Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273531
ทั้งหมด:13584827
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 171, 172, 173 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2021 10:47 am    Post subject: Reply with quote

ผุดฮับเวลเนสธนบุรี-ศิริราช “เจริญ-ซีพี-บิ๊ก รพ.” ตบเท้าชิง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 19 มีนาคม 2564 - 07:01 น.


พลิกโฉมที่ดินฝั่งธนบุรี ฮับเวลเนส รับรถไฟฟ้า “สีแดง-น้ำเงิน-ส้ม” ร.ฟ.ท.เปิดกรุที่ดิน 21 ไร่ ย่านสถานีธนบุรี ดึงเอกชนลงทุน 3.6 พันล้าน ผุดมิกซ์ยูส ห้าง บัดเจตโฮเทล ศูนย์พักฟื้นสุขภาพ อพาร์ตเมนต์ ยื่นซอง ก.ค.นี้ เซ็นทรัล เดอะมอลล์ ทีซีซีแลนด์ ซี.พี.แลนด์ ทุนโรงพยาบาลพรึ่บ

นายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 19 มี.ค. 2564 ร.ฟ.ท.จะจัดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (market sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี บนเนื้อที่ 21 ไร่เศษ เพื่อทบทวนรูปแบบการพัฒนาที่เคยศึกษาไว้ว่ายังเหมาะสมกับสภาพตลาดปัจจุบันหรือไม่ หลังเกิดการระบาดของโควิด-19 ก่อนจะเปิดประมูล

คาดว่าจะขายเอกสารทีโออาร์ในเดือน ก.ค.นี้ และให้ยื่นข้อเสนอในเดือน ก.ย. และได้เอกชนผู้ลงทุนในเดือน พ.ย. 2564 เริ่มงานก่อสร้างปี 2565 เปิดบริการในปี 2569

ผุดมิกซ์ยูสศูนย์สุขภาพ
“ผลการศึกษาเดิมที่ทำไว้ก่อนเกิดโควิดและดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 แต่ครั้งนี้จะดำเนินการตามระเบียบรถไฟ ให้เอกชนเช่า 34 ปี ก่อสร้าง 4 ปี จัดหาประโยชน์ 30 ปี ซึ่งบอร์ดอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่ให้ถามความคิดเห็นเอกชนก่อนประมูล เพราะหลังเกิดโควิด สถานการณ์เปลี่ยนไป”

คาดว่ารูปแบบการพัฒนายังคงเดิม เป็นมิกซ์ยูส ประกอบด้วย เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรม รีเทล และศูนย์สุขภาพและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโรงพยาบาล (Health & Wellness Hub) มูลค่าโครงการ 3,600 ล้านบาท มีพื้นที่ก่อสร้างรวม 110,458 ตร.ม. แบ่งพัฒนา 4 โซน ได้แก่ 1.โรงแรม และรีเทล 6 ไร่ ลงทุน 1,309 ล้านบาท พื้นที่ 40,360 ตร.ม. รองรับญาติผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลธนบุรี ค่าห้องไม่เกิน 1,000 บาท/คืน

2.ศูนย์พักฟื้นสุขภาพ 4 ไร่ ลงทุน 879 ล้านบาท พื้นที่ 21,096 ตร.ม. รองรับผู้ป่วยพักฟื้น และดูแลสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลธนบุรี ค่าห้องพัก 40,000-60,000 บาท/เดือน

3.เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และที่อยู่ผู้สูงวัย 3 ไร่ ลงทุน 754 ล้านบาท พื้นที่ 22,108 ตร.ม. รองรับกลุ่มแพทย์ ผู้สูงวัยย่านฝั่งธนบุรี ค่าเช่า 30,000-50,000 บาท/เดือน

และ 4.บ้านพักพนักงานรถไฟ 6 ไร่ เอกชนจะก่อสร้างที่พักอาศัยสูง 13 ชั้น 315 ห้อง พื้นที่ใช้สอย 35-50 ตร.ม. ที่จอดรถ 265 คัน วงเงิน 425 ล้านบาท ทดแทนบ้านพักเดิม

ทำเลทองเชื่อม 3 รถไฟฟ้า
ปัจจุบันสภาพที่ดินเป็นบ้านพักพนักงานรถไฟ 305 ครัวเรือน อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพใกล้รถไฟฟ้า 3 สายเป็นสถานีจอดสายสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา ใกล้กับสถานีอิสรภาพของสายสีน้ำเงิน สถานีศิริราชของสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ และอยู่ใกล้โรงพยาบาลศิริราช จะเป็นทำเลที่เอกชนสนใจจะลงทุน รับเทรนด์ตลาดที่พักผู้สูงวัยและดูแลสุขภาพจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

“กลุ่มเป้าหมายจะเป็นแพทย์ เจ้าหน้าที่ และญาติผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และโรงพยาบาลธนบุรี รวมทั้งประชาชนทั่วไปมีผู้อยู่อาศัยกว่า 2 แสนคนอนาคตจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางและธุรกิจเวลเนสที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งธนบุรี”


นายเอกกล่าวว่า ร.ฟ.ท.คาดว่าจะได้ผลตอบแทนตลอดอายุสัญญา 30 ปี คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 992 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมการเช่า 20% อีก 198 ล้านบาท ค่าเช่ารายปีเริ่มต้น 32 ล้านบาท ปรับค่าเช่าทุก ๆ ปี ปีละ 5% รวมค่าเช่าตลอดสัญญา 30 ปี อยู่ที่ 2,439 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จ ร.ฟ.ท.จะมีรายได้รวม 2,638 ล้านบาท

บิ๊กธุรกิจสนใจพรึ่บ
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า การเปิดรับฟังความสนใจครั้งที่ผ่านมา มีเอกชนสนใจ อาทิ เซ็นทรัลพัฒนา เดอะมอลล์ กลุ่มทีซีซีแลนด์ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ที่สนใจธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับโรงพยาบาล บริการทางการแพทย์เพื่อการฟื้นฟู กลุ่มโรงพยาบาลปิยะเวทสนใจรูปแบบเนิร์สซิ่งโฮม ลองสเตย์ และเวลเนส เป็นต้น

วันที่ 19 มี.ค.นี้ จะเชิญบริษัทเอกชนกลุ่มโรงพยาบาล เช่น กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ของหมอบุญ วนาสิน โรงพยาบาลปิยะเวท โรงพยาบาลเกษมราษฎร์, กลุ่มดีเวลอปเปอร์ เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ บมจ.ศุภาลัย บจ.ทีซีซี และภูมิพัฒน์ (กลุ่มเจ้าสัวเจริญ) บมจ.ซี.พี.แลนด์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักลงทุนและสถาบันการเงิน 25 บริษัท ร่วมแสดงความคิดเห็นในแผนการลงทุน

กลุ่มธนบุรี-ปิยะเวทร่วมแจม
นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนบุรี เฮลธ์แคร์ กรุ๊ป หรือ THG เปิดเผยว่า จากที่ ร.ฟ.ท.จะให้เอกชนเช่าระยะยาวพัฒนาที่ดินย่านสถานีธนบุรี โดยพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส ศูนย์กลางด้านสุขภาพ ทางกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรีมีความสนใจและจะร่วมประมูลโครงการดังกล่าว เนื่องจากพื้นที่อยู่บริเวณเดียวกับโรงพยาบาลธนบุรี หากประมูลที่ดินนี้มาได้จะเตรียมขยายพื้นที่โรงพยาบาล โดยพัฒนาเป็นศูนย์เกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารงานของกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล

นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลปิยะเวท เปิดเผยว่า สนใจจะเข้าร่วมประมูลเช่นเดียวกัน แต่ขอดูรายละเอียดเงื่อนไขในทีโออาร์ก่อนเนื่องจากเป็นทำเลมีศักยภาพ ในอนาคตธุรกิจโรงพยาบาลในย่านนี้จะเชื่อมโยงกันหมด ซึ่งบริษัทมีแผนจะลงทุน 2,000 ล้านบาท ก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เนื้อที่ 6 ไร่บนถนนวังหลัง ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีน้ำเงิน

“แบบเสร็จแล้วและได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว แต่ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ต้องชะลอการลงทุน ปลายปีนี้จะมีความชัดเจนถึงแผนการลงทุน หลังรัฐบาลฉีดวัคซีนแล้วเสร็จ เดือน ต.ค.นี้เรายังมีแผนจะลงทุนอีก 1 แห่ง เนื้อที่ 6 ไร่ ทำเลเยื้องพาต้าปิ่นเกล้า เป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง”

ศิริราชลงทุนรับ 2 รถไฟฟ้า
ด้าน ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า โรงพยาบาลศิริราชมีแผนสร้างอาคารโรงพยาบาลบน “สถานีธนบุรี-ศิริราช” จุดต่อเชื่อมสายสีแดง (ตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา) และสายสีส้ม วงเงิน 5,000 ล้านบาท เป็นอาคารสูง 15 ชั้น ใต้ดิน 3 ชั้น

