Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13276156
ทั้งหมด:13587452
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 189, 190, 191 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42753
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2022 4:11 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นทรัลฯ จ่าย รฟท. 1,309 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดินย่านพหลฯ ปีที่ 15 อีก 5 ปีหมดสัญญา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09:20 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09:20 น.
‘เซ็นทรัลลาดพร้าว’ จ่ายค่าเช่ารถไฟแล้ว 15 ปี รวม 12,365 ล้าน หมดสัญญาปี’71
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา09:20 น.

การรถไฟฯ รับชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 2565 เป็นเงิน 1,309 ล้านบาทปีที่ 15 โดยจากปี 51-65 จ่ายผลประโยชน์รวมแล้ว 1.23 หมื่นล้านบาท โดยเหลืออีก 5 ปีหมดสัญญา

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ณ ห้องปฏิบัติการชั้น 3 ตึกบัญชาการรถไฟ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้แทนการรถไฟฯ รับชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินประจำปี 2565 จากนายปัณฑิต มงคลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานด้านการเงิน บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล ผู้แทนจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นค่าใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ของการรถไฟฯ ในรอบระยะเวลา 1 ปี (วันที่ 19 ธันวาคม 2564-18 ธันวาคม 2565) เป็นเงิน 1,309,059,000 บาท

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้ทำสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินบนพื้นที่จำนวน 47.22 ไร่ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2551 ระยะเวลาการใช้ประโยชน์ 20 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551-18 ธันวาคม 2571 โดยผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเป็นจำนวนเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดล้านแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) กำหนดชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินภายในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี โดยจะต้องชำระให้แก่การรถไฟฯ เป็นรายปี รวม 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา


สำหรับการชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์การใช้พื้นที่ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 2565 เป็นปีที่ 15 ที่การรถไฟฯ จะได้รับจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด โดยคิดเป็นจำนวนเงิน 1,309,059,000 บาท (หนึ่งพันสามร้อยเก้าล้านห้าหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ส่งผลให้จนถึงปัจจุบันระหว่างปี 2551-2565 รวมแล้วทั้งสิ้น 12,365,785,000 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันสามร้อยหกสิบห้าล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

ที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินงาน และการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ย่านสถานี ที่ทำการเขตทางรถไฟ และพื้นที่ Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาท และไม่มีปัญหาการบุกรุก เพื่อนำที่ดินออกจัดประโยชน์เป็นสิ่งปลูกสร้าง การเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยที่ดินทั้งสองส่วนนี้การรถไฟฯ ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารทรัพย์สินและสัญญา รวมถึงได้ตั้ง บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRT Asset) โดยเป็นบริษัทลูกที่ การรถไฟฯ ถือหุ้น 100% ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้การบริหารทรัพย์สินของการรถไฟฯ ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


Last edited by Wisarut on 19/12/2022 2:59 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2022 8:50 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เซ็นทรัลฯ จ่าย รฟท. 1,309 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดินย่านพหลฯ ปีที่ 15 อีก 5 ปีหมดสัญญา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09:20 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09:20 น.

รฟท. รับเงิน 1,309 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดินจาก เซ็นทรัล
ไทยโพสต์ 18 ธันวาคม 2565 เวลา 7:15 น.

รฟท. รับ 1,309 ล้าน “เซ็นทรัล” จ่ายค่าใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน งวดที่15 หมดสัญญาปี 71 รวม 20 ปี มูลค่า 2.1 หมื่นล้าน

18 ธ.ค. 2565 – นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่า รฟท. เป็นผู้แทน รฟท. รับชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 65 จากนายปัณฑิต มงคลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานด้านการเงินบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล ผู้แทนจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นค่าใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ของ รฟท. ในรอบระยะเวลา 1 ปี (วันที่ 19 ธ.ค.64 – 18 ธ.ค.65) เป็นเงิน 1,309,059,000 บาท รับมอบการรับชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน

ทั้งนี้ รฟท.ได้ทำสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน บนพื้นที่จำนวน 47.22 ไร่ระหว่าง รฟท. กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.51 ระยะเวลาการใช้ประโยชน์ 20 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.51 – 18 ธ.ค.71 โดยผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญา เป็นจำนวนเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดล้านแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) กำหนดชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินภายในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี โดยจะต้องชำระให้แก่ รฟท. เป็นรายปี รวม 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา

สำหรับการชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์การใช้พื้นที่ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 65 เป็นปีที่ 15 ที่ รฟท. จะได้รับจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด โดยคิดเป็นจำนวนเงิน 1,309,059,000 บาท(หนึ่งพันสามร้อยเก้าล้านห้าหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ส่งผลให้จนถึงปัจจุบันระหว่างปี 51-65 รวมแล้วทั้งสิ้น12,365,785,000 บาท

