RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274395
ทั้งหมด:13585691
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 180, 181, 182 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2022 4:00 pm    Post subject: Reply with quote

‘จุติ’เร่งรัดพอช.ช่วยชาวบ้านเมืองย่าโม จ่อชงบอร์ดรฟท.เช่าที่ดินล็อตแรก166ครัวเรือน
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15.39 น.

“จุติ” ประธานพอช.เร่งรัด ช่วยชาวบ้านริมทางเมืองย่าโม 342 ครัวเรือนหาที่อยู่ หลังคนในชุมชนรับผลกระทบโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่-รถไฟเร็วสูง จ่อชงบอร์ดรฟท.ไฟเขียวเช่าที่ดินราคาถูกรองรับล็อตแรก 166 ครัวเรือน


เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในฐานะโฆษกพอช. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงความคิบหน้ากรณีที่มีชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง​ จำนวน​ 8​ ชุมชน​ 342​ ครัวเรือน​ รวมตัวกันเป็น​ "เครือข่ายริมรางเมืองย่าโม" เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยการช่วยเหลือของเครือข่ายสลัม 4 ภาค สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสำนักงานเทศบาลนครราชสีมานั้น​ โดยจะมีการโยกย้ายชุมชนจากที่บริเวณเดิมที่อยู่ในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เนื่องจากกระทบต่อการก่อสร้าง​โครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-นครราชสีมาในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา​ ไปยัง​บริเวณที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยหน้าโรงเรียนวัดพะไล เขตเทศบาลตำบลพะไล อ.เมืองนครราชสีมา​ เนื่อที่ 7 ไร่ เพื่อรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการโยกย้ายระยะแรก จำนวน 166 ครัวเรือน



เรื่องนี้นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวงพม.และนายไมตรี อินทุสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ให้ความสำคัญอย่างมาก จึงได้มอบหมายให้ พอช.ลงพื้นที่ช่วยเหลือเป็นการด่วน โดยขณะนี้ทางชุมชนและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ยื่นเรื่องขอเช่าที่ดินต่อทางการรถไฟแห่งประเทศไทยและได้มีการตั้งคณะทำงานลงตรวจสอบพื้นที่แล้ว และการรถไฟฯได้แจ้งเงื่อนไขสัญญาข้อกำหนดการเช่าที่ดิน​ บริเวณย่านสถานีพะไล​ เมื่อวันที่​ 17​ ม.ค.​ 2565​ แต่เนื่องจาก​ มติ​คณะรัฐมนตรี​ วันที่​ 1​ ก.พ.​ 2565​ ให้นำเรื่องขอเช่าที่ดินของชุมชนเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย​ เพื่อพิจารณาตามหลักการเช่าตามเงือนไขที่คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีมติไว้เมื่อวันที่ ​13 ก.ย.43 โดยมีสัญญาเช่า​ 30​ ปี​ อัตราเช่า​ 20บาท/ตร.ม/ปี เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยต่อไป ทั้งนี้เมื่อไม่นานมานี้นายไมตรี อินทุสุต ประธานบอร์ดพอช.พร้อมคณะลงพื้นที่ไปติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ และเร่งให้มีการดำเนินโดยด่วน

ชง รฟท. เยียวยาผลกระทบรถไฟรางคู่-รถไฟความเร็วสูง ให้ชาวโคราช
หน้าเศรษฐกิจ เศรษฐกิจ​ทั่วไป​
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:00 น.

รมว.กระทรวงพม.และประธานพอช.เร่งรัด เร่งช่วยชาวบ้านริมทางรถไฟจังหวัดนครราชสีมา 342 ครัวเรือนหาที่อยู่ หลังรับผลกระทบโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่-
วันที่ 9 ก.พ.นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในฐานะโฆษกพอช. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงความคิบหน้ากรณีที่มีชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง​ จำนวน​ 8​ ชุมชน​ 342​ ครัวเรือน​


รวมตัวกันเป็น​ "เครือข่ายริมรางเมืองย่าโม" เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยการช่วยเหลือของเครือข่ายสลัม 4 ภาค สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสำนักงานเทศบาลนครราชสีมานั้น​ โดยจะมีการโยกย้ายชุมชนจากที่บริเวณเดิมที่อยู่ในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)



เนื่องจากกระทบต่อการก่อสร้าง​โครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-นครราชสีมาในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา​ ไปยัง​บริเวณที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยหน้าโรงเรียนวัดพะไล เขตเทศบาลตำบลพะไล อ.เมืองนครราชสีมา​ เนื่อที่ 7 ไร่ เพื่อรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการโยกย้ายระยะแรก จำนวน 166 ครัวเรือน

เรื่องนี้นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวงพม.และนายไมตรี อินทุสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ให้ความสำคัญอย่างมาก จึงได้มอบหมายให้ พอช.ลงพื้นที่ช่วยเหลือเป็นการด่วน



โดยขณะนี้ทางชุมชนและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ยื่นเรื่องขอเช่าที่ดินต่อทางการรถไฟแห่งประเทศไทยและได้มีการตั้งคณะทำงานลงตรวจสอบพื้นที่แล้ว และการรถไฟฯได้แจ้งเงื่อนไขสัญญาข้อกำหนดการเช่าที่ดิน​ บริเวณย่านสถานีพะไล​ เมื่อวันที่​ 17​ ม.ค.​ 2565​


แต่เนื่องจาก​ มติ​คณะรัฐมนตรี​ วันที่​ 1​ ก.พ.​ 2565​ ให้นำเรื่องขอเช่าที่ดินของชุมชนเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย​ เพื่อพิจารณาตามหลักการเช่าตามเงือนไขที่คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีมติไว้เมื่อวันที่ ​13 ก.ย.43 โดยมีสัญญาเช่า​ 30​ ปี​ อัตราเช่า​ 20บาท/ตร.ม/ปี เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยต่อไป

ทั้งนี้เมื่อไม่นานมานี้นายไมตรี อินทุสุต ประธานบอร์ดพอช.พร้อมคณะลงพื้นที่ไปติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ และเร่งให้มีการดำเนินการโดยด่วน.



