าในของประเทศหรือออกไปต่างประเทศ อันนี้ก็เป็นโครงข่ายที่มองเห็นให้คร่าว ๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2008 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

กรอบแผนการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม (ต่อ)

ต่อไปจะเกี่ยวข้องกับทางรถไฟ อันนี้ขออนุญาตท่านผู้ว่าการรถไฟฯ ขอพูดต่อ ทางรถไฟขณะนี้ มีเส้นทางแก่งคอย-คลอง 19 ที่จะเชื่อมโยงไปที่ฉะเชิงเทรา ไปถึงศรีราชา และไปท่าเรือแหลมฉบัง ไปนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เส้นนี้ความจริงแล้ว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะขนส่งสินค้า ถ้าหากว่าทำกลไกตลาดให้ดี โดยขึ้นไปทางเหนือหรืออีสานได้ โดยไม่ต้องผ่านทางบางซื่อ ขึ้นไปทางนี้ได้เลย การรถไฟฯ มีแผนการทำโครงการที่จะเป็นรถไฟรางคู่ ที่จะไป แก่งคอย-คลอง 19 ตรงแก่งคอยนี้จะใกล้ภาชี ใกล้กับสถานีภาชี ซึ่งสถานีรถไฟภาชีนี้เชื่อมทางเหนือ แล้วก็มีพื้นที่ที่จะทำ CY หรือ Container Yard หรือว่าเป็นที่เก็บรวบรวมสินค้านี้ ขณะนี้การรถไฟเองก็สร้างไว้หลายแห่ง อย่างเช่นที่ ขอนแก่น ลำพูน แล้วก็ยังมีพื้นที่อีกหลายแห่งในประเทศไทยที่มีพื้นที่รองรับ โดยเฉพาะที่อำเภอภาชี ถ้าหากว่าโครงข่ายทางน้ำที่จะเชื่อมโยงไปที่อำเภอนครหลวง ทางภาชี ก็จะเป็นจุดรวมสินค้าทางรถไฟ ทางระบบราง ลงมาได้ อันนี้ที่จะเป็นการช่วยเสริมในระบบรางที่จะขนส่งมาทุกทิศทุกทางทางด้านเหนือ อีสาน ที่จะลงมาสู่ภาคกลาง หรือว่าออกไปสู่ตะวันออกโดยสร้างระบบตรงนี้ แล้วก็ ICD 2 ที่กำลังคิดอยู่นี้ ถ้าหากว่าพัฒนาโครงข่ายตรงนี้แล้วก็ทำการตลาดให้ดี ICD ไม่จำเป็นต้องไปทำ ICD ที่ตรงลาดกระบัง อาจจะเป็นเส้นทางตรงจุดใดจุดหนึ่งในระหว่างที่ แก่งคอย- คลอง 19 เพื่อที่จะเป็นศูนย์รวมหรือกระจายสินค้าที่จะไปภาคเหนือ หรือตะวันออกเฉียงเหนือ อันนี้ก็เป็นแนวคิดอันหนึ่งที่การรถไฟฯ กำลังศึกษาอยู่ ขณะเดียวกันกรมทางหลวงมีโครงการ โครงข่ายที่จะขยายปรับปรุงเส้นทางเชื่อมลงมาทางด้านภาคอีสานสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจะเห็นว่านี่คือ ยุทธศาสตร์หลักอันหนึ่ง ในการที่จะเชื่อมโยงในเรื่องระบบทั้งทางน้ำ ทางบก ถนน ระบบราง ให้เชื่อมโยงกันทั่วทั้งประเทศ