โดยชั้น 1-2 เชื่อมสถานีรถไฟฟ้ากับอาคาร ชั้น 3-4 เป็นคลินิกผู้ป่วยนอก ชั้น 5 เป็นพื้นที่โรงพยาบาล ชั้น 6 เป็นสำนักงานอาคารและห้องปฏิบัติการกลาง ชั้น 7 หอผู้ป่วยไอซียู 12 ห้อง ชั้น 7-M พื้นที่วิศวกรรมงานระบบ ชั้น 8-15 เป็นหอผู้ป่วย126 เตียง ที่จอดรถ 95 คัน รองรับผู้ป่วยได้วันละ 10,000 คน และแก้ปัญหาการจราจรติดขัด

ขณะนี้โครงการดังกล่าวออกแบบเสร็จแล้ว และได้รับอนุมัติจากสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.)ให้ปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินจากปัจจุบันเป็นสีน้ำตาล (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) มีข้อจำกัดสร้างอาคารได้ไม่เกิน 5 ชั้น เป็นพื้นที่สีน้ำเงิน (ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ) เพื่อพัฒนาตึกสูงได้ ตามแผนจะต้องสร้างอาคารให้เสร็จในปี 2567

ส่วนสายสีแดงจะเปิดให้บริการปี 2566 สายสีส้มเปิดในปี 2569 อีกทั้งมีแผนจะปรับปรุงอาคารผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นศูนย์การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของประเทศไทยอีก 4,000-5,000 ล้านบาท สร้างอาคารกุมารแพทย์ใหม่ 1,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2021 9:54 am    Post subject: Reply with quote

บขส.เล็งพักชำระหนี้ ค่าเช่าที่ดินรถไฟฯ
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2564

บขส.โอดหลังลดพื้นที่เช่ารฟท. 58 ไร่ เล็งทำฟีดเดอร์เชื่อมสถานีกลางบางซื่อ จ่อพักชำระหนี้ เหตุโควิดรอบใหม่พ่นพิษ กระทบรายได้หด 70-80% เร่งประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ 4 แปลง มูลค่า 7.5 พันล้าน

นายสัญลักข์ ปัญจวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สำหรับความคืบหน้าการต่อสัญญาค่าเช่าที่ดินของบขส.ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต 2 เบื้องต้นได้หารือกับรฟท.ในหลักการแล้ว ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงคมนาคมโดยให้บขส.ดำเนินการเช่าที่ดินของรฟท.เบื้องต้นจะขอลดพื้นที่เช่าจากเดิม 72 ไร่ เหลือเพียง 58 ไร่ โดยจะคืนพื้นที่บางส่วนให้กับรฟท.ดำเนินการทำรถชัตเตอร์บัสเพื่อเชื่อมต่อระบบการเดินทาง (ฟีดเดอร์) ระหว่างสถานีกลางบางซื่อและสถานีขนส่งผู้โดยสารสถานีหมอชิต 2 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้

"ส่วนสาเหตุที่บขส.ลดค่าพื้นที่ลง เนื่องจากเล็งเห็นว่า เรามีความจำเป็นในการใช้พื้นที่เพียงเท่านี้ รวมทั้งรูปแบบการเดินทางในปัจจุบันเปลี่ยนไป หากในอนาคตมีรถไฟความเร็วสูงเข้ามาที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ จะส่งผลให้ปริมาณการใช้รถโดยสารของบขส.น้อยลง ซึ่งเราคงต้องวางแผนต่อไปในอนาคต"

นายสัญลักข์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันบขส.อยู่ระหว่างตั้งคณะทำงานทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อหาแนวทางการจ่ายค่าเช่าที่ดินให้รฟท. เป็นรูปธรรมและชัดเจน เนื่องจากที่ผ่านมาบขส.ได้เจรจากับรฟท.เพื่อขอผ่อนชำระค่าเช่าพื้นที่ให้กับรฟท. เบื้องต้นอาจจะมีการพักชำระหนี้ก่อน 1 เดือน เพราะติดปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บขส.ขาดทุนและมีรายได้ลดลง กว่า 70-80% ทำให้งบประมาณในปัจจุบันของบขส.อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท หากบขส.ขาดทุนต่อเนื่องคาดว่าภายใน 2 ปี งบประมาณอาจจะหมดได้ จะเร่งดำเนินการในเรื่องนี้คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน

"เรายืนยันยังไม่มีการย้ายพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารสถานีหมอชิต 2 ไปอยู่บริเวณย่านพหลโยธิน แน่นอน ทั้งนี้บขส.มีสนใจพื้นที่ในโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุพหลโยธิน หรือหมอชิตคอมเพล็กซ์ เพื่อดำเนินการใช้ประโยชน์ เนื่องจากนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานบอร์ด บขส.ได้มอบนโยบายในระยะแรกให้บขส.ดำเนินการนำรถตู้และรถมินิบัสเพื่อเชื่อมต่อระบบการเดินทาง (ฟีดเดอร์) เนื่องจากบขส.ลดพื้นที่เช่าลง ซึ่งต้องปรับรูปแบบการรับ-ส่งผู้โดยสารในเมืองมากขึ้นเพื่อสะดวกต่อการเดินทางขึ้นโทลล์เวย์ คาดว่าในอนาคตจะดำเนินการสร้างสะพานลอย (สกายวอล์ก) ระหว่างสถานีขนส่งหมอชิต 2 และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางเชื่อมถึงกันได้"

ทั้งนี้บขส.มีแผนจะเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมด4 แปลง ประกอบด้วย
1.สถานีเอกมัย จำนวน 7 ไร่ วงเงิน 2,500 ล้านบาท
2.สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ (บริเวณสามแยกไฟฉาย) จำนวน 3 ไร่ วงเงิน 428 ล้านบาท
3.สถานีปิ่นเกล้า จำนวน 15 ไร่ วงเงิน 4,600 ล้านบาท
4.สถานีชลบุรี จำนวน 5 ไร่ วงเงิน 13 ล้านบาท
โดยจะเปิดให้เอกชนเข้ามาพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้ให้กับบขส.คาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 3 เดือน ซึ่งจะต้องนำเสนอเข้าที่ประชุม (บอร์ด) บขส.เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามการบริหารทรัพย์สิน ได้เห็นชอบตามที่ รฟท.เสนอให้พิจารณาการคิดอัตราค่าเช่าที่ดินกับบขส.ดังนี้
1.อัตราค่าเช่าจากฐานปรับเพิ่มขึ้นจากอัตราเช่าเดิม 5% ต่อปี ค่าเช่ารวมเป็นเงิน จำนวน 622 ล้านบาท โดยบขส.ได้ชำระไว้บางส่วน จำนวน 370 ล้านบาท ซึ่งมีส่วนต่างสะสมค้างชำระ 251 ล้านบาท และ
2.ฐานอัตราค่าเช่า 2.75% ของราคาประเมินที่ดิน พื้นที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ จำนวน 115,207 ตารางเมตร ให้ส่วนลด 25% และพื้นที่เชิงพาณิชย์ จำนวน 3,120 ตารางเมตร ไม่มีส่วนลด ค่าเช่ารวมเป็นเงิน จำนวน 1,145 ล้านบาท โดยบขส.ได้ชำระไว้บางส่วน จำนวน 370 ล้านบาท มีส่วนต่างสะสมค้างชำระเป็นเงิน จำนวน 774 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าเช่าระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2547-29 กุมภาพันธ์ 2564 หากบขส.ไม่ยอมรับอัตราค่าเช่ารฟท.จะรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาสั่งการให้บขส.ดำเนินการยุติไปก่อน หากยังคงมีข้อพิพาทระหว่างรฟท.กับบขส.ไม่ได้ข้อยุติอีก รฟท.จะดำเนินการส่งเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับไว้พิจารณาหาทางยุติข้อพิพาทระหว่างรฟท.กับบขส.ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2021 4:30 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดประมูลเนรมิตที่ดินรถไฟย่านสถานีธนบุรี 21 ไร่ ส.ค.นี้
เสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 เวลา 18.33 น.