“จุติ” จับมือ พอช.ช่วยชาวบ้านริมทางรถไฟเมืองย่าโม 342 ครัวเรือน
การเมือง
วันพุธ ที่ 09 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 17.52 น.




“จุติ” จับมือ พอช.เร่งรัด ช่วยชาวบ้านริมทางรถไฟเมืองย่าโม 342 ครัวเรือนหาที่อยู่ หลังคนในชุมชนรับผลกระทบโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่-รถไฟเร็วสูง จ่อชงบอร์ด รฟท.ไฟเขียวเข่าที่ดินราคาถูกรองรับล็อตแรก 166 ครัวเรือน
เมื่อวันที่ 9 ก.พ.นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในฐานะโฆษก พอช. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่มีชุมชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง​ จำนวน​ 8​ ชุมชน​ 342​ ครัวเรือน​ รวมตัวกันเป็น​ "เครือข่ายริมรางเมืองย่าโม" เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยการช่วยเหลือของเครือข่ายสลัม 4 ภาค สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และสำนักงานเทศบาลนครราชสีมานั้น​ โดยจะมีการโยกย้ายชุมชนจากที่บริเวณเดิมที่อยู่ในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เนื่องจากกระทบต่อการก่อสร้าง​โครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-นครราชสีมาในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา​ ไปยัง​บริเวณที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยหน้าโรงเรียนวัดพะไล เขตเทศบาลตำบลพะไล อ.เมืองนครราชสีมา​ เนื้อที่ 7 ไร่ เพื่อรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการโยกย้ายระยะแรก จำนวน 166 ครัวเรือน



ทั้งนี้เรื่องนี้นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวง พม.และนายไมตรี อินทุสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ให้ความสำคัญอย่างมาก จึงได้มอบหมายให้ พอช.ลงพื้นที่ช่วยเหลือเป็นการด่วน โดยขณะนี้ทางชุมชนและสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้ยื่นเรื่องขอเช่าที่ดินต่อทางการรถไฟแห่งประเทศไทยและได้มีการตั้งคณะทำงานลงตรวจสอบพื้นที่แล้ว และการรถไฟฯได้แจ้งเงื่อนไขสัญญาข้อกำหนดการเช่าที่ดิน​ บริเวณย่านสถานีพะไล​ เมื่อวันที่​ 17​ ม.ค. 2565​ แต่เนื่องจาก​ มติ​คณะรัฐมนตรี​ วันที่​ 1​ ก.พ.2565​ ให้นำเรื่องขอเช่าที่ดินของชุมชนเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย​ เพื่อพิจารณาตามหลักการเช่าตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีมติไว้เมื่อวันที่ ​13 ก.ย.2543 โดยมีสัญญาเช่า​ 30​ ปี​ อัตราเช่า​ 20บาท/ตร.ม/ปี เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยต่อไป ทั้งนี้เมื่อไม่นานมานี้นายไมตรี อินทุสุต ประธานบอร์ด พอช.พร้อมคณะลงพื้นที่ไปติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ และเร่งให้มีการดำเนินการโดยด่วน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2022 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

พอช. ชู 3 แนวทางสางปมที่อยู่อาศัยริมทางรถไฟคลองแห สงขลา
เผยแพร่: 10 ก.พ. 2565 11:24 ปรับปรุง: 10 ก.พ. 2565 11:24 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

พอช. ชู 3 แนวทางสางปมที่อยู่อาศัยริมทางรถไฟคลองแห อุ้ม1,286 ครอบครัวมีบ้าน นำร่องพัฒนา 220 หลัง พอช.จ่อเวิร์คช็อปกลางเดือนนี้ เปิดโอกาสให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมออกแบบบ้านเต็มที่

วันนี้(10 ก.พ.) นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)ในฐานะโฆษก พอช. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินการรถไฟบริเวณเทศบาลเมืองคลองแห จ.สงขลา มีความคืบหน้าตามลำดับ โดยชาวบ้านที่อยู่อาศัยในที่ดินรถไฟเทศบาลเมืองคลองแห จำนวน 12 ชุมชน 2,562 ครัวเรือน มีผู้ได้รับผลกระทบ 1,286 ครัวเรือน ดังนั้นในปี 2565 นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวง พม.มอบหมายให้ พอช.ดำเนินการสำรวจข้อมูลและร่วมกับคนในชุมชนวางแนวทางพัฒนาชุมชนนำร่องซึ่งมีทั้งขอเช่า รื้อ ปรับและขยับอยู่ในที่ดินเดิม สำหรับชุมชนที่จะดำเนินการนำร่องพัฒนา มีดังนี้

1.ชุมชนคลองควาย จำนวน 50 หลัง อยู่ในรัศมีแนวรถไฟ 15 เมตร2.ชุมชนประชาสรรค์ (ฝั่งทิศตะวันออก) จำนวน 80 หลัง อยู่ในเขตรัศมีแนวรถไฟ 15 เมตร จำนวน 48 หลัง อยู่นอกรัศมี 32 หลัง ซึ่งชุมชนทั้ง 2 ดำเนินการตั้งกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์แล้ว ทั้งนี้ พอช. จะมีการประขุมเชิงปฏิบัติการกลางเดือนก.พ.นี้ เพื่อออกแบบการพัฒนาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในส่วนปี 2565-2566 มีชุมชนที่จะดำเนินการช่วยเหลือ คือ ชุมชนคลองเปล อยู่ในเขตรัศมีแนวรถไฟ 15 เมตร จำนวน 90 หลัง โดยเฉพาะจะมีการหารือชาวบ้านเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน

นอกจากนี้มีชุมนุมที่อยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อวางแผนดำเนินการช่วยเหลือ 7 ชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนสะพานดำ 2.ชุมชนสัจจกุล 3.ชุมชนสำราญสุข 4.ชุมชนบางมวง 5.ชุมชนประชาสรรค์ฝั่งทิศตะวันตก 6.ชุมชนป่ากัน และ7.ชุมชนอนุสรอาจารย์ทอง.