ที่กล่าวมาทั้งหมดก็คือตัวระบบ Logistics ซึ่งในโครงข่ายของการขนส่งภาคขนส่งนั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงฯ ที่ต้องดำเนินการ แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะให้ที่ประชุมได้ทราบอีกเรื่องหนึ่งก็คือว่า ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในปัจจุบัน Basin 1 มีการขนสินค้าทั้งหมดประมาณเกือบ 4 ล้านตู้ Basin 2 ขณะนี้ได้มีการเซ็นสัญญาไปแล้ว C3 นั้นมีผู้ประกอบการแล้ว C1 C2 D1 D2 D3 ก็มีผู้ประกอบการแล้ว A3 ก็มีผู้ประกอบการแล้ว C0 กำลังดำเนินการหาผู้ประกอบการ จะเห็นว่าขณะนี้ใน Basin 2 นั้น มีผู้ประกอบการซึ่งภายใน 2 ปีข้างหน้า ตัวเลขก็จะเกินกว่า 4 ล้านไปใกล้ไปถึง 5 ล้าน แล้วถ้าเต็ม Basin 2 ทั้งหมดก็กว่า ๆ ประมาณ 10 ล้านตู้ อีก 5 ปีข้างหน้า มีแผนต่อไปก็คือ จะทำ Basin 3 Basin 3 ก็ประมาณ 7 ล้านตู้ ท่านจะเห็นว่าปริมาณสินค้าที่จะมีขึ้นตรงท่าเรือแหลมฉบังในอนาคต 5 ปี 10 ปี 20 ปีข้างหน้านั้นจะทวีสูงขึ้นเป็นอันมาก ถ้าดูจากกลไกแต่เพียงตัวท่าเรือมาเป็นหลักนั้น จะเห็นว่าตัว Traffic ที่มีถนนที่รองรับในการขนส่งอยู่ในปัจจุบันนี้ ณ วันนี้การขยายก็รองรับได้ระดับหนึ่ง แต่ว่าถ้ามองใน 5 ปี 10 ปี ข้างหน้า จะเห็นว่าเมื่อเต็ม Basin 2 ท่านมองว่า 10 ล้านตู้ที่วิ่งไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง ยังไม่รวมมาบตาพุด หรือว่าต่อไปที่ Basin 3 ต่อไปในอนาคตอีก 10 ปี หลัง 10 ปีข้างหน้า หรือว่าอาจก่อน 10 ปีก็ได้ อันนี้คงจะต้องดูแนวโน้มของเศรษฐกิจในช่วงนั้นอีกที แต่อย่างน้อยมองเห็นว่าใน 10 ปีข้างหน้านั้น ภายในไม่เกินหลัง 5 ปีนี่ ใน Basin 2 ก็จะมีปริมาณสินค้าเกินกว่า 5 ล้านตู้ เพราะฉะนั้นในสิ่งเหล่านี้ก็โครงข่ายที่เกี่ยวเนื่องต่อเนื่อง อาจจะต้องนำข้อมูลนี้ไปประกอบการพิจารณาในการวางแผนต่อไป

อันนี้ก็เป็นโครงข่ายเชื่อมโยง ก็เรียนว่า เป็นการสรุปในส่วนหนึ่งว่า ในภาครัฐในส่วนของกระทรวงคมนาคมนั้น มีทั้งส่วนราชการที่ดูแลในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ดูแลในเรื่องของการกำกับดูแลในเรื่องของการขนส่ง มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องภาคของการขนส่งทางบก น้ำ อากาศ ขณะเดียวกันก็มีภาคการบริการ ทั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทย องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด และในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบบทั้งหมดหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมทุกหน่วย แม้แต่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ก็เป็นเรื่องอีกส่วนหนึ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของภาคของการขนส่งที่มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นภาคส่วนราชการ หรือภาครัฐวิสาหกิจ เราจะเชื่อมโยงประสานกันทั้งระบบ จะเห็นว่า ถ้าหากว่ามาบูรณาการรวมกัน จะมีความสำคัญอย่างยิ่งทางภาคการขนส่ง เพราะฉะนั้นคำว่า Logistics ที่จะลดต้นทุนการขนส่งลงได้ ที่สำคัญคือว่า การขนส่งต่อเชื่อมต่อเนื่องให้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งก็จะช่วยในการลดต้นทุนการขนส่ง ประหยัดพลังงาน เห็นได้ชัดเจนตรงนี้ ในเรื่องของการจัดการบูรณาการในการส่งเสริมสนับสนุนกรมการขนส่งทางบก ขณะนี้ ก็กำลังดำเนินการในเรื่องของการที่จะลดความสูญเสียลดเที่ยวเปล่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องของการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะลดต้นทุนการขนส่งและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ ก็เป็นภาพรวม ๆ ที่จะเรียนให้ท่านหัวหน้าหน่วย ท่านผู้บริหารทุกท่านได้ทราบว่า นี่คือกรอบแผนงานโครงการที่กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการทำรายละเอียดข้างหน้า ซึ่งสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้งบประมาณมา 45 ล้านบาท ก็กำลังจะนำภาพรวมมาศึกษาแล้วทำเป็นเฟส ในกรอบหนึ่งที่มีแผนอยู่แล้ว กรอบที่กำลังจะมีแผน และก็คงจะมีแผนข้างหน้าต่อไป ซึ่งรายละเอียดนั้น หลังจากที่ได้มีการดำเนินการไปส่วนหนึ่ง สำนักนโยบายและแผนฯ ก็จะเรียนให้ทราบต่อไป ก็ขอสรุปจบเพียงแค่นี้เพื่อปูแนวทางว่าทิศทางข้างหน้าของกระทรวงคมนาคมนั้น เราจะไปทางไหน ไปอย่างไร ร่วมมือกันทำงานในการจับมือกันไม่ว่าจะภาคราชการ หรือภาครัฐวิสาหกิจ ขอบคุณมากครับ

