RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311328
ทั่วไป:13290724
ทั้งหมด:13602052
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2015 9:20 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ค้าหน้าเซ็นทรัลร้องผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ถูกไล่ที่ค้าขาย-ทำลายข้าวของ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
23 กุมภาพันธ์ 2558 12:04 น.

นางทัศนีย์ แซ่อึ๊ง ตัวแทนผู้ค้าแผงลอยบริเวณทางเข้าหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว เข้าร้องเรียนต่อผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. กรณีถูกไล่ที่ทำมาค้าขายด้วยการทำลายข้าวของของผู้ค้ามา 2 รอบ โดยหวังว่าในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ผู้ประกอบการห้างเดอะวันปาร์ค ซึ่งอยู่ใกล้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว จะส่งตัวแทนเข้ามาทำลายเครื่องมือทำมาหากินของพ่อค้าแม่ค้าอีกกว่า 30 ราย จึงต้องการให้ ร.ฟ.ท.ดูแลผู้ค้าที่ประกอบอาชีพมายาวนานกว่า 20 ปี โดยที่ผ่านมาได้เสนอค่าเช่าพื้นที่ให้การ ร.ฟ.ท.ปีละ 5 แสนบาท แต่ไม่มีความคืบหน้า แต่กลับเปิดพื้นที่ดังกล่าวให้ผู้ค้ารายใหม่เข้ามาเช่าล็อกประกอบการค้าได้ ซึ่งได้เข้าร้องเรียนกับ ร.ฟ.ท.มาแล้ว 4-5 รอบ ครั้งนี้เจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท.ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สินได้เข้ามาเจรจา และพยายามหาข้อยุติ โดยจะนัดหารือ และเข้าดูพื้นที่ดังกล่าวอีกในเร็ววันนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44883
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/03/2015 10:01 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าการรถไฟฯ คนใหม่ตรวจพื้นที่ไทรโยค
เดลินิวส์ วันเสาร์ 28 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 20:57 น.

Click on the image for full size

'วุฒิชาติ กัลยาณมิตร' ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจเยี่ยมการทำงานของจนท.และชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่การรถไฟฯ อ.ไทรโยค กาญจนบุรี ย้ำขอให้ทำเรื่อง เอกสารเช่าให้ถูกต้อง

เมื่อเวลา17.30 น.วันที่ 28ก.พ. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยคนใหม่ พร้อมเจ้าหน้าที่การรถไฟกว่า100คน เดินทางโดยรถไฟขบวนพิเศษ วีไอพีสีม่วงขบวนที่ 979 จากสถานีบางกอกน้อย มายังสถานีน้ำตกเขตเทศบาลน้ำตกไทรโยคน้อย หมู่ที่ 3 ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โดยมี พ.อ.สนิทชนก สังขจันทร์ รอง ผบ.พล.ร.9 ค่ายสุรสีห์ ร.ต.สาธิต ชมภู นายทหารประจำ บก.ควบคุมร้อย.ชค.ร.29 (ไทรโยค) ให้การต้อนรับ จากนั้นทั้งหมดได้ร่วมกันเดินทางโดยรถไฟต่อไปยังพื้นที่ชุมชนน้ำตกไทรโยคน้อย และชุมชนบ้านเขาโทน เพื่อตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ พร้อมตรวจความพร้อมอุปกรณ์ รางรถไฟ ไม้หมอน เส้นทางตัดผ่านรางรถไฟที่มักเกิดอุบัติเหตุ

นายวุฒิชาติ เปิดเผยว่า การเดินทางสำรวจพื้นที่ครั้งนี้เพื่อดูว่า มีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไขบ้าง เรื่องที่ดินก็ต้องตรวจสอบว่า ชาวบ้านนักธุรกิจในเขตพื้นที่ของที่ดินของการรถไฟมีเอกสารถูกต้องหรือไม่ ผู้ใดที่ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่ากับการรถไฟก็ต้องทำให้ถูกต้อง แต่ขอให้ทุกคนสบายใจได้ว่าการรถไฟไม่มีนโยบายให้ผู้ใดออกจากพื้นที่ หรือ ยึดคืนแต่อย่างใด เพียงแต่จะต้องทำให้ถูกต้องเท่านั้น ส่วนเรื่องเส้นทางถนนที่ตัดผ่านรางรถไฟและเกิดอุบัติเหตุบ่อยนั้น ก็จะพยายามทำที่กั้นให้ครบในทุกจุด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างสูงสุด

ต่อมานายประทีป หวานชิต ผอ.รร.ไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา เข้าพบสอบถามความคืบหน้ากรณี ร.ร.ขอใช้พื้นที่การรถไฟฯด้านหน้า รร.เพื่อทำสนามกีฬา ซึ่งผู้ว่าการรถไฟฯได้รับปากว่าจะดูเรื่องให้เร็วที่สุด..
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2015 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟไล่บี้ผู้ว่าการหารายได้


โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:44 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,029 วันที่ 22 - 25 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558

บอร์ดรถไฟฯ จี้ ผู้ว่าฯคนใหม่ เร่งหารายได้ ภารกิจแรกเคลียร์ปัญหาสัญญาเช่าทรัพย์สินที่ยังเจรจาไม่ลงตัวอีกเพียบ เตรียมประสานจุฬาฯนำเทคโนโลยีใหม่โดรนบินสำรวจที่ดินทุกสัญญาทั่วประเทศ ด้าน "วุฒิชาติ" ยันสัปดาห์หน้าเห็นภาพชัดเจนแน่
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีมติเร่งรัดให้นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการร.ฟ.ท. เร่งดำเนินการหารายได้จากทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อเสริมรายได้ให้กับองค์กร โดยขณะนี้พบว่ามีสัญญาที่ยังไม่มีการต่อสัญญาอีกจำนวนมาก ซึ่งเรื่องนี้ผู้ว่าการร.ฟ.ท.รับไปดำเนินการหารือร่วมกับฝ่ายบริหารทรัพย์สินให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า
ด้านพล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง คณะกรรมการบอร์ดและในฐานะประธานคณะอนุกรรมการทรัพย์สินร.ฟ.ท. กล่าวว่า ทางอนุกรรมการได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพย์สินเร่งลงพื้นที่สำรวจความเป็นจริงในปัจจุบัน พร้อมกับให้เร่งบริหารจัดการทรัพย์สินให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้าง ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้นำข้อมูลบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์มีจำนวน 5,477 สัญญา แบ่งเป็นสิ้นสุดสัญญาจำนวน 3,461 ยังไม่ถึงกำหนด 1,944 สัญญา อยู่ระหว่างการต่อสัญญา 26 สัญญา และแจ้งเตือน 46 สัญญา โดยแบ่งเป็น 5 เขตพื้นที่ทั่วประเทศคือ พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง
"ปัญหาหลักคือสัญญามีจำนวนมาก แต่จำนวนเจ้าหน้าที่มีน้อย 1 รายต้องรับผิดชอบไม่น้อยกว่า 800-1,000 สัญญา ดังนั้นบอร์ดจึงได้อนุมัติให้มีการเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน และยังให้เดินหน้าคู่ขนานไปกับฝ่ายอาณาบาลหรือฝ่ายกฎหมายของร.ฟ.ท.ให้ทำงานสอดประสานกัน เร่งเคลียร์ทุกสัญญาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมกันนี้ยังให้ไปสำรวจรายการทรัพย์สินที่อยู่ในพื้นที่การดูแลของฝ่ายการช่างโยธาและฝ่ายการเดินรถควบคู่กันไปด้วย"
วุฒิชาติ กัลยาณมิตรวุฒิชาติ กัลยาณมิตร นอกจากนั้นยังให้ประสานกับทางฝ่ายทหารและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยา นำระบบ MIS ที่จะรวบรวมข้อมูลทุกรายการ นอกจากนั้นยังจะใช้โดรน (DRONE) ออกบินสำรวจที่ดินที่เป็นทรัพย์สินร.ฟ.ท.ทุกแปลงทั่วประเทศตามที่ระบุไว้ในสัญญาที่ได้มีการบรรจุรายละเอียดเอาไว้ในคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว
"จะให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปรับการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมสำรวจรายการทรัพย์สินนี้ให้ชำนาญ โดยจะให้ฝ่ายการพาณิชย์ได้เข้ามาร่วมทำงานกับฝ่ายบริหารทรัพย์สินเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ต่อกัน ซึ่งในอนาคตอาจเป็นไปได้ว่าส่วนที่เป็นการพัฒนาเชิงพาณิชย์จะสามารถทำงานควบคู่กันไปในการสร้างรายได้ให้ร.ฟ.ท.ชัดเจนยิ่งขึ้น"
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการร.ฟ.ท. กล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะมีการหารือร่วมกับฝ่ายบริหารทรัพย์สินเพื่อเคลียร์ปัญหาสัญญาต่างๆ โดยจะลงลึกไปในรายละเอียดว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ยังต่อสัญญาไม่ได้ ส่วนแปลงไหนที่สามารถพัฒนาหารายได้เชิงพาณิชย์ได้ก็จะเร่งผลักดันโดยเร็วต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2015 7:38 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟจัดระเบียบผู้ค้าย่านห้างเดอะวัน
เดลินิวส์
วันจันทร์ 2 มีนาคม 2558 เวลา 19:05 น.


คณะทำงานแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่การจัดระเบียบแผงค้าขายบริเวณทางเท้าข้างห้างสรรพสินค้าเดอะวัน ติดกับห้างเซนทรัลลาดพร้าว เพื่อเตรียมจัดระเบียบแผงค้าให้มีความเป็นสัดส่วนมากขึ้น


เมื่อวันที่ 2 มี.ค. พ.อ.ดร.วันชนะ กลั่นบุญพรหม อนุกรรมการพัฒนาทรัพย์สิน คณะทำงานแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท. ได้ลงพื้นที่การจัดระเบียบแผงค้าขายบริเวณทางเท้าข้างห้างสรรพสินค้าเดอะวัน ติดกับห้างเซนทรัลลาดพร้าว เพื่อเตรียมจัดระเบียบแผงค้าให้มีความเป็นสัดส่วนมากขึ้น โดยมีพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบกว่า 50 คน มารอเพื่อขอเจรจา ด้าน พ.อ.ดร.วันชนะ กล่าวชี้แจงว่า การจัดระเบียบในพื้นที่แห่งนี้ ถือว่าเป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการจัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งพื้นที่ตรงนี้มีปัญหามานาน ในเรื่องบุกรุกค้าขายบนถนน โดยกรรมสิทธ์ที่ดินนั้นเป็นของ ร.ฟ.ท. ทาง พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง ประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่ของการรถไฟฯ ได้ให้แนวทางการแก้ไขปัญหาว่า จะทำให้ถนนนั้นคืนสู่ประชาชน และดูแลผู้ค้าที่อยู่นอกกติกาให้กลับเข้ามาอยู่ในกฎระเบียบ

พ.อ.ดร.วันชนะ กล่าวอีกว่า กลุ่มผู้ค้านั้นจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเต็นท์เขียว ซึ่งแต่เดิมนั้นได้เช่ากับทาง กทม. ที่ผ่านมา กทม.ได้ทำเป็นจุดผ่อนปรนในการค้าขาย กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่บุกรุกไปค้าขายอยู่บนถนน ซึ่งเป็นปัญหามานาน กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ค้าขายบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัล ที่ค้าขายมาเป็นเวลานาน คณะทำงานมีหน้าที่ลงพื้นที่เจรจากับทั้ง 3 กลุ่ม โดยได้เจรจามากว่า 3-4 เดือนแล้ว ซึ่งทางผู้ค้าส่วนใหญ่ก็ยอมรับในข้อตกลงร่วมกัน คือ เข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่การรถไฟได้กำหนด โดยจะนำผู้ค้าทั้ง 3 กลุ่มมาอยู่รวมกันเพื่อความเป็นระเบียบ ส่วนถนนบริเวณด้านข้างห้างเดอะวันที่เดิมมีการค้าขายของอยู่นั้น ก็จะเปิดการสัญจรตามปกติ จะไม่มีการใช้ถนนเป็นแผงค้าขายอีกต่อไป ทั้งนี้ทางห้างสรรพสินค้าเดอะวัน ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี คาดว่าในวันพรุ่งนี้ (3 มี.ค.) ก็จะมีการริ้อแผงทั้งหมดออกเพื่อจัดระเบียบ และภายในเดือนนี้ผู้ค้าก็น่าจะเข้ามาขายได้เหมือนเดิม ส่วนแผงค้าบริเวณทางเข้าห้างสรรพสินค้าเดอะวัน ก็ถือว่าเป็นพื้นที่ตามสัญญาเช่า โดยเรื่องนี้อยู่ในกระบวนของใช้ศาล ก็ต้องรอทางกระบวนยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน

ด้าน นางทัศนีย์ ถิ่นธนาไพบูลย์ อายุ 52 ปี ผู้ค้าบริเวณทางเดินข้างห้างเดอะวัน กล่าวว่า ตนและผู้ค้ารายอื่นได้เข้ามาขายของในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งก็ค้าขายกันมาอย่างปกติ อยู่ๆก็มีคนมาจากการรถไฟฯมาแจ้งความจับพวกตนในข้อบุกรุก แต่ทางตำรวจก็ไม่ได้ดำเนินคดี เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการชำระค่าเช่าให้กับทางห้างเซ็นทรัล มีใบเสร็จรับเงินอย่างถูกต้อง แต่หลังจากที่ห้างเดอะวันเข้ามาก่อสร้าง ทางห้างเซ็นทรัลก็ได้ยกเลิกการเก็บค่าเช่า โดยมีห้างเดอะวันเป็นผู้เก็บค่าเช่าแทนวันละ 200-300 บาท เมื่อทางห้างเดอะวันก่อสร้างเสร็จ ก็มีคนจากห้างเดอะวันเข้ามาติดต่อขอค่าแป๊ะเจี๊ยะในจำนวนเงินกว่า 2 แสนบาท และเก็บค่าเช่าอีกเดือนละ 20,000-30,000 บาท ทางผู้ค้าเห็นว่าราคาสูงเกินไป จึงไม่ยอมจ่ายให้กับทางเดอะวัน ทำให้ทางห้างฯแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ค้า ซึ่งพื้นที่ตรงนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ โดยทางห้างเดอะวันได้หมดสัญญาเช่าแล้ว ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 2557 ทั้งนี้ทางกลุ่มผู้ค้ายินดีจะจ่ายค่าเช่าให้กับการรถไฟฯ ถึงปีละ 5 แสนบาท สูงกว่าที่ห้างเดอะวันเคยทำสัญญาไว้ที่ปีละ 2 แสนบาท แต่ทางการรถไฟฯก็ไม่ยอมให้เช่าพื้นที่ ถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิ์ของผู้ค้า ที่ผ่านมาก็เคยไปร้องเรียนกับทางการรถไฟฯ และศูนย์รับเรื่องร้องเรียนประชาชนทำเนียบรัฐบาลมาก่อนแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในลำดับต่อไปทางกลุ่มผู้ค้าก็จะได้ไปร้องขอความเป็นธรรมกับทาง กทม.ต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2015 10:02 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟเคาะค่าเช่าปตท.30ปี1.354พันล.
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2558 เวลา 11:49 น.
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035 วันที่ 15 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บอร์ดร.ฟ.ท.ไฟเขียวค่าเช่าปตท. 1,354 ล้านบาทต่อสัญญา 30 ปี เป็นค่าเช่า 700 ล้านบาท บวกค่าก่อสร้างที่พักอาศัย และปรับภูมิทัศน์ย่านก.ม.11 คาดเซ็นบันทึกความร่วมมือแล้วเสร็จภายในเม.ย. 58 นี้

พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง กรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงการต่อสัญญาเช่าพื้นที่สำนักงานใหญ่ ปตท.ว่า ในการประชุมคณะกรรมการร.ฟ.ท.ครั้งล่าสุด มีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. นำเสนอวงเงินค่าเช่ารวมทั้งสิ้น 1,354 ล้านบาท ต่อสัญญาเช่า 30 ปี ซึ่งเป็นผลจากการเจรจา 3 ฝ่ายคือปลัดกระทรวงคมนาคม ร.ฟ.ท.และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยภายในวงเงินค่าเช่าใหม่ ปตท.จะจ่ายค่าเช่าที่ดินตลอดอายุสัญญา 30 ปี ให้ ร.ฟ.ท.700 ล้านบาทพร้อมกับก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยพนักงาน ร.ฟ.ท. สูง 17 ชั้น วงเงิน 500 ล้านบาท และปรับภูมิทัศน์ย่าน ก.ม.11 ในวงเงิน 154 ล้านบาท

"หลังจากนี้คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายเร่งร่างบันทึกความเข้าใจต่อกันหากไม่มีปรับแก้ใด ๆ ก็จะได้นัดวันเวลาที่จะให้มีการเซ็นบันทึกความเข้าใจต่อกันก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาร่วมกันให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้"

ทั้งนี้ ผลการศึกษาในพื้นที่ปรับภูมิทัศน์ดังกล่าวช่วงก.ม.11 ร.ฟ.ท.มีผลการศึกษารองรับไว้แล้ว ขั้นตอนดำเนินการต่อไปให้ร.ฟ.ท.เสนอแบบก่อสร้างให้บอร์ดรถไฟเห็นชอบ โดยเฉพาะอาคารที่พักอาศัยประมาณ 7 ชั้น ซึ่งพื้นที่โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟจัดอยู่ในพื้นที่ปรับภูมิทัศน์ หรืออาจจะย้ายไปอยู่ในโซนพื้นที่ใกล้สำนักงานใหญ่ปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ ขณะนี้ได้เจรจาในรายละเอียดคืบหน้าอย่างมากโดยปตท.พร้อมให้การสนับสนุนงบประมาณ ส่วนร.ฟ.ท.รับผิดชอบหาผู้ดำเนินการก่อสร้าง