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2022 7:09 pm    Post subject: Reply with quote

รมช.มท.ยันไม่ประวิงเวลา-เป็นไปตามขั้นตอนปมเพิกถอนที่ดินเขากระโดง
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 18.41 น.

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ที่รัฐสภา นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ชี้แจงในการประชุมสภาฯ วาระการอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่ลงมติว่า ตั้งแต่ปี 2544 - 2564 กรมที่ดินมีโฉนดที่ดิน 35 ล้านแปลง เนื้อที่ดินประมาณ 101 ล้านไร่ , โฉนดตราจอง 4.4หมื่นแปลง เนื้อที่ดิน 1.2 แสนไร่ , มีตราจอง 3.5 หมื่นแปลง เนื้อที่ดิน 1.1 แสนไร่ , มี น.ส.3ก. 2.9 ล้านแปลง เนื้อที่ดิน 13 ล้านไร่ , น.ส.3 จำนวน 1 ล้านแปลง เนื้อที่ดิน 9 ล้านไร่ และใบจอง จำนวน 1.5 แสนแปลง เนื้อที่ดิน 1.5 ล้านไร่ รวมทั้งสิ้น 39 ล้านแปลง เนื้อที่ดิน 126 ล้านไร่ กรมที่ดินพยายามกระจายการถือครองที่ดินไปยังส่วนต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนมือบ้าง แต่กรมที่ดินพยายามดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้ประชาชน ส่วนที่อภิปรายคือ กรณีที่ดินเทือกเขาบูโด เดิมประชาชนมีปัญหากับกรมอุทยานฯ เป็นพื้นที่ที่ไม่ชัดเจน แต่หลังจากการแบ่งเขตชัดเจนในส่วนพื้นที่ของรัฐ , ประชาชนครอบครอง กรมที่ดิน ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการยุติศาสตร์ภาคใต้ มีมติ เมื่อปี 2557 เดินสำรวจพื้นที่บูโด-สุไหงปาดี สามารถออกโฉนดให้ประชาชนได้รวมทั้งสิ้น 9.4 หมื่นแปลง รวมเนื้อที่ 1.68 แสนไร่ ทั้งนี้ การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินให้ประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 14 ล้านแปลง เนื้อที่ดิน 70 ล้านไร่ และยังเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินให้ประชาชนต่อเนื่อง รวมถึง 3 จังหวัดพื้นที่ชายแดนภาคใต้

นายนิพนธ์ ยังชี้แจงถึงประเด็นการรถไฟแห่งประเทศไทยขอให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ด้วยว่า กรมที่ดินได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา ปัจจุบันการตรวจสอบที่ดินของการรถไฟ เนื้อที่ 5,083 ไร่ และการเพิกถอนสิทธิที่ดินทุกแปลงที่ออกทับที่ของการรถไฟฯ นั้นกรมที่ดินมีหนังสือเมื่อวันที่ 12 พ.ย.2564 กรมที่ดินได้เชิญการรถไฟฯ ร่วมรังวัดที่ดิน แต่การรถไฟฯ มีหนังสือ 9 ธ.ค.2564 ให้กรมที่ดินเพิกถอนตามแนวแผนที่ที่ใช้อ้างอิงในศาล ทั้งนี้ แผนที่ที่อ้างนั้น ไม่สามารถยืนยันกับการรังวัดได้ และไม่เกี่ยวกับกรมที่ดิน เนื่องจากผูกพันกับคู่ความ
    "กรมที่ดินยืนยันว่า ตามแผนที่ที่ปรากฎนั้น เนื้อที่ที่ดินมี 4,745 ไร่ 1 งานเท่านั้น ขาดอีกกว่า 200 ไร่ ที่การรถไฟฯ ได้แจ้งว่ามีเนื้อที่ดิน 5,083 ไร่ ดังนั้นส่วนต่าง 200 ไร่ต้องได้รับความร่วมมือจากการรถไฟ เพื่อร่วมชี้แนวเขต แต่ขณะนี้ทราบว่า การรถไฟฯ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เมื่อ 23 ธ.ค.2564 เมื่อใช้สิทธิทางศาล แต่กรมที่ดินไม่ได้รับหมาย หรือสำเนาคำฟ้อง หากได้รับแล้วจะทำคำชี้แจงไปศาลปกครอง เชื่อว่าจะนำไปสู่การทำแผนที่ร่วมกัน และทำให้เป็นไปตามขั้นตอนของศาล" นายนิพนธ์ ชี้แจง
ทั้งนี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ได้ใช้สิทธิพาดพิง พร้อมอภิปรายว่า การรถไฟฯ ฟ้องประชาชน จนศาลฏีกาตัดสิน และที่ดินแปลงอื่นๆ อีก 800 โฉนด จึงไปฟ้องที่ศาลปกครอง แทนศาลยุติธรรม ทั้งที่ตัดสินเป็นแนวบรรทัดฐานแล้ว หรือเป็นเพราะต้องฟ้องโดยระบุชื่อในโฉนด เช่น รัฐมนตรีหรือญาติของรัฐมนตรีหรือไม่ ทำให้ฟ้องกับกรมที่ดิน โดยมีคำวินิจฉัยของเขตอำนาจศาลชัดเจนว่าเป็นเขตอำนาจของศาลใด ส่วนกรมที่ดินไม่ยอมเพิกถอนอาจเป็นข้ออ้างที่เป็นมุมมองทางกฎหมายต่างกัน เพราะแนวเขต 4,000 ไร่ถูกพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และเป็นที่ดินทั้งแปลง ไม่ใช่รายโฉนด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2022 7:41 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รมช.มท.ยันไม่ประวิงเวลา-เป็นไปตามขั้นตอนปมเพิกถอนที่ดินเขากระโดง
แนวหน้า
วันพฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 18.41 น.