ที่มา : http://www.mot.go.th/publish_news/MOTPlan-Speech.doc

//
-----------------------------------------------
//

สี่ปีกำลังจะผ่านไป จากปี 47 ถึงปี 51 ในปีนี้
ปีที่ราคาน้ำมันดีเซล ราคาเกิน 40 บาทต่อลิตร

แต่ผมว่ายังไม่มีอะไรคืบหน้าไปเลยครับ
นอกจากรถไฟทางคู่สายตะวันออก ที่กำลังจะเริ่มก่อสร้างแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2008 9:07 am    Post subject: Reply with quote

ทลฉ.เตรียมพร้อมรับลอจิสติกส์ผ่านระบบราง

โดย ผู้จัดการรายวัน 25 มิถุนายน 2551 18:07 น.

Click on the image for full size

ผอ.ทลฉ.ระหว่างบรรยายผังการใช้ที่ดินของท่าเรือแหลมฉบัง รองรับจำนวนตู้สินค้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต


ศูนย์ข่าวศรีราชา -ทลฉ.เร่งเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจ เพื่อประกอบการยกตู้สินค้าขึ้น-ลงรถไฟ( Single Rail Transfer Operator:SRTO) หลังบอร์ดการท่าเรือฯ ผ่านแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านหลัง เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการขนส่งตู้สินค้าระบบรางและกิจกรรมตู้สินค้าเปล่า รองรับการไหลเวียนของจำนวนตู้สินค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นายเฉลิมเกียรติ์ สลักคำ ผู้อำนวยการ ท่าเรือแหลมฉบัง(ทลฉ.) จังหวัดชลบุรี กล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งระบบรางของท่าเรือแหลมฉบัง ว่า หลังจากคณะกรรมการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือ กทท.มีมติเห็นชอบแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่หลังท่าของ ทลฉ.จำนวน 600 ไร่โดยแบ่งออกเป็น 7 ส่วน และในส่วนที่ 4 เห็นชอบให้พัฒนาเป็นย่านขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ หรือ( Rail Related Container Yard) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่งตู้สินค้าทางระบบรางและกิจกรรมตู้สินค้าเปล่า ซึ่งถือเป็นหัวใจในการบริหารการไหลเวียนตู้สินค้าภายในท่าเรือแหลมฉบังในอนาคต

ล่าสุด กทท.ยังมีมติให้ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นผู้ประกอบการยกตู้สินค้าขึ้น-ลงรถไฟ( Single Rail Transfer Operator:SRTO) และให้จัดสร้างการบริหารจัดการในรูปแบบหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ซึ่งการดำเนินงานในระยะสั้นจะเริ่มตั้งแต่การขออนุมัติงบประมาณทำการ และงบลงทุนเพิ่มเติม รวมทั้งการดำเนินการเช่าเครื่องมือยกขนตู้สินค้า การจัดหาอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเติม ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เพื่อให้เริ่มเข้าไปถ่ายโอนกิจการจาก TLC มาประกอบการได้เองตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป จนกว่าการพัฒนาโครงการเต็มรูปแบบจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ประมาณเดือนมกราคม 2554

