Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311313
ทั่วไป:13280874
ทั้งหมด:13592187
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 36, 37, 38 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
boatteam
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 05/04/2010
Posts: 910
Location: แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ปากเกร็ด

PostPosted: 26/01/2011 7:32 am    Post subject: Reply with quote

ทุกวันนี้ตรงบางซื่อ รถสายใต้ก็ใช้ได้แค่รางเดียวอยู่แล้ว
และยังต้องย้ายแนวรางของรถสินค้าที่มาจากทางใต้อีก
ต่อไปสงสัยย่านสินค้าตรงบางซื่อก็คงไม่เหลือ Sad
_________________
สถานีบ้านเกิดอรัญประเทศ สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 26/01/2011 1:41 pm    Post subject: Reply with quote

เพราะคนเราไม่ยอมเสียสละเพื่อส่วนรวมและประเทศชาติ เอาแต่ให้ตัวเองสะดวกสบาย อย่างอื่นฉันไม่สนไงครับ

ทางคู่ของมาเลย์จ่อถึงปาดังฯแล้วครับ แล้วฝั่งไทยยังเป็นทางเดี่ยว

เมื่อก่อนเรามองว่าบ้านเมืองและรถไฟมาเลย์เค้าล้าหลังเรามาก แต่ตอนนี้เค้านำหน้าเราไปตั้ง20ปีแล้ว เราจะรู้สึกสังเวชตัวเองบ้างมั้ยนะ?........

ตื่นได้แล้วครับ อย่ามัวแต่ชื่นชมกับความยิ่งใหญ่ในอดีตที่มันจางหายไป

แล้วรีบจับมือกันเพื่อช่วยกันประคองชาติบ้านเมืองไม่ให้มันตกต่ำกว่านี้เถอะครับ......
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44752
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2011 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

การดำเนินโครงการพิเศษสายศรีรัช — วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
RYT9 ข่าวเศรษฐกิจ มติคณะรัฐมนตรี -- พุธที่ 26 มกราคม 2554 14:55:26 น.

เรื่อง การดำเนินโครงการพิเศษสายศรีรัช — วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน (Public Private Partnerships : PPPs) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ และให้กระทรวงคมนาคม การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการโครงการทางพิเศษสายศรีรัช — วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร โดยการให้เอกชน เข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ Build — Transfer — Operate กรอบวงเงินลงทุนประมาณ 27,022 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) ประมาณการวงเงินลงทุนของภาคเอกชน จำนวน 17,458 ล้านบาท และ
(2) ประมาณการวงเงินลงทุนของภาครัฐ โดยเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ ที่ดินของโครงการ จำนวน 9,564 ล้านบาท
ตามที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เสนอ โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการขยายโครงข่ายทางพิเศษให้มีความครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มขึ้น และสามารถรองรับและเพิ่มทางเลือกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งธนบุรีและกรุงเทพมหานครของประชาชนที่อาศัยอยู่ในฝั่งพื้นที่ธนบุรี รวมทั้งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงข่ายถนนพื้นราบในพื้นที่โดยรอบโครงการดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง

2. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม (คค.) และ กทพ. รับความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัดต่อไป

3. เห็นควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่มีความประสงค์ที่จะให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการลงทุนในโครงการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ในระยะต่อไป ดำเนินการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ และกำหนดรูปแบบการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนที่มีความเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป

4. มอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และกรมบัญชีกลางร่วมกันพิจารณาแนวทางการตรวจสอบการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป โดยอาจพิจารณาปรับใช้เครื่องมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 และเห็นควรกำหนดให้มีการตรวจสอบการดำเนินโครงการตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของโครงการ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของโครงการต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

สศช. รายงานว่า คค. ได้เสนอเรื่อง การดำเนินโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน (Public Private Partnerships : PPPs) ของ กทพ. ให้ สศช. พิจารณาตามขั้นตอน พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553 มีมติเห็นชอบในหลักการของโครงการดังกล่าวและมอบหมายให้ สศช. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามกฎหมาย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. คค. นำเสนอการดำเนินโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร วงเงินลงทุน 27,022 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง จำนวน 17,137 ล้านบาท ค่าทบทวนแบบและควบคุมงาน จำนวน 321 ล้านบาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 9,564 ล้านบาท ภายใต้รูปแบบการลงทุน Build — Transfer — Operate โดยมีสาระสำคัญของโครงการ ดังนี้

