RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311359
ทั่วไป:13299582
ทั้งหมด:13610941
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 190, 191, 192 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44993
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/02/2023 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. แจง "พ.ต.อ.ทวี" ไม่บันทึกบัญชีที่เขากระโดงให้ครบ เหตุอยู่การพิสูจน์สิทธิ ยันไม่เลือกปฏิบัติ
สยามรัฐออนไลน์ 20 กุมภาพันธ์ 2566 17:17 น. เศรษฐกิจ

ตามที่พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ ได้อภิปราย เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 พาดพิงถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับที่ดินบ้านโพธิ์มูล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และที่ดินเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ความว่า "การรถไฟฯ" ได้มีการลงบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 เรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ระบุเกี่ยวกับ ที่ดินบ้านโพธิ์มูล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ไว้อย่างครบถ้วน ทั้งที่มีกรณีพิพาทอยู่กับชาวบ้านเช่นเดียวกันกับที่ดินบริเวณเขากระโดง แต่ไม่มีการลงบันทึกที่ดินบริเวณเขากระโดง ในทะเบียนสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงถึงข้อแตกต่างในการบันทึกบัญชีที่ดินดังกล่าว ​การรถไฟฯ จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้

ที่ดินบ้านโพธิ์มูล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การรถไฟฯ ได้ดำเนินการนำลงบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 รายงานรายละเอียดและมูลค่าสินทรัพย์ถาวร ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ดังนี้

ลำดับที่ 252 ที่ดินในย่านการรถไฟฯ บ้านโพธิ์มูล จ.อุบลราชธานี 202.500 ไร่ (326,000 ตร.ม.) ขึ้นบัญชี 1 กรกฎาคม 2494

ลำดับที่ 630 ที่ดินนอกย่านการรถไฟฯ บุ่งหวาย-โพธิ์มูล 22.25 ไร่ (35,6000 ตร.ม.) ขึ้นบัญชี 1 กรกฎาคม 2494

หลังจากนั้นได้มีประชาชนออกโฉนด ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นการออกเอกสารสิทธิทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ ภายหลังจากที่การรถไฟฯ ได้ลงรายงานรายละเอียดและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของการรถไฟฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2494 แล้ว ซึ่งปัจจุบัน ศาลจังหวัดอุบลราชธานีได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ให้เพิกถอนโฉนด และให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินของการรถไฟฯ แล้ว ​สำหรับที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิที่ศาลปกครองกลาง จึงยังไม่สามารถลงบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ได้

ดังนั้นที่ดินบ้านโพธิ์มูล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ที่ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ นำมากล่าวอ้างนั้น ศาลจังหวัดอุบลราชธานีได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนโฉนด และให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินของการรถไฟฯ แล้ว จึงไม่ได้มีลักษณะ หรือกรณีเช่นเดียวกับที่ดินบริเวณเขากระโดง ที่อยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิที่ศาลปกครองกลาง ทั้งนี้ เมื่อกระบวนการพิสูจน์สิทธิเสร็จสิ้น จึงจะสามารถดำเนินการจัดทำบันทึกรายการทรัพย์สิน ตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 16 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42807
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2023 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท. แจง "พ.ต.อ.ทวี" ไม่บันทึกบัญชีที่เขากระโดงให้ครบ เหตุอยู่การพิสูจน์สิทธิ ยันไม่เลือกปฏิบัติ
สยามรัฐออนไลน์ 20 กุมภาพันธ์ 2566 17:17 น. เศรษฐกิจ



"การรถไฟ" โต้ ทวี สอดส่อง ปมข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง

ฐานเศรษฐกิจ
20 กุมภาพันธ์ 2566
รฟท. เปิดสาเหตุไม่ลงบันทึกบัญชี “ที่ดินเขากระโดง” ชี้ต้องรอศาลตัดสินก่อน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์..
20 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17:05 น.

รฟท. แจงสาเหตุไม่ลงบันทึกบัญชี “ที่ดินเขากระโดง” ยันที่ดินบ้านโพธิ์ คดีจบแล้วไม่เหมือนที่ดินเขากระโดง ยังอยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิที่ศาลปกครองกลาง ชี้จะลงบันทึกบัญชีได้ต้องรอศาลตัดสินเสร็จสิ้น

"การรถไฟ" โต้ ทวี สอดส่อง ส.ส.ประชาชาติ หลังเมินลงบันทึกบัญชีที่ดินเขากระโดง ยันคืบหน้าที่ดินบ้านโพธิ์ ศาลอุบลราชธานีมีคำพิพากษาเพิกถอนโฉนด เหตุชาวบ้านออกเอกสารสิทธิทับซ้อนที่ดินการรถไฟ


วันที่20กุมภาพันธ์ 2566 รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงกรณีพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ อภิปรายพาดพิง การรถไฟฯ ลงบันทึกบัญชีที่ดินบ้านโพธิ์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ครบถ้วน แต่ไม่ลงบันทึกบัญชีที่ดินเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า