Click on the image for full size

แผนผังพื้นที่ 600 ไร่ หลังท่า ทลฉ.ซึ่งถูกพัฒนาเป็นศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟ


แผนประกอบการยกขนตู้สินค้าขึ้น-ลงรถไฟในระยะยาว จะมี 2 เฟส เฟสแรกเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 ต่อเนื่องไปถึงปีงบประมาณ 2553 และให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2554 (ประมาณเดือนธันวาคม 2553) เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการระบบรถไฟรางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2553 และจะเปิดใช้งานในต้นปี 2554

สำหรับเฟส 2 เป็นช่วงที่คาดว่าปริมาณตู้สินค้าที่เข้ามาใช้บริการจะเพิ่มสูงขึ้น จนถึงระดับเกินกว่า 1 ล้านทีอียูต่อปี จึงจำเป็นต้องจัดซื้อเครื่องมือยกขน และขยายลานกองเก็บตู้สินค้า พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้เพียงพอ ต่อปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเริ่มต้นในอีก 7 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2557-2559

พัฒนาระบบ Hub and Spoke

นอกจากนั้นท่าเรือแหลมฉบัง ยังมีแผนจัดตั้ง Hub เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าประจำภาค โดยประสานระบบการขนส่งให้เกิด Fully Utillzation และลดต้นทุนการขนส่ง ซึ่งยุทธศาสตร์ Hub and Spoke จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วย งานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการถไฟแห่งประเทศไทยและหน่วยงานระดับจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของจุดรวบรวมสินค้าในจังหวัดต่างๆ ในการร่วมมือพัฒนาแผนงานและโครงงานแบบบูรณาการ เพื่อรวบรวมสินค้าในภาคต่างๆ เพื่อลำเลียงมาโดยทางรถไฟสู่ทางเรือต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2008 5:51 pm    Post subject: ฤาจะใช่ปากบารา Reply with quote

จาก นสพ.โฟกัสภาคใต้ เล่มที่ 555
ประจำวันที่ 23 -29 สิงหาคม 2551

ทีมโลจิสติกส์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้มีโอกาสร่วมงานสัมมนา "เชื่อมโยงงานวิจัยให้รับใช้การพัฒนาจังหวัด : ความท้าทายที่สตูล" ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 จึงได้มีโอกาสในวันรุ่งขึ้นไปสำรวจชายแดนและท่าเรือของสตูลรวมถึงท่าเรือที่กำลังเป็น "Talk of the Town" ขณะนี้ คือ "ปากบารา"

ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับจังหวัดสตูล ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน มีพื้นที่ติดต่อกับมาเลเซีย ที่รัฐเปอร์ลิส ทางบกและติดกับเกาะลังกาวี รัฐเคดาห์ และเปอร์ลิส ทางทะเล

GPP หลักของจังหวัดอันดับต้นๆ มาจากสินค้าที่ได้จากการผลิตอาหารแปรรูป 7,629 ล้านบาท การทำสวนยางพารา 5,388 ล้านบาท และจากการประมง 3,179 ล้านบาท (การศึกษาโครงสร้างปัจจัยการผลิตและผลผลิตสำหรับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนกลางเพื่อประเมินผลด้านเศรษฐกิจ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,2550)

ตามสถิติด่านศุลกากร สินค้านำเข้าสูงสุดปี 2549 - 2550 คือ บอยเลอร์ ที่ผลิตไอน้ำใช้สำหรับโรงงานและปลาสคิปแจ็ค แช่แข็ง สินค้าส่งออกสูงสุด ได้แก่ อิฐดินเผา ข้าวจ้าวขาว และปลาแห้ง

สถิติการค้าระหว่างประเทศ เป็นการค้ากับ 2 ประเทศเท่านั้น คือ ประเทศมาเลเซีย สูงถึง 65.19 % และประเทศอินโดนีเซีย 34.81 % ในปี 2549 โดยมีการนำเข้ามากกว่าส่งออกถึง 2 เท่า

