Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311331
ทั่วไป:13292258
ทั้งหมด:13603589
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 195, 196, 197, 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2023 6:32 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวคลังค้ำประกันหนี้ รฟท.กู้เพิ่ม 1.8 หมื่นล้าน เสริมสภาพคล่องปี67
กรุงเทพธุรกิจ 03 ต.ค. 2566 เวลา 18:07 น.

ครม.ไฟเขียว รฟท.กู้เงินเสริมสภาพคล่อง 1.8 หมื่นล้านบาท หลังแผนรายได้ยังไม่เข้าเป้า เร่งแผนสร้างรายได้จาก ทรัพย์สินและที่ดิน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.เป็นประธาน วันนี้ (3 ต.ค.) เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานเพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่ายวงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้การขอกู้เงินของ รฟท.ครั้งนี้กระทรวงคมนาคม ระบุว่าเป็นการขอกู้เงินตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4) โดยให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้ค้ำประกัน

รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม โดย รฟท. จะดำเนินการ กู้เงินได้ภายหลังจากวงเงินกู้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว สำหรับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงิน ให้ รฟท. พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้โฆษกรัฐบาลเปิดเผยด้วยว่าการขอกู้ยืมเงินของ รฟท.ในครั้งนี้เพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินงาน แล รฟท.ได้รายงานถึงแผนการสร้างรายได้ในอนาคตซึ่ง ครม.ได้มีการเร่งรัดให้ รฟท.ทำเรื่องการเร่งพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์โดยเฉพาะที่ดินของ รฟท.ที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/10/2023 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

ย้อนรอยที่ดินเขากระโดง ปมร้อน "อธิบดีกรมที่ดิน" ขอไขก๊อก
ฐานเศรษฐกิจ 05 ตุลาคม 2566

รายงานพิเศษ: ย้อนรอยประเด็นร้อน ที่ดินรถไฟเขากระโดง ปมเดือด "ชยาวุธ จันทร" อธิบดีกรมที่ดิน ถอดใจขอไขก๊อกลาออกจากตำแหน่งก่อนถึงวันเกษียณราชการเพียง 1 ปี

ตกเป็นประเด็นร้อนเมื่อ นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน ตัดสินใจยื่นใบลาออกก่อนถึงวันเกษียณอายุราชการเพียง 1 ปี การตัดสินใจในครั้งนี้ถูกตั้งข้อสังเกตเชื่อมโยงกับข้อพิพาทในคดีที่ดินเขากระโดงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้ฟ้องคดี) กับ กรมที่ดิน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ในขณะที่นายชยาวุธ นั้น เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2

โดยศาลพิพากษาให้ กรมที่ดิน โดย อธิบดีกรมที่ดิน แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนที่ดินบริเวณพื้นที่ทางแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ รวมกว่า 5,000 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้มีรายงานระบุว่า มีนักการเมืองชื่อดังเกี่ยวข้องด้วย อาจเป็นแรงกดทับที่ทำให้ นายชยาวุธ ตัดสินใจปิดฉากชีวิตราชการก่อนกำหนด

สำหรับที่ดินเขากระโดงของ รฟท.ที่เกิดข้อพิพาทในครั้งนี้ แบ่งเป็น กลุ่มที่ดิน 35 แปลง ซึ่งเป็น ส.ค.1 โดย กรมที่ดิน เพิกถอนคืนรฟท.แล้ว ตามคำพิพากษาศาลเมื่อปี 2561 ตั้งอยู่บริเวณปลายกิโลเมตรที่ 8 ทางรถไฟแยก บุรีรัมย์เข้าเขากระโดง โดยเมื่อปี 2563 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาที่ดินแปลงเล็กเป็นน.ส.3 ซึ่งชาวบ้านครอบครอง ตั้งอยู่ช่วงกลางแผนที่ หรือติดริมถนนประโคนชัย บุรีรัมย์ ปัจจุบัน กรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนแล้ว

อีกกลุ่มจำนวน 5,083 ไร่ อยู่ระหว่างดำเนินการตามคำสั่งศาลปกครองกลางข้างต้น ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงที่ดิน 12 แปลงของคนในตระกูลชิดชอบ เนื้อที่รวม 179 ไร่ 1 งาน 43.3 ตารางวา

ทั้งนี้ ภายหลังเกิดกระแสข่าวการลาออกของอธิบดีกรมที่ดิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ให้สัมภาษณ์โดยยืนยันการลาออกของ นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดินว่า นายชยาวุธ ให้เหตุผลว่า เพื่อไปดูแลครอบครัว ทั้งยังยืนยันด้วยว่า กรณีข้อพิพากคดีที่ดินเขากระโดงนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการลาออกในครั้งนี้ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ขอให้ "อธิบดีกรมที่ดิน" ทบทวนการลาออกอีกครั้ง

จากการสอบถามของ "ฐานเศรษฐกิจ" แหล่งข่าวใกล้ชิดระบุถึงสาเหตุของการตัดสินใจลาออกของนายชยาวุธ ว่า มีหลายสาเหตุด้วยกันซึ่งการลาออกจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ เมื่อถามย้ำถึงสาเหตุการลาออกในครั้งนี้ว่า เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทคดีที่ดินเขากระโดงหรือไม่ แหล่งข่าวรายนี้ระบุโดยตอบเพียงสั้น ๆ ว่า "มีหลายสาเหตุ"

สำหรับการตั้งข้อสังเกตว่า คดีข้อพิพาทเรื่องที่ดินเขากระโดงระหว่าง รฟท.กับกรมที่ดิน เป็นสาเหตุของการตัดสินใจยื่นใบลาออกของ นายชยาวุธ อธิบดีกรมที่ดินในครั้งนี้นั้น พาย้อนกลับไปทบทวนเรื่องนี้กันอีกครั้งว่า มีที่มาเป็นอย่างไร

ย้อนรอยมหากาพย์ คดีที่ดินเขากระโดง

เริ่มจาก 8 พฤศจิกายน 2462 มีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวง โดยประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ให้ กรมรถไฟหลวง ตรวจและวางแนวทางรถไฟ ตั้งแต่นครราชสีมา (ข้ามลำน้ำมูล ต.ท่าช้างอ.พิมาย) ไปยังจังหวัดบุรีรัมย์จนถึงอุบลราชธานี (อ.วารินชำราบ) ให้เสร็จภายใน 2 ปี

โดยห้ามเจ้าของที่ดินที่ครอบครองที่ในเขตรถไฟก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2462 ยกให้หรือซื้อขาย และเปลี่ยนกับผู้ใดผู้หนึ่ง ห้ามสร้างบ้าน ปลูกต้นไม้ หรือทำไร่ ก่อนได้รับอนุญาต ซึ่ง รฟท. มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ เขากระโดง และบ้านตะโก ทำทางรถไฟเพื่อเข้าแหล่งระเบิดและย่อยหิน ระยะทาง 8 กิโลเมตร โดย 4 กิโลเมตรแรก มีเจ้าของที่ดิน 18 ราย อีก 4 กิโลเมตร จนถึงแหล่งหินไม่มีเจ้าของ

ต่อมาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2513 มีการพบข้อพิพาทระหว่าง นายชัย ชิดชอบ และราษฎร บุกรุกที่ดิน รฟท. ในพื้นที่เขากระโดง ผลการเจรจา นายชัยยอมรับว่า ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. และทำหนังสือขออาศัย รฟท. ยินยอม จากนั้นในวันที่ 26 ตุลาคม 2515 ได้มีการนำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดเลขที่ 3466 และขายให้ "ละออง ชิดชอบ" เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2535 ก่อนจะมีการนำไปขายต่อให้ บ.ศิลาชัย บุรีรัมย์ ซึ่งในเวลาต่อมา พรรคประชาชาติ ตรวจสอบพบการครอบครองที่ดินเขากระโดงเพิ่มอีก 12 แปลงและนำมาตีแผ่ต่อสาธารณะด้วย

