Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43819
Location: NECTEC
Posted: 05/11/2007 10:40 am Post subject:
ที่ปรึกษาเคาะเซ็นทรัลจ่าย3หมื่นล. แลก"สัมปทานที่ดิน"ลาดพร้าว20 ปี
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3946 (3146)
เปิดผลศึกษาค่าเช่าที่ดิน 47 ไร่ ห้าง "เซ็นทรัล ลาดพร้าว" บริษัทที่ปรึกษา 2 รายประเมินมูลค่าทรัพย์สิน-ผลประโยชน์ตอบแทนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชง 3 ทางเลือก ต่อสัญญาให้อีก 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี ก่อนตั้งโต๊ะเจรจากับกลุ่มเซ็นทรัล ส่งอนุกรรมการตรวจสอบก่อนเสนอคณะกรรมการตาม ม.13 พ.ร.บ.ร่วมทุนชี้ขาดอีก 1 เดือน เผยแนวโน้มราคาใกล้เคียงค่าเช่าที่ห้าง มาบุญครองสัญญาเช่า 20 ปี มูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ว่าจ้างบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เอเจนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษา เพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผลประ โยชน์ตอบแทนของบริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด เจ้าของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว บนที่ดิน 47.22 ไร่ บริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา
ขณะนี้ครบ 60 วันตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว ล่าสุด บริษัทที่ปรึกษาทั้ง 2 บริษัท ได้จัดส่งรายงานผลการประเมินให้กับ ร.ฟ.ท. เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา
ขั้นตอนต่อจากนี้ไปคณะอนุกรรมการย่อยที่คณะกรรมการภายใต้มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการเข้าร่วมการงานของภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 จะตรวจสอบข้อมูลที่บริษัทที่ปรึกษาทั้ง 2 รายจัดทำรายละเอียดเสนอ พร้อมกับจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินราคาทรัพย์สิน ตลอดจนผลประโยชน์ตอบแทนที่ควรจะได้จากการปล่อยเช่าทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งกับผู้เช่ารายเดิมหรือเอกชนรายใหม่ จากนั้นจะเสนอข้อมูลทั้งหมดให้คณะกรรมการชุดใหญ่ภายใต้มาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนพิจารณาต่อไป คาดว่าจะทราบ ผลการพิจารณาอีกประมาณ 1 เดือนข้างหน้า
"ตอนนี้ถือได้ว่าเดินทางมาได้ครึ่งทางแล้ว เหลือเพียงรอให้คณะกรรมการตามมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนพิจารณาและชี้ขาด ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้ได้ข้อยุติ ก่อนจะครบกำหนดสัญญาเช่ากับกลุ่มเซ็นทรัลในวันที่ 18 ธันวาคม 2551"
รายงานข่าวว่าจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผลประโยชน์ตอบแทนของห้างเซ็นทรัล บริษัทที่ปรึกษาทั้ง 2 บริษัทได้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน คือ ประเมินจากรายได้ของบริษัทเซ็นทรัล เนื่องจากเป็นวิธีที่จะสะท้อนความสามารถของการสร้างรายได้จริงๆ โดยประเมินว่าทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะนี้จะสร้างรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท.เจ้าของทรัพย์สินได้เท่าใด และ ร.ฟ.ท.ควรจะมีผลประโยชน์ตอบแทนเป็นรายได้จำนวนเท่าใด ซึ่งในการประเมินจะต้องประเมินสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และพิจารณาสภาพแวดล้อมต่างๆ ประกอบด้วย
"จากข้อมูลของที่ปรึกษา ดูจากสมมติฐานในเบื้องต้น คาดว่าผลการประเมินราคาที่จะออกมาใกล้เคียงกับผลตอบแทนที่ห้างมาบุญครองจะจ่ายให้กับสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ต่อสัญญาเช่าที่ดินห้างมาบุญครองออกไปอีก 20 ปี คิดเป็นมูลค่ารวม 25,000 กว่าล้านบาท เพราะใช้กรณีนี้โมเดลในการประเมินและคำนวณรายได้และผลประโยชน์ตอบแทนในแบบเดียวกันกับของมาบุญครอง"
รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากนี้การเก็บข้อมูลของที่ปรึกษา ปรากฏว่าไม่ว่าจะเป็นกรณีห้างเซ็นทรัลหรือห้างมาบุญครอง ต่างก็มีรายละเอียดที่ใกล้เคียงกัน ทั้งขนาดพื้นที่ 3 แสน ตร.ม. ตัวสินค้า พื้นที่ที่มีทั้งศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน โรงหนัง ที่จอดรถ ราคาค่าเช่า อัตราการเจริญเติบโตของศูนย์การค้า อาจจะมีจุดดีจุดด้อยต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ทำเลที่ตั้ง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทำเลที่ตั้งของเซ็นทรัลจะด้อยกว่า แต่ในแง่ของแบรนด์เนมอาจถือได้ว่า แบรนด์ห้างเซ็นทรัลอาจจะเหนือกว่าห้างมาบุญครอง และต่อไปในอนาคตทำเลที่ตั้งของห้างเซ็นทรัลปัจจุบันจะมีการสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งสายสีแดง สีเขียว มีโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของ ร.ฟ.ท.ย่านพหลโยธิน ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเสริมให้ทำเลที่ตั้งห้างเซ็นทรัลมีศักยภาพสูงขึ้นไปอีก