อนึ่ง การเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่าง ร.ฟ.ท.และปตท.เริ่มขึ้นในสมัยที่นายประภัสร์ จงสงวน เป็นผู้ว่าการ ครั้งนั้นเรียกค่าเช่า 1,700 ล้านบาท ต่อสัญญา 30 ปี แต่ฝ่าย ปตท.ไม่ยอมรับ ต่อมาในยุค คสช. ฝ่าย ร.ฟ.ท.ลดวงเงินค่าเช่าเป็น 1,200 ล้านบาท และครั้งล่าสุดในการเจรจา 3 ฝ่ายซึ่งมี ปลัดกระทรวงคมนาคม ร.ฟ.ท.และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตกลงวงเงินค่าเช่า ปตท.ที่ 1,354 ล้านบาท พร้อมเงื่อนไขดังกล่าว ซึ่ง คณะกรรมการเจรจาฝ่ายปตท.เห็นชอบด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2015 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

ปัดฝุ่นมักกะสันคอมเพล็กซ์ คาดมูลค่าโครงการ 3 แสนล้านบาท
Thai PBS
วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558 เวลา - 08:10


กระทรวงการคลังเสนอให้นำที่ดินย่านมักกะสันกว่า 512 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ พร้อมเตรียมพัฒนาโครงการ "มักกะสันคอมเพล็กซ์" ที่วางแผนมากว่า 10 ปี ให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและศูนย์กลางธุรกิจ คาดโครงการมีมูลค่ามากกว่า 300,000 ล้านบาท


ภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือซูเปอรร์บอร์ด ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบแผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาขาดทุน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการแก้ปัญหาหนี้สินที่มีอยู่ประมาณ 80,000 ล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยกระทรวงการคลังเสนอว่าควรนำที่ดินย่านมักกะสันมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเตรียมพัฒนาโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ ที่วางแผนมากว่า 10 ปี

สำหรับโครงการพัฒนาที่ดินย่านมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือที่เรียกกันว่า "มักกะสันคอมเพล็กซ์" เป็นแผนพัฒนาพื้นที่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 เพื่อหารายได้จากที่ดินในความครอบครอง ของร.ฟ.ท. ซึ่งประสบปัญหาการบริหารกิจการและมีหนี้สินสะสม

โดยพื้นที่ย่านมักกะสันมีขนาด 512 ไร่ ในทำเลที่อยู่ใจกลางเมืองและเป็นจุดเชื่อมระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับศูนย์กลางเมืองธุรกิจ (แอร์พอร์ตลิงค์) ตามแผนพัฒนาโครงการฯ จะทำให้เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมธุรกิจต่างๆ แบ่งพื้นที่การพัฒนาออกเป็น 4 โซน ประกอบด้วยโครงการพื้นที่เชิงพาณิชย์ โครงการศูนย์จัดแสดงสินค้า โครงการเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ และโครงการอาคารสำนักงานให้เช่าโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

ก่อนหน้านี้มีการศึกษารูปแบบโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ไว้ 3 แนวทาง คือ เปิดพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาสัมปทานเช่าเป็นระยะเวลา 34 ปี ซึ่งแนวทางนี้ ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากโครงการแน่นอน, จัดการเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน โดยร.ฟ.ท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งแนวทางนี้แม้จะให้ผลตอบแทนมากกว่าแนวทางแรก แต่ ร.ฟ.ท. จะมีความเสี่ยงร่วมกับผู้ลงทุน และแนวทางการจัดตั้งบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท. เพื่อมาดำเนินการให้เช่าหรือสัมปทานพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาลงทุน ซึ่งแนวทางนี้ถือว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด

ทั้งนี้ เมื่อมีการลงทุนคอมเพล็กซ์แบบครบวงจร ประเมินว่าโครงการจะมีมูลค่ามากกว่า 300,000 ล้านบาท

ถึงแม้นโยบายพัฒนาที่ดินย่านมักกะสันจะช่วยเพิ่มรายได้และแก้ปัญหาหนี้สินของ ร.ฟ.ท. แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีคนส่วนหนึ่งต้องการให้พัฒนาพื้นที่มักกะสันเป็นสวนสาธารณะ และคัดค้าน "มักกะสันคอมเพล็กซ์" ว่าเป็นการทำลาย "พื้นที่สีเขียว" ซึ่งทำหน้าที่เป็นปอดของคนกรุงเทพฯ นอกจากนี้บางส่วนยังคัดค้านการรื้อโรงงานรถไฟมักกะสันอายุกว่าร้อยปีทิ้ง เพื่อก่อสร้างอาคารพาณิชย์สมัยใหม่ โดยเห็นว่าควรทำเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรักษามรดกสถาปัตยกรรมเก่าแก่ไว้
https://www.youtube.com/watch?v=kDp7BOKElR0
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2015 9:51 pm    Post subject: Reply with quote

'มักกะสัน สวนสร้างสรรค์' สู่ 'ปอดกรุงเทพฯ'
by กุลระวี สุขีโมกข์
Voice TV
19 มีนาคม 2558 เวลา 18:24 น.


เครือข่ายมักกะสัน เสนอแนวคิดผลักดัน 'ย่านเมืองเก่ามักกะสัน' ให้เป็นสวนสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าหมายเป็น 'ปอดแห่งใหม่' ของกรุงเทพมหานคร

ผังเมืองย่านมักกะสันจำลอง ในรูปแบบการเป็นสวนสร้างสรรค์ เป็นผลงานการออกแบบของสมาชิกเครือข่ายมักกะสัน ที่เสนอแนวคิดผลักดันให้ 'ย่านเมืองเก่ามักกะสัน' เป็นสวนสร้างสรรค์สำหรับคนเมือง แทนการพัฒนาที่ดินโดยเอาเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง

การพัฒนา 'มักกะสันสู่การเป็นสวนสร้างสรรค์' ดำเนินการภายใต้แนวคิด การประสานวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนในสังคม และสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับวิถีเศรษฐกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นปอดแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร

เครือข่ายมักกะสัน เสนอผลวิจัยว่า ต้นไม้ใหญ่สมบรูณ์จำนวน 1 ไร่ จะสามารถผลิตออกซิเจนบริสุทธิ์ให้มนุษย์หายใจได้ 100 คน กรุงเทพมหานครมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งจำเป็นต้องมีพื้นที่สีเขียวที่สมบรูณ์เพื่อผลิตออกซิเจนถึง 1 แสนไร่ ขณะที่ปัจจุบัน พื้นที่สีเขียวเพียง 19,000 ไร่ ซึ่งน้อยกว่ามาตรฐานสากล 5 เท่า และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ 22 เมืองใหญ่ในเอเชียถึง 12 เท่า

พร้อมกล่าวว่า หากมักกะสันถูกพัฒนาให้เป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิ สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ และลานวัฒนธรรมในอนาคต โดยสิ่งแวดล้อมเมือง ไม่ได้รับผลกระทบ จะต้องสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้คนว่า 'มักกะสัน เป็นพื้นที่สีเขียวผืนสุดท้ายใจกลางกรุงเทพมหานคร'
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2015 1:14 am    Post subject: Reply with quote

ชงที่ดินรถไฟ ปลดหนี้-เปิดสวนสาธารณะ
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 19 มีนาคม 2558 เวลา 19:11 น.