13 มีนาคม 2557 ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ พิพากษาในคดีที่ราษฎร 35 คน ฟ้อง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน เพื่อขอออกโฉนด โดยศาลจังหวัดบุรีรัมย์ ยกฟ้อง พิพากษาว่า ที่ดินเป็นของ รฟท. ให้โจทก์ทั้ง 35 ราย รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน และส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้ รฟท. ทั้งให้ชำระค่าเสียหายกับรฟท. เป็นรายเดือนจนกว่าจะรื้อถอนและขนย้ายออกไป

กระทั่งวันที่ 24 กันยายน 2558 ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ พิพากษาในคดีที่ราษฎร ฟ้อง รฟท. และกรมที่ดิน เพื่อขอออกโฉนดโดยอ้างว่า มีหนังสือรับรองขอทำประโยชน์ (น.ส.3ข.) ที่ซื้อมาจาก นายช. ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ ยกฟ้อง โดยพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของ รฟท. ให้โจทก์ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง พร้อมย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน และส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้รฟท. ทั้งให้ชำระค่าเสียหายกับการรถไฟฯเป็นรายเดือนจนกว่าจะรื้อถอนและขนย้ายออกไป

จากนั้นวันที่ 13 มีนาคม 2559 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีราษฎร 35 ราย เป็นโจทก์ ยืนตามศาลชั้นต้น ระบุว่า ที่ดินเป็นของ รฟท. ให้เพิกถอนสิ่งก่อสร้างและขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินดังกล่าว

25 กรกฎาคม 2559 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีราษฎรอ้าง น.ส.3 ข.ของนายช. ไปขอออกโฉนด โดยศาลพิพากษา ยืนตามศาลชั้นต้นว่า ที่ดินเป็นของ รฟท.ให้เพิกถอนสิ่งก่อสร้าง และขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน

6 กุมภาพันธ์ 2560 ศาลฎีกาพิพากษาคดีราษฎร 35 ราย เป็นโจทก์ฟ้องเพื่อขอออกโฉนด โดยศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของ รฟท. ไม่สามารถออกโฉนดได้ ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายสิ่งของทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน ***คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 842-876/2560 หน้า 42-44 ได้พิพากษาชัดเจนว่า ที่ดินดังกล่าวได้อยู่ในหลักเกณฑ์เป็นที่ดินการรถไฟที่สงวนหวงห้ามเป็นที่ดินรถไฟตามมาตรา 3 (2) (11) และได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 6 (12) ตาม พ.ร.บ.จัดวางรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้น ความเห็นของกรมที่ดินรับฟังไม่ได้ ฟังไม่ขึ้น

กระทั่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)มีคำสั่งที่ 10/2560 ให้นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ซึ่งหลังจากดำรงตำแหน่งรักษาการฯ ได้มอบอำนาจให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการฟ้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ (โฉนดจำนวน 2 แปลง และ น.ส.3 จำนวน1 แปลง) ราษฎร 4 รายกระทำละเมิดต่อ รฟท. ได้รับความเสียหาย ไม่อาจนำที่ดินพิพาทออกให้เช่าได้ (ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563) แต่ไม่มีการฟ้องเพิกถอน โฉนดที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง

22 พฤศจิกายน 2561 ศาลฎีกาพิพากษาในคดีที่ราษฎร นำ น.ส.3 ข. ที่ซื้อจากนายช. ขอให้ออกโฉนด โดยศาลฎีกาพิพากษายืนว่า ที่ดินเป็นของ รฟท. ไม่สามารถออกโฉนดได้ ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และขนย้ายสิ่งของทรัพย์สินกับบริวารออกจากที่ดิน

ต่อมาในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล "การรถไฟแห่งประเทศไทย"

6 สิงหาคม 2562 ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ พิพากษาในคดีที่ รฟท. ฟ้องราษฎร 4 รายกระทำละเมิดต่อ รฟท. ได้รับความเสียหายไม่อาจนำที่ดินพิพาทออกให้เช่าได้ โดยพิพากษาว่า รฟท. เป็นเจ้าของของที่ดินพิพาททั้งหมด เมื่อไม่ปรากฏว่า ได้มีกฎหมายใดบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ที่ดินพิพาทขาดจากการเป็นที่ดินรถไฟ แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนานเพียงใดก็หาทำให้ที่ดินของโจทก์ขาดสภาพไปจากที่ดินรถไฟ

จึงถือว่า การที่จำเลยทั้ง 4 ครอบครองที่ดินโจทก์อยู่เป็นการกระทำที่จงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทั้งการที่จำเลยทั้ง 4 คงครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์อยู่ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งหมดได้ ให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง พร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน และส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้ รฟท. ทั้งให้ชำระค่าเสียหายกับรฟท.ด้วย

22 เมษายน 2563 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีการรถไฟฯฟ้องราษฎร 4 รายกระทำละเมิดต่อ รฟท. ได้รับความเสียหายไม่อาจนำที่ดินพิพาทออกให้เช่าได้ โดยศาลพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า รฟท. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นพ้องด้วยว่า ที่ดินเป็นของ รฟท. ให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนสิ่งก่อสร้าง และขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน

30 มีนาคม 2566 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ระหว่าง รฟท. (ผู้ฟ้องคดี) กับกรมที่ดิน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และ อธิบดีกรมที่ดิน (ผู้ถูกฟ้องคดที่ 2) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง (คดีที่ดินเขากระโดง)

โดยศาลฯพิพากษาให้ อธิบดีกรมที่ดิน แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนที่ดินบริเวณพื้นที่ทางแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเบื้องต้นพบว่า มีการหนังสือแสดงสิทธิฯ 772 ฉบับ แบ่งเป็น โฉนด 396 ฉบับ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ 376 ฉบับ

1 พฤษภาคม 2566 รฟท.ยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุดในประเด็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดหรือค่าขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินเขากระโดง เนื่องจาก รฟท.ไม่เห็นพ้องกับคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า กรมที่ดิน ไม่ได้ละเมิด รฟท. จึงไม่ต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์ฯ จำนวน 707 ล้านบาท และค่าเสียหายอีกเดือนละ 59.9 ล้านบาท

18 พฤษภาคม 2566 กรมที่ดิน โดยนายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้แจ้งต่อศาลปกครองกลางมีเนื้อหาว่า รองอธิบดี ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมที่ดินได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พ.ค.2566 เพื่อดำเนินการกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. อันเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางแล้ว

9 มิถุนายน 2566 ได้รับแจ้งว่า กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องในคดีที่ดินเขากระโดง และศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ อธิบดีกรมที่ดิน แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อดำเนินการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนที่ดินบริเวณพื้นที่ทางแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์นั้น ได้ตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้

เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ นายชยาวุธ อธิบดีกรมที่ดิน ถอดใจตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งในครั้งนี้ทั้ง ๆ ที่เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 1 ปีก็จะเกษียณราชการแล้วหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2023 4:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ย้อนรอยที่ดินเขากระโดง ปมร้อน "อธิบดีกรมที่ดิน" ขอไขก๊อก
ฐานเศรษฐกิจ 05 ตุลาคม 2566


กรมที่ดินขีดเส้น 30 วัน ยื่นคัดค้านเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง

ฐานเศรษฐกิจ
05 ตุลาคม 2566

กรมที่ดิน ทยอยส่งหนังสือให้ผู้ครอบครองโฉนดที่ดินเขากระโดง จ. บุรีรัมย์ ยื่นคัดค้านการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินทับซ้อนที่ รฟท. ภายใน 30 วัน
ความคืบหน้าการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ เช่นโฉนดที่ดิน และ น.ส.3 ก. ทับซ้อนบนที่ดินเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 772 แปลง รวมเนื้อที่ 5,083 ไร่ หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่ง เมื่อวันที่30 มีนาคม 2566 ให้กรมที่ดินตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนที่ดินบริเวณพื้นที่ทางแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ของ รฟท.