"ข้อเสนอราคาจะออกมาเป็น 3 ทางเลือก ให้คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณา คือ 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี โดยจะพิจารณาจากข้อมูลทั้งหมดที่บริษัทที่ปรึกษาเสนอ ซึ่งดูแล้วใกล้เคียงกับของห้างมาบุญครอง โดยเฉพาะผลตอบแทนสัญญาเช่า 20 ปีที่ต้องจ่ายผลตอบแทน 25,000 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นสัญญา 30 ปี ตัวเลขราคาจะสูงกว่าของมาบุญครองระดับพันล้านบาท เพราะสัญญาเช่านานกว่า ถ้าเป็นสัญญาเช่า 10 ปี ตัวเลขจะน้อยกว่าผลตอบแทนที่ห้างมาบุญครองมากที่ให้กับจุฬาฯ"
รายงานข่าวแจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันเซ็นทรัลจะเน้นหนักดำเนินการในส่วนของศูนย์การค้ามาก กว่าทรัพย์สินส่วนอื่น อย่างโรงแรมและออฟฟิศ ที่ปัจจุบันค่อนข้างทรุดโทรมมาก ดังนั้นถ้าหากคณะกรรมการมีมติอนุมัติต่อสัญญากับเซ็นทรัลออกไป 10 ปี แล้วปีที่ 11 เปิดประมูลหาผู้เช่ารายใหม่ ทาง ร.ฟ.ท.คงจะได้ผลตอบแทนไม่มากนัก เพราะทางผู้เช่าเดิมคือเซ็นทรัลคงจะไม่ลงทุนปรับปรุงทรัพย์สินต่างๆ
"มีความเป็นไปได้สูงว่าจะมีการพิจารณาแค่ช่วง 20 ปี กับ 30 ปี เพราะช่วง 10 ปีถือว่าสั้นไป ทำอะไรไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าผลการเจรจากับทางเซ็นทรัลควรจะออกมายังไง"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายเรียงศักดิ์ แข็งขัน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟฯ ได้เคยเรียกร้องให้การรถไฟฯเปิดประกวดราคาใหม่ เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เพราะการ ต่อสัญญาสัมปทานให้กับเอกชนรายเดิม ผลประโยชน์ของชาติจะไม่ได้มากเท่าที่ควร
รายงานข่าวแจ้งว่า พื้นที่ของเซ็นทรัลมีทั้งหมด 303,386.39 ตร.ม. แบ่งเป็นอาคารโรงแรมและอาคารประกอบ ร้านอาหารสวนบัว 58,632 ตร.ม. อาคารศูนย์การค้า เป็นอาคารสูง 5 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดิน 1 ชั้น พื้นที่ 69,374.39 ตร.ม. พื้นที่เช่ารวม 53,318.82 ตร.ม. แยกเป็นผู้ค่าย่อย 35,448.77 ตร.ม. ผู้ค้ารายใหญ่ 17,870 ตร.ม. อาคารสำนักงานเป็นอาคารสูง 10 ชั้น ไม่รวมพื้นที่ค้าปลีก 5 ชั้นแรก 23,365 ตร.ม. อาคารสรรพสินค้าเป็นอาคารสูง 6 ชั้น 56,497 ตร.ม. เป็นพื้นที่ขายของห้าง 21,066.72 ตร.ม. พื้นที่ให้เช่าผู้ค้าปลีกและพื้นที่ส่วนกลาง 35,430.28 ตร.ม. อาคารจอดรถเป็นอาคารสูง 6 ชั้น 95,518 ตร.ม. จอดรถได้ 3,084 คัน
อนึ่ง สำหรับรายได้ค่าเช่าเดิมระหว่างเซ็นทรัล และ ร.ฟ.ท. รวมระยะเวลา 30 ปี ทางเซ็นทรัลจ่ายค่าเช่าให้กับ ร.ฟ.ท.รวมทั้งหมด 16 ล้านบาท เฉลี่ยค่าเช่าปีละ 3 ล้านบาท โดยในสัญญาที่ทำไว้เมื่อ ปี 2521 ระบุไว้ว่า ค่าเช่าปีละ 3 ล้านบาท โดยเงื่อนไขการจ่ายค่าเช่า ปีแรกจะยกเว้นค่าเช่า ปีที่ 2 จ่ายค่าเช่า 25% ของค่าเช่ารายปี ปีที่ 3 จ่ายค่าเช่า 50% ของค่าเช่ารายปี ปีที่ 4 จ่ายค่าเช่า 100% ของค่าเช่ารายปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ปรับเพิ่มปีละ 5% จนครบอายุสัญญา มีเงินประกัน 3 ล้านบาท จ่ายคืนเมื่อสิ้นสุดสัญญา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43819
Location: NECTEC
Posted: 16/11/2007 10:57 am Post subject:
ร.ฟ.ท.ชงตั้งบ.ลูกพัฒนาที่ดิน +เตรียมควัก 60 ล. ประเดิมทุน/คาดปั๊มเงินโครงการนำร่องได้ 16,938 ล้าน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2270 15 พ.ย. - 17 พ.ย. 2550
บอร์ดการรถไฟฯ ไฟเขียวแผนจัดตั้งบริษัทลูกบริหารที่ดิน เตรียมควักกระเป๋าตัวเอง 60 ล้านเป็นทุนจดทะเบียน แบ่งแผนพัฒนาเป็น 3 ระยะ เล็งดึงที่ดินย่านพหลโยธิน-สถานีแม่น้ำ-มักกะสัน ปั้นเป็นโครงการนำร่อง คาดจะมีรายได้จากการพัฒนาที่ทั้ง 3 แปลงทันที 16,938 ล้านบาท ใหญ่ หวังนำมาใช้แก้ปัญหาภาระบำเหน็จบำนาญ เร่งชงครม.ขออนุมัติแผนภายในเดือนนี้
แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีนายศิวะ แสงมณี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้การรถไฟฯ ดำเนินการจัดตั้งบริษัท รฟท พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด แล้ว ซึ่งการรถไฟฯ จะเร่งสรุปรายละเอียดรายงานนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา เพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้
โดยการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารสินทรัพย์การรถไฟฯ นี้ ทำได้โดยการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มีการรถไฟฯ เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยจะมีทุนจดทะเบียนที่ 60 ล้านบาท และสามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อการลงทุนในอนาคตได้ด้วยหากมีความจำเป็น ซึ่งเงินทุนในการจด ทะเบียนจะนำมาจากเงินรายได้ของการรถไฟฯ
แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวต่อว่า บริษัทลูกที่จัดตั้งขึ้น จะมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในโครงการต่างๆ การหาผู้ลงทุนเพิ่มเติม การคิดผลตอบแทนจากการลงทุนโครงการต่างๆ โดยต้องส่งข้อมูลเพื่อให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินเป็นผู้พิจารณา รวมถึงเป็นผู้บริหารจัดการลูกค้าจนกว่าจะหมดอายุสัญญา โดยที่ผู้เช่าจะเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับการรถไฟฯ ซึ่งรายได้ที่ได้จากการบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวจะต้องนำส่งให้การรถไฟฯ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาภาระบำเหน็จบำนาญ และปัญหาทางการเงินของการรถไฟฯ
