RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312069
ทั่วไป:13675740
ทั้งหมด:13987809
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 207, 208, 209  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2024 3:49 pm    Post subject: Reply with quote

สรส. บุกทำเนียบยื่นนายกฯ 5 ข้อ จี้ มท.-กรมที่ดิน เพิกถอนที่ดินเขากระโดง
วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 16:11 น.
อัปเดตล่าสุด : วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 16:19 น.
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ 5 ข้อ ขอหยุดแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จี้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ “เขากระโดง” หลังพบกลุ่มทุน-นักการเมืองครอบครองที่ดินรัฐอย่างไม่ชอบธรรม
วันนี้ (26พ.ย.67) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดย นายมานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์ฯ เดินทางไปยังประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เรียกร้องให้ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ พร้อมทั้งเพิกถอนเอกสารสิทธิ์บริเวณ เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีนายทุนและนักการเมืองครอบครองที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อย่างไม่ชอบธรรม

สรส. บุกทำเนียบยื่นนายกฯ 5 ข้อ จี้ มท.-กรมที่ดิน เพิกถอนที่ดินเขากระโดง

ปัญหาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจทั้งหมด 52 แห่ง มีทรัพย์สินรวมประมาณ 18.4 ล้านล้านบาท และรายได้นำส่งรัฐปี 2567 รวม 175,000 ล้านบาท โดยมีพนักงานกว่า 214,860 คน แต่แนวนโยบายปัจจุบันกำลังผลักดันให้รัฐวิสาหกิจแข่งขันเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการที่มีราคาถูกและเป็นธรรม



สรส. ระบุว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นการ เปลี่ยนเจตนารมณ์ดั้งเดิม ซึ่งเน้นการให้บริการเพื่อสาธารณประโยชน์ตามพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 5 ไปสู่การแสวงหากำไรเพื่อตอบสนองกลไกตลาด นโยบายดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้นักการเมืองและกลุ่มทุนแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจเผชิญวิกฤตและลดบทบาทลง

สรส. บุกทำเนียบยื่นนายกฯ 5 ข้อ จี้ มท.-กรมที่ดิน เพิกถอนที่ดินเขากระโดง


จี้เพิกถอนที่ดิน "เขากระโดง"
หนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของ สรส. คือการให้ กระทรวงมหาดไทย และ กรมที่ดิน เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบในพื้นที่ เขากระโดง ซึ่งเดิมเป็นที่ดินของการรถไฟฯ แต่กลับถูกครอบครองโดยกลุ่มนายทุนและนักการเมือง โดยที่ดินบางส่วนยังมีปัญหาหนี้สินคงค้างกว่า 288,000 ล้านบาทที่ยังไม่ได้ชำระคืนแก่การรถไฟฯ

ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล
สรส. ได้เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจและทรัพย์สินของรัฐ ดังนี้:

ยุติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ขอให้รัฐบาลทบทวนภารกิจด้านบริการสาธารณะ และคืนบทบาทให้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศ
หยุดร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกมองว่าเอื้อต่อการแปรรูปกิจการของการรถไฟฯ แทนการพัฒนาระบบขนส่งทางรางอย่างยั่งยืน
แก้ปัญหาพลังงานไฟฟ้า รัฐต้องบริหารการผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสม ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผลิตไฟฟ้าหลักอย่างน้อย 70% ของแผนการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
ปกป้องกิจการโคนมไทย-เดนมาร์ก หยุดการนำสัญลักษณ์แบรนด์ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ไปให้เอกชนหาประโยชน์ พร้อมส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมอย่างโปร่งใส
ยุติการขยายสัมปทานทางด่วน ขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการเส้นทาง เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการในราคาที่เป็นธรรม
สรส. บุกทำเนียบยื่นนายกฯ 5 ข้อ จี้ มท.-กรมที่ดิน เพิกถอนที่ดินเขากระโดง

ความคาดหวังจากรัฐบาลใหม่
สรส. ย้ำว่า รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งต้องยึดมั่นในผลประโยชน์สาธารณะ และบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจอย่างโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่จำเป็นและเป็นธรรม พร้อมกันนี้ต้องยุตินโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนและนักการเมือง

การยื่นหนังสือครั้งนี้จึงไม่เพียงเรียกร้องการแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง แต่ยังเป็นการส่งเสียงถึงรัฐบาลว่า รัฐวิสาหกิจไม่ใช่ธุรกิจของรัฐ แต่คือกลไกสำคัญเพื่อความมั่นคงของชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชน

"สาวิทย์"ร้องป.ป.ช.สอบเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง
วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 13:58 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:12 น.

"พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย" นำโดบ "สาวิทย์ แก้วหวาน" หัวหน้าพรรค ยื่นร้อง ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบ เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง
เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2567 พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย นำโดย นายสาวิทย์ แก้วหวาน หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และ สมาชิกพรรค ได้เข้ายื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ตรวจสอบการการฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขา กระโดง ตามคำพิพากษาของศาล

นายสาวิทย์ กล่าวว่า ตามที่เกิดข้อพิพาทและการโต้แย้งสิทธิในการเข้าครองครองที่ดินของประชาชนในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณแยกเขากระโดง ตำบลอิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ด้วยข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ศาลปกครองกลาง มีคำตัดสินว่าที่ดินจำนวน 5,083 ไร่เศษ เป็นที่ดินของการรถไฟฯ


ทั้งนี้ กรมที่ดิน เป็นหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ และเป็นผู้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิในที่ดินบริเวณเขากระโดง ไปก่อนหน้านี้ ให้แก่ประชาชนจำนวนหนึ่ง ซึ่งศาลก็พิพากษาว่าออกโดยไม่ชอบ และในชั้นการไต่สวน สอบสวน พยานหลักฐานทั้งเอกสาร บุคคล ล้วนถูกนำขึ้นโต้แย้งกันครบถ้วนในชั้นพิจารณาคดี จนศาลมีคำพิพากษาที่เป็นแนวทางเดียวกันทั้งหมด


จึงเป็นประเด็นที่สังคมตั้งคำถามกันทั่วประเทศในเวลานี้ เจ้าหน้าที่รัฐได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบหรือไม่ ในการปกป้องประโยชน์สาธารณะ ประโยชน์ของแผ่นดิน พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ขอให้ประธานและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เช่น รัฐมนตรีที่กำกับดูแล อธิบดีกรมที่ดิน คณะกรรมการสอบสวนที่อธิบดีกรมที่ดินตั้งขึ้น ว่า กระทำการที่ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐหรือไม่ ชอบด้วยจริยธรรมในการทำหน้าที่หรือไม่

โดยมี นายวัฒนชัย ส้มมี ผู้ช่วยเลขาธิการ ปปช. เป็นผู้รับหนังสือ

เปิดคลิป "อัยการอาวุโส" ตอกฝาโลงกรมที่ดิน อ้างการรถไฟมีหลักฐานไม่พอไม่ได้ ซ้ำร้ายอธิบดีส่อติดคุก!

สถาบันทิศทางไทย
วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

อัยการอาวุโส ปล่อยคลิปสุดเดือด ตอกฝาโลงกรมที่ดิน อธิบดีขาสั่น หวั่นโดนเอาผิดย้อนหลัง จนใจขัดคำสั่งศาล
https://www.youtube.com/watch?v=8SCUqsddyTA
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2024 11:55 pm    Post subject: Reply with quote

พ่อขออาศัยก่อนลูกจะฮุบ? เปิดหลักฐานปี 2513 “ชัย ชิดชอบ” ขอการรถไฟฯ อาศัยในที่ดินเขากระโดง
หน้าคุยทุกเรื่องกับสนธิ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:30 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:30 น.