ต่อมานายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน ได้มอบหมายให้รองอธิบดีกรมที่ดิน มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566

ล่าสุด นางวรพิชชา นาควัชระ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ได้ทยอยส่งหนังสือถึงผู้ครอบครองโฉนดที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการเพิกถอนโฉนด นำโฉนดที่ดินพร้อมคำคัดค้าน ไปมอบให้คณะกรรมการสอบสวน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

สำหรับหนังสือที่ส่งถึงผู้ครอบครองเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ระบุว่า ด้วยปรากฏว่า โฉนดที่ดินเลขที่...ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งออกสืบเนื่องจากหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นโฉนดที่ดินที่ออกไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย



เนื่องจากออกในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้การรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2464

และโดยที่ที่ดินบริเวณที่หารือซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟในขณะนั้นมีสภาพเป็นที่ป่า ยังไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ และเมื่อกรมรถไฟแผ่นดินได้เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งวัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟ จึงถือได้ว่าเป็นการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้ใช้ในราชการตามกฎหมายแล้ว ที่ดินนั้นจัดเข้าลักษณะเป็นที่ดินรถไฟ ตามมาตรา 3 (2) และได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2564 ซึ่งต้องเพิกถอนให้เป็นการถูกต้องตามนัยมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

รองอธิบดีกรมที่ดิน โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551 ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2553 จึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการในกรณีดังกล่าวแล้ว

คณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จึงขอแจ้งให้ท่านซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการเพิกถอนโฉนดที่ดิน ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทราบและขอให้ท่านนำโฉนดที่ดิน ฉบับดังกล่าวไปมอบให้คณะกรรมการสอบสวน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์

และหากท่านมีความประสงค์จะคัดค้านการเพิกถอน ด้วยเหตุประการใด ขอให้ทำหนังสือคัดประธานคณะกรรมการสอบสวน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หรือถือว่าได้รับแจ้ง โดยให้ระบุเหตุผลที่คัดค้านพร้อมเอกสารหลักฐาน (ถ้ามี) หากท่านไม่คัดค้านตามกำหนดถือว่าไม่ประสงค์จะคัดค้าน และคณะกรรมการสอบสวนฯ จะได้พิจารณาดำเนินการต่อไป

สำหรับที่ดินเขากระโดงของรฟท.แบ่งเป็นสามกลุ่มได้แก่ กลุ่ม

กลุ่มแรกคือ ที่ดิน 35 แปลง ซึ่งเป็น ส.ค.1 กรมที่ดินเพิกถอนคืนรฟท.แล้ว ตามคำพิพากษาศาล ปี 2561 ตั้งอยู่บริเวณปลายกิโลเมตรที่ 8 ทางรถไฟแยก บุรีรัมย์เข้าเขากระโดง

กลุ่มที่สอง เป็นที่ดินแปลงเล็ก ที่มีเอกสารสิทธิ์เป็น น.ส.3 ซึ่งชาวบ้านครอบครอง ตั้งอยู่ช่วงกลางแผนที่ หรือติดริมถนนประโคนชัย บุรีรัมย์ ปัจจุบัน กรมที่ดินอยู่ระหว่างเพิกถอน

อีกกลุ่ม 5,083 ไร่ ศาลปกครองกลางชี้ขาดแล้วให้กรมที่ดินตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ที่ออกทับที่ดินเขากระโดง

อย่างไรก็ตามการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินเขากระโดงครั้งนี้มี มีโฉนดที่ดินของเครือญาติของศักดิ์สยาม ชิดชอบ และบริษัทที่มีเครือญาติของศักดิ์สยามถือหุ้นหรือเป็นกรรมการบริษัทฯ ในพื้นที่เขากระโดง รวม 12 แปลง แปลง เนื้อที่รวม 179 ไร่ 1 งาน 43.3 ตารางวา อยู่ในข่ายถูกเพิกถอนด้วย ประกอบด้วย

โฉนดเลขที่ 3466 เนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 55.8 ตารางวา ถือครองโดย บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด และที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ตั้งของบ้านพักของนายศักดิ์สยาม
โฉนดเลขที่ 8564 เนื้อที่ 37 ไร่1 งาน 65 ตารางวา ถือครองโดยนางกรุณา ชิดชอบ
โฉนดเลขที่ 3742 เนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา ถือครองโดยบริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด
โฉนดเลขที่ 3743 เนื้อที่ 13 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา ถือครองโดยบริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด
โฉนดเลขที่ 3476 เนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา ถือครองโดยบริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด
โฉนดเลขที่ 2847 เนื้อที่ 10 ไร่ 18 ตารางวา ถือครองโดยบริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด
โฉนดเลขที่ 3477 เนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 22.4 ตารางวา ถือครองโดยนายไชยชนก ชิดชอบ และให้บริษัท เค. 2009 ลิซ จำกัด เช่า 30 ปี (1 เม.ย.2554-31 มี.ค.2584) (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสนามฟุตบอลช้างอารีน่า)
โฉนดเลขที่ 24091 เนื้อที่ 28 ไร่ 1 งาน 8.2 ตารางวา ถือครองโดยนายไชยชนก ชิดชอบ และให้บริษัท เค. 2009 ลิซ จำกัด เช่า 30 ปี (1 เม.ย. 2554 - 31 มี.ค. 2584) ให้บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สปอร์ตโฮเทล จำกัด เช่าช่วงต่อ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงแรม)
โฉนดเลขที่ 9160 เนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา ถือครองโดยนายไชยชนก ชิดชอบ และให้บริษัท เค 2009 ลิซ จำกัด เช่า 30 ปี (1 เม.ย.2554-31 มี.ค. 2584) (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งตลาดนัด)
โฉนดเลขที่ 3285 เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 30.6 ตารางวา ถือครองโดยบริษัท เค. มอเตอร์สปอร์ต จำกัด
โฉนดเลขที่ 30222 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 24.3 ตารางวา ถือครองโดยบริษัท เค. มอเตอร์สปอร์ต จำกัด
โฉนดเลขที่ 115572 เนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา ถือครองโดยนายไชยชนก ชิดชอบ และให้บริษัท เค 2009 ลิซ จำกัด เช่า 30 ปี (1 เม.ย. 2554-31 มี.ค. 2584) (ทางเข้าสนามแข่งรถ)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/10/2023 2:35 pm    Post subject: Reply with quote

ถอนโฉนดเขากระโดงเดือด 20 แปลง‘ชิดชอบ’ป่วน
ฐานเศรษฐกิจ 13 ตุลาคม 2566

ถอนโฉนดที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ เกือบ 1,000 แปลง ทับที่ดินการรถไฟฯ เดือดปุดๆ ! 20 แปลง ‘ตระกูลชิดชอบ’ ป่วน ทนายจ่อฟ้องกลับอ้างซื้อ-ขายถูกต้องตามกฎหมาย

กระแสการยื่นใบลาออกจากราชการของนายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดินก่อนกำหนดเกษียณราชการ 1ปี ในช่วง ที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เข้ามากุมบังเหียน ส่อเป็นชนวนให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เชื่อมโยงปม “เขากระโดง” ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีคนในตระกูลชิดชอบ อยู่ในข่ายออกหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์คลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรมที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 พิจารณาเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ประเภทโฉนดที่ดิน นส.3 ก ฯลฯ บริเวณแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ อาศัยคำสั่ง ศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2566 มอบอธิบดีกรมที่ดินแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทับซ้อนที่ดินเขากระโดง ซึ่งพบหลักฐานเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งบริเวณทางแยกเขากระโดง ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 4 ถึงกิโลเมตรที่ 8 ถนนบุรีรัมย์-ประโคนชัย