1.1 ลักษณะทางกายภาพของโครงการ
(1) วัตถุประสงค์ เพื่อขยายโครงข่ายของทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในทางทิศตะวันตก โดยขยายขอบข่ายการให้บริการจากทางพิเศษศรีรัช ไปทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก เพื่อแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนระดับดินและระบายการจราจรทางด้านทิศตะวันตกระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(2) แนวเส้นทาง โครงการทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เป็นการก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายสีแดงช่วงบางซื่อ — ตลิ่งชัน ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงข่ายบนเขตทางรถไฟที่มีอยู่เดิมเป็นส่วนใหญ่ มีระยะทางทั้งสิ้น 16.7 กิโลเมตร โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนกาญจนาภิเษก บริเวณ โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้เดิมข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหก และไปสิ้นสุดที่ทางพิเศษศรีรัชส่วน A บริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2)

(3) อัตราค่าผ่านทาง จัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบเปิด โดยปีแรกที่เปิดให้บริการ (ปี 2559) คิดอัตราค่าผ่านทาง รถ 4 ล้อ เท่ากับ 50 บาท/คัน และปรับเพิ่มทุก 5 ปี ตามค่าเฉลี่ยดัชนีผู้บริโภค

(4) วงเงินลงทุน 27,022 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง 17,137 ล้านบาท ค่าทบทวนแบบและควบคุมงาน 321 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 9,564 ล้านบาท

1.2 ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของโครงการ โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 20,011 ล้านบาท (อัตราคิดลดร้อยละ 12) และมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ร้อยละ 22.23

1.3 ความเหมาะสมทางการเงินของโครงการ กรณีรัฐอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจะทำให้โครงการมี ผลตอบแทนทางการเงินคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 5,768 ล้านบาท (อัตราคิดลดร้อยละ 6.18) และมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ร้อยละ 8.94

1.4 ความเหมาะสมของการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน กรณีให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ BTO จะทำให้เอกชนมีผลตอบแทนทางการเงินคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 802 ล้านบาท และมี FIRR ร้อยละ 6.89

1.5 แผนดำเนินงาน คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2559
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 มกราคม 2554
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/05/2009
Posts: 487

PostPosted: 26/01/2011 6:21 pm    Post subject: Reply with quote

RORONOA wrote:
ใช้เขตทางของรฟท. เท่าที่มองสายสีแดงก็ใช้พื้นที่เสียหมดแล้ว นี่ยังไม่สามารถจะเวนคืนที่หมดเลยด้วยซ้ำ ยังจะนำโครงการอื่นมาลงอีก พอทีถนนล่ะก็พูดปุ๊บทำปั๊บ ทำไมรถไฟไทยทำไม่ได้อย่างนี้บ้างหนอ Confused


จริงๆด้วยครับ ถนนนี่มีอำนาจวิเศษ เนรมิตรได้รวดเร็วจริงๆ
เจอที่ดินเอกชนของใครก็เวณคืนกันไป เจอที่ดินหลวงเหมือนกันก็ขอกัีนดื้อๆแบบนี้เสียเลย
Back to top
View user's profile Send private message
KnGEA4539
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2010
Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล

PostPosted: 26/01/2011 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

ถนนทุกวันนี้ก็เป็นดอกเห็ดอยู่แล้ว ยังจะสร้างทางด่วนทับเส้นรถไฟฟ้าสายสีแดงอีก

เป็นกรรมของ รฟท.จริงๆ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44752
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2011 11:08 am    Post subject: Reply with quote

เร่งหาข้อสรุปค่าเช่าตลาดนัดจตุจักร
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1171 ประจำวันที่ 26-1-2011 ถึง 28-1-2011

เร่งหาข้อสรุปค่าเช่าตลาดนัดจตุจักร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินของกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพฯ หรือตลาดนัดจตุจักร ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)หลังจากที่สัญญาเช่าพื้นที่กับ ร.ฟ.ท.จะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม 2555 นี้ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างที่นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.ประสานไปยังนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคมเพื่อเจรจาในเรื่องดังกล่าวโดยพยายามจะให้มีการเจรจากันโดยเร็วที่สุดภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

สำหรับการเจรจากันในครั้งนี้จะอยู่บนพื้นฐานที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ได้พิจารณาและดำริว่าจะต้องเป็นไปตามโครงสร้างเดิมที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งก็คือ กทม.เป็นผู้ดูแลและบริหารงานต่อไปส่วนอัตราค่าเช่าที่ตลาดนัดจตุจักรครั้งใหม่นั้นนายกฯ ก็พิจารณาเห็นชอบว่าควรเป็นอัตราเดียวกับตลาดองค์การตลาดสินค้าเพื่อการเกษตร (อ.ต.ก.)ซึ่งตนเห็นว่ามีความเหมาะสมเช่นเดียวกันเพราะหาก ร.ฟ.ท.จะคิดอัตราค่าเช่าที่สูงแบบของเอกชนคงจะไม่ได้ เพราะต่างก็เป็นหน่วยงานภาครัฐเช่นเดียวกัน