สำหรับที่ดินบ้านโพธิ์มูล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ที่นำมากล่าวอ้าง นั้น ขณะนี้ศาลจังหวัดอุบลราชธานีได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนโฉนด และให้รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินของการรถไฟฯ เรียบร้อยแล้ว

"ที่ดินดังกล่าวไม่ได้มีลักษณะในกรณีเช่นเดียวกับที่ดินบริเวณเขากระโดง ที่อยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิที่ศาลปกครองกลาง หากกระบวนการพิสูจน์สิทธิเสร็จสิ้น จึงจะสามารถดำเนินการจัดทำบันทึกรายการทรัพย์สิน ตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 16 ต่อไป"

ที่ผ่านมาได้มีประชาชนออกโฉนด ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี 2577 ซึ่งเป็นการออกเอกสารสิทธิทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ ภายหลังจากที่การรถไฟฯ ได้ลงรายงานรายละเอียดและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของการรถไฟฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2494 แล้ว

"การรถไฟ" โต้ ทวี สอดส่อง ปมข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง

ทั้งนี้การรถไฟฯ ได้ดำเนินการนำลงบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ซึ่งมีรายละเอียดและมูลค่าสินทรัพย์ถาวร ที่ดินบ้านโพธิ์มูล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ดังนี้


ลำดับที่ 252 ที่ดินในย่านการรถไฟฯ บ้านโพธิ์มูล จ.อุบลราชธานี 202.500 ไร่ (326,000ตร.ม.) ขึ้นบัญชี 1 กรกฎาคม 2494

"การรถไฟ" โต้ ทวี สอดส่อง ปมข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง

ลำดับที่ 630 ที่ดินนอกย่านการรถไฟฯ บุ่งหวาย-โพธิ์มูล 22.25 ไร่ (35,600 ตร.ม.) ขึ้นบัญชี 1 กรกฎาคม 2494

นอกจากนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิที่ศาลปกครองกลาง จึงยังไม่สามารถลงบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44993
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/02/2023 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

Arrow https://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=185&postdays=0&postorder=asc&start=50

Mongwin wrote:
Nakhonlampang wrote:
ตอนที่ได้ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์นั้น ผมก็เคยลองมองหาร่องรอยจากภาพถ่ายดาวเทียมอยู่เหมือนกันครับ แต่มองไม่ออก

เมื่อสักครู่นี้ลองค้นใน google รู้สึกว่าแถวเขาคูบาจะมีหมู่บ้านชื่อ บ้านหมวดศิลา ด้วยนะครับ อ.เอก

จริงด้วยสิครับพี่หนุ่ม จากเว็บไซต์โรงเรียนเทศบาล 9 วัดเขาคูบา
http://www.t9kaokuba.com/?name=page&file=page&op=prawat

Quote:
ประวัติโรงเรียนเทศบาล ๙ (วัดเขาคูบา)

ที่ตั้ง หมู่บ้านหมวดศิลา ในบริเวณเขาคูบา
ถนนสุดบรรทัด ซอย ๑๕ ตำบลปากเพรียว
อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ๑๘๐๐๐

ก่อตั้งครั้งแรก
วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ในสมัยของ นายณรงค์ วัชรโยธิน เป็นนายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖มีจำนวนนักเรียน ๒๖๔ คน ชาย ๑๒๙ คน หญิง ๑๓๕ คน มีครูจำนวน ๗ คน โดยมี นายสน มิทิน ปฏิบัติหน้าที่ ครูใหญ่

พื้นที่
โรงเรียนมีพื้นที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๖ ตารางวา โดยที่ราชพัสดุให้การปลูกสร้างอาคารเรียนแบบกรมสามัญ ๒๑๖ ต. ครึ่งหลัง ๘ ห้องเรียน


เขาคูบาอาจจะถูกขุดเอาหินไปจนหมดแล้ว กลายเป็นที่ราบและแอ่งน้ำ
เลยมีการสร้างโรงเรียนขึ้นแทนในปี พ.ศ.2525 ก็ได้ครับ Idea

จังหวัดสระบุรีประชุมคณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินของรัฐกรณีการขอออกโฉนดเขตป่าสงวนแห่งชาติและกรณีที่ดินเขาคูบา
21 ก.พ. 2566