ส.ค.นี้ รฟท. เปิดประมูลเนรมิตพื้นที่ย่านสถานีธนบุรี 21 ไร่ 3 งาน ให้เอกชนเช่าพื้นที่ 30 ปี สร้างโรงแรม-ห้าง-ศูนย์พักฟื้น ช่วยเพิ่มรายได้ 3.5 พันล้าน ลุยตอกเสาเข็ม ม.ค.65 เปิดบริการปี 69 สะดวกสบายเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 3 สาย 

นายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี (ครั้งที่ 2) ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ กทม. ซึ่งได้รับความสนใจจากภาคเอกชน ทั้งในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจทางการแพทย์ ธุรกิจด้านสุขภาพ และกลุ่มผู้สูงวัย เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก โดยหลังจากนี้บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็น และปรับปรุงรายงานผลการศึกษา คาดว่าจะเสนอให้ รฟท. พิจารณาในเดือน เม.ย.-พ.ค.64 จากนั้น รฟท.จะประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (ประมูล) ต่อไป
               
นายเอก กล่าวต่อว่า เบื้องต้นคาดว่าจะเปิดจำหน่ายเอกสารการประมูลในเดือน ส.ค.นี้ และจะให้เวลาเอกชนจัดทำข้อเสนอ 2 เดือน ก่อนเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอเช่าพื้นที่ในเดือน ต.ค. ประกาศผลผู้ชนะประมูลเดือน ธ.ค. และลงนามสัญญาเดือน ม.ค.65 ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี แล้วเสร็จประมาณปี 68 และเปิดให้บริการปี 69 ทั้งนี้โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี มีเนื้อที่โครงการ 21 ไร่ 3 งาน มูลค่าโครงการประมาณ 3,500 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 โซนดังนี้ 1.พื้นที่โรงแรมและศูนย์การค้าสูง 13 ชั้น 2.ศูนย์พักฟื้นและฟื้นฟูสุขภาพ หรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 1 เปิดบริการในระดับลักซ์ชัวรี่ 3.เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 2 และ 4.บ้านพักสำหรับพนักงานการรถไฟ 
               
นายเอก กล่าวอีกว่า ในจำนวนพื้นที่ 21 ไร่ 3 งานนั้น เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 14 ไร่ มีมูลค่าที่ดิน 1,770 ล้านบาท ให้เอกชนเช่า 30 ปี มีผลตอบแทนให้ รฟท. 1,125 ล้านบาท เมื่อลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูล เอกชนต้องจ่ายทันที 337 ล้านบาท หรือประมาณ 30% ของผลตอบแทน จากนั้นจะทยอยจ่ายเป็นรายปีจนครบ 30 ปี โดยจะจ่ายปีละ 47.48 ล้านบาท จากนั้นเพิ่มขึ้น 10% ทุก 3 ปี ปีสุดท้ายจ่าย 196.69 ล้านบาท เมื่อรวม 30 ปี รฟท. จะได้ผลตอบแทนรวม 3,584 ล้านบาท ทั้งนี้สิ่งแรกที่เอกชนต้องดำเนินการหลังจากลงนามสัญญาคือ เคลียร์พื้นที่บ้านพนักงานการรถไฟที่อยู่ในปัจจุบัน 305 ครัวเรือน โดยในสัญญากำหนดให้ก่อสร้างบ้านพักสำหรับพนักงานฯ 315 ห้อง ทดแทนบ้านพักเดิมบนพื้นที่ 3 ไร่ด้วย

นายเอก กล่าวด้วยว่า พื้นที่ย่านสถานีธนบุรี ถือเป็นพื้นที่ที่จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมต่อที่สำคัญของกรุงเทพฯ เพราะในอนาคตจะสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้า 2 สถานี 3 เส้นทาง โดยอยู่ห่างโครงการประมาณ 800 เมตร ได้แก่ สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช, สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมทางด้านสุขภาพ เป็นศูนย์พักฟื้น พื้นฟูสุขภาพ และยังมีโรงแรมระดับกลาง เพื่อรองรับผู้ป่วยและญาติที่เข้ามาใช้บริการที่โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลธนบุรี 
               
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า สำหรับพื้นที่โครงการฯ ทิศเหนือติดกับซอยวัดวิเศษการ ตลาดรถไฟธนบุรี สถานีรถไฟธนบุรี  ทิศใต้มีที่อยู่อาศัยโดยรอบ ด้านทิศตะวันออกติดซอยวัดวิเศษการ ศูนย์ไตเทียมกัลยาณิวัฒนา และ วัดฉิมทายกาวาส
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 11:33 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดประมูลเนรมิตที่ดินรถไฟย่านสถานีธนบุรี 21 ไร่ ส.ค.นี้
เสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 เวลา 18.33 น.


ส.ค.นี้ รฟท. เปิดประมูลเนรมิตที่ดินย่านสถานีธนบุรี 21 ไร่
*ให้เอกชนเช่า 30ปี สร้างโรงแรม-ห้าง-ศูนย์พักฟื้น
*ช่วยเพิ่มรายได้ 3.5 พันล้าน ลุยตอกเสาเข็ม ม.ค.65
*เปิดบริการปี 69 สะดวกสบายเชื่อมรถไฟฟ้า 3 สาย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2863473673874132
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2021 9:53 am    Post subject: Reply with quote

ฮึดทวง“ที่เขากระโดง”แทนคนไทย “พ.ต.อ.ทวี” นักต่อสู้ตัวจริง
หน้า Columnist / ทางออกนอกตำรา
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ 24 มีนาคม 2564 เวลา 07:15 น.
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3664 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2564

ควันหลงจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ในช่วงวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่มีประเด็นไหนคุกรุ่นและลากยาวให้ผู้คนในประเทศสารขันธ์ได้ถกแถลงกันยาวเทียบเท่าประเด็น “การบุกรุกที่ดินเขากระโดง” ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ อภิปรายและตั้งคำถามต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 2 คน

คนแรก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผู้กำกับนโยบาย และเกี่ยวกันกับคนครอบครัวชิดชอบที่ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินที่พิพาทกับการรถไฟฯคนที่สอง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบกำกับดูแลกรมที่ดิน ที่ทำหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ศาลตัดสินว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯทั้งสองคนเกี่ยวพันกับเรื่องนี้อย่างไร...และทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ..นะหรือครับ สุจริตชนในประเทศสาระขันธ์ โปรดพิจารณา...

พ.ต.อ.ทวี อภิปรายว่า นายศักดิ์สยาม ได้กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายร่วมกันถือครองบุกรุก และพักอาศัยในพื้นที่สมบัติของแผ่นดิน หรือที่สงวนหวงห้ามที่มีไว้เพื่อประโยชน์ประชาชนโดยรวม ที่รถไฟเขากระโดง จ.บุรีรัมย์คำอภิปรายระบุว่า ปัญหาที่ดินเขากระโดงที่มีมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท และเกิดข้อพิพาทมายาวนาน ระหว่างเจ้าของพื้นที่คือ การรถไฟฯ กับชาวบ้านที่เข้าไปอยู่อาศัย ส่งผลให้ การรถไฟฯ ฟ้องร้องต่อศาลให้ขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่และศาลก็ได้วินิจฉัยตามที่ฟ้องร้อง และเพิกถอนสิทธิ์การถือครองที่ดิน เนื่องจากเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ สงวนไว้เป็นที่รถไฟเท่านั้นพ.ต.อ.ทวี ตั้งข้อสังเกตว่า แล้วเหตุใด ตระกูลชิดชอบ ที่เกี่ยวพันกับรัฐมนตรีคมนาคม และญาติพี่น้อง จึงสามารถพักอาศัยในพื้นที่ดังกล่าวได้ รวมทั้ง สนามช้างอารีน่า ของทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ในที่ดินพิพาท ในขณะที่ชาวบ้านถูกฟ้องร้องและต้องอพยพออกจากพื้นที่สนามช้าง อารีนา มีที่กว่า 150 ไร่ คนในตระกูลชิดชอบลงทุนกว่า 500 ล้านบาท สนามแข่งรถบุรีรัมย์ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต ก็ตั้งอยู่ข้างกันด้วย โดยสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต มีพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ ใช้งบก่อสร้างกว่า 2 พันล้านบาทคำอภิปราย ระบุว่าพฤติการณ์ของนายศักดิ์สยาม และครอบครัว เข้าข่ายกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ร่วมกันถือครองบุกรุกสมบัติของแผ่นดิน หรือที่สงวนหวงห้ามที่มีไว้เพื่อประโยชน์ประชาชนโดยรวม