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา รฟท. ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินงาน และการบริหารที่ดินของ รฟท. ออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ พื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ย่านสถานี ที่ทำการ เขตทางรถไฟ และพื้นที่ Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีประเด็นข้อพิพาท และไม่มีปัญหาการบุกรุก เพื่อนำที่ดินออกจัดประโยชน์เป็นสิ่งปลูกสร้าง การเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยที่ดินทั้งสองส่วนนี้ รฟท. ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารทรัพย์สินและสัญญา รวมถึงได้ตั้ง บริษัท เอสอาร์ที แอสเสทจำกัด (SRT Asset) โดยเป็นบริษัทลูกที่ รฟท. ถือหุ้น100% ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้การบริหารทรัพย์สินของ รฟท. ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42753
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2022 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

ตลาดรถไฟ ตลาดผลไม้ ขอนแก่น ค้าส่ง ค้าปลีกผลไม้ สร้างบนที่ดินรถไฟ แถว ถนน รื่นรมย์ ตำบล ในเมือง, อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
https://www.facebook.com/RodfaiMarketKK
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2022 5:18 am    Post subject: Reply with quote

ปั้นTODสถานี"บางซื่อ-ธนบุรี"SRTAดึงญี่ปุ่นร่วม-ยกศิริราชเมดิคัลฮับ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, December 29, 2022 05:13

ผู้จัดการรายวัน360 - "เอสอาร์ที แอสเสทฯ" (SRTA) เตรียมรับมอบการบริหารทรัพย์สินจาก รฟท.ในปี 2566 พร้อมใส่เกียร์เดินหน้าปั้น 2 โครงการใหญ่ สถานีกลางบางซื่อ และ สถานีรถไฟฟ้าธนบุรี สร้างพื้นที่การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ (TOD) ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก คาดว่าจะเห็นภาพการพัฒนาชัดเจนตั้งแต่ช่วงปลายปี 66 พร้อมคาดหวังระยะยาวสู่ความเป็นสมาร์ทซิตี้

นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัทและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) เปิดเผยถึงแผนการรับมอบบริหารทรัพย์สินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และแนวทางในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟว่า ต้นปี 2566 หลังจากการเซ็นสัญญารับมอบจาก รฟท. ทาง บริษัทฯ จะเริ่มต้นวางแนวทางการพัฒนาที่ดินของการรถไฟ เพื่อมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ให้เร็วที่สุด

โดยจะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่มากกว่า 2,000 ไร่ ใช้ TOD ในการพัฒนาพื้นที่อย่างเต็ม รูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย โดยร่วมมือกับทาง UR (Urban Renaissance Agency) หน่วยงานที่พัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยของประเทศญี่ปุ่น เข้ามาช่วยศึกษาหาแนวทาง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้

อีกโครงการ คือ สถานีธนบุรี โดยเราได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลศิริราช ในการหาแนวทางการพัฒนาเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันพื้นที่บริเวณดังกล่าวก็มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นจุดศูนย์รวมการคมนาคมทางเรือ รถไฟ และระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ มีศักยภาพที่จะเป็นทั้งพื้นที่ศูนย์กลางทางการแพทย์ และแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเราได้มีการพูดคุยกับทางโรงพยาบาลศิริราช ในความร่วมมือดังกล่าวแล้ว เหลือแค่เพียงการเจรจาถึงแนวทางใช้ประโยชน์จากที่ดินกับการรถไฟให้มีความชัดเจนอีกครั้ง คาดว่าทั้ง 2 โครงการ จะเริ่มดำเนินการได้ไม่เกินปลายปี 2566 เพื่อให้เกิดภาพการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม นางสาวไตรทิพย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระบวนการ การพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เมื่อมีผลสรุปจากโครงการศึกษาที่ UR ได้สำรวจและวางแผนพัฒนาพื้นที่เสร็จสิ้นแล้ว เราถึงจะยื่นผลการศึกษากับทางการรถไฟ เพื่อขออนุมัติการเช่าพื้นที่จากการรถไฟ เพื่อมาเปิดประมูลต่อ โดยพื้นที่แรกของสถานีกลางบางซื่อที่เรามองเอาไว้ คือ พื้นที่โซนเอ และพื้นที่โซนอีบางส่วน ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่จะอยู่บริเวณด้านหลังสถานีกลางบางซื่อ โดยมีแผนพัฒนาเป็นฝนรูปแบบมิกซ์ยูส หรือการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน เน้นอาคารสำนักงานผสานกับพื้นที่เชิงพาณิชย์เป็นหลัก