ส่วนขอบเขตการบริหารงานของบริษัท รฟท พัฒนาสินทรัพย์ คือ จะเป็นผู้บริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์นอกเขตการเดินรถ และบริการขนส่งโดยสารทั้งหมดทั่วประเทศของการรถไฟฯ แต่หากเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเขตการเดินรถ และอาจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบราง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรถไฟฯ เสียก่อนจึงจะดำเนินการได้
สำหรับแผนงานในการบริหารสินทรัพย์นั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะสั้น 1-3 ปี จะเป็นแผนการพัฒนาในพื้นที่โครงการนำร่อง คือ พื้นที่พหลโยธิน ซึ่งตรงนี้จะไม่รวมพื้นที่สถานีบางซ่อนที่อยู่ในแผนการพัฒนาของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และพื้นที่บริเวณสถานีแม่น้ำ (ช่องนนทรี) และพื้นที่สถานีมักกะสัน
โดยพื้นที่บริเวณพหลโยธินนั้น มีที่ดินรวม 23 แปลง มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,325 ไร่ แต่เมื่อหักพื้นที่ที่มีข้อจำกัดออกจำนวน 765 ไร่ และพื้นที่ใช้ในการพัฒนาเป็นสาธารณูปโภคประมาณ 468 ไร่ จะเหลือพื้นที่ใช้สอยที่นำมาพัฒนาได้ประมาณ 1,092 ไร่ ส่วนพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ (ช่องนนทรี) มีเนื้อที่รวมประมาณ 277 ไร่ เมื่อหักพื้นที่ใช้พัฒนาระบบสาธารณูปโภคประมาณ 83 ไร่ จะเหลือพื้นที่ใช้สอยที่พัฒนาได้ประมาณ 194 ไร่ และสำหรับที่ดินย่านมักกะสันจะมีเนื้อที่ที่พัฒนาได้ประมาณ 745 ไร่ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ ห้างสรรสินค้า อาคารสำนักงานให้เช่าได้
จากนั้นในระยะกลาง 2-5 ปี จะเป็นการพัฒนาสินทรัพย์ของการรถไฟฯ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมถึงสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในต่างจังหวัดด้วย และแผนระยะยาว 5-10 ปี บริษัทลูกจะต้องดำเนินการพัฒนาสินทรัพย์ของการรถไฟฯ ที่มีอยู่ทั้งหมดทั่วประเทศ
สำหรับแนวทางการนำพื้นที่ไปสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น บริษัทลูกสามารถทำได้ทั้งวิธีการเก็บค่าเช่าในส่วนที่ยังมีสัญญาผูกพันอยู่ได้ หรือจะพิจารณาปรับเปลี่ยนสัญญาการเช่าเพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมก็ได้ ส่วนพื้นที่ที่เป็นที่ดินว่างเปล่า บริษัทลูกสามารถที่จะเช่าที่ดินต่อจากการรถไฟฯ เพื่อนำไปพัฒนาและเปิดให้รายอื่นมาเช่าช่วงการพัฒนาต่อได้ หรือจะหาเอกชนมาประมูล หรือเช่าที่ดินต่อจากการรถไฟฯ โดยตรงเลยก็ได้ โดยมีสิทธิให้เช่าที่ได้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี
ทั้งนี้ หากบริษัทลูกดำเนินการบริหารจัดการที่ดินในโครงการนำร่องตามรูปแบบที่การรถไฟฯ กำหนดให้ในเบื้องต้นแล้ว จะทำให้การรถไฟฯ ได้รับผลตอบแทนจาก 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ผลตอบแทนที่การรถไฟฯ จะได้จากการให้บริษัทลูกเช่าที่ดิน ซึ่งประกอบด้วยค่าเช่าที่ดิน ค่าธรรมเนียมการจัดสรรประโยชน์ และค่าธรรมเนียมจากการที่บริษัทลูกนำไปเช่าช่วงต่อ และส่วนที่ 2 คือผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล รวมเป็นผลตอบแทนขั้นต่ำที่จะได้รับทั้งสิ้น คือ 16,938 ล้านบาท แหล่งข่าวกล่าว
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43819
Location: NECTEC
Posted: 11/12/2007 11:11 am Post subject:
รฟท.แนะเซ็นทรัลเร่งสรุปการต่อสัญญาเช่าที่ดินให้เสร็จทันรัฐบาลนี้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 ธันวาคม 2550 19:43 น.
นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือนนี้บริษัทที่ปรึกษาจะสามารถสรุปเรื่องอัตราค่าเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน หรือบริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว เพื่อนำไปเจรจากับกลุ่มบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ในฐานะผู้เช่ารายได้ และมีสิทธิ์ได้รับการต่อสัญญารายแรก โดยเบื้องต้นมูลค่าผลตอบแทนจะต้องสูงกว่าอัตราเดิมถึง 10 เท่า นายอารักษ์ มองว่ากลุ่มเซ็นทรัลควรรีบต่อรองราคาโดยเร็วที่สุด เพื่อให้การต่อสัญญาเสร็จสิ้นในรัฐบาลชุดนี้ เพราะว่าที่ผ่านมามีกลุ่มการเมืองพยายามยื่นมือเข้ามาแทรกแซงหลายครั้ง แต่หากกลุ่มเซ็นทรัลไม่เช่าที่ดินต่อ ก็จะนำราคาที่ได้ไปเปิดประมูลให้ผู้สนใจทั่วไป
นายอารักษ์ ยืนยันด้วยว่า อัตราค่าตอบแทนที่กำหนดออกมาจะเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยทีมที่ปรึกษาเป็นชุดเดียวกับที่กำหนดค่าเช่าพื้นที่ บริเวณห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และพื้นที่สยามสแควร์ ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขณะนี้การรถไฟฯ อยู่ในระหว่างการจัดตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินให้เสร็จภายใน 1 - 2 ปี เพื่อดูแลการให้เช่าที่ดินทั่วประเทศ โดยมีแผนจะเพิ่มรายได้จากการเช่าที่ดิน จากปัจจุบันที่มีรายได้ปีละ 800 - 1,000 ล้านบาท เป็น 2,000 - 3,000 ล้านบาทต่อปี
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43819
Location: NECTEC
Posted: 25/12/2007 11:59 am Post subject:
ธีระเผยงานเร่งด่วนบอร์ดใหม่ร.ฟ.ท. ยุติสัญญาเซ็นทรัล-แอร์พอร์ตลิงค์
โดย ผู้จัดการรายวัน 25 ธันวาคม 2550 09:33 น.
