RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272636
ทั้งหมด:13583932
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 183, 184, 185 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2022 2:15 am    Post subject: Reply with quote

“เขากระโดง” บุรีรัมย์ “พื้นที่รัฐอิสระ” เหนือใคร!
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย...บากบั่น บุญเลิศ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 05:30 น.


ยังคงเกาะติดข้อพิพาทในเรื่องที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเกี่ยวพันกับคนการเมือง และถึงแม้ว่าศาลฎีกาจะพิพากษาตัดสินว่าเป็นการบุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่จนบัดป่านนี้ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ แถมหน่วยงานรัฐ คือ การรถไฟฯ กลับมาฟัดกรมที่ดิน ด้วยการฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครอง และเรียกค่าเสียหายด้วย



ที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิ์และโฉนดบริเวณเขากระโดง 5,083 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟฯ แต่ทำอะไรไม่ได้มายาวนาน เสมือนเป็นรัฐอิสระ เหมือน “สำนักวาติกัน” มีความเป็นมาอย่างไร ผมจะพามาถอดความจากเอกสารราชการ 2 ชุดเท่าที่จะหาได้ดังนี้



14 กันยายน 2554 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนังสือถึง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้ดําเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ โดยได้แนบรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงพร้อมเอกสารประกอบ 252 แผ่น ให้พิจารณา ความว่า...



ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียน นายบัญชา คงนคร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รักษาการในตําแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กับพวก ว่ากระทําความผิดฐานทุจริต ต่อหน้าที่ หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ โดยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดําเนินการกับผู้บุกรุก ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย กรณี นายชัย ชิดชอบ ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ นางกรุณา ชิดชอบ ถือกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินเลขที่ 8564 ตําบลอิสาณ อําเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับไว้พิจารณาโดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อดําเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและรวบรวม พยานหลักฐาน พร้อมทั้งจัดทําสํานวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา



คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสํานวน การไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีมติ ดังนี้



1. การออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 เป็นการออกโฉนดในที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน จึงเป็นการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้แจ้งกรมที่ดิน ดําเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 94



2.กรณีกล่าวหา นายบัญชา คงนคร และพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง จากการไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า บุคคลดังกล่าวได้ละเว้นไม่ดําเนินการกับผู้บุกรุกที่ดิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามที่ถูกกล่าวหา



ข้อกล่าวหาไม่มีมูล : ให้ข้อกล่าวหาตกไป



“เขากระโดง” บุรีรัมย์ “พื้นที่รัฐอิสระ” เหนือใคร!


3. กรณีปรากฏพยานหลักฐานว่า มีเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ประกอบด้วย



• นายสมัย โฮมภิรมย์ และ นายวินัย สดแสงจันทร์ (นายประหยัด เทอดไทย และ นายพยิน ขยันสํารวจ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด . . . ได้ถึงแก่ความตายแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้รับเรื่อง สิทธินําคดีอาญามาฟ้อง ได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) ให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบเรื่องกล่าวหา



• นายกริช เกตุแก้ว และ นายวรจันทร์ อินทรกฤษณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ลงนามออกโฉนด ได้เกษียณอายุราชการเมื่อปี 2530 และเมื่อก่อนปี 2520 ตามลําดับ ก่อนมีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเป็นเวลาร่วม 20 ปี และ 30 ปี ตามลําดับ



ในทางวินัยไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาดําเนินการทางวินัยได้ และในทางอาญา คดีขาดอายุความแล้วก่อนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้รับเรื่อง



ดังนั้น สิทธินําคดีอาญามาฟ้อง ได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบเรื่องกล่าวหา



• นายชัย ชิดชอบ และ นายประพันธ์ สมานประธาน ผู้ขอออกโฉนด มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ดําเนินการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 โดยมิชอบ ซึ่งนับแต่วันกระทําความผิดถึงวันที่พนักงานสอบสวน ได้รับคําร้องทุกข์ กล่าวโทษ เป็นเวลากว่า 30 ปี คดีขาดอายุความแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้รับเรื่อง



ดังนั้น สิทธินําคดีอาญามาฟ้องได้ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) ให้จําหน่ายเรื่องออกจากสารบบเรื่องกล่าวหา



สําหรับ นางกรุณา ชิดชอบ ซึ่งซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8564 เมื่อปี 2540 ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่า มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบแต่อย่างใด ให้ข้อกล่าวหาตกไป



“เขากระโดง” บุรีรัมย์ “พื้นที่รัฐอิสระ” เหนือใคร!



ทั้งนี้ ให้แจ้งการรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาดําเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อไป รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย



จึงขอส่งเรื่องมาเพื่อโปรดดําเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยดังกล่าว เมื่อดําเนินการได้ผลเป็นประการใดโปรดแจ้งให้ทราบด้วย จักขอบคุณมากหนังสือดังกล่าว ลงนามโดยนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.



ฉบับที่สอง เป็นหนังสือหารือแนวทางปฏิบัติกรณีการร้องขอให้ศาลมีคําสั่งเพิกถอนโฉนด ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นหนังสือตอบจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึง อธิบดีกรมที่ดิน โดยอ้างถึง หนังสือกรมที่ดิน ด่วนมาก ที่ มท 0505.2/8982 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2555 ความว่า...



ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งว่า กรมที่ดินได้หารือกรณีที่สํานักงาน ป.ป.ช. ได้ส่งเรื่องให้ กรมที่ดินดําเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดิน เลขที่ 3466 และ 8565 ตําบลอิสาณ อําเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งกรณีดังกล่าว อธิบดีกรมที่ดินได้ดําเนินการตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติให้เฉพาะอธิบดี หรือ รองอธิบดีผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีมีอํานาจดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ครบถ้วนโดยเร็ว เพื่อมีคําสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ที่ออกโดยคลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่จําต้องใช้สิทธิทางศาลไว้แล้ว



แต่อธิบดีกรมที่ดินมีความเห็นว่าที่ดิน ทั้ง 2 แปลงดังกล่าว ไม่อาจรับฟังได้ว่า เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินทั้งสองแปลง ความเห็นของกรมที่ดินจึงขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงทําให้มีปัญหา ในทางปฏิบัติ



กรมที่ดิน จึงขอหารือว่า 1. การที่กรมที่ดินพิจารณาดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องเพิกถอนโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เป็นไปตามนัยมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แล้วพิจารณาเห็นควรไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีจะเป็นการโต้แย้งหรือขัดต่อหลักการตราจสอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. อันเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 หรือไม่ ประการใด



2. เมื่อกรมที่ดินพิจารณาเห็นควรไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องดําเนินการส่งเรื่องเพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาให้ยกเลิกเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้งสองแปลง ดังกล่าวตามนัยมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต หรือไม่ ประการใด และหากจะต้องดำเนินการตามนัยมาตรา 99 ดังกล่าวกระบวนการขั้นตอนเป็นอย่างไร จะสามารถดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้หรือไม่ ประการใด



3. เนื่องจากการฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังนั้นหากจะต้องมีการดําเนินการส่งเรื่องให้ศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาให้ยกเลิกเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวซึ่ง สำหรับกรณีนี้ผู้เสียหายควรเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากมีกรณีออกโฉนดที่ดิน ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช่หรือไม่ ประการใด ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น



สํานักงานอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า “เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 99 นั้น กฎหมายประสงค์จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนํารายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติหรืออนุญาตให้สิทธิประโยชน์หรือออกเอกสารสิทธิแก่ บุคคลใดไป โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ ฟ้องหรือร้องต่อศาลเพื่อมีคําสั่งหรือมีคําพิพากษาให้ยกเลิกเพิกถอนสิทธิหรือเอกสารสิทธิที่ผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติหรืออนุญาต



จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือผู้ได้รับความเดือดร้อนจะต้องนํารายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ฟ้องต่อศาลที่มีอํานาจเพื่อมีคําสั่งหรือ คําพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่พิพาทสองแปลงดังกล่าวต่อไป



“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ก็คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเป็นผู้มีอํานาจ ฟ้อง โดยไม่จําเป็นต้องนํารายงานของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าวเสนอต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้มีอํานาจหน้าที่ดําเนินการเพิกถอนพิจารณา ดําเนินการก่อน”



ดังนั้น การที่อธิบดีกรมที่ดินเห็นควรไม่เพิกถอนโฉนด ย่อมไม่มีผลทางกระทบต่อการที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ การรถไฟแห่งประเทศไทยที่จะฟ้องหรือร้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอน โฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 99 และไม่เป็นการโต้แย้งหรือขัดต่อหลักการตรวจสอบของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อันเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542



เนื่องจากเหตุในการฟ้องร้องต่อศาล เป็นไปตามรายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่วนการพิจารณาของอธิบดีกรมที่ดินเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ซึ่งเป็นคนละเหตุไม่เกี่ยวข้องกัน



อย่างไรก็ตาม กรมที่ดินมีหน้าที่ต้องแจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อทราบผลการ พิจารณาของอธิบดีกรมที่ดินที่ไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท และแจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดําเนินการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542มาตรา 99 ต่อไป



จึงเรียนมาเพื่อทราบ ลงนามโดย นายภราดร ศรีศุภรางค์กุล รองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทน อัยการสูงสุด และนายประภัสสร สืบเหล่ารบ ผู้อํานวยการสํานักกฎหมาย



ทัศนาในรายละเอียดแล้ว ช่วยกันตอบหน่วยงานไหนไม่ปฏิบัติละเว้นให้ผู้บุกรุกมีอภิสิทธิ์พิเศษเหนือใครทั้งๆ ที่เป็นที่ดินของรัฐ ....Please
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2022 2:17 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กรมที่ดิน งัดรฟท.ดึงคนรถไฟชี้แนวเขต“เขากระโดง”รวมหลักฐานชี้แจงศาลปกครอง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 9:24 น.



“กรมที่ดิน”ยันปมที่“เขากระโดง”ทำถูกต้องตามก.ม.แต่การรถไฟไม่เคยโต้แย้ง
หน้าการเมือง
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:42 น.