รฟท.ทำพิลึกฟ้องกรมที่ดิน 700 ล้านออกโฉนดที่ดินเขากระโดง
หน้าการเมือง
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 15:55 น.
ทวี สอดส่อง จับพิรุธ การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดินต่อศาลปกครอง เรียกค่าเสียหายจากการออกโฉนดทับที่รถไฟเขากระโดง 700 ล้านบาท เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่

17 กุมภาพันธ์ 2565 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ อภิปรายเรื่องปัญหาที่ดินของประเทศไทย ซักถามข้อเท็จจริงรัฐบาล กรณีที่ดินการรถไฟฯ โดยยกคำพิพากษาคดีที่ดินการรถไฟเมื่อ 20 เม.ย.64 คำสั่งศาลฎีกา ที่ 2205/2564 คดีการรถไฟฯ ฟ้องเอกชน ที่มีโฉนดอยู่ในพื้นที่ที่ดินเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นเรื่องใหม่ เพราะปรากฎว่า ปี 65 ศาลฎีกา หลังจากจำเลยที่แพ้คดีชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัย ไม่รับฎีกา คดีจึงเป็นที่สิ้นสุดว่าต้องบังคับคดี



การรถไฟฯ ขอหมายศาล ส่งไปยังกรมบังคับคดี เพื่อไปบังคับคดีเจ้าของโฉนดแปลงนี้ ทำให้ตนเองดีใจที่อภิปรายในสภาฯ แล้วศาลฎีกา พิพากษาว่าที่ดินเป็นของการรถไฟ วันที่การรถไฟฯ ฟ้องประชาชน การรถไฟชนะคดี แสดงว่าที่ดินนั้นเป็นของการรถไฟฯ ที่พระราชทานให้ ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปอยู่ได้ ส่วนตัวเห็นการเดินทางมาถึงแสงสว่างปลายอุโมงค์




แต่ปลายเดือน ธ.ค.64 ปรากฎว่า ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้ตัดสินใจไปฟ้องศาลปกครอง ฟ้องกรมที่ดิน ที่เกิดมานานมาก ฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน แทนที่เรื่องเดิมการรถไฟฯ คงเข้าใจว่าศาลยุติธรรม ไม่ยุติธรรมกับรถไฟฯ เพราะฟ้องเพื่อยึดโฉนด เพิกถอนขับไล่ ทั้งที่ศาลยุติธรรมก็ให้ความยุติธรรม ถ้าดูเวลาการฟ้องครั้งหลัง จากปี 61-64 ในช่วงรัฐมนตรี(ศักดิ์สยาม) อยู่ที่นี่ แต่ถึงเวลาทำไมตัดสินใจฟ้องศาลปกครอง



ทั้งนี้ ได้อ่านคำฟ้องศาลปกครอง ปรากฎว่า การรถไฟฯ ยืนยันที่ดินที่เป็นโฉนดของการรถไฟฯ มีไม่ถึง 500 แปลง แต่กรมที่ดินบอกว่ามี 850 แปลง ถ้าผู้ว่าการการรถไฟฯ เป็นคนธรรมดา จะต้องอยู่ไม่ได้ เพราะนี่เป็นความรับผิดชอบ เป็นสาธารณสมบัติของของแผ่นดิน บอกว่าตัวเองมีหลักฐานแค่ 497 แปลง แต่กรมที่ดิน บอกมีหลักฐาน 850 แปลง




การที่รัฐบาลชุดนี้ ตัดสินใจเปลี่ยนศาล จากศาลยุติธรรม มาศาลปกครอง คิดว่าไม่ถูกต้องเพราะเรื่องเดิมศาลยุติธรรม ก็ให้ความยุติธรรม ใช้เวลา 3 ปี มีข้อมูลถึง 850 แปลง เราจะได้เอาแผ่นดินกลับคืนมา เพราะการรถไฟฯ บอกราคาที่ดินดังกล่าวประเมินตารางวาละ 15,000 บาท ขณะที่การรถไฟฯ มีหนี้กู้มาปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท ทำไมไม่ไปฟ้องศาลยุติธรรม แต่ไปศาลปกครอง



เมื่อการรถไฟฯ ตัดสินใจแล้ว่ากรมที่ดิน ไม่ยอมทำตามกฎหมาย เมื่อไป ป.ป.ช.แล้ว ทำไมไม่เอาเรื่องทั้งหมดไปฟ้องศาลยุติธรรม ทำไมไปฟ้องศาลปกครอง ก็มีตัวอย่างแล้ว เพราะอะไร เพราะในที่ดินดังกล่าว รมต.ศักดิ์สยาม ก็ยอมรับว่ามีบ้านอยู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อเราไปดูโฉนดเราก็จะเจอ



ผู้ว่าฯการรถไฟ ไม่กล้าฟ้องเจ้านาย บุญคุณ กับความถูกต้องถึงเวลาเลือกความถูกต้อง ประโยชน์ส่วนตัว กับประโยชน์ส่วนรวม คิดว่าประโยชน์ส่วนรวมที่นายกฯ พูด ต้องมาก่อน ระบบอุปถัมภ์ กับระบบคุณธรรม ระบบคุณธรรมต้องมาก่อน



การตัดสินใจฟ้องกรมที่ดิน แล้วไปเรียกทรัพย์สินให้อธิบดีกรมที่ดิน จ่าย 700 กว่าล้านฟ้อง เงินที่จ่ายกรมที่ดินไม่จ่าย เป็นเงินภาษีของประชาชน เพราะคดีก่อนหน้านั้นที่ไปฟ้องศาลยุติธรรม คนครอบครองที่ดินจะต้องจ่ายเงิน



นี่คือปัญหาของที่ดินประเทศไทย อยู่ที่หน่วย 9 หน่วยที่นายกฯให้ดูแลกฎหมาย ปัญหาทั้งหมดถ้าผู้นำไม่สัตย์ซื่อ ถ้าคนไม่ซื่อสัตย์แข็งแกร่ง หรือคนชั่วที่แข็งแกร่ง แล้วมีผู่นำที่อ่อนแอประเทศไปไม่ได้