ผู้จัดการรายวัน-"ธีระ"ห่วงปัญหาที่ดินเซ็นทรัล เร่งบอร์ดร.ฟ.ท.ชุดใหม่ สรุปความชัดเจนและการขยายเวลาก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์ เผยอัยการสูงสุดพิจารณาข้อสังเกตการใช้สิทธิ์ต่อสัญญาของเซ็นทรัลเสร็จแล้ว ด้านกรรมการมาตรา13 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ นัดถกกรอบสัปดาห์นี้ เดินหน้าเจรจา ตามสัญญาคาดได้ข้อยุติ ใน 1 เดือน
พลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า เรื่องเร่งด่วนที่คณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ชุดใหม่ที่มี พล.ต.อ.ชาญวุฒิ วัชรพุกภ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานและผู้บริหาร ร.ฟ.ท. ควรเร่งหาข้อสรุปที่ชัดเจน ในขณะนี้คือ แนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาฯที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน (เซ็นทรัล) เนื่องจากเหลือเวลาในการดำเนินการประมาณ 1 ปีก่อนที่สัญญาของบริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด จะครบกำหนดในเดือนธ.ค. 2551 และเพื่อทำให้เกิดความชัดเจนในข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งอยู่ระหว่างรอคำตอบจากอัยการสูงสุด ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสัญญา เพื่อยืนยันว่า แนวทางการเจรจากับ เซ็นทรัล นั้นทำได้หรือไม่
นอกจากนี้รมว.คมนาคมยังเห็นว่า บอร์ดร.ฟ.ท.จะต้องเร่งพิจารณาการขยายระยะเวลาก่อสร้างโครงการก่อสร้างระบบทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ตลิงค์) ให้กับผู้รับเหมาคือ บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่นจำกัด(มหาชน) จำนวน 370 วัน เพื่อทำสัญญาแนบท้ายให้เรียบร้อย โดยเห็นว่าทั้ง 2 เรื่องควรจะได้ข้อสรุปก่อนรัฐบาลนี้จะหมดหน้าที่
นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท.และในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตามมาตรา 13 ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 กล่าวว่า จากที่ร.ฟ.ท.ได้ทำหนังสือไปยังอัยการสูงสุดเพื่อหารือตามที่คณะกรรมาธิการคมนาคมตั้งข้อสังเกตุกรณีที่เซ็นทรัลได้เคยทำหนังสือขอต่อสัญญาเข้ามาช่วงปี 2544 ซึ่งบอร์ดร.ฟ.ท.ขณะนั้นที่มี นายสมภพ อมาตยกุล เป็นประธานไม่มีการพิจารณาโดยเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาต่อสัญญา ว่ากรณีดังกล่าวถือว่าเซ็นทรับใช้สิทธิ์ในการต่อสัญญาไปแล้วหรือไม่ ซึ่งทราบว่า อัยการได้วินิจฉัยเสร็จแล้วอยู่ระหว่างขั้นตอนการตอบกลับมาเป็นทางการ
นายอิทธิพลกล่าวว่า ในกระบวนการเจรจากับเซ็นทรัลตามที่สัญญากำหนด ยังคงเดินหน้าต่อไป โดยคณะกรรมการตามมาตรา 13 จะมีการประชุมในสัปดาห์นี้ เพื่อกำหนดกรอบและหัวข้อในการเจรจากับเซ็นทรัล เช่น ระยะเวลาในการทำสัญญาใหม่ ซึ่งสัญญาเดิมระบุให้ทำได้ครั้งละไม่น้อยกว่า 10 ปีและเลือกอัตราค่าเช่าและผลตอบแทนที่เหมาะสมจากผลการประเมินของบริษัทที่ปรึกษา ที่เหมาะสมและให้ประโยชน์กับร.ฟ.ท.มากที่สุด
"ร.ฟ.ท.จ้างที่ปรึกษา 2 รายศึกษาอัตราค่าเช่าที่ดินและทรัพย์สิน บริเวณเซ็นทรัลใหม่ ซึ่งศึกษากรอบทั้งแบบสัญญาระยะ 10 ปี ,20ปี 30 ปี และอัตราที่จะปรับเพิ่มในแต่ละปีตามสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและการคากคารณ์ในอนาคต ซึ่งจะทำให้ร.ฟ.ท.ได้รับผลตอบแทนมากกว่าหลายเท่า โดยหลังคณะกรรมการตามมาตรา 13 สรุปกรอบการเจรจาจะเริ่มขั้นตอนการเจรจากับเซ็นทรัลได้ทันทีและคาดว่าจะได้ข้อยุติภายใน 1 เดือน เพื่อให้มีเวลาเหลือสำหรับการเปิดประมูลใหม่กรณีที่การเจรจาตกลงกันไม่ได้ ซึ่งเป็นไปตาม สัญญาและพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ "นายอิทธิพลกล่าว
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43819
Location: NECTEC
Posted: 06/01/2008 11:37 pm Post subject:
การรถไฟฯเร่งต่อสัญญาที่ดินเซ็นทรัล
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2285 06 ม.ค. - 09 ม.ค. 2551
การรถไฟฯ เร่งสปีดเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินเซ็นทรัลฯ เตรียมประชุมคณะกรรมการมาตรา 13 ตาม พรบ.ร่วมทุน สัปดาห์หน้า เตรียมสรุประยะเวลา-ตัวเลขผลตอบแทน-รูปแบบการเจราจรต่อรองให้ชัด เผยระยะเวลาให้เช่า 20 กับ 30 ปีเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ยอมรับผลการเจรจาจะได้ค่าตอบแทนต่ำกว่ากรณีจุฬา-มาบุญครอง 10-15% เหตุพื้นที่ใช้สอยต่างกัน คาดเริ่มถกเซ็นทรัลได้ภายในเดือนนี้
แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้ากรณีการเตรียมการเจรจาต่อสัญญากับบริษัทเซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ในการเช่าที่ดินเพื่อพัฒนาที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประมาณ 47.22 ไร่ ว่า ขณะนี้ บริษัท ที่ปรึกษาทั้ง 2 ราย คือ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ จำกัด ได้ทำการสำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และโรงแรมโซฟีเทล เซ็นทารา พร้อมทั้งได้ส่งข้อมูลการประเมินผลตอบแทนตามที่การรถไฟฯ กำหนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
โดยขั้นตอนต่อไป การรถไฟฯ จะเสนอเรื่องให้คณะกรรมการมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ที่มีนายนคร จันทศร รองผู้ว่าการการรถไฟฯ เป็นประธานพิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมภายในสัปดาห์หน้า