วันนี้ (21 ก.พ.66) ที่ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ศาลากลางจังหวัดสระบุรี นางอังคณา ชิตะติตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินของรัฐจังหวัดสระบุรี (ครพ.จ.สระบุรี) โดยมีเรื่องที่ต้องพิจารณาให้ความเห็นตามที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสระบุรี ได้นำเสนอ กรณนายทิม ธรรมรังสี ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินโดยใช้หลักฐาน สค.1 พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เนื้อที่ 44-1-19 ไร่ ซึ่งผลการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรากฏว่าตำแหน่งที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าพระพุทธบาท-ป่าพุแค” แต่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินได้ทำการตรวจพิสูจน์แล้วปรากฏว่ามีการครอบครองทำประโยชน์มาก่อนวันที่ทางราชการกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จึงนำเข้าที่ประชุมพิจารณา และจากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ภาพถ่ายทางอากาศก่อนประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวน และร่องรอยการทำประโยชน์ คณะอนุกรรมการฯมีความเห็น เชื่อได้ว่าผู้ขอครอบครองมาก่อนในส่วนที่ปรากฏหลักฐานร่องรอยการทำประโยชน์ ให้สำนักงานที่ดินจังหวัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ส่วนกรณีพื้นที่ชุมชนเขาคูบา ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี ซึ่งเป็นที่ นสล.เลขที่ 466/2502 เนื้อที่ 99 ไร่เศษ จังหวัดฯได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ว่าคณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยของประชาชนบริเวณชุมชนเขาคูบา เนื่องจากได้เข้าอยู่อาศัยทำประโยชน์ในที่ดินก่อนการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลปากเพรียว พ.ศ.2482 ประชาชนได้โต้แย้งสิทธิกับการรถไฟในฐานะหน่วยงานดูแลรักษาที่ดินของรัฐดังกล่าว และจากการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ.2495 ที่ประชุมมีมติให้การรถไฟแห่งประเทศ หาหลักฐานการครอบครองประโยชน์และดำเนินการช่วยเหลือประชาชนโดยจัดให้เช่าตามระเบียบของการรถไฟแห่งประเทศไทย และหากพบว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบก็จะต้องอยู่ในการดูแลของกรมธนารักษ์ ซึ่งก็ต้องดำเนินการจัดให้ประชาชนเช่าในราคาถูก ต่อไป

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ธีระชัย มังกรทอง
ผู้เรียบเรียง : วรรณวิไล สนิทผล
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสระบุรี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44993
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2023 7:22 am    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม ตอบอภิปราย 6 ประเด็นโปรเจ็กต์คมนาคม
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, February 22, 2023 05:34

เก็บตกการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำเสนอผลงานเกือบ 4 ปี และชี้แจง 6 ประเด็นที่ ส.ส. อภิปรายพาดพิงการดำเนินการของกระทรวงคมนาคม ดังนี้

1.ประเด็นการต่อขยายสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด

โดย "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" ให้ข้อมูลว่า การอภิปรายพาดพิงหากแพ้คดีกับเอกชนผู้รับสัมปทาน จะมีมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท เป็นมูลค่าสูงเกินจริงที่จะมีมูลหนี้ 1.37 แสนล้านบาท ทาง กทพ.เจรจาต่อรองเหลือ 7.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณขยายเวลาสัญญา

นอกจากนี้ มีการเพิ่มเงื่อนไขให้ประชาชนขึ้นทางด่วนฟรีในวันหยุด นักขัตฤกษ์ ทำให้ผู้ใช้ทางด่วนได้รับประโยชน์ 19 วันต่อปี หรือ 300 วันตลอดอายุสัมปทาน คิดเป็นมูลค่า 10,867.50 ล้านบาท

2.ประเด็นการไม่บันทึกบัญชีที่ดินเขากระโดง ในงบการเงินของการรถไฟฯ

ข้อมูลจาก "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" การบันทึกบัญชีที่ดินในงบการเงินจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ระบุเป็นที่ดินที่ไม่มีปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ ดังนั้น ที่ดินบริเวณเขากระโดงจึงได้บันทึกเฉพาะที่ดิน 69.19 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดิน เส้นทางเดินรถแยกจากสถานีรถไฟบุรีรัมย์เข้าไปที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณ เขากระโดง ไม่มีปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ มีข้อมูลครบถ้วน ชัดเจน

สำหรับพื้นที่ที่เหลือ 5,083 ไร่ ที่ยัง ไม่ได้บันทึกทะเบียนสินทรัพย์นั้น เป็นที่ดิน ที่ยังมีปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิ ไม่สามารถ ลงบันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ ซึ่ง การรถไฟฯได้ฟ้องเพื่อพิสูจน์สิทธิต่อศาลปกครองกลางไปแล้ว

3.ประเด็นผู้โดยสารแออัดที่สนามบินสุวรรณภูมิ

เรื่องนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจปัญหาและอำนวยการเพิ่มเติม อาทิ เปิดให้บริการจุดเช็กอินอัตโนมัติ (Common Use Self Check-In : CUSC) จุดโหลดกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (Common Use Bag Drop : CUBD) บริเวณโถงผู้โดยสารขาออก ชั้น 4 แก้ปัญหาแออัดคับคั่งหน้าเคาน์เตอร์เช็กอิน