ทีนี้ลองมาพิจารณาถึงโครงการสร้างท่าเรือปากบารา โครงการนี้ถูกริเริ่มจากการประชุมร่วมระหว่าง กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับภาคเอกชน ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ลงมติว่า ควรมีท่าเรือชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อที่จะเป็นประตูรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และมี land bridge เชื่อมต่อกับฝั่งอ่าวไทย โดยพิจารณาพื้นที่ที่ท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล และในขณะเดียวกันกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ดำเนินการโครงการออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล (โครงการสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล.กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี,2550) โดยผลการศึกษาระบุว่า

1) พื้นที่ท่าเรือ จะมีขนาด 3,000 - 7,000 ไร่ โดยสร้างจากสะพานยื่นเข้าไปในทะเล 5 กิโลเมตร รองรับเรือขนาด 50,000-70,000 DWT

2) สินค้าที่จะมาใช้ท่าเรือปากบารา ได้แก่สินค้าภาคใต้ อาหารฮาลาล สินค้าภาคอื่นๆ การนำตู้เปล่ามาซ่อม/ล้าง สินค้าจากจีนตอนใต้ สินค้าจากพม่าและบังกลาเทศ

3) ถ้าใช้วิธีการขนส่งทางรถบรรทุก สินค้าจากกรุงเทพ ส่งออกทางปากบาราไปยุโรป จะมีค่าขนส่งแพงกว่า ท่าเรือแหลมฉบัง 1,663 บาท /ตัน แต่ประหยัดเวลาได้ถึง 93 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นสินค้าจากภาคใต้ที่ขนส่งผ่านท่าเรือปากบารา จะทำให้ได้เปรียบด้านราคา 1,818 บาท /ตัน

4) ถ้าใช้วิธีการขนส่งทางรถไฟ สินค้าจากกรุงเทพ ส่งออกทางปากบาราไปยุโรป จะมีค่าขนส่งถูกกว่าท่าเรือแหลมฉบัง 20 บาท/ตัน และประหยัดเวลาได้ถึง 89
ชั่วโมง


5) ถ้าใช้เส้นทางการส่งออกจากท่าเรือแหลมฉบัง ผ่านท่าเรือสงขลา 2 ผ่านสะพานเศรษฐกิจมาท่าเรือปากบารา จะมีค่าขนส่งแพงกว่าการส่งออกจาก ท่าเรือแหลมฉบังเอง 95 บาท/ตัน และล่าช้าเพิ่มอีก 6 ชั่วโมง

โดยสรุปจากการศึกษานี้ ระบุว่า ในปีที่เปิดดำเนินการ 2556 สินค้าที่จะมาใช้ท่าเรือนี้จะเป็นสินค้าฮาลาล แต่สินค้าภาคอื่น ๆ ยังไม่ได้มาใช้ เนื่องจากยังไม่มีทาง รถไฟเชื่อมกับท่าเรือ สินค้าภาคใต้ที่ส่งออกผ่านมาเลเซีย จะเปลี่ยนมาใช้ท่าเรือปากบารา

ส่วนการใช้ landbridge จะเกิดได้เมื่อรัฐดำเนินนโยบายสนับสนุน โดยลดค่าระวางเรือลำเลียงสินค้าที่ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสงขลา 2 และให้บริการแบบ one stop service นอกจากนี้ ต้องเน้นระบบการขนส่งเชื่อมต่อกับพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ โดยสิ่งที่จำเป็นต้องมี คือ

1) ปรับปรุงและสร้างระบบรถไฟจากกรุงเทพฯ - หาดใหญ่ 950 กิโลเมตร
และหาดใหญ่ - ปากบารา 120 กิโลเมตร และพัฒนา ICD เชื่อมโยงกับการขนส่ง

2) การพัฒนาเส้นทางเรือขนส่งท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือสงขลา2 650 กิโลเมตร และจากท่าเรือสงขลา2 - ท่าเรือปากบารา 150 กิโลเมตรโดยรถไฟ

