RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13287481
ทั้งหมด:13598805
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
boatteam
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 05/04/2010
Posts: 910
Location: แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ปากเกร็ด

PostPosted: 06/01/2011 7:38 am    Post subject: Reply with quote

ถ้าได้ตามนี้จริงๆ ก็ดี
รฟท.จะได้มีเงินรายได้จากที่ดินเพิ่มเพื่อจะเอาไปใช้ในส่วนอื่นๆได้
ส่วน กทม.รวยอยู่แล้ว แค่ภาษีอย่างเดียวก็.... Wink
_________________
สถานีบ้านเกิดอรัญประเทศ สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 06/01/2011 7:57 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวต่อเนื่องจากที่ อ.หม่องได้นำเสนอไปนะครับในหน้าข่าวของกรุงเทพธุรกิจฉบับพิมพ์นะครับ

ร.ฟ.ท.เมินต่อสัญญากทม.เช่า'ตลาดจตุจักร'

ร.ฟ.ท.ส่งหนังสือแจ้ง กทม. ไม่ต่อสัญญาเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักร เหตุบอร์ดมีนโยบายให้บริหารจัดการเอง หลังหมดสัญญาเช่าวันที่ 1 ม.ค. 2555 ยันไม่ให้เช่าช่วงต่อเหมือนในอดีต คาดรายได้เพิ่มเป็นปีละ 1.6 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่ได้ค่าเช่าจาก กทม. แค่ปีละ 24 ล้านบาท
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ร.ฟ.ท.ได้ส่งหนังสือไปยังกรุงเทพมหานคร เพื่อแจ้งว่าจะไม่ต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณตลาดนัดจตุจักร หลังสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 1 ม.ค. 2555 เพราะคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. มีนโยบายให้ ร.ฟ.ท.ทำหน้าที่บริหารตลาดนัดจตุจักรเอง โดยผู้เช่าที่ประกอบอาชีพค้าขายจริง สามารถทำสัญญาเช่าแผงกับ ร.ฟ.ท.โดยตรง และจะไม่ให้เช่าช่วงต่อเหมือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ผู้ค้าจะได้ประโยชน์จากการที่ ร.ฟ.ท.บริหารจัดการเอง เพราะอัตราค่าเช่าที่ ร.ฟ.ท.กำหนด อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาเช่าที่ผู้ค้าจ่ายจริงในปัจจุบัน ซึ่งอัตราค่าเช่าที่ผู้ค้าจ่ายจริงค่อนข้างสูง เพราะเป็นการเช่าช่วงต่อ ในเบื้องต้นคาดว่า ร.ฟ.ท.จะจัดเก็บค่าเช่าในอัตราเดือนละ 15,000 บาท และเก็บเงินกินเปล่าอีก 50,000 บาท ระยะสัญญาเช่า 5 ปี โดยมีจำนวนร้านค้าประมาณ 8,875 แผง คาดว่า ร.ฟ.ท. จะมีรายได้ปีละประมาณ 1,600 ล้านบาท

“รายได้ 1,600 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย 50% ส่วนที่เหลือจะนำไปจ่ายค่าบำนาญ ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีภาระเงินบำนาญปีละประมาณ 2,700 ล้านบาท รายได้ส่วนนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ ร.ฟ.ท.ได้ และทำให้รายได้จากการที่ดินบริเวณตลาดนัดจตุจักรเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีรายได้ปีละประมาณ 24 ล้านบาทเท่านั้น” นายสุพจน์ กล่าว

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะเร่งจัดทำแผนธุรกิจในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ ร.ฟ.ท. พิจารณาต่อไป โดยต้องสำรวจจำนวนผู้ค้าที่ค้าขายจริง ให้มีสิทธิในการเช่าแผง เพราะ ร.ฟ.ท.ไม่ต้องการให้เกิดการเช่าช่วงต่อเช่นในอดีต

ด้าน นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ต้องดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว โดยฝ่ายบริหารสินทรัพย์จะเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการทั้งหมด ในเบื้องต้นได้สำรวจข้อมูลกลุ่มผู้ค้าซึ่งมีอยู่จำนวน 8,875 ราย โดย ร.ฟ.ท.จะทำสัญญากับผู้ค้าเหล่านี้โดยตรง หลังสัญญาเช่าที่ดินของ กทม.ครบกำหนด ซึ่งจะช่วยให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถล้างภาระหนี้ในส่วนของเงินบำนาญได้ ส่วนขั้นตอนดำเนินการไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะได้สำรวจข้อมูลเบื้องต้นแล้ว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การที่นโยบายดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้นั้น ฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยที่รับผิดชอบดูแล ร.ฟ.ท. และพรรคประชาธิปัตย์ที่ดูแลรับผิดชอบ กทม. ต้องทำความตกลงให้เรียบร้อยก่อนเพื่อมิให้เกิดปัญหา ซึ่งในทางปฏิบัติถือว่าระดับนโยบายมีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้ว และการที่ ร.ฟ.ท.จะบริหารจัดการเองถือเป็นแนวทางที่เหมาะสม เพราะต้องหารายได้เพิ่มเพื่อแก้ปัญหาขาดทุนสะสม