เนื่องจาก มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยที่ดินทั้งแปลง ระบุว่า หลังปี 2560 สถานะของที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ที่สงวนหวงห้ามไว้เป็นที่รถไฟ ใครที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่นี้จะต้องมีการขับไล่ และเพิกถอนสิทธิ์ ไม่สามารถมีใครมีเอกสารสิทธิ์ที่ดินส่วนนี้ได้ แต่บ้านพักของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม อยู่ในพื้นที่แห่งนี้ “รัฐมนตรีคมนาคมจึง เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง และเป็นเรื่องสำคัญ คือทุกคนต้องถูกบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม แต่หลังจากศาลฎีกาตัดสินแล้ว การรถไฟฯ ได้ไปฟ้องให้เพิกถอนโฉนดชาวบ้าน ซึ่งศาลก็สั่งให้เพิกถอน ดังนั้น รัฐมนตรีคมนาคม และหน่วยงานของรั ฐจึงต้องดูแลให้มีการปฏิบัติ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ควรฟ้องทุกคน ไม่ใช่ฟ้องเฉพาะคนใดคนหนึ่ง และเมื่อได้ข้อยุติแล้ว จะต้องทำให้ถูกต้องตามคำพิพากษา และทำอย่างไรที่จะเอาที่ดินสงวนหวงห้าม ที่เป็นที่ดินสาธารณะสมบัติกลับคืนมา ซึ่งเป็นหน้าที่ของการรถไฟฯ และรัฐมนตรีที่มีหน้าที่ต้องเอาที่ดินคืนให้การรถไฟฯ แต่กลับไม่ดำเนินการใดๆ นี่คือการกระทำที่ผิดหลักนิติรัฐ นิติธรรม และจริยธรรมนักการเมืองหรือไม่....”นี่คือคำทิ้งท้ายขณะที่ นายศักดิ์สยาม ชี้แจงว่า ภาพรวมที่ดินการรถไฟแห่งประเทศทั่วประเทศกว่า 2.4 แสนไร่ มีการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ของที่ดิน 2 ช่องทาง คือ จากการเวนคืน และได้มาโดยเหตุอื่นๆ ผมไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งกรณีที่ดินเขากระโดง การรถไฟฯได้สำรวจผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เมื่อปี 2550 พบว่า มีผู้ถือครองเอกสารสิทธ์ ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (สค.1) มากกว่า 35 ราย เอกสาร นส.3 ประมาณ 500 ราย เอกสารครอบครองที่ดินเป็นโฉนด และหน่วยงานราชการจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันที่ดินแยกเขากระโดงมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์หลายราย ซึ่งการรถไฟดำเนินการอยู่“ที่ดินดังกล่าวที่อ้างถึงเป็นที่ดินที่มีโฉนดเลขที่ 3466 มีการซื้อขายกันมาจนออกเป็นโฉนด มีการชี้แนวเขตโดยวิศวกรการรถไฟ และมีประชาชนอยู่ในที่ดินบริเวณดังกล่าวมานานขนาดที่ว่า เราเกิดกันไม่ทัน ผมในฐานะรมว.คมนาคม ดำเนินการและสั่งการให้ยึดหลักธรรมภิบาล คุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ขอยืนยันว่า ไม่เคยแทรกแซง สั่งการใดๆในที่ดินดังกล่าว ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่า คนใกล้ชิดหรือไม่ใกล้ชิด ต้องยึดหลักภายใต้หลักกฎหมาย....”นายศักดิ์สยามชี้แจงสำหรับคำอภิปราย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะดูแลกรมที่ดินนั้น พ.ต.อ.ทวี ระบุว่า เมื่อศาลฎีกามีคำตัดสินสิ้นสุดแล้ว ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวภายใน 60-90 วัน แต่ท่านกลับปล่อยเรื่องนี้มาตลอด หรือท่านนำเรื่องนี้เป็นข้อสมประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ ถึงเวลาแล้วที่ต้องทำความจริงให้ปรากฎพล.อ.อนุพงษ์ ชี้แจงว่า คดีพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ของการรถไฟ ในจังหวัดบุรีรัมย์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2548 โดยกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภาได้ตรวจสอบ การครอบครองที่ดินของครอบครัวชิดชอบ พบรายละเอียดว่าการรถไฟฯไม่สามารถชี้แจงเขตได้
“...ส่วนกรณีที่มีคดีว่าประชาชนที่ต้องการขอออกเอกสารสิทธิ์ ตามที่กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย จะลงพื้นที่สำรวจ ได้ยื่นฟ้องต่อศาล ฟ้องการรถไฟกรณีคัดค้านการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งศาลฎีกาตัดสินว่าที่ดินเป็นของการรถไฟยั้น กรมที่ดินสามารถดำเนินการได้ เฉพาะที่กฎหมายกำหนด แต่ศาลไม่ได้สั่งให้กรมที่ดินไปเพิกถอน หากศาลมีคำพิพากษาแล้วผมละเว้น ไม่ใช่แค่ไม่ไว้วางใจ แต่ต้องไปอยู่ในคุก และหลังจากที่ศาลฏีกาพิพากษาแล้ว ปัจจุบันไม่พบว่าการรถไฟฯ ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลใด ดังนั้นที่อ้างว่าศาลพิพากษา และบอกว่าให้กรมที่ดินไปเพิกถอน เป็นคนละเรื่อง เพราะกรมที่ดินไม่รู้ว่าที่ดินหมายเลขใด โฉนดใดที่ต้องเพิกถอน ทั้งนี้ หากศาลสั่งแล้วไม่ทำ จะอยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน หากศาลไม่สั่ง แล้วไปเพิกถอน ก็อยู่ไม่ได้” พล.อ.อนุพงษ์ ชี้แจงผมยกคำอภิปรายรัฐมนตรีคมนาคม มาขยายให้ทุกท่านได้เห็นภาพของการต้อสู้ในคดีพิพาทในเรื่องที่ดินการรถไฟที่พัวพันแบบยุ่งอีรุงตุงนัง เพราะ อะไร เพราะ พ.ต.อ.ทวี ผู้เป็นนักการเมืองไม่ได้อภิปรายในเวทีรัฐสภาแล้วทิ้งข้อกล่าวหาไว้ให้สังคมได้ขบคิดเหมือนนักการเมืองคนอื่นๆ แต่ พ.ต.อ.ทวี ได้ทำมากกว่านั้นคือ ทำหนังสือร้องต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ดำเนินการไต่สวนและดำเนินคดีกับ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมถึง พล.อ.อนุพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 และเรื่องนี้ทำไมสำคัญ เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรถือเป็นกลไกการบริหารภาครัฐที่สำคัญ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 53 บัญญัติว่า “รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด” และเมื่อกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐแล้ว หากมีการปล่อยปละละเลย ประชาชนอาจฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 51 ด้วย ดังนั้น การยื่น ป.ป.ช.จึงเป็นหน้าที่ของนักการเมืองด้วยนอกจากนี้ เรื่องนี้ที่ดินการรถไฟเขากระโดง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ฎีกาที่ 842-876/2560 คดีระหว่างราษฎรจำนวน 35 รายเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นจำเลยที่ 1 และ กรมที่ดิน เป็นจำเลยที่ 2
ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทในพื้นที่ “เขากระโดง”ตามแผนที่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของการรถไฟ พิพากษาให้ขับไล่ รื้อถอน และให้ราษฎรชดใช้ค่าเสียหายให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ศาลฎีกามีคำพิพากษา ที่ 8027/2561 คดีซึ่ง นายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องการรถไฟเป็นจำเลย เพื่อรังวัดขอออกโฉนดที่ดินที่ซื้อมาจาก นายชัย ชิดชอบ ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ข เลขที่ 200 อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ 24 ไร่ 4 ตารางวา ซึ่งการรถไฟ ทำหนังสือคัดค้านและต่อสู้คดีอ้างว่าที่ดินที่ขอออกโฉนดเป็นที่ดินของการรถไฟทั้งแปลง ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าเป็นที่ดินของการรถไฟเช่นเดียวกับขณะที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 หลังจากคำตัดสินคดีนี้ในชั้นศาลฎีกา 8 เดือน มีหน้าที่กำกับดูแลการรถไฟฯ แต่กลับไม่ได้มีการปฏิบัติสั่งการให้ผู้ว่าการรถไฟฯ ดำเนินการฟ้อง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง บังคับคดีขับไล่ผู้บุกรุกครอบครองที่ดินอันเป็นที่สงวนหวงห้ามแต่อย่างใดการร้องต่อป.ป.ช.ให้ไต่สวนคดีนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี เพราะรัฐมนตรี “ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเองและผู้อื่น”....คอยติดตามกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2021 9:56 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิด ประมูลใหม่ ที่ดิน"สนามกอล์ฟ รถไฟหัวหิน"
หน้าอสังหาริมทรัพย์
23 มีนาคม 2564 เวลา 20:53 น.

