RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272408
ทั้งหมด:13583704
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 182, 183, 184 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2022 10:50 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชัชชาติ ลงพื้นที่ลุยชุมชนริมทางรถไฟ เขตวัฒนา พร้อมดันจดทะเบียนเป็นชุมชนให้ได้
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นหาเสียงเขตวัฒนา โดยเริ่มเดินหาเสียง แนะนำตัว และแจกเอกสารแนะนำนโยบาย ชุมชนมาชิม และชุมชนเฉลิมอนุสรณ์ ซึ่งเป็นชุมชนริมทางรถไฟ และได้รับการต้อนรับจากประชาชนเป็นอย่างดี
โดยนายชัชชาติ ระบุว่า กรุงเทพมีชุมชนเล็ก ๆ อยู่ทั่วพื้นที่ หากไม่สังเกตก็จะไม่เห็นชุมชนเหล่านี้ ดังนั้น กทม. ต้องเข้ามาดูแล เพราะบางชุมชนไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นชุมชน ทำให้มีปัญหาที่ดิน ซึ่งต้องแก้ปัญหาตรงนี้ด้วยการผลักดันให้จดทะเบียนเป็นชุมชนให้ได้ และให้สิทธิชุมชนที่แห่งนี้เท่าเทียมชุมชนอื่น รวมถึงผลักดันนโยบายเท่าที่จะทำได้ (5 เม.ย. 65)
https://www.facebook.com/ThaiPBS/posts/10166790153400085


กังขาชัชชาติหาเสียง ผลักดันชุมชนริมทางรถไฟบุกรุกหรือไม่ หวั่น กทม.กลับมาเป็นเมืองเน่า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:34 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:34 น.



นักวิชาการอิสระตั้งคำถามถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ผลักดันให้ชาวบ้านริมทางรถไฟจดทะเบียนเป็นชุมชน ถามที่ดินของการรถไฟฯ ใช่ไหม ถ้าใช่ กทม.มีสิทธิ์อะไร ต่อไปใครบุกรุกที่หลวงก็เอาอย่างบ้าง กลับมาเป็นเมืองเน่าเหมือนเดิม

วันนี้ (6 เม.ย.) จากกรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่หาเสียงแนะนำตัว และแจกเอกสารแนะนำนโยบาย ชุมชนมาชิม และชุมชนเฉลิมอนุสรณ์ ซึ่งเป็นชุมชนริมทางรถไฟ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. โดยกล่าวว่า กรุงเทพฯ มีชุมชนเล็กๆ อยู่ทั่วพื้นที่ หากไม่สังเกตก็จะไม่เห็นชุมชนเหล่านี้ ดังนั้น กทม.ต้องเข้ามาดูแล เพราะบางชุมชนไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นชุมชน ทำให้มีปัญหาที่ดิน ซึ่งต้องแก้ปัญหาตรงนี้ด้วยการผลักดันให้จดทะเบียนเป็นชุมชนให้ได้ และให้สิทธิชุมชนที่แห่งนี้เท่าเทียมชุมชนอื่น รวมถึงผลักดันนโยบายเท่าที่จะทำได้

นายภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Pat Hemasuk" ระบุว่า "นั่นคือที่ดินของการรถไฟฯ ไม่ใช่หรือครับ แล้วคนเหล่านั้นก็บุกรุกที่ดินของการรถไฟ กทม.มีสิทธิ์อะไรไปจัดการเรื่องนี้บนที่ดินของหน่วยงานอื่น สัญญาว่าจะให้ในสิ่งที่ไม่ใช่อำนาจของตนเองมันเกิดขึ้นได้ยากมากนะครับ ต่อไปพวกที่บุกรุกใต้สะพาน ริมคลอง ทางเท้า ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กทม.เองก็คงเอาอย่างบ้าง หลายปีที่ผู้บริหารชุดเก่าเคลียร์พื้นที่รุกล้ำทำเอาไว้จนสะอาดตา แก้ปัญหาด้วยการสร้างที่อาศัยใหม่ให้ไม่ต้องรุกล้ำ คุณภาพชีวิตของคนเหล่านั้นก็ดีขึ้น สภาพเมืองก็ดีขึ้น ถ้านโยบายหาเสียงเป็นแบบนี้ กทม.ก็คงกลับมาเป็นเมืองเน่าๆ เหมือนเดิม"
https://www.facebook.com/von.richthofen.7/posts/5270244673019101
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2022 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ทีมทนายความรถไฟ และประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ สาขาอุบลราชธานี เดินสำรวจแนวเขตรถไฟ ย่านโพธิ์มูล . จังหวัดอุบลราชธานี..เพื่อยื่นฟ้องผู้ที่ออกเอกสารสิทธิทับที่รถไฟ ...ที่เสด็จพ่อประทานไว้ให้ ใครก็ยึดเป็นกรรมสิทธิไม่ได้...วอนผู้มีอำนาจในการรถไฟ ช่วยมาเหลียวแล หารายได้มาจุนเจือรถไฟ..บ้าง ที่ดินรถไฟมีมากมาย..ถ้าท่านผู้มีอำนาจบริหารจัดการได้..รับรองรถไฟไม่ขาดทุน..(ชาวบ้านรู้ และอยากทำสัญญาเช่าให้ถูกต้อง...แต่ก็ไม่รู้ไปทำกับใคร)...ฮือ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1598299870528800&id=100010464070506
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2022 9:47 pm    Post subject: Reply with quote

บทเรียนพิพากษา "เอ๋ ปารีณา" สะเทือนถึง"เขากระโดง" ปมที่ดินเขย่าคนการเมือง
หน้าคอลัมนิสต์
By อสนีบาต
วันพฤหัสบดี ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 21:15 น.

กระบวนการตรวจสอบการครอบครองที่ดินรัฐโดยมิชอบ กำลังถูกขมวดปมกลายเป็น "จุดตาย" ของนักการเมืองทั้งฝ่ายค้าน รัฐบาล ลามไปถึงนอกสภา


ภายหลังศาลฎีกาอ่านคำวินิจฉัย "เอ๋ ปารีณา" ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ต้องพ้นจากการเป็น ส.ส. กรณีถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิดฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง สืบเนื่องจากการครอบครองที่ดินของรัฐกว่า 711 ไร่ เพื่อทำปศุสัตว์ ในพื้นที่ ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ก่อนหน้านี้ ทันทีที่ศาลฏีการับคำร้อง ทำให้"เอ๋ ปารีณา" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว รอคำวินิจฉัยของศาลฎีกาจนมีคำวินิจฉัยในวันนี้ ( 7 เม.ย.) ปิดฉากอนาคตทางการเมืองโดยพลัน อย่างไรก็ตามแต่ คดีนี้ยังไม่ใช่คดีบุกรุกที่ดินรัฐ ซึ่งถูกฟ้องแยกต่างหากอีกคดี แต่ต้องสู้กัน 3 ศาล



ทว่าจับความเคลื่อนไหวก่อนรัฐบาลใกล้หมดวาระเตรียมมีการเลือกตั้งใหม่ พบว่าวันเดียวกันนี้ (7 เม.ย.65 ) องค์กรภาคประชาชน และคนของการรถไฟแห่งประเทศไทย ยื่นเรื่องต่อ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร หรือ กมธ.ปปช. ให้ตรวจสอบปัญหาการบุกรุก ถือครอง และอาศัยอยู่ในที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งศาลฎีกา ตลอดจนคณะกรรมการกฤษฎีกา และองค์กรตรวจสอบอย่าง ป.ป.ช. เคยชี้ชัดแล้วว่าเป็นที่ดินของรัฐ เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ แต่ยังมีเอกชน และนักการเมืองอาศัย รวมทั้งปลูกสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดิน



แน่นอนกรณีที่ดินของการรถไฟบริเวณ เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เกิดคำถามมาอย่างยาวนาน เหตุใด ยังเคลียร์ไม่ได้ ทำไมยังคืนให้การรฟท.ไม่ได้



ทั้งที่มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจมาหลายวาระ หรือมีการตั้งกระทู้ถามหลายครั้ง แต่คำตอบก็ยังวนอยู่เหมือนเดิม



"คำตอบที่ไม่มีคำตอบ ใครคือผู้รับผิดชอบแก้ไขปัญหา หรือ ที่ดินบริเวณดังกล่าวไปปักหมุดเหยียบตราปลาของคนใหญ่ในพื้นที่หรือไม่"





ส่วนอีกคดี คือกรณีที่กรมที่ดิน เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ น.ส. 3 ก. ของนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดาของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เนื่องจากพบว่าเป็นที่ป่าไม้ถาวร



แม้ นางสมพร จะออกมาแถลงตอบโต้ว่าซื้อที่ดินมาโดยชอบ ถือครองมา 30 ปีไม่เคยมีปัญหา กระทั่งลูกชายเล่นการเมือง จึงมาถูกตรวจสอบ จึงมองเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมืองก็ตาม แต่ล่าสุด นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ตอบคำถามเรื่องนี้อย่างชัดเจน และน่าจะเป็นคำตอบให้สังคมได้ว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร


นิพนธ์ เปิดเผยว่า ต้องให้ความเป็นธรรมกับคุณสมพร เพราะไปซื้อที่ดินต่อมาจากบุคคลอื่นจริง แต่เมื่อมีคนร้องเรียนขึ้นมา กรมที่ดินต้องเข้าไปตรวจสอบ เมื่อกรมป่าไม้ยืนยันว่าเป็นป่าถาวร กรมที่ดินจึงไม่มีทางออกอย่างอื่น นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ยืนยันว่าไม่มีการกลั่นแกล้งทางการเมืองแน่นอน ได้ย้ำตลอดว่าต้องให้ความเป็นธรรม แต่เมื่อไปดูสารบบ เวลาจัดซื้อที่ดินในจำนวน 60 แปลง มีหลายแปลงที่แจ้งแล้วว่าอาจจะอยู่ในเขตป่า คุณสมพรก็รับทราบและยินดีรับโอน ก็ถือว่าคุณสมพรอาจจะรู้อยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนรับโอนแล้ว



เช่นเดียวกับ ที่ นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช. ออกมาเปิดเผยภายหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ "เอ๋ ปารีณา" น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ พ้นจากความเป็น ส.ส. และตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต รวมถึงสิทธิเลือกตั้ง กรณีครอบครองที่ดินของรัฐ โดยมิชอบ ว่ายังมีคำร้องในประเด็นที่ใกล้เคียงกัน กับ ส.ส. ทั้งฝ่ายค้าน และ ฝ่ายรัฐบาล อีกกว่า 10 ราย ที่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน ว่าถือครองที่ดิน โดยไม่มีเอกสารสิทธิอย่างชัดเจน



จากคำแถลงของเลขาธิการป.ป.ช.ประหนึ่งสื่อสารให้เห็น อาจมีส.ส.ที่เข้าข่ายครอบครองที่ดินโดยมิชอบขัดต่อจริยธรรมอย่างรุนแรง และคงต้องเดินตามรอยเอ๋ ปารีณา สู่ศาลฏีกาตัดสินพ้นจากส.ส.อีกแน่นอน



ฉะนั้น เรื่องที่ดินกำลังเขย่าขวัญใครหลายคนในแวดวงการเมือง และบางเรื่องอาจถูกนำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย
https://www.facebook.com/NationOnline/posts/10160667992477450
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2022 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ชี้แจงกรณีพิพาทการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี โดยยืนยันได้ยึดหลัก ความถูกต้องตามกฎหมาย ควบคู่กับคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม และอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาจากศาลฎีกา
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันพฤหัสบดี ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 13:10 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย ขอชี้แจงกรณีพิพาทการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร บริเวณ กม.ที่ 1+200 ถึง กม.1+326 จำนวนพื้นที่ 3,265 ตารางเมตร ซึ่งมีนายโสภณ เสียงล้ำเลิศ เป็นผู้ได้สิทธิการเช่าในพื้นที่ กับกลุ่มประชาชนผู้บุกรุก โดยขอชี้แจงรายละเอียดดังนี้

ที่ผ่านมาในการดำเนินแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการแก้ปัญหาผู้บุกรุกบนพื้นที่ของการรถไฟฯ การรถไฟฯได้ดำเนินการโดยยึดหลักความถูกต้อง ตามขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมาย ควบคู่กับคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมมาโดยตลอด ซึ่งในกรณีที่ดินบริเวณสถานีรถไฟธนบุรี แขวงศิริราช ของการรถไฟฯ นั้น ได้มีการเปิดให้เสนอราคาเช่าเพื่อเข้ามาพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟฯ ตั้งแต่ปี 2560 โดยมีนายโสภณ เสียงล้ำเลิศ เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด จึงได้สิทธิในการเช่า เริ่มตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม แม้นายโสภณจะได้สิทธิการเช่า และมีการชำระค่าเช่ามาตลอด แต่กลับพบว่า ไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวได้ เพราะมีการบุกรุกจากบุคคลภายนอกเต็มพื้นที่ และจัดตั้งเป็นชุมชนใหม่ตั้งอยู่หน้าทางเข้า-ออกวัดใหม่ยายมอญ อย่างไรก็ตาม ผู้เช่าและการรถไฟฯ ได้คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม โดยได้ทำการเจรจาและเสนอช่วยเหลือค่ารื้อย้ายกับผู้บุกรุกให้ออกจากที่ดินของการรถไฟฯ แต่กลับไม่เป็นผล ส่งผลให้ผู้ได้สิทธิเช่า จึงต้องอาศัยอำนาจทางกฎหมาย โดยมีการยื่นฟ้องผู้บุกรุก 26 ราย เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งตลิ่งชัน ในฐานความผิดขับไล่ เรียกค่าเสียหาย เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.197/2561 เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2561 และต่อมาศาลมีคำสั่งให้
การรถไฟฯ เข้าเป็นโจทก์ร่วม เพื่อรับรองสิทธิการเช่าจากการถูกรอนสิทธิจากผู้บุกรุกดังกล่าว
จนกระทั่งวันที่ 9 ก.ย.62 ศาลแพ่งตลิ่งชัน มีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จำเลย ที่ 9 ถึงที่ 26 ออกไปจากที่ดินพิพาท และให้จำเลยแต่ละรายชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 12,625.66 บาท
ไปจนกว่าจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทจนแล้วเสร็จ ในส่วนจำเลยที่ 8 ระหว่างพิจารณาได้ทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง จึงจะได้ถอนฟ้องไป
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 6 ม.ค.63 จำเลยทั้ง 26 คน ได้มีการยื่นอุทธรณ์ พร้อมกับยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวอยู่ และไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ ได้มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1468/2563 และเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 2074/2564 โดยมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้น ให้ขับไล่จำเลยทั้ง 26 คน ซึ่งจำเลยทั้ง 26 คนมาฟังคำพิพากษาครบถ้วน แต่ปรากฏว่าก็ยังเพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ อีก
ต่อมาผู้บุกรุกทั้ง 26 คน ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกา ขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับคดีและ
งดการบังคับคดี แต่ศาลแพ่งตลิ่งชัน ได้มีคำสั่งให้รวมส่งคำร้องดังกล่าวเสนอศาลฎีกาเพื่อมีคำสั่งแก่จำเลย
ตามคำร้องดังกล่าว แต่ปัจจุบันศาลฎีกายังคงไม่มีคำสั่ง โจทก์หรือผู้เช่าจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีได้ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 145 อีกทั้งเมื่อวันที่ 18 ต.ค.2564 ศาลแพ่งตลิ่งชันได้มีหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้โจทก์ดำเนินการบังคับตามสิทธิเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โดยให้ขับไล่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้ง 26 คน และให้จำเลยแต่ละรายชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 12,625.66 บาท
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 ม.ค.65 โจทก์หรือผู้เช่า จึงได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีเข้าปิดประกาศขับไล่รื้อถอนในที่ดินพิพาทกับสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแต่ละราย และกำหนดนัดทำการรื้อถอนในวันที่ 4 เม.ย.2565 ไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ แต่จำเลยทั้งหมดกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการรื้อถอนแต่อย่างใด และในช่วงบ่ายของวันที่ 4 เม.ย. 2565 จำเลยทั้งหมดต่างตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างด้วยตนเองแทนการบังคับคดี โดยขอระยะเวลารื้อถอนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ครบกำหนดวันที่ 4 พ.ค.65 แต่มีเงื่อนไขหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองโดยงดการบังคับคดีชั่วคราว ก็ขอชะลอการรื้อถอน เพื่อรอฟังผลว่าศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตรับฎีกาจำเลยหรือไม่ โจทก์และจำเลยทั้งหมดจึงได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจรถไฟธนบุรี
ภายหลังจากโจทก์กับจำเลยได้มีข้อตกลงร่วมกันแล้ว ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เม.ย.2565 ทางศาลแพ่งตลิ่งชัน
ได้มีคำสั่งงดการบังคับคดีชั่วคราว โดยศาลอาศัยเหตุว่าหากมีการบังคับคดีต่อไป อาจจะเกิดข้อพิพาทกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ขัดขวาง จนเป็นเหตุให้เกิดคดีอื่นๆ ตามมา จึงสั่งให้งดการบังคับคดี เพื่อรอฟังคำสั่งคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีจากศาลฎีกาก่อน ซึ่งการรถไฟฯ และโจทก์หรือผู้มีสิทธิเช่า ก็พร้อมดำเนินการตามคำสั่งศาล เพื่อรอจนกว่าจะมีการพิจารณาจากศาลฎีกาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/04/2022 11:38 am    Post subject: Reply with quote

เตือนรัฐอย่า2มาตรฐาน! แก้ปัญหาที่ดินการรถไฟฯ ‘เขากระโดง-มักกะสัน’
เดลินิวส์ 12 เมษายน 2565 9:00 น.