สำหรับประเด็นที่จะเสนอให้คณะกรรมการมาตรา 13 ฯ พิจารณา จะมี 2-3 ประเด็นที่สำคัญที่จะต้องพิจารณา ประเด็นแรกที่ต้องพิจารณาและตัดสินใจคือ จะต้องดูผลการศึกษาเปรียบเทียบของบริษัทที่ปรึกษาทั้ง 2 ราย ว่าจะเลือกใช้ผลการศึกษาของรายใดเป็นข้อมูลหลักที่จะใช้อ้างอิงในการเจรจาต่อรองราคากับเซ็นทรัล
นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเลือกด้วยว่า จะใช้แนวทางเลือกผลตอบแทนแนวทางใดในการเจรจาต่อรอง ระหว่างระยะเวลา 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี เนื่องจากแต่ละช่วงเวลาก็จะมีผลตอบแทน และข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งในเบื้องต้นจากการพิจารณาข้อสรุปของบริษัทที่ปรึกษาทั้ง 2 ราย สรุปภาพรวมได้ว่าแนวทางเลือกของช่วงเวลา 20 ปี และ 30 ปี จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
เนื่องจากว่าแนวทางเลือกช่วงระยะเวลา 10 ปีนั้น แม้จะมีข้อดีที่จะได้รับผลตอบแทนเร็วและสูงกว่าการให้เช่าในระยะ 20 ปี อยู่ประมาณ 25% แต่ด้วยระยะเวลาที่สั้นเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้นอาจจะทำให้เอกชนที่เป็นผู้เช่า ไม่มุ้งเน้นการพัฒนาอาคารมากนัก ไม่ต้องกังวลในเรื่องของความเสื่อมโทรมของอาคาร แต่จะเน้นไปที่การสร้างรายได้เพื่อให้คุ้มทุน ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อทรัพย์สิน คือตัวอาคารห้างสรรพสินค้า แลโรงแรมที่จะตกเป็นของการรถไฟฯ หลังจากหมดสัญญาการเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินกับเซ็นทรัลที่จะหมดลงปลายปี 51 นี้
ส่วนช่วงเวลา 20 ปี แม้อัตราผลตอบแทนจะดูต่ำกว่าช่วงเวลา 10 ปี แต่ด้วยระยะเวลาที่มีมากขึ้น แม้จะมีเรื่องของความเสื่อมของอาคารด้วย แต่ก็จะทำให้เอกชนที่ได้รับสิทธิในการเช่าที่ดินและอาคารต่อ จะมีเวลาทั้งการสร้างรายได้ และพัฒนารวมถึงบำรุงรักษาอาคารให้อยู่ในสภาพดี และใหม่เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้า ขณะที่ระยะเวลา 30 ปีนั้นอัตราผลตอบแทนที่ได้คาดว่าจะต่ำกว่าช่วงเวลา 20 ปี อยู่ประมาณ 15% เนื่องจากช่วงเวลา 30 ปี แม้จะมีระยะเวลาให้บริการพื้นที่สร้างรายได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอาคารมากขึ้นด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การเจราจรต่อสัญญากับเซ็นทรัล จะไม่ได้ผลตอแทบเท่ากับหรือมากกว่า กรณีการเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับศูนย์การค้ามาบุญครองอย่างแน่นอน ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าผลตอบแทนที่ได้รับอาจจะต่ำกว่า 10-15% ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่การใช้สอยของศูนย์การค้ามาบุญครอง กับเซ็นทรัลแตกต่างกัน แม้ว่าที่ดินของการรถไฟฯ จะมีมากกว่าคือ 47.22 ไร่ แต่การใช้ประโยชน์พื้นที่นั้นไม่เต็มที่ ยังมีพื้นที่ว่างอยู่มาก ซึ่งไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นผลตอบแทนได้ ขณะที่ของมาบุญครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่า ของที่ดินทั้งหมด 23 ไร่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ในการต่อสัญญาเพิ่มเติมออกไป 20 ปีจุฬาฯ จึงได้ผลตอบแทนรวมสูงถึง 25,310 ล้านบาท
อีกประเด็นที่สำคัญที่จะต้องพิจารณา คือจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบที่จะเจรจาต่อรองราคากับเซ็นทรัล ซึ่งมีอยู่ 2 ทางเลือก
1. ทางเลือกแรกคือให้การรถไฟฯ ส่งหนังสือแจ้งให้เซ็นทรัล ทราบถึงอัตราค่าตอบแทนการเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงระยะเวลาที่จะให้เช่าด้วยว่าอยู่ในอัตราที่เท่าใด และระยะเวลาเท่าใด ซึ่งจะเป็นการแจ้งข้อมูลแบบกำหนดตัวเลขชัดเจนให้ทางเซ็นทรัลพิจารณาว่าจะยอมรับเงื่อนไขระยะเวลาในการให้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงจะยอมรับอัตราผลตอบแทนที่การรถไฟฯ เสนอเรียกเก็บตลอดระยะเวลาการเช่า หรือไม่ หากทางเซ็นทรัลยอมรับตามเงื่อนไขที่การรถไฟฯ เสนอไป ก็จะสามารถทำข้อตกลงและลงนามในสัญญาเพื่อขยายระยะเวลาของสัญญาเช่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างร่วมกันได้เลย แต่หากทางเซ็นทรัลไม่ยอมรับในเงื่อนไขที่การรถไฟฯ เสนอ ก็ต้องยกเลิกการเจรจา และเปิดประมูลหาเอกชนรายใหม่มาเช่าแทนต่อไป
2. ส่วนแนวทางที่ 2 คือ การตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อให้เป็นคนกลางในการเข้าไปเจรจาต่อรองราคากับทางเซ็นทรัล ซึ่งคาดว่าแนวทางที่ 2 นี้จะเป็นทางเลือกที่ดี เพราะสามารถเจรจาต่อรอง หารือ และแลกเปลี่ยนข้อเสนอกับเซ็นทรัล เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ดีและเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อทั้ง 2 ฝ่ายได้มากที่สุด ทั้งนี้จะเร่งเข้าไปเจรจาให้ได้ภายในเดือนมกราคมนี้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนโดยเร็ว
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43819
Location: NECTEC
Posted: 18/02/2008 12:52 pm Post subject:
เซ็นทรัลฯ สมปราถนาแล้ว รฟท.เร่งต่อสัญญาเช่า 20 ปี รับเละ 2 หมื่นล.สัปดาห์นี้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 กุมภาพันธ์ 2551 12:03 น.
รฟท.เร่งปิดดีลเซ็นทรัลฯ ต่อสัญเช่าที่ดินลาดพร้าวอีก 20 ปี ผลตอบแทนรวม 2 หมื่นล้าน คาดผ่านฉลุยภายในสัปดาห์นี้ ผู้บริหารฯ ชมเปาะเงื่อนไขใหม่เหมาะสม-ผลประโยชน์ลงตัว พร้อมเสนอทางเลือก 30 ปี พร้อมเงื่อนไขสุดคุ้ม