ทั้งนี้ กทม.ได้ทำสัญญากับ ร.ฟ.ท.เพื่อเช่าพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร จำนวน 68 ไร่ 95 ตารางวา หรือ 109,180 ตารางเมตร เป็นเวลา 25 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.2530 - 1 ม.ค.2555 ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้รับค่าเช่ารวม 147 ล้านบาท เพราะอัตราค่าเช่าในช่วง 20 ปีแรกอยู่ในระดับต่ำมาก โดยในช่วง 5 ปี แรก หรือตั้งแต่ปี 2530 - 2534 อัตราค่าเช่าปีละ 1.6 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2535-2539 อัตราค่าเช่าปีละ 2.7 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2540 -2544 อัตราค่าเช่าปีละ 3.4 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2545-2551 อัตราค่าเช่าปีละ 3.4 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2551-2554 อัตราค่าเช่าปีละ 20.8 ล้านบาท และตั้งแต่ปี 2554-2555 อัตราค่าเช่าปีละ 24.2 ล้านบาท จะเห็นว่าอัตราค่าเช่าในช่วง 20 ปีแรก อยู่ในระดับต่ำมาก แต่มาปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีหลังเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/01/2011 9:54 am    Post subject: Reply with quote

'โสภณ'ตั้งแง่ต่อสัญญาเช่าตลาดจตุจักร
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 7 มกราคม 2554 08:30

นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้หารือร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เรื่องพื้นที่บริเวณตลาดนัดจตุจักร ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ให้กทม.เช่าใช้ที่ดินเป็นเวลา 25 ปี และจะสิ้นสุดสัญญาเช่าวันที่ 1 ม.ค.2555 โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รฟท.และกทม.หารือร่วมกันถึงแนวทางการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า เพื่อให้รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

"การจะต่อสัญญาเช่าพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาร่วมกันของทั้งสองฝ่าย โดยต้องไปตกลงร่วมกัน เพราะการเช่าที่ดินดังกล่าวอยู่บนเงื่อนไขการดำเนินการตามมติครม.ในอดีต ซึ่งต้องการช่วยเหลือผู้ค้าเดิมที่สนามหลวงให้มีพื้นที่ค้าขาย"นายโสภณ กล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงฯมีนโยบายว่าต้องการให้แนวทางการดำเนินงานเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย แม้คณะกรรมการรฟท.มีนโยบายให้รฟท.บริหารจัดการพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรหลังสิ้นสุดสัญญา เพื่อเพิ่มรายได้จากการบริหารทรัพย์สิน และแก้ปัญหาขาดทุนสะสม แต่หากกทม.มีข้อเสนอที่ดีก็สามารถดำเนินการร่วมกันได้ บนเงื่อนไขที่รฟท.ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น

แหล่งข่าวจากรฟท. กล่าวว่า กทม.ยังไม่ได้ยื่นข้อเสนอการต่อสัญญาเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักรมาให้รฟท.พิจารณา ซึ่งในหลักการนั้น รฟท.ต้องการผลประโยชน์ตอบแทนจากการใช้ที่ดินดังกล่าวปีละประมาณ 1,600 ล้านบาท หากกทม.สามารถรับเงื่อนไขได้ รฟท.พร้อมจะให้กทม.เป็นผู้บริหารจัดการสัญญาต่อไป ส่วนมติครม.ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ค้าเดิมที่สนามหลวงให้มีที่ค้าขายนั้น รฟท.เห็นว่าได้ให้การช่วยเหลือมาเกือบ 30 ปีแล้ว จึงไม่ควรนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นในการเจรจาขอต่อสัญญาเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักรอีกต่อไป

"รฟท.ได้รับผลตอบแทนจากการเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักรน้อยมาก โดย 5 ปีแรกได้ค่าเช่าปีละ 1.6 ล้านบาทเท่านั้น ที่ผ่านมาได้เจรจาให้กทม.ปรับเพิ่มผลประโยชน์ตอบแทนเป็นปีละ 24.2 ล้านบาทในช่วง 2 ปีสุดท้ายของสัญญา ขณะที่กทม.ยังมีปัญหาการจ่ายเงินค่าเช่าล่าช้ามาก ที่ผ่านมาติดค้างค่าเช่าเป็นเงินกว่า 80 ล้านบาท เพิ่งจ่ายเงินให้รฟท.เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา จากปัญหาเหล่านี้ทำให้รฟท.อยากบริหารจัดการเอง เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น”แหล่งข่าว กล่าว

ทั้งนี้ รฟท.ได้สำรวจจำนวนผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรและสอบถามข้อมูลต่างๆ พบว่าอัตราค่าเช่าที่ผู้ค้าจ่ายจริงนั้นสูงมาก และผู้ค้าบางรายนำพื้นที่ไปเช่าช่วงหรือเซ้งต่อในราคา 1-2 ล้านบาท ขณะที่รฟท.ได้รับผลประโยชน์จากค่าเช่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งกทม.รู้ปัญหานี้แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเช่าช่วงต่อได้ โดยให้เหตุผลว่าตรวจสอบลำบาก ซึ่งรฟท.มั่นใจว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ เพราะจะทำสัญญาตรงกับผู้ค้าจริงในปัจจุบัน โดยผู้ค้าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการที่รฟท.บริหารจัดการเองแน่นอน

