Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13286331
ทั้งหมด:13597655
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 181, 182, 183 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2022 12:53 am    Post subject: Reply with quote

ผู้นำชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน ร้องผลกระทบถูกไล่ที่ 31 มี.ค.นี้
หน้าข่าวอาชญากรรม
วันอังคาร ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2565


ผู้นำชุมชนบุญร่มไทร ริมทางรถไฟมักกะสัน ร้องผลกระทบถูกการรถไฟฟ้องร้องไล่ที่ เดือดร้อนกว่า 135 หลังคาเรือนต่อสู้มาตลอด 2 ปี จนถูกหมายศาลฟ้องให้ออกจากพื้นที่ 31 มีนาคมนี้ วอนหาที่พักชั่วคราวรอการสร้างที่อยู่ใหม่ อย่าประวิงเวลา ชี้เป็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม


ชุมชนบุญร่มไทร หนึ่งในชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน กำลังประสบปัญหาถูกการรถไฟฟ้องร้อง และไล่ที่ จนไม่มีที่อยู่อาศัย ร่วมไปถึงที่อยู่ใหม่ ซึ่งมีกำหนดว่าต้องเริ่มก่อสร้างกลับไม่มีวี่แวว หรือเตรียมการก่อสร้างแต่อย่างใด



นายเชาว์ เกิดอารีย์ ผู้นำชุมชนบุญร่มไทร เปิดเผยว่า ตอนนี้ชาวบ้านในพื้นที่ริมทางรถไฟ ได้รับผลกระทบจากการฟ้องร้องไล่ที่ ของการรถไฟอย่างมาก โดยเมื่อปี 2563 การรถไฟได้ลงมาสำรวจพื้นที่ริมทางรถไฟ และแจ้งให้กับชาวบ้านว่าจะมีการพัฒนาริมทางรถไฟ ให้เป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ3สนามบิน หรือEEC และโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ คอมเพล็กซ์ยักษ์ขนาดความสูง 120 ชั้น 550 เมตรบนพื้นที่ 140 ไร่ เป็นแลนด์มาร์คใหม่ของคนกรุงและเป็นเมืองรถไฟความเร็วสูงซึ่งเชื่อมต่อการพัฒนาโครงการ EEC

นายเชาว์ เกิดอารีย์ ผู้นำชุมชนบุญร่มไทร ระบุ ตอนนี้ชาวบ้านริมทางรถไฟกำลังเดือดร้อนมาก หลังถูกการรถไฟฟ้องร้องไล่ที่
นายเชาว์ เกิดอารีย์ ผู้นำชุมชนบุญร่มไทร ระบุ ตอนนี้ชาวบ้านริมทางรถไฟกำลังเดือดร้อนมาก หลังถูกการรถไฟฟ้องร้องไล่ที่

“ตอนนั้นเจ้าหน้าที่แจ้งว่าชาวบ้านจะต้องย้ายออก โดยจะมีค่าชดเชยให้ให้ทุกคนส่งสำเนาบัตรประชาชน และเซ็นต์เอกสาร แต่ต่อมาปรากฎว่าบุคคลที่เซ็นต์เอกสารกลับถูกฟ้องร้องข้อหาบุกรุก จนต้องขึ้นศาล ชาวบ้านบางคนทนไม่ไหวกลัวความผิด และถูกดำเนินคดีก็ตัดสินใจย้ายออก บางคนถูกบีบ ถูกบังคับจ่ายค่าเช่าย้อนหลัง หลายคนไม่มีเงินต้องยอมคดีในชั้นศาล แต่ก็มีอีกหลายคนเดินหน้ายื่นของเรียกร้องต่อ ตอนนี้ผู้ที่เดือดร้อนประมาณ135หลังคาเรือน เฉพาะชุมชนบุญร่มไทร และใกล้เคียง3-4ชุมชุม ยังไม่รวม อีก11ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้”



นายเชาว์ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเรียกร้องของชาวบ้านในชุมชนตอนนี้เราไม่ได้ต้องการที่จะอยู่ในจุดเดิม ไม่ได้ต้องการเงิน เราแค่ต้องการที่อยู่ ที่ซุกหัวนอน เนื่องจากตามหมายศาลฟ้องไร่ที่ชาวบ้านต้องออกภายในวันที่ 31 มี.ค.นี้ ซึ่งตลอดระยะเวลา2ปี ที่ชาวบ้านต่อสู้มา ได้มีมติ ครม. แก้ไขปัญหานี้ คือให้ทางการรถไฟจัดสรรที่อยู่ให้ชาวบ้าน และให้การเคหะเช้ามาช่วยดูแลเรื่องปลูกสร้างอาคารที่พักอาศัย โดยชาวบ้านทำการเช่าซื้อ และจ่ายค่าเช่าที่ดินเอง ซึ่งชาวบ้านยินยอมที่จะย้ายออกไปอยู่ที่ใหม่ และทางการรถไฟก็ได้จัดสรรที่ให้บริเวณใกล้ชุมชนหมอเหล็ง