เปิดหลักฐานพิสูจน์ที่ดินเขากระโดงเป็นของการรถไฟ ไม่ได้มีเพียงแค่คำพิพากษาศาลฎีกา ที่กรมที่ดินดื้อตาใสไม่ยอมปฏิบัติตาม แต่ยังมีบันทึกการประชุมแก้ไขข้อพิพาทปี 2513 “ชัย ชิดชอบ” บิดาของ “เนวิน-ศักดิ์สยาม” แกนนำพรรคภูมิใจไทย ตกลงทำสัญญากับการรถไฟฯ ขออยู่อาศัยในที่ดินบริเวณเขากระโดง รวมทั้งมีความเห็นกฤษฎีกา ปี 2541 ยืนยันเป็นที่ดินรถไฟ และอัยการสูงสุดปี 2555 ระบุให้เพิกถอนโฉนด



ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการได้กล่าวถึงปัญหาพิพาทที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนถึงการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างชัดเจน

โดยเรื่องนี้เป็นปัญหาคาราคาซังมาตั้งแต่ ปี 2513 หรือ 54 ปีที่แล้ว จนกระทั่งมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรม และต่อสู้กันถึงชั้นศาลอุทธรณ์และฎีกา พร้อมกับมีคำพิพากษาที่เป็นที่สุดถึง 3 ฉบับ ประกอบด้วย

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 - 876/2560
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561
และ
3.คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563


ซึ่งได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้งว่า ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375 + 650 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462

โดยเฉพาะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 มีการระบุข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยุติว่า “เมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2462 มีประกาศ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ให้กรมรถไฟหลวงเริ่มลงมือตรวจและวางแนวรถไฟอันแน่นอนช่วงตั้งแต่นครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ให้แล้วเสร็จใน 2 ปีนับจากประกาศ

“... ที่ดินตามแผนที่ที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2462”

ภาพจากสำนักข่าวอิศรา
เมื่อองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการอย่างศาลยุติธรรมชี้ขาดข้อพิพาทแล้วทุกอย่างย่อมต้องเป็นที่ยุติและชัดเจน ไม่ควรมีกระบวนการใดมาขัดขวางได้อีก

ซึ่งถ้าว่ากันตามหลักการการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ควรเร่งบังคับคดีเพื่อเอาที่ดินกลับคืนมาเป็นของรัฐ แต่เลือกที่จะไปฟ้องศาลปกครองเมื่อปี 2564 เพื่อบังคับให้กรมที่ดินดำเนินการหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยตาม คำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขแดงที่ 842 - 876/2560 และ ที่ 8027/2561 และ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563


การฟ้องศาลปกครองดังกล่าวเหมือนจะดูดีแต่ด้านหนึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็นมากขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่ “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” เมื่อครั้งเป็นเพียง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน เคยอภิปรายไว้กลางสภาเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ว่าไม่เห็นด้วยกับการฟ้องศาลปกครองขณะนั้น

แต่มาเวลานี้ ในวันที่มีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและร่วมเป็นรัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทย “พ.ต.อ.ทวี” ก็เลือกที่จะปิดปากตัวเองและไม่ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้อีก เพื่อเลี่ยงการปะทะกับพรรคภูมิใจไทย หากจะพูดไป พ.ต.อ.ทวี ก็คงอยู่ในสภาวะกระอักกระอ่วนใจอยู่ไม่น้อยเวลาที่ต้องออกมาตอบคำถามเหล่านี้


อย่างไรก็ตาม จะโทษความไม่เอาไหนของการรถไฟแห่งประเทศไทยฝ่ายเดียวก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะ กรมที่ดินในฐานะผู้ถูกร้องตามคำพิพากษาของศาลปกครองก็ควรต้องแบ่งส่วนความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน

การที่กรมที่ดินอ้างว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนดแนวเขตที่ดินไม่ชัดเจน จนทำให้กรมที่ดินตัดสินใจยุติเรื่องนั้นถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดหลักการอย่างชัดเจนและรุนแรง ประหนึ่งทำให้กฎหมายและคำพิพากษาของศาลยุติธรรมและศาลปกครองไม่มีความหมาย

กล่าวคือหลักฐานทุกอย่างรวมถึงความเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นชัดเจนแจ่มแจ้งทุกประการตามที่ปรากฏในคำพิพากษาของศาล กรมที่ดินเองไม่อาจเห็นเป็นอย่างอื่นได้ การจะมาอ้างว่าหากการรถไฟแห่งประเทศไทยคิดว่าตัวเองมีสิทธิในที่ดินที่ดีกว่าก็ให้ใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์อีกนั้นย่อมเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง

แม้กรณีที่ดินเขากระโดงจะมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ซับซ้อนยากต่อการทำความเข้าใจ แต่เรื่องเหล่านี้จะไม่เป็นปัญหาเลย ถ้าผู้มีอำนาจ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน แต่กรมที่ดินกับนักการเมืองที่ยึดที่เขากระโดงมันรวมหัวกันทำให้ดูยุ่งยากเสียเอง


นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด แสดงความคิดเห็นว่า “เรื่องเขากระโดง ในที่สุดศาลมีคำพิพากษาแล้ว ทั้งศาลปกครอง และศาลฎีกาตัดสินไปเรียบร้อยแล้วว่าที่ดินตรงบริเวณเขากระโดงนั้นเป็นที่ดินของการรถไฟ ทีนี้ การที่อธิบดีกรมที่ดินอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ดำเนินการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นการดำเนินไม่ถูกต้อง

“เพราะจริง ๆ แล้วควรดำเนินการตามมาตรา 61 วรรค 8 ที่กำหนดว่า ในกรณีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่ให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด ซึ่งเท่ากับว่ากรมที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดออกแล้วเปลี่ยนเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย”

นายพรพจน์ เพ็ญพาส
อัยการปรเมศร์ ยังแนะนำด้วยว่า “กว่าจะเป็นอธิบดีใช้เวลานาน(หมายถึง นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดินคนปัจจุบัน)พ้นจากตำแหน่งไม่เกิน 5 ปี ก็ยังกล่าวโทษต่อ ป.ป.ช.ดำเนินคดีได้ อย่าจบไม่สวยเลย ทางที่ดีควรดำเนินการตามคำพิพากษา

“ส่วนปัญหาสนามอารีน่า หรือชาวบ้านที่อยู่แถวนั้น รัฐบาลก็คุยกับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ยอมให้สนามอารีน่า เช่าแข่งรถ สนามกีฬา อย่าไปทุบ ไปทำลาย ไม่มีประโยชน์ ให้เช่าได้ เหมือนกับที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลฯ เช่า รฟท. เอารายได้เป็นของรัฐ เจ้าของสนามก็ได้กำไรถึงจุดคุ้มทุนพอแล้ว เช่า 30 ปี ต่อสัญญาทุก 30 ปี ไม่มีปัญหาอะไรเลย อย่าทำให้น่าเกลียดเลย”

ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย โดยการเอาที่เขากระโดงคืนมาให้การรถไฟ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยถูกต้องชอบธรรมทางกฎหมาย และเหมาะสมด้วย

คือ กรมที่ดิน ต้องเอาที่ดินกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ การรถไฟ ก่อนตามมาตรา 61 วรรค 8 ของกฎหมายที่ดินไม่ต้องฟังเสียงอะไรเพราะเป็นการทำตามคำพิพากษาศาลฎีกา แต่ที่ผ่านมา กรมที่ดินโยนภาระการพิสูจน์ไปให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย

ซึ่งการโยนภาระให้รถไฟพิสูจน์เป็นการกระทำที่ “กลับหัวกลับหาง“ เป็นการใช้เล่ห์เหลี่ยมให้เกิดปัญหา ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากต้องการเอาใจนักการเมืองที่คุมกระทรวงมหาดไทย คือ นายเนวิน ชิดชอบ จึงทำการเตะถ่วงยื้อเรื่องออกไป ไม่ทำตามคำพิพากษา

แทนที่จะใช้วิธีการที่รวบรัดชัดเจน ถูกต้องที่สุด คือการใช้สิทธิ์บังคับเอาที่ดินเขากระโดงมาเป็นของการรถไฟตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งสามารถทำได้ เทียบเคียงกับ กรณีที่ ป.ป.ง. ยึดทรัพย์ที่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไว้ก่อน แล้วค่อยให้คนทำผิดมาพิสูจน์สิทธิ์ภายหลัง

ใครที่มีหลักฐานการครอบครองกรรมสิทธิ์บนที่ดินเขากระโดงดีกว่าการรถไฟ ก็ยกที่ดินให้ไป ซึ่งจะมีสิทธิ์ดีกว่าการรถไฟได้จะต้องมีเอกสารสิทธิ์ จะเป็นโฉนดหรือหนังสือทำประโยชน์ประเภทไหนก็แล้วแต่ ต้องได้สิทธิ์มาก่อนปีพ พ.ศ.2464 นั่นก็คือก่อนที่รัชกาล 6 จะพระราชทานที่เขากระโดง 5,083 ไร่ให้การรถไฟ ใครมีก็ยกที่ดินให้ไปเลย

แต่จะมีสักรายไหม ? เพราะก่อนรัชกาลที่ 6 จะพระราชทานที่เขากระโดงให้การรถไฟ บริเวณนั้นเป็นป่าเขา เป็นที่อาศัยของบรรดาสัตว์ป่าน้อยใหญ่ ชุกชุมมาก ไม่ได้เป็นสนามฟุตบอล หรือ สนามแข่งรถเหมือนเช่นวันนี้


ด้วยเหตุนี้จึงขอเตือนเป็นครั้งสุดว่า “กรมที่ดิน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งอธิบดีกรมที่ดิน คือ นายพรพจน์ เพ็ญพาสต้องเลิกทำแบบกลับหัวกลับหาง หยุดการเล่นเล่ห์กลสร้างปัญหาให้ประเทศชาติเสียหาย กลับมายึดหลักการที่ถูกต้อง เลิกเป็นทาสรับใช้นักการเมืองเสียที่