รฟท.ละมุนละม่อมกับกรณีในบุรีรัมย์และเอกชนคู่สัญญาทำรถไฟฟ้า ก็ต้องประนีประนอมกับชาวบ้านในชุมชนย่านมักกะสันที่อยู่กันมานานด้วย

มหากาพย์ที่ดินผืนใหญ่ประมาณ 5,083 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เงียบหายจากสังคมไทยไปพักใหญ่ๆ อาจเป็นเพราะยังเป็นคดีอยู่ในศาลระหว่างรฟท.กับประชาชนที่บุกรุกนำที่ดินของรฟท.ไปออกโฉนด หรืออาจเป็นเพราะ 3-4 ปีที่ผ่านมา มีโครงการขนาดใหญ่ซึ่งเชิดหน้าชูตาของชาวบุรีรัมย์ มากลบปัญหาที่ดินเขากระโดงเสียจนมิดชิด

แต่เรื่องราวของที่ดินรฟท.ผืนนี้ได้ถูกเปิดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 18 ก.พ.64 โดยพุ่งเป้าไปยังนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยที่ดินทั้งแปลงดังกล่าว เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่สงวนหวงห้ามไว้เป็นที่รถไฟ ใครเข้าไปอยู่ในพื้นที่นี้จะต้องมีการขับไล่ เพิกถอนสิทธิ ไม่สามารถมีเอกสารสิทธิที่ดินส่วนนี้ได้ แต่บ้านพักของนายศักดิ์สยามอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

รวมทั้ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ในฐานะดูแลกรมที่ดิน เมื่อศาลฎีกามีคำตัดสินสิ้นสุดแล้ว ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าวภายใน 60-90 วัน และต้องเร่งสั่งการให้กรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินของราษฎร และคนในตระกูล “ชิดชอบ” ที่มีโฉนดบริเวณเขากระโดง

หลังสุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย.65 นายสกลชัย ลิมป์สีสวรรค์ ทนายความ ได้เข้าร้องเรียนกับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับนายศักดิ์สยามรวมทั้งพล.อ.อนุพงษ์ ว่าเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตในประเด็นเรื่องที่ดินเขากระโดงหรือไม่?เนื่องจากกรมที่ดินควรดำเนินการเพิกถอนสิทธิ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการ ส่วนรมว.คมนาคม ก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในพื้นที่ เพราะมีบ้านพักอาศัยอยู่บริเวณนั้นด้วย

กรมที่ดินต้องเพิกถอนสิทธิ-รฟท.ต้องรักษาสิทธิ!

เกี่ยวกับเรื่องนี้ พ.ต.อ.ทวีเปิดเผยกับทีมข่าว “Special Report” ว่านับตั้งแต่ตนอภิปรายเรื่องเขากระโดงเมื่อปี 64 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก แม้ว่าคดีจะสิ้นสุดแล้ว ไม่ว่าจะใช้แผนที่ฉบับไหนมาอ้างอิง ก็เป็นสิ่งยืนยันแล้วว่าที่ดิน 5,083 ไร่ เป็นของรฟท. ซึ่งได้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ดังนั้นกรมที่ดินต้องเพิกถอนสิทธิทันที ไม่ว่าใครก็ตามที่มีโฉนด และต้องรื้อถอนขับไล่ เนื่องจากได้รับการพิสูจน์ตามกระบวนการศาลยุติธรรมแล้ว จะอ้างเรื่องอายุความเพื่อบังคับคดี หรือไม่บังคับคดีไม่ได้ เพราะตรงนี้เป็นที่ดินของรฟท.

วันนี้ 2 หน่วยงานรัฐไม่ต้องคิดอะไรมากเลย คือกรมที่ดินต้องเร่งดำเนินการเพิกถอนสิทธิ (โฉนด) ส่วนรฟท.ก็ต้องรักษาสิทธิ ต้องดำเนินการกับผู้บุกรุกและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทั้งของราษฎรและนักการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน โดยปัจจุบันคนในสังคมไทยนำปัญหาที่ดินรฟท.บริเวณเขากระโดง มาเทียบเคียงกับปัญหาที่ดินรถไฟย่านมักกะสัน กรุงเทพฯ ซึ่งกำลังทำโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดังนั้นจึงต้องเคลียร์ชาวบ้านในชุมชนริมทางรถไฟย่านมักกะสันออกไป เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนตามกำหนดสัญญา ซึ่งประชาชนริมทางรถไฟเขาอยู่กันมานานหลายสิบปี จำนวนหลายชุมชน และมีบ้านเลขที่ แล้ว รฟท.จะย้ายคนเหล่าไปที่ไหน

“ถ้ารฟท.ใช้ความละมุนละม่อมกับเอกชนที่ทำโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าว รฟท.ก็ต้องละมุนละม่อมกับชาวบ้านในชุมชนริมทางรถไฟที่เขาอยู่กันมานานด้วย ซึ่งเท่าที่ทราบมีทั้งคนชรา และเด็กจำนวนมาก ถ้าต้องขับไล่ออกไปจากพื้นที่โครงการ เด็กๆเหล่านี้จะไปเรียนที่ไหน ต้องห่างไกลจากโรงเรียนหรือไม่ รวมทั้งเรื่องการประกอบอาชีพของพ่อแม่ผู้ปกครอง ถ้ารฟท.ดำเนินการเองไม่ได้ ก็ต้องประสานกับกรุงเทพมหานครและกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เขามาช่วยดูแลปัญหาของคนเหล่านี้ให้ครอบคลุมทุกมิติ อย่าให้มีเสียงครหาระหว่างที่ดินรฟท.เขากระโดง กับที่ดิน รฟท.ย่านมักกะสัน ว่ารัฐปฏิบัติกับประชาชนแบบ 2 มาตรฐาน”

“เขากระโดง-มักกะสัน” ควรมาตรฐานเดียว!

พ.ต.อ.ทวี กล่าวต่อไปว่า ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาตนพร้อมทีมงานได้เดินทางเยี่ยมให้กำลังใจประชาชนในชุมชนแดงบุหงา ริมทางรถไฟมักกะสัน ซึงเป็นหนึ่งในชุมชนที่ถูกไล่รื้อจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่ง รฟท.เร่งให้รื้อถอนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินริมทางรถไฟภายในเส้นตาย 31 มี.ค.65 ดังนั้นจึงเป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างแสนสาหัส

ภาครัฐคือ รฟท.อ้างว่าต้องส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญา เพื่อการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่เราทราบกันดีจากข่าวสารทางสื่อมวลชน ว่าเอกชนคู่สัญญาครบกำหนดชำระค่าให้สิทธิ์ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นเงินกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.64 แต่สุดท้ายก็ไม่จ่ายเงินให้รัฐ แถมยังขอขยายระยะเวลาการชำระ โดยอ้างปัญหาเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลงไปมาก

“ตรงนี้แหละที่ผมบอกว่า ถ้า รฟท.ละมุนละม่อมกับเอกชน ก็ต้องละมุนละม่อมกับชาวบ้านไร้ที่อาศัย กลายเป็นผู้เดือดร้อน มีทั้งเด็กเล็ก คนชรา คนตกงานจากปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคือง และโรคระบาด หนักสุดคือถูกขับไล่ออกจากบ้านที่อยู่กันมานานหลายสิบปี ตรงนี้รฟท.ได้ประนีประนอมกับชาวบ้านริมทางรถไฟมักกะสัน เหมือนกับการประนีประนอมกับเอกชนคู่สัญญา และประนีประนอมกับคนคระกูลดังในบุรีรัมย์เหมือนกันหรือเปล่า? เพราะเป็นปัญหาที่ดิน รฟท.เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน” เลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2022 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เตือนรัฐอย่า2มาตรฐาน! แก้ปัญหาที่ดินการรถไฟฯ ‘เขากระโดง-มักกะสัน’
เดลินิวส์
วันอังคาร ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 9:00 น.


รฟท.ฟ้องกรมที่ดิน เลี่ยงเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ บุกรุกที่ดินเขากระโดง
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอังคาร ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:14 น.