วันนี้(18 ก.พ.) นายนคร จันทรสร รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ รฟท.ได้ต่อสัญาญาเช่าที่ดินบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน) หรือ CPN ซึ่งเปิดดำเนินการธุรกิจห้างสรรสินค้า เซ็นทรัล ลาดพร้าว และกำลังจะหมดสัญญาในปี 2551 นี้ โดยระบุว่า ตนเองในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) ตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ได้ส่งหนังสือเร่งรัดให้กลุ่มเซ็นทรัลฯ ในฐานะคู่สัญญา รีบเข้ามายื่นข้อเสนอเข้ามาเจรจาต่อรองในการต่อสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว ภายใน 7 วัน ตามมติบอร์ดฯ
"คงต้องมีหนังสือเราก็จะบอกเขาไปว่าให้ยื่นอะไรบ้าง ทั้งเรื่องของอายุสัญญา และอัตราค่าเช่า ซึ่งหลังจากนี้ เราก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาฯ ภายในสัปดาห์นี้ โดยมีข้อเสนอ 2 ข้อคือต่อสัญญา 20 ปีและ 30 ปี และคิดว่าเรื่องนี้ ควรจะจบโดยเร็ว เพราะสัญญาก็จะหมดสิ้นปีนี้แล้ว ยังไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาในการเจรจา"
สำหรับข้อมูลเบื้องต้น ร.ฟ.ท.ระบุว่า การต่อสัญญาสัมปทานอีก 20 ปีมีความเหมาะสมเพราะร.ฟ.ท.จะได้รับประโยชน์สูงสุดรวมค่าเช่าและดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท แต่การที่เสนอให้ CPN พิจารณา 2 รูปแบบ เพราะต้องการให้เอกชนมีทางเลือกหรือเสนอผลประโยชน์ที่น่าสนในมาให้ร.ฟ.ท.พิจารณา
ทั้งนี้ ประเด็นการต่อสัญญาถึง 30 ปี หลายคนอาจคิดว่า รฟท.น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะค่าเช่ากับดอกเบี้ยต้องเพิ่มตามระยะเวลา แต่เอาเข้าจริงพอมารวมเป็นมูลค่าปัจจุบัน รฟท.จะได้ประโยชน์น้อยลงเราจึงอยากต่อสัญญาแค่ 20 ปี เพราะได้ประโยชน์มากกว่ารวมค่าเช่ากับดอกเบี้ยก็ราว 20,000 กว่าล้านบาท แล้วพอครบ 20 ปีค่อยมาคุยกันใหม่ ผลประโยชน์ค่าตอบแทนต่างๆ จะมากขึ้นด้วย แต่เราก็เสนอให้เซ็นทรัลลองดูทั้ง 2 แบบเผื่อเขาอยากต่อสัญญา 30 ปี และมีข้อเสนอที่ดีให้ ร.ฟ.ท.พิจารณา
ส่วนขั้นตอนหลังจากส่งร่างสัญญาสัมปทานทั้ง 2 รูปแบแล้ว CPN จะตอบกลับมาภายใน 7 วันมั่นใจว่า CPN มีความพร้อม เพราะจ้างที่ปรึกษาให้ศึกษากรณีดังกล่าวมาพอสมควรเช่นกัน อย่างไรก็ตามหาก CPN เสนอผลตอบแทนกลับมาน้อยกว่าที่ ร.ฟ.ท.เสนอไป ก็จะต้องดำเนินการเจรจาอีกครั้ง โดยคาดว่าใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
ผู้บริหาร รฟท.เชื่อว่า เซ็นทรัลจะต้อรีบตอบกลับมาภายใน 7 วัน แน่นอน หลังจากที่ รฟท.ได้ส่งร่างสัญญาไปให้ดู ซึ่งถ้าตกลงตามเงื่อนไขของ รฟท. หรือให้ผลประโยชน์มากกว่าที่เราเสนอไป รฟท.ก็พร้อมจะทำสัญญารอบใหม่ทันที โดยมีคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมาตร 13 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุน เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ แต่ถ้าหากตอบกลับมาต่ำกว่า คณะทำงานที่ รฟท.ตั้งขึ้น ก็ต้องขอเจรจากับเซ็นทรัลอีกรอบ คิดว่าคงใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนน่าจะได้ข้อยุติ
สัญญาสัมปทานเช่าที่ดินพหลโยธินเดิมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2521ซึ่งอยู่ในสมัยของนายสง่า นาวีเจริญ เป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.และจะหมดอายุสัญญาวันที่ 18 ธ.ค.2551 รวมเวลา 30 ปี พื้นที่ 47.22 ไร่ หรือ 75,558.65 ตารางวา โดยกำหนดว่าเซ็นทรัลต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ให้ร.ฟ.ท.16 ล้านบาทค่าเช่าปีละ 3 ล้านบาท โดยปีแรกนับแต่วันลงนาม ร.ฟ.ท.จะไม่คิดค่าเช่าที่ดิน หลังจากนั้นตั้งแต่ปีที่ 2 , 3 และ 4 เซ็นทรัล ต้องชำระค่าเช่าอัตรา 25% , 50% และ 100% ตามลำดับของอัตราค่าเช่าที่ดิน และนับตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป เซ็นทรัลต้องจ่ายค่าเช่าที่ดิน เพิ่มขึ้นอัตโนมัติในอัตรา 5% ต่อปีของค่าเช่าครั้งสุดท้าย ณ วันครบรอบปีต่อไป จนกว่าจะหมดสัญญาเช่าในวันที่ 18 ธ.ค.2551 และเมื่อครบกำหนดแล้ว อาคาร ,สิ่งก่อสร้าง และระบบต่างๆที่ใช้ในกิจการของโครงการทั้งหมด ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของร.ฟ.ท.
ขณะที่ก่อนหน้านี้ รฟท.เคยระบุว่า การต่อสัญญากับ CPN ดังกล่าวได้ยึดรูปแบบการต่อสัญญาสัมปทานเช่าทรัพย์สินและที่ดินระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ ล่าสุดจุฬาฯ ตกลงต่ออายุสัญญาให้อีก 20 ปี เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.2556 - เม.ย.2576 มูลค่าโครงการรวม 25,310 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินงวดแรก สำหรับค่าตอบแทนของการได้สิทธิการทำสัญญาก่อนรายอื่น 2,450 ล้านบาท ส่วนค่าเช่าจะแบ่งชำระ 20 งวด พร้อมดอกเบี้ยอีก 6% คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 22,860 ล้านบาทจากเดิมที่จุฬาฯทำสัญญาสัมปทานกับมาบุญครอง 30 ปี มูลค่าโครงการรวม 885 ล้านบาท
ทั้งนี้ รฟท. ได้มีแนวทางการเจรจา จากการบริษัทที่ปรึกษาที่ได้ประเมินราคาที่ดินและทรัพย์สินไว้
อนึ่ง CPN ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ได้เคยแจ้งความประสงค์จะขอเช่าทรัพย์สินตามโครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว บริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน เพื่อประกอบกิจการต่อไป ซึ่งสัญญาปัจจุบันมีอายุ 30 ปี ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และโรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล
// ----------------------------------------------------------------------------------
ขออย่าให้มีมหกรรมวางเพลิง ก็แล้วกัน
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43819
Location: NECTEC
Posted: 19/02/2008 10:52 am Post subject:
ขอเซ็นทรัล2หมื่นล.เช่าที่ลาดพร้าว รฟท.ขีดเส้น7วันรอคำตอบเชื่อฉลุย