นายเชาว์ บอกอีกว่า ในขณะที่ชาวบ้านกำลังย้ายออกตามผลบังคับของกฎหมาย แต่โครงการที่อยู่ใหม่ยังไม่ได้เริ่ม เพราะการรถไฟยังไม่ส่งมอบที่ให้การเคหะในการสร้างที่พักอาศัย ชาวบ้านยินดีจะย้ายออกหากการรถไฟ หาที่พักชั่วคราวให้ในระหว่างรอที่พักใหม่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้รับคำตอบอะไรจากการรถไฟ ชาวบ้านจะไปต่อก็ไปไม่ได้ จะอยู่ก็อยู่ไม่ได้ ในที่ประชุมรับปากว่าจะช่วยเรา แต่การกระทำมันตรงกันข้าม



“การย้ายที่อยู่สำหรับคนๆหนึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่าย เหมือนการนับศูนย์เริ่มต้มใหม่ เพราะเราต้องไปอยู่ เรียนรู้พื้นที่ใหม่ หาอาชีพใหม่ ที่ไม่มีอะไรแน่นอนเลยสักอย่าง ไม่รู้ว่าจะดำรงชีวิตอย่างไร วันนี้จะมีรายได้มาเลี้ยงครอบครัวไหม แค่ความแน่นอนในที่ซุกหัวนอนของพวกเรา ยังถูกดึงกันไปดึงกันมา จะให้เราย้ายออกจากที่เดิมโดยไม่มีจุดหมายพวกเราจะไปอยู่ที่ไหน นั้นคือสาเหตุที่หลายครั้งการรถไฟหาที่อยู่ใหม่ให้ชาวบ้านแต่ไม่ประสบความสำเร็จ”




อย่างไรก็ตามครั้งนี้ชาวบ้านยอมย้ายออก แต่ขอที่อยู่ชั่วคราวแต่ก็ยังไม่มีความแน่นนอน ที่อยู่ที่สร้างแบบถาวรก็ยังไม่เริ่มโครงการ หลายคนอาจจะตีตรา หรือตราหน้าว่าเราต้องการได้รับการช่วยเหลือ ค่าเยียวยาต่างๆ ถึงได้ไม่ยอมย้ายออก แต่อยากจะบอกว่า จริงๆเราก็อยากอยู่แบบถูกต้องตามกฎหมาย อยากเช่าที่การรถไฟได้ เพราะพื้นที่ 497กว่าไร่ ชาวบ้านขอเช่าแค่2-3เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ5-6ไร่ เพื่อทำที่อยู่อาศัย การรถไฟกลับไม่ให้เช่า แต่ทำไมบริษัทใหญ่ ๆแค่ยื่นเอกสารขอเช่าก็ได้รับการอนุมัติซึ่งมันหมายถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างแท้จริง



นายเชาว์ บอกอีกว่า เรื่องนี้มีหลายคนตั้งข้อสงสัย หลายกรณีที่การรถไฟไล่ฟ้องในคดีบุกรุกพื้นที่ ถ้าเป็นชาวบ้านทั่วไป จะมีการฟ้องส่วนบุคคล เป็นรายชื่อของชาวบ้านรายนั้นๆ ชาวบ้านที่กลัวถูกดำเนินคดีก็ยอมความ บางคนแพ้ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าทนาย แต่ถ้าเป็นการฟ้องไล่ที่ กับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ การรถไฟจะใช้วิธีการฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไมาตรงไปยังบุคคลที่รุกที่



ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน กำลังประสบปัญหาถูกการรถไฟฟ้องร้อง และไล่ที่ จนไม่มีที่อยู่อาศัย

“หากฝ่ายถูกฟ้องแพ้คดีก็ต้องนำเงินของหน่วยงาน ซึ่งเป็นภาษีประชาชนมาจ่ายชดใช้ให้กับการรถไฟ โดยที่ผู้รุกที่จริงกลับได้รับผลกระทบน้อยมาก จึงเป็นที่ถกเถียงกัน สิ่งที่เห็นได้ชัดถึงความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย และการเลือกปฏิบัติของหน่วยงานที่บริหารทรัพยากรของแผ่นดิน”

รฟท.ยันแก้ปัญหาผู้บุกรุกย่านมักกะสัน เวนคืนตามกฎหมายเคลียร์พื้นที่สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20:40 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20:40 น.