ถนนสายสำคัญที่กรมทางหลวงทำหนังสือขอใช้ที่ดินกับการรถไฟฯเพื่อเวนคืนก่อสร้างถนนเส้นทางดังกล่าว และแนวเขตเวนคืนเพื่อจะก่อสร้างทางรถไฟโดยตรวจสอบพบหลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จำนวน 772 ฉบับ แยกเป็นโฉนด 396 ฉบับ หนังสือแสดงการทำประโยชน์ หรือ น.ส.3 จำนวน 376 ฉบับ

พบโฉนดเกิน 772 ฉบับ

แหล่งข่าวจากกรมที่ดินเปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า จากการตรวจสอบ พบว่าอาจมีมากถึง เกือบ 1,000 แปลง จากที่ตรวจสอบพบ 772 ฉบับ และปัจจุบันทยอยออกหนังหนังสือแจ้งเจ้าของ ผู้ครอบครอง ตามเลขที่ที่ปรากฎ ตามขั้นตอนประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อเปิดโอกาส นำเอกสารหลักฐานมาแสดงสิทธิ์คัดค้าน ภายใน 30 วันนับตั้งแต่ วันที่ออกจดหมายแต่ประเมินว่าอาจจะมีการยื่นคัดค้านทั้งหมดเพราะต่างอ้างว่าซื้อขายได้มาถูกกฎหมาย และมีเอกสารสิทธิ์ทั้งหมดแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติโดยชอบ แต่ทั้งนี้ต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ

โดยให้เจ้าของที่ดินคือการรถไฟฯมาชี้แนวเขตรวมถึงผู้ครอบครองและ คนที่อยู่ในแปลงข้างเคียง เว้นแต่ไม่สามารถติดต่อเจ้าของที่ดินตัวจริงได้ ทั้งนี้หากพิสูจน์ได้ว่าออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย อธิบดีกรมที่ดินจะใช้อำนาจสั่งต้องเพิกถอนได้ แต่ไม่ง่ายเสมอไปเพราะผู้ครอบครองจะใช้กระบวน การทางศาลฟ้องร้องสู้คดีจนถึงที่สุด ระหว่างเจ้าของที่ดินกับกรมที่ดิน อีกทอด

แม้ที่ผ่านมา คดีมหากาพย์ เขากระโดงจะยุติลง กรณีการรถไฟฯเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมที่ดิน กรณีออกเอกสารสิทธิ์ ผิดพลาดคลาดเคลื่อน จะยุติลงในชั้นศาลปกครองกลาง โดยกรมที่ดินไม่คิดต่อสู้คดีต่อในชั้นศาลปกครองสูงสุด ก็ตาม

“ชิดชอบ”ถือครอง 20 แปลง

เช่นเดียวกับคนในตระกูลชิดชอบที่อยู่ในข่าย ครอบครองที่ดินเขากระโดง จากคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ออกไปจำนวน 2 ฉบับปรากฎว่า มี หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ที่ออกไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบ ซึ่งถือครองกรรมสิทธิ์โดยนักการเมือง ญาตินักการเมือง บริษัทที่ถือหุ้นหรือบริหารโดยนักการเมืองหรือญาตินักการเมืองตระกูลชิดชอบจำนวน 20 แปลง เนื้อที่รวม 288 ไร่ 2 งาน 4.7

ตารางวา ซึ่งงพบว่าเป็นแปลงที่ดินที่ถูกพบเพิ่มขึ้น จากเดิมที่พรรคประชาชาติในครั้งก่อนที่นำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต่อสภาผู้แทนราษฎร พบว่า มีที่ดินเพียง 12 แปลง เนื้อที่รวม 179 ไร่ 1 งาน 43.3 ตารางวา

มอบทนายประจำตระกูลฟ้อง

ด้าน นายชนินทร์ แก่นหิรัญ ทนายความของตระกูลชิดชอบ ชี้แจงผ่านสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า กรณีอธิบดีกรมที่ดินได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ ตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน ที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พ.ค.2566 นั้น เป็นเพียงการให้คณะกรรมการสอบสวนดังกล่าว มีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงว่า มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในบริเวณพื้นที่เขากระโดงโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประการใด รวมทั้งให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จะมีการออกหนังสือแจ้งกรณีดังกล่าวไปยังบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินในบริเวณพื้นที่เขากระโดงทราบ และให้สิทธิบุคคลดังกล่าวที่จะคัดค้านการเพิกถอน โดยให้ระบุเหตุผลที่คัดค้านพร้อมเอกสารหลักฐาน ยื่นต่อประธานสอบสวน ณ สำนักงานเขตที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

จากกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าคณะกรรมการสอบสวนฯ มิใช่คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่คณะกรรมการดังกล่าว มีหน้าที่ที่จะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและให้ความเป็นธรรมต่อบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในบริเวณพื้นที่เขากระโดงด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีบุคคลที่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าวเพียงบางส่วนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ข้อเท็จจริงตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการร่างกฎหมายขณะที่ 7) เรื่องเสร็จ ที่ 106/2541 นั้น ถูกต้องหรือไม่ กล่าวคือ การสำรวจที่ดินเพื่อกำหนดแนวเขตที่ดินการรถไฟที่ใช้สร้างทางรถไฟในปี 2464 ได้ดำเนินการโดยครบถ้วนตาม พ.ร.บ.จัดวางและทางหลวง พ.ศ. 2464 หรือไม่ และการที่กรมรถไฟแผ่นดินได้เข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งวัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟ ถือได้ว่าเป็นการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้ใช้ในราชการตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 หรือไม่

การรถไฟฯได้กล่าวอ้างว่า มีหลักฐานเป็นแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟ ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตร 375-650 และใบสำคัญแสดงรายละเอียดแห่งค่าทำขวัญสำหรับทรัพย์ทุกประเภท ที่กรมรถไฟแผ่นดินได้จัดซื้อไว้เพื่อประโยชน์รถไฟ ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2467 อันเป็นที่มาของความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว แต่จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ตลอดจนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กลับไม่ปรากฎว่ามีต้นฉบับหรือสำเนา พ.ร.ฎ.กำหนดเขต

อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากมาตราส่วนแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟ ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตร 375-650 ที่กำหนดไว้ที่มาตราส่วน 1:4000 จะพบพิรุธสำคัญ ซึ่งขัดต่อหลักการคำนวณแผนที่ตามหลักภูมิศาสตร์สารสนเทศศาสตร์

นายชนินทร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้บุคคลในตระกูลชิดชอบและบริษัทในเครือฯยังไม่ได้รับหนังสือแจ้ง เรื่อง การเพิกถอนหนังสือแสดงเอกสารสิทธิในที่ดินทั้ง 20 แปลง เนื้อที่รวมกว่า 288 ไร่ แต่อย่างใด แต่หากได้รับหนังสือฯแจ้งแล้ว ตนเองในฐานะทนายความของตระกูลชิดชอบ จะทำหนังสือคัดค้านและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการสอบสวนฯเพิ่มเติม หลังจากที่ได้ส่งหนังสือและหลักฐานคัดค้านในประเด็นว่า

ที่ดินเขากระโดงไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯไปแล้วก่อนหน้านี้ หากในท้ายที่สุดแล้ว อธิบดีกรมที่ดิน พิจารณาความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯแล้ว และออกคำสั่งให้เพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินของบุคคลในตระกูลชิดชอบหรือบริษัทในเครือแล้ว ทางตระกูลชิดชอบจะดำเนินการยื่นฟ้องกรมที่ดินต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลฯมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของกรมที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นกรณีการออกคำสั่งโดยไม่ชอบ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2023 6:42 pm    Post subject: Reply with quote

แจง1ปีช่วยชุมชนโค้งรถไฟยมราช ยกต้นแบบแก้ปัญหาสังคม-พัฒนากลุ่มเปราะบาง
ข่าวหน้าใน
วันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10:18 น.