ส่วนสถานีธนบุรี เป็นพื้นที่ขนาด 21 ไร่ ที่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลศิริราชประมาณ 500 เมตร พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อีกแห่งที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนา เพราะติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญทางฝั่งธนบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และศูนย์กลางด้านการแพทย์ได้ ขณะเดียวกันต้องตอบโจทย์ความต้องการในแนวทางการพัฒนาของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น สร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นแนวทางในการพัฒนา เราอาจเสริมในเรื่องการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งการสร้างที่พักให้กับพนักงานรถไฟ
    "ในแง่การลงทุน เราไม่ได้จำกัดว่าผู้ร่วมลงทุนจะต้องเป็นนักลงทุน ในประเทศ หรือนักลงทุนจาก ต่างประเทศ หากใครเห็นศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ของเราก็พร้อมเปิดรับ และเปิดเผยขั้นตอนทุกอย่างด้วยความโปร่งใส"
โดยในปี 2566 จะเป็นปีที่ SRTA เร่งเดินหน้าศึกษาและพัฒนาพื้นที่ของรฟท.อย่างเต็มตัว ตั้งแต่ขั้นตอนการรับมอบสัญญาจากการรถไฟ ไปจนถึงการประมูลหาผู้ลงทุน และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในช่วงปี 2566-2568 ซึ่งจะได้เห็นโครงการต่างๆ เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ไม่ใช่แค่ 2 พื้นที่ในโครงการหลักเท่านั้นที่เราจะเริ่มพัฒนา ยังมีพื้นที่ขนาดเล็กอีกหลายแห่งของการรถไฟ เช่น พื้นที่รัชดา, เพชรบุรีตัดใหม่, RCA, และโครงการสถานีแม่น้ำ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้อยู่ระหว่างการศึกษาหาแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้ที่ดินเหล่านี้สร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชน ในเมืองที่จะมีคุณภาพชีวิตในเมือง ที่ดีขึ้น.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 29 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44667
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2022 8:24 am    Post subject: Reply with quote

'SRAT' กางแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ-ธนบุรี
ไทยโพสต์ 29 ธันวาคม 2565 เวลา 7:53 น.

“เอสอาร์ทีเอ” ปักหมุดต้นปี66 เร่งปั้น 2 โครงการใหญ่ สถานีกลางบางซื่อ และ สถานีรถไฟฟ้าธนบุรี สร้างพื้นที่ TOD พัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ ตั้งเป้าพัฒนาชัดเจนปลายปี66 สู่การพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้

29 ธ.ค. 2565 – นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัทและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) เปิดเผยถึงแผนการรับมอบบริหารทรัพย์สินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และแนวทางในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟว่า ต้นปี 2566 หลังจากการเซ็นสัญญารับมอบจากการรถไฟแห่งประเทศไทย SRTA ก็จะเริ่มต้นวางแนวทางการพัฒนาที่ดินของการรถไฟ เพื่อมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ให้เร็วที่สุด โดยจะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่มากกว่า 2,000 ไร่ ใช้ TOD ในการพัฒนาพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย โดยร่วมมือกับทาง UR (Urban Renaissance Agency) หน่วยงานที่พัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยของประเทศญี่ปุ่น เข้ามาช่วยศึกษาหาแนวทาง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้

สำหรับอีกโครงการ คือ สถานีธนบุรี ได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลศิริราช ในการหาแนวทางการพัฒนาเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันพื้นที่บริเวณดังกล่างก็มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นจุดศูนย์รวมการคมนาคมทางเรือ รถไฟ และระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ มีศักยภาพที่จะเป็นทั้งพื้นที่ศูนย์กลางทางการแพทย์ และแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเราได้มีการพูดคุยกับทางโรงพยาบาลศิริราช ในความร่วมมือดังกล่าวแล้ว เหลือแค่เพียงการเจรจาถึงแนวทางใช้ประโยชน์จากที่ดินกับการรถไฟให้มีความชัดเจนอีกครั้ง คาดว่าทั้ง 2 โครงการ จะเริ่มดำเนินการได้ไม่เกินปลายปี 2566 เพื่อให้เกิดภาพการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

นางสาวไตรทิพย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของกระบวนการ การพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เมื่อมีผลสรุปจากโครงการศึกษาที่ UR ได้สำรวจและวางแผนพัฒนาพื้นที่เสร็จสิ้นแล้ว เราถึงจะยื่นผลการศึกษากับทางการรถไฟ เพื่อขออนุมัติการเช่าพื้นที่จากการรถไฟ เพื่อมาเปิดประมูลต่อ โดยพื้นที่แรกของสถานีกลางบางซื่อที่เรามองเอาไว้ คือ พื้นที่โซนเอ และพื้นที่โซนอีบางส่วน ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่จะอยู่บริเวณด้านหลังสถานีกลางบางซื่อ โดยมีแผนพัฒนาเป็นฝนรูปแบบมิกซ์ยูส หรือการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน เน้นอาคารสำนักงานผสานกับพื้นที่เชิงพาณิชย์เป็นหลัก