รฟท. เคลียร์ประเด็น การบุกรุกพื้นที่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ยันกระบวนการเวนคืนตามกฎหมาย พร้อมร่วมมือการเคหะฯ จัดหาที่อยู่อาศัยให้ชุมชนย่านมักกะสัน

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการดำเนินคดีกับชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสันเพื่อเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาในการส่งมอบพื้นที่โครงการฯ เพื่อให้เอกชนสามารถเข้าดำเนินการก่อสร้างได้ตามสัญญา โดยในกระบวนการของการเวนคืนได้มีการกำหนดระยะเวลาในการเจรจาและการเข้าพื้นที่ ซึ่งหากผู้อยู่อาศัยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การรถไฟฯ จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ทันกำหนดเวลา ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงการฯ และภาพรวมทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกพื้นที่ การรถไฟฯ ไม่ได้มุ่งดำเนินการโดยยึดหลักทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน จึงได้มีการจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยรองรับประชาชนที่ต้องย้ายออก เพื่อเป็นการดูแลบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ ควบคู่กัน โดยการรถไฟฯ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ จัดหาพื้นที่รองรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ บริเวณริมบึงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

โดยจัดทำเป็นโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบฯ เป็นอาคาร 8 ชั้น จำนวน 3 อาคาร รองรับ 315 ครัวเรือน โดยจะให้ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบเช่าในระยะยาว (มากกว่า 30 ปี) ในอัตราค่าเช่า 3,000 บาท/ห้อง/เดือน สำหรับห้องขนาด 28.5 ตารางเมตร (1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ) และประมาณ 4,000 บาท/ห้อง/เดือน สำหรับห้องขนาด 34.6 ตารางเมตร (2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ) ซึ่งมีชุมชนฯ สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยนี้ เป็นจำนวนประมาณ 290 ครัวเรือน โดยในพื้นที่โครงการจะมีพื้นที่สำหรับศูนย์ดูแลเด็ก ศูนย์สุขภาพ ห้องประชุมสำหรับชุมชน พื้นที่สำหรับเก็บรถเข็น ตลาดชุมชน และพื้นที่ส่วนกลางสำหรับประกอบปรุงอาหาร และซักล้าง ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของชุมชนตามที่ได้มีการสอบถามถึงความต้องการและพัฒนาร่วมกัน

การรถไฟฯยืนยันว่า การดำเนินการต่างๆ นี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชนโดยรวม และการรถไฟฯ มิได้เพิกเฉยต่อชุมชนที่เคยอยู่อาศัย แม้จะไม่ถูกกฎหมายก็ตาม แต่การรถไฟฯ ก็ได้ดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยให้ โดยใช้แนวคิดในเชิงบูรณาการพัฒนาทั้งด้านที่อยู่อาศัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนโดยให้การเคหะแห่งชาติที่มีประสบการณ์ในการจัดการด้านที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตมาร่วมกันดำเนินการอย่างมืออาชีพอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2022 11:24 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.ยันแก้ปัญหาผู้บุกรุกย่านมักกะสัน เวนคืนตามกฎหมายเคลียร์พื้นที่สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
เผยแพร่: 15 มี.ค. 2565 20:40
ปรับปรุง: 15 มี.ค. 2565 20:40
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ดูนี่ก็ได้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=Uwl_EY4vvlo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2022 7:45 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.ยันแก้ปัญหาผู้บุกรุกย่านมักกะสัน เวนคืนตามกฎหมายเคลียร์พื้นที่สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
เผยแพร่: 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20:40 น.
ปรับปรุง: 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20:40 น.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เคลียร์! ‘การรถไฟฯ’ จัดหาอาคารเช่า 8 ชั้น รองรับผู้ได้รับผลกระทบจากไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เผยสนใจแล้ว 290 ครัวเรือน
วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565

“การรถไฟฯ” เคลียร์ปมบุกรุกพื้นที่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ลุยจัดหาที่อยู่อาศัยอาคาร 8 ชั้นให้ชุมชนย่านมักกะสัน เผยสนใจแล้วกว่า 290 ครัวเรือน ยันไม่ได้เพิกเฉยแม้ผิด กม. ลั่นเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวม
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการดำเนินคดีกับชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน เพื่อเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนผู้ลงทุน ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาในการส่งมอบพื้นที่โครงการฯ เพื่อให้เอกชนสามารถเข้าดำเนินการก่อสร้างได้ตามสัญญา



ในกระบวนการของการเวนคืนที่ดิน ได้มีการกำหนดระยะเวลาในการเจรจาและการเข้าพื้นที่ ซึ่งหากผู้อยู่อาศัยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การรถไฟฯ จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ทันกำหนดเวลา ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงการฯ และภาพรวมทั้งหมด

ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกพื้นที่ การรถไฟฯ ไม่ได้มุ่งดำเนินการโดยยึดหลักทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน จึงได้มีการจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยรองรับประชาชนที่ต้องย้ายออก เพื่อเป็นการดูแลบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ ควบคู่กัน



โดยการรถไฟฯ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ จัดหาพื้นที่รองรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ บริเวณริมบึงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยจัดทำเป็นโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบฯ เป็นอาคาร 8 ชั้น จำนวน 3 อาคาร รองรับ 315 ครัวเรือน

ทั้งนี้ จะให้ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบเช่าในระยะยาว (มากกว่า 30 ปี) ในอัตราค่าเช่า 3,000 บาท/ห้อง/เดือน สำหรับห้องขนาด 28.5 ตารางเมตร (1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ) และประมาณ 4,000 บาท/ห้อง/เดือน สำหรับห้องขนาด 34.6 ตารางเมตร (2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ) ซึ่งมีชุมชนฯ สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยนี้ เป็นจำนวนประมาณ 290 ครัวเรือน