“ประจิน” หัวหน้าเศรษฐกิจคสช. สั่ง ให้นำที่ดินมักกะสัน ปล่อยคลังเช่ายาว หวังช่วยปลดหนี้รถไฟ เล็งทำเป็นพื้นที่สีเขียวปอดกรุงเทพ เปิดสวนสาธาณะ-พิพิธภัณฑ์ -แก้มลิง ให้เสร็จใน 2-3 ปี

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยหลังประชุมการพัฒนาพื้นที่ย่านโรงงานมักกะสันของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ในฐานะหัวฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.ได้สั่งให้กรมธนารักษ์ และ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ไปศึกษาถึงรายละเอียดการนำพื้นที่ย่านมักกะสัน 497 ไร่ ของร.ฟ.ท. ไปปล่อยให้กระทรวงคลังเช่าระยะยาว เพื่อช่วยปลดภาระหนี้สินของการรถไฟที่มีอยู่กว่าแสนล้านบาทให้เหลือน้อยลง

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังกำหนดว่า การนำพื้นที่ย่านมักกะสันไปพัฒนาจะต้องทำเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม โดยให้ทำเป็นพื้นที่สีเขียวปอดของคนกรุงเทพ มีสวนสาธารณะไว้สำหรับออกกำลังกาย เลนจักรยาน ขณะที่บริเวณบึงมักกะสันจะใช้เป็นที่แก้มลิงรองรับน้ำ ตลอดจนพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์การรถไฟเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนทางประวัติศาสตร์ ขณะเดียวกันจะมีการนำพื้นที่บางส่วนไปพัฒนาหารายได้เชิงพาณิชย์ด้วย โดยอาจตั้งชื่อว่า สวนมักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย

“การพิจารณารายละเอียดต่างๆ จะทำโดยการตั้งคณะกรรมการและดึงผู้เชี่ยวชาญมาช่วยกันคิดว่า พื้นที่แต่ละส่วนควรมีสัดส่วนเท่าไร โดยเฉพาะพื้นที่ให้กระทรวงการคลังเช่าและนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์จะมีมูลค่ามาใช้หักลบกลบหนี้ของรถไฟได้แค่ไหน และควรให้ใช้ระยะเวลาในการเช่ากี่ปี โดยให้เวลาพิจารณาและสรุปรายละเอียดทั้งหมดภายใน 2 เดือนครึ่ง หรือเสร็จไม่เกินเดือนมิ.ย.58 พร้อมกับตั้งเป้าหมายต้องก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2015 12:48 am    Post subject: Reply with quote

“มักกะสันสวนสร้างสรรค์” บทพิสูจน์สัญญา “คืนความสุข” จากรัฐบาล!!


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
22 มีนาคม 2558 23:29 น.

“มักกะสันสวนสร้างสรรค์” บทพิสูจน์สัญญา “คืนความสุข” จากรัฐบาล!!

“มักกะสันคอมเพล็กซ์” แนวคิดนี้กลับมาให้คนกรุงได้หายใจติดๆ ขัดๆ อีกครั้ง หลังบอร์ด ร.ฟ.ท.ไฟเขียว เตรียมยกที่ดินมักกะสันจำนวน 497 ไร่ให้การคลังล้างหนี้สะสม 6 หมื่นล้านบาท เสียบแทนพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใจกลางเมืองซึ่งเป็นปอดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ!!
เมื่ออดทนต่อวิธีแก้ปัญหาแบบผักชีโรยหน้าไม่ไหว คนดังจากทุกวงการจึงรวมตัวกันในนาม “เครือข่ายมักกะสัน” ลุกขึ้นมาเสนอหนทางสร้างสรรค์ พร้อมทวงคืน “ความสุข” ที่รัฐบาลชุดนี้เคยให้คำมั่นสัญญาเอาไว้ ด้วยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะไม่ใช่เพียงลมปากที่ปลิวไปกับอำนาจทุน!!




ถึงเวลาทวงสัญญา! “คืนความสุขแก่ประชาชน”



“รัฐบาลชุดนี้บอกจะมาคืนความสุขให้แก่ประชาชน ถ้าอย่างนั้นก็กรุณาให้ความสุขกับเราด้วยครับ ผมอยากเห็นสวนสาธารณะเพื่อเด็ก เด็กที่ด้อยโอกาส สวนสาธารณะคือสถานที่คืนความสุขให้แก่ผู้คนโดยรอบ ขอทีเถอะครับ แค่ความสุขพื้นฐาน การรถไฟตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการประชาชน การขาดทุนเป็นเรื่องปกติครับ ที่พูดกันว่ารัฐวิสาหกิจต้องทำผลกำไร มันเป็นคำพูดในยุคหลังที่มาพูดต่างหาก แต่จริงๆ แล้วการรถไฟจำเป็นจะต้องขาดทุน คืนกำไรให้แก่ประชาชนด้วยวิธีที่ให้สุขภาพประชาชนได้มีบ้าง ให้คนด้อยโอกาสที่บางครั้งไม่มีแม้แต่สตางค์จะขึ้นรถไฟไปเที่ยวไกลๆ ได้มาพักตรงนี้เถอะ

หรือการรถไฟจะใจดำ หรือกระทรวงการคลังจะบอกว่าจะเอาไปทำศูนย์การค้า งั้นผมถามว่าบริหารประเทศนี่ทำเพื่อใครบ้างครับ? ประชาชนส่วนใหญ่หรือเปล่า? ขอทวงสัญญาเลยครับ ไหนบอกว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” แล้วทุกวันนี้ยังไม่พอเพียงอีกหรือ? ตามแนวพระราชดำริ ผมเชื่อว่าในหลวงท่านจะทรงยินดีที่เห็นประชาราษฎร์ทั้งหมดมีความสุข ขอให้เราช่วยกันเถอะครับ”

กนก เหวียนระวี อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัทกรุงทวี จำกัด ผู้พลิกฟื้นพื้นที่ไร่ส้มอันแห้งแล้งให้อุดมสมบูรณ์ทุกหย่อมหญ้าได้ภายใน 10 ปี ขอแสดงจุดยืนจากประสบการณ์





(อาจารย์กนก ผู้พลิกฟื้นพื้นที่ไร่ส้มอันแห้งแล้งภายใน 10 ปี)


“2 แสนล้านบาท” คือเม็ดเงินที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วางแผนจะลงทุนสร้างเมกะโปรเจกต์อลังการที่ใช้ชื่อว่า “มักกะสันคอมเพล็กซ์” ขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยตั้งใจจะผุดห้างทรงสูง โรงแรมหรู และพื้นที่เชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบขึ้นเสียบแทนร่มไม้ขนาดใหญ่กลางกรุงขนาดกว่า 700 ไร่ แต่ด้วยเสียงคัดค้านไม่เห็นด้วยอย่างถล่มทลายจากภาคประชาชน กับการลงทุนโดยไม่แยแสต่อผลกระทบของการทำลาย “ปอดขนาดใหญ่” แหล่งผลิตออกซิเจนที่หาไม่ได้อีกแล้วในกรุงเทพฯ จึงเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินอย่าง ร.ฟ.ท.ต้องพับโปรเจกต์ไปในครั้งนั้น

มาวันนี้ “6 หมื่นล้านบาท” คือตัวเลขใหม่ที่ ร.ฟ.ท.วาดฝันเอาไว้ว่าจะได้จากการยกที่ดินจำนวน 497 ไร่ ให้กระทรวงการคลังไปเสนอขายกลุ่มทุน เพื่อล้างหนี้สะสมจากการจัดซื้อรถจักรและการลงทุนแอร์พอร์ตลิงก์และยังไม่ได้ถอนทุนคืน แม้จะใช้พื้นที่ปลดหนี้น้อยกว่าเดิม และเม็ดเงินที่ได้ไม่อาจล้างหนี้ที่มีกว่า 110,000 ล้านบาทให้หมดไป แต่ดูเหมือนเจ้าของพื้นที่จะเข้าตาจนจนมองไม่เห็นทางออกอื่น นอกจากเลือกที่จะกลับมาทุบตึกเก่าอย่าง “นิคมรถไฟมักกะสัน” ซึ่งถือเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ทิ้งแล้วเตรียมไปสร้างใหม่ที่อื่น





("มักกะสันคอมเพล็กซ์" โมเดลเดิมที่ล่มไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว)


ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านั้นคือ ดูเหมือนเรื่องกำไร-ขาดทุน จะเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้รัฐวิสาหกิจอย่าง ร.ฟ.ท.ลืมไปแล้วว่าพื้นที่สีเขียวที่เหยียบย่ำอยู่ทุกวันนี้ มอบอากาศบริสุทธิ์ให้ประชาชนชาวกรุงได้หายใจสะดวกขึ้นในเมืองอันแสนแออัดแห่งนี้มากขนาดไหน




มากกว่า “ปอด-ตับ-ไต” แต่คือ “หัวใจ-สมอง” ของชาติ!




(ขอบคุณอินโฟกราฟิก: เครือข่ายมักกะสัน)

แค่ทุกวันนี้กรุงเทพฯ ก็มีพื้นที่สีเขียวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานมากอยู่แล้ว จากที่ควรจะมีค่าเฉลี่ย 15 ตร.ม.ต่อคน กลับมีพื้นที่สีเขียวคิดเป็น 3.3 ตร.ม.ต่อคน แถมยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ 22 เมืองใหญ่ในเอเชียด้วย อาจารย์กนกบอกได้เลยว่าพื้นที่มักกะสันตรงนี้คือปอดของกรุงเทพฯ ที่ดีที่สุดแล้วแห่งหนึ่งเท่าที่จะมีเหลืออยู่ และวิธีการแก้ปัญหาในครั้งนี้ก็สะท้อนอะไรๆ หลายๆ อย่างที่คนจากอีกฝั่งอาจไม่ทันได้คิด

“ที่บอกว่ามักกะสันเป็นปอด เป็นตับ เป็นไตของประเทศ แต่ผมว่ามันมากกว่านั้นครับถ้าเราทำได้ เพราะมักกะสันมันคือ “หัวใจและหัวสมองของคนไทย” ครับ มักกะสันในวันนี้ มันคือต้นแบบของความคิดที่จะนำไปพัฒนาให้เมืองต่างๆ มีสวนสาธารณะประจำเมืองให้ได้ และเป็นสวนสาธารณะที่สอนคนให้รักสิ่งแวดล้อม นำไปถึงการดูแลป่าเขาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอีกหลายอย่าง มันโยงไปได้ไกลกว่าที่เราจะคิด ถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้ดี เพราะฉะนั้น อย่าสิ้นคิดครับ!