รฟท.เดินหน้าฟ้องศาลปกครองต่อ เหตุกรมที่ดินเมินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ปมบุกรุกที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ พบผู้ถือครองกว่า 900 ราย เตรียมเรียกค่าเสียหายที่ดิน คาดสูญรายได้700 ล้านบาท

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า กรณีที่รฟท.ได้ยื่นฟ้องกรมที่ดินต่อศาลปกครองกลาง โดยขอให้ศาลฯมีคำสั่งให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินรถไฟเขากระโดง เนื้อที่ทั้งหมด 5,083 ไร่ รวมทั้งกรณีกรมที่ดิน ไม่ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เพื่อคืนที่ดินให้กับรฟท. ตามระยะเวลาที่ได้มีการกำหนดนั้น เบื้องต้นศาลปกครองกลางได้รับฟ้องแล้วเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมาโดยหลังจากนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการไต่สวน ซึ่งทางศาลปกครองจะเรียกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าทำการไต่สวนตามกระบวนการของศาล คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณาประมาณ 5 ปี เพื่อนำเอาที่ดินของรฟท.ทั้ง 5,083 ไร่กลับมาและสร้างประโยชน์และผลตอบแทนเข้ารฟท.แน่นอน ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอฟังคำพิพากษาของศาลปกครอง หากคำพิพากษาออกมาอย่างไร ทางรฟท.ก็พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งของศาลฯ

“ที่ผ่านมารฟท.ไม่ได้มีการหารือกับกรมที่ดินถึงกรณีที่ขับไล่ผู้บุกรุกที่ถือครองเอกสารสิทธิ์ออกจากพื้นที่ เนื่องจากรฟท.เป็นเจ้าของที่ดิน เมื่อพบว่ามีการออกเอกสารสิทธิ์ที่กระทบต่อสิทธิของเรา เราไม่มีอำนาจทางกฎหมาย เพียงแต่เราแจ้งผู้ที่มีอำนาจทางกฎหมายไปพิจารณาดำเนินการให้ความเป็นธรรมกับเรา ซึ่งกรมที่ดินต้องเป็นผู้ดำเนินการ หากร่วมกันหารือทั้ง 2 ฝ่ายอาจเป็นการสมยอมระหว่างกันได้ ส่วนการพิจารณาเป็นอย่างไรเป็นเรื่องที่กรมที่ดินต้องปฏิบัติตาม ซึ่งเรายืนยันที่จะนำพื้นที่ดินบริเวณเขากระโดงกลับมาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับรฟท.”

ส่วนกรณีที่นายสกลชัย ลิมป์สีสวรรค์ ทนายความ ได้เข้าร้องเรียนกับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ นายศักดิ์สยาม รวมทั้งพล.อ.อนุพงษ์ ว่าเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตในประเด็นเรื่องที่ดินเขากระโดงหรือไม่ เนื่องจากกรมที่ดินควรดำเนินการเพิกถอนสิทธิ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการ ส่วน รมว.คมนาคม ก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในพื้นที่ เพราะมีบ้านพักอาศัยอยู่บริเวณนั้น



“จากกรณีที่เกิดขึ้น รฟท.ไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติ และไม่ได้นิ่งเฉย ต่อกรณีข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง โดยเฉพาะเรื่องการครอบครองที่ของรฟท. กว่า 5,083 ไร่ และนำที่ดินดังกล่าว กลับมาสร้างประโยชน์ให้กับรฟท. ในการดำเนินการดังกล่าว รฟท.ได้ยึดหลัก กฎหมาย ธรรมาภิบาล และจริยธรรม จึงไม่สามารถดำเนินการกับผู้ถือเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นที่ดิน ที่ออกทับซ้อนที่ดินของรฟท.ในข้อหาบุกรุกได้ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวมีเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยกรมที่ดินจนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่าเอกสารดังกล่าวออกโดยไม่ชอบ”


นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า จากรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ต.อีสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ และมีมติให้ รฟท.พิจารณาดำเนินการผู้บุกรุกที่ดินของรฟท.ต่อไป นั้น ตามมติที่ให้รฟท.ดำเนินคดีในฐานะผู้บุกรุกที่ดินดังกล่าวจะกระทำได้เมื่อกรมที่ดินได้ดำเนินการตามมติในการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดิน หลังจากนั้นรฟท.จึงสามารถดำเนินนิคดีในข้อหาบุกรุกที่ดินต่อไปได้

ทั้งนี้จากคำพิพากษาศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยในคดีหมายเลขแดงที่ 842-876/2560 และคดีหมายเลขแดงที่ 8027/2561 ในทำนองเดียวกัน ว่า ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 และเส้นทางรถไฟที่เข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดง และบ้านตะโก ซึ่งเป็นแหล่งวัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาอุบลราชธานี และเป็นที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 พิพากษาให้รฟท.ชนะคดีในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงหนึ่ง โดยทั้ง 2 คดีไม่ผูกพันบุคคลภายนอก รวมทั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ไม่ได้ถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ซึ่งจะต้องดำเนินการพิสูจน์สิทธิ เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวให้เห็นว่าโฉนดที่ดิน ซึ่งเป็นเอกชนมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร

“ศาลฎีกาได้ตัดสินว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวตามแผนที่ที่ได้ยื่นต่อศาลนั้นเป็นที่ดินของรฟท.ทั้ง 5,083 ไร่ เบื้องต้น รฟท.ได้นำคำตัดสินของศาลฎีกาไปยื่นหนังสือต่อกรมที่ดิน ในกรณีที่พบว่ามีประชาชนถือครองเอกสารสิทธิ์โดยออกในหน่วยงานราชการ จำนวน 900 ราย โดยรฟท.ขอให้กรมที่ดินพิจารณาการออกเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ โดยใช้อำนาจตามพ.ร.บ.แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งกรมที่ดินมีหน้าที่ตอบว่าการออกเอกสารสิทธิ์นั้นถูกต้องหรือไม่”

ล่าสุดรฟท.ได้ดำเนินการสำรวจที่ดินบริเวณเขากระโดง เมื่อต้นปี 2564 พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยหน่วยงานราชการ จำนวน 900 ไร่ แบ่งเป็น โฉนดที่ดิน จำนวน 700 ราย มีการครองครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย น.ส.3ก. จำนวน 7 ราย หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย ทางสาธารณประโยชน์ จำนวน 53 แปลง อื่นๆ (ที่ไม่ปรากฎเลขที่ดินในระวางแผนที่อีก) จำนวน 129 แปลง โดยการสำรวจดังกล่าวไม่ได้มีการเจาะจงสำรวจที่ดินของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ


นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่จ.บุรีรัมย์ มีการกระจายความเจริญเข้ากระเป๋าเงินกับคนบางกลุ่มไม่ถึงชาวบ้านในชุมชน โดยเฉพาะการขายที่ดินบางแปลงของรฟท.จำนวน 1 ไร่ ที่ศาลมีการพิพากษาแล้วมีการขายเปลี่ยนมือระหว่างกัน ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 22 ล้านบาท รวมทั้งสนามกีฬา ควรนำรายได้ส่วนนี้เข้าภาครัฐหรือไม่นั้น ทางรฟท.เห็นว่าหากศาลตัดสินเป็นที่ดินของรฟท. เราจะดำเนินการต่างๆเพื่อนำผลประโยชน์เหล่านั้นกลับมาสู่รฟท. แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการขีดเส้นชัดเจนว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของรฟท.ทำให้รฟท.ไม่มีสิทธิเข้าไปรับรายได้ส่วนนี้

“รฟท.จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากกรมที่ดิน เนื่องจากไม้มีการเพิกถอนโฉนดที่ดิน ทำให้รฟท.สูญเสียผลประโยชน์จากที่ดินบริเวณเขากระโดงราว 700 ล้านบาท ปัจจุบันรฟท.มีรายได้จากการเช่าที่ดินของรฟท. ราว 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยรฟท.มีแผนที่จะพัฒนารายได้โดยตั้งบริษัทลูก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มบนที่ดินของรฟท.ในอนาคต”
https://www.facebook.com/thansettakij/posts/5529039620448881


ศาลปกครองรับฟ้องแล้ว! กรมที่ดินออกโฉนดทับซ้อน "เขากระโดง" รฟท.ยันทวงคืน 5,083 ไร่ ไม่เลือกปฏิบัติ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 15:35 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 15:35 น.

ผู้ว่าฯ รฟท.ยันทวงคืนที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ ไม่ละเว้น ไม่เลือกปฏิบัติ ล่าสุดศาลปกครองกลางรับคำฟ้อง กรณีกรมที่ดินละเว้นฯ ปฏิบัติเหน้าที่มิชอบออกโฉนดทับซ้อนที่ดินรถไฟแล้ว ค่าเสียหายกว่า 700 ล้านบาท ชี้ดำเนินการกลุ่มบุกรุกกับกลุ่มมีเอกสารสิทธิที่ออกโดยหน่วยงานราชการต่างกัน และพร้อมชี้แจงข้อเท็จจริง กมธ.ป.ป.ช.ทุกประเด็น

จากกรณีข้อพิพาทบริเวณที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีการนำประเด็นไปอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยล่าสุด วันที่ 7 เม.ย. 2565 นายสกลชัย ลิมป์สีสวรรค์ ทนายความอิสระ ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้อง กรณีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่สั่งการให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่เขากระโดง จ.บุรีรัมย์

โดยระบุว่ากรณีที่ดินบริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ที่มีการระบุว่า รฟท.ได้ฟ้องขับไล่ชาวบ้านนับ 100 ราย ที่เข้าอยู่อาศัยที่ดินรถไฟฯ บริเวณมักกะสัน แต่รฟท.กลับไม่ดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินรถไฟฯ เขากระโดง เป็นพฤติกรรมเลือกปฏิบัติ และไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงมีประเด็นที่เกี่ยวข้องรัฐมนตรีที่มีบ้านพักอยู่ในที่ดินเขากระโดงของ รฟท. ซึ่งเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ระบุว่าจะนำเรื่องร้องเรียนที่กล่าวหานักการเมืองและเครือญาติบุกรุกและใช้ที่ดินรถไฟเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทั้งที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาว่าที่ดินเขากระโดงเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะบรรจุเป็นวาระพิจารณา กมธ.ป.ป.ช.ปลายเดือน เม.ย.นี้