กรณีดังกล่าว ถ้าการรถไฟฯ เราเป็นหนี้มากมาย และรถไฟจะเอาสินทรัยพ์มาบริหาร ถ้าเอาแค่ราคาประเมินที่ฟ้อง 700 ล้านเพราะที่ดินไปออกโฉนด 4,000 รวมกว่า 5,000 ไร่ ปีหนึ่งได้หมื่นกว่าล้าน หมื่นกว่าล้านพระราชทานมาเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น อันนี้เข้าหลักประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ส่วนรวม อย่างน้อยนายกฯ ได้ประกาศเป็นคนซื่อสัตย์ นายกฯ ต้องมารักษาการรมว.คมนาคม และยก รมว.กลาโหม ให้นายศักดิ์สยาม เพราะเชื่อว่าทหารมีความเข้มแข็ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/02/2022 5:40 am    Post subject: Reply with quote

นับถอยหลังรื้อ "ชุมชนบุญร่มไทร" บนที่ดินริมรางรถไฟ : คุณเล่า เราขยาย (17 ก.พ. 65)
Feb 17, 2022
Thai PBS


https://www.youtube.com/watch?v=fOWapA8msZw

รถไฟความเร็ว รถไฟเชื่อมเมือง รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน กำลังเป็นความหวังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และกระจายความเป็นเมืองออกไป คุณอาจจะได้มีบ้านอยู่นอก กทม.และสามารถได้เร็วขึ้นสะดวกขึ้น บางเส้นทางอย่างรถไฟเชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เส้นทางนี้มีการคาดการณ์ว่าจะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจราว 650,000 ล้าน

แต่เม็ดเงินนี้เพื่อใครเป็นของใครยังไม่ชัด ส่วนที่ชัดเจนตอนนี้ที่มีชุมชนจำนวนไม่น้อยถูกไล่ออกจากเส้นทางการพัฒนา หนึ่งในนั้นคือ ชุมชนบุญร่มไทร ริมทางรถไฟ เขตราชเทวี ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณนี้มายาวนานราว 30-40 ปี คือชุมชนริมราง 1 ใน 12 ชุมชนที่ได้รับผลกระทบแบบเร่งด่วน จากการเวนคืนที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อก่อสร้างฮับรถไฟความเร็ว ตอนนี้ในชุมชนกำลังนับถอยหลังอีกไม่ถึง 2 เดือน เพราะต้องย้ายออกจากที่เดิมภายในมีนาคมนี้ ตามกำหนดที่การรถไฟฯ ต้องส่งมอบที่ดินให้เอกชนที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการฯ

แต่ดูเหมือนคนที่นี่ยังไร้ทิศทาง ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน เพราะแม้จะมีข้อตกลงทำโครงการบ้านมั่นคงแล้ว แต่ในระหว่างรอการก่อสร้างที่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี พวกเขายังไม่มีพื้นที่รองรับ "เชาว์ เกิดอารีย์" ผู้นำชุมชนบุญร่มไทร เล่าว่า "ยังมีลูกเด็กเล็กแดง มีคนชรา ที่ยังไม่มีที่ไป" ในตอนนี้ก็เลยมีการร่วมกันเรียกร้อง ยื่นข้อเสนอ "บ้านพักชั่วคราว" ที่อยู่ใกล้กับชุมชนเดิม เพื่อจะรักษาอาชีพ ที่เป็นชีวิตและปากท้องของพวกเขา

ระหว่างวันนี้พรุ่งนี้ 17-18 ก.พ. 2565 จะมีการประชุมที่กระทรวงคมนาคม เพื่อพูดคุยใน 3 เรื่องหลักของปัญหาที่ดินการรถไฟฯ คือ การจัดสรรที่ดิน คดีความ และงบประมาณ ซึ่งชาวชุมชนเตรียมเข้าร่วมประชุมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2022 11:39 pm    Post subject: Reply with quote

ทวงคืน“ที่ดินเขากระโดง” ยุติธรรมที่ล่าช้า คือ“อยุติธรรม”
หน้าคอลัมนิสต์
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย...บากบั่น บุญเลิศ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 6:30 น. 971


หนามที่ทิ่มแทงใจคนไทยในกรณีการบุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และมีการออกเอกสารสิทธิ์ไปราว 850 แปลง บริเวณเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เนื้อที่กว่า 5,083 ไร่ ก็โผล่ออกมาให้ประชาชนได้เจ็บใจกับความยุติธรรมที่ล่าช้าจากการทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ และผู้ปฏิบัติหน้าที่ “เล่นบทยื้อเกม” ในการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ออกโดยมิชอบ


ในการอภิปรายรัฐบาลเป็นการทั่วไปโดยไม่ลงมติ เมื่อวันที่ 17 ก.พ.2565 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ อภิปรายพิรุธของการทำหน้าที่ของการรถไฟฯ ชนิดที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของการทำหน้าที่ของรัฐบาล










พ.ต.อ.ทวี ระบุว่า ที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีที่ดินการรถไฟเมื่อ 20 เม.ย.64 ตามคำสั่งศาลฎีกา ที่ 2205/2564 ไปแล้ว แต่ปรากฏเรื่องพิลึกกึกกือขึ้นมาอีกว่า แม้ศาลฎีกา จะตัดสินไปแล้ว เพราะจำเลยคือกลุ่มประชาชนที่บุกรุกแพ้คดีชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา คดีจึงน่าจะเป็นที่สิ้นสุดว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องไปบังคับคดี



แต่เรื่องกลับตาลปัตร เมื่อ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้มอบอำนาจให้ นายวีระชัย ถาวร หรือ นายสืบ ประทุมศิริ หรือ นายเรือนชาย หวัดเพ็ชร หรือ การรถไฟฯ ให้ผู้แทนไปฟ้องกรมที่ดิน อธิบดีกรมที่ดิน ต่อศาลปกครอง เมื่อเดือนธันวาคม 2564








พ.ต.ท.ทวี ระบุว่า อย่างนี้ครับ “การที่ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้ตัดสินใจไปฟ้องศาลปกครอง ต่อกรมที่ดิน ในเรื่องการบุกรุกที่ดิน เมื่อได้อ่านคำฟ้องศาลปกครอง ปรากฏว่า การรถไฟฯ ยืนยันที่ดินที่เป็นโฉนดของการรถไฟฯ มีไม่ถึง 500 แปลง แต่กรมที่ดินบอกว่า มีมากถึง 850 แปลง ถ้าผู้ว่าการการรถไฟฯ เป็นคนธรรมดา จะต้องอยู่ไม่ได้ เพราะนี่เป็นความรับผิดชอบ เป็นสาธารณะสมบัติของของแผ่นดิน กลับบอกว่าตัวเองมีหลักฐานแค่ 497 แปลง แต่กรมที่ดิน บอกมีหลักฐาน 850 แปลง