-------------------------------------------------

จ.นครศรีธรรมราช ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนลาดยางสายเลียบทางรถไฟ แก้ปัญหาการจราจรติดขัด

นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จากปัญหาการจราจรที่หนาแน่น ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อันเนื่องจากเป็นเมืองเก่า และไม่มีการจัดระบบผังเมืองที่ดี มีถนน ตรอก ซอยคับแคบ ประกอบกับถนนราชดำเนิน ซึ่งเป็นถนนสายหลักของเมืองฯ มีปริมาณการใช้รถใช้ถนนอย่างหนาแน่น และติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้จัดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจรดังกล่าว และเห็นพ้องกันให้มีการก่อสร้างเลียบทางรถไฟ จากสถานีวังวัว อำเภอพระพรหม ถึงสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช โดยร่วมดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอน ทั้งการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การขออนุญาตใช้พื้นที่ของการรถไฟ ตลอดถึงการประสานงานต่างๆ ถึงขณะนี้ กระทรวงคมนาคมมอบหมายให้กรมทางหลวงชนบท วางแผนดำเนินการก่อสร้างฯและทำสัญญาจ้างบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีมูลค่าการก่อสร้าง 127.5 ล้านบาท ซึ่งจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2554

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยอีกว่า วัตถุประสงค์ของโครงการก่อสร้างถนนลาดยางสายเลียบทางรถไฟนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองนครศรีธรรมราช สนับสนุนยุทธศาสตร์ โลจิสติกส์ (Logistics) และสนับสนุนการท่องเที่ยว ลักษณะและที่ตั้งโครงการ เป็นการก่อสร้างถนนตัดใหม่ขนานไปกับทางรถไฟ ฝั่งตะวันออก เป็นผิวจราจรแบบ ASPHALTIC CONCRETE ขนาดกว้าง 7.00 เมตร ไหล่ทาง ข้างละ 2.50 เมตร ระยะทาง 6.371 กม. ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 7 แห่ง และการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย หากดำเนินการแล้วเสร็จ คาดจะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดได้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก

ผู้สื่อข่าว : นครศรีธรรมราช(ส.ปชส.) Rewriter : สุริยน ตันตราจิณ
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th
วันที่ข่าว : 27 มกราคม 2554

-----------------------------------------------

รถไฟรื้อสูตรเก็บค่าเช่า
ไทยโพสต์ 28 มกราคม 2554

บอร์ด ร.ฟ.ท.ไฟเขียว รื้อสูตรเก็บค่าเช่าที่ดินใหม่ตามขนาดโครงการ หลังใช้รูปแบบจัดเก็บ 70:30 มานาน คาดเพิ่มรายได้ให้ปีละ 2 พันล้านบาท พร้อมทั้งให้ปรับค่าเช่าเชิงพาณิชย์ขึ้น 15% ทุก 5 ปี

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ได้เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท.รูปแบบใหม่ โดยเฉพาะการคิดค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์และค่าเช่า จากเดิมมีการจัดเก็บในสัดส่วนของค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ 30% และค่าเช่า 70% ในทุกโครงการ เปลี่ยนเป็นการแบ่งชำระตามขนาดของโครงการแทน

สำหรับโครงสร้างใหม่ ประกอบด้วย 1.โครงการขนาดเล็ก มูลค่าโครงการไม่เกิน 500 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี จัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ 70% และค่าเช่า 30%, 2.โครงการขนาดกลาง มูลค่าโครงการตั้งแต่ 500 ล้านบาท ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อายุสัญญา 20 ปี จัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ 50% และค่าเช่า 50% และ 3.โครงการขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อายุสัญญา 30 ปี จัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ 30% และค่าเช่า 70%

รวมทั้งมีการปรับเพิ่มค่าเช่าที่ดินและทรัพย์สินตามระเบียบของ ร.ฟ.ท.ฉบับที่ 129 ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. โดยให้ปรับเพิ่ม 15% ทุก 5 ปี โดยการปรับเพิ่มดังกล่าวให้รวมทั้งการเปรียบเทียบอัตรามาตรฐานเชิงพาณิชย์ การต่อสัญญาเช่าที่ดิน และการต่อสัญญาเช่าอาคารด้วย ยกเว้นหน่วยงานที่ได้รับการพิจารณาเป็นอย่างอื่น เช่น องค์การพัฒนาชุมชน ที่ให้คงใช้อัตราการปรับค่าเช่าตามที่ได้อนุมัติไว้แล้ว