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. ยืนยันดำเนินการแก้ปัญหาที่ดินของรถไฟทั่วประเทศอย่างจริงจัง บนหลักการที่ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ และโปร่งใส พร้อมทั้งยึดหลักธรรมาภิบาลและมีจริยธรรมอย่างเหมาะสม ที่ผ่านมามีการพูดถึงที่ดินเขากระโดง ซึ่ง รฟท.ได้ชี้แจงมาโดยตลอด แต่ก็ยังมีการนำข้อมูลบางประเด็นมากล่าวถึงซึ่งทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และกระทบต่อความเชื่อมั่นของรฟท.ที่กำลังดำเนินการฟื้นฟูองค์กร

โดยกรณีที่ดินเขากระโดงนั้น เป็นกลุ่มที่ถือเอกสารสิทธิทับซ้อน ซึ่งกรณีนี้มีการยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งมีมติป.ป.ช.ให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ตำบลอีสาณ อำเภอ เมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ ป.ป.ช.ไม่ได้มีคำสั่งให้ รฟท.ไปฟ้องประชาชน ประกอบกับมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่รฟท.ชนะคดี โดยศาลเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่ รฟท.นำเสนอว่าพื้นที่เขากระโดงจำนวน 5,083 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของรถไฟ แต่คำพิพากษาผูกพันเฉพาะคดีนั้นๆ จะเอาคำพิพากษาไปบังคับกับที่ดิน 5,083 ไร่ ไม่ได้

ซึ่งที่ดิน 5,083 ไร่ มีผู้ถือครองเอกสารสิทธิประมาณ 900 รายแบ่งเป็น โฉนดที่ดิน จำนวน 700 ราย, ที่มีการครอบครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย, น.ส.3 ก. จำนวน 7 ราย, หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย, ทางสาธารณประโยชน์ จำนวน 53 แปลง, และอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏเลขที่ดินในระวางแผนที่อีกจำนวน 129 แปลง

โดยเมื่อมีประชาชนถือครองเอกสารสิทธิที่ออกโดยกรมที่ดิน ดังนั้น รฟท.ทำหนังสือถึงกรมที่ดินให้วินิจฉัยว่าการออกโฉนดเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ แต่เมื่อครบเวลา 60 วัน กรมที่ดินไม่ตอบ รฟท.จึงได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ 2494/2564 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ฟ้องกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ 2 ละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าไม่ดำเนินการตามที่การรถไฟฯ ร้องขอ และไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิทับที่ดิน รฟ. ขอให้ศาลพิพากษาให้กรมที่ดิน และอธิบดีกรมที่ดิน ดำเนินการตามมาตรา 61 ประมวลกฎหมายที่ดิน และเพิกถอนคำสั่งออกเอกสารสิทธิที่ทับที่ดินของการรถไฟฯ และขับไล่ผู้ครอบครอง และถือเอกสารสิทธิในที่ดินของ รฟ.ออกไปทั้งหมด โดย ศาลปกครองกลางได้รับฟ้องเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565

นายนิรุฒกล่าวว่า คู่ความของ รฟท.คือกรมที่ดิน โดยรฟท.ได้ยื่นศาลปกครองตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดินทั้งหมด 5,083 ไร่ ยืนยันว่า รฟท.จะดำเนินการนำที่ดินทั้งหมดกลับมาเป็นของ รฟท.แต่จะไม่ฟ้องประชาชน โดยรอคำพิพากษาของศาลปกครอง มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดอย่างไร รฟท.พร้อมปฎิบัติตาม ซึ่งปัจจุบัน รฟท.มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยที่ดินเขากระโดงหากนับจากวันที่มีคำพิพากษาศาลฎีกา ประเมินรายได้ที่ รฟท.สูญเสียมีความเสียหายประมาณ 700 ล้านบาท ไม่รวมดอกเบี้ยจนกว่าคดีจะได้ข้อยุติ ซึ่งกระบวนการเรียกค่าเสียหายนี้จากกรมที่ดินแม้จะเป็นหน่วยงานของรัฐด้วยกันแต่ก็เป็นการดำเนินการเพื่อความถูกต้อง

สำหรับปัญหาที่มีประชาชนเข้าไปอยู่ในที่ดินของรถไฟ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การบุกรุกที่ดิน และผู้ถือเอกสารสิทธิ โดย 2 ส่วนนี้มีการดำเนินการที่แตกต่างกัน เนื่องจากกรณีเป็นผู้บุกรุกนั้นผิดกฎหมายและไม่มีสิทธิและไม่มีเอกสาร ดังนั้น รฟท.มีหน้าที่ดำเนินการได้ตามกฎหมาย โดยที่ผ่านมา รฟท.ได้มีการเจรจากับผู้บุกรุก และเปลี่ยนสถานะจากผู้บุกรุกเป็นผู้เช่าที่ดิน และสร้างรายได้ให้ รฟท.

ซึ่งการบุกรุกที่ดินรถไฟมีปัญหากระทบ 3 ส่วน คือ 1. บุกรุกแล้วทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการเดินรถ เป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิต 2. บุกรุกแล้วเป็นแหล่งอาชญากรรม แหล่งมั่วสุม 3. บุกรุกแล้วกีดขวางทางน้ำ ก่อให้เกิดน้ำท่วมขัง ดังนั้น รฟท.จะไม่ประนีประนอมต่อการบุกรุก

ส่วนกลุ่มที่เป็นผู้ถือเอกสารสิทธิที่ทับซ้อนกับที่ดินรถไฟ เนื่องจากโฉนดที่ดินเป็นเอกสารราชการ ผู้ถือโฉนดที่ดินก็เชื่อมั่นในเอกสารราชการ จึงเป็นคำถามต่อมาว่า โฉนดที่ดินนั้นออกถูกต้องหรือไม่ ซึ่ง รฟท.จะดำเนินการโดยไม่ระรานประชาชน เพราะการถือเอกสารสิทธิที่ทับซ้อนที่ดินรถไฟอาจเกิดจากความเข้าใจผิดตั้งแต่ในอดีต ดังนั้น รฟท.จะไม่ปฎิบัติต่อผู้ถือเอกสารสิทธิทับซ้อนที่ดินรถไฟเหมือนกับกลุ่มบุกรุก

ปัจจุบันมีผู้บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินรถไฟฯ โดยไม่มีเอกสารสิทธิทั่วประเทศ 18,822 ราย ประกอบด้วย พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,538 ราย, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 911 ราย, นครราชสีมา ขอนแก่น ศรีสะเกษ และจังหวัดอื่นๆ 3,045 ราย, จังหวัดอื่นๆ 12,459 ราย

กลุ่มที่ดินมีข้อพิพาท มีการออกเอกสารสิทธิทับซ้อน ประชาชนถือเอกสารสิทธิที่ออกโดยราชการ และอาศัยอยู่โดยสุจริต จำนวน 1,137 ราย ประกอบด้วย พังงา-ท่านุ่น 20 ราย, อรัญประเทศ จ.สระแก้ว 15 ราย, บ้านโพธิ์มูล จ.อุบลราชธานี 2 ราย, เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ 900 ราย, พื้นที่อื่นๆ 200 ราย

ในการดำเนินการแก้ปัญหาที่ดิน รฟท.นั้น มีคณะทำงานใน 3 ระดับ คือ 1. คณะทำงานในระดับ รฟท. เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และจัดทำบัญชีรายชื่อ ชุมชน และจัดหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม 2. คณะทำงานในระดับกระทรวงฯ มีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน พิจารณาให้ความช่วยเหลือในระดับนโยบาย 3. คณะกรรมการระดับประเทศ มีรมว.คมนาคมเป็นประธาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2022 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เตือนรัฐอย่า2มาตรฐาน! แก้ปัญหาที่ดินการรถไฟฯ ‘เขากระโดง-มักกะสัน’
เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 9:00 น.


กังขาวิธีทวงคืน ที่ดินมักกะสันVSที่ดิน เขากระโดง เหตุใดมาตรฐานต่างกัน
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 11:38 น.