พม. – เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนโค้งรถไฟยมราช เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมคณะผู้บริหาร พม. ลงพื้นที่พบปะ พูดคุย ให้กำลังใจ รวมถึงจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้บริการครัวเรือนเปราะบางในชุมชนโค้งรถไฟยมราช

นายวราวุธกล่าวว่า พม. โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชนได้เปิด “ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนโค้งรถไฟยมราช” เพื่อเป็นศูนย์กลางการรับเรื่อง และบริการคนทุกช่วงวัยอย่างครอบคลุมในทุกมิติ การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงสภาพปัญหา


นายวราวุธกล่าวว่า ที่ผ่านมาทุกหน่วยงาน พม. ร่วมเป็นผู้จัดการกรณีดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวขายพวงมาลัย จำนวน 12 ครอบครัวในชุมชนโค้งรถไฟยมราช ตลอดจนได้ประสานบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกมิติทางสังคม

“นโยบายพม.คือลดความเหลื่อมล้ำ หาและให้โอกาสประชาชนทุกคนให้อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กเยาวชน สตรี คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว องค์ประกอบสำคัญคือความอบอุ่นของครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นเกราะป้องกันเยาวชนให้รอดพ้นภาวะที่ไม่อยากให้เกิด ที่ผ่านมาพม.ได้ทำงานช่วยเหลือชุมชนนี้และชุมชนอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชุมชนโค้งรถไฟยมราชได้มาติดตามการแก้ปัญหาและพัฒนากลุ่มเปราะบางที่ดำเนินการมาแล้ว 1 ปี” นายวราวุธกล่าว

นายวราวุธกล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาใหญ่ที่พบคือเยาวชนที่ออกไปขายพวงมาลัยขายของบริเวณริมทางซึ่งเสี่ยงเกิดอันตราย ได้มีการแก้ปัญหาจัดสถานที่ใหม่ให้ขาย มีหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมาร่วมแก้ปัญหาจนเกิดความยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้เรียน ทั้งนี้จะนำเป็นชุมชนต้นแบบนำร่องขยายผลในการแก้ปัญหาชุมชนอื่นๆ ทั้งในกทม.ที่มีอีกหลายพื้นที่และต่างจังหวัด


อย่างไรก็ตาม แต่ละพื้นที่มีบริบทข้อจำกัดของปัญหาที่แตกต่าง ไม่สามารถตัดเสื้อโหลใช้แก้ปัญหาได้ เป็นความละเอียดอ่อนที่ต้องศึกษา เข้าใจและอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายร่วมกันแก้ปัญหา ทั้งนี้การสร้างความเข็มแข็ง ความมั่นคงให้กับชุมชนเล็กๆ ที่กระจายทุกพื้นที่ในประเทศไทย เป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ปัญหาสังคม ยาเสพติดได้ นอกจากนี้การทำงานของพม.ใน 5 กรม 2 รัฐวิสาหกิจ 1 องค์การมหาชน ต้องเป็นหนึ่งเดียว ไม่สามารถแยกกรมทำงาน ทุกหน่วยงานต้องร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม BKK Food Bank เขตห้วยขวาง ว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีคนที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องการอาหาร ต้องการความช่วยเหลือต่างๆ ขณะเดียวกันมีคนที่อยากช่วยเหลือคนที่เปราะบาง จึงคิดโครงการ Food Bank หรือเป็นธนาคารอาหาร คนที่อยากบริจาคเอามาบริจาคที่ศูนย์ได้ และส่งต่อให้กับผู้ที่ขาดแคลน

นายชัชชาติกล่าวต่อว่า โครงการนี้ไม่ใช้งบประมาณของหลวง แต่ขอความร่วมมือคนที่มีส่วนเกิน ต่อไปจะขยายไปถึงซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ อาหารที่ใกล้หมดอายุ ยังบริโภคได้ แต่ขายไม่ได้แล้ว แทนที่จะทิ้งเป็นอาหารเสียจะมาอยู่ที่ Food Bank และต่อไปร้านอาหารที่เข้าโครงการ Food Bank อาจมีป้ายขอบคุณที่เข้าร่วมโครงการ โดยโมเดลนี้จะขยายผลต่อไปทั่วทั้งกรุงเทพฯ



พม.ชูชุมชนโค้งรถไฟยมราชนำร่อง
ข่าวทั่วไทยกทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10:29 น.

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนโค้งรถไฟยมราช เขตราชเทวี กรุงเทพฯ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมคณะผู้บริหาร พม.ลงพื้นที่พบปะ พูดคุย จัดกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้บริการครัวเรือนเปราะบางในชุมชนโค้งรถไฟยมราช นายวราวุธ กล่าวว่า พม.โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชนได้เปิด “ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนโค้งรถไฟยมราช” เพื่อเป็นศูนย์กลางการรับเรื่องและบริการคนทุกช่วงวัยแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ และประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงสภาพปัญหา

ที่ผ่านมาทุกหน่วยงาน พม. ร่วมเป็นผู้จัดการรายกรณี ดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวขายพวงมาลัย จำนวน 12 ครอบครัวในชุมชนโค้งรถไฟยมราช ตลอดจนได้ประสานบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกมิติทางสังคม โดยชุมชนโค้งรถไฟยมราช พม.ได้มาติดตามการแก้ปัญหาและพัฒนากลุ่มเปราะบางมาแล้ว 1 ปีและได้มีการแก้ปัญหาจนเกิดความยั่งยืนเด็กทุกคนได้เรียน ทั้งนี้จะนำเป็นชุมชนต้นแบบนำร่องขยายผลในการแก้ปัญหาชุมชนอื่นๆต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/11/2023 7:00 am    Post subject: Reply with quote

ภาพข่าว: "เอเชีย เอรา วัน" พลิกพื้นที่สาธารณะในชุมชน เปิดกิจกรรม "Pop-Up Park
Source - ไทยโพสต์
Thursday, November 16, 2023 05:17

ไกรวุฒิ สิมธาราแก้ว Head of Partnership บริษัท ซีพี ฟิวเจอร์ ซิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วย พงษ์เทพ เปรมประทิน หัวหน้าแผนกบริหารงานทั่วไป ด้านโรงงาน ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด บริษัท ฉมาโซเอ็น จำกัด สำนักงานเขตราชเทวี และ โรงเรียนมักกะสันพิทยา จัดกิจกรรม "Pop-Up Park และ โชว์เคส ปล่อยพลังสร้าง (สรรค์) เมือง" เปิดพื้นที่สวนสาธารณะชั่วคราว ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตและศักยภาพของเยาวชนให้กับผู้คนในชุมชนมักกะสันและชุมชนใกล้เคียง เพื่อให้กลุ่มเยาวชนในชุมชนมักกะสัน ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพในการนำเสนอผลงานที่สร้างสรรค์ ณ พื้นที่ลานกีฬาบ้านพักนิคมรถไฟ ชุมชนมักกะสัน

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 พ.ย. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2023 12:47 am    Post subject: Reply with quote

3 “ท่าเรือบกอีสาน” รุกคืบอุดรฯเปิดนิคมเชื่อม “รถไฟจีน-ลาว”
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันอาทิตย์ ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11:08 น.