นอกจากนี้ อาจมีการนำแนวคิดการออกแบบพื้นที่รอบสถานีรถไฟของประเทศญี่ปุ่นที่น่าสนใจมาใช้ในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อด้วยอย่างเช่น การสร้างพื้นที่สีเขียว การออกแบบเส้นทางใต้ดินเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟที่สามารถเดินใต้ดินเพื่อไปเข้าตึกต่างๆ ที่อยู่รอบๆ สถานีรถไฟได้ และระหว่างทางเดินก็มีร้านค้าที่สามารถเข้าใช้บริการได้ตลอดทาง แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูด้วยว่าในเชิงวิศวกรรมการออกแบบ พื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อสามารถทำได้หรือไม่ แต่ที่ชัดเจนที่สุด คือ เราพุ่งเป้าไปสู่การสร้างสมาร์ทซิตี้ในพื้นที่แห่งนี้แน่นอน

ส่วนสถานีธนบุรี เป็นพื้นที่ขนาด 21 ไร่ ที่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลศิริราชประมาณ 500 เมตร พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อีกแห่งที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนา เพราะติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญทางฝั่งธนบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และศูนย์กลางด้านการแพทย์ได้ ขณะเดียวกันต้องตอบโจทย์ความต้องการในแนวทางการพัฒนาของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น สร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้แก่ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นแนวทางในการพัฒนา เราอาจเสริมในเรื่องการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งการสร้างที่พักให้กับพนักงานรถไฟ

“ในแง่การลงทุน เราไม่ได้จำกัดว่าผู้ร่วมลงทุนจะต้องเป็นนักลงทุนในประเทศ หรือนักลงทุนจากต่างประเทศ หากใครเห็นศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ของเราก็พร้อมเปิดรับ และเปิดเผยขั้นตอนทุกอย่างด้วยความโปร่งใส”

อย่างไรก็ตามปี 2566 จะเป็นปีที่ SRTA เร่งเดินหน้าศึกษาและพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างเต็มตัว ตั้งแต่ขั้นตอนการรับมอบสัญญาจากการรถไฟ ไปจนถึงการประมูลหาผู้ลงทุน และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในช่วงปี 2566-2568 ซึ่งจะได้เห็นโครงการต่างๆ เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ไม่ใช่แค่ 2 พื้นที่ในโครงการหลักเท่านั้นที่เราจะเริ่มพัฒนา ยังมีพื้นที่ขนาดเล็กอีกหลายแห่งของการรถไฟ เช่น พื้นที่รัชดา, เพชรบุรีตัดใหม่, RCA, และโครงการสถานีแม่น้ำ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้อยู่ระหว่างการศึกษาหาแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้ที่ดินเหล่านี้สร้างรายได้ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย และเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในเมืองที่จะมีคุณภาพชีวิตในเมืองที่ดีขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42753
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2023 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

ปักธง ก.พ.นี้! รฟท.คลอด TOR ประมูลชิงพื้นที่เชิงพาณิชย์และโฆษณา "สถานีกลางบางซื่อ"
หน้า คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 07:46 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 07:46 น.

รฟท.จ่อคลอด TOR เปิดชิงพื้นที่เชิงพาณิชย์และโฆษณา "สถานีกลางบางซื่อ" ก.พ.นี้ สัญญา 20 ปี ใช้เกณฑ์เทคนิคบวกราคาตัดสิน หวังดึงมืออาชีพบริหาร ส่วนงานจ้างบริหารลานจอดแท็กซี่-รถบัส 49 ล้านบาท เคาะราคาวันนี้

นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท.ได้ดำเนินการร่างเงื่อนไขการประกาศเชิญชวนเอกชนในการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อประกอบกิจการเชิงพาณิชย์และติดตั้งป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีกลางบางซื่อ เสร็จแล้ว คาดว่าผู้ว่าฯ รฟท.จะอนุมัติเพื่อออกประกาศ TOR เชิญชวนได้ในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2566 นี้ โดยคาดว่าจะสรุปผลการพิจารณาคัดเลือก และเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เห็นชอบ และทำสัญญากับเอกชนได้ในเดือน ก.ย. 2566 เพื่อเริ่มเข้าพื้นที่และทยอยเปิดให้บริการปลายปี 2566