กังขาวิธีทวงคืน ที่ดินมักกะสัน VSที่ดิน เขากระโดง ที่ดินการรถไฟทั้ง2แปลง เหตุใดมาตรฐานการดำเนินคดีต่างกัน"เสรีพิศุทธ์" ตั้งคำถาม ดัง ลุย บรรจุปมที่ดินเขากระโดง เป็นวาระพิจารณา กมธ.ป.ป.ช.ปลายเดือนเมษายนนี้



ปมฟ้องขับไล่ประชาชาบุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)กรณีที่ดินมักกะสัน และที่ดินอีกหลายแปลง ที่รฟท.ใช้วิธีทวงคืนจากการฟ้องร้องขับไล่ เพื่อขับพ้นพื้นที่



เพื่อให้การรถไฟใช้ในกิจการเดินรถและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในรูปพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่รูปแบบมิกซ์ยูส หารายได้เข้าองค์กรและการเช่าระยะยาวของนายทุนพัฒนาเมืองมักกะสัน



ขณะที่ดินเขากระโดงเนื้อที่5,083เศษ รฟท.ทราบดีมาโดยตลอดว่ามีประชาชนตลอดจนนักการเมืองดังเข้าทำประโยชน์ บนที่ดินรถไฟฯเกือบ1000รายและถึงขั้นมีการยื่นขอออกเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดิน น.ส.3 ฯลฯเป็นการถาวร กลับเพิกเฉยไม่ฟ้องขับไล่ แต่กลับฟ้องรัฐด้วยกันคือกรมที่ดิน



หลายฝ่ายกังขาตั้งคำถามมากที่สุด และนำมาเปรียบเทียบกับคดีบุกรุกที่ดินระหว่างมักกะสัน กับ กรณีคดีเขากระโดง โดยเฉพาะพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทยโดยที่ดินมักกะสัน มีประชาชนบุรุกมากกว่า100คน ที่เข้าอยู่อาศัยที่ดินรถไฟฯ บริเวณมักกะสัน





ปมร้อนดังกล่าวรฟท.กลับไม่ดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินรถไฟฯบริเวณเขากระโดง เป็นพฤติกรรมเลือกปฏิบัติ และไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงมีประเด็นที่เกี่ยวข้องรัฐมนตรีที่มีบ้านพักอยู่ในที่ดินเขากระโดงของ รฟท. ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน



ทั้งนี้พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ระบุว่าจะนำเรื่องร้องเรียนที่กล่าวหานักการเมืองและเครือญาติบุกรุกและใช้ที่ดินรถไฟเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทั้งที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาว่าที่ดินเขากระโดงเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะบรรจุเป็นวาระพิจารณา กมธ.ป.ป.ช.ปลายเดือนเมษายนนี้


ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อ้างว่า ในสมัยของตนเองเป็นผู้ว่ารฟท.จะไม่มีการฟ้องร้องประชาชนผู้บุกรุก แต่ในทางกลับกัน จะแก้ปัญหาที่ดินของรถไฟทั่วประเทศอย่างจริงจัง บนหลักการที่ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ และโปร่งใส





พร้อมทั้งยึดหลักธรรมาภิบาลและมีจริยธรรมอย่างเหมาะสม ที่ผ่านมามีการพูดถึงที่ดินเขากระโดง ซึ่ง รฟท.ได้ชี้แจงมาโดยตลอด แต่ก็ยังมีการนำข้อมูลบางประเด็นมากล่าวถึงซึ่งทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และกระทบต่อความเชื่อมั่นของรฟท.ที่กำลังดำเนินการฟื้นฟูองค์กร




โดยกรณีที่ดินเขากระโดงนั้น เป็นกลุ่มที่ถือเอกสารสิทธิทับซ้อน ซึ่งกรณีนี้มีการยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งมีมติป.ป.ช.ให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ตำบลอีสาณ อำเภอ เมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ ป.ป.ช.ไม่ได้มีคำสั่งให้ รฟท.ไปฟ้องประชาชน



ประกอบกับมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่รฟท.ชนะคดี โดยศาลเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่ รฟท.นำเสนอว่าพื้นที่เขากระโดงจำนวน 5,083 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของรถไฟ แต่คำพิพากษาผูกพันเฉพาะคดีนั้นๆ จะเอาคำพิพากษาไปบังคับกับที่ดิน 5,083 ไร่ ไม่ได้ซึ่งที่ดิน 5,083 ไร่ มีผู้ถือครองเอกสารสิทธิประมาณ 900 ราย



แบ่งเป็น โฉนดที่ดิน จำนวน 700 ราย, ที่มีการครอบครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย, น.ส.3 ก. จำนวน 7 ราย, หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย, ทางสาธารณประโยชน์ จำนวน 53 แปลง, และอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏเลขที่ดินในระวางแผนที่อีกจำนวน 129 แปลง




โดยเมื่อมีประชาชนถือครองเอกสารสิทธิที่ออกโดยกรมที่ดิน ดังนั้น รฟท.ทำหนังสือถึงกรมที่ดินให้วินิจฉัยว่าการออกโฉนดเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ แต่เมื่อครบเวลา 60 วัน กรมที่ดินไม่ตอบ รฟท.จึงได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ 2494/2564





เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ฟ้องกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ 2 ละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าไม่ดำเนินการตามที่การรถไฟฯ ร้องขอ และไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิทับที่ดิน รฟท.



ขอให้ศาลพิพากษาให้กรมที่ดิน และอธิบดีกรมที่ดิน ดำเนินการตามมาตรา 61 ประมวลกฎหมายที่ดิน และเพิกถอนคำสั่งออกเอกสารสิทธิที่ทับที่ดินของการรถไฟฯ และขับไล่ผู้ครอบครอง และถือเอกสารสิทธิในที่ดินของ รฟท.ออกไปทั้งหมด โดย ศาลปกครองกลางได้รับฟ้องเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565



นายนิรุฒกล่าวว่า คู่ความของ รฟท.คือกรมที่ดิน โดยรฟท.ได้ยื่นศาลปกครองตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดินทั้งหมด 5,083 ไร่ ยืนยันว่า รฟท.จะดำเนินการนำที่ดินทั้งหมดกลับมาเป็นของ รฟท.แต่จะไม่ฟ้องประชาชน โดยรอคำพิพากษาของศาลปกครอง



มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดอย่างไร รฟท.พร้อมปฎิบัติตาม ซึ่งปัจจุบัน รฟท.มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยที่ดินเขากระโดงหากนับจากวันที่มีคำพิพากษาศาลฎีกา



ประเมินรายได้ที่ รฟท.สูญเสียมีความเสียหายประมาณ 700 ล้านบาท ไม่รวมดอกเบี้ยจนกว่าคดีจะได้ข้อยุติ ซึ่งกระบวนการเรียกค่าเสียหายนี้จากกรมที่ดินแม้จะเป็นหน่วยงานของรัฐด้วยกันแต่ก็เป็นการดำเนินการเพื่อความถูกต้อง


สำหรับปัญหาที่มีประชาชนเข้าไปอยู่ในที่ดินของรถไฟ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การบุกรุกที่ดิน และผู้ถือเอกสารสิทธิ โดย 2 ส่วนนี้มีการดำเนินการที่แตกต่างกัน เนื่องจากกรณีเป็นผู้บุกรุกนั้นผิดกฎหมายและไม่มีสิทธิและไม่มีเอกสาร



ดังนั้น รฟท.มีหน้าที่ดำเนินการได้ตามกฎหมาย โดยที่ผ่านมา รฟท.ได้มีการเจรจากับผู้บุกรุก และเปลี่ยนสถานะจากผู้บุกรุกเป็นผู้เช่าที่ดิน และสร้างรายได้ให้ รฟท.

ทั้งนี้การบุกรุกที่ดินรถไฟมีปัญหากระทบ 3 ส่วน คือ 1. บุกรุกแล้วทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการเดินรถ เป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิต 2. บุกรุกแล้วเป็นแหล่งอาชญากรรม แหล่งมั่วสุม 3. บุกรุกแล้วกีดขวางทางน้ำ ก่อให้เกิดน้ำท่วมขัง ดังนั้น รฟท.จะไม่ประนีประนอมต่อการบุกรุก


ส่วนกลุ่มที่เป็นผู้ถือเอกสารสิทธิที่ทับซ้อนกับที่ดินรถไฟ เนื่องจากโฉนดที่ดินเป็นเอกสารราชการ ผู้ถือโฉนดที่ดินก็เชื่อมั่นในเอกสารราชการ จึงเป็นคำถามต่อมาว่า โฉนดที่ดินนั้นออกถูกต้องหรือไม่ ซึ่ง รฟท.จะดำเนินการโดยไม่ระรานประชาชน



เพราะการถือเอกสารสิทธิที่ทับซ้อนที่ดินรถไฟอาจเกิดจากความเข้าใจผิดตั้งแต่ในอดีต ดังนั้น รฟท.จะไม่ปฎิบัติต่อผู้ถือเอกสารสิทธิทับซ้อนที่ดินรถไฟเหมือนกับกลุ่มบุกรุก


ปัจจุบันมีผู้บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินรถไฟฯ โดยไม่มีเอกสารสิทธิทั่วประเทศ 18,822 ราย ประกอบด้วย พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,538 ราย, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 911 ราย, นครราชสีมา ขอนแก่น ศรีสะเกษ และจังหวัดอื่นๆ 3,045 ราย, จังหวัดอื่นๆ 12,459 ราย


กลุ่มที่ดินมีข้อพิพาท มีการออกเอกสารสิทธิทับซ้อน ประชาชนถือเอกสารสิทธิที่ออกโดยราชการ และอาศัยอยู่โดยสุจริต จำนวน 1,137 ราย ประกอบด้วย พังงา-ท่านุ่น 20 ราย, อรัญประเทศ จ.สระแก้ว 15 ราย, บ้านโพธิ์มูล จ.อุบลราชธานี 2 ราย, เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ 900 ราย, พื้นที่อื่นๆ 200 ราย


ในการดำเนินการแก้ปัญหาที่ดิน รฟท.นั้น มีคณะทำงานใน 3 ระดับ คือ
1. คณะทำงานในระดับ รฟท. เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และจัดทำบัญชีรายชื่อ ชุมชน และจัดหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม

2. คณะทำงานในระดับกระทรวงฯ มีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน พิจารณาให้ความช่วยเหลือในระดับนโยบาย
3. คณะกรรมการระดับประเทศ มีรมว.คมนาคมเป็นประธาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2022 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

กรมที่ดิน งัดรฟท.ดึงคนรถไฟชี้แนวเขต“เขากระโดง”รวมหลักฐานชี้แจงศาลปกครอง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 9:24 น.