รฟท. เปิด ประมูล ใหม่ ที่ดินสนามกอล์ฟรถไฟหัวหิน ติดสถานีรถไฟ หัวหิน แบ่ง8แปลง สนามกอล์ฟ -โรงแรม 2 แห่ง 5-6ดาว /แปลงโรงแรม 3-4ดาว -ศูนย์ประชุม หลังหมดสัญญา บ๊กทุนอสังหาพรึบ แสนสิริ-ออริจิ้น - อัลติจูด จ้างนิด้า ศึกษา เปิดฟังเสียงเอกชน 24 มีนาคม2564



การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) มอบศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขันสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า ดำเนินโครงการทบทวนผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการให้เช่าอาคารและสนามกอล์ฟรถไฟหัวหินที่สถานีหัวหิน ระยะยาว ซึ่งในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวทางสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล และวิเคราะห์โครงการเตรียมจัดทดสอบความสนใจผู้ประกอบการ เอกชน(Market Sounding ) วันที่ 24 มีนาคม 2564 เพื่อให้บริษัทที่ปรึกษาฟังข้อคิดเห็นและประเมินความสนใจของ นักลงทุน แบ่งเป็นที่ดิน 8แปลง อาทิ
ส่วนสนามกอล์ฟ ,
TOD พื้นที่พัฒนารอบสถานีรถไฟหัวหิน,
โรงแรม 5-6ดาว,
โรงแรม 3-4ดาว
ศูนย์ประชุม
คอมมูนิตี้มอลล์ ฯลฯ

แหล่งข่าวจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้าระบุว่าได้ออกเอกสารเชิญภาคเอกชนจำนวน 100ราย ส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ที่ตอบได้ ได้แก่บริษัทพัฒนาที่ดินแถวหน้าของเมืองไทย บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) บริษัทอัลติจูด ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัทออริจิ้น บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) ทีซีซีกรุ๊ป บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด บริษัท ซี.พี.แลนด์จำกัด(มหาชน) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลชั้นนำ เป็นต้น ปัจจุบัน รฟท. ได้พิจารณาอนุมัติให้เปิดประมูล ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนบริหารสนามกอล์ฟหลวงหัวหินหรือ สนามกอล์ฟ ขนาด 500 ไร่ ติดกับหลังหมดสัญญากับ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ในปีนี้ นอกจากนี้ ยังมีโรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน เนื้อที่ 71.65 ไร่ หรือโรงแรมรถไฟหัวหินเดิม โดยบริษัท เซ็นทรัลหัวหินบีชรีสอร์ทที่หมดสัญญาเช่าลง



ย้อนรอยประวัติศาสตร์วงการกอล์ฟไทยสนามกอล์ฟหลวงหัวหิน หรือ รอยัลหัวหินกอล์ฟคอร์ส (Royal Hua Hin Golf Course) สนามกอล์ฟมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทย เป็นมรดกล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ ประมาณค่ามิได้ สมบูรณ์ด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ อายุยืนต้นยาวนานนับ 100 ปี มีไก่ป่า สัตว์ป่า นกนานาชนิดให้นักกอล์ฟออกรอบ ตีกอล์ฟ เล่นกอล์ฟ ได้ชมพร้อมภูมิทัศน์สวยงามยิ่งนัก ทุกแฟร์เวย์มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นเสน่ห์ตรึงใจยากจะลืม จำนวน 18 หลุม พาร์ 72 ความยาว ชาย 6,678 หลา หญิง 5,713 หลา 9 หลุมแรก เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2462 เปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2465 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์เสด็จทรงกอล์ฟ เป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2467 จำนวน 9 หลุม หลัง สร้างเสร็จปลายปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นองค์ประธานพิธีเปิด พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน ทรงดำริโครงการ และบัญชาการสร้าง ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ออกแบบก่อสร้างโดยมิสเตอร์ เอ.โอ.โรบิน นายช่างบำรุงทางรถไฟ แขวงเพชรบุรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2512 รฟท. ได้พิจารณาเห็นว่า ศาลาไม้แบบธรรมชาติ ซึ่งกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงโปรดให้นายช่างชาวอิตาเลียนออกแบบสร้างขึ้นเป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่คราวเสด็จเปิดสนามกอล์ฟ 18 หลุม เมื่อปลายปี พ.ศ.2471 นั้นได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก จึงได้จัดการบูรณะขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “ศาลาประชาธิปก” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้อันเชิญสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นประธานเปิดศาลาแห่งนี้ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2512 ดังปรากฎเป็นสัญลักษณ์โดดเด่นแห่งสนามกอล์ฟหลวงหัวหินมาจนถึงทุกวันนี้ และบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัดเข้ามาบริหารและปรับปรุงสนามกอล์ฟหลวงหัวหิน ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 จนถึงปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44640
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/03/2021 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท.เปิด ประมูลใหม่ ที่ดิน"สนามกอล์ฟ รถไฟหัวหิน"
หน้าอสังหาริมทรัพย์
23 มีนาคม 2564 เวลา 20:53 น.

รถไฟล้างไพ่ที่ดินทำเลหัวหิน เปิดประมูลแข่ง “สิงห์-เซ็นทรัล”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 24 มีนาคม 2564 - 10:03 น.

“เบียร์สิงห์-เซ็นทรัล” กระอัก ร.ฟ.ท.รื้อที่เช่าทำเลหัวหิน เปิดประมูลใหม่ อัพผลตอบแทนเพิ่ม ประเดิมที่สนามกอล์ฟ 500 ไร่ ดึงเอกชนลงทุนมิกซ์ยูส โรงแรม 5 ดาว โรงเรียนนานาชาติ ศูนย์การแพทย์ ห้าง จับตา “โรงแรมรถไฟ” เปิดทางเอกชนรายใหม่เสนอราคาแข่งเจ้าเดิม บีบลงทุนเพิ่ม 3.2 พันล้าน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ร.ฟ.ท.กำลังเร่งเดินหน้าสร้างรายได้จากการพัฒนาที่ดินให้กับองค์กรในระยะยาว โดยคณะกรรมการ (บอร์ด) มีนโยบายให้ ร.ฟ.ท.นำที่ดินในทำเลมีศักยภาพที่หมดสัญญาเช่าเปิดประมูลใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินและผลตอบแทนที่ ร.ฟ.ท.จะได้กลับคืนมามากขึ้น จากปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีรายได้จากค่าเช่าที่ดิน 2,000-3,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่มีภาระหนี้สะสมกว่า 1 แสนล้านบาท

ประมูลใหม่สนามกอล์ฟ-โรงแรม
“ตอนนี้มีที่ดิน 2 แปลง ในทำเลหัวหิน คือ สนามกอล์ฟรถไฟหัวหิน เนื้อที่กว่า 500 ไร่ ซึ่งหมดสัญญาเช่าไปแล้ว ปัจจุบันให้เช่าชั่วคราวแบบปีต่อปี และโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท และวิลล่า หัวหิน เนื้อที่ 72 ไร่ ที่ได้ต่อสัญญาเช่าชั่วคราว 2 ปี จะครบกำหนด พ.ค. 2565 ล่าสุดบอร์ดมีนโยบายจะไม่ต่อสัญญาเช่ากับรายเดิม จะเปิดประมูลใหม่ให้เกิดการแข่งขันหลายราย”

นายนิรุฒกล่าวว่า เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ได้ผลตอบแทนสูงสุด เนื่องจากที่ดินทั้ง 2 แปลง อยู่ในทำเลเป็นไพรมแอเรีย ร.ฟ.ท.ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาโมเดลการพัฒนาให้มีความหลากหลาย เหมะสมกับศักยภาพของพื้นที่ และสอดรับกับสถานการณ์ตลาด

เนื่องจากเกิดการระบาดของโควิด-19 เทรนด์การพัฒนาต่าง ๆ อาจจะเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม รูปแบบพัฒนาจะไม่ทิ้งความเป็นแลนด์มาร์ก และประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เช่น สนามกอล์ฟหัวหินจะยังคงอยู่ แต่จะพัฒนาที่ดินบริเวณโดยรอบที่ปล่อยทิ้งร้างให้เกิดประโยชน์ โดยทั้ง 2 แปลง จะให้เช่า 30 ปี และก่อสร้าง 4 ปี โดยเร่งเปิดประมูลหาเอกชนที่สนใจเข้ามาพัฒนาลงทุนภายในปีนี้

ซาวเสียงเอกชนลุยมิกซ์ยูส
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า วันที่ 24 มี.ค. 2564 จะจัดประชุมทดสอบความสนใจของเอกชน (market sounding) เพื่อนำข้อเสนอแนะจากเอกชนภาคธุรกิจต่าง ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม โรงพยาบาล มาทบทวนผลการศึกษา และวิเคราะห์โครงการที่ดินสนามกอล์ฟหัวหิน เนื้อที่ 503 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สนามกอล์ฟ 500 ไร่ และโรงแรมกอล์ฟอิน 3 ไร่ อยู่ติดสถานีรถไฟหัวหิน เพื่อประมูลหากเอกชนรายใหม่ หลัง บจ.บุญรอดบริวเวอรี่ ผู้เช่ารายเดิมหมดสัญญาเช่าไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค. 2558 ซึ่งที่ผ่านมาได้ต่อสัญญาให้แบบปีต่อปี ในอัตราค่าเช่า 476,000 บาทต่อปี


โดย ร.ฟ.ท.ว่าจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นผู้ศึกษาโมเดลการพัฒนาโครงการ เป็นรูปแบบมิกซ์ยูส แบ่งพื้นที่พัฒนา 480 ไร่ (บางส่วนถูกนำไปสร้างรถไฟทางคู่) เป็น 8 โซน รวมพื้นที่ก่อสร้าง 672,667 ตร.ม. ได้แก่ 1.สนามกอล์ฟเดิม 363 ไร่ พื้นที่ 582,000 ตร.ม. 2.พัฒนาเชิงพาณิชย์ (TOD) 8 ไร่ พื้นที่ 15,000 ตร.ม. เช่น ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ สำนักงานให้เช่า 3.ธุรกิจไมซ์ (MICE) 16 ไร่ พื้นที่ 15,000 ตร.ม.