การที่รัฐบาลชุดนี้ ตัดสินใจเปลี่ยนศาล จากศาลยุติธรรม มาศาลปกครอง คิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะเรื่องเดิมศาลยุติธรรม ให้ความยุติธรรม ใช้เวลา 3 ปี มีข้อมูลถึง 850 แปลง เราจะได้เอาแผ่นดินกลับคืนมา เพราะการรถไฟฯ บอกราคาที่ดินดังกล่าวประเมินตารางวาละ 15,000 บาท ขณะที่การรถไฟฯ มีหนี้กู้มาปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท ทำไมไปฟ้องศาลปกครอง”


ร้ายไปกว่านั้น พ.ต.ท.ทวี ระบุว่า ผู้ว่าฯ การรถไฟ ไม่กล้าฟ้องเจ้านาย บุญคุณ กับความถูกต้อง ถึงเวลาเลือกความถูกต้อง ประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวม ต้องเลือกประโยชน์ส่วนรวม ที่นายกฯ พูด มาว่า ระบบอุปถัมภ์กับระบบคุณธรรมนั้น ระบบคุณธรรมต้องมาก่อนจึงไม่มีความหมาย..ตรงใจประชาชนจริงๆ








เพราะการตัดสินใจฟ้องกรมที่ดิน ของการรถไฟฯ แล้วไปเรียกความเสียหายโดยให้อธิบดีกรมที่ดินจ่ายกว่า 700 ล้านบาท เป็นเงินภาษีของประชาชน


ในฐานะที่ผมติดตามเรื่องนี้มาตลอด ขอสรุปปมปัญหา และคำฟ้องให้ทุกท่านได้เห็นภาพ ดังนี้


คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ รฟท. ได้ทำหนังสือ เลขที่รฟ1/1911/2564 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ ในพื้นที่บริเวณเขากระโดง เพื่อแก้ไขปัญหาและหาข้อยุติ กรณีที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่ประชาชนกว่า 900 ราย ในที่ดินที่เชื่อว่า เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ


แต่กรมที่ดิน ได้มีหนังสือถึงการรถไฟฯ ว่า ไม่สามารถเพิกถอนโฉนดที่ดินในพื้นที่เขากระโดงได้ เนื่องจากการรถไฟฯไม่มีแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง พ.ศ.2464








กรมที่ดินบอกว่า การดำเนินการคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 นั้น กรมที่ดิน ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการกับที่ดิน น.ส.3 ข. เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 13) ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งศาลพิพากษาว่าบางส่วนออกทับที่ดินของการรถไฟตามมาตรา 61 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวนฯ


ส่วนในกรณีการเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งการรถไฟฯแจ้งให้กรมที่ดินตรวจสอบว่า เป็นการออกโฉนดที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น


กรมที่ดินชี้แจงว่า เนื่องจากการรถไฟฯ ไม่สามารถหาแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2464 มาประกอบการพิจารณาได้ “จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีการสำรวจเสร็จแล้ว และมีการสงวนหวงห้ามเข้าไปใช้ประโยชน์ตามตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตต์สร้างรถไฟต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี พ.ศ.2462 กรมที่ดิน จึงไม่สามารถเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลงได้”







กรมที่ดินเสนอแนะการรถไฟฯ ไปว่า ในกรณีที่การรถไฟฯ ไม่มีแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2464 โดยกล่าวอ้างว่า ได้ใช้แผนที่แสดงเขตการรถไฟฯดังกล่าว เป็นเอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่นต่อศาลในการสู้คดีนั้น


หากการรถไฟฯ ยืนยันว่า แผนที่ที่ใช้ในการพิจารณาของศาลดังกล่าว เป็นแผนที่ที่มีความถูกต้อง รฟท.สามารถถ่ายทอดแนวเขตลงในระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ ที่กรมที่ดินจัดส่งให้การรถไฟฯ และรับรองความถูกต้องได้เช่นกัน เพื่อที่กรมที่ดิน จะได้จัดส่งระวางแผนที่ดังกล่าวไปให้จังหวัดบุรีรัมย์ตรวจสอบว่า ที่ดินแปลงใด ต้องดำเนินการเพิกถอนทั้งแปลงหรือบางส่วน....


“ในกรณีที่ รฟท. ไม่สามารถกำหนดแนวเขตลงในระวางแผนที่ได้นั้น ได้แจ้งให้การรถไฟฯ นำหลักฐาน ส.ค.1 เลขที่ 1180 หมู่ที่ 1 ต.ในเมือง ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินในส่วนที่เหลือ 4,605 ไร่ 1 งาน 71.2 ตารางวา ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบคลุมครบตามหลักฐาน ส.ค.1 เลขที่ 1180 ดังกล่าว และเมื่อได้แนวเขตที่ดินที่ชัดเจนกรมที่ดินจะได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป” นี่คือหนังสือของกรมที่ดินที่ดำเนินการตอบโต้กับการรถไฟฯ


แต่การรถไฟฯ กลับไม่ดำเนินการตามนั้น ผู้ว่าการรถไฟฯ กลับทำในสิ่งที่ทุกคนมึนตึ้บ ด้วยการฟ้องศาลปกครองเรียกค่าเสียหายจากกรมที่ดิน...ตะแล่ม ตะแล่ม ตะแล่ม


ในสำนวนการฟ้องศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีคือ การรถไฟฯ มีความประสงค์ขอให้ศาลปกครองพิพากษาบังคับ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองคือ กรมที่ดิน จำเลยที่ 1 อธิบดีกรมที่ดิน จำเลยที่ 2 รวม 5 ประเด็น