ไทยโพสต์ 19 กุมภาพันธ์ 2551 กองบรรณาธิการ
รฟท.เร่งปิดดีลเซ็นทรัลฯ ต่อสัญเช่าที่ดินลาดพร้าวอีก 20 ปี ผลตอบแทนรวม 2 หมื่นล้าน คาดผ่านฉลุยภายในสัปดาห์นี้ ผู้บริหารฯ ชมเปาะ เงื่อนไขใหม่เหมาะสม-ผลประโยชน์ลงตัว
นายนคร จันทศร รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ ร.ฟ.ท.ได้ต่อสัญญาเช่าที่ดินบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ซึ่งเปิดดำเนินการธุรกิจห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว และกำลังจะหมดสัญญาในปี 2551 นี้ว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ตามมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ได้ส่งหนังสือเร่งรัดให้กลุ่มเซ็นทรัลฯ ในฐานะคู่สัญญา รีบเข้ามายื่นข้อเสนอเข้ามาเจรจาต่อรองในการต่อสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว ภายใน 7 วัน ตามมติบอร์ดฯ
"คงต้องมีหนังสือ เราก็จะบอกเขาไปว่าให้ยื่นอะไรบ้าง ทั้งเรื่องของอายุสัญญา และอัตราค่าเช่า ซึ่งหลังจากนี้เราก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาฯ ภายในสัปดาห์นี้ โดยมีข้อเสนอ 2 ข้อคือต่อสัญญา 20 ปี และ 30 ปี และคิดว่าเรื่องนี้ควรจะจบโดยเร็ว เพราะสัญญาก็จะหมดสิ้นปีนี้แล้ว ยังไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาในการเจรจา" นายนครกล่าว
สำหรับข้อมูลเบื้องต้น ร.ฟ.ท.ระบุว่า การต่อสัญญาสัมปทานอีก 20 ปีมีความเหมาะสม เพราะ ร.ฟ.ท.จะได้รับประโยชน์สูงสุดรวมค่าเช่าและดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา เป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท แต่การที่เสนอให้ CPN พิจารณา 2 รูปแบบ เพราะต้องการให้เอกชนมีทางเลือกหรือเสนอผลประโยชน์ที่น่าสนในมาให้ ร.ฟ.ท.พิจารณา
ทั้งนี้ ประเด็นการต่อสัญญาถึง 30 ปี หลายคนอาจคิดว่า ร.ฟ.ท.น่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเพราะค่าเช่ากับดอกเบี้ยต้องเพิ่มตามระยะเวลา แต่เอาเข้าจริงพอมารวมเป็นมูลค่าปัจจุบัน ร.ฟ.ท.จะได้ประโยชน์น้อยลง เราจึงอยากต่อสัญญาแค่ 20 ปี เพราะได้ประโยชน์มากกว่า รวมค่าเช่ากับดอกเบี้ยก็ราว 20,000 กว่าล้านบาท แล้วพอครบ 20 ปีค่อยมาคุยกันใหม่ ผลประโยชน์ค่าตอบแทนต่างๆ จะมากขึ้นด้วย แต่เราก็เสนอให้เซ็นทรัลลองดูทั้ง 2 แบบ เผื่อเขาอยากต่อสัญญา 30 ปี และมีข้อเสนอที่ดีให้ ร.ฟ.ท.พิจารณา
ส่วนขั้นตอนหลังจากส่งร่างสัญญาสัมปทานทั้ง 2 รูปแบบ แล้ว CPN จะตอบกลับมาภายใน 7 วัน มั่นใจว่า CPN มีความพร้อม เพราะจ้างที่ปรึกษาให้ศึกษากรณีดังกล่าวมาพอสมควรเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หาก CPN เสนอผลตอบแทนกลับมาน้อยกว่าที่ ร.ฟ.ท.เสนอไป ก็จะต้องดำเนินการเจรจาอีกครั้ง โดยคาดว่าใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
"ผู้บริหาร ร.ฟ.ท.เชื่อว่าเซ็นทรัลจะต้องรีบตอบกลับมาภายใน 7 วันแน่นอน หลังจากที่ ร.ฟ.ท.ได้ส่งร่างสัญญาไปให้ดู ซึ่งถ้าตกลงตามเงื่อนไขของ ร.ฟ.ท.หรือให้ผลประโยชน์มากกว่าที่เราเสนอไป ร.ฟ.ท.ก็พร้อมจะทำสัญญารอบใหม่ทันที แต่ถ้าหากตอบกลับมาต่ำกว่าคณะทำงานที่ ร.ฟ.ท.ตั้งขึ้น ก็ต้องขอเจรจากับเซ็นทรัลอีกรอบ คิดว่าคงใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนน่าจะได้ข้อยุติ"
ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานเช่าที่ดินพหลโยธินเดิมเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2521 ซึ่งอยู่ในสมัยของนายสง่า นาวีเจริญ เป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. และจะหมดอายุสัญญาวันที่ 18 ธ.ค.2551 รวมเวลา 30 ปี พื้นที่ 47.22 ไร่ หรือ 75,558.65 ตารางวา โดยกำหนดว่าเซ็นทรัลต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ให้ ร.ฟ.ท. 16 ล้านบาท ค่าเช่าปีละ 3 ล้านบาท โดยปีแรกนับแต่วันลงนาม ร.ฟ.ท.จะไม่คิดค่าเช่าที่ดิน หลังจากนั้นตั้งแต่ปีที่ 2, 3 และ 4 เซ็นทรัล ต้องชำระค่าเช่าอัตรา 25%, 50% และ 100% ตามลำดับของอัตราค่าเช่าที่ดิน และนับตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป เซ็นทรัลต้องจ่ายค่าเช่าที่ดิน เพิ่มขึ้นอัตโนมัติในอัตรา 5% ต่อปีของค่าเช่าครั้งสุดท้าย ณ วันครบรอบปีต่อไป จนกว่าจะหมดสัญญาเช่าในวันที่ 18 ธ.ค.2551 และเมื่อครบกำหนดแล้ว อาคาร, สิ่งก่อสร้าง และระบบต่างๆ ที่ใช้ในกิจการของโครงการทั้งหมดจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ร.ฟ.ท.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43819
Location: NECTEC
Posted: 22/02/2008 9:51 am Post subject:
ร.ฟ.ท.ต่อสัญญาเช่าเซ็นทรัล 20 ปี แลกผลประโยชน์กว่า 2 หมื่นล. ฟันธง! ทุกอย่างจบใน 2 เดือน
สยามธุรกิจ [ ฉบับที่ 872 ประจำวันที่ 20-2-2008 ถึง 22-2-2008 ]
ร.ฟ.ท.เร่งเจรจาปิดดีล เซ็นทรัลฯ ต่อสัญญาเช่าที่ดินลาด พร้าวอีก 20 ปี ผลตอบแทนรวม 2 หมื่นล้านบาท คาดผ่านฉลุยภายใน สัปดาห์นี้ ขณะที่ผู้บริหารฯ ชมเปาะเงื่อนไขใหม่เหมาะสม-ผลประโยชน์ ลงตัว พร้อมเสนอทางเลือก 30 ปี พร้อมเงื่อนไขสุดคุ้ม
นายนคร จันทรสร รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ ร.ฟ.ท. ได้เสนอต่อสัญาญาเช่าที่ดินบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ซึ่งกำลังจะหมดสัญญาในปี 2551 นี้ โดยระบุว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ตาม มาตรา 13 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ได้ส่งหนังสือเร่งรัดให้กลุ่มเซ็นทรัลฯ ในฐานะคู่สัญญารีบเข้ามา ยื่นข้อเสนอเจรจาต่อรองในการต่อสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว ภายใน 7 วัน ตามมติบอร์ดฯ