ที่ผ่านมา รฟท.ได้รับผลตอบแทนจากค่าเช่าที่ดินจากกทม.ตั้งแต่เริ่มต้นสัญญาวันที่ 2 ม.ค.2530 จนถึงปัจจุบันเป็นเงินรวม 147 ล้านบาท โดยมีอัตราค่าเช่าในช่วง 5 ปีแรกตั้งแต่ปี 2530 - 2534 ปีละ1.6 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2535 - 2539 ค่าเช่าปีละ 2.7 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2540 -2544 ค่าเช่าปีละ 3.4 ล้านบาท ตั้งแต่ปี2545 - 2551 ค่าเช่าปีละ 3.4 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2551 - 2554 ค่าเช่าปีละ 20.8 ล้านบาท และตั้งแต่ปี2554 -2555 ค่าเช่าปีละ 24.2 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/01/2011 10:02 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.รื้อโครงสร้างค่าเช่าที่ เน้นเป็นธรรม/ลดความเสี่ยงหนี้สูญ
แนวหน้า วันที่ 7/1/2011

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ร.ฟ.ท.ได้ปรับปรุงโครงสร้างค่าเช่าที่ดินทั่วประเทศ ตามที่ คณะอนุกรรมการด้านพัฒนาที่ดิน เสนอมา อาทิ ให้จัดเก็บค่าเช่าในช่วงแรกของสัญญาในสัดส่วนที่มากกว่าช่วงท้ายสัญญา เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงกรณีที่ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า และกรณีอื่นๆคาดว่าการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงแรกของสัญญาจะช่วยให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี จากเดิมที่เก็บได้เพียง 1,600 ล้านบาทต่อปี

ด้านนายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท.กล่าวว่า โครงสร้างค่าเช่าใหม่ ที่บอร์ด รฟท.ได้อนุมัติไปเมื่อเร็วๆนี้ ไม่มีผลกับสัญญาเก่า แต่จะมีผลเฉพาะสัญญาใหม่ และในกรณีของต่อสัญญาเดิม นอกจากนี้จะไม่มีผลต่อกรณีการเช่าที่ดินแปลงใหญ่ หรือสัญญารายใหญ่ เพราะจะต้องต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ(พรบ.)ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วม งานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) เช่น การพัฒนาย่านมักกะสัน ย่านพหลโยธิน สถานีแม่น้ำฯลฯ

ทั้งนี้โครงสร้างใหม่ ร.ฟ.ท.ได้ปรับปรุงอัตราค่าเช่าให้เป็นธรรมมากขึ้น หลังจากผู้เช่าร้องเรียนว่าว่าเป็นอัตราที่สูงเกินไป อย่างกรณีการปรับเพิ่มค่าเช่าต่อปีจากเดิมปรับขึ้นอัตรา 5% ทุกปี เปลี่ยนเป็นปรับขึ้น 15% ทุก 5 ปี เชื่อว่าจะสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ย และเป็นไปตามกลไกของตลาดมากยิ่งขึ้น

"ในภาพรวมการปรับโครงสร้างค่าเช่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้เช่า แต่ในส่วนของ ร.ฟ.ท.จะลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับค่าเช่าในระหว่างที่สัญญายังไม่ครบกำหนด" นายทวีศักดิ์ กล่าว

โดยปัจจุบันร.ฟ.ท.มีสัญญาเช่าที่ดิน และทรัพย์สินรวมกว่า 14,000 สัญญา ประมาณการรายได้ว่า ในปี2554จะมีรายได้จากจากการพัฒนาที่ดินทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 2,200 ล้านบาท เมื่อเทียบจากจากปี 2553 ที่มีรายได้ 1,890 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2011 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

'อภิสิทธิ์'บีบรถไฟ ให้กทม.เช่าจตุจักร
หน้า 8 ข่าวสดรายวัน
ปีที่ 20 ฉบับที่ 7344
วันที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2554


ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งหนังสือแจ้งกทม. จะไม่ต่อสัญญาเช่าที่ตลาดนัดจตุจักร ซึ่งล่าสุดตนได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกฯ ได้พิจารณาว่าจะต้องเป็นไปตามโครงสร้างเดิมที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล แต่หาก รฟท.จะบริหารเองจะต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เนื่องจากครม.มีมติเมื่อปี 2522 ให้ กทม.เป็นผู้บริหารส่วน เรื่องผลตอบแทนในค่าเช่าขณะนี้มอบหมายให้นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. หารือกับคมนาคมอีกครั้ง

ด้านนายพรเทพกล่าวว่า สำหรับค่าเช่าที่เหมาะสมนั้นน่าจะมีราคาต่ำกว่าองค์การตลาดสินค้าเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.) ประมาณ 30% หรือคิดเป็นจ่ายค่าเช่าให้ รฟท.เพิ่มขึ้นเป็น 44 ล้านบาทต่อปี จากเดิม 22 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว รฟท.น่าจะยอมรับได้