ผมไม่ได้มองว่าพื้นที่สีเขียวคือความสวยงามนะครับ แต่มันคือความจำเป็นสำหรับคนยากคนจนครับ มันมีผลการวิจัยออกมาว่าในรัศมีของสวนธารณะที่คนยากคนจนอยู่ 4-5 กม. อัตราการตายของเขตนั้นจะต่ำกว่าเขตที่ไม่มีสวนสาธารณะอยู่ใกล้ๆ ถามว่าทำไมต้องเอาคนยากคนจนมาวัด ก็เพราะคนรวยไม่มีปัญหาไงครับ เขาสามารถหนีไปอยู่ที่ไหนก็ได้ แต่คนจนไม่มีที่จะไปครับ ดังนั้น การต่อสู้เรื่องนี้ไม่ได้ต่อสู้เพื่อเราเอง แต่เราต่อสู้เพื่อคนอื่น เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกคนช่วยกัน”






(ปองขวัญ กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิกสยามฯ)

ถ้ามักกะสันเปรียบเหมือน “ปอดของกรุงเทพฯ” ต่อไปถ้าไม่มีปอดตรงนี้หลงเหลืออยู่ก็มีความเสี่ยงที่ “น้ำจะท่วมปอด” หนักกว่าครั้งไหนๆ ลองเทียบมูลค่าความเสียหายกับมูลค่าผลกำไรที่จะได้จากการตัดตอนพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาประมูล บอกได้เลยว่าได้ไม่คุ้มเสีย ปองขวัญ สุขวัฒนา กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิกสยามฯ และกรรมการบริหารสมาคมอิโคโมสไทย ช่วยร่วมฟังธง!

“ที่นี่มีบ่อน้ำขนาดใหญ่อยู่ ถ้าในอนาคตมันจะหายไป หรือต่อให้มีเงินมากมายมหาศาลแค่ไหนแล้วบอกค่อยขุดบ่อสร้างใหม่ มันก็ไม่สามารถทำให้มันกลับมาได้อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมแล้ว พื้นที่ตรงนี้มันมีมูลค่าในตัวเองอยู่แล้ว ขอแค่อย่าไปทำลายมันค่ะ ที่สำคัญ ถ้าเราทำลายพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ตรงนี้ลง พื้นที่รอบๆ จะต้องเดือดร้อนแน่นอน ถ้าพื้นที่ตรงนี้กลายเป็นมักกะสันคอมเพล็กซ์ ลองคิดถึงมูลค่าของการเยียวยาความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้น มันเทียบไม่ได้เลยกับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะตอบแทนมาเป็นเม็ดเงินเลยค่ะ ถ้าจะแปลงเป็นมักกะสันคอมเพล็กซ์ต้องคิดด้วยว่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นมันเป็นเงินอีกมากมายขนาดไหน”





(หวั่นซ้ำรอย "มักกะสันคอมเพล็กซ์" โมเดลเดิมที่ล่มไปเมื่อ 2 ปีก่อน)


อาทิตย์ โกวิทวรางกูร สมาชิก “เครือข่ายมักกะสัน” พลเมืองอิสระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิคราฟต์ จำกัด ยืนยันชัดเจนว่าที่เปิดเวที “Park Talk” ขึ้นมานั้น ไม่ได้ต้องการแสดงความก้าวร้าวทางสังคมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการเมืองแต่อย่างใด แต่ภาคีทั้งหมดรวมกลุ่มกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ อยากให้พื้นที่สำคัญแห่งนี้ถูกใช้อย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด และโมเดลที่ บริษัท ฉมา จำกัด บริษัทออกแบบพื้นที่ Landscape หนึ่งในผู้ร่วมอุดมการณ์ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จำลองให้ทุกฝ่ายมองเห็นเป็นรูปธรรมไปในทิศทางเดียวกันว่า “สวนสร้างสรรค์” ที่เรียกร้องอยากให้มีนั้น มีหน้าตาเป็นแบบไหน

“เพราะพื้นที่นี้มันขนาดใหญ่ มองในหลายๆ มิติแล้ว มักกะสันสามารถเป็นอะไรได้มากไปกว่าแค่ “คอมเพล็กซ์” หรือเป็นโปรเจ็กต์อสังหาริมทรัพย์ตามธรรมดาทั่วๆ ไป เราอยากชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ในส่วนนี้ที่สามารถเป็นไปได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นมิติทางด้านสุขภาวะ การพัฒนาเยาวชน หรือเด็กได้มีกิจกรรมใกล้ชิดธรรมชาติ พื้นที่สร้างสรรค์ หรือพื้นที่ของคนที่อยากอนุรักษ์มรดกรถไฟ หรือกลุ่มคนพิการปัจจุบันที่มา พวกเขาเป็นกลุ่มที่รู้สึกว่าตัวเองไม่เท่าเทียมกับคนอื่นๆ ไม่ได้รับความสะดวกสบายจากเมืองให้เขาได้ใช้ประโยชน์เพื่อเสริมคุณค่าในตัวเขาได้จริงๆ





(อาทิตย์ สมาชิก "เครือข่ายมักกะสัน”)


ถ้ามองจากฝั่งคนไทยที่อยู่ในกรุงเทพฯ หรือทั่วประเทศ มักกะสันอยู่ใจกลางเมือง มีแอร์พอร์ตลิงก์ มีรถไฟใต้ดิน มีถนนเข้าได้หลายทาง มี ถ.จัตุรทิศ ซึ่งตัดกับทางตะวันตก-ตะวันออก โลเกชันมีเอกลักษณ์มาก เพราะฉะนั้น การเข้าถึงของผู้คนจะเข้าถึงได้ง่ายอย่างที่สวนอื่นๆ ไม่เคยทำได้





(ออกแบบโมเดลใหม่ "มักกะสันสวนสร้างสรรค์" หลากทางเลือก)

หรือถ้ามองในมุมของต่างชาติ ส่วนใหญ่เขามาทางเครื่องบิน ก็จะมาลงสุวรรณภูมิ เข้าเมืองยังไงก็ต้องผ่านทางนั้นเกือบตลอด เลยคิดว่าจะดีมั้ยถ้าประเทศเรามีสถานที่ที่แสดงออกว่าเรามีความคิดในเรื่องเมือง เรื่องคุณภาพชีวิต การจัดการพื้นที่สาธารณะ ไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในโลกเลย ผมรู้สึกว่ามักกะสันมีศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ที่จะแสดงออกตรงนี้ได้ นอกจากความภูมิใจจากเราได้รวมเอาคนที่มีความคิดหลากหลายมาร่วมกันในกรุงเทพฯ สำหรับคนต่างจังหวัดก็จะกลายเป็นกรณีศึกษาที่จะสามารถเข้าถึงและรับรู้ได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากต่อกระบวนการพัฒนาเมือง”




อย่าสนแต่ “มูลค่า” จนลืม “คุณค่า”




(ยังสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวแห่งนี้ได้อีกหลายทาง โดยไม่ต้องเสีย "ปอดกรุงเทพฯ" ไป)

“ถ้ามักกะสันพูดได้ คิดว่าเขาจะอยากให้ถามว่า ฉันมีมูลค่าเท่าไหร่? หรือ ฉันมีคุณค่าเท่าไหร่? ประเด็นนี้ เรากำลังพูดถึง “มูลค่า” หรือ “คุณค่า” ลองถามตัวเราเองบ้าง เราอยากให้คนถามเราว่า “ฉันราคาเท่าไหร่” หรือ “ฉันมีค่าเท่าไหร่” คำตอบที่ได้มันต่างกันนะคะ”

กชกร วรอาคม นักปฏิวัติการออกแบบรุ่นใหม่ (Greenovative Design) อาจารย์ผู้ใช้ธรรมศิลป์บำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็งและอัมพาตจากฮาร์วาร์ด เปิดประเด็นสำคัญเอาไว้ให้คิด

“We're the city เมืองของเราเป็นยังไง คนในเมืองก็เป็นอย่างนั้น เราไปเมืองไหน คนในเมืองนั้นเป็นเช่นนั้น กรุงเทพฯ เป็นหน้าเป็นตาของทุกคน ถ้ากรุงเทพฯ ป่วย ร่างกายเราก็ป่วย กรุงเทพฯ ไม่มีที่ว่าง ชีวิตเราก็ไม่มีที่ว่าง ถ้านี่เป็นโอกาสของการใช้ที่ว่างที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น มันคืออะไร?