ประเด็นแรก ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ตามหนังสือเลขที่ มท 0516.2/3025 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2564 เรื่องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย


ประเด็นที่สอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ตามหนังสือเลขที่ มท 0516.2/3530 ลงวันที่ 27 กันยายน 2564 เรื่องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไท


ประเด็นที่สาม ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำการสอบข้อเท็จจริงในการออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีพื้นที่บริเวณทางแยกเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โดยมิชอบตามหนังสือเลขที่ รฟ.1/1911/2564 เรื่องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา


ประเด็นที่สี่ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันเพิกถอนคำสั่งออกเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี พื้นที่บริเวณทางแยกเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ออกเอกสารโดยมิชอบ ซึ่งเป็นการคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดในพื้นที่ของผู้ฟ้องคดีดังกล่าว และขับไล่ผู้ครอบครองและถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีทั้งหมด


ประเด็นที่ห้า ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี เป็นเงินค่าเสียหายรวม 707,638,320 บาท กับชดใช้ค่าเสียหายอีกเดือนละ 58,969,860 บาท นับถัดจากวันฟ้อง ไปจนกว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะมีคำสั่งเพิกถอนเอกสารสิทธิ์


ตะลึงกันมั่ยครับพี่น้องไทย! ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 พิพากษาให้การรถไฟฯชนะคดีในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงหนึ่ง โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งในคำพิพากษาของศาลฎีการะบุ ว่า “ศาลฎีกาเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่นำเสนอโดยการรถไฟฯ ว่าพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดง ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลาตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 จำนวนเนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ”


แต่การรถไฟฯ ไปฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมที่ดิน การออกโฉนดทับที่รถไฟเขากระโดง 700 ล้านบาท


พ.ต.อ.ทวี อภิปรายว่า เพราะผู้ว่าการรถไฟฯ ไม่กล้าฟ้องรัฐมนตรีคมนาคม ที่มีบ้านในเขตพื้นที่รถไฟฯ ถือเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวม


ประชาชนเราๆ ท่านๆ คิดเห็นกันอย่างไรกันบ้าง....เชิญใช้สติ ปัญญา เป็นอาวุธ กันนะครับ ผมมิบังอาจสรุปการทำหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เลยครับ มันเจ็บและจุกถึงลิ้นปี่ครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2022 9:20 pm    Post subject: Reply with quote


สำรวจชุมชนบุญร่มไทร การต่อสู้ของคนจนเมืองริมทางรถไฟเมื่อถูกขับไล่จากภาครัฐ
https://www.facebook.com/thestandardth/posts/2975927882700084
https://www.youtube.com/watch?v=Cphyxn9qRUI


Last edited by Wisarut on 09/03/2022 9:40 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2022 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

"พอช." ดึงท้องถิ่นสางปมที่อยู่อาศัยในที่ดินรถไฟเมืองเขารูปช้างสงขลา
หน้าธุรกิจ
วันอาทิตย์ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:30 น.

พอช.ไม่ทิ้งขุมชน-คนจน ล่องใต้ดึงท้องถิ่นสางปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินรถไฟเมืองเขารูปช้างสงขลา เร่งพีอาร์ทำความเข้าใจขาวบ้านจ่ายค่าเช่าที่ให้รฟท.เพื่อคงสิทธิมีบ้านอยู่

เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการเดินหน้าแก้ปัญหาผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในที่ดินการรถไฟฯเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เทศบาลเมืองเขารูปช้าง เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายสิทธิที่อยู่อาศัยภาคใต้ และเครือข่ายสอช.



จัดเวทีชี้แจงและแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้างชำระค่าเช่าที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา ที่ศาลาวัดป้อมนอก อ.เมือง จ.สงขลา

ทั้งนี้เนื่องจากตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาเครือข่ายองค์กรชุมชนในจังหวัดสงขลาได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนที่บุกรุกในที่ดินการรถไฟฯในพื้นที่จังหวัดสงขลามาโดยตลอด โดยการเช่าที่ดินการรถไฟฯตามมติคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยในช่วงเดือนกันยายน 2543 ที่ให้ชุมชนที่บุกรุกได้เช่าที่ดิน ผ่านความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน แต่ปรากฎว่าชุมชนยังประสบปัญหามีผู้ไม่เข้าร่วมและไม่ชำระค่าเช่าในบางส่วน



ทั้งนี้นายมณเฑียร อัตถจรรยา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย และคณะ ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมรับฟังว่า ชุมชนในจังหวัดสงขลามีจำนวนกว่า 10 ชุมชนที่ได้รับการเช่าที่ดินไปแล้ว จำเป็นต้องดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)เนื่องจากเป็นสัญญาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งพอช.ได้นำไปทำสัญญาเช่าช่วงกับทางชุมชนแล้ว

"พอช." ดึงท้องถิ่นสางปมที่อยู่อาศัยในที่ดินรถไฟเมืองเขารูปช้างสงขลา


ด้านนางสาวนำพร ศรีสุข ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า หากสมาชิกไม่ชำระค่าเช่าให้ทางชุมชน อาจเป็นเหตุให้เกิดการทำผิดสัญญาเช่ากับการรถไฟฯ และนำไปสู่การยกเลิกสัญญาเช่า ซึ่งจะกระทบต่อความมั่นคงในที่ดินที่อยู่อาศัยได้



ขณะที่นายจักรธร สุริแสง นายกเทศมนตรีเมืองเขารูปช้าง ให้ความเห็นว่า สัญญาเช่าเป็นสิ่งที่ยืนยันเรื่องความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของประชาชน ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เห็นว่าคุณภาพชีวิต และที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยที่ผ่านมาเทศบาลเมืองเขารูปช้าง และ พอช.ได้ดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคงร่วมกันและเห็นรูปธรรมต่าง ๆ มากมาย

อย่างไรก็ตามช่วงท้ายของการหารือทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโดยการประชาสัมพันธ์ และติดตามผู้ไม่ชำระค่าเช่ากับชุมชนให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 มี.ค.65 ซึ่งหากสมาชิกผู้ไม่ชำระไม่มีการดำเนินการใด ๆ หรือไม่มีความประสงค์เช่า จะมีการอาศัยกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านที่ดินต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2022 11:53 pm    Post subject: Reply with quote


แ้ปัญหาที่ดินรถไฟแถวโคราช ที่ทำให้โครงการรถไฟความไวสูงและ ทางคู่ต้องล่าช้าออกไป
https://www.youtube.com/watch?v=INgfus9L8us
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/03/2022 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

พอช.รุดช่วยชุมชนริมทางรถไฟโคราช เจรจารฟท.เช่าที่ดินใกล้เคียง 7 ไร่
หน้าแรก ข่าวทั่วไป
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 13 มี.ค. 2565 เวลา 8:25 น.