กรมที่ดินงัดรฟท.ตั้งคณะทำงานลงพื้นที่“เขากระโดง”พร้อมดึงคนรถไฟ ร่วม ชี้แนวเขต รวบรวมหลักฐานชี้แจงศาลปกครอง ภายใน90 ยันพร้อมตั้ง คณะกรรมการตามมาตร61 เพิกถอนโฉนดที่ดิน น.ส.3 น.ส.3 ก คืนรฟท. หากออกเอกสารสิทธิผิดพลาดคลาดเคลื่อน ทับที่ดินรัฐ

ข้อพิพาทปมที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กรมที่ดิน ประชาชนผู้ถือครอง กำลังลุกเป็นไฟ และอาจสะเทือนถึงนักการเมืองดัง

เมื่อ รฟท.ยื่นศาลปกครองฟ้องกรมที่ดิน ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดิน5,083 ไร่ เพื่อเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ โฉนดที่ดิน น.ส. 3 น.ส.3ก ที่ออกทับที่ดินเขากระโดง นับตั้งแต่ วันที่23 ธันวาคม2564เป็นต้นมาโดยเรียกค่าเสียหาย 700ล้านบาทไม่รวมดอกเบี้ยจนกว่าคดีจะได้ข้อยุติหากมีคำพิพากษาจากศาลฎีกาออกมา

ทางด้านกรมที่ดินมองว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะต้องการให้มหากาพย์ที่ดินเขากระโดงยุติปัญหาโดยเร็ว เดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเนื่องจากคาราคาซังมานาน โดยกรมที่ดินยืนยันว่าหากจะเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อ

รฟท.ต้องออกมารับรองแนวเขตซึ่งที่ผ่านมากรมที่ดินไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ทำหนังสือขอระวางแนวเขตจากรฟท.ไปแล้วถึง2ครั้งรวมทั้งให้คนของรฟท.ประชุมร่วมกันกับกรมที่ดินเพื่อค้นหาแนวเขตแต่ก็ไร้ผล

อ้างเพียงให้กรมที่ดินใช้ระวางเขตที่ดินเขากระโดงฉบับเดิม ปี2531และปี2539ซึ่งเป็นแผนที่เก่าไม่มีความชัดเจนและมีความคลาดเคลื่อนสูงหากเทียบกับหลักฐานใหม่ในปัจจุบัน

ล่าสุดต้นเดือนเมษายน 2565 ศาลปกครองได้มีหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อขอข้อมูลเอกสารหลักฐานประกอบการออกเอกสารสิทธิ์ทั้ง 5,083 ไร่ ภายใน90วันนับจากวันที่ศาลมีหนังสือ

โดยกรมที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา1ชุด มีผู้ตรวจราชการกรมที่ดินเขต13 เป็นประธาน ลงพื้นที่ค้นหาความจริง ตรวจสอบเขตที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ 90วัน พร้อมมีหนังสือถึงรฟท.ให้ส่งทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ชี้แนวเขตและรับรองแนวเขต เพื่อปัดหมุดที่ดินเพราะที่ดินแม้อยู่ในแปลงเดียวกันอาจไม่ใช่ที่ดินของรฟท.ทั้งหมด

หากมีความชัดเจน ที่ดินแปลงไหนเป็นที่ดินเขากระโดงของรฟท. กรมที่ดินจะตั้ง คณะกรรมการตามมาตร61 เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ โฉนด น.ส.3 น.ส.3ก ทันทีอย่างไรก็ตามกรมที่ดินไม่สามารถเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ตามใจชอบหรือหน่วยงานใดมีคำสั่งให้เพิกถอน เพราะอาจจะกระทบหรือไปรอนสิทธิ์เจ้าของกรรมสิทธิ์กรมที่ดินอาจถูกประชาชนฟ้องศาลได้

ย้อนไปก่อนหน้านี้กรมที่ดินได้ชี้แจงทำความเข้าใจ ต่อสาธารณะมาโดยตลอดว่า ในกรณีที่ การรฟท.มีหนังสือส่งเรื่องให้กรมที่ดินพิจารณาดำเนินการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เนื้อที่ประมาณ5089 ไร่ ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ

ในพื้นที่บริเวณเขากระโดง อำภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ๘๔๒ - ๘๗๒/ ๒๕๖๐ และที่ ๘๐๒๗/๒๕๖๓ ว่าเป็นพื้นที่ของ รฟท. และโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๔๖๖, ๘๕๖๔ ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ นั้น



1)กรณีดังกล่าวเป็นกรณีเดียวกันกับที่สมาพันธ์คนงานรถไฟและสหภาพแรงงานรถไฟ ได้ร้องเรียนต่อรัฐนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินทุกแปลงที่ออกในพื้นที่ของการรถไฟเนื้อที่ประมาณ 5083 ไร่ ซึ่งกรมที่ดินได้แจ้งให้การรถไฟฯ

จัดส่งแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ พ.ศ.2464 ให้กรมที่ดินพร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแปลงใดบ้างที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เสร็จแล้วแจ้งให้ กรมที่ดินเพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

2) กรณีโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๔๖๖ , ๘๕๖๔ ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ประมาณ 44 ไร่ กรมที่ดินได้มีหนังสือ ที่ มท ๑๕๑๖.๒(๓)/๒๗๘๒๖ ลงวันที่ 2 ตุลาคม2555 แจ้งผลการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดให้การรถไฟฯ ในฐานะหน่วยงานผู้ดูแลรักษาฟ้องคดีต่อศาลแล้ว

3) กรณีศาลฎีกา มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ๘๔๒ - ๘๗๖/๒๕๖๐ และ ที่ ๘๐๒๗/๒๕๖๓ ว่า ที่ดินเนื้อที่ประมาณ 194 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับที่ราษฎร จำนวน 35 ราย ได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. 1และมีหลักฐาน น.ส. 3 (ยังไม่มีการออกโฉนดที่ดิน) กรมที่ดินได้แจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว

โดยในขณะนี้ กรมที่ดินอยู่ระหว่างการจัดส่งข้อมูลเอกสารหลักฐานของการรถไฟฯ ให้จังหวัดบุรีรัมย์รวมเรื่องเพื่อพิจารณาและแจ้งให้การรถไฟฯ ดำเนินการเพิ่มเติม หากข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแปลงใดออกไปโดยคลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะได้พิจารณาดำเนินการ เพิกถอนหรือแก้ไขตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2022 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

ร้องขอเปิดตลาดนัดรถไฟ ตลาดนัดใหญ่สุดเมืองสงขลา หลังปิดมา 1 ปีเต็มจากสถานการณ์โควิด-19
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:32 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:32 น.




ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผู้จัดการตลาดนัดรถไฟสงขลา พร้อมตัวแทนชมรมผู้ประกอบการตลาดนัดรถไฟวันอาทิตย์ เข้ายื่นหนังสือขอเปิดตลาดซึ่งเป็นครัวของชาวเมืองสงขลา หลังปิดมานานครบ 1 ปีเต็มจากสถานการณ์โควิด-19 โดยจะขอเปิดในวันที่ 24 เม.ย.นี้ หากได้รับการอนุญาต

วันนี้ (18 เม.ย.) ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองสงขลา นายบุญเหิม สุวรรณขำ ผู้จัดการดูแลตลาดรถไฟสงขลา พร้อมตัวแทนชมรมผู้ประกอบการตลาดนัดรถไฟวันอาทิตย์ ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายอำเภอเมืองสงขลา ผ่านทาง นายณภัทร เก้าเอี้ยน ปลัดอำเภอเมืองสงขลา เพื่อขออนุญาตเปิดตลาดนัดรถไฟวันอาทิตย์ ซึ่งปิดมาเป็นเวลานานตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 ครบ 1 ปีพอดีในวันนี้ ซึ่งตลาดนัดรถไฟวันอาทิตย์ เป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองสงขลา เปรียบเหมือนครัวของชาวเมืองสงขลา

โดยทางปลัดอำเภอเมืองสงขลาได้รับหนังสือ และจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการอำเภอเมืองสงขลาในวันพรุ่งนี้ เพื่อเสนอให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พิจารณาอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะมีการขอเปิดตลาดนัดฯ ในวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2565

จากนั้น นายบุญเหิม พร้อมคณะยังได้เดินทางไปที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา บริเวณศาลากลางหลังเก่า เพื่อยื่นหนังสือฉบับเดียวกันนี้ให้กับ นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ผ่านทาง นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา โดยผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา จะได้นำเรื่องนี้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อพิจารณาในวันนี้เช่นเดียวกัน

ด้านนายบุญเหิม สุวรรณขำ ผู้จัดการดูแลตลาดรถไฟสงขลา กล่าวว่า อยากให้ทางจังหวัดเร่งพิจารณาเปิดตลาดนัดรถไฟวันอาทิตย์ เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าที่มาจากทั่วทั้งจังหวัดได้กลับมาขายของอีกครั้ง เพราะปิดมานาน 1 ปีเต็มจากสถานการณ์โควิด-19

สำหรับตลาดนัดรถไฟวันอาทิตย์ เขตเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ เป็นทั้งศูนย์กลางการค้าขาย และการท่องเที่ยวของ จ.สงขลา เป็นตลาดนัดวันอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในตัวเมืองสงขลา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/05/2022 7:36 pm    Post subject: Reply with quote

สั่งระงับ“กรมเจ้าท่า”ตรวจสอบกำแพงกันคลื่นโรงแรมใหญ่ฯหัวหินพบไม่ได้ขออนุญาต
เผยแพร่: 1 พ.ค. 2565 18:56 ปรับปรุง: 1 พ.ค. 2565 18:56 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ประจวบคีรีขันธ์ – กรมเจ้าท่าลงตรวจสอบหาดหัวหินหลัง นักท่องเที่ยวร้องเรียน พบการก่อสร้างบนแนวกำแพงเขื่อนกันคลื่นของโรงแรมใหญ่แห่งหนึ่งของชายหาด พบว่าไม่มีการขออนุญาต จึงสั่งยุติการดำเนินการชั่วคราว จนกว่าทางโรงแรมจะไปยื่นเอกสารให้ถูกต้อง และมีความผิดตาม พรบ. การเดินเรือตามมาตรา 119

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้( 1 พ.ค.) หลังจากนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนที่หาดหัวหิน ตั้งข้อสังเกตว่าบริเวณหาดหัวหิน ด้านหน้าโรงแรมแห่งหนึ่ง ทำไมถึงมีการปิดพื้นที่หาดขึงแสลนโดยรอบซึ่งเป็นที่สาธารณะ และมีก้อนหินขนาดใหญ่บ้างและเล็กลงมาตามลำดับกองเอาไว้ รวมทั้งป้ายเสาหลักของกรมเจ้า ด้วยและมีงานก่อสร้างกำแพงอยู่และไม่มีป้ายติดแสดงเอาไว้แต่อย่างใด จึงอยากให้สื่อมวลชนลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบ ว่าเหมาะสมหรือไม่ ในการดำเนินการบนหาดสาธารณะที่มีชื่อเสียง และยังเป็นที่นั่งเล่นพักผ่อนบริเวณดังกล่าวอีกด้วย

นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังได้รับทราบปัญหาการร้องเรียนและได้สั่งการให้หน่วยงานรับผิดชอบทั้งในส่วนกรมเจ้าท่า และเทศบาลเมืองหัวหินเจ้าของพื้นที่ลงไปตรวจสอบข่อเท็จจริง โดยนายอภิสิทธิ์ คำภิโร ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาประจวบคีรีขันธ์ หลังจากทราบ ได้สั่งการให้นายเสถียรพงษ์ กรีธาธร เจ้าพนักงานตรวจท่า สำนักงานภูมิภาคสาขาประจวบคีรีขันธ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีดังกล่าว

นอกจากนั้นในส่วนของเทศบาลเมืองหัวหิน นายจีรวัฒน์ พราหมณี ปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน ได้สั่งการให้ นายศุภนพ มัดจันทร์ นักจัดการเทศกิจปฏิบัติการ เทศบาลเมืองหัวหิน พร้อมเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังบริเวณแนวกำแพงเขื่อนกันคลื่นของโรงแรมโซฟิเทลเซ็นทาราแกรนด์ หัวหิน และพบกับนางสาวเดือนเพ็ญ เพ็งเกษม ผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพโรงแรมโซฟิเทลเซนทราแกรนด์ หัวหิน แจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าเยื่องจากกำแพงกันคลื่นเดิมได้ถูกคลื่นซัดพังเสียหาย จึงได้ดำเนินการซ่อมแซมใหม่และเริ่มลงมือก่อนสร้างในช่วงเดือนเมษายน โดยทางโรงแรมไม่ทราบว่าต้องขออนุญาต เนื่องจากทางโรงแรมเป็นผู้เช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย และทางการรถไฟจะเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาต จนเพิ่งมาทราบวันนี้จากเจ้าหน้าที่ว่า ยังไม่มีการขออนุญาตแต่อย่างใด โดยจะรีบดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องโดยทันที ซึ่งขณะนี้ดำเนินการซ่อมแซมไปแล้ว 80 เปอร์เศนต์ หลังจากนี้จะหยุดดำเนินการไว้ก่อน และเมื่อเสร็จแล้วจะดำเนินการเก็บวัสดุก่อสร้างบนชายหาดเพื่อคืนธรรมชาติต่อไป

นายอภิสิทธิ์ คำภิโร ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาประจวบคีรีขันธ์ พร้อมนายศุภนพ มัดจันทร์ นักจัดการเทศกิจปฎิบัติการ เทศบาลเมืองหัวหิน และเจ้าหน้าที่เทศกิจ ได้ตรวจสอบพบว่าแนวกำแพงกันคลื่นที่กำลังดำเนินการอยู่ในเขตพื้นที่ของการรถไฟ ระยะทางประมาณ 80 เมตร ส่วนที่มีวัสดุก่อสร้างทั้งหินขนาดต่างๆที่รื้อออกมาจากกำแพงเดิมที่กองอยู่ตลอดแนว มีความกว้างประมาณ 5 เมตร นั้นเป็นพื้นที่สาธารณะน้ำท่วมถึงของเขตกรมเจ้าท่า ตามที่หลักเสาหินปักเอาไว้

โดยจากการตรวจสอบพบไม่ได้ขออนุญาตจากสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 สาขาประจวบคีรีขันธ์ แต่อย่างใดโดยเฉพาะการกองเศษวัสดุก่อสร้างลงบนชายหาด รวมทั้งไม่ได้ขออนุญาตดำเนินการจากสำนักงานกองช่างเทศบาลเมืองหัวหิน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร อีกด้วย ซึ่งทั้งสองกรณีดังกล่าวถือว่ามีความผิด ดังนั้นจึงสั่งระงับการก่อสร้างไปก่อนจนกว่าทางโรงแรมจะดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบของทั้งสองหน่วยงาน

สำหรับในส่วนของความผิดของกรมเจ้าท่า โรงแรมมีความผิดตาม พ.ร.บ. การเดินเรือตามมาตรา 119 ห้ามมิให้ผู้ใดเททิ้ง เทกอง ทั้งหิน กรวด ทราย ดินโคลน สิ่งของหรือสิ่งปฏิกูลใด ในที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ำไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยหลังตรวจสอบแล้วจะได้รายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 สาขาประจวบคีรีขันธ์ และผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับทราบต่อไป

ด้านนายอุดม ศรีมหาโชตะ กรรมการและประธานฝ่ายสิ่งแวดล้อม สมาคมโรงแรมไทย อุปนายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของพื้นที่มีการปรับแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบว่าการปรับเปลี่ยนปรับปรุงมีผลกระทบอะไรหรือไม่ เพราะขณะนี้มีการลงมาในพื้นที่ชายหาดซึ่งมีผลกระทบตามที่นักท่องเที่ยวมีการร้องเรียนมา จึงคิดว่าต้องกลับมาถามนโยบายในท้องถิ่น กรณีทั้งการก่อสร้างหรือปรับปรุง รวมทั้งร้านค้า ร้านอาหารที่เข้าไปเปิดใช้พื้นที่ของชายหาดทำกิจกรรมลักษณะต่างๆ เพราะทางสมาคมโรงแรมไทยได้รับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวในลักษณะเช่นนี้มากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ภายของชายหาดหัวหิน เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่ดูไม่ดี นักท่องเที่ยวที่มาหัวหินเมื่อลงมาที่ชายหาดต้องการนั่งพักผ่อน เดินเล่น ลงเล่นน้ำทะเลซึ่งทำให้ภาพของหาดหัวหิน ขาดความสวยงามไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 182, 183, 184 ... 198, 199, 200  Next
Page 183 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©