โดยจะเป็นการเปิดประมูล เชิญชวนเอกชน 4 สัญญา ประกอบด้วย
1. สัญญาพัฒนาเชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ พื้นที่ 47,675 ตารางเมตร
2. สัญญาพัฒนาพื้นที่โฆษณา สถานีกลางบางซื่อ 2,303 ตารางเมตร โดยทั้ง 2 สัญญามีระยะเวลาสัญญา 20 ปี

ทั้งนี้ TOR การพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ กำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำ (Minimum Guarantee) เป็นค่าเช่าพื้นที่ 500 บาท/ตารางเมตร บวกกับค่าบริการใช้ไฟฟ้าร่วม 150 บาท การพิจารณาใช้เกณฑ์ข้อเสนอด้านเทคนิค 80 คะแนน บวกกับข้อเสนอด้านราคา 20 คะแนน โดยผู้เสนอผลตอบแทนที่ดีกว่ามีแผนการพัฒนาด้านธุรกิจที่ดีกว่าจะได้รับการคัดเลือก เพราะเป้าหมายการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เสนอผลตอบแทนสูงอย่างเดียว แต่จะต้องมีเทคนิคมีแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่มีการใช้พื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุด

ประเมินว่าการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และโฆษณาสถานีกลางบางซื่อ จะมีรายได้ขั้นต่ำประมาณ 360 ล้านบาทต่อปี หรือ ตลอดอายุสัญญา 20 ปี มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 7,000 ล้านบาท

3. การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าสายสีแดง 12 สถานี พื้นที่ประมาณ 3,700 ตารางเมตร และ 4. พื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณาสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 12 สถานี พื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางเมตร โดยสัญญารถไฟสายสีแดง 12 สถานีจะกำหนดระยะเวลา 3 ปี

รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุที่เป็นระยะสั้น เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และป้ายโฆษณาจะมีการนำไปรวมในการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) บริหารการเดินรถไฟสายสีแดง เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าและจูงใจมากกว่า จึงกำหนดระยะสัญญา 3 ปีเพื่อให้สอดคล้องกับ PPP สายสีแดง



@เคาะราคาวันนี้! ประมูลจ้างบริหารลานจอดแท็กซี่-รถบัสวงเงิน 49 ล้านบาท

นอกจากนี้ สถานีกลางบางซื่อยังมีบริการพื้นที่จอดรถส่วนบุคคลบริเวณชั้นใต้ดิน ขนาด 58,500 ตารางเมตร รองรับได้จำนวน 1,624 คัน งบประมาณ 128 ล้านบาท และงานให้บริการทำความสะอาด รักษาความปลอดภัย และจัดการจราจร ซึ่ง รฟท.ได้ประมูลจัดหาผู้ให้บริการ และเข้าทำสัญญาจ้างเรียบร้อยแล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากนี้ รฟท.ยังอยู่ระหว่างประกวดราคาจ้างบริหารจัดการระบบขนส่งสาธารณะ พื้นที่ลานจอดรถแท็กซี่และลานจอดรถบัสในบริเวณสถานีกลางบางซื่อ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e–bidding) ราคากลาง 49,706,743 บาท โดยให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ วันที่ 16 ม.ค. 2566 ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.

โดยสัญญามีระยะเวลา 36 เดือน ทำหน้าที่บริหารพื้นที่จอดรถแท็กซี่สาธารณะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอาคารสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 262 คัน และลานจอดรถบัสไม่ประจำทาง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอาคารสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 45 คัน ให้เอกชนบริหารให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการสถานีกลางบางซื่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42753
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2023 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

ไปๆมาๆจะมาเอาที่ในบ้านพักรถไฟ กม.11อีกแล้ว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2722205927921089&id=100003951242488
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42753
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2023 10:39 am    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’ เร่งเครื่องพัฒนาที่ดินรถไฟ SRTA ลุยศึกษาปั้นทำเลทอง “บางซื่อ-ธนบุรี” เปิดประมูลปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:27 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:27 น.

Click on the image for full size

“ศักดิ์สยาม” เร่งเครื่องแผนพัฒนาที่ดินย่านบางซื่อ ตั้งเป้านำร่องแปลง A, E ภายในปีนี้ ด้าน SRTA เผยศึกษาเสร็จกลางปี 66 ลุยปั้นทำเลทองพลิกโฉม “บางซื่อ-ธนบุรี” เปิดประมูลปี 67

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน เนื้อที่รวม 2,325 ไร่ว่า ขณะนี้บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาแล้ว โดยประเมินว่าภายในปีนี้จะสรุปผลการศึกษา แนวคิดรูปแบบในการพัฒนาพื้นที่ 2 แปลงแรก คือ แปลง A ขนาดเนื้อที่ 32 ไร่ และพื้นที่แปลง E เนื้อที่ประมาณ 140 ไร่ และสามารถออกมานำร่องพัฒนาได้ก่อน