//---------------------------------------------------------------

สัญญาเช่าที่ดินจตุจักรจบยาก
หน้าเศรษฐกิจ เดลินิวส์
วันศุกร์ ที่ 07 มกราคม 2554 เวลา 9:49 น

นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม. ได้หารือร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีการเช่าที่บริเวณตลาดนัดจตุจักร ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ให้สิทธิกทม. เช่าเป็นระยะเวลา 25 ปี และจะสิ้นสุดสัญญาเช่าในวันที่ 1 ม.ค. 55 โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รฟท.และกทม.ไปหารือร่วมกันถึงแนวทางการดำเนินงานต่อไปว่าจะบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรอย่างไร

อย่างไรก็ตามนโยบายกระทรวงคมนาคมต้องการให้การดำเนินงานใด ๆ นั้น สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย และแม้ว่ารฟท.จะมีแนวคิดในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรเอง เพื่อเพิ่มรายได้จากการบริหารทรัพย์สินและแก้ปัญหาขาดทุนสะสม แต่หากกทม.มีข้อเสนอที่ดีก็สามารถดำเนินการร่วมกัน โดยที่รฟท.สร้างรายได้เพิ่มจากการบริหารได้ด้วย

“การจะต่อสัญญาเช่าที่ตลาดนัดจตุจักรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาร่วมกันของทั้งสองฝ่ายที่ต้องตกลงร่วมกัน เนื่องจากการเช่าที่ดินดังกล่าวอยู่บนเงื่อนไขการดำเนินงานตามมติครม.ในอดีตที่ต้องการช่วยเหลือผู้ค้าขายที่สนามหลวงให้มีที่ทำกิน”

แหล่งข่าวจากรฟท.กล่าวว่า กทม.ยังไม่ได้ยื่นข้อเสนอการต่อสัญญาเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักรมาให้รฟท.พิจารณา แต่หลัก การแล้วรฟท.ต้องการผลประโยชน์ตอบแทนจากที่ดินดังกล่าวปีละประมาณ 1,600 ล้านบาท ซึ่งหากกทม.รับเงื่อนไขนี้ได้ รฟท.ก็ยินดีที่จะให้กทม.เป็นผู้บริหารสัญญาต่อไป ส่วนมติครม.ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ค้าสนามหลวงให้มีที่ทำกินนั้น เห็นว่าการช่วยเหลือดังกล่าวผ่านมาเกือบ 30 ปีแล้ว จึงไม่น่าจะใช้เป็นประเด็นหลักในการเจรจาต่อสัญญาครั้งนี้

“ต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ที่รฟท.ได้รับจากการเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักรน้อยมาก และตลอดอายุสัญญา รฟท.ได้เจรจากับกทม.ให้ปรับเพิ่มผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดในปีสุดท้ายของสัญญาอยู่ที่ 24 ล้านบาท ขณะที่การจ่ายเงินของกทม.ยังมีปัญหาล่าช้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 53 ได้ชำระเงินค่าเช่าและเงินค้างจ่ายเป็นเงินกว่า 80 ล้านบาทให้กับรฟท. ทำให้รฟท.อยากจะบริหารเอง เพราะต้องการรายได้ที่เพิ่มขึ้น”.

เจรจาคมนาคมเช่าที่จตุจักรยันราคาเดิม
หน้ากทม. เดลินิวส์
วันศุกร์ ที่ 07 มกราคม 2554 เวลา 10:42 น

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)กล่าวถึงกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งหนังสือแจ้ง กทม.จะไม่ต่อสัญญาเช่าที่ตลาดนัดจตุจักร ซึ่งล่าสุดตนได้หารือกับนายกรัฐมนตรี พร้อมกับนาย สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ถึงแนวทางการต่อสัญญา ซึ่งนายกฯ ได้พิจารณาว่าจะต้องเป็นไปตามโครงสร้างเดิมที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล แต่หาก รฟท.จะบริหารเองจะต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่วนการเจรจาเรื่องผลตอบแทนในค่าเช่า ขณะนี้มอบหมายให้นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. นัดหมายเจรจากับปลัดกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง ซึ่งค่าเช่าจะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามความเหมาะสม

ด้านนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รอง ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า การเจรจานั้นอยู่ระหว่างให้ ก.คมนาคม กำหนดวันเจรจาที่แน่นอนมา ซึ่งแผนการเจรจานั้น กทม.ก็จะยืนยันค่าเช่าเดิมตามที่ รฟท.เสนอมาก่อนหมดสัญญาแล้วและการขึ้นค่าเช่านั้นก็จะทำให้ผู้ค้าลำบากเนื่องจาก กทม.ก็ต้องขึ้นค่าเช่าเพิ่มเติมด้วย และหากจะขึ้นก็คงอยู่ในกรอบที่ กทม. กำหนดไว้ หากมากกว่านั้นก็คงต้องนำเข้า ครม.ให้ช่วยพิจารณา แต่การที่ รฟท. จะไปดำเนินการนั้นต้องมีการเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งถือว่าค่อนข้างลำบากเพราะต้องเริ่มระบบการบริหารจัดการและรื้อโครงสร้างตลาดใหม่ รวมถึงอุปกรณ์เจ้าหน้าที่ที่ใช้ในการดูแลนั้นอาจจะต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด

สำหรับค่าเช่าในปี 2554 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก่อนจะหมดสัญญานั้น แผงค้าทั้งหมด 8,000 แผงจะต้องจ่ายค่าเช่าเพิ่มขึ้นอีก 120 บาทต่อเดือน จากเดิมที่เก็บอยู่ที่ 120-2,800 บาท ขณะที่อัตราที่ รฟท. ขอขึ้นอยู่ที่ 222 บาทต่อเดือน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2011 10:15 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ค้าจตุจักรรับได้ค่าเช่าแผงแพงขึ้น
หน้า กทม.

เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม 2554 เวลา 9:55 น

นายชาตรี โสภณบรรณารักษ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการค้าตลาดนัดจตุจักร เปิดเผยถึงกรณีที่ นายกรัฐมนตรี ขอให้กระทรวงคมนาคม ทบทวนมติคณะกรรมการบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่จะไม่ต่อสัญญาเช่าตลาดนัดจตุจักร กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปเจรจากันในรายละเอียดนั้น สำหรับในเรื่องของอัตราค่าเช่าที่ทั้งสองหน่วยงานจะต้องทำความตกลงกัน ซึ่งแนวโน้มอาจทำให้ค่าเช่าเพิ่มสูงจากอัตราปัจจุบัน นั้นเนื่องจากตลาดจตุจักร ทำการค้าเพียง 2 วันค่าเช่าจะเท่ากับตลาด อ.ต.ก. หรือคิดค่าเช่าเท่ากับเอกชนไม่ได้ นอกจากนี้ที่มาของตลาดฯ ก็เป็นการทดแทนพื้นที่ค้าเดิมที่สนามหลวง ดังนั้นการกำหนดราคาค่าเช่าต้องดูความเหมาะสมต้องดูตามความเป็นจริง ในส่วนของผู้ค้าเองหากค่าเช่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมก็เป็นเรื่องที่รับได้ แต่จะต้องเป็นอัตราที่เหมาะสมและมีเหตุผล เพราะตลาดจตุจักรไม่ได้ทำเพื่อการพาณิชย์เพียงอย่างเดียวแต่เป็นการช่วยเหลือวิสาหกิจของชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งสินค้าที่จำหน่ายในตลาด 70 เปอร์เซ็นต์เป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน การคิดค่าเช่าก็ต้องดูให้สอดคล้องทั้งความเป็นจริงและความเป็นมา ไม่ใช่ดูเฉพาะการแสวงหาผลกำไรทางพาณิชย์อย่างเดียว ทั้งนี้ทางสมาคมฯ จะติดตามการเจรจาระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย และเตรียมที่จะเคลื่อนไหวต่อหากยังไม่มีความคืบหน้า.

//---------------------------------------------------

เอาเป็นว่าร้านหนังสือเก่าที่ผมเคยเป็นลูกค้าขาประจำก็ย้ายหนีไปแถว ถนนปรดิษฐ์มนูธรรมซะแล้ว เพราะ สู้ราคาเช่าใหม่ไม่ไหวจริงๆ Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/01/2011 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

แม่ค้าตลาดรถไฟธนบุรีบุกคค.ค้านประมูลตลาด
ข่าว INN 11.01.2011 12:41

กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ตลาดสถานีรถไฟธนบุรี หรือ ศาลาน้ำร้อน เดิมกว่า 100 คน ได้นำรถเครื่องเสียงและป้ายผ้า คัดค้านการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. จะนำตลาดสถานีรถไฟธนบุรี ออกประมูลใหม่ หน้ากระทรวงคมนาคม โดยมองว่า การประมูลที่เกิดขึ้นน่าจะมีการตรงลงผลประโยชน์กับนายทุนรายใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับพื้นที่ค้าขายและพ่อค้าแม่ค้า ที่ทำมาหากินอยู่เดิมที่อาจจะต้องเช่าในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งทาง กระทรวงคมนาคม ได้ส่งนายประกิจ พลเดช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม รับหนังสือและไปชี้แจงข้อมูลที่แท้จริงกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดย นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการที่เช่าพื้นที่การรถไฟเดิม ได้หมดสัญญาการเช่า ซึ่งทางการรถไฟ มีโยบายจะเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยมีแนวทางที่จะยกระดับเป็นตลาดที่ได้รับมาตรฐาน แต่ทั้งนี้ยังคงมีการคัดค้านจากหลายฝ่าย จึงยังไม่มีแผนที่ชัดเจน

----------------------------------
ค้านคมนาคมเปิดสัมปทานตลาดศาลาน้ำร้อน
โพสต์ทูเดย์ 11 มกราคม 2554 เวลา 12:46 น.