4.ศูนย์สุขภาพ (health community mall) 11 ไร่ พื้นที่ 15,000 ตร.ม. 5.โรงแรมระดับ 5 ดาว 16 ไร่ พื้นที่ 10,000 ตร.ม. จำนวน 200 ห้อง 6.โรงเรียนนานาชาติ 17 ไร่ พื้นที่ 12,000 ตร.ม. 7.ศูนย์การแพทย์ (wellness center) 34 ไร่ พื้นที่ 23,667 ตร.ม. ในจำนวนนี้จะมีที่พักอาศัยเป็นแบบพูลวิลล่า 20 หลัง กับอพาร์ตเมนต์ 200 ห้อง สำหรับผู้สูงวัยและผู้มาพักฟื้น และ 8.พื้นที่สีเขียว (green area) 15 ไร่ พื้นที่ 34,800 ตร.ม. โดยทั้งโครงการจะใช้เงินลงทุนคิดเป็นค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกว่า 5,600 ล้านบาท และ ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากค่าเช่าที่ดินประมาณ 1,604 ล้านบาท


เทียบเชิญเอกชนขาใหญ่
“เอกชนที่เชิญร่วมประชุม เช่น ศุภาลัย สิงห์เอสเตท บุญรอดบริวเวอรี่ กลุ่มเซ็นทรัล เพอร์เฟค อารียา โรงพยาบาลธนบุรี อิตัลไทย กลุ่มเมเจอร์ มาบุญครอง ต้องรอดูว่าเอกชนสนใจกับคอนเซ็ปต์ที่เราศึกษาไว้หรือไม่ เบื้องต้นทางบุญรอดฯก็ยังสนใจที่ดินแปลงนี้ แต่ต้องบิดแข่งกับรายอื่น และปรับรูปแบบการพัฒนาใหม่ ซึ่งผลศึกษาจะสรุปในเดือน เม.ย.นี้ และเร่งเปิดประมูลได้เอกชนรายใหม่ในปีนี้”

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับที่ดินโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท และวิลล่า หัวหิน เนื้อที่ 72.12 ไร่ เตรียมจะเปิดประมูลหาเอกชนรายใหม่เช่นกัน ระยะเวลาเช่า 34 ปี ก่อสร้าง 4 ปี และจัดหาประโยชน์ 30 ปี คาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนในเดือน ส.ค.นี้ และเปิดประมูลในเดือน ต.ค. และได้ผู้ชนะประมูลปลายปีนี้ จะทันกับที่เซ็นทรัลหมดสัญญาเช่าวันที่ 15 พ.ค. 2565 ซึ่งปัจจุบันเซ็นทรัลจ่ายค่าเช่าช่วง 2 ปี ที่ ร.ฟ.ท.ต่อสัญญาให้ชั่วคราวหลังได้รับผลกระทบจากโควิด นับจากวันที่ 16 พ.ค. 2563-15 พ.ค. 2565 ให้ ร.ฟ.ท.อยู่ที่กว่า 150.97 ล้านบาท

มูลค่า รร.หัวหินพุ่ง 8 พันล้าน
“โครงการนี้เอกชนจะต้องลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 3,281 ล้านบาท ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 8,086 ล้านบาท จะได้ผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเช่า คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 3,138 ล้านบาท รวมตลอดอายุสัญญา 30 ปี 6,862 ล้านบาท ทั้งนี้ อยู่ที่ข้อเสนอของเอกชนแต่ละราย ซึ่งเซ็นทรัลสามารถเข้าร่วมประมูลแข่งขันกับเอกชนรายอื่นได้” แหล่งข่าวกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2021 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.ไฟเขียวตลาดจตุจักรเปิดขายได้ 6 วัน เสาร์-อาทิตย์ปิด 4 ทุ่ม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:59 น.


บอร์ดสำนักงานตลาด กทม. ไฟเขียวตลาดนัดจตุจักร เปิดแผงค้าขายได้สัปดาห์ละ 6 วัน ดึงคนช้อป ลดผลกระทบจากพิษโควิดและเศรษฐกิจชะลอตัว

วันที่ 25 มี.ค. 2564 นางวัลยา วัฒนรัตน์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ประกอบกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้นักท่องเที่ยวรวมทั้งลูกค้าชาวไทยเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดนัดขาดหายไป

ส่งผลให้ผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรกว่า 1 หมื่นแผงค้าได้รับผลกระทบ พล.ต.อ.อัศวินขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. จึงได้ให้คณะกรรมการบริหารสำนักงานตลาด กทม. จัดทำมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบกิจการค้าของผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร เพื่อช่วยเหลือผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งคณะกรรมการบริหารฯ ได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 4/2564 กำหนดมาตรการส่งเสริมการทำการค้าในตลาดนัดจตุจักร ดังนี้


วัลยา วัฒนรัตน์
มาตรการที่ 1 อนุญาตให้มีการค้าในวันธรรมดา และขยายเวลาปิดแผงค้าให้สามารถค้าขายในเวลากลางคืนด้วย ทั้งนี้ที่ผ่านมาสัญญาให้สิทธิแผงค้าในตลาดนัดฯ กำหนดให้เปิดทำการค้าในวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเพิ่มเติม เท่ากับมีเวลาค้าขาย 2 วันในแต่ละสัปดาห์

คณะกรรมการบริหารฯ จึงพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้ผู้ค้าสามารถทำการค้าในวันธรรมดาได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตเพิ่ม คือ ในวันอังคาร พุธ และพฤหัสบดี ประกอบกิจการค้าขายในแผงค้าได้ถึงเวลา 18.00 น. ส่วนวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ ค้าขายในแผงค้าได้จนถึงเวลา 22.00 น. เว้นวันจันทร์ที่ห้ามทำการค้า เพื่อทำความสะอาดพื้นที่และแผงค้า รวมทั้งขุดลอกรางระบายน้ำ

มาตรการที่ 2 ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแผงค้าได้ทุกแผงค้าโดยสะดวก พร้อมจัดลานกิจกรรมส่งเสริมการขาย สืบเนื่องจากผู้ค้าที่มีแผงค้าภายในร้องเรียนว่า ลูกค้าและประชาชนไม่นิยมเดินเข้าไปในแผงค้าด้านใน เพราะทางเดินไม่สะดวก

โดยปัจจุบันตลาดนัดจตุจักรได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและแผงค้าส่วน ที่รุกล้ำริมรางระบายน้ำในตลาดนัดออกทั้งหมดแล้ว ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการมีทางเดินสำหรับเลือกซื้อสินค้าได้โดยสะดวก และตลาดนัดจตุจักรกำลังจะดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและแผงค้า ที่รุกล้ำบริเวณริมรั้วด้านในออกทั้งหมด แล้วปรับปรุงให้มีทางเดินรอบรั้วด้านใน

นอกจากนั้นยังปรับปรุงทางเดินในซอยในโครงการ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางการเดินเลือกซื้อสินค้า รวมทั้งขณะนี้ได้มีการปรับปรุงทางกายภาพอื่น ๆ เช่น ไฟส่องสว่าง และทางเดิน คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนเมษายน ซึ่งจะสามารถเปิดให้ค้าขายเพิ่มเติมตามวันและเวลาข้างต้นได้

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริหารฯ เห็นว่า เพื่อประโยชน์ของผู้ค้าทุกแผง จะต้องมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการค้าให้มากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ บริเวณรอบหอนาฬิกาอย่างสม่ำเสมอ เช่น กิจกรรมพันธุ์ cactus (กระบองเพชร) เทศกาลของขวัญ (giftshop) เป็นต้น เพื่อดึงดูดให้ประชาชนเดินเข้าไปเลือกชมสินค้าในแผงค้าด้านในมากขึ้น

นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรที่มีจำนวนมากกว่า 1 หมื่นแผงค้า ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของตลาดฯ โดยให้เลือกผู้แทนผู้ค้าตามที่มีการแบ่งแผงค้าเป็น 31 โซน ๆ ละ 1 คน มาร่วมเสนอความเห็นเกี่ยวกับการประกอบการค้าและกฎระเบียบของตลาดนัดจตุจักร

โดยเฉพาะประเด็นที่ยังมีความเห็นแตกต่างกัน เช่น การพิจารณาว่าจะอนุญาตให้รถเข้ามาจอดในตลาดนัดฯ ได้แค่ไหนเพียงใด รวมทั้งให้ความเห็นเรื่องอื่น ๆ เช่น การจะใช้มาตรการต่อผู้ค้าที่ปิดแผงค้าไม่ยอมมาค้าขายเป็นเวลานาน

ทั้งนี้ การเข้าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้กรุงเทพมหานครเข้ามาดำเนินการให้ตลาดนัดจตุจักรมีความเจริญรุ่งเรือง ทำให้ผู้ค้าสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างดี ซึ่งลำพังกรุงเทพมหานครแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่สามารถผลักดัน และทำให้กิจการของตลาดนัดจตุจักรเจริญก้าวหน้าได้ แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรด้วย

โดยเฉพาะการที่ทุกคนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อส่วนรวม การจัดหาและจัดวางสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ตลอดจนมีส่วนร่วมพัฒนาตลาดนัดจตุจักรให้มีความพร้อมสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยวให้อยากเข้ามาจับจ่าย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศต่อไป

เก็บเงินชอปปิง"ตลาดนัดจตุจักร"วันธรรมดา เม.ย.นี้

พฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 17.05 น.