ส่วนแปลงอื่นๆ จะทยอยศึกษาและนำออกพัฒนาต่อไป ซึ่งจากที่ได้เดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาคเอกชนประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจในการเข้ามาพัฒนาอย่างมาก เบื้องต้นมีประมาณ 18 บริษัท เนื่องจากมีการลงทุนอยู่ในประเทศไทยในด้านอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว โดยกำลังรอให้ผลศึกษาที่ทำร่วมกับองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมืองญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency: UR) ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ของญี่ปุ่น แต่ก็ต้องใช้เวลามากกว่า 40 ปี ดังนั้นขณะนี้ประเทศไทยถือว่ากำลังจะเริ่มนับหนึ่ง



ด้านนางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัทและรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการรับบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า พื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งอยู่รอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งมีการศึกษาวางผังแม่บท (Master Plan) การพัฒนา โดยจะนำร่องแปลง A และแปลง E ก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษา คาดว่าจะสรุปผลศึกษาได้กลางปี 2566 และนำเสนอบอร์ด SRTA จากนั้นจะทำเรื่องขอเช่าพื้นที่ต่อจาก รฟท.ตามขั้นตอน ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2567

สำหรับพื้นที่แปลง A นั้น มีการปรับแนวคิดการพัฒนาใหม่ให้เหมาะสมและจูงใจมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ รฟท.ได้เปิดประมูล 2 ครั้งแต่ไม่มีเอกชนสนใจ โดยนำมาพัฒนาเป็นสำนักงานการรถไฟฯ และด้านล่างจะเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้

ส่วนพื้นที่แปลง E มีเนื้อที่ค่อนข้างมากและทำเลมีศักยภาพ จะเน้นพัฒนาเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ จะมีที่ทำการกระทรวงคมนาคมรวมอยู่ด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงฯ ในการกำหนดรูปแบบร่วมกัน

X

"ภายในกลางปี 2566 แนวคิดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่แปลง A และแปลง E จะเห็นภาพชัดเจน รวมถึงโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะทบทวนการศึกษา รูปแบบ การพัฒนา แล้วเสร็จ และคาดว่าจะสามารถทยอยเปิดประมูลได้ในปี 2567" นางสาวไตรทิพย์กล่าว

ส่วนที่ รฟท.จะให้ SRTA รับบริหารทรัพย์สินต่างๆ นั้น ขณะนี้ รฟท.ยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมลงนามสัญญาจ้าง ซึ่งจะมีทั้งสัญญาเช่าพื้นที่ของฝ่ายบริหารทรัพย์สิน สัญญาเช่าของฝ่ายเดินรถ รวม 7,000-8,000 สัญญา

นางสาวไตรทิพย์กล่าวว่า หาก รฟท.สามารถส่งต่อการดำเนินงานให้ SRTA ได้เร็ว SRTA จะสามารถนำที่ดินนั้นๆ ไปพัฒนาได้เร็วและสามารถสร้างรายได้ให้ รฟท.ได้เร็วด้วยเช่นกัน โดยที่ดินแปลงใหญ่นั้นจะมีการศึกษา ประเมินมูลค่าวงเงินลงทุน ซึ่งจะขึ้นกับศักยภาพและปัจจัยที่แตกต่างกันไปของที่ดินแต่ละแปลง ส่วนรายได้ที่ รฟท.จะได้รับเป็นส่วนของผลตอบแทนในการลงทุนที่จะประเมินตลอดอายุสัญญา หลักๆ จะอยู่ประมาณ 30% ของมูลค่าการลงทุน ซึ่งจะทยอยจ่ายเป็นรายปี ดังนั้น หากเปิดประมูลได้เร็ว รฟท.จะรับรู้รายได้เร็ว

Wisarut wrote:
ไปๆมาๆจะมาเอาที่ในบ้านพักรถไฟ กม.11อีกแล้ว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2722205927921089&id=100003951242488
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42753
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2023 11:04 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘ศักดิ์สยาม’ เร่งเครื่องพัฒนาที่ดินรถไฟ SRTA ลุยศึกษาปั้นทำเลทอง “บางซื่อ-ธนบุรี” เปิดประมูลปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:27 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:27 น.




รอสรุป TOR ประมูลที่ดินบางซื่อ “ศักดิ์สยาม” เร่งขยายสายสีแดง-มธ.รังสิต
ในประเทศ
วันอาทิตย์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 09:04 น.