หลักฐานมัดแน่น ชี้ชัดสถานะ “เขากระโดง” คือ สมบัติของแผ่นดิน

การทวงคืนที่ดินเขากระโดงที่เป็นกรณีพิพาทให้กลับมาเป็นสมบัติของชาติโดยสมบูรณ์ ที่ผ่านมา หลักฐานสำคัญและเป็นที่ประจักษ์ว่าที่ดินดังกล่าวควรกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจริง ๆ แล้วไม่เพียงแต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมเท่านั้น เพราะยังตอกย้ำด้วยคำพิพากษาของศาลปกครองที่รับรองคำพิพากษาของศาลยุติธรรมข้างต้นอีกชั้นหนึ่ง พร้อมกับการสั่งการให้กรมที่ดินดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา

แต่ปรากฏว่ากรมที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงมหาดไทยกลับตะแคงตำรากฎหมายและตีความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนดแนวเขตที่ดินไม่ชัด ทำให้กรมที่ดินสั่งยุติเรื่องทันที ไม่พิจารณาเพิกถอนโฉนดที่ดิน นำมาซึ่งเสียงวิจารณ์ว่าการดำเนินการของกรมที่ดินเป็นอำนาจค้ำหัวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมและศาลปกครองหรือไม่ ?

เอาเข้าจริงแล้วเรื่องนี้ หากจะบอกว่า “ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษายังไม่พอที่กรมที่ดินจะสรุปได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย” ย่อมเป็นเรื่องประหลาดมาก !?!

เพราะนอกจากคำพิพากษาของศาลแล้ว ยังมีเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ของทางราชการหรือพฤติการณ์แวดล้อมที่เป็นการแสดงให้เห็นว่าที่ดินเขากระโดงเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยอย่างที่ไม่ควรมีอะไรมาโต้แย้งได้อีก


เริ่มกันที่ เอกสารการบันทึกการประชุมร่วมเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2513 เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. ระหว่างนายชัย ชิดชอบ (บิดาของนายเนวิน และศักดิ์สยาม ชิดชอบ)และเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ระบุว่านายชัยขออาศัยในที่ดินดังกล่าวจากการรถไฟ และการรถไฟตกลงยินยอมให้อาศัย ซึ่งจะได้ทำสัญญาการอาศัยเป็นลายลักษณ์อักษร

ข้อความในบันทึกการประชุมที่เป็นไฮไลต์ ระบุว่า

“ข้อ 4. เมื่อได้ปฏิบัติตามข้อ 1 ถึง ข้อ 3 แล้วนายชัย ชิดชอบ ขออาศัยที่ดินพิพาทจากการรถไฟ และการรถไฟตกลงยินยอมให้อาศัย ซึ่งจะได้ทำสัญญาอาศัยกันต่อไป

“รับรองว่าบันทึกนี้ถุกต้องตามความประสงค์ของทุกฝ่าย และต่างได้ลงนามไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยาน

“ลงนามโดย นายชัย ชิดชอบ คู่กรณี”


เช่นเดียวกับเอกสารบันทึกความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 106/2541 เรื่อง กรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยระเบิดหินเพื่อใช้ในการก่อสร้างรถไฟ ลงนามโดย นายอักขราทร จุฬารัตน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา(ซึ่งในเวลาต่อมา นายอักขราทร ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด) โดยในขณะนั้น บันทึกความเห็นไว้ว่า

“เมื่อปรากฏว่าการสำรวจที่ดินเพื่อกำหนดแนวเขตที่ดินที่ใช้สร้างทางรถไฟในปี พ.ศ.2464 ได้ดำเนินการโดยครบถ้วน รวมทั้งกรมรถไฟแผ่นดินได้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟแสดงไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และโดยที่ที่ดินบริเวณที่หารือซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟในขณะนั้นมีสภาพเป็นที่ป่ายังไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ และเมื่อกรมรถไฟแผ่นดินได้เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งวัสดุสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟ จึงถือได้ว่าเป็นการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้ใช้ในราชการตามกฎหมายแล้ว ที่ดินนั้นจัดเข้าลักษณะเป็นที่ดินรถไฟตามมาตรา 3(2) และได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464”


จากเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ฉบับนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สำรวจแนวเขตที่ดินเรียบร้อยแล้วและที่ดินที่ถูกกำหนดแนวเขตรถไฟแล้ว เท่ากับว่าที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามกฎหมายทุกประการ

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีเคยกรณีที่ กรมที่ดินทำหนังสือสอบถามไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดว่าควรจะต้องดำเนินการอย่างไรในกรณีที่กรมที่ดินไม่อาจเพิกถอนโฉนดที่ดิน เลขที่ 3466 และ 8565 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ ตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งในประเด็นนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นกลับมายังกรมที่ดินตามหนังสือลง วันที่่ 12 มิถุนายน 2555 ระบุว่า

“กรมที่ดิน มีหน้าที่ต้องแจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อทราบผลการพิจารณาของอธิบดีกรมที่ดินที่ไม่เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท และแจ้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการฟ้องคดีต่อศาล เพื่อขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 99 ต่อไป”


สรุป หลักฐานทั้งหมดนี้ได้ทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าที่ดินเขากระโดงเป็นสมบัติของชาติ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ของตระกูลชิดชอบ หรือของเอกชนหน้าไหนทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ย่อมต้องทำหน้าที่ในการรักษาสมบัติดังกล่าวได้ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมและประชาชน กรณีที่ชัดเจนแจ่มแจ้งเช่นนี้ ถ้าผู้มีอำนาจยังตะแบง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมืองมันต้องลุกเป็นไฟแน่นอน

“ท่านผู้ชมครับ ผมยุติเรื่องนี้ด้วยข้อมูลหลักฐานการยอมรับของนายชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ว่าที่ดินเป็นของการรถไฟฯ และขอเช่า ขออาศัยอยู่ เปิดเผยออกมาให้เห็นเป็นครั้งแรก

“ท่านอธิบดีกรมที่ดินครับ ท่านเลิกตะแบงเสียทีได้ไหม ผมนี่อับอายขายหน้าเพื่อนฝูงพี่น้องคุณ หรือตระกูลคุณ หรือชาวบ้านที่เขารู้ความจริง ว่าคุณเป็นถึงอธิบดีกรมที่ดิน คุณทำไมตะแบง จะยกสมบัติ หรือจะป้องกันสมบัตินี้ไม่ให้ตกเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังให้คงอยู่ในมือของเอกชนต่อไป ท่านอธิบดีกรมที่ดินครับ ทุเรศสิ้นดี” นายสนธิ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2024 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานเหตุอันตราย (เบื้องต้น)
เพลิงไหม้บ้านพักรถไฟที่สถานีธนบุรี
เหตุการณ์ : วันที่ 16 ธันวาคม 2567 เมื่อเวลา 07.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านพักไม้ จำนวน 6 ห้อง (บ้านพักพนักงานฝ่ายการช่างกล) ต้นเพลิงมาจากบ้านเลขที่ 46/1
ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายจากเหตุนี้
การแก้ไข : เจ้าหน้าที่ดับเพลิง สามารถควบคุมเพลิงได้เรียบร้อยแล้ว
อยู่ระหว่างรอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
https://www.facebook.com/teerayoot.khoonkham/posts/2024192888019089
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2024 3:51 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟออกแถลงการณ์ ปมที่ดินเขากระโดง ยันจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้กลับมา เป็นสมบัติของแผ่นดิน



"การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน
ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน



การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงการณ์จากกรณีที่มีผู้มาพาดพิง ตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิ์การครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น
ทั้งนี้ รฟท. เห็นว่า การดำเนินการข้างต้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้นจึงขอชี้แจงว่า รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ ดังนั้นบรรดาที่ดินและทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟจึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครองและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของ รฟท. พร้อมกันนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยโดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังระบุด้วยว่า กรมที่ดินมีหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรถไฟฯ ไม่จำต้องไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาทุกแปลง
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ไม่ได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า เหตุใด รฟท. จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของการรถไฟฯ ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น ขอชี้แจงว่า รฟท. ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย
ทั้งนี้ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินที่จะต้องแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทั้งหมด
พร้อมขอขอยืนยันว่า สิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป
โดยการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดง ไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1015269363964388
https://www.youtube.com/watch?v=KLn8cYrrP5w
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2024 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
การรถไฟออกแถลงการณ์ ปมที่ดินเขากระโดง ยันจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้กลับมา เป็นสมบัติของแผ่นดิน
https://www.youtube.com/watch?v=KLn8cYrrP5w


"การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน
ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน

https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1015269363964388

การรถไฟฯ” เดินหน้าทวงคืนที่ดิน “เขากระโดง” ยันเป็นของ รฟท. ไม่ได้ก้าวล่วงประชาชน
วันจันทร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:05 น.