พ่อค้า-แม่ค้า ตลาดสถานีรถไฟธนบุรี รวมตัวประท้วงหน้ากระทรวงคมนาคม ค้านรฟท.เปิดประมูลคัดเลือกเอกชนรายใหม่เข้ามาบริหารพื้นที่

นายอนุรักษ์ บุญแสงทิพย์ แกนนำพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสถานีรถไฟธนบุรี หรือ ตลาดศาลาน้ำร้อน เกือบ 100 คน ได้รวมตัวประท้วงหน้ากระทรวงคมนาคม เพื่อคัดค้านกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนรายใหม่เข้ามาบริหารพื้นที่ตลาดแห่งนี้ และมีกระแสข่าวว่าจะมีการลงทุนปรับปรุงตลดาใหม่อีก 200 - 300 ล้านบาท ทำให้กลุ่มผู้ค้ารายเดิมเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากพื้นที่ค้าขายในระหว่างก่อสร้างและอัตราค่าเช่าที่อาจปรับสูงขึ้น นายอนุรักษ์ กล่าวว่า มีข่าวว่า มีนายทุนรายใหม่จะเข้ามาหาผลประโยชน์ในตลาดแห่งนี้

โดยมีการวางแผนแบบเป็นขั้นตอน มีการติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบิดเบือนข้อเท็จจริงรวมทั้งมีการแอบอ้างเบื้องสูง เพื่อจะผลักดันให้ รฟท.ไม่ต่อสัญญากับบริษัทเอกชนรายเดิม

ทั้งนี้หากผู้ค้าในตลาดศาลาน้ำร้อนไม่ได้รับคำตอบจากกระทรวงคมนาคม ก็จะไม่หยุดการชุมนุมและจะเพิ่มความรุนแรงในการชุมนุมมากขึ้น

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผ.อ. สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร(สนข.) กล่าวว่า บริษัทที่เป็นผู้ได้รับสัมปทานตลาดสถานีรถไฟธนบุรี รายเดิมได้หมดสัญญาลงและการรถไฟฯ ไม่ต่อสัญญา เพราะต้องการนำมาบริหารพื้นที่เอง โดยจะยกระดับให้เหมือนตลาดระดับบน แต่ยังมีคนคัดค้าน จึงทำให้การวางแผนงานไม่เสร็จสิ้นสักที
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2011 1:46 am    Post subject: Reply with quote

เช่าทีรถไฟจ่ายก่อน 70%: ร.ฟ.ท.ล้อมคอกป้องกันลูกค้าเบี้ยว/ปรับใหญ่ทั่วประเทศ
หน้าแรก - ข่าวปก
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1167 ประจำวันที่ 12-14 มกราคม 2554

เปิดโครงสร้างค่าเช่าที่ดินรถไฟฯ ทั่วประเทศใหม่ เก็บก่อน 70% อีก 30% เกลี่ยเป็นค่าเช่ารายปี จากเดิมที่เก็บก่อนเพียง 30% “สุพจน์” ระบุที่ต้องเก็บก่อน เพื่อป้องกันผู้เช่าไม่จ่าย ด้าน “ทวีศักดิ์” เผย ร.ฟ.ท.มีสัญญาเช่ากว่า 14,000 สัญญาทั่วประเทศ คาดเมื่อเข้าสู่โครงสร้างใหม่ ปี 54 รายได้จากการพัฒนาที่ดินทั่วประเทศเพิ่มขึ้น เป็น 2,200 ล้านบาท

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวง คมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงสร้างค่าเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท.ทั่วประเทศใหม่ได้ศึกษาเสร็จเรียบร้อย แล้ว โดย สัญญาเช่าที่ดินตามโครงสร้างใหม่ ร.ฟ.ท.จะเก็บค่าเช่าในสัดส่วน 70% ก่อนเลย จากปัจจุบันที่จัดเก็บค่าเช่าที่ดินในสัดส่วน 30% ของปีแรก และในปีต่อๆ ไปเก็บ 70% จนสิ้นสุดอายุสัญญา เพื่อลดความเสี่ยงและประกันรายได้ของ ร.ฟ.ท. เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้เช่าพื้นที่บางสัญญาไม่ยอมจ่ายค่าเช่า จนเป็นเหตุให้มีการฟ้องร้องกัน นอกจากนี้ ยังทำให้ ร.ฟ.ท.ขาดรายได้จากที่ดิน ทั้งๆ ที่มีที่ดินอยู่เป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการจัดเก็บค่าเช่าใหม่ดังกล่าวจะช่วยให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี จากเดิมที่เก็บได้เพียง 1,600 ล้านบาทต่อปี

“ในการประชุมบอร์ดเร็วๆ นี้ ที่ประชุม มีมติให้ ร.ฟ.ท.จัดตั้งคณะอนุกรรมการ ด้านพัฒนาที่ดิน หลังจากที่ร.ฟ.ท.ปรับปรุงโครงสร้างค่าเช่าที่ดินทั่วประเทศใหม่แล้วเสร็จ ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวจะเข้ามาจัดทำรายละเอียดเงื่อนไขของสัญญาเช่าใหม่ โดยจะเปลี่ยนการจัดเก็บค่าเช่าในช่วงแรกของสัญญาในสัดส่วนที่มากกว่าช่วงท้ายสัญญา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต เช่น กรณีผู้เช่าฟ้องร้องการรถไฟฯ หรือกรณีผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า” นายสุพจน์ กล่าว