คงต้องมีหนังสือโดยทางเราจะบอกเขาไปว่าให้ยื่นอะไรบ้าง ทั้งเรื่องของอายุสัญญา และอัตราค่าเช่า ซึ่งหลังจากนี้ เราก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาฯภายในสัปดาห์นี้ โดยมีข้อเสนอ 2 ข้อคือต่อสัญญา 20 ปีและ 30 ปี และคิดว่าเรื่องนี้ ควรจะจบโดยเร็ว เพราะสัญญาก็จะหมดสิ้นปีนี้แล้ว
สำหรับข้อมูลเบื้องต้น ร.ฟ.ท. ได้ระบุว่าการต่อสัญญาอายุสัมปทานอีก 20 ปีมีความเหมาะสมเพราะร.ฟ.ท.จะได้รับประโยชน์สูงสุด รวมค่าเช่าและดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท แต่การที่เสนอให้ CPN พิจารณา 2 รูปแบบ เพราะต้องการให้เอกชนได้มีทางเลือกหรือเสนอผลประโยชน์ที่น่าสนใจมาให้ร.ฟ.ท. พิจารณา
ทั้งนี้ ประเด็นการต่อสัญญาถึง 30 ปี หลายคนอาจคิดว่า ร.ฟ.ท. น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะค่าเช่ากับดอกเบี้ยต้องเพิ่มตามระยะเวลา แต่จริงๆ พอมารวมเป็นมูลค่าปัจจุบัน ร.ฟ.ท.จะได้ประโยชน์น้อยลงเราจึงอยากต่อสัญญาแค่ 20 ปี เพราะได้ประโยชน์มากกว่ารวมค่าเช่ากับดอกเบี้ยก็ราว 20,000 กว่าล้านบาท แล้วพอครบ 20 ปีค่อยมาคุยกันใหม่ ผลประโยชน์ค่าตอบแทนต่างๆ จะมากขึ้นด้วย แต่เราก็เสนอให้เซ็นทรัลลองดูทั้ง 2 แบบเผื่อเขาอยากต่อสัญญา 30 ปี และมีข้อเสนอที่ดีให้ ร.ฟ.ท.พิจารณา
ส่วนขั้นตอนหลังจากส่งร่างสัญญาสัมปทาน ทั้ง 2 รูปแบแล้ว CPN จะตอบกลับมาภายใน 7 วันมั่นใจว่า CPN มีความพร้อม เพราะจ้างที่ปรึกษาให้ศึกษากรณีดังกล่าวมาพอสมควรเช่นกัน อย่างไรก็ตามหาก CPN เสนอผลตอบแทนกลับมาน้อยกว่าที่ ร.ฟ.ท.เสนอไป ก็จะต้องดำเนินการเจรจาอีกครั้ง โดยคาดว่าใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ยังได้กล่าวต่อว่าผู้บริหาร ร.ฟ.ท.เชื่อว่า เซ็นทรัลจะต้องรีบตอบกลับมาภายใน 7 วัน แน่นอน หลังจากที่ ร.ฟ.ท.ได้ส่งร่างสัญญาไปให้ดู ซึ่งถ้าตกลงตามเงื่อนไขของ ร.ฟ.ท. หรือให้ผลประโยชน์ มากกว่าที่เราเสนอไป ร.ฟ.ท.ก็พร้อมจะทำสัญญารอบใหม่ทันที โดยมีคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุน เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ แต่ถ้าหากตอบกลับมาต่ำกว่าคณะทำงานที่ ร.ฟ.ท.ตั้งขึ้น ก็จะต้องขอเจรจากับเซ็นทรัล อีกรอบ คิดว่าคงใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนน่าจะได้ข้อยุติ
อนึ่ง สัญญาสัมปทานเช่าที่ดินพหลโยธินเริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2521 ซึ่งอยู่ในสมัยของนายสง่า นาวีเจริญ เป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.และจะหมดอายุสัญญาในวันที่ 18 ธ.ค.2551 รวมเวลา 30 ปี บนพื้นที่ 47.22 ไร่ หรือ 75,558.65 ตารางวา โดยสัญญากำหนดไว้ว่าเซ็นทรัลจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ให้ร.ฟ.ท. 16 ล้านบาทค่าเช่าปีละ 3 ล้านบาท โดยปีแรกนับแต่วันลงนาม ร.ฟ.ท.จะไม่คิดค่าเช่าที่ดิน หลังจากนั้นตั้งแต่ปีที่ 2, 3 และ 4 เซ็นทรัล ต้องชำระค่าเช่าอัตรา 25%, 50% และ 100% ตามลำดับของอัตราค่าเช่าที่ดิน และนับตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป เซ็นทรัลจะต้องจ่ายค่าเช่าที่ดิน เพิ่มขึ้นอัตโนมัติในอัตรา 5% ต่อปีของค่าเช่าครั้งสุดท้าย ณ วันครบรอบปีต่อไป จนกว่าจะหมดสัญญาเช่าในวันที่ 18 ธ.ค.2551 และเมื่อครบกำหนดแล้ว อาคาร, สิ่งก่อสร้าง และระบบต่างๆ ที่ใช้ในกิจการของโครงการทั้งหมด ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของร.ฟ.ท.
ขณะที่ก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท. เคยระบุว่า การต่อสัญญากับ CPN ดังกล่าวได้ยึดรูปแบบการต่อสัญญาสัมปทานเช่าทรัพย์สินและที่ดินระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับศูนย์การค้ามาบุญครอง เซ็นเตอร์ ล่าสุดจุฬาฯ ตกลงต่ออายุสัญญาให้อีก 20 ปี เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.2556-เม.ย.2576 มูลค่าโครงการรวม 25,310 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินงวดแรก สำหรับค่าตอบแทนของการได้สิทธิการทำสัญญาก่อนรายอื่น 2,450 ล้านบาท ส่วนค่าเช่าจะแบ่งชำระ 20 งวด พร้อมดอกเบี้ยอีก 6% คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 22,860 ล้านบาทจากเดิมที่จุฬาฯทำสัญญาสัมปทานกับมาบุญครอง 30 ปี มูลค่าโครงการรวม 885 ล้านบาท
Back to top
pak_nampho
1st Class Pass (Air) Joined: 25/06/2007 Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต
Posted: 22/02/2008 11:55 am Post subject:
เฮียวิซ...ข่าว 7.00 โมงเช้าวันนี้ อ.ต.ก. บอกว่าที่ต้องเรียกเก็บค่าเช่าแผงผู้ค้าในตลาด อ.ต.ก. แพงเพราะ รถไฟ เรียกเก็บค่าเช่าปีละประมาณ 30 ล้าน
ทำให้ อ.ต.ก. ต้องเก็บค่าเช่าแพงตาม และ อ.ต.ก.จะให้ รมว.เกษตร ต่อลองให้รถไฟเก็บค่าเช่าจาก อ.ต.ก. ต่ำลง....รวมถึงที่จอดรถในตลาด อ.ต.ก. ด้วย..
เฮียวิซ...ถ้าทราบข่าวแล้วแถลงด้วยครับ... _________________ +++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 22/02/2008 12:12 pm Post subject:
เขาว่า เรื่องธุรกิจมันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ นะครับ
เพราะจะว่าไปแล้ว อตก.เหมือนคนกลาง นั่งเก็บผลประโยชน์จากพ่อค้าแม่ค้า แถมเช่าที่ดินของการรถไฟฯ ด้วยสิ เหมือน กทม.
พอเจ้าของที่ดินขอขยับขึ้นค่าเช่า ก็ไปไล่เบี้ยเอากับผู้เช่าแผง แล้วมาถึงลูกค้าอีกทีหนึ่ง
ถ้า อตก.เป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรแบบศาล อัยการ ซื่งเช่าที่ดินรถไฟเหมือนกัน ก็ว่าไปอย่าง..
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group