เปิดไทม์ไลน์ประมูลที่ดินรอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ปีนี้ TOR เสร็จแน่นอน รอศึกษาเพิ่มเติมร่วมกับ UR “ศักดิ์สยาม” ยึดโมเดลญี่ปุ่น นำร่องพัฒนาโครงการมิกซ์ยูส จูงใจเอกชนลงทุนเต็มรูปแบบ เตรียมเสนอ ครม.ยืดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดือน ก.พ.นี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างร่างประกาศ TOR คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็ว ๆ นี้ และพร้อมจะเปิดประมูลได้ โดยใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ เพื่อให้รัฐมีสัดส่วนรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์คิดเป็น 60% ส่วนอีก 40% เป็นรายได้จากค่าโดยสาร

ทั้งนี้ การเปิดประมูลที่ดินโดยรอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 2,325 ไร่ แบ่งการพัฒนาออกเป็น 9 แปลง ในเบื้องต้นจะเปิดประมูลก่อน 2 แปลง คือ แปลง A จำนวน 32 ไร่ และแปลง E จำนวน 128 ไร่

แหล่งข่าว ร.ฟ.ท.กล่าวว่า แปลง A เป็นที่ดินอกแตก อยู่ทิศใต้ของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ได้วางแผนพัฒนาแบบมิกซ์ยูสโปรเจ็กต์ เช่นเดียวกับแปลง E ที่อยู่ระหว่างสำนักงานใหญ่เอสซีจี และสถานี ซึ่งอนาคตหากพัฒนาแล้วจะเป็นคอมเมอร์เชียล ศูนย์กลางการค้าและธุรกิจแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุด คาดว่าจะมีบริษัทพัฒนาที่ดินและกลุ่มค้าปลีกรายใหญ่เข้าร่วมประมูล อาทิ เดอะมอลล์ เซ็นทรัล ฯลฯ



ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาเพิ่มเติมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับ Urban Renaissance Agency (UR) องค์กรจากประเทศญี่ปุ่นที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาพื้นที่ TOD (Transit Oriented Development) ในญี่ปุ่นนานกว่า 40 ปี หลังศึกษาเพิ่มเติมแล้วจะมีการนำผลการศึกษาการพัฒนาเชิงพาณิชย์ออกโรดโชว์ในต่างประเทศด้วย

ส่วนการประกาศเชิญชวนการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อประกอบกิจการ เชิงพาณิชย์และติดตั้งป้ายโฆษณาบริเวณภายในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ พื้นที่รวม 47,675 ตารางเมตร จากเดิมมีพื้นที่ 52,000 ตารางเมตร ยังอยู่ระหว่างจัดทำร่าง TOR เช่นกัน


“พื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ลดลงบางส่วนได้กันไว้สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ยังเท่าเดิม เช่น พื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณาสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 2,300 ตารางเมตร พื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 12 สถานี พื้นที่ 3,700 ตารางเมตร และพื้นที่ติดตั้งป้ายโฆษณาสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 12 สถานี ประมาณ 2,000 ตารางเมตร” แหล่งข่าวกล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม นายศักดิ์สยามกล่าวย้ำถึงสถานีกรุงเทพ หรือหัวลำโพงว่า ปัจจุบันจะค่อย ๆ ลดบทบาทด้านการเดินรถลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งพื้นที่บริเวณหัวลำโพงมีพื้นที่รวมกันกว่า 120 ไร่นั้น ยังไม่มีแผนพัฒนาที่ดินใด ๆ

“สถานีหัวลำโพงจะอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์ไว้ เพราะเปิดใช้มาตั้งแต่ 25 มิถุนายน 2459 แต่ต้องมีการปรับปรุงโดยรักษาสภาพทางกายภาพเดิมเอาไว้ ไม่มีการทุบทิ้งแน่นอน” นายศักดิ์สยามกล่าว

สำหรับการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะมีการเสนอโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,448.69 ล้านบาท โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติการประมูล

ส่วนรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงิน 10,670.27 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.70 กม. วงเงิน 6,193 ล้านบาท ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 5.76 กม. วงเงิน 42,039 ล้านบาท อยู่ระหว่างการทบทวนแบบ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต้นทุนในการดำเนินการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42753
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2023 3:13 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.โต้ "ทวี" ยันบันทึกบัญชี "ที่ดินเขากระโดง" ตามมาตรฐาน อีก 5 พันไร่รอพิสูจน์สิทธิในชั้นศาล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 10:27 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 10:27 น.