ด้านนายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า โครงสร้างค่าเช่าใหม่ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.สัญญารายเล็กประเภทตึกแถวหรือที่ดินมูลค่าน้อย อายุสัญญาไม่เกิน 15 ปี เก็บค่าธรรมเนียมการจัดประโยชน์ 70% อีก 30% เกลี่ยเป็นค่าเช่ารายปี

2.สัญญารายกลาง อายุสัญญาตั้งแต่ 15-30 ปี เก็บค่าธรรมเนียมการจัดประโยชน์ 50% อีก 50% เกลี่ยเป็นค่าเช่ารายปี และ

3.สัญญารายใหญ่ เช่นที่ดินแปลงใหญ่ที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 เช่น การพัฒนาที่ดิน ย่านมักกะสัน ย่านพหลโยธิน สถานีแม่น้ำ จะเก็บค่าธรรมเนียมการจัดประโยชน์ 30% อีก 70% เป็นค่าเช่ารายปี

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงอัตราค่าเช่าที่ปรับเพิ่มต่อปี จากอัตรา 5% ทุกปี เป็น 15% ทุก 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยและเป็นไปตามกลไกของตลาดมากขึ้น จากเดิมที่จะปรับค่าเช่าขึ้น 5% ทุกปี โดยคิดตามดัชนีผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งผู้เช่าร้องว่าเป็นอัตราที่สูงเกินไป

“ในภาพรวมการปรับโครงสร้างค่าเช่าและอัตราการปรับเพิ่มต่อปีใหม่ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้เช่า เนื่องจากมูลค่ารวมของสัญญาเท่าเดิม ในขณะที่ร.ฟ.ท.ยังคงได้รับผลตอบแทนในแต่ละสัญญาเท่าเดิม แต่จะลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับค่าเช่าในระหว่างที่สัญญายังไม่ครบกำหนดได้ โดยปัจจุบันร.ฟ.ท.มีสัญญาเช่าที่ดินและทรัพย์สินรวมกว่า 14,000 สัญญา ซึ่งในปี 2554 ประมาณการรายได้จากการพัฒนาที่ดินทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 2,200 ล้านบาท จากปี 2553 ที่มีรายได้อยู่ที่ 1,890 ล้านบาท และปี 2552 มีรายได้ 1,793 ล้านบาท” นายทวีศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าหมายว่ารายได้จาก การพัฒนาที่ดินทั่วประเทศจะช่วยให้การรถไฟฯสามารถอยู่รอดได้ อีกทั้งส่วนหนึ่งจะนำมาใช้หนี้บำเหน็จบำนาญของพนักงานรถไฟฯ ซึ่งมีวงเงินสูงถึง 156,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีพนักงานที่อยู่ในระบบบำนาญ ราว 25,749 คน แบ่งเป็น

พนักงานที่เกษียณอายุแล้ว 12,349 คน
พนักงานที่ทำงานอยู่ 13,400 คน

โดยข้อมูลปี 2551 มีค่าใช้จ่ายบำเหน็จบำนาญประมาณ 2,777 ล้านบาทขณะที่การรถไฟฯ มีหนี้สินสะสมขณะนี้ประมาณ 7.29 หมื่นล้านบาท

เป็นเงินกู้จากงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน 14,320 ล้านบาท
ด้านรถจักรและล้อเลื่อน 12,331 ล้านบาท
โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ 22,345 ล้านบาท
และหนี้สินอื่นๆ (กู้เพื่อแก้ไขการขาดสภาพคล่อง) อีก 23,854 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44824
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2011 11:10 pm    Post subject: Reply with quote

ชุมชนบนที่รถไฟสายใต้วิตกรางคู่ สอช.เร่งสำรวจเบื้องต้นพบ 5 พันครัวเรือนกระทบ
ประชาไท Fri, 2011-01-14 22:45

ชุมชนบนที่รถไฟสายใต้วิตกรางคู่ สอช.เร่งสำรวจข้อมูลหาทางแก้ เบื้องต้นพบ5พันครัวเรือนจะได้รับผลกระทบ เดินหน้าขอเช่าที่จากรฟท.