“การรถไฟฯ” ออกแถลงการณ์เดินหน้าทวงคืน ที่ดิน “เขากระโดง” จ.บุรีรัมย์ ยันเป็นของ รฟท. ลั่นจะดำเนินการทุกอย่างให้ได้ที่ดินกลับคืนมา ไม่ได้ก้าวล่วงประชาชน ชี้ปัญหาเรื่องนี้แก้ไม่ยากแค่ “กรมที่ดิน” ให้ความร่วมมือดำเนินการตามกฎหมาย ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฯ ไม่ควรนำไปเชื่อมโยงการเมือง เพียงหวังคะแนนเสียง
เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์รายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ออกแถลงการณ์กรณีที่มีผู้มาพาดพิง ตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ มาพบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิการครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น รฟท. เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าว อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ 


รฟท. ขอชี้แจงว่า รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐ และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ ดังนั้นบรรดาที่ดิน และทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟจึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครอง และออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. อย่างไรก็ตามยืนยันว่าการดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด


ทั้งนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท.  พร้อมกันนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยโดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. นอกจากนี้คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังระบุด้วยว่า กรมที่ดินมีหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ รฟท. ไม่จำต้องไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาทุกแปลง


ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่ต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อน และไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งไม่ได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า เหตุใด รฟท. จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของ รฟท. ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น ขอชี้แจงว่า รฟท. ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย


ทั้งนี้ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของ รมว.มหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินที่ต้องแก้ไข หรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทั้งหมด อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่า สิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง เป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป


การแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และคำพิพากษาของศาลฎีกา และศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดง ไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก...
https://www.dailynews.co.th/news/4217259/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47428
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2024 11:06 am    Post subject: Reply with quote

“กรมที่ดิน”โต้ การรถไฟ ชี้ คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพัน 35 ราย ไม่ได้เหมารวม 5,083 ไร่ แผนที่อ้างสิทธิ์ รฟท.ไม่น่าเชื่อถือ
ผู้จัดการออนไลน์ 26 ธ.ค. 2567 10:40

วันนี้( 26 ธ.ค.)กรมที่ดินออกแถลงการณ์ ว่าตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงถึงการดำเนินการของ การรถไฟฯ เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง นั้น กรมที่ดิน ขอเรียนชี้แจงในประเด็นที่ การรถไฟฯ กล่าวอ้าง ดังนี้

1. ประเด็นที่ การรถไฟฯ กล่าวอ้างว่า ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ การรถไฟฯ จึงใช้ยันบุคคลภายนอกที่ครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวรวมถึงกรมที่ดินด้วย การรถไฟฯ จึงไม่จำต้องไปใช้สิทธิฟ้องเป็นรายแปลงต่อศาลยุติธรรมแต่อย่างใด
กรมที่ดินได้ดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทั้ง 3 คดี ครบถ้วนแล้ว มีรายละเอียดดังนี้

​1.1 ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 - 876/2560 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นกรณีที่ราษฎร จำนวน 35 ราย เป็นโจทก์ฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากโจทก์ทั้ง 35 ราย ได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟฯ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ทั้ง 35 ราย รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้ง 35 ราย มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในอันที่จะขอออกโฉนดที่ดินได้ กรมที่ดินได้แจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์ดำเนินการยกเลิกใบไต่สวนของราษฎร จำนวน 35 ราย ที่ฟ้องคดี พร้อมทั้งจำหน่าย ส.ค. 1 ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดินแล้ว

1.2ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เป็นกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟฯ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า
​โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท อธิบดีกรมที่ดินได้มีคำสั่ง ที่ 2992/2564 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ให้แก้ไข รูปแผนที่และเนื้อที่ใน น.ส. 3 ข. เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (บางส่วน) ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แล้ว

​1.3 ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ลงวันที่ 22 เมษายน 2563 เป็นกรณีที่การรถไฟฯ เป็นโจทก์ฟ้องราษฎร เรื่อง ขับไล่ เพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 2971, 5272 และ น.ส. 3 เลขที่ 206 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟฯ ได้แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งกรมที่ดินได้แจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์ดำเนินการหมายเหตุการเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แล้ว (มาตรา 61 วรรคแปด)
​ทั้งนี้ จากคำพิพากษาทั้ง 3 คดี ผูกพันเฉพาะที่ดินพิพาทระหว่างคู่ความในคดี คือ ที่ดินจำนวน 35 แปลง (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 - 876/2560 น.ส. 3 ข. เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (บางส่วน) (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561) และโฉนดที่ดินเลขที่ 2971, 5272 และ น.ส. 3 เลขที่ 206 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563) คำพิพากษาดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่จะมีการดำเนินคดีใหม่กับบุคคล
​ที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 145 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ไม่ได้วินิจฉัยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5,083 ไร่ การอ้างว่าคำพิพากษานี้เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งหมดจึงเป็นการขยายความ เกินขอบเขตของคำพิพากษา การรถไฟฯ จึงไม่สามารถนำผลของคำพิพากษาทั้ง 3 คดี ไปใช้กับที่ดินแปลงอื่น ๆ ได้ เนื่องจากการได้มาของที่ดินแต่ละแปลงมีความแตกต่างกัน ราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจึงต้องมีโอกาสในการต่อสู้เพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง

​2. ประเด็นที่ การรถไฟฯ กล่าวอ้างว่า ได้ยื่นพยานหลักฐานที่แสดงถึงการได้มาซึ่งที่ดินบริเวณเขากระโดงต่อคณะกรรมการสอบสวนฯ และร่วมรังวัดที่ดินบริเวณเขากระโดงแล้ว แต่กรมที่ดินยุติเรื่องโดยไม่รอผลการตรวจสอบแนวเขตที่ดิน

​เมื่อพิจารณาพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2464 ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 ที่ดินที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตแนวทางรถไฟตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานีลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2462 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2464 ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากรูปแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ซึ่งกรมรถไฟมีหน้าที่จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตแสดงไว้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจดู อันเป็นหลักฐานสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงกรรมสิทธิ์และขอบเขตที่ชัดเจนของที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดังนั้น เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถแสดงหลักฐานการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และขอบเขตที่ชัดเจน รวมถึงหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้ว่าการรถไฟเข้าหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย อีกทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏอีกว่าในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงที่มีแนวเขตติดต่อกับที่ดินของการรถไฟฯ การรถไฟฯ ได้มาระวังชี้แนวเขตและลงชื่อรับรองแนวเขตให้กับเจ้าของที่ดิน โดยมิได้มีการหวงห้ามหรือหวงกันที่ดินของการรถไฟฯ แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินของ การรถไฟฯ

สำหรับการรังวัดของคณะทำงานร่วม ระหว่าง การรถไฟฯ และสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
​เป็นการรังวัดตามการนำชี้ของผู้แทน การรถไฟฯ ตามรูปแผนที่สังเขปซึ่งจัดทำขึ้นในภายหลังเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยไม่มีแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาตามนัยดังกล่าวข้างต้นและไม่มีเอกสารหลักฐานทางกฎหมายอ้างอิงใด ๆ เพื่อประกอบการนำชี้ โดยมีราษฎรในพื้นที่และส่วนราชการคัดค้านไม่ยอมรับการนำชี้ของผู้แทน การรถไฟฯ เนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐานที่น่าเชื่อถือทางกฎหมายอ้างอิงในการที่จะพิสูจน์ได้ว่าแนวเขตที่ได้นำชี้จัดทำรูปแผนที่สังเขปเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ชัดเจนเป็นที่ยุติได้ว่าแนวเขตที่ดินของ การรถไฟฯ อยู่บริเวณใด

​สำหรับประเด็นที่การรถไฟฯ ยืนยันว่า การรถไฟฯ มีหลักฐานแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายโคราช - อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375 + 650 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกา นั้น แผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้าง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2462 และพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อื่นฯ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464 เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการที่พระราชบัญญัติจัดวางรางรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 กำหนด ซึ่งแตกต่างกับการสร้างทางรถไฟหลวงแยกจากสายตะวันออกเฉียงเหนือที่บ้านบุ่งหวายไปบ้านโพธิ์มูล พบว่ามีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางฯ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น พร้อมทั้งมีแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา

​โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2470 เล่มที่ 44 หน้า 313 แผ่นที่ 95 อย่างครบถ้วน จึงเชื่อได้ว่าแผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้าง ไม่ได้จัดทำให้เป็นไปตามกฎหมายสำหรับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรถไฟฯ จึงไม่อาจใช้แผนที่นั้นมากล่าวอ้างให้ที่ดินบริเวณเขากระโดงตกเป็นของการรถไฟฯ เพื่อเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินซึ่งออกให้กับประชาชนโดยชอบด้วยกฎหมายได้ เนื่องจากการเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินต้องอาศัยหลักฐานที่ชัดเจนและถูกต้องตามกฎหมาย
​อนึ่ง นอกจากประเด็นความไม่ชอบด้วยกฎหมายของแผนที่ดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลาฯ ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้าง มีรูปแบบและระยะไม่สอดคล้องตามหลักวิชาการแผนที่ เช่น
​ในแผนที่ระบุมาตราส่วน 1 : 4,000 กล่าวคือ 1 เซนติเมตร ในรูปแผนที่ เท่ากับ 4,000 เซนติเมตร หรือ 40 เมตร ในพื้นที่จริง หากแนวเขตจากรางรถไฟข้างละ 1,000 เมตร รูปแผนที่จะมีระยะถึงข้างละ 25 เซนติเมตร แต่แผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างมีระยะเพียง 2.5 เซนติเมตร เท่านั้น แผนที่ฉบับดังกล่าวจึงไม่มีความน่าเชื่อถือ

​3. ประเด็นที่ การรถไฟฯ กล่าวอ้างว่า ข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่ามีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดินต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินทั้งหมด

​ประเด็นดังกล่าวศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา ในคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2566

​ให้อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้การรถไฟฯ (ผู้ฟ้องคดี) ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ซึ่งอธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งที่ 1195 - 1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางดังกล่าวแล้ว​ซึ่งศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยในกรณีที่การรถไฟฯ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินร่วมกัน
เพิกถอนคำสั่งออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ โดยศาลได้มีคำวินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้งว่า หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (อธิบดีกรมที่ดิน) มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว และพิจารณาข้อเท็จจริงได้เป็นเช่นใด ย่อมเป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่จะดำเนินการมีคำสั่งตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามที่เห็นสมควร อันเป็นดุลพินิจของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งศาลไม่อาจก้าวล่วงได้ ซึ่งผลการพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนฯ ปรากฏดังนี้

​คณะกรรมการสอบสวนฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างเป็นรูปแผนที่สังเขปซึ่งได้จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2539 เป็นการจัดทำขึ้นตามมติที่ประชุม กปร. ส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรก​กลุ่มสมัชชาคนจน เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2539 โดยผู้ฟ้องคดีนำแผนที่ดังกล่าว ไปใช้ในการต่อสู้คดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 และ ที่ 8027/2561 จึงไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตวันออกเฉียงเหนือ พระพุทธศักราช 2464 ประกอบกับตำแหน่งที่ตั้งและแนวเขตที่ดินของการรถไฟซึ่งมีการกล่าวอ้างว่ามีระยะทาง 8 กิโลเมตร แต่จากการตรวจสอบรายงานผลการถ่ายทอดแนวเขตที่ดินการรถไฟฯ ของคณะทำงานดำเนินการถ่ายทอดแนวเขตที่ดิน ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบทางรถไฟโดยใช้วิธีการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2497, พ.ศ. 2511, พ.ศ. 2529 และ พ.ศ.2557 ปรากฏว่า ทางรถไฟมีระยะทางประมาณ 6.2 กิโลเมตร และได้ลงสำรวจเส้นทางรถไฟในพื้นที่จริงด้วยการรังวัดค่าพิกัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ (RTK) สามารถยืนยันตำแหน่งทางรถไฟที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศว่า ตรงกับตำแหน่งรางรถไฟบนที่ดินจริง ประกอบกับการตรวจสอบจากแผนที่ภูมิประเทศ ลำดับชุดที่ L 708​ซึ่งเป็นแผนที่ภูมิประเทศชุดแรกในประเทศไทยจัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร (ในช่วง ปี พ.ศ.2495-2500 ) มีความยาวของทางรถไฟประมาณ ๖.๒ กิโลเมตร เช่นกันเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้วเห็นว่า เป็นการดำเนินการไปตามขั้นตอนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประกอบกับเมื่อพิจารณาประเด็นคำคัดค้านพยานหลักฐานของผู้มีส่วนได้เสียแล้วเห็นว่ารับฟังได้ คณะกรรมการสอบสวนฯ

​จึงมีมติยืนยันความเห็นว่าไม่สมควรที่จะเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินด้วยมติเป็นเอกฉันท์ จนกว่าจะได้มีพยานหลักฐานที่สามารถใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติได้ รวมถึงเอกสารหลักฐานทางกฎหมายที่สามารถพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินของการรถไฟฯ

ดังนั้น การดำเนินการรับฟังพยานหลักฐานของคณะกรรมการสอบสวนฯ เป็นไปด้วยความรอบคอบ และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยรับฟังทั้งพยานหลักฐานที่ปรากฏในการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม พยานหลักฐานของการรถไฟฯ และพยานหลักฐานที่คณะกรรมการสอบสวนฯ แสวงหามาประกอบการพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนฯ เห็นว่า พยานหลักฐานที่รวบรวมได้ยังมีความแตกต่างกันในสาระสำคัญอันจะนำมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติได้ การที่จะนำพยานหลักฐานที่ยังไม่เป็นที่ยุติไปใช้ ให้เกิดผลกระทบในทางเสียหายต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการจัดทำคำสั่งทางปกครอง อาจส่งผลกระทบให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพิจารณาผลการสอบสวนและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ ซึ่งเห็นว่ายังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไข ตามนัยข้อ 12 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์​การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ.2553 อธิบดีจึงได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯ เสนอยุติเรื่องในกรณีนี้ ตามความเห็นของคณะกรรมการฯ ที่ได้เสนอมา พร้อมทั้งแจ้งให้การรถไฟฯทราบว่า หากการรถไฟฯ เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสามารถไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลได้

​อย่างไรก็ดีการรถไฟฯ ได้อุทธรณ์คำสั่งอธิบดีกรมที่ดินในกรณีดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ หากผลการพิจารณาเป็นประการใดจะแจ้งให้ การรถไฟฯ ทราบต่อไป

​ทั้งนี้ จากการดำเนินการตามนัยดังกล่าวข้างต้น กรมที่ดินได้ดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงคำพิพากษาศาลครบถ้วนเพื่อให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2024 11:24 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“กรมที่ดิน”โต้ การรถไฟ ชี้ คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพัน 35 ราย ไม่ได้เหมารวม 5,083 ไร่ แผนที่อ้างสิทธิ์ รฟท.ไม่น่าเชื่อถือ
ผู้จัดการออนไลน์
วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:40 น.



‘เขากระโดง’ยังระอุ! ‘กรมที่ดิน’แถลงการณ์โต้ยิบ‘การรถไฟฯ’
หน้าการเมือง
วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.59 น.
กรมที่ดิน แจงยิบ สวนหมัดรถไฟ ที่เขากระโดง ดำเนินการถูกต้อง ตามคำพิพากษาศาล
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:17 น.
อัปเดตล่าสุด : วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10:33 น.
กรมที่ดิน แจงยิบ สวนหมัดรถไฟ ที่ดินเขากระโดง ดำเนินการถูกต้องตามคำพิพากษาศาล หลังการรถไฟฯ กล่าวอ้าง ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์ ยืนยันผ่านกระบวนการทางศาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว

"กรมที่ดิน"แถลงการณ์โต้ยิบ"การรถไฟฯ" ชี้คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพัน 35 ราย ไม่ได้เหมารวม 5,083 ไร่ ขณะที่"แผนที่อ้างสิทธิ์ รฟท."ไม่น่าเชื่อถือ ยันดำเนินการตามคำสั่งศาลครบถ้วน เป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ได้ออกแถลงการณ์ว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ออกแถลงการณ์การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงถึงการดำเนินการของการรถไฟฯ เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงนั้น กรมที่ดินขอเรียนชี้แจงในประเด็นที่ การรถไฟฯ กล่าวอ้าง ดังนี้ 1.ประเด็นที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างว่า ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ จึงใช้ยันบุคคลภายนอกที่ครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวรวมถึงกรมที่ดินด้วย การรถไฟฯ จึงไม่จำต้องไปใช้สิทธิฟ้องเป็นรายแปลงต่อศาลยุติธรรมแต่อย่างใด



กรมที่ดินได้ดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทั้ง 3 คดี ครบถ้วนแล้ว มีรายละเอียดดังนี้


1.1 ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876 / 2560 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นกรณีที่ราษฎร จำนวน 35 ราย เป็นโจทก์ฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากโจทก์ทั้ง 35 ราย ได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟฯ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ทั้ง 35 ราย รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้ง 35 ราย มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในอันที่จะขอออกโฉนดที่ดินได้ กรมที่ดินได้แจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์ดำเนินการยกเลิกใบไต่สวนของราษฎร จำนวน 35 ราย ที่ฟ้องคดี พร้อมทั้งจำหน่าย ส.ค.1 ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดินแล้ว