(อาจารย์กชกร นักปฏิวัติการออกแบบรุ่นใหม่)


ที่นิวยอร์ก Central Park เกิดเมื่อ 200 ปีที่แล้ว มีคนกลุ่มนึงที่ออกมาเรียกร้องการมีที่ว่างของเมือง ให้มีสวนสาธารณะ จนปัจจุบัน Central Park กลายเป็นสิ่งที่ลงตัวสำหรับคนเมืองที่นั่นในตอนนี้ไปแล้ว ทุกวันนี้กรุงเทพฯ มีพังผืดขนาดใหญ่เกาะอยู่เต็มไปหมด แต่มีที่ว่างน้อยมาก ไม่ต่างอะไรไปจากตัวเรา ร่างกายของเรา ปัจจุบันคนไทยตายด้วยโรคมะเร็ง ตายปีๆ หนึ่งเป็นแสนคน

ตอนนี้หลายคนอาจจะยังมองไม่เห็นความงามของมักกะสันที่ถูกปกปิดอยู่ เพราะนั่งรถผ่านอาจจะเห็นแค่พื้นที่ปิดพื้นที่หนึ่ง แต่จริงๆ แล้วถ้าใครเคยเข้าไปดูจะเห็นว่าเขามีคุณค่ามากกว่านั้นค่ะ เราอย่าตีค่าเขาด้วยมูลค่าเลย เราถามเขา ถามตัวเองว่าคุณค่าเขาคืออะไร สิ่งที่เขาควรจะเป็นคืออะไร คำตอบน่าจะอยู่ที่ตัวคุณ ร่างกายคุณ และทุกคนในวันนี้”






(พื้นที่สีเขียวรายรอบโรงงานรถไฟ)

“มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น” คือรางวัลที่สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์มอบให้แก่ “ตึกแดง” โรงเก็บของเก่าแก่อายุเกือบร้อยปีซึ่งถูกออกแบบมาอย่างดี สะท้อนให้เห็นอีกหนึ่งคุณค่าบนพื้นที่มักกะสันแห่งนี้ที่ได้รับไฟเขียวให้ทุบทิ้ง ปองขวัญ ในฐานะกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิกสยามฯ บอกเลยว่าน่าเสียดาย

“ขอบอกเลยว่าตัวพื้นที่เองทุกวันนี้มันเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจของมันเองอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเพิ่มมูลค่าให้มันได้ยังไง การที่เขาจะให้เราเอาพื้นที่ตรงนี้ไปทำศูนย์การค้า ทำธุรกิจในระดับโลก เรารู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้มันมีเยอะเกินไปแล้วในประเทศไทย ทำไมเราไม่คิดใหม่ทำใหม่

มรดกเหล่านี้ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้เคยให้รางวัลอนุรักษ์ดีเด่นแก่ทางการรถไฟ สมเด็จพระเทพฯ ท่านได้มอบรางวัลที่มีพระนามของท่านประทับอยู่ เป็นรางวัลจากการคัดเลือกของผู้ทรงคุณวุฒิ ถ้าเรารักมักกะสัน เราต้องรู้จักพื้นที่ก่อนว่าเรารักมันเพราะอะไร ให้ซึมซับลงไปว่าพื้นที่ตรงนี้มี “คุณค่า” อย่างที่ประเมินราคาไม่ได้”






(นุ่น-ศิรพันธ์ หนึ่งในคนที่เห็น "คุณค่า" ของพื้นที่สีเขียว)

แม้แต่นักแสดงชื่อดังอย่าง นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา ก็เห็นคุณค่าของพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่แห่งนี้เช่นเดียวกัน และขอเป็นอีกเสียงสะท้อนหนึ่งในฐานะที่มักจะใช้สวนสาธารณะเป็นที่พักพิงใจเมื่อไม่สามารถกลับบ้านซึ่งอยู่ต่างจังหวัดได้ เธอบอกว่าวินาทีนั้นมีเพียงธรรมชาติที่ปลอดประโลมจิตใจได้มากที่สุด โดยเฉพาะความทุกข์ครั้งใหญ่ที่เกิดในชีวิตทันทีที่ได้กระแสตอบรับหลังจากเข้าวงการ

“มนุษย์เราเวลาเรามีความทุกข์ เราอยากกลับบ้าน เวลาเรารู้สึกไม่ปกติ เราอยากหาที่ที่มันปลอดภัย ถามว่านอกจากที่บ้านแล้ว ความรู้สึกที่ให้ได้คือที่ไหน คือสวนสาธารณะค่ะ ณ วินาทีที่นุ่นได้ถอดรองเท้าและเดินเหยียบหญ้า มันคือความสงบ นี่คือความผูกพันของนุ่นกับสวนในกรุงเทพฯ ค่ะ ถึงนุ่นจะเป็นดาราแต่เราก็ไม่ได้ฟุ้งติดกับภาพที่ว่าเราเป็นซูเปอร์สตาร์นะ เพราะเรารู้สึกว่าชื่อเสียง เงินทอง สุดท้ายแล้วของพวกนี้มันก็ไม่มีอยู่จริง ธรรมชาตินี่แหละคือสิ่งที่ดึงให้เรากลับมาสู่ความเป็นจริงของชีวิต





นุ่นเข้าใจว่ามนุษย์เราต้องกินต้องใช้ ถามว่านุ่นทำงานต้องได้เงินใช้มั้ย ก็ต้องได้ค่ะ ไม่งั้นไม่มีตังค์กินข้าว แต่มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถทำให้ธุรกิจมันเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ อย่างที่ปักกิ่งจะมี “798 Art District” นุ่นว่ามันเท่มากเลย เขาเป็นพื้นที่โรงไฟฟ้าเก่า สกปรกๆ ไม่ได้ถูกใช้งานมานานแล้ว และวันนึงคนก็ออกไปหมด แต่มีศิลปินเข้ามาทำงานในนี้ หลังจากนั้นแต่ละโกดังก็ถูกศิลปะเข้ามาทำให้มันเติบโตอย่างสวยงาม และเขาได้ปลูกต้นไม้เพื่อทำให้ธรรมชาติยังคงอยู่ และที่สำคัญที่สุด เขาทำให้ธุรกิจเกิดขึ้นได้ และภาพที่เขาขายแพงมากนะคะ นุ่นซื้อไม่ไหว แต่มีคนซื้อและเขาก็อยู่ได้ ทำธุรกิจได้





(พลเมืองกรุงเทพฯ ร่วมโหวตในกิจกรรม "มักกะสัน สวนสร้างสรรค์")

ถามว่าจำเป็นมั้ยที่เราจะต้องแลกธรรมชาติเพื่อเงิน? นุ่นว่ามันจะฉลาดกว่ามั้ย ถ้าเราเบนสิ่งที่เราอยากทำเข้าหาธรรมชาติได้ มันยังมีโมเดลทางธุรกิจอีกมากเลยค่ะที่มันสามารถทำให้ธุรกิจ คน และสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้ เงินไม่สามารถสร้างต้นไม้ได้ เงินไม่สามารถสร้างมิตรภาพ เงินไม่สามารถสร้างชีวิตได้ ทุกอย่างต้องกลับคืนสู่ธรรมชาติ”




บทพิสูจน์พื้นที่ “ปลอดคอร์รัปชัน”



ถ้า “สวนสร้างสรรค์” บนพื้นที่ 700 กว่าไร่แห่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้จริงก่อนที่ภาครัฐจะปล่อยให้กลุ่มทุนฮุบไป “พื้นที่ปลอดคอร์รัปชัน” คืออีกหนึ่งข้อเสนอที่กรรมการบริหารสมาคมอิโคโมสไทย กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็เอาไว้

“ต้องมาตั้งคำถามกันว่าอยากให้มักกะสันเป็นอะไร? ส่วนตัวแล้วอยากให้เป็นหลายอย่างมากค่ะ อยากให้มักกะสันเป็นพื้นที่แห่งสุขภาวะ ศิลปะวัฒนธรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ พื้นที่แห่งเศรษฐกิจสีเขียว แหล่งเรียนรู้อนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกเมือง แหล่งป่าไม้ในเมือง พื้นที่ที่ปลอดคอร์รัปชัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่สามารถได้รับรางวัล UNESCO Asia-Pacific Awards for Cultural Heritage ถ้าเราทำได้ดี แต่ถามว่าแล้วใครล่ะจะมาทำให้มันเกิดขึ้น?