“รมช.มหาดไทย”แจงอธิบดีกรมที่ดินยืนยันได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ของการรถไฟฯ ถูกต้องตามกฎหมาย และระเบียบครบถ้วน แต่การรถไฟฯ ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้านการออกเอกสารสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด แถมไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลตามความเห็นของอัยการสูงสุด

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565 ที่กระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงกรณีที่การรถไฟฯ ได้ฟ้องกรมที่ดิน ซึ่งได้สั่งการให้กรมที่ดินชี้แจงข้อปัญหาดังกล่าวเพื่อสร้าความกระจ่างให้กับสังคม ล่าสุดอธิบดีกรมที่ดินได้ชี้แจงรายละเอียดว่า กรมที่ดินได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของกรมที่ดินครบถ้วน ตามรายละเอียดดังนี้



ตามที่ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้แถลงข่าว กรณีที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี พ.ศ.2462 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ฟ้องกรมที่ดินต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนโฉนดที่ดินในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย พื้นที่ 5,083 ไร่ นั้น กรมที่ดินขอชี้แจง ดังนี้



ประเด็นที่ 1 โฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์



1.1 ปี พ.ศ. 2548 การรถไฟแห่งประเทศไทยขอให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งออกไว้เมื่อ พ.ศ. 2515 และ พ.ศ. 2518 โดยอ้างว่าเป็นที่ดิน ที่อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี พ.ศ. 2462

1.2 กรมที่ดินมีคำสั่งที่ 1556/2550 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 และ 163/2552 ลงวันที่ 29 มกราคม 2552 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อพิจารณาว่ามีเหตุอันควรที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวตามคำร้องขอของการรถไฟฯ หรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติไว้


แต่การรถไฟฯ ไม่สามารถจัดส่งแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ ปี พ.ศ. 2462 ให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินเพื่อประกอบการพิจารณาได้ คณะกรรมการสอบสวนฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะชี้ชัดได้ว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในพื้นที่เขตที่ดินของการรถไฟฯ จริง จึงไม่เสนอให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่อย่างใด กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ จึงสั่งยุติเรื่องและแจ้งผลให้การรถไฟฯ ทราบเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552



1.3 ปี พ.ศ. 2554 สำนักงาน ป.ป.ช. มีมติให้เพิกถอนโฉนดเลขที่ 3466 และ 8564 ตามข้อ 1.1 เนื่องจากออกทับที่ดินของการรถไฟ ตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งกรมที่ดินได้ยุติเรื่องไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.2552 ตามข้อ 1.2 จึงหารือแนวทางปฏิบัติไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อปี พ.ศ. 2555 สำนักงานอัยการสูงสุดแจ้งผลการพิจารณาว่า หน่วยงานผู้เสียหายหรือได้รับความเดือดร้อน(การรถไฟฯ) ต้องนำรายงาน ของ ป.ป.ช. ไปฟ้องคดีต่อศาล วันที่ 2 ตุลาคม 2555 กรมที่ดินจึงแจ้งผลการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดให้การรถไฟฯ และ สำนักงาน ป.ป.ช. ทราบ ซึ่งการรถไฟฯ ก็มิได้ดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลตามความเห็นของอัยการสูงสุดแต่อย่างใด



ดังนั้น ตามประเด็นที่ 1 กรมที่ดินได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ครบถ้วนแล้ว



ประเด็นที่ 2 กรณีคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 จำแนกได้ดังนี้
2.1 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ให้กรมที่ดินดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

2.2 กรมที่ดินตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นกรณีราษฎรจำนวน 35 ราย ได้นำหลักฐาน ส.ค.1 มาขอออกโฉนดที่ดิน จำนวน 40 แปลง และการรถไฟฯ ได้คัดค้านการออกโฉนดที่ดินและฟ้องคดีต่อศาล โดยศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของการรถไฟฯ


2.3 กรมที่ดินได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดยยกเลิกเรื่องราวการออกโฉนดที่ดินของราษฎรทั้ง 35 ราย จำนวน 40 แปลง พร้อมทั้งจำหน่าย ส.ค.1 เสร็จสิ้นแล้ว


ดังนั้นการดำเนินการตามประเด็นข้อ 2 กรมที่ดินได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ครบถ้วนแล้ว
ประเด็นที่ 3 กรณีคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561
3.1 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ให้กรมที่ดินดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

3.2 กรมที่ดินตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นกรณีราษฎร ได้นำ น.ส.3ข.เลขที่ 200 ม.13 (9) ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองฯ จังหวัดบุรีรัมย์ มาขอออกโฉนดที่ดิน และการรถไฟฯ ได้คัดค้านว่าทับที่ดินของการรถไฟฯ บางส่วน โดยมีการรังวัดทำแผนที่พิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินและการรถไฟฯ แล้ว มีเนื้อที่ที่การรถไฟฯ คัดค้านจำนวน 9-3-39.8 ไร่ โดยศาลพิพากษาว่า ที่ดินส่วนที่การรถไฟฯ คัดค้าน (จำนวน 9-3-39.8 ไร่) เป็นของการรถไฟฯ


3.3 กรมที่ดินมีคำสั่งที่ 2992/2564 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ให้แก้ไข น.ส. 3 ข.เลขที่ 200 ม.13 (9) ต.เสม็ด อ.เมืองฯ จ.บุรีรัมย์ ส่วนทับซ้อนที่ดินการรถไฟ เนื้อที่ 9-3-39.8 ไร่ ตามที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้ว แต่เนื่องจากคำสั่งกรมที่ดินเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ผู้ครอบครองที่ดินตามหลักฐาน น.ส.3 ดังกล่าว จึงได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของกรมที่ดิน ซึ่งผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ (ปลัดกระทรวงมหาดไทย) ได้ยกอุทธรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565
ดังนั้น ตามประเด็นที่ 3 กรมที่ดินได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ครบถ้วนแล้ว


ประเด็นที่ 4 การรถไฟแห่งประเทศไทยขอให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดิน จำนวน 700 แปลง และ น.ส.3 ก. อีกจำนวน 7 แปลง ที่การรถไฟฯ อ้างว่าอยู่ในเขตที่ดินของการรถไฟฯ เนื้อที่ 5,083-0-80 ไร่ โดยใช้แผนที่ที่การรถไฟฯ ได้จัดทำขึ้นและใช้อ้างเป็นพยานในศาลตามประเด็นที่ 2 และ 3 ตามหนังสือฉบับลงวันที่ 23 มิถุนายน 2564 และ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564


4.1 จากการตรวจสอบของกรมที่ดินพบว่า การรถไฟฯ ได้จัดส่งแผนที่ให้กรมที่ดินไว้ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 ซึ่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับรองไว้ จากการคำนวณเนื้อที่ได้เนื้อที่ 4,745-1-00 ไร่ ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2539 จากการคำนวณเนื้อที่ ได้เนื้อที่ 4,571-1-00 ไร่ ซึ่งแผนที่ทั้ง 2 ฉบับมีความแตกต่างกัน และเนื้อที่น้อยกว่าที่การรถไฟฯ กล่าวอ้าง



4.2 กรมที่ดินได้ตรวจสอบระวางแผนที่ที่ใช้ในราชการเพื่อการออกโฉนดที่ดินของกรมที่ดิน ไม่ปรากฎว่า มีการนำแผนที่ของการรถไฟฯ ทั้งปี พ.ศ. 2531 และ ปี พ.ศ.2539 ไปถ่ายทอดลงในระวางแผนที่แต่อย่างใด กรมที่ดินจึงไม่สามารถตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ เพื่อเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินได้ เนื่องจากไม่ทราบอาณาเขตที่ชัดเจน


4.3 จากการตรวจสอบคำพิพากษาศาลฎีกา พบว่าแผนที่ดังกล่าวเป็นแผนที่ที่คู่ความรับกันในคดีและผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้น (ใช้ในคดีคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 842-876/2560 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 และ ที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งการรถไฟฯ เป็นฝ่ายถูกราษฎรฟ้องคดี) จึงไม่สามารถนำแผนที่ดังกล่าวมาใช้ประกอบการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตาม มาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อเพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงอื่นได้ ซึ่งกรมที่ดินได้แจ้งให้การรถไฟฯ ทราบแล้ว


4.4 กรมที่ดินได้นำแผนที่ของการรถไฟฯ ทั้งปี พ.ศ.2531 และ พ.ศ.2539 มาดำเนินการตามหลักวิชาการแผนที่ ปรากฎว่าแผนที่ทั้ง 2 ฉบับ มีความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นแนวเดียวกัน ซึ่งมีผลในการพิจารณาเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน


4.5 กรมที่ดินได้นำภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2497 มาใช้ในการตรวจสอบแนวเขตทางรถไฟเดิม แล้วกำหนดระยะแนวเขตจากศูนย์กลางทางรถไฟออกไปข้างละ 1 กิโลเมตร ปรากฎว่ารูปแผนที่ที่ได้ไม่สอดคล้องกับแผนที่ของการรถไฟในปี พ.ศ.2531 และ พ.ศ.2539 จึงทำให้มีแนวเขตที่ดินของการรถไฟฯ อยู่ 3 แนวเขต และไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าแนวเขตที่ดินใดถูกต้อง เว้นแต่จะได้มีการรังวัดตามหลักวิชาการแผนที่


กรมที่ดินได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้


(1) กรมที่ดินได้จัดส่งระวางแผนที่ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม ที่กรมที่ดินใช้ในราชการ ไปให้การรถไฟฯ ถ่ายทอดแนวเขตตามแผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างพร้อมทั้งลงนามรับรอง เพื่อกรมที่ดินจะได้ใช้ประกอบการพิจารณาเพิกถอนโฉนดที่ดินและ น.ส.3 ก. ได้ (กรณีนี้เป็นกรณีเดียวกับที่กรมที่ดินใช้ระวางแผนที่เพิกถอนเอกสารสิทธิในเขตป่าไม้ ซึ่งกรมป่าไม้ได้มีการถ่ายทอดแนวเขตป่าไม้ไว้ให้ในระวางแผนที่ของกรมที่ดิน) แต่การรถไฟฯก็ไม่ตอบสนองในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว


(2) กรมที่ดินตรวจสอบ พบว่าการรถไฟฯ ได้แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1 ) ไว้เป็น ส.ค.1 เลขที่ 1180 พร้อมทั้งยื่นเรื่องขอออกโฉนดที่ดินและได้มีการนำรังวัดปักหลักเขตเพื่อออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ไปบางส่วนแล้ว แต่ยังคงเหลือพื้นที่ส่วนใหญ่ที่การรถไฟฯ นำรังวัดชี้เขตที่ดินไม่ครบถ้วนตามจำนวนเนื้อที่ที่ระบุไว้ในหลักฐาน ส.ค.1 ซึ่งหากการรถไฟฯ นำรังวัดชี้แนวเขตเพื่อออกโฉนดได้ครบตามจำนวนเนื้อที่ที่ได้แจ้ง ส.ค.1 ไว้ ก็จะทำให้ทราบขอบเขตที่ดินทั้งหมดของการรถไฟฯ และกรมที่ดินก็จะสามารถใช้แนวเขตดังกล่าว ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ซ้อนทับที่ดินของการรถไฟฯ ได้ แต่การรถไฟฯ ก็ไม่ตอบสนองในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว


(3) กรมที่ดินแจ้งให้การรถไฟฯ ส่งผู้แทนหรือตัวแทนเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานทำการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินของการรถไฟ จำนวน 5,083 ไร่ และแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่ามีที่ดินจำนวนทั้งหมดกี่แปลงที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟ และที่ดินแปลงใดทับซ้อนเป็นบางส่วน ซึ่งจะต้องทำการรังวัดในที่ดินเพื่อแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟ แต่การรถไฟฯ ก็ไม่ตอบสนองในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

“กรมที่ดิน”ยันปมที่“เขากระโดง”ทำถูกต้องตามก.ม.แต่การรถไฟไม่เคยโต้แย้ง
4.6 กรมที่ดินได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีผู้ตรวจราชการกรมที่ดิน เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ดินที่การรถไฟฯ กล่าวอ้าง ว่ามีจำนวนกี่แปลง เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินประเภทใด ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบกับการรถไฟฯ อีกครั้งว่า เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่จะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือไม่ เพียงใด โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ 4 เมษายน 2565 เมื่อมีการรังวัดที่ดินในพื้นที่แล้ว ก็สามารถนำหลักฐานที่กรมที่ดินตรวจสอบไว้มาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเพิกถอนต่อไปได้


กรณีที่การรถไฟฯ ได้ฟ้องกรมที่ดินต่อศาลปกครองกลางเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2564 นั้น กรมที่ดินมีความจำเป็นที่จะต้องร้องขอต่อศาลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ทำการรังวัดที่ดินเพื่อให้ทราบแนวเขตที่ดินของการรถไฟฯ ในฐานะที่การรถไฟฯ เป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อทราบอาณาเขตที่แน่ชัดเพื่อกรมที่ดินจะได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ เพื่อเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่อยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ ทั้งแปลงหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหากอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ เป็นบางส่วน เป็นรายแปลงได้ต่อไป


ทั้งนี้ หากศาลมีคำพิพากษาให้การรถไฟฯ ทำการรังวัดที่ดินเพื่อทราบแนวเขตแล้ว กรมที่ดินก็สามารถที่จะเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้ทันที และเมื่อมีการเพิกถอนหรือแก้ไขที่ดินแปลงใดแล้ว เจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิฟ้องกรมที่ดินต่อศาลปกครองได้ ซึ่งกรมที่ดินจะร้องขอต่อศาลให้การรถไฟฯ เข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับกรมที่ดินด้วย เนื่องจากการรถไฟฯ ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้านการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่การรถไฟเป็นของการรถไฟฯ แต่อย่างใด

พิษที่ดินเขากระโดงบานปลาย การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน

THAN DIGITAL
THAN TALK TV

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565 เวลา 13:26 น.