สำหรับในพื้นที่โครงการฯ จะมีพื้นที่สำหรับศูนย์ดูแลเด็ก ศูนย์สุขภาพ ห้องประชุมสำหรับชุมชน พื้นที่สำหรับเก็บรถเข็น ตลาดชุมชน และพื้นที่ส่วนกลางสำหรับประกอบปรุงอาหาร และซักล้าง ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของชุมชนตามที่ได้มีการสอบถามถึงความต้องการและพัฒนาร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ ยืนยันว่า ไม่ได้เพิกเฉยต่อชุมชนที่เคยอยู่อาศัย แม้จะไม่ถูกกฎหมายก็ตาม โดยการดำเนินการต่างๆ นั้น เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนโดยรวม ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้ดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยให้ โดยใช้แนวคิดในเชิงบูรณาการพัฒนาทั้งด้านที่อยู่อาศัย และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนโดยให้การเคหะแห่งชาติที่มีประสบการณ์ในการจัดการด้านที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตมาร่วมกันดำเนินการอย่างมืออาชีพอีกด้วย
https://www.facebook.com/transportjournalnews/posts/4948275715264674
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44805
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/03/2022 7:29 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. เปิดขุมทรัพย์ที่ดิน 3.8 หมื่นไร่ 3 แสนล้าน จ่อเปิดประมูลเช่าระยะยาว
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 23 มีนาคม 2565 - 12:00 น.

การรถไฟฯ ผุดเอสอาร์ที แอสเสท บริหารทรัพย์สิน-พัฒนาที่ดินรอบสถานี จ่อประมูลเช่าที่ดิน 3.8 หมื่นไร่ มูลค่า 3 แสนล้านบาท สร้างรายได้เข้าการรถไฟฯ

วันที่ 23 มีนาคม 2565 รายงานข่าวจาก บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา คือ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เพื่อบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเดินรถ และพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนที่ได้รับมอบหมาย ตามแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย

เบื้องต้นพื้นที่ว่างของ รฟท. มีจำนวนกว่า 38,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่าราว 300,000 ล้านบาท สามารถต่อยอดพัฒนาเชิงธุรกิจเพื่อนำรายได้จากบริษัทมาลดภาระหนี้สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้

ทั้งนี้ บริษัทจะนำแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) นโยบายการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ โดใช้ ‘สถานีรถไฟ’ เป็นศูนย์กลางควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน (Mixed Use) จัดสรรให้มีทั้งพื้นที่อยู่อาศัย ร้านค้า สำนักงาน และพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งบริการพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในแต่ละพื้นที่จะศึกษาแนวทางให้เกิดความเหมาะสมที่จะพัฒนาไปในด้านใด โดยบางพื้นที่อาจมีความเหมาะสมในการพัฒนาเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ หรือพัฒนาพื้นที่สาธารณะเชิงสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิต ที่อยู่อาศัย และสุขภาวะของประชาชนเป็นหลัก

ตลอดจนเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้พัฒนาประเทศ ดึงดูดเม็ดเงินและผลตอบแทน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนโดยอ้อมอีกทางหนึ่ง

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับที่ดินแปลงสำคัญมีอย่างน้อย 3 แปลงใหญ่ด้วยกัน ได้แก่ 1.ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน 2,325 ไร่ 2.ย่านสถานีมักกะสัน 423 ไร่ (ส่วนที่เหลือนอกโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน) และ 3.ย่านสถานีแม่น้ำ 277 ไร่

ส่วนที่ดินผืนงามในต่างจังหวัด แบ่งเป็น “ภาคเหนือ” เช่น ย่านสถานีพิษณุโลก 31 ไร่, ย่านสถานีอุตรดิตถ์ 30 ไร่, ย่านสถานีนครลำปาง 24 ไร่, ย่านสถานีเชียงใหม่ 50 ไร่, ย่านสถานีนครสวรรค์ 92 ไร่ “ภาคใต้” ย่านสถานีหาดใหญ่ 30 ไร่ “อีสาน” ที่ย่านสถานีขอนแก่น 108 ไร่ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44805
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/03/2022 5:27 am    Post subject: Reply with quote

'รฟท.'เตรียมประมูล5.88ไร่แนวรถไฟบางซื่อ-คลองตัน
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Friday, March 25, 2022 04:19

ลุ้นผังเมือง กทม. พัฒนาเชิงพาณิชย์

กรุงเทพธุรกิจ "ร.ฟ.ท." เฟ้นที่ดินหารายได้เชิงพาณิชย์ ดึงย่านใจกลางเมือง ถ.เทิดพระเกียรติ รวม 5.88 ไร่ เปิดประมูลเช่า 30 ปี คาดเอกชนสน แห่ยื่นข้อเสนอ 21 เม.ย.นี้