1.2 ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เป็นกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากโจทก์ได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์การรถไฟฯ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท อธิบดีกรมที่ดินได้มีคำสั่ง ที่ 2992/2564 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ให้แก้ไข รูปแผนที่และเนื้อที่ใน น.ส. 3 ข. เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (บางส่วน) ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แล้ว


1.3 ประเด็นการดำเนินการตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ลงวันที่ 22 เมษายน2563 เป็นกรณีที่การรถไฟฯ เป็นโจทก์ฟ้องราษฎร เรื่อง ขับไล่ เพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 2971, 5272 และน.ส. 3 เลขที่ 206 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ การรถไฟฯ ได้แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งกรมที่ดินได้แจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์ดำเนินการหมายเหตุการเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แล้ว (มาตรา 61 วรรคแปด)

ทั้งนี้ จากคำพิพากษาทั้ง 3 คดี ผูกพันเฉพาะที่ดินพิพาทระหว่างคู่ความในคดี คือ ที่ดินจำนวน 35 แปลง (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560) น.ส. 3 ข. เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (บางส่วน) (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561) และโฉนดที่ดินเลขที่ 2971, 5272 และ น.ส.3 เลขที่ 206 หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563) คำพิพากษาดังกล่าวไม่สามารถนำไปใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่จะมีการดำเนินคดีใหม่กับบุคคล ที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 145 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ไม่ได้วินิจฉัยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5,083 ไร่ การอ้างว่าคำพิพากษานี้เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งหมดจึงเป็นการขยายความ เกินขอบเขตของคำพิพากษา การรถไฟฯ จึงไม่สามารถนำผลของคำพิพากษาทั้ง 3 คดี ไปใช้กับที่ดินแปลงอื่นๆ ได้ เนื่องจากการได้มาของที่ดินแต่ละแปลงมีความแตกต่างกัน ราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจึงต้องมีโอกาสในการต่อสู้เพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง


2.ประเด็นที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างว่า ได้ยื่นพยานหลักฐานที่แสดงถึงการได้มาซึ่งที่ดินบริเวณเขากระโดงต่อคณะกรรมการสอบสวนฯ และร่วมรังวัดที่ดินบริเวณเขากระโดงแล้ว แต่กรมที่ดินยุติเรื่องโดยไม่รอผลการตรวจสอบแนวเขตที่ดินเมื่อพิจารณาพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 7 พ.ย.2464 ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 ที่ดินที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตแนวทางรถไฟตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานีลงวันที่ 8 พ.ย.2462 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 7 พ.ย.2464 ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากรูปแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ซึ่งกรมรถไฟมีหน้าที่จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตแสดงไว้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจดู อันเป็นหลักฐานสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงกรรมสิทธิ์และขอบเขตที่ชัดเจนของที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดังนั้น เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถแสดงหลักฐานการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และขอบเขตที่ชัดเจน รวมถึงหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้ว่าการรถไฟเข้าหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย อีกทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏอีกว่าในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงที่มีแนวเขตติดต่อกับที่ดินของการรถไฟฯ การรถไฟฯ ได้มาระวังชี้แนวเขตและลงชื่อรับรองแนวเขตให้กับเจ้าของที่ดิน โดยมิได้มีการหวงห้ามหรือหวงกันที่ดินของการรถไฟฯ แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินของ การรถไฟฯ


สำหรับการรังวัดของคณะทำงานร่วม ระหว่างการรถไฟฯ และสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการรังวัดตามการนำชี้ของผู้แทนการรถไฟฯ ตามรูปแผนที่สังเขปซึ่งจัดทำขึ้นในภายหลังเมื่อปี พ.ศ.2539 โดยไม่มีแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาตามนัยดังกล่าวข้างต้นและไม่มีเอกสารหลักฐานทางกฎหมายอ้างอิงใดๆ เพื่อประกอบการนำชี้ โดยมีราษฎรในพื้นที่และส่วนราชการคัดค้านไม่ยอมรับการนำชี้ของผู้แทน การรถไฟฯ เนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐานที่น่าเชื่อถือทางกฎหมายอ้างอิงในการที่จะพิสูจน์ได้ว่าแนวเขตที่ได้นำชี้จัดทำรูปแผนที่สังเขปเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ชัดเจนเป็นที่ยุติได้ว่าแนวเขตที่ดินของ การรถไฟฯ อยู่บริเวณใด

สำหรับประเด็นที่การรถไฟฯ ยืนยันว่า การรถไฟฯ มีหลักฐานแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายโคราช - อุบล ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ตำบลเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375 + 650 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกานั้น แผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้าง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟ ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 และพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อื่นฯ ลงวันที่ 7 พ.ย.2464 เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการที่พระราชบัญญัติจัดวางรางรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 กำหนด ซึ่งแตกต่างกับการสร้าง ทางรถไฟหลวงแยกจากสายตะวันออกเฉียงเหนือที่บ้านบุ่งหวายไปบ้านโพธิ์มูล พบว่ามีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางฯ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น พร้อมทั้งมีแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.2470 เล่มที่ 44 หน้า 313 แผ่นที่ 95 อย่างครบถ้วน จึงเชื่อได้ว่าแผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้าง ไม่ได้จัดทำให้เป็นไปตามกฎหมายสำหรับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรถไฟฯ จึงไม่อาจใช้แผนที่นั้นมากล่าวอ้างให้ที่ดินบริเวณเขากระโดงตกเป็นของการรถไฟฯ เพื่อเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินซึ่งออกให้กับประชาชนโดยชอบด้วยกฎหมายได้เนื่องจากการเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินต้องอาศัยหลักฐานที่ชัดเจนและถูกต้องตามกฎหมาย

อนึ่ง นอกจากประเด็นความไม่ชอบด้วยกฎหมายของแผนที่ดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าแผนที่แสดงเขตร์ที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลาฯ ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้าง มีรูปแบบและระยะไม่สอดคล้องตามหลักวิชาการแผนที่ เช่น ในแผนที่ระบุมาตราส่วน 1 : 4,000 กล่าวคือ 1 เซนติเมตร ในรูปแผนที่ เท่ากับ 4,000 เซนติเมตร หรือ 40 เมตร ในพื้นที่จริง หากแนวเขตจากรางรถไฟข้างละ 1,000 เมตร รูปแผนที่จะมีระยะถึงข้างละ 25 เซนติเมตร แต่แผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างมีระยะเพียง 2.5 เซนติเมตร เท่านั้น แผนที่ฉบับดังกล่าวจึงไม่มีความน่าเชื่อถือ

3.ประเด็นที่ การรถไฟฯ กล่าวอ้างว่า ข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่ามีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ในฐานะผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดินต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินทั้งหมดประเด็นดังกล่าวศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา ในคดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2566 ให้อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้การรถไฟฯ (ผู้ฟ้องคดี) ร่วมกับคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ซึ่งอธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งที่ 1195-1196/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางดังกล่าวแล้ว ซึ่งศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยในกรณีที่การรถไฟฯ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินร่วมกันเพิกถอนคำสั่งออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ โดยศาลได้มีคำวินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้งว่า หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (อธิบดีกรมที่ดิน) มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว และพิจารณาข้อเท็จจริงได้เป็นเช่นใด ย่อมเป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่จะดำเนินการมีคำสั่งตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามที่เห็นสมควร อันเป็นดุลพินิจของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งศาลไม่อาจก้าวล่วงได้