พอช.รุดช่วยชุมชนริมทางรถไฟโคราช เจรจารฟท.เช่าที่ดินใกล้เคียง 7 ไร่ ระยะยาว รองรับ 8 ชุมชน ด้านชาวบ้านยันไม่ได้บุกรุก แต่ถากถางบุกเบิกสร้างที่ซุกหัวนอน ชี้เมื่อทางการให้อพยพก็ยินดีไป รอเพียงบอร์ดรฟท.ไฟเขียว

จากกรณีที่มีประชาชนอาศัยอยู่ในชุมชนได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างบนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเหตุให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือเพื่อให้ชาวบ้านมีที่อยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยตั้งเป้าหมายดำเนินการสำรวจชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการบนที่ดิน 1 กลุ่ม 8 ชุมชน 342 ครัวเรือน 9 พื้นที่ในรัศมีที่ได้รับผลกระทบ 20-40 เมตรสองข้างริมทางรถไฟ

ความคืบหน้าเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม น.ส.เฉลิมศรี ระดากูล รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือพอช. กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการเรื่องดังกล่าวว่า เบื้องต้นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพ-นครราชสีมา จำนวนทั้งหมด 8 ชุมชน และจากการสำรวจข้อมูลพบว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบเบื้องต้น 342 ครัวเรือน รวมถึงมีชุมชนและชาวบ้านพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการกับพอช. 166 หลังคาเรือน

ซึ่งนำไปสู่การเจรจากับเจ้าของที่ดิน คือ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยว่าถ้าทางรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องย้ายชาวบ้านทั้ง 8 ชุมชน จะมีแนวทางในการแก้ไขและรองรับชุมชนดังกล่าวอย่างไร

ทั้งนี้ ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะขอใช้ที่ดินของการรถไฟที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มารองรับการแก้ไขปัญหา ซึ่งทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจที่ดินและนำที่ดินที่จะสามารถรองรับชุมชนดังกล่าว

โดยมีที่ดินทั้งหมด 7 ไร่ในเขตเทศบาลตำบลหัวทะเล อย่างไรก็ตามพอช.ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ได้เข้ามาหนุนเสริมให้ชุมชนมีระบบการจัดการเรื่องการออมและการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองด้วย

ด้านนางเยื้อน นาครินทร์ ชาวบ้านชุมชนริมทางรถไฟโคราช กล่าวว่า ทราบว่าจะมีการเวนคืนที่ดินแถวนี้ ชาวบ้านจะอยู่ไม่ได้แล้ว แต่ก่อนบ้านแถบริมทางรถไฟเยอะ2 ข้างทางไม่มีที่ว่าง ส่วนใหญ่คนที่อยู่แถวนี้จะรับจ้างเก็บขยะ ขี่สามล้อ หรือรับจ้างทั่วไปบ้างประมาณ 50 กว่าหลังคาเรือนไม่มีไฟไม่มีน้ำใช้แบตเตอรี่บ้าง จุดเทียนบ้าง น้ำก็ซื้อใช้ เราไม่กลัวว่าจะโดนจับ เพราะเราไม่ได้บุกรุก เราบุกเบิก เราลำบาก เงินทองก็ไม่ค่อยมี แต่เมื่อมีปัญหาก็จำเป็นจะต้องไป

ขณะที่ นายเหมันต์ เปรมในเมือง ชาวบ้านชุมชนริมทางรถไฟโคราช กล่าวว่า ชุมชนแห่งนี้รุ่นพ่อรุ่นแม่รุ่นตารุ่นยายเข้ามาถากถางพื้นที่ การที่บอกว่าบริเวณแถวนี้ใช้คำว่าบุกรุก ตนว่ามันไม่ถูกน่าจะใช้คำว่าบุกเบิกมากกว่า ที่ชาวบ้านอยู่ทุกวันนี้เหมือนหวาดระแวงว่าเจ้าหน้าที่จะมาไล่เมื่อใด เราก็ไปเมื่อนั้น

ชาวบ้านที่อยู่บริเวณนี้ไม่ได้มีสัญญาเช่า มีเจ้าหน้าที่บอกว่าที่อยู่เราได้แน่นอน เหลือแค่บอร์ดรถไฟนำเข้าที่ประชุม และเซ็นอนุมัติ จากนั้นเราก็เช่าที่ได้โดยค่าเช่าที่ตารางเมตรละ 20 บาทระยะเวลาเช่า 30 ปี โดยมี 7 ชุมชนกับอีก 1 กลุ่ม

ได้แก่ ชุมชนเลียบนคร 15 ครัวเรือน ชุมชนประสบสุข 35 ครัวเรือน ชุมชนสองข้างทางรถไฟ 57 ครัวเรือน ชุมชนหลังจวนผู้ว่า 55 ครัวเรือน ชุมชนราชนิกุล 1 จำนวน 27 ครัวเรือน ชุมชนราชนิกุลสามสาม 10 ครัวเรือน ชุมชนเบญจรงค์ 76 ครัวเรือน ชุมชนทุ่งสว่าง-ศาลาลอย 36 ครัวเรือน และชุมชนมหาชัย-อุดมพร 11 ครัวเรือน ทราบว่าที่อยู่ใหม่นั้นการเดินทางไปมาสะดวกจากที่อยู่เดิมย้ายไปเพียง 5 ถึง 6 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 180, 181, 182 ... 198, 199, 200  Next
Page 181 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©