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ตามนโยบายของ ร.ฟ.ท.ยังคง มอบหมายให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินเดินหน้าหารายได้จากการบริหาร พื้นที่ ทั้งบริเวณแนวทางรถไฟ สถานีรถไฟ ตลอดจนพื้นที่ภายในสถานีรถไฟ ซึ่งดำเนินงานควบคู่ไปกับการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการต่างๆ ของบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด

โดยล่าสุด ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเชิญชวนเอกชนเสนอค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ พร้อมโครงการพัฒนา ที่ดิน 9.4 พันตารางเมตร หรือราว 5.88 ไร่ บริเวณแนวทางรถไฟ สายบางซื่อ-คลองตัน (ริม ถ.เทอดพระเกียรติ)

อย่างไรก็ดี พื้นที่บริเวณนี้เป็น ส่วนหนึ่งของแผนใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยปัจจุบัน ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขอแก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้ บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ที่ดินแปลงนี้สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้

ดังนั้น ในระหว่างรอผลการพิจารณาดังกล่าว เอกชนผู้ชนะ การประมูลสามารถเข้าพื้นที่เพื่อ เตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

"พื้นที่ริม ถ.เทิดพระเกียรติส่วนนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา ปรับแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ แต่การรถไฟฯ เล็งเห็นว่าสามารถดำเนินการเชิญชวน เอกชนเพื่อเตรียมพร้อมพัฒนาพื้นที่ ได้ จึงเริ่มดำเนินการ แต่ภายใน 5 ปี หากไม่ได้รับการพิจารณาแก้ไข กฎกระทรวง สิทธิในการเข้าพัฒนาพื้นที่ส่วนนี้ก็จะถูกยกเลิก ซึ่งมี เงื่อนไขกำหนดไว้ในเอกสารเชิญชวน แล้ว" สำหรับเงื่อนไขการเช่าพื้นที่ บริเวณแนวทางรถไฟสายบางซื่อคลองตัน (ริม ถ.เทอดพระเกียรติ) ร.ฟ.ท.กำหนดคิดค่าใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นรายปีในอัตราตารางเมตรละ 172.24 บาทต่อปี เป็นเงินค่าเช่าปีแรกไม่น้อยกว่า 1,619,056 บาท มีอัตราเพิ่ม 5% ทุกปี จากอัตราค่าเช่าที่เสนอ (ไม่รวมภาษีฯ) โดยมีสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้าง 4 ปี และสัญญาเช่าเพื่อหาประโยชน์ 30 ปี

ทั้งนี้ เมื่อได้แก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ให้ที่ดินแปลงนี้สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว ร.ฟ.ท.จะแจ้งให้ ผู้ได้รับสิทธิเช่าพื้นที่ทราบเพื่อจัดทำสัญญา ซึ่งภายหลังมีการแก้ไข กฎกระทรวงดังกล่าว ผู้ได้รับสิทธิ เช่าจะต้องส่งแบบแปลนก่อสร้าง ส่วนแรกให้ ร.ฟ.ท.พิจารณาภายใน 1 ปี นับจากวันที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา อีกทั้งผู้ได้รับสิทธิเช่าจะต้องดำเนินการตามกรอบระยะเวลาการปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี โดย ร.ฟ.ท.จะคิดค่าเช่าแบ่งเป็น ปีที่ 1 ปลอดค่าเช่า ปีที่ 2 คิดค่าเช่า 25% ของค่าเช่าที่ดินเพื่อจัดหาประโยชน์ปีแรกที่เสนอเป็นเงินไม่น้อยกว่า 404,764 บาท

ปีที่ 3 คิดค่าเช่า 50% ของค่าเช่าที่ดินเพื่อจัดประโยชน์ปีแรกที่เสนอเป็นเงินไม่น้อยกว่า 809,528 บาท และปีที่ 4 คิดค่าเช่า 75% ของค่าเช่าที่ดินเพื่อจัดประโยชน์ปีแรกที่เสนอเป็นเงินไม่น้อยกว่า 1,214,292 บาท

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า โครงการพัฒนาที่เอกชนจะต้องเสนอนั้น ต้องเป็นการก่อสร้างอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 6,000 ตารางเมตร มูลค่าอาคารต้องไม่น้อยกว่า 48 ล้านบาท พร้อมพื้นที่จอดรถ และระบบสาธารณูปโภค เช่น ทางเท้า ถนน และท่อระบายน้ำ ให้เชื่อมต่อกับของเดิมที่มีอยู่ และ เป็นไปตามกฎหมาย โดยขณะนี้ ร.ฟ.ท.มีกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายใน วันที่ 21 เม.ย.นี้ จะประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาที่ผ่านการพิจารณา ด้านเทคนิคในวันที่ 24 พ.ค.2565 และเปิดซองเสนอราคาในวันที่ 27 พ.ค.2565

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 มี.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2022 5:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'รฟท.'เตรียมประมูล5.88ไร่แนวรถไฟบางซื่อ-คลองตัน
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Friday, March 25, 2022 04:19


รฟท.ปลุกถนนเทอดพระเกียรติ 5.88 ไร่ ปั๊มรายได้บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอาทิตย์ ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:47 น.