การบริหารจัดการพื้นที่ขนาดใหญ่ของภาครัฐควรต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนและประโยชน์สูงสุดในทุกมิติ ทางด้านสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน เอื้ออำนวยให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ การกำหนดอนาคตในฐานะเจ้าของพื้นที่

นวัตกรรมเมืองสร้างสรรค์ที่เราพูดบ่อยๆ กัน แท้จริงแล้วควรจะมีพื้นฐานมาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนดความต้องการในการสร้างเมืองน่าอยู่ของพวกเราทุกคน ในขณะเดียวกันก็สามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจได้ พื้นที่มักกะสันตรงนี้นี่แหละจะเป็นพื้นที่สร้างสรรค์นำร่องให้เกิดนวัตกรรมเมืองสร้างสรรค์และการปฏิรูปประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุดในทุกมิติ ขอฝากไว้ให้ทุกคนมาร่วมเป็นเครือข่ายมักกะสันกันเถอะ เพื่อให้เกิดมักกะสันสวนสร้างสรรค์ค่ะ”





เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น “รัฐวิสาหกิจ” อย่างการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ อาจทำให้มีข้ออ้างของการเป็นกึ่งรัฐกึ่งเอกชนที่จะสามารถใช้สิทธิไปลงทุนธุรกิจแบบใดก็ได้โดยไม่ต้องถามความยินยอมจากประชาชน แต่ อาทิตย์ โกวิทวรางกูร สมาชิก “เครือข่ายมักกะสัน” พลเมืองอิสระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิคราฟต์ จำกัด ยังคงยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบโดยตรงต่อภาคประชาชน จึงอยากให้ลองคิดดูให้ดีๆ

“ทรัพย์สินที่มีอยู่ในมือก็มีอยู่หลายชิ้น เราเข้าใจนะครับเรื่องปัญหาทางการเงินที่เขาต้องเผชิญอยู่ตรงหน้าว่ามันคืออะไร แต่เรารู้สึกว่ามันจะมีทางออกทางไหนได้อีกมั้ยให้มันมีมิติหลากหลายกว่า การเลือกทำแค่เป็นคอมเพล็กซ์ เป็นแค่อีกหนึ่งห้างฯ อีกหนึ่งหมู่ตึก ซึ่งคงจะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนอย่างที่เขามองไว้กลับมาได้ส่วนหนึ่ง แต่เราคิดว่าถ้าบริหารพื้นที่แบบผสมผสานอย่างดี มันจะดีกว่านี้ ถ้าสามารถรวมเอาส่วนที่เป็น Commercial ซึ่งติดกับแอร์พอร์ตลิงก์ตรงนั้นมาเป็นจุดยุทธศาสตร์





(โสภณและเพื่อน นักแสดงละคนเวทีเพื่อคนตาบอด ร่วมแสดงจุดยืน)

ทุกวันนี้เรายังไม่มี Hub จุดรวมก่อนออกไปสนามบินเหมือนอย่างในเมืองนอกเขามีกัน เราอาจจะจัดสรรพื้นที่ตรงนั้นและทำให้มันเป็นตัวแสวงหารายได้ นอกจากนั้น พื้นที่ส่วนอื่นก็อาจจะใช้สวนและองค์ประกอบอื่นๆ ในพื้นที่ เป็นตัวขับเคลื่อนทั้งรายได้จากการท่องเที่ยว รายได้จากคนในประเทศนี้ มันก็จะเป็นทางออกสำหรับการปลดหนี้ได้เหมือนกัน

ทางเครือข่ายของพวกเราไม่ได้เรียกร้องจะเอาสวนสาธารณะทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ เราไม่ได้เรียกร้องจะเอาโดยไม่คำนึงถึงส่วนของเขา แต่เราคิดว่าในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อพื้นที่นี้ อย่างน้อยประชาชนก็เป็นคนที่จ่ายภาษี เราคิดว่าเรามีบทบาทอื่นๆ ได้อีกถ้าได้พูดคุยกับทางเจ้าของที่จริงๆ ถ้ารัฐบาลหรือผู้รับผิดชอบจะเห็นว่าพื้นที่ตรงนี้มีคุณค่าได้มากกว่าการเอาไปทำการค้าแบบปกติ





(นิทรรศการจะจัดที่หอศิลป์ กทม. ถึงวันที่ 29 มี.ค.นี้)

เรากำลังระดมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับพื้นที่นี้จริงๆ กำลังช่วยกันคิดอยู่ว่ามีทางออกไหนบ้างที่จะช่วยแก้โจทย์ทางการรถไฟ, การคลัง และพื้นที่สาธารณะได้พร้อมๆ กัน เป็นการเปิดมิติระหว่างการร่วมไม้ร่วมมือระหว่างภาครัฐ ประชาชน หรือธุรกิจฝ่ายเอกชนจริงๆ ให้มันมีพื้นที่ที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อคนกรุงเทพฯ และเป็นต้นแบบของที่อื่นๆ ในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน”

นิทรรศการ “มักกะสันสวนสร้างสรรค์” ซึ่งจัดแสดงรายละเอียดการเสนอนโยบายพัฒนาพื้นที่มักกะสันที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะจัดถึงวันที่ 29 มี.ค.นี้ และทันทีที่ปิดกิจกรรมลง เครือข่ายมักกะสันจะแถลงจุดยืนและทำจดหมายเพื่อยื่นถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงเจตจำนงของเครือข่ายต่อพื้นที่แห่งนี้ในทันที

จากนั้นขอให้ติดตามข่าวสารบนหน้าแฟนเพจ “เราอยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์” (www.facebook.com/MakkasanHope) เอาไว้ให้ดี ทางเครือข่ายจะเปิดโหวตใน Chang.org เพื่อสานต่อการโหวตด้วยลายมือ ณ จุดแสดงความคิดเห็นในนิทรรศการว่า สรุปแล้วประชาชนอยากให้มักกะสันเป็น “สวนสาธารณะ” หรือ “ห้างสรรพสินค้า” โดยตั้งเป้าเอาไว้ขั้นต่ำ 100,000 รายชื่อขึ้นไป




(ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องลุกขึ้นมาทวงคืนคำสัญญา)


“คาดว่าน่าจะ 2-3 เดือนแล้วค่อยปิดโหวตครับ รายชื่อที่ได้ เราจะเอาไปสร้างกิจกรรมต่อเนื่อง เพราะทางเครือข่ายมุ่งหวังจะให้เป็นเครือข่ายในระยะยาว รณรงค์ร่วมกับพื้นที่มักกะสันเป็นหลัก แต่ในอนาคตอาจจะวิวัฒนาการเป็นเครือข่ายภาคพลเมืองไปได้ต่อไป โดยอาศัยโปรเจกต์มักกะสันเป็นจุดเริ่มต้น ตอนนี้กำลังทำเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ และกำลังจะตั้งเพจ “เครือข่ายมักกะสัน” เพิ่มด้วย อยากให้ทุกคนร่วมกันเข้ามาเป็นเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กันครับ”






(ชัยวัฒน์ ผู้ก่อตั้งบางกอกฟอรั่ม ขอเชิญรัฐบาลมาวัดใจ!)

ผลการรวมตัวเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในครั้งนี้จะออกมาเป็นรูปแบบไหน ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ หนึ่งในภาคีและผู้ก่อตั้งบางกอกฟอรั่ม ขอทิ้งท้ายเอาไว้ว่า

“การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มคนในหลายๆ ครั้งที่สำเร็จและเป็นประวัติศาสตร์ มักเริ่มมาจากคนเพียงหยิบมือเดียวที่กล้าฝันเพียงพอทั้งนั้น และมีความตั้งใจมุ่งมั่นที่อยากจะทำให้เป็นจริง ไม่ต้องห่วงว่ารัฐบาลจะคิดอะไร จะมองยังไง เพราะครั้งนี้จะเป็นการวัดใจกันครับว่าคุณรักแผ่นดินแท้จริงหรือไม่ คุณรักที่จะมอบแผ่นดินนี้ให้กลุ่มทุนกลุ่มเดียว หรือจะให้ความสุขกับประชาชนทั้งมวล ครั้งนี้วัดใจกันเลยครับ!”

“เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา... เราจะทำอย่างซื่อตรง ขอแค่เธอจงไว้ใจและศรัทธา แผ่นดินจะดีในไม่ช้า ขอคืนความสุขให้เธอ ประชาชน...?”