4.ประเด็นการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นไปตามขั้นตอนของพระราช บัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 ที่คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้อนุมัติให้ดำเนินโครงการร่วมทุน ทางหน่วยงานเจ้าของโครงการ และคณะกรรมการคัดเลือกทำการคัดเลือกเอกชนตามหลักกฎหมาย กฎระเบียบ และ หลักธรรมาภิบาล จนได้ผลการคัดเลือกเอกชน ส่งร่างเอกสารให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ

หลังจากนั้น หน่วยงานเจ้าของโครงการส่งร่างสัญญาและเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนต่อรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

5.ประเด็นความล่าช้ามอเตอร์เวย์ "บางปะอิน-นครราชสีมา"

เรื่องนี้ ได้สั่งการให้ "ทล.- กรมทางหลวง" เร่งรัดการก่อสร้างอย่างเต็มที่ คาดว่าปลายปี 2566 สามารถเปิดทดลองวิ่งช่วงปากช่อง-ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 80 กิโลเมตร ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เอกชนคู่สัญญา เพื่อเร่งรัดงานติดตั้งต่าง ๆ เช่น ระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง M-FLOW, ระบบบริหารควบคุมการจราจร โดยเริ่มทดสอบระบบ, ทยอยเปิดทดลองให้บริการได้ในปี 2567 ตามแผนจะเปิดใช้งานเต็มรูปแบบในปี 2568

6.สัญญาตรวจบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง ด้วยตัวเอง (CUPPS) ของ ทอท.

ข้อมูล "ทอท." ได้ดำเนินการเปรียบเทียบการลงทุนเองกับการว่าจ้างเอกชน พบว่า การให้เอกชนลงทุนจะประหยัดงบประมาณ 2,048 ล้านบาท ส่วนการประกันปริมาณผู้โดยสาร 90% นั้น เกิดขึ้น ในยุคก่อนโควิด ซึ่งจะรับไปแจ้งให้ ทอท. เจรจากับเอกชน โดยให้เอกชนรับค่าจ้าง เท่าปริมาณผู้โดยสารที่เกิดขึ้นจริง กรณีที่จะมีการเยียวยาต้องดำเนินการตามหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีด้วย

บรรยายใต้ภาพ
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 - 26 ก.พ. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44993
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/02/2023 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

'เอสอาร์ที แอสเสท' ลุย 6 เดือน เคาะแผนพัฒนาที่ดินรถไฟ 300 ไร่
กรุงเทพธุรกิจ 23 ก.พ. 2566 เวลา 16:26 น.

“เอสอาร์ที แอสเสท” ตั้งเป้า 6 เดือนเคาะแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟรวม 300 ไร่ ประเดิมปั้นสถานีธนบุรี 14 ไร่ เปิดประมูลปีนี้ดึงเอกชนบริหาร 30 ปี ผุดฮับการแพทย์ ที่พักอาศัยและคอมมูนิตี้มอลล์

นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัท รักษาการในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด หรือ SRTA เปิดเผยถึงแผนพัฒนาที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อจัดทำแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่ตามแนวทาง Transit - Oriented Development หรือ TOD โดยระบุว่า ปัจจุบัน SRTA อยู่ระหว่างศึกษาแผนพัฒนาพื้นที่แปลงใหญ่ของ ร.ฟ.ท.ซึ่งมีความคืบหน้าแล้ว 5 แปลง คาดว่าจะทยอยเปิดประมูลภายในปีนี้

โดยพื้นที่แปลงใหญ่ดังกล่าว ประกอบด้วย 1.ที่ดินสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ในส่วนของแปลง A 2. ที่ดินสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ในส่วนของแปลง E 3.ที่ดินสถานีมักกะสัน 4.ที่ดิน RCA และ 5.ที่ดินสถานีธนบุรี ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าภายใน 6 เดือนนับจากนี้ จะสามารถศึกษาแผนแม่บทพัฒนาที่ดินสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และที่ดินสถานีธนบุรีแล้วเสร็จ เพื่อเริ่มต้นขั้นตอนเปิดประกวดราคาจัดหาเอกชนรับสิทธิบริหารที่ดินดังกล่าว

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า ภายใน 6 เดือนนี้จะเห็นความชัดเจนของการพัฒนาที่ดิน TOD รวมกว่า 300 ไร่ บนที่ดิน 3 แปลง แบ่งเป็น บริเวณสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แปลง A พื้นที่ 32 ไร่ มูลค่าลงทุน 11,721 ล้านบาท โดยที่ดินแปลงนี้อยู่ติดกับสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ทางทิศใต้ มีระยะห่างประมาณ 140 เมตร ทิศเหนือติดถนนสายหลักของอาคารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

ส่วนบริเวณสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แปลง E มีพื้นที่ประมาณ 128 ไร่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 4,500 ล้านบาท โดยจะพัฒนาในรูปแบบมิกซ์ยูส เป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร มีทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม และพื้นที่การค้าปลีก เป็นต้น