บอร์ดสำนักงานตลาดฯ ไฟเขียว ผู้ค้าเปิดแผงสัปดาห์ละ 6 วัน ยกเว้นวันจันทร์ เยียวยาผู้ค้ากระทบโควิด-19

นางวัลยา วัฒนรัตน์ รองปลัด กทม. เผยถึงผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการค้าขายที่ชะลอตัวลง นักท่องเที่ยวที่หายไปเกือบครึ่ง ตลาดนัดจตุจักรเป็นอีกจุดที่ได้รับผลกระทบ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. จึงมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครจัดทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบกิจการค้าของผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร เพื่อช่วยเหลือผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบ โดยล่าสุดได้มีการกำหนดมาตรช่วยเหลือ ดังนี้



มาตรการที่ 1 อนุญาตให้มีการค้าในวันธรรมดา และขยายเวลาปิดแผงค้าให้สามารถค้าขายในเวลากลางคืนด้วย โดยที่ผ่านมาสัญญาให้สิทธิแผงค้ากำหนดให้เปิดทำการค้าในวันเสาร์-อาทิตย์ เท่านั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเพิ่มเติม จึงมีเวลาค้าขายเพียง 2 วัน ต่อสัปดาห์ จึงพิจารณาปรับปรุงให้ทำการค้าได้มากขึ้นโดยไม่ต้องขออนุญาตเพิ่ม ได้แก่ วันอังคาร พุธ และพฤหัสบดี สามารถค้าขายในแผงค้าได้ถึงเวลา 18.00 น. ส่วนวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ค้าขายได้ถึงเวลา 22.00 น. ยกเว้นวันจันทร์ห้ามทำการค้า ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มได้ช่วงกลาง เม.ย.นี้


มาตรการที่ 2 ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแผงค้าได้ทุกแผงค้า พร้อมจัดลานกิจกรรมส่งเสริมการขาย หลังมีผู้ที่มีแผงค้าภายในร้องเรียนว่า ลูกค้าไม่นิยมเดินเข้าไปแผงค้าด้านในเพราะไม่สะดวก ปัจจุบันตลาดนัดจตุจักรได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและแผงค้าส่วนที่รุกล้ำริมรางระบายน้ำในตลาดนัดออกทั้งหมดแล้ว เพื่อเปิดทางเดินให้เลือกซื้อสินค้าสะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังปรับปรุงทางเดินภายในซอยโครงการ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง เพิ่มไฟส่องสว่าง พร้อมจัดกิจกรรมสนับสนุนเพิ่มเติม โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ค้าในพื้นที่ที่มีกว่าหมื่นแผง ได้มีส่วนร่วมพัฒนาและแก้ไขปัญหา.


Last edited by Wisarut on 08/04/2021 10:39 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

“คนรถไฟ” ทวงคืนสมบัติของแผ่นดิน จี้มหาดไทย เพิกถอนโฉนด ‘เขากระโดง’
หน้า Politics
ออนไลน์เมื่อ 25 มีนาคม 2564 เวลา 18:55 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3,665 หน้า 12
วันที่ 28 - 31 มีนาคม 2564

“สมาพันธ์คนงานรถไฟ” ยื่นหนังสือถึง “รมว.มหาดไทย” จี้เพิกถอนโฉนดที่ดินทับซ้อนที่ดินของการถไฟฯ บริเวณเขากระโดง บุรีรัมย์ ยกคำพิพากษาศาลฎีกามัดผู้บุกรุกทุกรายต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย

นายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์ คนงานรถไฟ หรือ สพ.รฟ. พร้อมด้วยพนักงานรถไฟจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางไปที่ศูนย์ดำรงธรรม ชั้น 5 กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2564 เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) กรณีการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับซ้อนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริเวณเขากระโดง ต.อิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี นายเสวี จิระเสวี รองอธิบดีกรมที่ดิน เป็นตัวแทนรับหนังสือ

นายสุวิช กล่าวว่า ตนมั่นใจว่าที่ดินเป็นของการรถไฟฯ ทั้งผืน เนื่องจากมีคำพิพากษาศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่า ที่ดินทั้งแปลง 5,083 ไร่ เป็นของการรถไฟฯ โดยให้ทางกรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ทั้งโฉนดและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่มีการบุกรุกทุกรายตามคำพิพากษา ฉะนั้นเรื่องนี้ต้องให้เป็นไปตามกฏหมาย ส่วนคนที่ยังอาศัยอยู่ในที่ดินผืนนี้ ทางการรถไฟฯ ก็ต้องแสดงสิทธิ์ในการดูแลที่ดิน เนื่องจากเป็นสมบัติของแผ่นดิน อันดับแรกการรถไฟฯ ต้องทำเรื่องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์จากผู้อาศัยหรือบุกรุกก่อน ถ้าผู้อาศัยต้องการเช่าที่ดิน ก็ต้องคุยรายละเอียดปลีกย่อยกันต่อไป ซึ่งมีระเบียบกฎหมายรองรับอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ยังมีเอกชนครอบครองที่ดินเขากระโดง เช่น บ้านนักการเมือง สนามช้างอารีน่า ซึ่งเรื่องนี้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎรด้วย แต่มีการชี้แจงจากรัฐมนตรีที่รับผิดชอบว่า ที่ดินบางส่วนประชาชนอยู่มาก่อนการรถไฟฯจะเข้าทำประโยชน์นั้น นายสุวิชกล่าวว่า ประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากเมื่อปี 2464 มีพระราชกฤษฎีกาเรื่องการจัดซื้อที่ดินและทรัพย์สินเพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟ พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้กำหนดเขตชัดเจนแล้วว่า ที่ดินเขากระโดงมีเนื้อที่อยู่ 5,083 ไร่ 50 ตารางวา ตามกฎหมายห้ามผู้ใดบุกรุกเข้าไปจับจอง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จะบอกว่าไม่ใช่ที่ดินของการรถไฟฯ ก็ต้อง ขอให้ไปดูคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งระบุไว้ครบถ้วนอยู่แล้ว สำหรับกรณีที่มีบ้านนักการเมืองและคนใกล้ชิดอยู่ในที่ดินผืนนี้ จะทำให้การเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ทำไดยากหรือไม่ นายสุวิช กล่าวว่า ต้องว่าไปตามกฎหมาย ตนในฐานะของประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ ได้ดำเนินการตามคำพิพากษา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย



“ท้ายที่สุดแล้วทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ผู้ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินอยู่ จะมีวิธีการจัดการอย่างไร หรือเจรจาอย่างไร เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องมาพูดคุยเจรจา กัน แต่เบื้องต้นนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องแสดงสิทธิ์การเป็นเจ้าของ” นายสุวิช ระบุสำหรับเอกสารที่สมาพันธ์คนงานรถไฟ ยื่นให้ รมว.มหาดไทย เพื่อยืนยันว่าที่ดินเขากระโดงเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ นั้น ประกอบด้วย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2541, มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2554, คำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2560 “คนรถไฟ” ทวงคืนสมบัติของแผ่นดิน จี้มหาดไทย เพิกถอนโฉนด ‘เขากระโดง’
“คนรถไฟ” ทวงคืนสมบัติของแผ่นดิน จี้มหาดไทย เพิกถอนโฉนด ‘เขากระโดง’

จึงเป็นข้อยุติแล้วว่า ที่ดินเขากระโดงเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ ซึ่งได้มาโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวง ต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2462 ห้ามผู้ใดจับจองเป็นเจ้าของ ส่วนที่ดินที่มีการครอบครองก่อนวันที่ 8 พ.ย. 2462 ห้ามมิให้เจ้าของนำที่ดินที่อยู่ในเขตที่ดินรถไฟตามที่ปรากฏในแผนที่ ไปยกให้ หรือขาย-ซื้อ-แลกเปลี่ยนกับผู้หนึ่งผู้ใด ห้ามมิให้สร้างบ้านเรือน ปลูกต้นไม้ หรือทำไร่ ก่อนได้รับอนุญาต จึงถือได้ว่าที่ดินของการรถไฟฯ ผืนนี้ เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ไม่มีเอกชนรายใดอ้างสิทธิ์ครอบครองได้
ทั้งนี้ สมาพันธ์คนงานรถไฟ ได้เรียน รมว.มหาดไทย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของกรมที่ดิน เพื่อโปรดพิจารณาให้กรมที่ดินดำเนินการตามกฎหมายเพิกถอนเอกสารสิทธิกับผู้บุกรุกในพื้นที่บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ทั้งหมด เพื่อรักษาไว้ซึ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่สงวนหวงห้ามไว้ เพื่อประโยชน์ของกิจการรถไฟฯ และประชาชนคนไทยต่อไปก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 19 มี.ค.64 ตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกอบไปด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย และ นายมงคลกิตต์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เข้ายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในฐานะ รมว.คมนาคม ในกรณี “ที่ดินเขากระโดง”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