รฟท.เดินหน้าปั้นถนนเทอดพระเกียรติ 5.88 ไร่ ดึงเอกชนร่วมประมูลเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ริมทางรถไฟ หวังโกยรายได้ 30 ปี เปิดเอกชนยื่นข้อเสนอ 21 เม.ย.นี้

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณแนวทางรถไฟสายบางซื่อ - คลองตัน (ริมถนนเทอดพระเกียรติ) ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างเชิญชวนเอกชน เสนอค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ พร้อมโครงการพัฒนาที่ดินดังกล่าว จำนวน 9.4 พันตารางเมตร หรือราว 5.88 ไร่ ขณะนี้ รฟท.ได้เปิดขายเอกสารประกวดราคาแล้ว และมีกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 21 เม.ย.นี้ โดยจะประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาที่ผ่านการพิจารณาด้านเทคนิคในวันที่ 24 พ.ค.2565 และเปิดซองเสนอราคาในวันที่ 27 พ.ค. 2565

ขณะเดียวกันพื้นที่บริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอแก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ที่ดินแปลงนี้สารารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ ดังนั้นในระหว่างรอผลการพิจารณาดังกล่าว เอกชนผู้ชนะการประมูลสามารถเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ


รายงานข่าวจาก รฟท. กล่าวต่อว่า พื้นที่ริมถนนเทิดพระเกียรติส่วนนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาปรับแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ แต่การรถไฟฯ เล็งเห็นว่าสามารถดำเนินการเชิญชวนเอกชนเพื่อเตรียมพร้อมพัฒนาพื้นที่ได้ จึงเริ่มดำเนินการ แต่ภายใน 5 ปี หากไม่ได้รับการพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวง สิทธิในการเข้าพัฒนาพื้นที่ส่วนนี้ก็จะถูกยกเลิก ซึ่งมีเงื่อนไขกำหนดไว้ในเอกสารเชิญชวนแล้ว ทั้งนี้เมื่อได้มีการแก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ให้ที่ดินแปลงนี้สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชน์ได้แล้ว รฟท.จะแจ้งให้ผู้ได้รับสิทธิเช่าพื้นที่ทราบเพื่อจัดทำสัญญา ซึ่งภายหลังมีการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว ผู้ได้รับสิทธิเช่าจะต้องส่งแบบแปลนก่อสร้างส่วนแรกให้ รฟท.พิจารณาภายใน 1 ปี นับจากวันที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา

สำหรับเงื่อนไขการเช่าพื้นที่บริเวณแนวทางรถไฟสายบางซื่อ - คลองตัน (ริมถนนเทอดพระเกียรติ) รฟท.กำหนดคิดค่าใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป็นรายปีในอัตราตารางเมตรละ 172.24 บาทต่อปี เป็นเงินค่าเช่าปีแรกไม่น้อยกว่า 1,619,056 บาท มีอัตราเพิ่ม 5% ทุกปี จากอัตราค่าเช่าที่เสนอ (ไม่รวมภาษีฯ) โดยมีสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้าง 4 ปี และสัญญาเช่าเพื่อหาประโยชน์ 30 ปี

ทั้งนี้ผู้ได้รับสิทธิเช่าจะต้องดำเนินการตามกรอบระยะเวลาการปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี โดย รฟท.จะคิดค่าเช่า แบ่งเป็น ปีที่ 1 ปลอดค่าเช่า ปีที่ 2 คิดค่าเช่า 25% ของค่าเช่าที่ดินเพื่อจัดหาประโยชน์ปีแรกที่เสนอเป็นเงินไม่น้อยกว่า 404,764 บาท ปีที่ 3 คิดค่าเช่า 50% ของค่าเช่าที่ดินเพื่อจัดประโยชน์ปีแรกที่เสนอเป็นเงินไม่น้อยกว่า 809,528 บาท และปีที่ 4 คิดค่าเช่า 75% ของค่าเช่าที่ดินเพื่อจัดประโยชน์ปีแรกที่เสนอเป็นเงินไม่น้อยกว่า 1,214,292 บาท

ที่ผ่านมาตามนโยบายของ รฟท.ที่มอบหมายให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินเดินหน้าหารายได้จากการบริหารพื้นที่ทั้งบริเวณแนวทางรถไฟ สถานีรถไฟ ตลอดจนพื้นที่ภายในสถานีรถไฟ ซึ่งดำเนินงานควบคู่ไปกับการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการต่างๆ ของบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2022 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

สหภาพฯ รฟท.ร้อง ”ธปท.-ก.ล.ต.” สอบ 6 แบงก์รับจำนองโฉนดออกทับที่ดินรถไฟ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09:59 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09:59 น.