กำลังเดินหน้าอย่างต่อเนื่องสำหรับ “ท่าเรือบก” โปรเจ็กต์ยักษ์ภาคอีสานที่จะเห็นความชัดเจนในปี 2567 โดยปักหมุดอยู่ใน 3 จังหวัดหัวเมืองใหญ่บนเส้นถนนมิตรภาพ ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งจะเป็นแกนหลักยกระดับโลจิสติกส์ของภูมิภาค

อีสานยกระดับขนส่งสินค้า
“นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย” รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ท่าเรือบก (dry port) เป็นแนวความคิดเพื่อยกระดับการขนส่งสินค้าของไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 3 จังหวัดที่เสนอทำการศึกษา ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา เบื้องต้นขอนแก่นและนครราชสีมายังอยู่ในระหว่างศึกษา



ขณะที่โครงการท่าเรือบกของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี รวม 400 กว่าไร่ ทำทุกอย่างเสร็จหมดแล้ว ไม่ต้องเวนคืนหรือทำการสำรวจผลกระทบเพิ่มเติม พร้อมประกาศตัวเป็นศูนย์โลจิสติกส์ CY (container yard) และสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเข้าไปภายในนิคมอุตสาหกรรม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ใช้วงเงินรวม 100 กว่าล้านบาท

“ตอนนี้อุดรธานีเตรียมพร้อมทั้งจุดตรวจพิธีการศุลกากร ศูนย์คัดกรองสินค้า เป็น one stop service เหลือเพียงนำเครื่องมือสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไปติดตั้ง และต้องเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็วภายในเดือนธันวาคม 2566 นี้

และต้นปี 2567 จะเริ่มทดลองใช้งานจริง เพราะรถไฟจีน-ลาวมาแล้ว หากเราช้าหรือรอตามระบบราชการ เราจะเสียโอกาส รัฐบาลชุดนี้บอกว่ามีอะไรทำได้ให้ทำเลย จึงเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการขับเคลื่อนโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ”

“นายสวาท” บอกว่า หลายคนคาดหวังกับการขนส่งทางรางแต่ปัจจุบันการดำเนินงานยังไม่แล้วเสร็จ ฉะนั้นโครงการนี้ที่สามารถดำเนินการได้จะทำให้มูลค่าสินค้าเกษตรของเกษตรกรไทยเติบโตขึ้นทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งเป็นแม่แบบให้กับจังหวัดอื่น ๆ ขับเคลื่อนไปได้ ตามขีดความสามารถของการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ ซึ่งในจังหวัดอุดรธานีรัฐบาลแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลยเพราะส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชนที่เป็นนิคม

นิคมอุดรพร้อมเปิดลงทุน
นางอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธาน บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ผู้บริหารโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีพัฒนาโครงการแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการ มีความพร้อมของระบบสาธารณูปโภค


ทั้งระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบรักษาความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตอนนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (OSS) เรื่องการอนุมัติ/อนุญาตต่าง ๆ ในการก่อสร้างและประกอบธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี รวมทั้งเรื่องการขอสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

ทั้งนี้ โรงงานสามารถเข้ามาประกอบกิจการได้ไม่ต่ำกว่า 80 โรงงาน คาดว่าจะมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 74,000 ล้านบาท จะทำให้เกิดการจ้างงานภายในนิคมไม่ต่ำกว่า 20,000 ราย และเกิดการจ้างงานรอบ ๆ นิคมไม่ต่ำกว่า 60,000 ราย


“ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคภายในนิคมอุตสาหกรรม แล้วเสร็จ 90% ได้แก่ มีสถานีไฟฟ้าย่อย ขนาด 115 KV ภายในโครงการ พร้อมจ่ายกระแสไฟ โดยนิคมมอบพื้นที่ 12 ไร่ ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย, มีบ่อหน่วงน้ำ 3 บ่อ ขนาด 1 ล้าน ลบ.ม. เพื่อรับน้ำฝนในพื้นที่

และเป็นแหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา ปัจจุบันมีน้ำเต็มทุกบ่อ, มีถนนสายประธานและสายย่อย ภายในโครงการขนาด 2-4 ช่องจราจร รวมความยาว 12 กม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ 10 กม., มีระบบผลิตน้ำประปา ขนาด 8,000 ลบ.ม./วัน, ระบบบำบัดน้ำเสีย 6,400 ลบ.ม./วัน, คลังสินค้าขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน พื้นที่ 23,160 ตร.ม. พร้อมให้เช่า, มีลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ หรือ CY พื้นที่ 30 ไร่”

“ตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการมา มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสนใจเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อประกอบกิจการมีธุรกิจประเภทแปรรูปอาหาร ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์กระจายสินค้าและโลจิสติกส์ รวม 5 ราย


ทั้งนี้ มีกลุ่มทุนขนาดใหญ่ให้ความสนใจเข้ามาตั้งโรงงานที่ใช้พื้นที่กว่า 50 ไร่ขึ้นไปหลายราย เช่น กลุ่มประกอบรถยนต์ EV รถมอเตอร์ไซค์ EV อุตสาหกรรมยางขั้นปลาย และกลุ่มที่สนใจประกอบกิจการในเขตปลอดอากรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นต้น”

นางอรพินกล่าวต่อไปว่า ด้วยศักยภาพของที่ตั้งโครงการที่อยู่บนเส้นทางรถไฟทางคู่ และสามารถขนส่งไปเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงจากจีน-ลาว จึงเหมาะในการเป็นศูนย์โลจิสติกส์ (logistics park) โดยตั้งเป้าเป็น “อีสานเกตเวย์” ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภาคอีสาน อีกทั้งภาครัฐได้เล็งเห็นถึงจุดเด่นและศักยภาพของทำเลที่ตั้งและความพร้อมของสถานที่

จึงเห็นชอบแนวทางในการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (one stop service : OSS) เพื่ออำนวยความสะดวกการค้าชายแดนและผ่านแดนแบบครบวงจรใน logistics park นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตามแผนสามารถจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2566

ตอนนี้มีความพร้อมด้านสถานที่
1.โรงพักสินค้า พื้นที่ 17,300 ตร.ม. พร้อมลานจอดรถบรรทุกเพื่อรอหน่วยงาน CIQ ทำการตรวจปล่อย
2.ลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (CY) พร้อมบริการปลั๊กชาร์จตู้ refer และสถานีขนส่งสินค้า (truck terminal)

3.สำนักงานศุลกากรและสำนักงานของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าและรับรองมาตรฐานสินค้า (CIQ) 4.สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น จุดบริการอาหาร เครื่องดื่ม และห้องน้ำ สำหรับผู้ขับขี่รถบรรทุก ซึ่งอุดรธานีมีความพร้อมของระบบการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล โดยใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก และระบบโลจิสติกส์ โดยใช้ single window

แผนพัฒนาพื้นที่โครงการ logistics park ในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พ.ศ. 2564-2566 ให้บริการการขนส่งสินค้าด้วยระบบขนส่งทางบก และเชื่อมกับระบบขนส่งทางราง ณ สถานีหนองตะไก้ การให้บริการประกอบด้วย อาคารคลังสินค้าให้เช่า จัดตั้งโรงพักสินค้า

พร้อมเปิดให้บริการ บริการรับฝากวางตู้คอนเทนเนอร์ (CY) บริการรับและจ่ายตู้คอนเทนเนอร์จากสายเรือ บริการทำความสะอาดและซ่อมบำรุงตู้คอนเทนเนอร์ บริการเปิดตู้และบรรจุตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออกมีลานจอดรถ ลานตาชั่ง และตู้ชาร์จ refer พร้อมจัดตั้งสำนักงานศุลากร และสำนักงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นางอรพินกล่าวต่อไปว่า ส่วนระยะที่ 2 พ.ศ. 2566-2568 ให้บริการการขนส่งสินค้าด้วยระบบขนส่งทางบกและทางราง ซึ่งได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งเขตปลอดอากร (free zone) และพร้อมเปิดให้บริการ พัฒนาระบบรางภายในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีหนองตะไก้ เป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าแบบ freight forwarder เต็มรูปแบบ

ยื่น 4 ข้อให้รัฐสนับสนุน
นางอรพินกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ทางนิคมอุตสาหกรรมได้ยื่นขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ 4 เรื่องหลัก เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน ได้แก่ 1.การขอขยายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคายให้ครอบคลุมพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

เพื่อให้ผู้ประกอบการในนิคมอุดรธานี ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับผู้ประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย จะเป็นการจูงใจให้นักลงทุนตัดสินใจเข้ามาประกอบกิจการในนิคมอุดรธานีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การควบคุมกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นแหล่งจ้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น