ขณะที่สถานีธนบุรี ล่าสุด SRTA ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล (คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล) เพื่อร่วมจัดทำแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟธนบุรีและสถานีรถไฟฟ้าศิริราช ให้เป็นเมืองแห่งการแพทย์ (Medical District) ที่สำคัญของภูมิภาค คาดว่าหลังจากลงนามความร่วมมือกับคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลแล้ว จะเริ่มต้นดำเนินการศึกษาโครงการ TOD สถานีรถไฟธนบุรีและสถานีรถไฟฟ้าศิริราช พื้นที่ประมาณ 147.92 ไร่ และนำร่องพัฒนาในส่วนของที่ดินระยะแรก 14 ไร่

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อดำเนินโครงการ ศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีธนบุรี ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล (คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล) และ SRTA โดยระบุว่า ปัจจุบันกระทรวงฯ ได้มอบหมายให้ SRTA ศึกษาพัฒนาที่ดินของ ร.ฟ.ท.ในทุกพื้นที่ เพื่อให้เกิดเป็นรายได้ลดภาระเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและใช้ภาษีประชาชน

อย่างไรก็ดี ภายใต้ความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งนี้ SRTA และคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลจะร่วมกันศึกษาพัฒนาโครงการนี้ ภายใต้งบประมาณราว 10 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า 6 เดือนแล้วเสร็จก็จะเริ่มขั้นตอนเปิดประกวดราคาจัดหาเอกชนได้ภายในปีนี้ ซึ่งจะประมูลในรูปแบบเอกชนรายใดเสนอให้ผลตอบแทนสูงสุดจะได้รับสัมปทานบริหารพื้นที่ระยะ 30 ปี

โดยตามแผนดำเนินการของ SRTA ในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีธนบุรีนั้น จะนำร่องพัฒนาระยะแรกในส่วนของพื้นที่พักพนักงานการรถไฟราว 14 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้ปัจจุบันเป็นที่ดินของ ร.ฟ.ท.และไม่ได้มีสัญญาเช่ากับเอกชน ดังนั้นหากผลการศึกษาแล้วเสร็จก็สามารถพัฒนาโครงการได้เลย เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีแล้วเสร็จ จะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานการรถไฟ และประชาชนโดยรอบ เพราะนอกจากจะพัฒนาที่พักพนักงานแล้ว จะมีการพัฒนาโครงการคอมมูนิตี้มอลล์แบบผสมผสาน (มิกซ์ยูส)

สำหรับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีธนบุรี ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.เคยทำการศึกษาแผนแม่บทไว้แล้ว โดยประเมินว่าพื้นที่พัฒนา 14 ไร่ จะมีมูลค่าที่ดิน 1,770 ล้านบาท ให้เอกชนเช่า 30 ปี ร.ฟ.ท.จะได้ผลตอบแทนรวม 3,584 ล้านบาท ซึ่งสิ่งแรกที่เอกชนต้องดำเนินการหลังจากลงนามสัญญา คือ เคลียร์พื้นที่บ้านพนักงานการรถไฟที่อยู่ในปัจจุบัน 305 ครัวเรือน โดยในสัญญากำหนดให้ก่อสร้างบ้านพักสำหรับพนักงาน 315 ห้องทดแทนบ้านพักเดิม

อีกทั้งผลการศึกษายังมีเป้าหมายพัฒนาสถานีธนบุรีให้เป็นศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมต่อที่สำคัญของกรุงเทพฯ เพราะในอนาคตจะสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้า 2 สถานี 3 เส้นทาง โดยอยู่ห่างโครงการประมาณ 800 เมตร ได้แก่ สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช, สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42807
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2023 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'เอสอาร์ที แอสเสท' ลุย 6 เดือน เคาะแผนพัฒนาที่ดินรถไฟ 300 ไร่
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16:26 น.


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานและสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อดำเนินโครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี
ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16:22 น.
https://www.facebook.com/sod.mot/posts/577854904384875
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44993
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2023 7:24 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานและสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อดำเนินโครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี
ประชาสัมพันธ์กระทรวงคมนาคม
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16:22 น.
https://www.facebook.com/sod.mot/posts/577854904384875

ย้าย300หลังขึ้นตึกพัฒนาที่รถไฟ
Source - เดลินิวส์
Friday, February 24, 2023 05:06

รอบสถานีธนบุรี148ไร่3,584ล้าน ปั้น'ศูนย์แพทย์-มิกซ์ยูส-กรีนซิตี้'