สหภาพฯรฟท.-แนวร่วมประชาชน ยื่น”ธปท.และก.ล.ต.ตรวจสอบธนาคารที่รับจำนอง ”โฉนดที่ดิน”ที่ออกทับที่ดินการรถไฟเขากระโดง

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 สหภาพการแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) พร้อมด้วยนายสกลชัย ลิมป์สีสวรรค ทนายความอาสา แนวร่วมประชาชน ได้เข้ายื่นหนังสือ ประธานกรรมการ / กรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอให้ตรวจสอบและชี้แจงความโปร่งใสของธนาคาร ที่มีการนำโฉนดที่ดินที่ออกโฉนดทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) มาจดจำนองค้ำประกันสินเชื่อทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลกับธนาคารทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นจำนวนมาก

พร้อมแนบสำเนา 1.คำพิพากษาศาลฎีกา จำนวน 2 ฉบับ2.สำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำนวน 1 ฉบับ 3.สำเนาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา 4.มติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 5. สำเนาโฉนดที่ดินที่ธนาคารรับจำนอง 6. แผนที่แสดงแนวเขตที่ดินพิพาท

โดยข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 และพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 13 บัญญํติว่า “ ทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยแห่งประเทศไทยย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี” ที่ดินบริเวณเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมีจำนวนเนื้อที่โดยประมาณ 5,083 ไร่

จากการตรวจสอบพบว่ามีการนำโฉนดที่ดินซึ่งออกโฉนดทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย มาจดจำนองค้ำประกันสินเชื่อทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลกับธนาคารทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพราะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและจะมีผลกระทบต่อธนาคารในภายภาคหน้ากับหลักประกันที่รับจำนอง เนื่องจากหลักประกันที่รับจำนองเป็นสมบัติของแผ่นดินไม่สามารถยึดและไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี จึงเป็นเรื่องที่อาจกระทบต่อธนาคารและมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าผู้ฝากเงิน นักลงทุน กลุ่มธุรกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุน และอาจเกิดความเสียหายต่อประเทศในระยะยาว

จึงจำเป็นที่ต้องขอคำชี้แจงจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้โปรดกรุณาชี้แจงให้ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสาธารณะชนว่ากระทำดังกล่าวของธนาคารเป็นการกระทำผิดกฎหมาย หรือถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ และจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างไร

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในธรรมาภิบาล ความสุจริต โปร่งใส ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า กลุ่มนักลงทุน กลุ่มธุรกิจ และประชาชนโดยรวม

โดย ข้อมูลที่มีการยื่นให้ตรจสอบ พบว่า ธนาคารได้มีการรับจดจำนองในพื้นที่เขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในพื้นที่พิพาทโดยประมาณกว่า 137 ไร่ ได้แก่ 1. ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) รับจำนองหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินรวม 9 โฉนด เนื้อที่ประมาณ 80 ไร่

2.ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รับจำนองหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน รวม 8 โฉนด เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่

3.ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รับจำนองหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน รวม 2 โฉนด เนื้อที่ประมาณ 9 ไร่

X

4. .ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) รับจำนองหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน รวม 3 โฉนดประมาณ 25 ไร่

5.ธนาคาร ออมสิน รับจำนองหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน รวม 5 โฉนด เนื้อที่โดยประมาณ 2 ไร่

6.ธนาคาร อาคารสงเคราะห์ รับจำนองหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน รวม 3 โฉนดประมาณ 1 ไร่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2022 6:42 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

สำรวจชุมชนบุญร่มไทร การต่อสู้ของคนจนเมืองริมทางรถไฟเมื่อถูกขับไล่จากภาครัฐ
https://www.facebook.com/thestandardth/posts/2975927882700084
https://www.youtube.com/watch?v=Cphyxn9qRUI