2.การส่งเสริม logistics park ในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ให้เป็น one stop service (OSS) โดยขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมศุลกากร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ BOI มาปฏิบัติงานที่ศูนย์ OSS ในนิคมอุดรธานี เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนและผ่านแดนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการบริหารจัดการเบ็ดเสร็จครบวงจร ณ จุดเดียว (OSS) ถือเป็นการอำนวยความสะดวกการค้าชายแดนและผ่านแดน

3.การจัดตั้งเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี (e-Commerce) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจบริการสำหรับผู้ประกอบการ e-Commerce

4.การประกาศเขตพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ให้เป็น “เขตศุลกากร” เพื่อให้การทำพิธีการศุลกากรในการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า บรรจุของขาออก และเจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจตรวจของผ่านแดนได้ ณ พื้นที่ logistics park ในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/12/2023 2:43 pm    Post subject: Reply with quote

บขส.ฝันค้าง แผนย้ายสถานีหมอชิต 2 ส่อวืด
ฐานเศรษฐกิจ 13 ธันวาคม 2566

บขส. เปิดแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ “หมอชิตเก่า” ลุ้นเคาะแผนย้ายสถานีหมอชิต 2 รอบใหม่ หลังธนารักษ์ เมินติดข้อจำกัดด้านกฎหมาย

บริษัท ขนส่ง จำกัด ( บขส. ) มีแผนย้ายสถานีหมอชิต 2 กลับไปยังพื้นที่เดิมติดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต แต่ปัจจุบันพบว่ายังไม่สามารถดำเนินการ เนื่องจากติดข้อจำกัดด้านกฎหมาย ส่งผลให้พื้นที่เชิงพาณิชย์ดังกล่าวยังไม่ได้รับการพัฒนาแต่อย่างใด

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ความคืบหน้าการย้ายสถานีหมอชิต 2 ไปยังสถานีหมอชิตเก่าอยู่ติดสถานีบีทีเอสหมอชิต ว่าเรื่องนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจากเดิมการย้ายสถานีหมอชิตในช่วงนั้นกรมธนารักษ์จะมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บนพื้นที่หมอชิตเก่า โดยให้บขส.ย้ายสถานีมาอยู่ที่บริเวณสถานีหมอชิต 2 ชั่วคราว ซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปัจจุบันพบว่าโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ดังกล่าวยังไม่ได้รับความคืบหน้าในเชิงปฏิบัติ ซึ่งจะต้องรอกรมธนารักษ์ดำเนินการ

“พื้นที่สถานีหมอชิตเก่านั้น มีข้อตกลงร่วมกันว่ากรมธนารักษ์จะจัดพื้นที่ให้บขส.ประมาณ 112,000 ตารางเมตร โดยบขส.ได้ขอสงวนสิทธิ์การใช้พื้นที่ไปแล้ว หากโครงการฯ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ เบื้องต้นบขส.มีแผนจะย้ายการเดินรถโดยสารขนาดเล็กหรือมินิบัส ใช้พลังงานไฟฟ้า(EV) ความยาว 8 เมตร สามารถวิ่งระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร (กม.) เข้าใช้บริการพื้นที่สถานีขนส่งอยู่ในโครงการคอมเพล็กซ์ของบริษัท บากกอกเทอร์มินอล จำกัด หรือ BKT ผู้รับสัมปทานพัฒนาโครงการ”

ส่วนรถโดยสารขนาดใหญ่ของบขส.คาดว่าจะมีการย้ายไปอยู่ในพื้นที่บริเวณติดรถไฟฟ้าในแต่ละสถานีต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเดินทางเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ง่ายและสะดวกมากขึ้น แต่ขณะนี้พบว่าพื้นที่บริเวณสถานีหมอชิต 2 ของบขส. ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางเป็นอย่างมาก เนื่องจากประชาชนสามารถเดินทางจากรถไฟฟ้าบีทีเอส,รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและรถไฟฟ้าสายสีม่วง เพื่อเดินทางมายังสถานีฯได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่ง หากสามารถอยู่ที่เดิมได้จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ขณะเดียวกันบขส.จะต้องพิจารณาการย้ายสถานีอีกครั้ง หากโครงการของ BKT ดำเนินการแล้วเสร็จ

รายงานข่าวจากกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมฯได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้แทนประชาชนที่อาศัยในชุมชนหลังสถานีขนส่งหมอชิต (เดิม) โดยยืนยันว่าจะไม่มีการเวนคืนที่ดินในท้องที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร ตามที่มีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินเวนคืนจากการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 กลับมาใช้พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต (เดิม)

สำหรับพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ส่งคืนให้กรมธนารักษ์มาพัฒนาจัดหาประโยชน์เนื้อที่ 63-2-65 ไร่ ซึ่งได้ทำสัญญากับบางกอกเทอร์มินอล จำกัด (BKT) ก่อสร้างและบริหารโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในปี 2539 หลังจากที่ BKT ชนะการประมูล เสนอค่าธรรมเนียมการจัดประโยชน์ 550 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารสถานีขนส่ง พื้นที่พาณิชย์ และที่จอดรถ

ทั้งนี้พบว่าสัญญาดังกล่าวหยุดชะงักชั่วคราว เมื่อปี 2544 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาก่อสร้างและบริหารโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต (เดิม) ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลผูกพันในแง่สัญญาต่อกัน โดยกรมธนารักษ์ ต้องดำเนินโครงการดังกล่าวใหม่ตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ต่อมาในปี 2556 ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยสถานะของสัญญาว่า เมื่อยังไม่บอกเลิกสัญญา BKT และกรมธนารักษ์ยังคงต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป

นอกจากนี้ในการประชุมที่ผ่านมา ระหว่างกรมธนารักษ์,กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) , บขส. และกรุงเทพมหานคร(กทม.) พร้อมร่วมแก้ปัญหา โดยบริษัท BKT ยินดีลดพื้นที่ก่อสร้างลงจากสัญญาเดิมเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน หลังจากนั้นจะเร่งจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากนั้นจะลงนามในสัญญากับกรมธนารักษ์ใหม่ ซึ่งกรมธนารักษ์จะทำหนังสือถึง กทม.ให้ยกเลิกการเวนคืนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44916
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/12/2023 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นทรัล ลาดพร้าว' จ่าย 1.3 พันล้านให้การรถไฟฯ เผยเหลือสัญญา 5 ปี
ไทยโพสต์ 17 ธันวาคม 2566 เวลา 10:16 น.

‘เซ็นทรัล ลาดพร้าว’จ่ายค่าเช่าที่ดินการรถไฟฯ บริเวณที่ดินสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ปี 2567 กว่า 1,387 ล้านบาท ประจำปี 2567 เผยสัญญาเหลืออายุ 5 ปี หมดปี 2571

17 ธ.ค.2566-นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เป็นผู้แทนการรถไฟฯ รับเช็คค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินประจำปี 2567 จากนายปัณฑิต มงคลกุล ประธานกรรมการบริหารสายบัญชีการเงิน นายสุภรัฐ จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส เป็นผู้แทนจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด

ทั้งนี้ ซึ่งเป็นค่าใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ของการรถไฟฯ ในรอบระยะเวลา 1 ปี (วันที่ 19 ธันวาคม 2566 – 18 ธันวาคม 2567) เป็นเงิน 1,387,603,000 บาท ณ ห้องประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ ชั้น 2 ตึกบัญชาการรถไฟ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การได้รับชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนครั้งนี้ เป็นไปตามที่การรถไฟฯ ได้ทำสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน จำนวนพื้นที่ 47.22 ไร่ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2551 ในกรอบระยะเวลาการใช้ประโยชน์ 20 ปี (วันที่ 19 ธันวาคม 2551 – 18 ธันวาคม 2571)