จะเห็นได้ว่าจากการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นถึง โอกาส และปัจจัยที่จะทำให้ปากบาราเกิดเป็นท่าเรือได้อย่างประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอทำความเข้าใจกับสถานการณ์ในขณะนี้ว่า ทางกระทรวงคมนาคมได้มอบให้ Dubai World เข้ามาศึกษาในการสร้างสะพานเศรษฐกิจและตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือของทั้ง 2 ฝั่ง โดยที่ยังมิได้ระบุว่าเป็นปากบาราและสงขลา2 แต่หากผลการศึกษาใน 4 - 5 เดือนข้างหน้าเป็นไปตามนั้นจริง ข้อมูลจากการศึกษาโครงการนี้คงจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นนำร่องพัฒนาทิศทางสะพานเศรษฐกิจนี้ได้

ประเด็นที่ผู้เขียนเห็นว่าสำคัญกว่านั้น คงจะมิใช่เพียงตำแหน่งที่ตั้งว่าจะเป็นปากบาราหรือไม่ แต่ประเด็นที่ควรให้ความสนใจกันทั้งประเทศ น่าจะเป็น ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งคาบสมุทรมากกว่า รวมถึงการเชื่อมโยงโซ่คุณค่าที่จะเกิดขึ้นบริเวณรอบๆ เศรษฐกิจโซนใหม่ที่จะเกิดขึ้นนี้

ดังนั้น การเกิดหรือไม่เกิดของท่าเรือปากบารานั้น มิได้เป็นประโยชน์หรือผลกระทบต่อจังหวัดสตูลอย่างเดียว แต่ควรจะเป็นประเด็นรวมที่ควรมองให้เห็นร่วมกันทั้งภูมิภาค ระบบเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนแปลงไปจะเป็นอย่างไร

นอกจากนี้ แผนพัฒนาระบบเศรษฐกิจของเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ที่บอกว่าจะพัฒนา 4 รัฐ ทางเหนือให้เป็นเขตโลจิสติกส์และศูนย์กลางการขนส่งที่บัตเตอร์เวิร์ทนั้น จะกระทบประเทศไทยขณะนี้ และในอนาคตอย่างไร

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้มากกว่า จึงพัฒนาโจทย์วิจัยหนึ่งขึ้นเพื่อการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของ Supply Chain ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ เพื่อรองรับสะพานเศรษฐกิจและแผนพัฒนาทางเหนือของมาเลเซีย

คำตอบจากการวิจัยน่าจะบอกได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นในพื้นที่ อาชีพ และการสร้างงาน หรืออุตสาหกรรมใด จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ไม่ว่าท่าเรือ และสะพานเศรษฐกิจนี้จะเกิดที่ใด

โดย Focus Team เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2551 19:57:04 น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2008 8:45 pm    Post subject: Reply with quote

อ่า ปากบารา จะแจ้งเกิดนอกจากทางรถไฟสายใหญ่ จาก ควนเนียงไปปากบารา แล้ว Rehab ทาง จากพัทลุง ไป หาดใหญ่ ก็ต้องทำด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
tong_sanam
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 15/05/2007
Posts: 1550
Location: พิกัดที่ 385.593

PostPosted: 26/08/2008 9:26 am    Post subject: Reply with quote

หวั่นใจถ้าใช้รถจักร หนักๆ เข้ามาวิ่ง

ทางช่วงลงจากสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง-ดอนสีนนท์

คงจะต้องเสริมความแข็งแรงกันยกใหญ่
_________________
Click on the image for full size

"ที่นี่สถานีชุมทางสนามชัยเขต
ท่านที่จะเดินทางไป จันทบุรี ตราด
โปรดข้ามไปรอการโดยสารในชานชาลาที่ 2"
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2008 10:20 am    Post subject: วินโคสต์ของเจ๊แดงเป็นเหตุ Reply with quote

“สมศักดิ์” แฉ บ.เจ๊แดงค้างค่าขนส่งรถไฟร่วม 20 ล.

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 21 กันยายน 2551 01:10 น.