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีธนบุรี ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด(SRTA) ว่า ความร่วมมือถือเป็นการเริ่มนับหนึ่งในการบริหารเรื่องการพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ และจะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาที่ดินอื่นๆ ของ รฟท. และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ต่อไป โดยศึกษาพื้นที่รอบสถานีธนบุรีทั้งหมดประมาณ 148 ไร่ ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน ใช้งบประมาณศึกษา 10 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การศึกษามีคณะทำงาน กำกับดูแลการปฏิบัติงานการจัดทำแผนแม่บทโครงการฯ จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เพื่อให้การจัดทำแผนแม่บทสำเร็จลุล่วงเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างสูงสุด โดยมีแนวทางการพัฒนา เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ และเมืองสีเขียว 4 ด้าน ได้แก่

1. Connectivity Linkage สนับสนุนโครงข่ายถนน และทางเดินที่เชื่อมต่อในพื้นที่รอบโครงการ กับสถานีรถไฟฟ้า และระบบขนส่งสาธารณะ อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้ม และรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย

2. Green Environment สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ด้วยการใช้แนวความคิดพลังงานสะอาด สร้างสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. Medical Complex สนับสนุนแนวคิดการพัฒนาทางการแพทย์อย่างครบวงจร และศูนย์การเรียนรู้เพิ่มเติม สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช และ

4. Intregrated Mixed Use Development สนับสนุนการพัฒนาสำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยเป็นสำคัญ ตอบโจทย์การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางสู่โรงพยาบาลศิริราชอย่างรวดเร็ว ประชาชนมีทางเลือกหลากหลายในการเดินทาง และทำให้พื้นที่โดยรอบสถานีเอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตในทุกด้าน

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า เบื้องต้นการพัฒนาพื้นที่สถานีธนบุรี คาดว่าต้องแบ่งเป็นระยะ (เฟส) โดยเฟสแรก จะพัฒนาพื้นที่ประมาณ 14 ไร่ก่อน จะเปิดประกวดราคา (ประมูล) ได้ ปลายปี 66 และควรประมูล เป็นสัญญาเดียว ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี แล้วเสร็จและเปิดบริการปี 69 ให้เอกชนเช่า 30 ปี ได้ เน้นย้ำว่าโครงการต้องยึดหลักธรรมาภิบาล และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่บริเวณสถานีธนบุรีได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ด้าน น.ส.ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ทีเอฯ กล่าวว่า พื้นที่ 14 ไร่เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยของพนักงาน รฟท. ประมาณ 300 ครัวเรือน อยู่ระหว่างพิจารณาหาพื้นที่เพื่อให้พนักงาน รฟท. ย้ายไปอยู่ชั่วคราวระหว่างก่อสร้าง พื้นที่นี้อยู่ริมถนนรถไฟ ตรงข้ามตลาดศาลาน้ำร้อน ติดหอพักนักศึกษาแพทย์ จะพัฒนาเป็นโครงการที่รวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับการอยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ทั้งอาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ หรือมิกซ์ยูส ภายใต้สัญญาจะกำหนดให้เอกชนต้องสร้างคอนโดที่พักให้กับพนักงาน รฟท. เพื่อทดแทนบ้านพักเดิมบนพื้นที่ 2 ไร่ด้วย

น.ส.ไตรทิพย์ กล่าวต่อว่า รฟท. ยังอยู่ระหว่างศึกษาพัฒนาพื้นที่ที่ดินแปลง A และ E บริเวณสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนี้พร้อมกับพื้นที่สถานีธนบุรี นอกจากนี้ยังศึกษาพื้นที่บริเวณ RCA และพื้นที่มักกะสัน คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 66

รายงานข่าวแจ้งว่าพื้นที่ 14 ไร่ มีมูลค่าที่ดินประมาณ 1,770 ล้านบาท ให้เอกชนเช่า 30 ปี รฟท. จะได้ผลตอบแทนรวม 3,584 ล้านบาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 ก.พ. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42807
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2023 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'เอสอาร์ที แอสเสท' ลุย 6 เดือน เคาะแผนพัฒนาที่ดินรถไฟ 300 ไร่
กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 16:26 น.


นี่ก็ด้วยครับ
“เอสอาร์ที แอสเสท” ปลุกพื้นที่ TOD ลุยศึกษาสถานีรถไฟธนบุรี 14 ไร่ 1.7 พันล้าน

ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

“เอสอาร์ที แอสเสท” จับมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช MOU ศึกษาสถานีรถไฟธนบุรี เฟสแรก 14 ไร่ 1.7 พันล้านบาท อัพเกรด TOD ขึ้นแท่นศูนย์กลางการแพทย์-เมืองสีเขียว คาดใช้เวลาศึกษา 6 เดือน ลุยเปิดประมูลดึงเอกชนเช่าพื้นที่ภายในปลายปีนี้ เร่งตอกเสาเข็มปี 67
https://www.thansettakij.com/business/economy/557072

“SRTA-ศิริราช” ลุยศึกษาแผนแม่บทพัฒนาที่ดินสถานีธนบุรีกว่า 147 ไร่ “ศักดิ์สยาม” ลั่นทำเลทองปักธงปีนี้ประมูลนำร่อง 14 ไร่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 17:24 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 17:24 น.