การรถไฟฯ โต้ ส.ส.พรรคประชาชาติ อภิปรายพาดพิงยันบันทึกบัญชี "ที่ดินเขากระโดง" ในงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ส่วนที่ดิน 5 พันไร่อยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิในชั้นศาล

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ ได้อภิปรายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 พาดพิงถึงการรถไฟฯ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับที่ดินเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยสรุปว่า “ในเอกสารประกอบการพิจารณาที่การรถไฟฯ จัดส่งให้แก่กรรมาธิการงบประมาณนั้น ระบุที่ดินนอกย่านของการรถไฟฯ ที่จังหวัดบุรีรัมย์-โรงโม่ ทางเข้าเขากระโดง ว่ามีจำนวน 69.19 ไร่เท่านั้น ในขณะที่ศาลฎีกาได้เคยตัดสินว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินของการรถไฟฯ 5,000 กว่าไร่ จึงมีข้อสงสัยว่าที่ดินที่นอกเหนือจาก 69.19 ไร่ หายไปไหน” นั้น

ad

เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงในการบันทึกบัญชีที่ดิน และมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างครบถ้วน ​การรถไฟฯ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
​การกำหนดรายละเอียดในทะเบียนบัญชีสินทรัพย์กรณีที่จะต้องส่งให้กับคณะกรรมาธิการงบประมาณ เพื่อประกอบการพิจารณา ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 เรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สำหรับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

​“ข้อ 7 กิจการต้องรับรู้ต้นทุนของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ต่อไปนี้

7.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการนั้น และ
7.2 กิจการสามารถวัดมูลค่าต้นทุนของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ”



​ที่ดิน จำนวน 69.19 ไร่ ตามที่พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ได้กล่าวถึงนั้น เป็นเส้นทางเดินรถแยกจากสถานีรถไฟบุรีรัมย์เข้าไปยังที่ดินการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง ซึ่งไม่มีปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ มีข้อมูลครบถ้วน ชัดเจน การรถไฟฯ จึงสามารถบันทึกรายการดังกล่าวลงในบัญชีสินทรัพย์ของการรถไฟฯ จำนวน 69.19 ไร่ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 16 และ สตง.ไม่ได้ท้วงติงโต้แย้งในประเด็นนี้

​สำหรับพื้นที่ที่เหลือในจำนวน 5,083 ไร่ ซึ่งพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ได้กล่าวว่าการรถไฟฯ ไม่ได้บันทึกทะเบียนสินทรัพย์นั้น เป็นที่ดินที่ยังมีปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิ จึงเป็นกรณีที่ยังไม่สามารถวัดมูลค่าต้นทุนของรายการที่ดินนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ทำให้ไม่สามารถลงบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ได้ ซึ่งการรถไฟฯ ได้ฟ้องเพื่อพิสูจน์สิทธิต่อศาลปกครองกลางไปแล้ว

​ทั้งนี้ การบันทึกบัญชีทรัพย์สินหรือหลักฐานอื่นใด จำนวน 5,083 ไร่ ดังกล่าว

การรถไฟฯ ได้จัดเก็บหลักฐานในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย
• พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี พุทธศักราช 2462 ประกาศวันที่ 8 พฤศจิกายน 2462 โดยมี
การจัดเก็บแผนที่อยู่ที่กระทรวงเกษตราธิการ ที่ว่าการกรมรถไฟหลวง และศาลารัฐบาล มณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุบลราชธานี

X

• พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2464 ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2464
• รวมถึงเอกสารการฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อพิสูจน์สิทธิในที่ดินดังกล่าว
​เนื่องจากที่ดินดังกล่าวมีการออกเอกสารสิทธิทับซ้อน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิ

โดยการรถไฟฯ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง และอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล เมื่อกระบวนการพิสูจน์สิทธิเสร็จสิ้น หรือคดีถึงที่สุดแล้ว การรถไฟฯ พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาและจะได้ดำเนินการตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 16 ต่อไป

สำหรับที่ดินรถไฟเส้นทางพังงา-ท่านุ่น ที่พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ นำมากล่าวอ้างนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริเวณดังกล่าวมีพื้นที่รวมประมาณ 905 ไร่ และอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดประมาณ 251 ไร่ กรณีนี้จึงมีลักษณะเช่นเดียวกันกับพื้นที่เขากระโดงที่ได้มีการบันทึกรายการทะเบียนสินทรัพย์สำหรับที่ดินบางส่วนแล้ว ซึ่งยังคงมีที่ดินอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งยังต้องมีการพิสูจน์สิทธิในชั้นศาล เมื่อกระบวนการพิสูจน์สิทธิเสร็จสิ้น จึงจะนำมาบันทึกในรายการทรัพย์สิน ตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 16 ต่อไป

การรถไฟฯ ขอยืนยันว่าได้ดำเนินการทุกอย่างตามระเบียบ และขั้นตอนของกฎหมาย ด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ดำเนินการอย่างอิสระตรงไปตรงมา ไม่เลือกปฏิบัติ โดยเห็นแก่ประโยชน์ขององค์กร และประเทศชาติเป็นสำคัญ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 189, 190, 191 ... 198, 199, 200  Next
Page 190 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©