‘บุกรุก’ หรือ ‘บุกเบิก’ สองคำที่เขียนคล้ายกัน แต่ให้ความหมาย ความรู้สึก และสร้างความเข้าใจได้ห่างไกลคนละโลก
.
ลึกลงในทางรถไฟตรงข้ามแอร์พอร์ตลิงค์พญาไท คือที่อยู่อาศัยของชาวบ้านกว่า 300 ครัวเรือนที่อยู่อาศัยในชุมชนแดงบุหงา, ชุมชนบุญร่มไทร และชุมชนหลังทางหลวง พวกเขาปลูกสร้างบ้านอยู่ริมทางรถไฟ ใช้เสียงหวูดแทนนาฬิกาปลุก และเสียงล้อกระแทกรางแทนเพลงกล่อม
.
นับตั้งแต่ปี 2563 พวกเขาเผชิญกับการขอคืนพื้นที่จาก รฟท. เพื่อหลีกทางให้โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินเข้ามาก่อสร้างและนำการพัฒนาให้ขยายวงกว้างออกไป และวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมาเป็นวันที่ระบุไว้ในหมายศาลให้พวกเขาย้ายออกจากที่อยู่อาศัย ซึ่งถึงแม้ล่าสุดภาครัฐจะตกลงยืดระยะเวลาการไล่รื้อออกไป แต่ดูเหมือนมหากาพย์นี้จะมีฉากจบภาพเดียวคือ ชุมชนริมทางรถไฟทั้งหมดต้องย้ายออกไป
.
ใช่ ทั้งหมดคือไม่ใช่แค่ 3 ชุมชนแห่งนี้ แต่รวมถึงชุมชนริมทางรถไฟอื่นๆ ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางที่โครงการพาดผ่าน รวมถึงบางชุมชนที่ย้ายออกไปแล้วแต่ไม่เป็นข่าว เช่น ชุมชนริมทางรถไฟในจังหวัดชลบุรี
.
The MATTER ลงพื้นที่เพื่อสะท้อนภาพชีวิตที่บางคนอาจมองว่าไม่น่าอภิรมย์และเต็มไปด้วยความขัดแย้ง แต่การพยายามเข้าใจพวกเขาเป็นเรื่องสำคัญเพื่อตั้งคำถามต่อเนื่องไปว่า เมกะโปรเจ็กต์กำลังพาสังคมเราไปทิศทางไหน ระหว่างทางมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และกระบวนการที่ภาครัฐปฏิบัติกับประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยเป็นอย่างไร
https://thematter.co/social/payatai-railway-community-intruder-or-pioneer/171644
https://www.facebook.com/thematterco/posts/3163328700549177
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2022 1:10 am    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติ ลงพื้นที่ลุยชุมชนริมทางรถไฟ เขตวัฒนา พร้อมดันจดทะเบียนเป็นชุมชนให้ได้
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นหาเสียงเขตวัฒนา โดยเริ่มเดินหาเสียง แนะนำตัว และแจกเอกสารแนะนำนโยบาย ชุมชนมาชิม และชุมชนเฉลิมอนุสรณ์ ซึ่งเป็นชุมชนริมทางรถไฟ และได้รับการต้อนรับจากประชาชนเป็นอย่างดี
โดยนายชัชชาติ ระบุว่า กรุงเทพมีชุมชนเล็ก ๆ อยู่ทั่วพื้นที่ หากไม่สังเกตก็จะไม่เห็นชุมชนเหล่านี้ ดังนั้น กทม. ต้องเข้ามาดูแล เพราะบางชุมชนไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นชุมชน ทำให้มีปัญหาที่ดิน ซึ่งต้องแก้ปัญหาตรงนี้ด้วยการผลักดันให้จดทะเบียนเป็นชุมชนให้ได้ และให้สิทธิชุมชนที่แห่งนี้เท่าเทียมชุมชนอื่น รวมถึงผลักดันนโยบายเท่าที่จะทำได้ (5 เม.ย. 65)
https://www.facebook.com/ThaiPBS/posts/10166790153400085
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44805
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/04/2022 7:45 am    Post subject: Reply with quote

ป.ป.ช. ถกกรมที่ดิน เพิกถอนสิทธิที่ดินเขากระโดงล่าช้า อ้างติดที่ดินการรถไฟ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 5 เมษายน 2565 - 21:02 น.

ป.ป.ช. ถก กรมที่ดิน เร่งเพิกถอนสิทธิที่ดินเขากระโดง อ้าง แนวเขตที่ดินของการรถไฟฯ – อาชาแลนด์ ติดปัญหาชี้แนวเขตที่ดินสาธารณะ-เขตเขา เผย รับเรื่องเพิกถอน 54 เรื่อง เสร็จ 21 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 33 เรื่อง

วันที่ 5 เมษายน 2565 นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน ได้ร่วมประชุมหารือเรื่อง “การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.” ระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. กับกรมที่ดิน

โดยมีผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. ประกอบด้วย นายพิเชฐ พุ่มพันธ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายมงคล ศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักไต่สวนคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางสาวจิราพร บุรินทรวานิช ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย นางฐิติวรดา ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต นางสาวปิยะนุช อรัณยกานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มภูมิสารสนเทศ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้เกี่ยวข้อง

พร้อมด้วยผู้บริหารกรมที่ดิน ประกอบด้วย นายเปลี่ยน แก้วฤทธิ์ รองอธิบดีกรมที่ดิน นายสมเกียรติ ถนอมกิตติ รองอธิบดีกรมที่ดิน นางสมบัติ จันทรลาวัณย์ รองอธิบดีกรมที่ดิน นายวาทิน หลำสาคร ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ นางพนิตาวดี ปราชญ์นคร ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่

โดยที่ประชุมได้หารือร่วมกัน เกี่ยวกับปัญหาความล่าช้าในการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. เช่น การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ยังมีปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดินของการรถไฟ ซึ่งกรมที่ดินได้ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยหาแนวทางแก้ไขเพื่อเพิกถอนให้โดยเร็ว

ขณะที่ การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของอาชาแลนด์ จังหวัดชลบุรี ยังมีปัญหาเรื่องผู้มีอำนาจดูแลรักษาที่ดินสาธารณะ ยังไม่สามารถชี้แนวเขตในที่ดินสาธารณะและเขตเขาได้

โดยทางกรมที่ดินรับเรื่องจากสำนักงาน ป.ป.ช. ไว้ดำเนินการเพิกถอน จำนวน 54 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ 21 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 33 เรื่อง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 181, 182, 183 ... 198, 199, 200  Next
Page 182 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©