ศึกที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับกรมที่ดินกรณีออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินรถไฟ ที่กำลังฟ้องร้องเรื่องอยู่ในศาลปกครอง กำลังขยายวงลุกลามไปถึงสถาบันการเงิน
https://www.youtube.com/watch?v=_hCwIBD8BkU
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44634
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/05/2022 8:12 am    Post subject: Reply with quote

พลิกที่ดินรถไฟ3แสนล้าน เร่งลงทุน'ศิริราช-บางซื่อ'
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, May 04, 2022 06:01

"ศักดิ์สยาม" สั่งการรถไฟฯ เร่งส่งมอบที่ดิน 38,000 ไร่ มูลค่า 3 แสนล้านให้บริษัทลูก "รถไฟพัฒนาทรัพย์สิน" (SRT Asset) ภายใน 30 วัน หลัง 1 ปีไม่คืบวางไทม์ไลน์ปี 2565 แจ้งเกิดลงทุน 4 โครงการ "ศิริราช-บางซื่อRCA-หัวหิน" จัดพอร์ตกลุ่ม Quick Win ทำเลศักยภาพพัฒนา ทันที ปั้นรายได้ 5 ปีแรกเฉลี่ย 4-8 พันล้าน/ปี แก้ปัญหาหนี้ขาดทุนสะสม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก่อตั้งบริษัทลูก คือ บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ SRT Asset ได้ครบ 1 ปี จากการติดตามผลดำเนินการล่าสุดพบว่า ในส่วนของบริษัท SRT Asset มี

การเตรียมความพร้อมรองรับภารกิจในการเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการทรัพย์สินเพื่อสร้างรายได้กลับคืนให้กับ ร.ฟ.ท. ซึ่งเป็นภารกิจการจัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี สถานะปัจจุบันอยู่ระหว่างการโอนทรัพย์สินที่ดิน 38,429 ไร่ คิดเป็นมูลค่า 300,000 ล้านบาท

ข้อสั่งการเร่งส่งมอบ 30 วัน

ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางราง, สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง, ร.ฟ.ท., บริษัท SRTA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่จาก ร.ฟ.ท.ให้กับ SRTA ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน รวมทั้งมอบแนวทางเพิ่มเติมการพัฒนาที่ดิน จะต้องใช้หลักการที่จะต้องอิงจากความเหมาะสมในการพัฒนาให้ตรงกับศักยภาพของพื้นที่ ไม่ยึดติดกับการพัฒนารูปแบบเดิม ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ร.ฟ.ท.

"ในปี 2565 นี้ ผมอยากเห็นความคืบหน้าโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนานำร่อง 4 แปลงแรก ได้แก่ แปลงสถานีธนบุรีหรือสถานีร่วมศิริราช, แปลง RCA พระราม 9, แปลงบางซื่อ และแปลงหัวหิน ซึ่งภารกิจของบริษัทลูก SRTA จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถ (noncore assets) ของการรถไฟฯ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามแก้ปัญหาหนี้รถไฟที่ขาดทุนสะสมกว่า 1 แสนล้านบาท"
30 ปีปัมรายได้ 6 แสนล้าน

ในด้านการส่งมอบทรัพย์สินให้กับ SRTA นั้น ทาง ร.ฟ.ท.รายงานความคืบหน้า ดังนี้ 1.ที่ดินที่มีสัญญาเช่ามีจำนวน 15,528 สัญญา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ที่ดินที่มีสัญญาเช่าเดิม เช่น ยังไม่หมดอายุ และสัญญาเช่าฝ่ายปฏิบัติการเดินรถเป็นคู่สัญญา 2.ที่ดินเปล่าตามโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ หรือกลุ่มพื้นที่ออกจัดประโยชน์ใหม่ เช่น ที่ดินแปลงธนบุรีและที่ดินแปลงโรงแรมหัวหิน (โรงแรม) เป็นต้น และ 3.กลุ่มที่ไม่ส่งมอบให้ SRTA ได้แก่ สัญญาเช่าหน่วยราชการ, ทางเข้า-ออก, ลูกค้าขนส่งทางรถไฟ และสัญญาปักเสาพาดสาย เป็นต้น

ส่วน SRTA รายงานผลดำเนินการในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ดังนี้ 1.บริษัทวางระบบที่เกี่ยวข้องทั้งร่างระเบียบและหลักเกณฑ์ รวมถึงศึกษาแนวทางพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เพื่อเตรียมการบริหารทรัพย์สิน 2.เป้ารายได้ ปี 2566 ประมาณการรายได้ปีละ 4,000 ล้านบาท (สูงกว่า ร.ฟ.ท.บริหารเองมีรายได้ปีละ 3,000 ล้านบาท) ภายใน 5 ปีหรือภายในปี 2570 ประมาณการรายได้ปีละ 8,000 ล้านบาท ขณะที่แผนระยะยาว 30 ปี คาดว่ามีรายได้สะสมรวมกัน 600,000 ล้านบาท

โดย SRTA เริ่มศึกษาโครงการนำร่อง 4 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการโรงแรมรถไฟหัวหิน แปลงนี้รับผล กระทบสถานการณ์โควิดโดยตรง จึงจำเป็นต้องทบทวนผลการศึกษาใหม่ และประเมินมูลค่าสิทธิการเช่าปัจจุบันและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงทรัพย์สินอื่นที่เกี่ยวข้องใหม่ ทั้งนี้ จะมีการเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับ SRTA สามารถเจรจากับผู้เช่าได้ เนื่องจากใกล้จะครบกำหนดสัญญา

2.การจัดทำแผนแม่บทโครงการสถานีธนบุรี เป้าหมายพัฒนาให้เป็นศูนย์การแพทย์ชั้นนำและสังคมสีเขียว 3.โครงการบางซื่อ อยู่ระหว่างจัดจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนศึกษาโครงสร้างของ smart city company และ 4.โครงการพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางพระรามเก้า (RCA-คลองตัน) ปัจจุบันอยู่ระหว่างตรวจสอบสถานะสัญญา และสรุปพื้นที่ที่สามารถจัดสรรได้ โดยจะหมดอายุสัญญากลางปี 2565 นี้

พอร์ตที่ดินรอพัฒนา 90%

นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการ ร.ฟ.ท. และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" เพิ่มเติมว่า SRT Asset หรือ SRTA จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ปัจจุบันมีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน 100% เพื่อรองรับภารกิจตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคมและภารกิจจากบริษัทแม่ คือ ร.ฟ.ท.

"ในด้านความพร้อมของทีมผู้บริหารและพนักงาน SRT Asset ถ้าหากได้รับโอนที่ดินเต็มจำนวน 38,429 ไร่แล้ว มั่นใจว่าสามารถผลักดันการพัฒนาให้เป็นรูปธรรมได้ภายใน 6 เดือนหลังจากรับโอนทรัพย์สินจากรถไฟ ทั้งนี้ ในจำนวน 38,000 ไร่บางส่วนมีผู้เช่าไปแล้ว บทบาท SRT Asset คือ บริหารสัญญาเช่าต่อจนกว่าจะหมดสัญญา จากนั้นเราจะมาดูว่าพื้นที่เหล่านั้นสมควร นำมาพัฒนารูปแบบไหน หรือสมควรให้ผู้เช่ามีการเช่าต่อหรือไม่ อย่างไร อยู่ที่เราศึกษาในรายละเอียดอีกที"
กลยุทธ์ในการพัฒนาพื้นที่จะแบ่งกลุ่มการพัฒนาเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกมีสัญญาเช่าเดิมอยู่แล้ว จะบริหารสัญญาเช่าต่อไป โดยช่วยเก็บค่าเช่า ดูแลรายละเอียดต่าง ๆ และนำส่งรายได้ ให้ ร.ฟ.ท. ส่วนที่ 2 พื้นที่มีสัญญาเช่า, หมดสัญญาเช่าไปแล้ว, ไม่มีการจ่าย, พื้นที่บุกรุก จะดำเนินการติดตามทวงหนี้หรือดำเนินการเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่เพื่อให้พื้นที่เหล่านั้นพร้อมนำมาพัฒนาต่อไป และส่วนที่ 3 ที่ดินเปล่ารอการพัฒนา

"สัญญาเช่าที่รถไฟจะส่งมอบให้ SRT Asset 15,000 สัญญานั้น คำนวณเป็นพื้นที่เพิ่งจะมีสัดส่วนเพียง 10% ของ 38,000 ไร่ แสดงว่ายังมีที่ดินอีก 90% ที่เราจะต้องศึกษาลงรายละเอียดเพื่อหยิบมาพัฒนาต่อโดยใช้ให้เต็มศักยภาพของแต่ละแปลง"
จัดระเบียบ Quick Win

รักษาการเอ็มดี SRT Asset กล่าวต่อว่า ไทม์ไลน์ในการพัฒนาโครงการ เนื่องจากทรัพย์สินที่รอรับโอนเป็นแลนด์แบงก์ก้อนใหญ่ถึง 38,000 ไร่ กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และต่างจังหวัดทั่วประเทศ ดังนั้นจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญ โดยบริษัทจัดทำโปรแกรม Quick Win คัดที่ดินแปลงศักยภาพสูง สามารถหาแนวทางพัฒนาโครงการได้ในทันที มีรายได้กลับเข้ามารวดเร็ว และเป็นประโยชน์กับสาธารณชนด้วย

ยกตัวอย่าง ในกรุงเทพฯมี 3-4 แปลง อาทิ บริเวณสถานีธนบุรี เชื่อมต่อกับโรงพยาบาลศิริราช, พื้นที่โซนบางซื่อทั้งหมด 2,300 กว่าไร่, โซนพระราม 9 RCA ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด อาทิ บริเวณสนามกอล์ฟและโรงแรมรถไฟ หัวหิน ขนาด 70 กว่าไร่ จุดเด่นมีความยาวหน้าชายหาด 500 เมตร สามารถอัพเกรดการพัฒนาเป็นโรงแรม 6 ดาว, ที่ดินแปลงใหญ่ในภูเก็ต ทำเลท่านุ่นซึ่งเป็นรอยต่อภูเก็ตกับพังงา เป็นต้น

"เนื่องจากที่ดินรถไฟมีทั้งแปลงเล็กแปลงใหญ่ บางแปลงหรือหลายแปลงอาจไม่ได้อยู่ในลิสต์ไพรออริตี้แรกที่จะหยิบมาพัฒนาทันที แต่ก็อยู่ในโฟกัสที่เราต้องดูเหมือนกัน"
โมเดล TOD บูมฮับคมนาคม