“สมศักดิ์” รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ ร.5 เนื่องในวันรสก. ผ่านเวทีพันธมิตรฯ ชี้ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล สร้างไว้เพื่อประชาชน แต่น่าเสียดายที่ถูกนักการเมืองชั่วนำไปแปรรูป จนประชาชนได้รับความเดือดร้อน แจงเหตุที่ไม่สามารถเลิกชุมนุมได้เพราะหากปล่อยวัน ครม. “สมชาย” ที่อยู่ภายใต้เงา “ทักษิณ” จะทำบ้านเมืองพัง แฉ บ.วินโคสท์ ของเจ๊แดงค้างค่าขนส่งรถไฟอยู่ร่วม 20 ล.บาท


วันที่ (20 ก.ย.) เมื่อเวลา 22.45 น. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นเวทีปราศรัยที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล โดยกล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวันรัฐวิสาหกิจไทย ซึ่งถือเป็นวันสำคัญของชาวรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศ เพราะเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นองค์พระบิดา ดังนั้น ในวันนี้ของทุกปี พนักงานรัฐวิหสาหกิจทั่วประเทศก็จะรวมตัวกันเพื่อสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงก่อตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมาในประเทศไทย

ทั้งที่เราชาวไทยความภาคภูมิใจในรัฐวิสาหกิจที่พระองค์ ทรงริเริ่มไว้ให้ เพราะพระองค์มีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นว่ารัฐวิสาหกิจที่พระองค์สร้างขึ้นจะส่งผลให้ประชาชนในประเทศอยู่ได้อย่างสุขสบาย เพราะระบบการบริหารรัฐวิสาหกิจที่พระองค์วางไว้ เป็นระบบที่ดี คล่องตัวในการบริหาร มากกว่าระบบราชการทั่วไป ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์มาก แต่ก็น่าเสียดายที่นักการเมืองไทยได้นำรัฐวิสาหกิจไปหาผลประโยชน์ส่วนตัว โดยการนำรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ไปอยู่ในความควบคุมของแต่ละกระทรวง แล้วทุจริตโกงกินกันอย่างมโหฬาร จนรัฐวิสาหกิจหลายแห่งประสบกับปัญหาขาดทุน สุดท้ายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงมีการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในที่สุด

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือการขายรัฐวิสาหกิจไปเป็นของเอกชนนั้น จนถึงวันนี้เราก็ได้เห็นแล้วว่าไม่ได้มีประโยชน์ต่อประชาชนในชาติเลย เห็นได้จากการที่ประชาชนต้องแบกรับค่าน้ำมันราคาแพง จากการที่ ปตท.ขึ้นราคาอย่างตามใจชอบ เพราะองค์กรเหล่านี้เมื่อไปตกอยู่ในมือพ่อค้าแล้ว พ่อค้าเหล่านั้นก็ต้องแสวงหากำไรให้มาก เมื่อมีกำไรก็นำเข้ากระเป๋าตัวเอง แต่เมื่อขาดทุนรัฐบาลก็ต้องเข้าไปช่วยอุดหนุน นี่จึงเป็นเหตุผลที่บรรดาพันธมิตรฯ ออกมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้นำรัฐวิสาหกิจกลับมาเป็นสมบัติของคนทั้งชาติอีกครั้ง เพราะหากเรานำรัฐวิสาหกิจกลับมาเป็นของชาติได้ เมื่อนั้นประชาชนก็จะมีความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน

ดังนั้น การที่เราทุกคนในนามกลุ่มพันธมิตรฯ มารวมตัวกันอยู่ที่นี้จึงถือเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองอย่างแท้จริง เพราะเราคงทนไม่ไหวอีกแล้วที่จะปล่อยให้นักการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนประเทศเราประสบปัญหาอยู่อย่างทุกวันนี้ และการมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น ก็ถือเป็นสิทธิที่เราสามารถทำได้ เพราะในเมื่อทำเนียบรัฐบาลสร้างมาจากภาษีของประชาชน พื้นที่ทุกตารางนิ้ว รวมไปถึงอิฐทุกก้อน ประชาชนก็เป็นเจ้าของทั้งนั้น ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใด ที่เราจะเข้ามาเรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ของชาติภายในทำเนียบรัฐบาลไม่ได้