Click on the image for full size

SRTA จับมือ ศิริราช ศึกษาแผนแม่บทพัฒนาที่ดินรถไฟสถานีธนบุรีและศิริราชกว่า 147 ไร่ “ศักดิ์สยาม” ปักธงปีนี้นำร่องประมูลแปลง 14 ไร่ ยกบ้านพักรถไฟขึ้นตึก ผุด TOD พร้อมศูนย์สาธารณสุข และเร่งศึกษาแปลงใหญ่ บางซื่อ, มักกะสัน, RCA หารายได้หนุนกิจการรถไฟ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อดำเนินโครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ว่า ความร่วมมือนี้ถือเป็นการเริ่มนับหนึ่งในการบริหารพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตามแนวเส้นทางโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ในด้านการคมนาคมและสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทาง Transit - Oriented Development หรือ TOD โดยศิริราชพยาบาลจะเข้าร่วมทำการศึกษาแผนแม่บท การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟธนบุรีและสถานีรถไฟฟ้าศิริราช ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และประโยชน์แก่สาธารณชน ภายใต้แนวคิด Medical District & Green Society ซึ่งจะตอบโจทย์การคมนาคมและบริการด้านสาธารณสุขของประชาชน



โครงการพัฒนาสถานีรถไฟธนบุรีมีพื้นที่รวมทั้งหมด 147.92 ไร่ (236,672 ตร.ม.) บริษัท SRTA จะใช้เวลาศึกษาแผนแม่บท 6 เดือน ค่าศึกษาวงเงินประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เห็นรูปแบบและการแบ่งพื้นที่และระยะเวลาในการพัฒนาแต่ละเฟส ซึ่งเบื้องต้นได้กำหนดโครงการนำร่องเฟสแรกประมาณ 14 ไร่เศษ ที่จะเปิดประมูลภายในปี 2566 เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟในปัจจุบัน โดยจะมีการสร้างที่อยู่อาศัยทดแทนให้พนักงานรูปแบบอาคารในแนวดิ่ง และจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาที่ทำให้เห็นการเคลื่อนย้ายผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณที่จะพัฒนาโดยไม่มีผลกระทบและเมื่อพัฒนาเสร็จจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอีกด้วย

สำหรับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรีตามหลัก TOD นั้นอยู่ภายใต้กรรมสิทธิ์ของ รฟท. โดยพื้นที่ดังกล่าวนอกจากเป็นสถานีรถไฟธนุบรีแล้ว มีการใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวกับโรงพยาบาล ที่จอดรถ ตลาด และที่พักอาศัย และเนื่องจากอยู่ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน ตรงข้ามกับเกาะรัตนโกสินทร์ ติดกับโรงพยาบาลศิริราช จึงมีศักยภาพในการพัฒนาสูง สามารถพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร ศูนย์กลางการคมนาคม ที่สำคัญ ทางฝั่งธนบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และเป็นศูนย์กลางการแพทย์ที่สำคัญของประเทศ SRTA จึงจัดทำโครงการศึกษาการจัดทําแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี โดยมีแนวคิดการพัฒนาเพื่อยกระดับพื้นที่ให้เป็นเมืองแห่งการแพทย์ (Medical District) ที่สำคัญของภูมิภาค พร้อมกับสร้างสิ่งแวดล้อมโดยรอบให้เป็นเมืองสีเขียว (Green Society) ด้วย

“พื้นที่สถานีรถไฟธนบุรีมีศักยภาพ เนื่องจากจะมีรถไฟฟ้าสายสีส้มให้บริการในปี 2569 และรถไฟสายสีแดงที่อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ และติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีท่าเรือ และยังมีถนนเชื่อมต่อสะดวกคาดว่าจะสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ให้รถไฟได้อย่างมาก โดยได้มอบหมายให้รถไฟ โดย SRTA เร่งพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และบริหารที่ดินทั่วประเทศที่มีจำนวนมาก สร้างรายได้ นำไปใช้บริหารในกิจการบริการขนส่งสาธารณะ เพื่อลดภาระของรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณอุดหนุน แต่คงต้องใช้เวลา เพราะหลายประเทศที่มีการพัฒนารูปแบบ TOD เช่น โยโกฮามา โอซากา ใช้เวลาพัฒนา 40-50 ปี โดยแบ่งเป็นเฟส ซึ่งตอนนี้เรามีแนวคิดและรูปแบบและต้องเริ่มต้น นำร่อง และทำให้ประชาชนเข้าใจและรับรู้การพัฒนาและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น” นายศักดิ์สยามกล่าว



นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการบริษัทและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท SRTA กล่าวว่า สถานีรถไฟธนบุรีมีพื้นที่รวมทั้งหมด 147.92 ไร่ ใช้เวลาศึกษาแผนแม่บท 6 เดือน โดยโครงการนำร่องเฟสแรกที่จะนำออกประมูลพัฒนามีพื้นที่ประมาณ 14 ไร่เศษ ซึ่งเป็นพื้นที่ในโซน 21 ไร่เดิมแต่มีการเวนคืนเพื่อสร้างถนนของ กทม.ประมาณ 3 ไร่เศษ และจะเป็นบ้านพักพนักงานรถไฟ ประมาณ 300 ครัวเรือน พัฒนาในแนวดิ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ดังนั้นจะเหลือพื้นที่ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ประมาณ 14 ไร่เศษ ส่วนจะเป็นรูปแบบใดจะต้องรอสรุปผลการศึกษาก่อน โดยจะเปิดประมูลได้ในปีงบประมาณ 2566

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพื้นที่ทั้ง 147.92 ไร่ จะมีการจัดโซน และแบ่งเฟส คาดว่าจะใช้เวลาพัฒนามากกว่า 30 ปี โดยจะทยอยพัฒนาแต่ละแปลงตามผลศึกษา เช่น พื้นที่ตลาดศาลาน้ำร้อน ซึ่ง รฟท.มีการต่อ สัญญาเช่าไปถึงปี 2575 การพัฒนาจะต้องให้สอดคล้องกับสัญญาเช่าในแต่ละแปลงด้วย

นอกจากสถานีรถไฟธนบุรีแล้ว ขณะนี้ SRTA อยู่ระหว่างศึกษาการพัฒนาที่ดินของ รฟท.ที่มีศักยภาพ ได้แก่ พื้นที่รอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ แปลง A และแปลง E) ซึ่งจะใช้เวลาศึกษา 6 เดือน คาดว่าจะได้รูปแบบและนำออกเปิดประมูลได้ในปีนี้ และยังมีการศึกษาพื้นที่บริเวณโครงการรอยัลซิตี้อเวนิว (RCA) ถนนพระราม 9 ที่ดินมักกะสันบางส่วน โดยจะสรุปการศึกษาภายในปี 2566


สำหรับขอบเขตการดำเนินงานภายใต้การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการศึกษาการจัดทําแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรีกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในครั้งนี้จะมีคณะทำงานและกำกับดูแลการปฏิบัติงานการจัดทำแผนแม่บทโครงการสถานีรถไฟธนบุรีจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เพื่อให้การจัดทำแผนแม่บทสำเร็จลุล่วงเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างสูงสุด โดย มีแนวทางการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ศูนย์กลางการแพทย์และเมืองสีเขียว 4 ด้าน ได้แก่

1. Connectivity Linkage เป็นการสนับสนุนโครงข่ายถนนและทางเดินที่มีการเชื่อมต่อในพื้นที่รอบโครงการกับสถานีรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะ

2. Green Environment สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ด้วยการใช้แนวความคิดพลังงานสะอาด สร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3. Medical Complex สนับสนุนแนวคิดการพัฒนาทางการแพทย์อย่างครบวงจรและศูนย์การเรียนรู้เพิ่มเติม สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช

4. Intregrated Mixed Use Development สนับสนุนการพัฒนาสำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัย โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยเป็นสำคัญ


Last edited by Wisarut on 27/02/2023 1:20 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44993
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/02/2023 11:28 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
นี่ก็ด้วยครับ
“เอสอาร์ที แอสเสท” ปลุกพื้นที่ TOD ลุยศึกษาสถานีรถไฟธนบุรี 14 ไร่ 1.7 พันล้าน

ฐานเศรษฐกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2566

“เอสอาร์ที แอสเสท” จับมือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช MOU ศึกษาสถานีรถไฟธนบุรี เฟสแรก 14 ไร่ 1.7 พันล้านบาท อัพเกรด TOD ขึ้นแท่นศูนย์กลางการแพทย์-เมืองสีเขียว คาดใช้เวลาศึกษา 6 เดือน ลุยเปิดประมูลดึงเอกชนเช่าพื้นที่ภายในปลายปีนี้ เร่งตอกเสาเข็มปี 67
https://www.thansettakij.com/business/economy/557072

ลงนามความร่วมมือศึกษาแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี ข่าวเที่ยง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 #NBT2HD
News NBT2HD
Feb 24, 2023

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด หรือ SRTA ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ดำเนินโครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีธนบุรี มุ่งเป้าสู่เมืองแห่งการแพทย์ที่สำคัญ และเมืองสีเขียว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่


https://www.youtube.com/watch?v=aw3qbXSxTBg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44993
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2023 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

การศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีธนบุรี ระหว่าง SRTA กับคณะแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
Daoreuk Channel
Feb 27, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=MYf2LwTPaTY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 190, 191, 192 ... 198, 199, 200  Next
Page 191 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©