สำหรับโมเดลการพัฒนาที่ดินรถไฟ นางสาวไตรทิพย์กล่าวว่า จุดเน้นส่วนใหญ่จะพัฒนาในรูปแบบ TOD-transit oriented development รูปแบบโครงการมิกซ์ยูส มีทั้งที่อยู่อาศัยบริเวณรอบสถานีรถไฟหรือรถไฟฟ้าซึ่งเป็นจุดสำคัญในการเดินทางคมนาคมของประชาชน

"รูปแบบ TOD พยายามเน้นให้มีพื้นที่สีเขียวเยอะขึ้น ให้มีพื้นที่พลังงานสะอาด ให้คนได้เดิน เป็นพื้นที่ปลอดมลพิษ อยากให้นึกภาพประกอบ เช่น นิวยอร์กมีเซ็นทรัลปาร์กใหญ่ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ ๆ เหมือนเป็นพื้นที่หายใจใหญ่ ๆ ของเมือง ในแนวทางการพัฒนาของเราก็อยากให้มีอะไรคล้าย ๆ แบบนั้นเหมือนกัน เราพยายามดึงตัวอย่างจากหลาย ๆ ที่ (เมืองในโลก) ไม่ว่าจะเป็นปารีส หรือเมืองในยุโรปหลาย ๆ ที่ รวมทั้งในญี่ปุ่นซึ่งมีจุดแข็งการพัฒนาอนุรักษ์พื้นที่เก่า ๆ กับพื้นที่สมัยใหม่ให้เป็นโมเดิร์นดิสทริกต์ ซึ่งเราสามารถนำแนวคิดแบบนั้นมาพัฒนาในกรุงเทพฯหรือในที่ดินการรถไฟฯได้"
ในด้านแผนธุรกิจ SRT Asset ถือหุ้นโดย ร.ฟ.ท. 100% มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่มีอิสระและมีความคล่องตัวสูง วางรูปแบบพัฒนาโครงการได้ทั้งบริษัทกู้เงินมาลงทุนเอง, ปล่อยเช่าที่ดิน, ร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ ในอนาคตศึกษาแนวทางในการระดมทุนผ่าน กองทรัสต์เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์หรือกอง REITs

กรณีปล่อยเช่าที่ดินจะใช้มาตรฐานของ ร.ฟ.ท. เป็นสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว 30 ปี บวกเวลาในการก่อสร้างอีก 4 ปี รวมเป็นสัญญาเช่า 30+4 ปี ขณะเดียวกัน แปลงเล็ก ๆ ทางผู้ประกอบการอาจไม่ได้อยากได้สัญญาเช่ายาว ก็สามารถเช่าได้ตั้งแต่ 3-10 ปีจนถึงสูงสุด 30 ปี

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 - 6 พ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2022 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

TOD รูปแบบการพัฒนาเมือง เหตุใด? กทม.ยังไม่ไปถึงฝั่งฝัน
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันพฤหัสบดี ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:40 น.

โจทย์ใหญ่ การพัฒนาเมืองของ กทม. ตามผังเมือง ในรูปแบบ TOD เหตุใดจึงเกิดขึ้นยาก เปิดองค์ประกอบ 4 ด้าน การใช้ที่ดินแบบผสมผสาน ,โครงข่ายทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยาน , พื้นที่สีเขียว และ ลดการใช้พาหนะส่วนบุคคล ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง

5 พฤษภาคม 2565 - ในประเทศไทยเรามีความพยายามจัดวางแนวทางผังเมืองใหม่ ด้วยการนำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD (Transit Oriented Development) มาใช้นับตั้งแต่มีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าระบบราง แต่การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบการบริหารจัดการพี้นที่ตามแนวทางของ TOD อย่างเต็มที่



แต่มีแนวโน้มเข้าข่ายลักษณะที่เรียกว่า TAD (Transit Adjacent Development) ที่เน้นการพัฒนาแค่พื้นที่รอบสถานีรถไฟเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยรูปแบบการพัฒนาที่อยู่ใกล้สถานีขนส่งมวลชน จึงทำให้หลายคนเกิดความสับสนว่าแท้จริงแล้วพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานครนั้นควรเรียกว่า TOD หรือ TAD กันแน่

TOD รูปแบบการพัฒนาเมือง เหตุใด? กทม.ยังไม่ไปถึงฝั่งฝัน



4 ความต่างของ TOD กับ TAD

เมื่อมองไปยังพื้นที่ใจกลางเมืองกรุงเทพเราจะเห็นได้ว่า มีอาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัยใหม่ ผุดขึ้นมากมายรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า บางอาคารได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีเส้นทางเดินเชื่อมต่อกับตัวสถานี แต่กระนั้นก็ยังไม่ดีเพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นการพัฒนาแบบ TOD ยังคงเป็นเพียงการพัฒนาแบบ TAD เท่านั้น เพราะการพัฒนาในรูปแบบ TOD ต้องประกอบไปด้วยการพัฒนา 4 ด้านที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นรูปธรรมได้แก่


1.High Density/ Mixed-Use การใช้ที่ดินแบบผสมผสาน

การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยแนวทางของ TOD คือการผสมผสานการใช้งานพื้นที่ ให้มีทั้ง ที่อยู่อาศัย สำนักงาน ศูนย์การค้า อยู่รวมกันในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดินมากที่สุด ซึ่งการพัฒนาแบบ TAD ในด้านนี้สามารถทำได้ใกล้เคียงกับ TOD อย่างเช่น พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร มีการขยับปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน เริ่มมีการสร้างอาคารสูง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือสำนักงาน ในบริเวณที่มีประชากรเบาบางหรือเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เส้นทางรถไฟฟ้านั้นเข้าถึง



ในบางโครงการมีการพัฒนาเป็นพื้นที่สำนักงาน ศูนย์การค้า และคอนโดมิเนียมอยู่ในโครงการเดียวกัน รวมทั้งลงทุนสร้างเส้นทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าตามแนวทางในการพัฒนาแบบ TOD อย่างไรก็ตามในกรณีศึกษาของเมืองแฮร์ริส เคาท์ตี้ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้มีการพัฒนาเมืองในรูปแบบ TAD พบว่าเมืองนี้มุ่งเน้นการจัดการบริหารพื้นที่รอบสถานีขนส่งให้มีความหลากหลายไปตามการลงทุน โดยขาดการวางแผนล่วงหน้า



ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งซึ่งเดิมทีเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม กลายเป็นพื้นที่การค้าและที่อยู่อาศัยมากขึ้น ราคาที่ดินสูงขึ้น มีการเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน เป็นการเติบโตอย่างไร้ทิศทาง สร้างความเหลื่อมล้ำของชนชั้น และทำให้วัฒนธรรมของเมืองนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

TOD รูปแบบการพัฒนาเมือง เหตุใด? กทม.ยังไม่ไปถึงฝั่งฝัน
2. Linkage โครงข่ายทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยาน

การพัฒนาในรูปแบบของ TOD สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ การออกแบบวางโครงข่ายทางเดินเท้าเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ โดยรอบสถานีขนส่งสาธารณะในรัศมีประมาณ 400 – 600 เมตรเข้าด้วยกัน ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ของเมืองได้ด้วยการเดินเท้าอย่างสะดวกและปลอดภัย



แต่สำหรับการพัฒนาแบบ TAD การสร้างโครงข่ายทางเดินเท้าจะถูกเชื่อมต่อในระยะสั้นระหว่างตัวอาคารกับสถานีขนส่ง หากประชาชนต้องการเดินเท้าจากสถานีขนส่ง ไปถึงที่พักหรืออาคารสำนักงานที่อยู่ห่างไกลออกไป มักจะพบทางเดินเท้าที่คับแคบ ไม่ปลอดภัย และไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่บางส่วนของเมืองด้วยการเดินได้



ยกตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร เราจะเห็นได้ว่าทางเดินเท้าที่สะดวกสบายมักจะเชื่อมต่อเฉพาะสถานีรถไฟฟ้ากับศูนย์การค้า แต่ถ้าเราเดินไปในเส้นทางอื่นนอกเหนือจากจุดที่เชื่อมต่อไว้ เราจะพบกับทางเดินเท้าที่ไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ มีหลุมบ่อและบางจุดเราอาจพบทางม้าลายที่ถูกขวางกั้น ด้วยขอบกันชนเสาสะพานข้ามแยก เป็นลักษณะของการขาดการวางแผนสร้างโครงข่ายทางเดินเท้ารอบสถานีขนส่งสาธารณะ โดยขาดความคำนึงเรื่องความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของประชาชนต่างกับ TOD ที่มีการวางแผนเส้นทางเดินเท้าขึ้นมาอย่างเป็นระบบเชื่อมต่อถึงกัน มีทางเดินกว้างขวาง ปลอดภัย และน่าเดินมากกว่า


3.Amenities สิ่งอำนวยความสะดวก

สิ่งอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า หรือศูนย์ให้บริการด้านต่างๆ ในพื้นที่ ล้วนสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะทั้งสิ้น ตามแนวทางของ TOD สิ่งอำนวยความสะดวกนั้นมีความหมายถึง ร้านอาหาร ศูนย์การค้า ร้านจำหน่ายสินค้าประเภทต่างๆ สวนสาธารณะ ฟิตเนสออกกำลังกาย สถานีตำรวจ คลินิกแพทย์ ไปรษณีย์ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน สามารถแวะใช้บริการได้ในย่านสถานีขนส่ง ก่อนไปทำงานและกลับบ้านโดยไม่จำเป็นต้องแวะเดินทางไปที่อื่น

TOD รูปแบบการพัฒนาเมือง เหตุใด? กทม.ยังไม่ไปถึงฝั่งฝัน
แม้การพัฒนาพื้นที่แบบ TAD จะเปิดให้มีพื้นที่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนแต่ TAD จะไม่มีแผนในการจัดหาพื้นที่สีเขียว ให้ประชาชนได้ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งแผนในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบถ้วน TAD จะปล่อยให้พื้นที่เติบโตไปตามการลงทุนที่เข้ามา ทำให้พื้นที่นั้นเสี่ยงต่อการเติบโตอย่างไร้ทิศทาง และนำไปสู่แหล่งเสื่อมโทรม เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในเมืองใหญ่มาแล้วทั่วโลก



4.Non – Motorized ลดการใช้พาหนะส่วนบุคคล

เป้าหมายสูงสุดคือพัฒนาสภาพแวดล้อมในพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD คือ สร้างแรงจูงใจแก่ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้มากที่สุด ด้วยการสร้างที่จอดรถขนาดใหญ่ไว้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางเข้าเมือง สร้างโครงข่ายทางเดินเท้าที่น่าเดิน มีเส้นทางปั่นจักรยานสำหรับประชาชนที่อยู่ห่างไกลจากสถานีเกินระยะ 600 เมตร วางแผนกำหนดพื้นที่พัฒนารองรับความต้องการของคนเมืองในอนาคตระยะยาว

TOD รูปแบบการพัฒนาเมือง เหตุใด? กทม.ยังไม่ไปถึงฝั่งฝัน
แต่สำหรับการพัฒนาแบบ TAD นั้นมุ่งเน้นเพียงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะแต่ไม่ได้คำนึงถึงการสนับสนุนให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ด้วยการสร้างแรงจูงใจต่างๆ เช่นมีพื้นที่จอดรถส่วนบุคคลก่อนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าระบบราง มีโครงการข่ายทางเดินเท้าที่สะดวกสะบาย หรือเส้นทางจักรยานที่ทำให้ประชาชนอยากใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เช่นเดียวกับกรณีของกรุงเทพมหานคร แม้จะมีการพัฒนาที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากพอที่จะบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรได้