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า จนถึงวันนี้เรายิ่งไม่สามารถยุติการชุมนุมได้ เพราะนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ไม่ใช่แค่นอมินี พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นคนในครอบครัวเดียวกันเลย ดังนั้นเมื่อเคยมีประวัติมาแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ทุจริต คดโกงเอามากมายเท่าไร เราจึงไม่สามารถปล่อยให้นายสมชาย บริหารประเทศภายใต้การครอบงำ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ เพราะไม่รู้ว่าหากปล่อยเอาไว้บ้านเมืองเราจะเสียหายอีกมากแค่ไหน

นายสมศักดิ์ ยังเปิดเผยข้อมูลด้วยว่า วินโคสท์ อินดัสเทรียลพาร์ค จำกัด (มหาชน) ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณและภรรยาของนายสมชาย ได้ค้างชำระค่าขนส่งของการรถไฟอยู่กว่า 19,727,734 บาท ดังนั้นจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่า ตระกูลวงศ์สวัสดิ์ และตระกูลชินวัตร ไม่ว่าจะร่ำรวยแค่ไหน แต่ก็ยังมีนิสัยไม่ค่อยยอมจ่ายสิ่งที่ตัวเองต้องรับผิดชอบอยู่ ซึ่งเรื่องนี้หากไม่เป็นความจริง ตนก็ขอท้าให้นายสมชายออกมาตอบโต้ได้เลย

ส่วนกรณีที่นายสมชาย ติดต่อเจรจามายังกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นตนเห็นว่า นายสมชายไม่สมควรติดต่อมาเลย เพราะไม่ว่าอย่างไรนายสมชายก็ไม่สามารถแสดงให้พันธมิตรฯ และคนทั่วไปเห็นได้ว่า นายสมชายมาเป็นนายก เพราะต้องการทำเพื่อประเทศชาติจริงๆ ป่านนี้นายสมชาย ก็คงสั่งยึดพาสปอร์ตแดง และออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมามอบตัวดำเนินคดี แล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้ลอยนวลอยู่โดยไม่ทำอะไรเช่นนี้

“ถ้าคุณเป็นรัฐบาลจริง คุณเป็นรัฐบาล คุณต้องยึดประโยชน์ของประเทศสิ คุณอย่ายึดถือแต่ประโยชน์ของพี่เขยคุณ หรือครอบครัวเมียคุณ หรือประโยชน์ของพวกคุณ” และว่า สิ่งที่นายสมชายควรจะทำ ไม่ใช่การต่อโทรศัพท์มาหาพันธมิตรฯ ว่าจะให้ทำอย่างไรจึงจะเลิกชุมนุม แต่ควรโทรศัพท์ไปบอก พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กลับมามอบตัว สั่งให้สถานีเอ็นบีที ยกเลิกรายการความจริงวันนี้ ที่เป็นรายการที่เอาแต่สร้างความแตกแยกให้สังคม แล้วก็ควรเลิกความคิดที่จะนำ นายไชยา สะสมทรัพย์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รวมถึงนายเฉลิม อยู่บำรุง อดีตรัฐมนตรีที่ล้วนแล้วแต่เคยมีปัญหาเรื่องการบริหารประเทศ เข้ามาร่วมทีมกับรัฐบาล อย่างที่เริ่มมีกระแสข่าวออกมาด้วย

//---------------------------------------------------------

แม้จะไม่ชอบอีตาแพะแก่นี่ แต่กรณีวินโคสต์นี่ ค่อยสะใจหน่อยเพราะ ชอบแต่จะจับเสือมือเปล่าน่อ ที่ควรจะหารถจักรมาวิ่งเพื่อบรรเทปัญหารถจักรขาดมือ พี่ท่าก็เล่นเช่าคุณปู่ยีอีและ รถบทต. ไปใช้ แม้จะยอมจ่ายค่า Rehab ทางเพื่อชดเชยการไม่หารถจักรรถพ่วงมาวิ่งเอง ก็ยังไม่เป็นที่พอใจอยู่ดี
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©