25 บิ๊กทุน ชนสนั่น ชิง‘บ้านพักรถไฟธนบุรี’
หน้าแรก / อสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 04:15 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,664 วันที่ 25 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2564

25 ทุนยักษ์ชนสนั่นชิงที่ดินรถไฟย่านธนบุรี-ศิริราช “BEM” เจ้าพ่อทางด่วน-ระบบราง ร่วมวง เจ้าสัวเจริญ-ซีพี-เซ็นทรัล-เดอะมอลล์ ดีเดย์พ.ค.ขายซองส.ค. ประมูล ปั้นฮับสุขภาพ-ห้าง-โรงแรม บูมฝั่งธนฯ รับรถไฟฟ้า 3 สาย


บ้านพักพนักงานรถไฟ สถานีธนบุรี 305 ครัวเรือน เนื้อที่ 21 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังถูกแปลงโฉมเป็นมิกซ์ยูส ขนาดใหญ่ ให้เอกชนเช่าระยะยาว 30 ปีโดยประเมินว่า หากก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการปี 2569 มูลค่าแพงระยับเกินกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท เพราะนอกจากใกล้โรงพยาบาลศิริราช แม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว บริเวณดังกล่าว ยังเป็นทำเลทองศักยภาพสถานีจุดตัดรถไฟฟ้า 2 สาย ระหว่างสายสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) และสายสีแดง (ตลิ่งชัน -ศิริราช-ศาลายา) ขณะเดียวกันยังสะดวกสบาย ใกล้สถานีอิสรภาพ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จึงไม่แปลกว่าการ เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี (ครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจอย่างมาก มากถึง 25 ราย ภายหลังจากรฟท. ว่าจ้างบริษัทโมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาศึกษาโครงการ แหล่งข่าวจากบริษัทโมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ฯ ระบุว่า เนื่องจากทำเลใกล้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐอย่างศิริราช และโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ “ธนบุรี” มองว่า เหมาะพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส ศูนย์การค้าชั้นนำ โรงแรม ที่พักอาศัยแนวสูง รองรับกลุ่มรักษ์สุขภาพที่ต้องการฟื้นฟูใกล้สถานพยาบาล ดังกล่าว ที่

เรียกเสียงฮือฮา คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการทางพิเศษ (ทางด่วน) และระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ นอกเหนือไปจาก บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาจำกัด (มหาชน), เดอะมอลล์กรุ๊ป, ทีซีซีกรุ๊ป ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี, บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน)บริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในเครือเจริญโภคภัณฑ์, โรงพยาบาลปิยะเวช, โรงพยาบาลธนบุรี บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ของนายแพทย์ บุญ วนาสิน โรงพยาบาลศิริราช, บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

นายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี ว่า ที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากภาคเอกชน ทั้งในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจทางการแพทย์ ธุรกิจด้านสุขภาพ และกลุ่มผู้สูงวัย เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน รฟท.ได้ดำเนินการให้บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็น และปรับปรุงรายงานผลการศึกษา คาดว่าจะเสนอให้รฟท. พิจารณาในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 จากนั้น รฟท.จะประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคาต่อไป ส่องแผนพัฒนาที่ดิน “สถานีธนบุรี”

ส่องแผนพัฒนาที่ดิน “สถานีธนบุรี”

ทั้งนี้คาดว่าจะเปิดจำหน่ายเอกสารการประมูลในเดือน สิงหาคม 2564 และจะให้เวลาเอกชนจัดทำข้อเสนอ 2 เดือน ก่อนเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอเช่าพื้นที่ในเดือน ตุลาคม 2564 ประกาศผลผู้ชนะประมูลเดือน ธันวาคม 2564 และลงนามสัญญาเดือน มกราคม 2565 ซึ่งจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 ปี แล้วเสร็จประมาณปี 2568 และเปิดให้บริการปี 2569สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี มีเนื้อที่โครงการ 21 ไร่ 3 งาน มูลค่าโครงการประมาณ 3,500 ล้านบาท แบ่งเป็น 4 โซนดังนี้

1.พื้นที่โรงแรมและศูนย์การค้าสูง 13 ชั้น
2.ศูนย์พักฟื้นและฟื้นฟูสุขภาพ หรือเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ 1 เปิดบริการในระดับลักชัวรี
3.เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์ 2 และ
4.บ้านพักสำหรับพนักงานรฟท.

นายเอก กล่าวต่อว่า โครงการฯ มีพื้นที่ 21 ไร่ 3 งาน เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 14 ไร่ มีมูลค่าที่ดิน 1,770 ล้านบาท ให้เอกชนเช่า 30 ปี มีผลตอบแทนให้ รฟท. มูลค่า 1,125 ล้านบาท หากลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูล เอกชนต้องจ่ายทันที 337 ล้านบาท หรือประมาณ 30% ของผลตอบแทน จากนั้นจะทยอยจ่ายเป็นรายปีจนครบ 30 ปี โดยจะจ่ายปีละ 47.48 ล้านบาท จากนั้นเพิ่มขึ้น 10% ทุก 3 ปี ปีสุดท้ายจ่าย 196.69 ล้านบาท เมื่อรวม 30 ปี รฟท. จะได้ผลตอบแทนรวม 3,584 ล้านบาท


“สิ่งแรกที่เอกชนต้องดำเนินการหลังจากลงนามสัญญาคือ เร่งดำเนินการเคลียร์พื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานรฟท.ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 305 ครัวเรือน โดยในสัญญากำหนดให้ก่อสร้างบ้านพักสำหรับพนักงานฯ จำนวน 315 ห้อง เพื่อทดแทนบ้านพักเดิมบนพื้นที่ 3 ไร่”ทั้งนี้พื้นที่ย่านสถานีธนบุรี ถือเป็นพื้นที่ที่จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมต่อที่สำคัญของกรุงเทพมหานครอนาคตสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้า 2 สถานี 3 เส้นทาง โดยอยู่ห่างโครงการประมาณ 800 เมตร ได้แก่

สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช,
สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และ
สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมทางด้าน สุขภาพ เป็นศูนย์พักฟื้น พื้นฟูสุขภาพ และยังมีโรงแรมระดับกลาง เพื่อรองรับผู้ป่วยและญาติที่เข้ามาใช้บริการที่โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลธนบุรี อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี เนื้อที่ของโครงการ 21 ไร่ 3 งาน แบ่งออกเป็น 4 โซน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 พื้นที่โรงแรมและศูนย์การค้าสูง 13 ชั้น ขนาดพื้นที่ 40,360 ตารางเมตร (ตร.ม.) ในส่วนของโรงแรมบัดเจด ระดับ 3 ดาว จํานวน 720 ห้อง สําหรับญาติผู้ป่วยพักอาศัยและศูนย์การค้าอํานวยความสะดวกภายในโครงการสามารถรองรับกลุ่มเป้าหมายได้ 8,000-10,000 ต่อวัน โดยมีจํานวนที่จอดรถ 501 คัน

ส่วนที่ 2 ศูนย์พักฟื้นและฟื้นฟูสุขภาพหรือเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ 1 ขนาดพื้นที่ 21,096 ตารางเมตร (ตร.ม.) เปิดบริการในระดับลักชัวรี สําหรับผู้พักฟื้น ต้องการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดที่เข้ามารับบริการจากโรงพยาบาลใกล้เคียงที่ตั้งของโครงการ อาทิ เช่นโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลธนบุรี เป็นต้น และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลที่กล่าวมาข้างต้น จํานวน 280 ห้อง รองรับจํานวนที่จอดรถ 232 คัน

ส่วนที่ 3 เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ 2 ขนาดพื้นที่ 22,108 ตารางเมตร (ตร.ม.) เปิดบริการสําหรับกลุ่มแพทย์และผู้พักฟื้นต้องการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดใน ย่านธนบุรี จํานวน 300 ห้อง รองรับจํานวนที่จอดรถ 235 คัน เบื้องต้นจากการศึกษาโครงการเบื้องต้น พื้นที่เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ทั้ง 2 ส่วนในรูปแบบ 1 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ 33 ตารางเมตร ส่วนรูปแบบ 2 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ 45-50 ตารางเมตร และ

ส่วนที่ 4 บ้านพักสําหรับพนักงานรฟท. ขนาดพื้นที่ 22,108 ตารางเมตร จํานวน 315 ห้อง รูปแบบของที่พักอาศัย 35-50 ตารางเมตรทดแทน บ้านพักแนวราบเดิม พร้อมรองรับที่จอดรถสําหรับพนักงาน 265 คัน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 171, 172, 173 ... 198, 199, 200  Next
Page 172 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©