นางละออ ชาญกาญจน์ ประธานกลุ่มออมทรัพย์ดินรถไฟชุมชนกุโบร์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นชุมชนแออัดบนที่ดินรถไฟสายเก่า ในฐานะตัวแทนสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.) เปิดเผยว่า สอช.ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. และชุมชนบนที่ดินรถไฟ กำลังสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัยของชุมชนในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ทั่วประเทศเสนอต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)พร้อมกับข้อเสนอในการแก้ปัญหา


Click on the image for full size
นางละออ ชาญกาญจน์

นางละออ เปิดเผยต่ออีกว่า ขณะนี้ข้อมูลยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยในส่วนของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ซึ่งตนเป็นคณะทำงานสำรวจและรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้น พบว่า มีชุมชนที่อยู่ในระยะ 40 เมตร จากรางรถไฟ ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ในอนาคตและการรื้อฟื้นทางารถไฟสายเก่าสายหาดใหญ่ – สงขลา จำนวน 50 ชุมชน รวม 5,354 ครัวเรือน ในพื้นที่ 9 จังหวัดที่มีทางรถไฟผ่าน

นางละออ เปิดเผยอีกว่า ความร่วมมือดังกล่าว มีขึ้นเนื่องจากมีกระแสว่า รัฐบาลมีข้อตกลงกับต่างประเทศเรื่องโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกับโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ ถ้ารถไฟรางคู่เข้ามาถึงแล้วค่อยสำรวจ เพื่อหาทางแก้ปัญหาก่อนจะไม่ทันการ ชุมชนต้องไปอยู่ที่ไหน การรถไฟแห่งประเทศไทยก็ไม่รับผิดชอบ สอช.จึงรวบรวมข้อมูลส่งให้ พอช. เพื่อจะขอเช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย

“ที่วิตกคือพี่น้องได้รับผลกระทบจากรถไฟรางคู่ เพราะบางคนอยู่ในที่ดินรถไฟมานาน ถ้าถูกไล่รื้ออะไรจะเกิดขึ้นกับคนเหล่านี้ พวกเขาจะไปอยู่ที่ไหน พวกเขาจะมีที่ไปไหม จะทำอาชีพอะไร จะอยู่กินอย่างไร นี่จะเป็นผลกระทบสำหรับคนมีรายได้น้อย” นางละออ กล่าว

นางละออ เปิดเผยต่อว่า ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาชุมชนบนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยการเช่าที่ดินนั้น คณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้ พอช.เป็นคู่สัญญาเช่ากับการรถไฟแห่งประเทศไทย แล้วให้ชุมชนเช่าจากพอช. เป็นเวลา 30 ปี ยกเว้นในเขตห้ามเช่า คือ ในรัศมี 40 เมตรจากรางรถไฟ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องหาสถานที่แห่งใหม่รองรับในระยะทางไม่เกิน 5 กิโลเมตร

“ในการขอเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น มีเงื่อนไขว่าชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง โดยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนขึ้นมาเพื่อให้กลุ่มเช่าที่ดินต่อจากพอช. จากนั้นกลุ่มออมทรัพย์ก็ให้สมาชิกมาเช่าที่ดินที่อยู่อาศัยต่อ” นางละออ กล่าว

นางละออ เปิดเผยด้วยว่า ในวันที่ 22 มกราคม 2554 นี้ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีนายประกิจ พลเดช ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทวงคมนาคม เป็นประธานจะลงพื้นที่ชุมชนบนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อสำรวจความเข้มแข็งของชุมชนก่อนที่จะอนุญาตให้เช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยต่อไป จากนั้นในวันที่ 23 มกราคม 2554 คณะกรรมการชุดนี้ก็จะเดินทางมาสำรวจชุมชนในอำเภอเมืองสงขลาต่อ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
wiriya_aek
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 02/11/2009
Posts: 527
Location: สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2011 11:26 pm    Post subject: Reply with quote

ชุมชนรถไฟบนเส้นทางสายสงขลา มีรายได้น้อยจริงๆเหรอครับ ไว้ว่างๆจะถ่ายรูปบางบ้านเรือนให้ดูว่าบ้านนั้นสบายอย่างไร แต่ส่วนคนที่รายได้น้อยมันก็มีอยู่จริงครับ แต่คนที่ดูจากบ้านที่สร้างแล้วรายได้บางบ้านไม่น้อยเลยนะครับ
และยังสงสัยครับ เรื่องชุมชนเข้มแข็ง ที่ตกลงเช่าที่กับการรถไฟฯไว้นั้น ที่ผมเคยอ่านเจอในเว็บข่าวเว็บหนึ่งว่าต้องเว้นระยะจากสันรางเป็นระยะ 5 เมตร แต่ในความเป็นจริงบ้านทับรางรถไฟเลยครับ
อ่อ เพิ่งนึกได้มีกรณีหนึ่งที่ ตำรวจภาค 9 เข้าจับกุมโต๊ะพนันฟุตบอลที่เมืองสงขลา บ้านหลังนั้นก็สร้างบนแนวรางรถไฟเช่นกันครับ

หากข้อความไม่เหมาะสมอย่างไรขออภัยด้วยครับ เขียนมาจากความรู้สึกขัดๆระหว่างข่าวที่ว่า ผู้บุกรุกรายได้น้อย กับ สภาพบ้านที่สบาย บนแนวรางรถไฟ
_________________
:: ร่วมปลุกเส้นทางสายสงขลาให้กลับมามีชีวิตชีวา ในโอกาสที่จะใกล้ครบ 100 ปี หลังจากหลับใหลไปในความทรงจำกว่า30 ปี :: http://www.facebook.com/songkhlastation
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 198, 199, 200  Next
Page 34 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©