ทั้งหมดนี้เราจึงสรุปได้ว่า TAD พัฒนาแค่เพียงพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ ตามความต้องการของนักลงทุน โดยขาดทิศทางรองรับการขยายตัวของเมือง ไม่สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ต่างกับแนวทางของ TOD ที่คำนึงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้คน ที่ต้องการเข้าถึงสถานีขนส่งอย่างสะดวกสบาย ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่โดยรอบสถานีอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน



ข้อมูล : บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด www.kinder.rice.edu
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2022 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิดประมูลเช่าอาคาร "ไอซีดี" 9 มิ.ย.65 นี้
ประกาศฝ่ายบริการสินค้า
การรถไฟแห่งประเทศไทย

เรื่อง ประกาศเชิญชวนประกวดราคาเช่าอาคาร บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานกลาง ฝ่ายบริการสินค้า สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง(ไอซีดี)ลาดกระบัง ระยะเวลา 5 ปี
- - - - - - - - - - - - - - -
เลขที่ รฟ.สค.3320/34/2565

เลขที่ รฟ.สค.3320/ 34 /2565
ประกาศ ฝ่ายบริการสินค้า การรถไฟแห่งประเทศไทย
เรื่อง ประกาศเชิญชวนประกวดราคาเช่าอาคาร บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานกลางฝ่ายบริการสินค้า
สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง
ระยะเวลา 5 ปี

***************************
ลักษณะการให้เช่า ให้เช่าอาคารประกอบกิจการทั่วไป เว้นแต่การประกอบการกิจการรถยนต์บรรทุก ขนาดพื้นที่ทั้งหมด 336 ตารางเมตร

กำหนดการจำหน่ายแบบสอบราคา ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ในวันและเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 15.00 น. ราคาชุดละ 1,000.-บาท(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่ห้องการเงิน งานกำกับสัญญาและร่วมทุน กองปฏิบัติการ ไอซีดีลาดกระบัง ฝ่ายบริการสินค้า ชั้น 2 (ห้อง 209) อาคารสำนักงานกลางฝ่ายบริการสินค้า สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง การรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 33/4 ถนนเจ้าคุณทหาร แขวงคลองสามประเวศ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

กำหนดชี้แจงและดูสถานที่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 9.45 น. ห้องประชุม 2 ชั้น 2 (ห้อง 201) อาคารสำนักงานกลางฝ่ายบริการสินค้า สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง ฝ่ายบริการสินค้า การรถไฟแห่งประเทศไทย

กำหนดวันยื่นซองเสนอราคา วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา 9.30 - 10.30 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 (ห้อง 201) อาคารเดียวกัน

กำหนดวันเปิดซองเสนอราคา วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 10.40 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 (ห้อง 201) อาคารเดียวกัน

ราคากลาง เดือนละ 23,000.00 บาท (สองหมื่นสามพันบาทถ้วน)

ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่งานกำกับสัญญาและร่วมทุน กองปฏิบัติการไอซีดีลาดกระบัง ฝ่ายบริการสินค้า การรถไฟแห่งประเทศไทยชั้น 2 ห้อง 210 หรือโทร. 02 - 737 – 9273 ในเวลาราชการ

ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565





(นายนฤชา เชาวน์ดี)
หัวหน้ากองปฏิบัติการไอซีดีลาดกระบัง






ประกาศ ณ วันที่ 6 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565

( ลงนาม ) นายนฤชา เชาวน์ดี
( นายนฤชา เชาวน์ดี )
หัวหน้ากองปฏิบัติการไอซีดีลาดกระบัง
https://procurement.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=44646
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2022 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ชี้แจงกรณี “ตลาดค่ายเชลยศึก” จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบเป็นเขตพื้นที่ที่ถูกเลิกเช่า และอยู่ระหว่างเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชน โดยพร้อมร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดอย่างถึงที่สุด
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันพุธ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:41 น.

จากกรณีชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 1 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (บก.อส.) ได้เข้าตรวจค้นตลาดค่ายเชลยศึก ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งได้รับร้องเรียนว่ามีการจำหน่ายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี รวมทั้งมีการแสดงดนตรีส่งเสียงรบกวนในยามวิกาล โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า หลังจากรับทราบเหตุ การรถไฟฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงในทันที โดยพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของการรถไฟฯ ที่ได้มีการประกาศเชิญชวนจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ เมื่อปี 2561 ซึ่งขณะนั้น บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาให้การรถไฟฯ สูงสุด และได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ได้รับสิทธิ์การเช่าพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นบริษัทฯ ได้มีหนังสือขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่มายังการรถไฟฯ เมื่อเดือนธันวาคม 2561 เพื่อตรวจสอบขนาดสัดส่วนแนวเขตที่ดิน รวมทั้งเจรจากับผู้บุกรุกในพื้นที่ ซึ่งฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ได้มีหนังสือแจ้งอนุญาตให้บริษัทฯ เข้าใช้พื้นที่ เมื่อเดือนมีนาคม 2562 ซึ่งให้นับเป็นวันเริ่มต้นสัญญา
อย่างไรก็ตาม บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ไม่มาลงนามและชำระค่าเช่าต่างๆ ตามที่ตกลงไว้ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ จึงมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2565 ให้ยกเลิกการได้รับสิทธิ์การเช่า ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นมา พร้อมกับแจ้งให้ดำเนินการขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่ภายใน 30 วัน พร้อมกับเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์ตั้งแต่วันใช้พื้นที่ด้วย ซึ่งปัจจุบันการรถไฟฯ อยู่ระหว่างเร่งรัดเพื่อรับมอบพื้นที่คืน อย่างไรก็ตาม หากบริษัทฯ ไม่คืนพื้นที่ การรถไฟฯ จะให้สำนักงานอาณาบาล แจ้งความดำเนินคดีต่อไป
“การรถไฟฯ ขอยืนยันว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือละเลยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการกระทำดังกล่าวถือเป็นการบุกรุกที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบ ฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมือง มีการจำหน่ายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ดังนั้นจึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชนโดยเร็ว พร้อมกับให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างถึงที่สุด”

การรถไฟฯ ยกเลิกเอกชนเช่า “ตลาดค่ายเชลยศึก” เหตุผิดสัญญา-ไม่จ่ายค่าเช่า
วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

การรถไฟฯ ชี้แจงกรณี “ตลาดค่ายเชลยศึก” จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบเป็นเขตพื้นที่ที่ถูกเลิกเช่า และอยู่ระหว่างเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชน โดยพร้อมร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดอย่างถึงที่สุด

จากกรณีชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 1 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (บก.อส.) ได้เข้าตรวจค้นตลาดค่ายเชลยศึก ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งได้รับร้องเรียนว่ามีการจำหน่ายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี รวมทั้งมีการแสดงดนตรีส่งเสียงรบกวนในยามวิกาล โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น



นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า หลังจากรับทราบเหตุ การรถไฟฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงในทันที โดยพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของการรถไฟฯ ที่ได้มีการประกาศเชิญชวนจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ เมื่อปี 2561 ซึ่งขณะนั้น บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาให้การรถไฟฯ สูงสุด และได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ได้รับสิทธิ์การเช่าพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นบริษัทฯ ได้มีหนังสือขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่มายังการรถไฟฯ เมื่อเดือนธันวาคม 2561 เพื่อตรวจสอบขนาดสัดส่วนแนวเขตที่ดิน รวมทั้งเจรจากับผู้บุกรุกในพื้นที่ ซึ่งฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ได้มีหนังสือแจ้งอนุญาตให้บริษัทฯ เข้าใช้พื้นที่ เมื่อเดือนมีนาคม 2562 ซึ่งให้นับเป็นวันเริ่มต้นสัญญา

อย่างไรก็ตาม บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ไม่มาลงนามและชำระค่าเช่าต่างๆ ตามที่ตกลงไว้ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ จึงมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2565 ให้ยกเลิกการได้รับสิทธิ์การเช่า ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นมา พร้อมกับแจ้งให้ดำเนินการขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่ภายใน 30 วัน พร้อมกับเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์ตั้งแต่วันใช้พื้นที่ด้วย ซึ่งปัจจุบันการรถไฟฯ อยู่ระหว่างเร่งรัดเพื่อรับมอบพื้นที่คืน อย่างไรก็ตาม หากบริษัทฯ ไม่คืนพื้นที่ การรถไฟฯ จะให้สำนักงานอาณาบาล แจ้งความดำเนินคดีต่อไป

“การรถไฟฯ ขอยืนยันว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือละเลยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการกระทำดังกล่าวถือเป็นการบุกรุกที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบ ฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมือง มีการจำหน่ายสุราให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ดังนั้นจึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชนโดยเร็ว พร้อมกับให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างถึงที่สุด”

การรถไฟฯ ชี้แจงกรณี “ตลาดค่ายเฉลยศึก” จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบเป็นเขตพื้นที่ที่ถูกเลิกเช่า และอยู่ระหว่างเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชน https://www.thailandplus.tv/archives/532680
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2022 6:36 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
การรถไฟฯ ชี้แจงกรณี “ตลาดค่ายเชลยศึก” จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบเป็นเขตพื้นที่ที่ถูกเลิกเช่า และอยู่ระหว่างเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชน โดยพร้อมร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดอย่างถึงที่สุด
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันพุธ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:41 น.

การรถไฟฯ ยกเลิกเอกชนเช่า “ตลาดค่ายเชลยศึก” เหตุผิดสัญญา-ไม่จ่ายค่าเช่า
วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

การรถไฟฯ ชี้แจงกรณี “ตลาดค่ายเฉลยศึก” จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบเป็นเขตพื้นที่ที่ถูกเลิกเช่า และอยู่ระหว่างเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชน
https://www.thailandplus.tv/archives/532680


การรถไฟฯ แฉตลาดเชลยศึก กาญจนบุรี ค้างค่าเช่ากว่า 3 ปี ก่อนปกครองทลายขายเหล้าให้เด็ก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:01 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:01 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทยแฉเอกชนเช่าที่ดินการรถไฟฯ ทำตลาดค่ายเชลยศึก กาญจนบุรี ค้างค่าเช่ากว่า 3 ปี ไม่ลงนามในสัญญา ยกเลิกไปเมื่อเดือน เม.ย. ก่อนที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ กรมการปกครอง เข้าตรวจจับกลุ่มเยาวชนมั่วสุมดื่มเหล้า ตอนนี้เร่งขอคืนพื้นที่ พบจะทำเป็นพื้นที่มิกซ์ยูส 50 ไร่ แต่กรรมการบริษัทเสียชีวิตไปเมื่อปี 2563

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงกรณีที่ชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครอง ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 1 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (บก.อส.) ได้เข้าตรวจค้นตลาดค่ายเชลยศึก ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งได้รับร้องเรียนว่ามีการจำหน่ายสุราให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี รวมทั้งมีการแสดงดนตรีส่งเสียงรบกวนในยามวิกาล โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของการรถไฟฯ นั้น หลังจากรับทราบเหตุ การรถไฟฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงในทันที

โดยพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของการรถไฟฯ ที่ได้มีการประกาศเชิญชวนจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่เมื่อปี 2561 ซึ่งขณะนั้น บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาให้การรถไฟฯ สูงสุด และได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ได้รับสิทธิ์การเช่าพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นบริษัทฯ ได้มีหนังสือขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่มายังการรถไฟฯ เมื่อเดือน ธ.ค. 2561 เพื่อตรวจสอบขนาดสัดส่วนแนวเขตที่ดิน รวมทั้งเจรจากับผู้บุกรุกในพื้นที่ ซึ่งฝ่ายบริหารทรัพย์สินได้มีหนังสือแจ้งอนุญาตให้บริษัทฯ เข้าใช้พื้นที่เมื่อเดือน มี.ค. 2562 ซึ่งให้นับเป็นวันเริ่มต้นสัญญา

อย่างไรก็ตาม บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ไม่มาลงนามและชำระค่าเช่าต่างๆ ตามที่ตกลงไว้ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ จึงมีหนังสือลงวันที่ 5 เม.ย. 2565 ให้ยกเลิกการได้รับสิทธิ์การเช่า ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2565 เป็นต้นมา พร้อมกับแจ้งให้ดำเนินการขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่ภายใน 30 วัน พร้อมกับเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์ตั้งแต่วันใช้พื้นที่ด้วย ซึ่งปัจจุบันการรถไฟฯ อยู่ระหว่างเร่งรัดเพื่อรับมอบพื้นที่คืน อย่างไรก็ตาม หากบริษัทฯ ไม่คืนพื้นที่ การรถไฟฯ จะให้สำนักงานอาณาบาลแจ้งความดำเนินคดีต่อไป

“การรถไฟฯ ขอยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจหรือละเลยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการกระทำดังกล่าวถือเป็นการบุกรุกที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบ ฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมือง มีการจำหน่ายสุราให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ดังนั้นจึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชนโดยเร็ว พร้อมกับให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดอย่างถึงที่สุด” นายเอกรัชกล่าว

รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2551 ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท มีนายธีระ พจน์ประสาท และ น.ส.ภัคชาพิมญชุ์ ตั้งรัตนาพิบูล เป็นกรรมการบริษัท วัตถุประสงค์ตอนจดทะเบียน กิจการด้านการบริการที่พักและดูแลรักษาผู้ป่วย ประเภทธุรกิจที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด การก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย

ในปีงบการเงิน 2562 มีสินทรัพย์รวม 33,455,940.78 บาท หนี้สินรวมและส่วนของผู้ถือหุ้น 33,455,940.78 บาท ส่วนงบกำไรขาดทุน พบว่าปีงบการเงิน 2560 มีรายได้รวม 36.46 บาท ขาดทุนสุทธิ 8,963.54 บาท, ปีงบการเงิน 2561 รายได้รวม 2,764,785.48 บาท ขาดทุนสุทธิ 265,692.91 บาท และปีงบการเงิน 2562 มีรายได้รวม 1,788,630.50 บาท ขาดทุนสุทธิ 705,692.69 บาท

อย่างไรก็ตาม นายธีระ พจน์ประสาท ได้เสียชีวิตลงเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 และได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2563 ที่วัดดุสิตารามวรวิหาร แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ตามการอ้างอิงจากวิดีโอคลิปของยูทูบที่ชื่อว่า "ข่าวเด่น ภูมิภาคทั่วไทย" เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2563

อีกด้านหนึ่ง รายงานข่าวจากเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า "นสพ.มติกาญจน์" ระบุว่า เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2561 นายวิศารท์ พจน์ประสาท ประธานบริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด พร้อมด้วย นายธีระ พจน์ประสาท กรรมการผู้จัดการฯ นายจรัล ศศะสมิต ที่ปรึกษาโครงการฯ และนายกุลศักดิ์ โชติยะปุตตะ ที่ปรึกษาโครงการฯ และ นายคณิศร บุญยศ พร้อมคณะได้เดินทางไปไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและไหว้สถานที่ ตรงสะพานข้ามแม่น้ำแควฝั่งตรงข้าม ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศผลการคัดเลือกเป็นผู้เสนอราคาสูงสุด ในโครงการพัฒนาและบริหารที่ดินในเชิงธุรกิจ ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณที่หยุดรถเขาปูน จังหวัดกาญจนบุรี ผู้เสนอราคาสูงสุด จากการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ทั้ง 2 ส่วนในด้านเทคนิค และการเสนอค่าจัดประโยชน์ ผลปรากฏว่า บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาสูงสุดและมีคะแนนทั้งสองส่วนครบถ้วน โดยมี นายธีระ พจน์ประสาท กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้ลงนามในการเสนอราคา

โครงการดังกล่าวมีนายวิศารท์ พจน์ประสาท เป็นประธานบริหารโครงการ ภายใต้ชื่อ WORLD WAR ll BRIDGE Kanchanaburi Thailand โดยมีรายละเอียดโครงการพื้นที่ 50 ไร่เศษ เนื้อที่ 78,403.50 ตารางเมตร ประกอบด้วย พื้นที่การก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่กว่า 300 ห้อง, คอนเวนชันฮอลล์ขนาด 1,500 คน, คอมมูนิตีมอลล์ขนาดใหญ่ และส่วนขายสินค้าพื้นเมือง, สวนสาธารณะ, สวนสัตว์, โรงเรียนฝึกสอนผู้ช่วยพยาบาล และบ้านพักคนชรา

โดยจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว จุดแลนด์มาร์ก จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี คาดว่าจะมีมูลค่าโครงการทั้งค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงระบบสาธารณูปโภคกว่า 1,200 ล้านบาท ส่วนโครงการแรกเปิดส่วนการจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ตลาดนัดคนเดิน (ตลาดค่ายเชลยศึก) ร้านอาหาร Food Truck และการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. 2562 เป็นต้นมา

อนึ่ง รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ตามสัญญาดังกล่าว การรถไฟฯ จะรับรายได้ 30 ปีเป็นเงิน 74 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณปีละ 1.5 ล้านบาท ปรับเพิ่ม 5% ทุก 5 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2022 3:47 am    Post subject: Reply with quote

สมาพันธ์คนงานรถไฟจี้ 'ประยุทธ์' ต้องทวงคืนที่ดิน เขากระโดง 5 พันไร่
15 พฤษภาคม 2565 เวลา 9:22 น.

ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ ยกรัฐธรรมนูญ มาตรา 53 จี้ “ประยุทธ์” ต้องทวงคืนที่ดิน“เขากระโดง 5 พันไร่” หลังศาลฎีการชี้ขาดแล้วว่าเป็นของการรถไฟ หากไม่ทำตามระวังกระทบเสถียรภาพรัฐบาล ข้องใจ “เป็นรัฐอิสระ” หรือ ยัน “ที่ดินรถไฟทุกแห่ง” กำหนด “เขตพระราชกฤษฎีกา” ตาม “พระปณิธาน ร.5” ต้องใช้ทำประโยชน์ส่วนรวม

15 พ.ค. 2565 – นายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) ให้สัมภาษณ์ช่องยูทูปสภาที่ 3 ถึง การบุกรุกพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า พื้นที่โรงคลุม หรือโรงรถประวัติศาสตร์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่ที่สักกะสัน เป็นพื้นที่สำคัญ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา เวนคืนที่ดิน เพื่อที่จะเอาพื้นที่มักกะสันเป็นพื้นที่ของการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน พื้นที่นี้อนาคตจะต้องมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ตรงวัตถุประสงค์ ของรัชกาลที่ 5 เพราะฉะนั้นพื้นที่ของการรถไฟ ไม่ใช่มีเพียงที่โรงงานมักกะสัน แต่มีพื้นที่อื่นอีกในต่างจังหวัด เช่น เขากระโดง , หัวลำโพง ทั้งนี้รถไฟมีพื้นที่อยู่ 2 ประเภท คือ พื้นที่ใช้ในกิจการเดินรถและไม่ได้ใช้ในกิจการเดินรถ โดยจะใช้ขนส่งประชาชนและบริการทางสังคม ทั้งนี้รถไฟมีพื้นที่มากมายแต่ประสบปัญหาขาดทุน นั่นไม่ได้หมายความว่ารถไฟบริหารจัดการไม่ดี แต่รถไฟเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งตามวัตถุประสงค์เป็นรัฐวิสาหกิจไม่ได้มุ่งหากำไร แต่วัตถุประสงค์เพื่อที่จะตอบสนอง บริการประชาชน ทั้งการขนส่งสินค้าและการขนส่งคนเป็นหลัก

“เพราะฉะนั้นเมื่อการรถไฟ ขาดทุนจากการเดินรถ ซึ่งตามพ.ร.บ.รถไฟ 2494 ส่วนที่ขาดทุนนั้นรัฐจะต้องชดเชย แต่ที่ผ่านมารัฐไม่เคยที่จะชดเชยส่วนที่ขาด ตั้งแต่ปี 2528 เรื่อยมา ทำให้การรถไฟมีหนี้สะสม เพราะต้องไปกู้เงินเพื่อที่จะมาใช้จ่าย ในเรื่องของการบริหารจัดการ , การซ่อม , บำรุงต่างๆ จึงกลายเป็นหนี้สะสม รัฐไม่ได้สนับสนุนเรื่องชดเชยตรงนี้ จึงทำให้รถไฟต้องขาดทุน กลายเป็นวาทะกรรมหนึ่ง ที่สังคมไม่เคยรู้ว่า ความจริงแล้วรถไฟไม่ได้ขาดทุนเพราะบริหารจัดการไม่ดี แต่เป็นหน่วยงานสาธารณะประโยชน์ โดยบริการแบบไม่ได้มุ่งหากำไร และให้บริการในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าทุน เพื่อตอบสนองภาคประชาชน ภาคสังคม ภาคธุรกิจ ในเรื่องเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตประเทศมีความมั่นคง เพราะฉะนั้นตรงนี้เลยกลายเป็นภาระหน้าที่ของการรถไฟ และพนักงานการรถไฟทุกคน ที่ต้องบริการทางสังคม เพื่อที่จะให้ประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งผู้มีรายได้น้อยและผู้มีรายได้สูง ใช้บริการเข้าถึงในราคาประหยัด ตรงนี้เป็นบริบทการทำงานของการรถไฟ” นายสุวิช กล่าว

นายสุวิช กล่าวว่า ส่วนที่ดินที่มีอยู่แต่ไม่ได้ใช้ในเส้นทางการเดินรถ ในหลวงรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านก็ทรงมีวิสัยทัศน์ ที่จะนำพื้นที่เหล่านั้นไปสร้างประโยชน์หารายได้ และนำรายได้นั้นมาสนับสนุน เกี่ยวกับการบริการรถไฟ แต่ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ารถไฟมีปัญหา ในเรื่องของการถูกบุกรุก ใช้ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในเส้นทางการเดินรถ ตรงนี้จึงกลายเป็นประเด็นว่า รถไฟนอกจากบริหารจัดการด้านการขนส่งขาดทุนแล้ว ที่ดินที่มีอยู่ประมาณ 2 แสนกว่าไร่ ก็ยังไม่ได้ทำให้เขาเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อที่จะนำรายได้มาสนับสนุนด้านบริการรถไฟ หนึ่งในนั้นคือเขากระโดง พื้นที่ประมาณ 5,083 ไร่ สังคมโดยเฉพาะพนักงานรถไฟ สงสัยว่าในเมื่อที่ดินของการรถไฟ ทั้งที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อปี 2560 และปี 2561 มีทั้งคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าที่ดิน 5,083 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟ มีคำวินิจฉัยของกฤษฎีกาว่าที่ดิน ก็เป็นของการรถไฟ แต่ท้ายที่สุดการดำเนินการ เพื่อนำที่ดินกลับคืนมาเป็นของการรถไฟ ไม่มีความคืบหน้า จึงกลายเป็นข้อกังขาของสังคม และพนักงานการรถไฟ ว่าทำไมไม่บริหารจัดการที่ดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แล้วกลับมาเป็นของการรถไฟ