ซึ่งผลการพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนฯ ปรากฏดังนี้คณะกรรมการสอบสวนฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แผนที่ที่การรถไฟฯ กล่าวอ้างเป็นรูปแผนที่สังเขปซึ่งได้จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2539 เป็นการจัดทำขึ้นตามมติที่ประชุม กปร.ส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร กลุ่มสมัชชาคนจน เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2539 โดยผู้ฟ้องคดีนำแผนที่ดังกล่าว ไปใช้ในการต่อสู้คดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876 /2560 และ ที่ 8027/2561 จึงไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตวันออกเฉียงเหนือ พระพุทธศักราช 2464 ประกอบกับตำแหน่งที่ตั้งและแนวเขตที่ดินของการรถไฟซึ่งมีการกล่าวอ้างว่ามีระยะทาง 8 กิโลเมตร แต่จากการตรวจสอบรายงานผลการถ่ายทอดแนวเขตที่ดินการรถไฟฯ ของคณะทำงานดำเนินการถ่ายทอดแนวเขตที่ดิน ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบทางรถไฟโดยใช้วิธีการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2597 , พ.ศ.2511 , พ.ศ.2529 และ พ.ศ.2557 ปรากฏว่า ทางรถไฟมีระยะทางประมาณ 6.2 กิโลเมตร และได้ลงสำรวจเส้นทางรถไฟในพื้นที่จริงด้วยการรังวัดค่าพิกัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ (RTK) สามารถยืนยันตำแหน่งทางรถไฟที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศว่า ตรงกับตำแหน่งรางรถไฟบนที่ดินจริง ประกอบกับการตรวจสอบจากแผนที่ภูมิประเทศ ลำดับชุดที่ L 708 ซึ่งเป็นแผนที่ภูมิประเทศชุดแรกในประเทศไทยจัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร (ในช่วงปี พ.ศ.2495 - 2500) มีความยาวของทางรถไฟประมาณ 6.2 กิโลเมตร เช่นกันเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้วเห็นว่า เป็นการดำเนินการไปตามขั้นตอนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประกอบกับเมื่อพิจารณาประเด็นคำคัดค้านพยานหลักฐานของผู้มีส่วนได้เสียแล้วเห็นว่ารับฟังได้ คณะกรรมการสอบสวนฯ จึงมีมติยืนยันความเห็นว่าไม่สมควรที่จะเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินด้วยมติเป็นเอกฉันท์ จนกว่าจะได้มีพยานหลักฐานที่สามารถใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติได้ รวมถึงเอกสารหลักฐานทางกฎหมายที่สามารถพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินของการรถไฟฯ

ดังนั้น การดำเนินการรับฟังพยานหลักฐานของคณะกรรมการสอบสวนฯ เป็นไปด้วยความรอบคอบ และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยรับฟังทั้งพยานหลักฐานที่ปรากฏในการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม พยานหลักฐานของการรถไฟฯ และพยานหลักฐาน ที่คณะกรรมการสอบสวนฯ แสวงหามาประกอบการพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนฯ เห็นว่าพยานหลักฐานที่รวบรวมได้ยังมีความแตกต่างกันในสาระสำคัญอันจะนำมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติได้ การที่จะนำพยานหลักฐานที่ยังไม่เป็นที่ยุติไปใช้ให้เกิดผลกระทบในทางเสียหายต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการนำไปใช้ในการจัดทำคำสั่งทางปกครอง อาจส่งผลกระทบให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพิจารณาผลการสอบสวนและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนฯ ซึ่งเห็นว่ายังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไข ตามนัยข้อ 12 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ.2553 อธิบดีจึงได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯ เสนอยุติเรื่องในกรณีนี้ ตามความเห็นของคณะกรรมการฯ ที่ได้เสนอมา พร้อมทั้งแจ้งให้การรถไฟฯทราบว่า หากการรถไฟฯ เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสามารถไปดำเนินการเพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลได้ อย่างไรก็ดี การรถไฟฯ ได้อุทธรณ์คำสั่งอธิบดีกรมที่ดินในกรณีดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ หากผลการพิจารณาเป็นประการใดจะแจ้งให้ การรถไฟฯ ทราบต่อไป ทั้งนี้ จากการดำเนินการตามนัยดังกล่าวข้างต้น กรมที่ดินได้ดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงคำพิพากษาศาลครบถ้วนเพื่อให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2024 10:37 am    Post subject: Reply with quote

“สุริยะ” ลั่น ปมเขากระโดงต้องทำตามคำพิพากษา ถ้าทำตามกฎหมายทุกอย่างจบได้
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
วันอังคาร ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:40 น.

“สุริยะ” มั่นใจ เพื่อไทยคัดผู้สมัครนายก อบจ. มาอย่างดี ลั่น ปมเขากระโดง ต้องทำตามคำพิพากษา ศาลฎีกาตัดสินแล้วที่ 5,000 กว่าไร่ เป็นของ รฟท. ชี้ ถ้าทำตามกฎหมายทุกอย่างจบได้


วันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของพรรคเพื่อไทย ว่า ในช่วงบ่ายวันนี้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จะเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. ในนามพรรคเพื่อไทย

เมื่อถามต่อไป ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. ที่จะเปิดตัว มั่นใจจะชนะทั้งหมดใช่หรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการส่งผู้สมัคร เราพิจารณาแล้วว่าผู้สมัครจะต้องเป็นคนที่สามารถมีผลงานทำให้ อบจ. นั้นก้าวหน้าได้ และดูแลประชาชนได้ จึงได้คัดเลือกผู้สมัครเหล่านั้นมา เราคัดเลือกผู้สมัครเป็นอย่างดี ก็จะได้รับการรับเลือกจากประชาชน ส่วนคำถามถ้าเรามั่นใจว่านายก อบจ. ของพรรคเพื่อไทยจะได้รับการรับเลือกเช่นนี้ จะเป็นการสะท้อนถึงการทำงานของรัฐบาล และคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยในอนาคตในการเลือกตั้งใหญ่ครั้งถัดไปใช่หรือไม่ นายสุริยะ ตอบว่า ส่วนสำคัญคือรัฐบาลต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง การเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นก็เป็นการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่น แต่การเมืองระดับชาติก็มีปัจจัยอื่นที่เข้ามาด้วย

ผู้สื่อข่าวถามต่อถึงกรณีที่ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นำคณะลงพื้นที่เขากระโดง และมีการพูดทำนองว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก้าวล่วงสิทธิ์ประชาชนในพื้นที่นั้น นายสุริยะ ระบุว่า อยากจะทำความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และศาลฎีกา ตัดสินว่าที่บริเวณเขากระโดงนั้นเป็นที่ของ รฟท. ตนเข้าใจนายทรงศักดิ์ ที่ห่วงใยประชาชนเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเจ้าของพื้นที่ แต่เมื่อมีคำพิพากษา รฟท. ต้องทำตาม ถ้าไม่ทำตามเจ้าหน้าที่รถไฟอาจจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ และเมื่อนำที่กลับมาให้ รฟท. แล้ว เราสามารถเยียวยาประชาชนในพื้นที่ได้ โดยอาจจะคิดในราคาที่ค่อนข้างถูก ก็จะแก้ปัญหาแบบถาวรต่อไป ส่วนข้อห่วงใยสถานที่ราชการที่ตั้งในพื้นที่ 12 แห่ง อาทิ ศาลากลางจังหวัด อบจ. เรื่องเหล่านี้เราสามารถตรวจสอบก่อนถ้าเป็นที่ของ รฟท. ก็สามารถตกลงให้เช่าได้ เช่น กรณีที่ดินรัชดา ที่มีศาลอาญาและสำนักงานอัยการสูงสุด ก็มาขอเช่า ทาง รฟท. ก็ให้เช่า ซึ่งเป็นเรื่องที่เราก็ห่วงใยประชาชนเหมือนนายทรงศักดิ์



เมื่อถามอีกว่า 2 กระทรวงต้องมาคุยกันหรือไม่ เพราะพูดกันคนละภาษา นายสุริยะ ตอบว่า ตนได้ชี้แจงไปแล้วว่าที่ทั้งหมดเป็นของ รฟท. ส่วนที่นายทรงศักดิ์ ห่วงใยประชาชน ก็ต้องทำตามกระบวนการ ส่วนคำถามว่าในพื้นที่บอกว่า รฟท. ไม่มีหลักฐานยืนยัน 5,000 ไร่เป็นของ รฟท. ถ้ามีให้ไปฟ้องรายแปลง นายสุริยะ กล่าวว่า ศาลฎีกาตัดสินเรียบร้อยแล้วว่าที่ 5,000 กว่าไร่เป็นที่ของ รฟท. โดยกรมที่ดินก็พยายามที่จะพูดถึงเรื่องของคณะกรรมการกฤษฎีกา รฟท. ชี้แจงชัดเจนว่าตั้งแต่กรมรถไฟ 2462 มีการชี้แจงในพื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี จนถึงนครราชสีมา ซึ่งมีส่วนของเขากระโดงว่าเป็นที่ของ รฟท.


ทั้งนี้ สามารถยืนยันได้ว่าศาลฎีกาวินิจฉัย 5,000 ไร่ เป็นของ รฟท. ใช่หรือไม่ เพราะชาวบ้านยืนยันว่าผูกพันเฉพาะกรณี 35 ราย นายสุริยะ กล่าวว่า ตนไม่ได้เชี่ยวชาญกฎหมายจึงได้ปรึกษากับที่ปรึกษากฎหมาย และยืนยันชัดเจนว่าสามารถบังคับได้ ยืนยันว่ามีเอกสารสิทธิ์ตรงนี้ ในตอนท้ายเมื่อถามย้ำว่าเรื่องนี้จะจบหรือไม่เพราะเป็นมหากาพย์ยาวนาน นายสุริยะ ระบุว่า ถ้าทุกฝ่ายทำตามกฎหมายมันจบได้.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47428
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2024 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“สุริยะ” ลั่น ปมเขากระโดงต้องทำตามคำพิพากษา ถ้าทำตามกฎหมายทุกอย่างจบได้
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
วันอังคาร ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 16:40 น.