//--------------------------------------

ร.ฟ.ท.พัฒนาพื้นที่มักกะสัน 200 ไร่ เป็นสวนมักกะสันการรถไฟแห่งประเทศไทย
กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
19 มีนาคม 2558 - 5:56 PM

ร.ฟ.ท. พัฒนาพื้นที่มักกะสัน 200 ไร่ เป็น “สวนมักกะสันการรถไฟแห่งประเทศไทย” คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี

กรุงเทพฯ 19 มี.ค. – พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมพัฒนาพื้นที่ย่านโรงงานมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ได้มีการปรับแบบในการพัฒนาพื้นที่มักกะสันของการรถไฟฯ ให้มีพื้นที่สีเขียว โดยตั้งเป้าให้มีพื้นที่สีเขียวประมาณ ร้อยละ 30 เพื่อใช้เป็นปอดของกรุงเทพมหานคร และในที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการนำมาพื้นที่ดังกล่าวมาพัฒนาและบริหารจัดการแก้ไขปัญหาภาระนี้สินจำนวน 85,000 ล้านบาท

ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการบริหารพื้นที่ทั้งหมด 497 ไร่ โดยกรอบเวลาในจัดทำแผนงานและวงเงินงบประมาณให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือนครึ่ง ในเบื้องต้นจะใช้เป็นสวนสาธารณะได้มีการตั้งชื่อว่า “สวนมักกะสันการรถไฟแห่งประเทศไทย” คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี

ด้านนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่าในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในพื้นที่มักกะสันของการรถไฟฯ จะมีการนำพื้นที่จำนวนประมาณ 200 ไร่มาใช้ในการพัฒนา ซึ่งในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวจำเป็นจะต้องย้ายโรงพยาบาล นิคมอุสาหกรรม ฯลฯไปยังพื้นที่อื่น ซึ่งโรงพยาบาลจะย้ายไปยังบางซื่อ เนื่องจากในอนาคตจะเป็นสถานนีหลัก ส่วนนิคมอุตสาหกรรม และโรงซ่อมบำรุงย้ายไปยังพื้นที่แก่งคอยที่ได้มีการลงพื้นที่ศึกษาไว้แล้ว โดยยืนยันว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถรองรับประชาชนและโรงงาน รวมถึงศูนย์ซ่อมต่างๆได้แน่นอน. -
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42792
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2015 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

สั่งสำรวจที่ดินรถไฟ 2 แสนไร่
เดลินิวส์
วันอังคาร 24 มีนาคม 2558 เวลา 15:30 น.
ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. สั่งสำรวจที่ดิน 2 แสนไร่ทั่วประเทศ 4 แสนล้านใหม่ หลังเก็บรายได้น้อย แถมแนวโน้มราคาพุ่ง ตั้งเป้าปั้มรายได้เพิ่ม 20%


นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท.ลงไปสำรวจที่ดินของรถไฟกว่า 2 แสนไร่ทั่วประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ มีที่ดินเชิงพาณิชย์อยู่ 1 แสนไร่ เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ดินทุกแปลงใหม่ว่ามีราคาประเมิน ราคาตลาด ราคาซื้อขายจริงเท่าไร รวมถึงกำหนดพิกัดจุดอ่อนจุดแข็งให้ชัดเจน และนำมาใช้ประกอบแผนการพัฒนาที่ดินและเพิ่มรายได้แก่ร.ฟ.ท. ให้สูงขึ้น หลังจากที่ผ่านมาพบว่า ร.ฟ.ท.ยังใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ไม่เต็มศักยภาพ และยังมีรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่

“การสำรวจที่ดินล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา โดยขณะนั้นประเมินว่าร.ฟ.ท.มีมูลค่าที่ดิน 4 แสนล้านบาท แต่ขณะนี้เชื่อว่ามูลค่าที่ดินต่างๆ น่าจะเพิ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 10-20% จึงต้องสำรวจใหม่ และตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3 เดือนข้อมูลใหม่ต้องเสร็จ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปหารือกับฝ่ายบริหารต่อ ควรนำไปพัฒนารูปแบบสวัสดิการพนักงาน หรือพัฒนาเชิงพาณิชย์ แต่เบื้องต้นเชื่อว่าแผนการสำรวจและพัฒนาที่ดินครั้งนี้น่าจะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่มไม่ต่ำกว่า 20%”

สำหรับที่ดินในต่างจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนา เช่น ที่ดิน 1,000 ไร่ ใน จ.กาญจนบุรี ที่มีแนวคิดพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกบุคลากรรถไฟ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รวมถึงอาจนำพื้นที่บางส่วนมาพัฒนาเป็นเส้นทางรถไฟเชิงท่องเที่ยว สำหรับจักรยานตามนโยบาย รมว.คมนาคม ขณะที่ จ.เชียงใหม่ ก็มีพื้นที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ รวมถึงเปิดให้เอกชนมาเช่าลงทุนในเชิงพาณิชย์ เช่น ทำโรงแรมแต่มีสวัสดิการให้พนักงานรถไฟได้พักราคาพิเศษ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สี่คิ้ว จ.นครราชสีมา รวมถึง จ.หนองคาย ซึ่งอยู่ในจังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด้วย

สำหรับการพัฒนาที่ดินในกรุงเทพฯ มีที่ดินสำคัญ เช่น สถานีรถไฟแม่น้ำ 277 ไร่, สถานีรถไฟ กม.11 ขนาด 359 ไร่ และสถานีมักกะสัน 497 ไร่ โดย ขณะนี้ได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรี ให้ไปศึกษาการพัฒนาพื้นที่มักกะสันให้เป็นปลอดของคนกรุงเทพฯ ให้เสร็จภายใน 2 เดือนครึ่ง โดยภายในมีสวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์รถไฟ พื้นที่เชิงพาณิชย์ รวมถึงโครงการพระราชดำริแก้มลิง บริเวณบึงมักกะสัน ส่วนพื้นที่อื่นต้องรอผลสำรวจข้อมูลที่ดินใหม่ก่อนว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะนำข้อมูลมาศึกษาเพิ่มเติมต่อว่า การรถไฟควรลงทุน ออกแบบเอง หรือเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนแค่ไหน

ส่วนแผนการนำที่ดินรถไฟไปปลดหนี้นั้น จะต้องรอนโยบายของ รมว.คมนาคม ซึ่งขณะนี้ได้ให้ฝ่ายบัญชีไปพิจารณาแบ่งแยกหนี้มูลค่ากว่าแสนล้านบาทว่า เป็นหนี้ที่เกิดจากการลงทุนของรถไฟ หรือหนี้เชิงสังคมจากการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยหากแยกหนี้ออกมาแล้วจะช่วยให้เห็นชัดเจนว่าหนี้มาจากอะไร และทำให้หนี้ที่เกิดจาก ร.ฟ.ท.เองเหลือน้อยลง ส่วนหนี้เชิงสังคมเห็นว่าภาครัฐควรเข้ามาช่วยรับผิดชอบ

//--------------------------------------------------

รื้อสำรวจที่ดินรถไฟมูลค่า 4 แสนล. คาดราคาเพิ่มสูง 20%
สำนักข่าวอิสรา
หมวดหมู่เกาะประเด็น
ไทยรัฐ
เขียนวันที่ วันพุธ ที่ 25 มีนาคม 2558 เวลา 11:45 น.

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ ร.ฟ.ท.ลงไปสำรวจที่ดินของรถไฟกว่า 200,000 ไร่ทั่วประเทศ เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ดินทุกแปลงใหม่ว่ามีราคาประเมิน ราคาตลาด ราคาซื้อขายจริงเท่าไร รวมถึงกำหนดพิกัดจุดอ่อนจุดแข็งให้ชัดเจนและนำมาใช้ประกอบแผนการพัฒนาที่ดินและเพิ่มรายได้แก่รถไฟให้สูงขึ้น หลังจากที่ผ่านมาพบว่า ร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้เต็มศักยภาพและยังมีรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่ “การสำรวจที่ดินล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา โดยขณะนั้นประเมินว่า ร.ฟ.ท.มีมูลค่าที่ดินประมาณ 400,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้เชื่อว่ามูลค่าที่ดินต่างๆ น่าจะเพิ่มสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 10-20% จึงต้องมีการสำรวจใหม่และตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3 เดือนข้อมูลใหม่จะต้องเสร็จ เบื้องต้นเชื่อว่าแผนการสำรวจและพัฒนาที่ดินครั้งนี้น่าจะทำให้ ร.ฟ.ท. มีรายได้เพิ่มไม่ต่ำกว่า 20%”

สำหรับที่ดินในต่างจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนา เช่น ที่ดิน 1,000 ไร่ ใน จ.กาญจนบุรี ที่มีแนวคิดพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกบุคลากรรถไฟ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รวมถึงอาจนำพื้นที่บางส่วนมาพัฒนาเป็นเส้นทางรถไฟเชิงท่องเที่ยวสำหรับจักรยานตามนโยบายกระทรวงคมนาคม

ส่วนการพัฒนาที่ดินในกรุงเทพฯ ที่สำคัญ เช่น สถานีรถไฟแม่น้ำ 277 ไร่, สถานีรถไฟ กม.11 ขนาด 359 ไร่ และสถานีมักกะสัน 497 ไร่ ได้รับนโยบายจากนายกฯให้ไปศึกษาพัฒนาพื้นที่มักกะสันให้เป็นปอดของคนกรุงเทพฯให้เสร็จภายใน 2 เดือนครึ่ง ส่วนแผนการนำที่ดินของรถไฟไปปลดหนี้นั้น ขณะนี้ได้ให้ฝ่ายบัญชีไปพิจารณาแบ่งแยกหนี้มูลค่ากว่าแสนล้านบาท ว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากการลงทุนหรือหนี้เชิงสังคมจากการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล


Last edited by Wisarut on 26/03/2015 12:03 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 198, 199, 200  Next
Page 111 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©