“เขากระโดงเป็นพื้นที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า รถไฟไม่ปฏิบัติหรือละเว้นจริงหรือไม่ หลายคนตั้งคำถามในข้อเท็จจริงนั้น ล่าสุดเท่าที่ฟังมาการรถไฟ ไปฟ้องศาลปกครอง ฟ้องกรมที่ดินเรื่องเกี่ยวกับ การไม่เลิกถอนเอกสารสิทธิ์ ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อประมาณปลายเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่าน มาแต่ปรากฏว่า กรมที่ดินก็มีข้อชี้แจงมาว่า การที่จะออกโฉนดหรือการกำหนดแผนที่เขตที่ดิน รถไฟต้องไปทำชี้แนวรังวัดเขตของตัวเอง ร่วมกับกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารสิทธิ์ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ทั้งนี้หากมีชาวบ้านอยู่ในเขตที่เดียวกันหรือใกล้เคียง ก็จะต้องไปกำหนดเขตรังวัดเช่นกัน” นายสุวิช กล่าว

ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ กล่าวต่อว่า แต่ที่ผ่านมารถไฟไม่ได้ไปชี้แนวเขต ตรงนี้ จึงทำให้กรมที่ดินจะดำเนินการต่อ ก็มีความเห็นที่ว่าการจะออกเอกสารสิทธิ์ ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อที่จะสอบสวนข้อเท็จจริง เรื่องสิทธิ์หรือเอกสารที่จะออก แล้วนำเสนอต่ออธิบดีกรมที่ดิน เพื่อที่จะออกโฉนด จึงกลายเป็นข้อพิพาท ซึ่งเดิมทีการรถไฟ มีข้อพิพาทกับภาคประชาชน 35 ราย ปรากฏว่ารถไฟชนะคดี หมายความว่าสิ่งที่รถไฟจะต้องทำ คือ จะต้องเพิกถอนขับไล่ผู้บุกรุก เท่าที่ตนทราบมา 35 รายที่แพ้คดี ทางกรมที่ดินก็ระงับการขอออกโฉนดไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้น 35 รายไปฟ้องการรถไฟ ว่าที่รถไฟไปคัดค้านการขอออกโฉนด ท้ายที่สุดศาลก็มีคำพิพากษาว่า ที่ดินทั้งหมดเป็นของการรถไฟ ไม่สามารถออกโฉนดได้ ดังนั้นคนที่ไปบุกรุก 35 รายก็จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ และรถไฟต้องเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่

“35 รายหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ยังไม่ได้ออกจากพื้นที่ แต่ตนได้รับข้อมูลมา คือคนที่แพ้คดีในศาลและเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่มานาน เขาก็อยากอยู่แบบถูกกฎหมาย เขายินดีที่จะทำสัญญากับการรถไฟ ในเรื่องของการเช่าอยู่แบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่วันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในส่วนนี้ เลยกลายเป็นมหากาพย์ของเขากระโดง และสังคมแม้แต่ สื่อก็ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมหน่วยงานของรัฐ ซึ่งควรที่จะประสานร่วมมือกัน ในการแก้ไขปัญหากลับกลายเป็นว่าฟ้องกันเอง”

นายสุวิช กล่าวอีกว่า ในการดำเนินการเหล่านี้ รวมถึงที่ดินแปลงอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อพิพาท 2 แปลงที่ว่า ให้มีการเพิกถอนก็ยังไม่ดำเนินการ ที่ดิน 2 แปลงดังกล่าว เป็นที่ดินของนักการเมืองตระกูลใหญ่ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าที่จะดำเนินการอะไร ล่าสุดที่บอกว่าผู้ว่าให้สัมภาษณ์กับสื่อ เพราะทราบมาว่าทนายได้ไปยื่นต่อ คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ที่รัฐสภา และเรื่องการปฎิบัติด้านจริยธรรม ของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลการรถไฟ หลังจากที่ไปยื่นแล้ว ผู้ว่าการการรถไฟก็แถลงข่าว ในวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ว่ารถไฟจะไม่ระรานประชาชนซึ่งมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินเขากระโดง เพราะเอกสารสิทธิ์นั้นถูกต้อง และว่ารัฐมนตรีก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง แต่สังคมก็ตั้งคำถามอีกว่าถ้าที่ดิน ที่มีผู้ปลูกสร้างแนวเขตริมทางรถไฟมักกะสัน 100 กว่าราย ถูกฟ้องขับไล่ ก็เลยกลายเป็นว่าเรื่องนี้ รถไฟปฏิบัติ 2 มาตรฐานหรือไม่

“ตรงนี้ทั้งผมและสังคมจับตาดูว่าท้ายที่สุดแล้ว การดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน ของการรถไฟจะไปในรูปแบบไหน เพราะตอนนี้เหมือนกับหน่วยงานของรัฐ ปัดความรับผิดชอบ ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้อยากเรียนถึง นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 53 รัฐพึงใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด หากผู้นำรัฐบาลไม่ทำเรื่องนี้ให้ปรากฏ ท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่เสถียรภาพของรัฐบาล อยากฝากถึงท่านนายกรัฐมนตรี ช่วยตรวจสอบและดำเนินการเรื่องนี้ ให้เป็นที่ประจักษ์ เพราะสังคมตั้งข้อสังเกตมาก ท้ายที่สุดสื่อก็ติดตามเรื่องนี้ อย่างใจจดใจจ่อ และในเรื่องของการทวงคืนพื้นที่เขากระโดง จนกลายเป็นวลีมหากาพย์เขากระโดง หรือว่าเขากระโดงเป็นรัฐอิสระ ไม่สามารถที่จะทวงคืนกลับมาเป็นพื้นที่ของการรถไฟได้” นายสุวิช กล่าว

ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ กล่าวว่า ส่วนที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเดินรถ อย่างเขากระโดง 5,083 ไร่ ถ้ารถไฟเรียกคืนกลับมาเป็นของการรถไฟ ก็สามารถที่จะสร้างรายได้ไม่น้อยในแต่ละปีเพราะที่ดินเขากระโดง มีสนามฟุตบอลช้างอารีน่า สนามแข่งรถ เป็นที่ตั้งสำนักงาน ถ้าดูในรายละเอียดก็จะมีความชัดเจน ในเรื่องของการที่จะนำมาพัฒนารายได้ แต่ท้ายที่สุดการรถไฟไม่ได้รายได้ แล้วจะตอบสังคมอย่างไร รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องนี้หรือไม่ แต่เท่าที่ทราบภาคประชาชนและสังคม ติดตามเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เรื่องนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นมหากาพย์ยังหาข้อสรุปไม่ได้ นโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม จะนำพื้นที่ไปบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำพื้นที่ไปพัฒนาเพื่อให้เกิดรายได้ โดยเฉพาะที่ดินมักกะสัน ซึ่งมีโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ที่จะปรับปรุงพัฒนา พื้นที่มักกะสันให้เป็นแลนด์มาร์ค ตรงนี้เป็นเงื่อนไข 1 ที่จะหารายได้ให้กับการรถไฟ แต่แท้จริงแล้วก็ยังมีประเด็นปัญหาอีก ในเรื่องของการที่จะส่งมอบพื้นที่ เพื่อที่จะหารายได้

“ที่ดินรถไฟทุกพื้นที่ มีการกำหนดเขตพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ซึ่งมีประกาศเป็นพระบรมราชโองการ มีวัตถุประสงค์ว่าที่ดินนี้ เอาไว้ใช้ทำประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นหากเรานำที่ดินไปทำ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตรงนี้สามารถทำได้หรือไม่ตรงนี้ก็เป็นข้อสังเกตหนึ่ง ซึ่งมักกระสันก็เป็นพื้นที่ลักษณะเดียวกัน “นายสุวิช กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2022 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
การรถไฟฯ ชี้แจงกรณี “ตลาดค่ายเชลยศึก” จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบเป็นเขตพื้นที่ที่ถูกเลิกเช่า และอยู่ระหว่างเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชน โดยพร้อมร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดอย่างถึงที่สุด
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันพุธ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:41 น.

การรถไฟฯ ยกเลิกเอกชนเช่า “ตลาดค่ายเชลยศึก” เหตุผิดสัญญา-ไม่จ่ายค่าเช่า
วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

การรถไฟฯ ชี้แจงกรณี “ตลาดค่ายเฉลยศึก” จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบเป็นเขตพื้นที่ที่ถูกเลิกเช่า และอยู่ระหว่างเร่งรัดขอคืนพื้นที่จากเอกชน
https://www.thailandplus.tv/archives/532680

การรถไฟฯ แฉตลาดเชลยศึก กาญจนบุรี ค้างค่าเช่ากว่า 3 ปี ก่อนปกครองทลายขายเหล้าให้เด็ก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:01 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 04:01 น.



ชาวตลาดค่ายเชลยศึกยื่นหนังสือถึงพ่อเมืองกาญจน์ ขอความยุติธรรมหลังเตรียมสั่งปิดตลาด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:20 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:20 น.


กาญจนบุรี - ชาวตลาดค่ายเชลยศึก พร้อมทนายความ บริษัทเอกชนยื่นหนังสือถึงพ่อเมืองกาญจน์ ขอความยุติธรรมหลังเตรียมสั่งปิดตลาด ปมฝ่ายปกครองบุกตรวจพบจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี

จากกรณีศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า ที่ตลาดค่ายเชลยศึก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ติดกับเชิงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ท้องที่ ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี มีร้านเหล้าปล่อยปละละเลยให้เด็กและเยาวชนเข้าไปใช้บริการ โดยมีพฤติการณ์จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และมีการแสดงดนตรีส่งเสียงดังสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ชาวบ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

ต่อมา เวลา 23.00 น.ของวันที่ 6 พ.ค. นายรณรงค์ ทิพย์ศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง ร่วมกับ นางสุภาภรณ์ ชมชัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบงานยุติธรรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน นายธนณัฏฐ์ ศรีสันต์ นายอำเภอเมืองกาญจนบุรี นำกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเข้าไปตรวจสอบตลาดค่ายเชลยศึก ตามที่ได้รับร้องเรียน

จากการตรวจสอบพบว่า สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดให้เอกชนบริหารที่ดินในเชิงธุรกิจ มีลักษณะเป็นลานกว้าง พื้นที่โล่งไม่มีหลังคา มีโต๊ะสำหรับบริการลูกค้าประมาณ 130 โต๊ะ โดยมีซุ้มจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 3 ร้าน ชื่อร้าน Camp Bar ร้านสะพานดำ และร้านขายเหล้าปั่น