"อนุทิน"ระบุกรณี"ที่ดินเขากระโดง"ให้รอศาลปกครองตัดสิน
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Saturday, December 28, 2024 10:43

นายอนุทิน​ ชาญ​วี​ร​กูล​ รอง​นายก​รัฐมนตรี​และ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​มหาดไทย​ กล่าวถึงข้อพิพาทเรื่องพื้นที่​เขากระโดง หลังนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และ กรมที่ดิน ลงพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม โดยระบุว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก้าวล่วงสิทธิ์ของชาวบ้าน เพราะอยู่มาก่อน การรถไฟฯ ขณะที่ รฟท. ก็ออกแถลงการณ์ตอบโต้ว่าที่ดินดังกล่าว 5,000 กว่าไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ ว่า​ ตนได้ติดตามเหตุการณ์ดังกล่าว และได้อ่านแถลงการณ์ดังกล่าวของ รฟท. แล้วจึงได้โทรไปสอบถามอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งท่านยืนยันว่า​ ไม่ใช่แบบที่ รฟท. อ้าง และ​ได้อธิบายไปหลายครั้งแล้ว รวมถึงที่ผ่านมาก็ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลฎีกาและศาลปกครองครบถ้วน จนไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว ดังนั้นจึงต้องรอคำพิพากษาของศาลปกครอง หลังกรมที่ดินรายงานข้อสรุปของคณะกรรมการตามมาตรา 61 ที่ไม่เพิกถอนที่ดินของชาวบ้าน ว่าศาลปกครองจะมีความเห็นอย่างไร

นายอนุทิน เปิดเผยด้วยว่า ตนได้ถามอธิบดีกรมที่ดิน ว่า หากตัวเองไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และไม่มีเครือข่ายอยู่ในกระทรวงมหาดไทย​ ผลของคณะกรรมการตามมาตรา 61 อธิบดีกรมที่ดินจะวินิจฉัยออกมาเช่นนี้หรือไม่​ ซึ่งอธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่าผลก็จะเป็นเช่นนี้​ พร้อมยอมรับว่า กรณีตัวเองมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทำให้งานของอธิบดีกรมที่ดินลำบากขึ้นด้วย ต้องมานั่งแบกเรื่องนี้เพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะทำให้อยู่ในความสนใจของประชาชน

นายอนุทิน กล่าวว่า ในเมื่อเรื่องเขากระโดง แต่ละฝ่ายทั้งกรมที่ดิน และ การรถไฟฯ มีจุดยืนของตัวเองแตกต่างกัน รวมถึงประชาชนบนเขากระโดงก็มีสิทธิ์ในการปกป้องความชอบธรรมของตัวเอง เมื่อ 3 จุดนี้ไม่ตรงกัน และขณะนี้เรื่องขึ้นอยู่ในชั้นศาลแล้ว ก็ควรรอให้ศาลตัดสิน ทั้งนี้ ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการว่าให้กรมที่ดิน ห้ามทำอะไร เข้าข้างฝ่ายใดหรือให้การช่วยเหลือเกื้อกูลใครโดยเด็ดขาด


Anutin says to wait for the Administrative Court's ruling on Khao Kradong land dispute

Source - Manager Online
Saturday, December 28, 2024 10:43

Anutin Charnvirakul, Deputy Prime Minister and Minister of Interior, addressed the land dispute in Khao Kradong following the visit of Thongsak Thongsri, Deputy Minister of Interior, and the Land Department to Buriram province on December 20th.

During the visit, it was stated that the State Railway of Thailand (SRT) was encroaching on the rights of the villagers who had resided in the area before the railway's establishment. The SRT responded with a statement asserting ownership of over 5,000 rai of land.

Anutin stated that he has been following the situation and after reading the SRT's statement, he contacted the Director-General of the Land Department. The Director-General confirmed that the SRT's claims were inaccurate and explained that the department has acted in accordance with the Supreme Court and Administrative Court orders. He emphasized that the matter now rests with the Administrative Court, which will determine the outcome after the Land Department submits the conclusion of the Section 61 committee's findings on whether to revoke the villagers' land rights.

Anutin further revealed that he inquired with the Director-General whether the Section 61 committee's decision would be the same if he were not the Minister of Interior. The Director-General affirmed that the outcome would remain unchanged. Anutin acknowledged that his position as Minister of Interior has made the Director-General's work more challenging, as the case has garnered significant public attention.

Anutin concluded by stating that since the Land Department, the SRT, and the villagers each hold differing positions on the Khao Kradong issue, and the matter is currently before the court, it is appropriate to await the court's decision. He emphasized that as Minister of Interior, he has instructed the Land Department to remain impartial and refrain from taking sides or providing assistance to any party involved.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44053
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2025 3:45 am    Post subject: Reply with quote

“ทรงศักดิ์” ตรวจเขากระโดง เชื่อไม่น่าใช่ที่ดิน รฟท. ชี้หลายคนมีโฉนด

ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
วันศุกร์ ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 20:08 น.

ฟังข่าว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย “ทรงศักดิ์” พาคณะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเขากระโดง ชี้เสียงสะท้อนการรถไฟก้าวล่วงสิทธิ์ประชาชน ธนาคารไม่รับจำนอง มองไม่น่าใช่ที่ รฟท. เพราะหลายคนมีโฉนด

วันที่ 20 ธ.ค. 2567 ที่กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย (มท.2) พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี “เขากระโดง” จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบกว่า 400 คน และหน่วยงานรัฐ 12 แห่ง อาทิ ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์, อบจ.บุรีรัมย์ สถานีตำรวจ, สำนักงานขนส่ง, โรงเรียน และกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น

นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้พยายามนำข้อเท็จจริงมาสะท้อนปัญหาให้เห็นถึงข้อพิพาทเรื่องที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นประเด็นไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เมื่อก่อนไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจ ที่ต้องพูดอย่างนี้เพราะตนเป็นคนบุรีรัมย์เหมือนกัน เป็นคนบุรีรัมย์เกิดมาก็เห็นเขากระโดง เห็นประชาชนอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เห็นถนนมาจากประโคนชัยมายังบุรีรัมย์ไปมาหาสู่กัน ซึ่งเป็นคนในจังหวัดเดียวกัน และเป็นประเด็นผิดพลาดมาจะเป็นเรื่อง มีคนเข้าใจกันคลาดเคลื่อนมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือไม่ และมีข่าวที่ออกไปจนเป็นประเด็นปัญหาทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน

นายทรงศักดิ์ ยังระบุอีกว่า จากการรับฟังประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ 5,000 กว่าไร่ รวมไปถึงศูนย์ราชการและวัดที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว หากฟังทั้งหมดตนเข้าใจว่า เหมือนการรถไฟจะไปก้าวล่วงสิทธิ์ของประชาชน ตนเชื่ออย่างนี้ เพราะการได้มาซึ่งที่ดินของการรถไฟมีกฎหมายเฉพาะ ซึ่งไม่น่าจะเป็นที่ดินของการรถไฟ เป็นที่ดินที่มีความพิพาทเรื่องของความคิดเห็นประชาชนที่รับฟังจากสื่อมวลชนที่นำเสนอ น่าจะมีความเข้าใจไปในทำนองว่าประชาชนไปอยู่ในที่ของการรถไฟเพราะฉะนั้นวันนี้ถือเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ที่ทางกรมที่ดินและผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการได้เชิญประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มาพบกัน หลายคนก็แสดงเอกสารสิทธิ์ที่เป็นโฉนด ซึ่งบางคนเห็นได้ว่าโฉนดเก่ามากแทบขาด

...

ตนในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการให้กำกับดูแลกรมที่ดิน ตนเน้นย้ำกับอธิบดีอยู่เสมอว่าเริ่มพิพาทที่เป็นการลิดรอนสิทธิแบบนี้ จะต้องมีหลักฐานที่หนีบข้อมูล ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพราะกระทบกับสิทธิ์ของประชาชนไม่ใช่น้อย 5,000 กว่าไร่ 900 กว่าแปลง และต้องทำให้เกิดความชัดเจนและย้ำเน้นอยู่เสมอ เพิ่งจะนำมาสู่การนำเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของทุน วันนี้พอมีเรื่องข่าวของความไม่ชัดเจนเรื่องที่ดินทำให้ประชาชนที่ถือเอกสารสิทธิ์ไม่มีความมั่นใจ เนื่องจากธนาคารจะไม่รับเอกสารที่ดินที่มีกรณีพิพาท ถือว่าจำเป็นต้องเร่งรัดเพื่อให้เกิดความชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 207, 208, 209  Next
Page 208 of 209

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©