ทั้งนี้ มีผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดล้านแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) แบ่งออกเป็นรายได้จากค่าเช่ารายปี 18,687,730,000 บาท และค่าผลประโยชน์ตอบแทนการได้สิทธิ์ 2,611,103,000 บาท โดยกำหนดชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ภายในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งจะต้องชำระให้แก่การรถไฟฯ เป็นรายปี รวมทั้งหมด 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา

สำหรับการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ตามสัญญาให้สิทธิ์ใช้ประโยชน์ศูนย์การค้า บริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 2567 ครั้งนี้ เข้าสู่ปีที่ 16 ที่การรถไฟฯ จะได้รับจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด โดยคิดเป็นจำนวนเงิน 1,387,603,000 บาท (หนึ่งพันสามร้อยแปดสิบเจ็ดล้านหกแสนสามพันบาทถ้วน) ส่งผลให้นับตั้งแต่เริ่มสัญญาจนถึงปัจจุบัน ระหว่างปี 2551-2567 การรถไฟฯ ได้รับชำระค่าผลประโยชน์แล้วทั้งสิ้น 13,724,144,000 บาท (หนึ่งหมื่นสามพันเจ็ดร้อยยี่สิบสี่ล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันบาทถ้วน)

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินงาน และการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ย่านสถานี ที่ทำการ เขตทางรถไฟ และพื้นที่Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ โดยในอนาคตการรถไฟฯ จะดำเนินการตามแผนงานที่จะนำพื้นที่ Non-Core Business มาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะดำเนินการออกจัดประโยชน์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับการรถไฟฯ ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2023 12:15 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เซ็นทรัล ลาดพร้าว' จ่าย 1.3 พันล้านให้การรถไฟฯ เผยเหลือสัญญา 5 ปี
ไทยโพสต์ วันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10:16 น.


เซ็นทรัลจ่าย 1,387 ล้านให้การรถไฟฯ ค่าเช่าที่ “เซ็นทรัล ลาดพร้าว” ปี 2567
อสังหาริมทรัพย์
วันเสาร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 21:01 น.

เซ็นทรัลจ่ายค่าเช่าที่ “เซ็นทรัล ลาดพร้าว” ให้การรถไฟงวดปี 2567 จำนวน 1,387 ล้านบาท นับเป็นงวดที่ 16 จากสัญญา 20 ปี (20 งวด) รวมค่าตอบแทนตลอดสัญญา 21,299 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการไฟแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนการรถไฟฯ รับเช็คค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน (บริเวณเซ็นทรัลลาดพร้าว) ประจำปี 2567 (วันที่ 19 ธันวาคม 2566 – 18 ธันวาคม 2567) เป็นเงิน 1,387,603,000 บาท จากนายปัณฑิต มงคลกุล ประธานกรรมการบริหารสายบัญชีการเงิน นายสุภรัฐ จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ณ ห้องประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ ชั้น 2 ตึกบัญชาการรถไฟ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ


นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การได้รับชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนครั้งนี้ เป็นไปตามที่การรถไฟฯ ได้ทำสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินจำนวนพื้นที่ 47.22 ไร่ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2551 ในกรอบระยะเวลาการใช้ประโยชน์ 20 ปี (วันที่ 19 ธันวาคม 2551 – 18 ธันวาคม 2571)



เซ็นทรัลจ่าย 1,387 ล้านให้การรถไฟฯ ค่าเช่าที่ “เซ็นทรัล ลาดพร้าว” ปี 67

ทั้งนี้ มีผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดล้านแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) แบ่งออกเป็นรายได้จากค่าเช่ารายปี 18,687,730,000 บาท และค่าผลประโยชน์ตอบแทนการได้สิทธิ์ 2,611,103,000 บาท โดยกำหนดชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ภายในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งจะต้องชำระให้แก่การรถไฟฯ เป็นรายปี รวมทั้งหมด 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา

สำหรับการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาให้สิทธิ์ใช้ประโยชน์ศูนย์การค้า บริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 2567 ครั้งนี้ เข้าสู่ปีที่ 16 ที่การรถไฟฯ จะได้รับจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด โดยคิดเป็นจำนวนเงิน 1,387,603,000 บาท (หนึ่งพันสามร้อยแปดสิบเจ็ดล้านหกแสนสามพันบาทถ้วน) ส่งผลให้นับตั้งแต่เริ่มสัญญาจนถึงปัจจุบัน ระหว่างปี 2551-2567 การรถไฟฯ ได้รับชำระค่าผลประโยชน์แล้วทั้งสิ้น 13,724,144,000 บาท (หนึ่งหมื่นสามพันเจ็ดร้อยยี่สิบสี่ล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันบาทถ้วน)
เซ็นทรัลฯควัก 1,387 ล้านบาท จ่ายค่าใช้ประโยชน์ที่ดินรถไฟย่านพหลโยธิน งวดปีที่ 16
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14:56 น.
ปรับปรุง: วันเสาร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14:56 น.


รฟท. รับชำระค่าเช่าการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน จาก เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนาฯ ประจำปี 2567 กว่า 1,387 ล้านบาท เข้าสู่งวดปีที่16 จากสัญญาเช่า 20 ปีซึ่งจะมีรายได้รวมกว่า 2.1หมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง รองผู้ว่าการไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้แทนการรถไฟฯ รับเช็คค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินประจำปี 2567 จาก นายปัณฑิต มงคลกุล ประธานกรรมการบริหารสายบัญชีการเงิน นายสุภรัฐ จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส เป็นผู้แทนจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นค่าใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ของการรถไฟฯ ในรอบระยะเวลา 1 ปี (วันที่ 19 ธันวาคม 2566 - 18 ธันวาคม 2567) เป็นเงิน 1,387,603,000 บาท ณ ห้องประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ ชั้น 2 ตึกบัญชาการรถไฟ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

ad

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การได้รับชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนครั้งนี้ เป็นไปตามที่การรถไฟฯ ได้ทำสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน จำนวนพื้นที่ 47.22 ไร่ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2551 ในกรอบระยะเวลาการใช้ประโยชน์ 20 ปี (วันที่ 19 ธันวาคม 2551 – 18 ธันวาคม 2571)

ทั้งนี้ มีผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดล้านแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) แบ่งออกเป็นรายได้จากค่าเช่ารายปี 18,687,730,000 บาท และค่าผลประโยชน์ตอบแทนการได้สิทธิ์ 2,611,103,000 บาท โดยกำหนดชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ภายในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งจะต้องชำระให้แก่การรถไฟฯ เป็นรายปี รวมทั้งหมด 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา

สำหรับการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ตามสัญญาให้สิทธิ์ใช้ประโยชน์ศูนย์การค้า บริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 2567 ครั้งนี้ เข้าสู่ปีที่ 16 ที่การรถไฟฯ จะได้รับจากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด โดยคิดเป็นจำนวนเงิน 1,387,603,000 บาท (หนึ่งพันสามร้อยแปดสิบเจ็ดล้านหกแสนสามพันบาทถ้วน) ส่งผลให้นับตั้งแต่เริ่มสัญญาจนถึงปัจจุบัน ระหว่างปี 2551-2567 การรถไฟฯ ได้รับชำระค่าผลประโยชน์แล้วทั้งสิ้น 13,724,144,000 บาท (หนึ่งหมื่นสามพันเจ็ดร้อยยี่สิบสี่ล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันบาทถ้วน)

ที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินงาน และการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ Core Business เป็นพื้นที่ย่านสถานี ที่ทำการ เขตทางรถไฟ และพื้นที่Non-Core Business ที่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ โดยในอนาคตการรถไฟฯ จะดำเนินการตามแผนงานที่จะนำพื้นที่ Non-Core Business มาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะดำเนินการออกจัดประโยชน์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับการรถไฟฯ ต่อไป


Last edited by Wisarut on 23/12/2023 4:02 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 195, 196, 197, 198, 199, 200  Next
Page 196 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©