หลังจากตรวจสอบแล้วเสร็จ พนักงานฝ่ายปกครองได้จับกุมผู้จัดการร้านทุกร้าน และกล่าวโทษ บริษัทวิชั่นอินสเปคเตอร์ แอนด์ เอนจิเนียรริ่ง จำกัด ในข้อหา 1.ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ 2.ยุยงส่งเสริมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร 3.ส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (จัดโปรโมชันลดราคา) 4.จำหน่ายสุราโดยไม่มีใบอนุญาต โดยพนักงานฝ่ายปกครองได้นำตัวผู้ถูกจับไปทำบันทึกจับกุม ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี ส่วนเด็กและเยาวชนที่มาเที่ยวดื่มกินภายในร้านได้ประสานผู้ปกครองให้มารับตัวพากลับบ้าน และพนักงานฝ่ายปกครองไดรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อพิจารณามีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่ 22/2558 ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุด วันนี้ (17 พ.ค.) ประชาชนกลุ่มผู้ค้าภายในตลาดค่ายเชลยศึก ประมาณ 30-40 ราย ได้เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อยื่นหนังสือให้นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อขอความเป็นธรรม เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากการสั่งปิดตลาดค่ายเชลยศึก เพราะทุกคนได้ขายของอยู่บริเวณดังกล่าวมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2546 ก่อนที่บริษัทเอกชจะได้รับสัมปทานใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจในพื้นที่ของการรถไฟฯ แปลงดังกล่าว

การเดินทางมาในครั้งนี้มีนายกนกพิธาน เกิดมี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ อินจิเนียริ่ง จำกัด และทีมงานเป็นผู้ยื่นหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งพยานหลักฐานให้ นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผวจ.กาญจนบุรี โดยมีนายกรกรณ์ อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี เป็นตัวแทนรับมอบ

ทั้งนี้ หนึ่งในตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่า วันนี้มาเป็นตัวแทนของผู้ค้ารายอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเข้าไปตรวจสอบตลาดค่ายเชลยศึก ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีคำสั่งปิดตลาดขอให้ท่านได้โปรดไตร่ตรองพยานหลักฐานให้ครบถ้วนกว่านี้ หรือว่าในส่วนของการกระทำความผิดที่กล่าวอ้างว่ามีการขายแอลกอฮอล์ให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ขอให้เกิดความกระจ่างในชั้นศาลก่อน

"ไม่ใช่แค่เห็นว่ามีในส่วนนั้นแล้วจะสั่งปิดทั้งตลาดเลย เพราะจะทำให้ผู้ค้ารายอื่นได้รับความเดือดร้อน เขาจึงอยากให้ทนายความเข้ามาเป็นคนกลางในการร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้เห็นใจผู้ค้ารายอื่น เพราะถ้าหากมีการสั่งปิดตลาดแล้วเขาจะไปทำมาหากินอะไร จะไปขายของที่ไหน เพราะในส่วนของผู้ค้าทั้งหลายที่อยู่ในตลาดค่ายเชลยศึก เขาทำมาหากินตั้งแต่ พ.ศ.2546 แล้ว"

แต่พอทางบริษัทวิชั่นฯ เข้ามามีการเจรจาให้ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันเพื่อให้ผู้ค้ายังคงอาชีพหารายได้ไปเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดอาชญากรรมขึ้นในบ้านเมือง เพราะฉะนั้นอยากจะขอให้ท่านผู้ว่าฯ ได้โปรดไตร่ตรองก่อนที่จะมีคำสั่งปิดตามที่ได้ประกาศเอาไว้ ซึ่งทางผู้ที่รับหนังสือไปนั้นแจ้งว่าจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด แต่ทางเราจะขอติดตามเรื่องให้เร็วที่สุดเช่นกัน เพราะเราไม่อยากให้เรื่องมันเนิ่นนานไปมากกว่านี้

ตั้งแต่ที่มีเหตุการณ์เข้าตรวจค้น ทำให้ตลาดค่ายเชลยศึกซบเซา ชาวบ้านที่เป็นผู้ค้าได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากทำให้ขายของไม่ได้ตามไปด้วย ถามว่าในส่วนของการรถไฟฯ ที่แจ้งให้ระงับการใช้พื้นที่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น เรื่องนี้จากการที่ชาวบ้านได้แจ้งกับทนายความพบว่า เรื่องนี้ทราบแค่เพียงว่าการรถไฟฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาเตรียมลงนาม ในส่วนของเรื่องการพิจารณายกเลิกกันนั้นทางเจ้าของตลาดได้แจ้งกับทางผู้ค้าว่ายังไม่มีเรื่องนี้ลงมาอย่างเป็นทางการ

ด้าน นายกนกพิธาน เกิดมี ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท วิชั่น อินสเป็คเตอร์ แอนด์ อินจิเนียริ่ง จำกัด เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากวันที่ 11 พ.ค.65 ทางจังหวัดกาญจนบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีหนังสือไปปิดที่ร้าน Camp Bar ที่อยู่ภายในตลาดค่ายเชลยศึก โดยกล่าวหาว่าพบการกระทำความผิดในการจำหน่ายสุราให้เด็กอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์กับผู้ค้าภายในตลาด โดยในหนังสือนั้นผู้ว่าฯ ให้บริษัทวิชั่นฯ ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและให้โต้แย้งพยานหลักฐานโดยให้เวลาทางบริษัทฯ 7 วัน ซึ่งในวันนี้เราได้มายื่นหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งพยานหลักฐานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

โดยทางเรามองว่าในชั้นสอบสวนผู้ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหานั้นข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติ เราจึงอยากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบทางบริษัทวิชั่นฯ ด้วยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ทางผู้ว่าฯ หรือชุดจับกุมยังไม่มีการเรียกกรรมการของบริษัทฯมาให้ปากคำ เราจึงมาร้องขอว่าให้สอบปากคำข้อเท็จจริงให้ละเอียดก่อนที่จะมีคำสั่งปิดตลาดค่ายเชลยศึก

โดยขณะนี้ผู้ค้ายังสามารถค้าขายได้อยู่ แต่เนื่องจากว่าเมื่อวันที่ 6 พ.ค.มีการเข้ามาบุกค้นในช่วงกลางคืน และลักษณะข่าวที่ออกไปบอกว่าตลาดเชลยศึกถูกปิดไปแล้ว ทำให้ตลาดไม่ค่อยมีผู้คน ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันมาเรียกร้องในวันนี้ สำหรับเรื่องของการรถไฟฯ นั้น ทางบริษัทฯ มีสิทธิในการใช้พื้นที่อยู่แล้วตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งในข่าวที่ออกไปว่าเราบุกรุกพื้นที่การรถไฟฯ ไม่เป็นความจริง

แม่ค้ารายหนึ่งกล่าวว่า การรวมตัวเดินทางมาในวันนี้เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้ตลาดค่ายเชลยศึก พวกเราเป็นพ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ในตลาด ส่วนตัวเราเองเปิดร้านขายอาหารตามสั่ง ซึ่งภายในตลาดมีทั้งแม่ค้าขายหมวก ขายลูกชิ้น ขายเฟรนช์ฟราย ขายผลไม้ ขายยำ ขายผัก รวมทั้งขายส้มตำและอีกหลายอย่างที่เป็นอาหารการกิน พวกเราเป็นตลาดใครจะเข้ามาซื้ออะไรก็ได้

ซึ่งเราไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ทำไมมาสั่งปิดตลาดของพวกเรา หรือกำลังจะสั่งปิดตลาด การมาในวันนี้เรามาแค่ร้องขอความยุติธรรมให้พวกเรากันเอง ซึ่งพวกเราขายของตรงนี้มานานแล้วตั้งแต่ตลาดเปิด ท่านเป็นพ่อเมืองแต่ไม่ปกป้องลูกบ้านเลย พวกเราจะไปทำกินที่ไหนถ้าเกิดท่านสั่งปิดตลาดขึ้นมาจริงๆ พวกเราขอฝากไปถึงท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีนั้นเปรียบเสมือนเป็นพ่อของพวกเราทุกคน พวกเราจึงขอฝากชีวิตเอาไว้และอย่าได้สั่งปิดตลาดของพวกเราเลย
https://www.facebook.com/worldwar2bridgeproject/posts/1507428496353898/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2022 11:24 am    Post subject: Reply with quote

คนรถไฟเดือดร้อน! บ้านพัก "กม.11-บางซื่อ-ธนบุรี" น้ำท่วม ผู้ว่าฯ รฟท.สั่งเร่งช่วยเหลือด่วน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:51 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:51 น.



บ้านพักรถไฟถูกน้ำท่วมขังหลายแห่ง ทั้งชุมชน กม.11, บ้านพักรถไฟธนบุรี “ผู้ว่าฯรฟท.” สั่งด่วนให้ผู้บังคับบัญชาทุกฝ่าย ลงพื้นที่ช่วยเหลือ พร้อมประสาน กทม.เร่งสูบน้ำ ขณะที่เตรียมวางแผนขุดลอกคูคลอง ลอกท่อระบายน้ำ แก้ปัญหาบุกรุกรอบพื้นที่

รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่เกิดฝนตกหนักทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตั้งแต่เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 17 พ.ค. 2565 จนถึงเช้ามืดของวันที่ 18 พ.ค. 2565 ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกต่อเนื่องสะสม เข้าท่วมขังบ้านพักพนักงานบริเวณนิคมรถไฟ กม.11 บ้านพักรถไฟธนบุรี และอีกหลายแห่งตามตรอกซอกซอยต่างๆ จนพนักงานรถไฟหลายครัวเรือนได้รับความเดือดร้อนนั้น

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้สั่งการให้ผู้บังคับบัญชาทุกฝ่าย/สำนักงาน ลงพื้นที่ตรวจสอบ ให้การช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนแก่พนักงานและครอบครัวอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 ซึ่งพบปัญหาน้ำท่วมขังภายในซอยบ้านพักหลายจุด ได้ประสานให้พนักงานสถานีบางซื่อเร่งสูบน้ำออกจากบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ช่วงเย็น (เวลา 17.00 น.) ของวันที่ 17 พ.ค. 65 จนถึงเช้าวันที่ 18 พ.ค. 65 (เวลา 09.00 น.) จนทำให้ปริมาณน้ำลดลงหลายพื้นที่ พร้อมกับกำชับให้เจ้าหน้าที่ติดตามการสูบระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะผันน้ำออกจากพื้นที่ทั้งหมด

นอกจากนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังหากมีฝนตกลงมาซ้ำ ผู้ว่าการการรถไฟฯ ยังสั่งการให้พนักงานบางซื่อ ฝ่ายการช่างโยธา ทำการสำรวจพื้นที่และวางแผนการขุดลอกคูคลอง ลอกท่อระบายน้ำในพื้นที่นิคมบ้านพักรถไฟ กม.11 พร้อมกับเร่งสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาพบปัญหาผู้บุกรุกสร้างที่อยู่อาศัยกีดขวางทางระบายน้ำสาธารณะ ประกอบกับพื้นที่แก้มลิงบริเวณอาคารอเนกประสงค์ นิคมรถไฟ กม.11 มีการรองรับน้ำจนเต็มความจุ และมีขยะมูลฝอยมาอุดตันท่อระบายน้ำ

ขณะเดียวกัน การรถไฟฯ ยังได้ประสานความร่วมมือไปยังกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกที่ขวางทางระบายน้ำ ตลอดจนขอความร่วมมือพนักงานที่อาศัยอยู่ในบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 และบ้านพักรถไฟที่อื่น ช่วยกันรักษาความสะอาด ทิ้งขยะมูลฝอยในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อไม่ให้ขยะมูลฝอยอุดตันท่อน้ำ และสร้างสุขลักษณะที่ดีของชุมชน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังได้ในระยะยาวอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 183, 184, 185 ... 198, 199, 200  Next
Page 184 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©