ทั้งนี้ การปรับปรุงดังกล่าวจะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินเป็นปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท จากเดิมที่เก็บได้เพียง 1,600 ล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2011 10:08 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

รถไฟรื้อสูตรเก็บค่าเช่า
ไทยโพสต์ 28 มกราคม 2554

บอร์ด ร.ฟ.ท.ไฟเขียว รื้อสูตรเก็บค่าเช่าที่ดินใหม่ตามขนาดโครงการ หลังใช้รูปแบบจัดเก็บ 70:30 มานาน คาดเพิ่มรายได้ให้ปีละ 2 พันล้านบาท พร้อมทั้งให้ปรับค่าเช่าเชิงพาณิชย์ขึ้น 15% ทุก 5 ปี


ตอนนี้ ASTV ก็ออกขาวเรื่องเดียวกันกับที่ไทยโพสต์ลง ดูได้ที่นี่ครับ

รถไฟรื้อสูตรเก็บค่าเช่าที่ดินใหม่-เชิงพาณิชย์ขึ้น15%ทุก5ปี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 มกราคม 2554 23:15 น.

(คัดเอาเฉพาะที่ต่าไปจากไทยโพสต์)

รวมทั้งมีการปรับเพิ่มค่าเช่าที่ดินและทรัพย์สินตามระเบียบของ ร.ฟ.ท.ฉบับที่ 129 ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. โดยให้ปรับเพิ่ม 15% ทุก 5 ปี โดยการปรับเพิ่มดังกล่าวให้รวมทั้งการเปรียบเทียบอัตรามาตรฐานเชิงพาณิชย์ การต่อสัญญาเช่าที่ดิน และการต่อสัญญาเช่าอาคารด้วย ยกเว้นหน่วยงานที่ได้รับการพิจารณาเป็นอย่างอื่น เช่น องค์การพัฒนาชุมชน ที่ให้คงใช้อัตราการปรับค่าเช่าตามที่ได้อนุมัติไว้แล้ว

//-----------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนกรุงเทพธุรกิจจะเน้นไปเรื่องการต่ออายุสัมปทานไอซีดีลาดกระบัง ไปอีก 1 ปีก่อนจะลงเล่นเสียเอง ตามข่าวต่อไปนี้ครับ

รฟท.ต่อสัมปทานไอซีดีลาดกระบัง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 28 มกราคม 2554 08:00

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรม การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการรฟท.เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาสัญญาสัมปทานบริหารจัดการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องหรือสถานีไอซีดีลาดกระบัง ซึ่งสัญญาจะครบกำหนดวันที่ 5 มี.ค.นี้ โดยที่ประชุมอนุมัติให้ต่ออายุสัญญาผู้ประกอบการเดิม 6 รายต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.2554 จน ถึงวันที่ 5 มี.ค.2555 โดยใช้อัตราค่าธรรมเนียมสัญญาสัมปทานสุดท้ายที่เรียกเก็บ คิดเป็นเงินเดือนละประมาณ 40 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการสถานีไอซีดีใหม่ หลังครบกำหนดสัมปทาน โดยให้รฟท.เป็นผู้ประกอบการเอง โดยอาจว่าจ้างผู้ประกอบการเอกชน ให้เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการสถานี เพราะผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระบุว่าว่ารฟท.จะได้รับประโยชน์มากกว่าการให้สัมปทานเอกชน โดยคาดว่าจะมีรายได้จากการบริหารสถานีไอซีดีเพิ่มขึ้นเป็นปีละ13,000 ล้านบาท หลังจากนี้จะเสนอครม.อนุมัติต่อไป

“ปัจจุบันรฟท.มีรายได้จากค่าสัมปทานสถานีไอซีดีน้อยมากปีละกว่า 400 ล้านบาทเท่านั้น โดยเป็นรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ แต่เมื่อรฟท.บริหารเอง จะมีรายได้จากการบริหารตู้สินค้าภายในสถานีไอซีดีด้วย และคาดว่าปริมาณตู้สินค้าในสถานีไอซีดีจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 แสนทีอียู จากปัจจุบัน 4 แสนทีอียู จากการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เชื่อว่ารายได้จะเป็นไปตามผลศึกษาแน่นอน"นายสุพจน์ กล่าว

ทั้งนี้ การบริหารจัดการสถานีไอซีดีเองจำเป็นต้องใช้เวลาดำเนินการ ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้ทันหลังสิ้นสุดสัมปทานในเดือนมี.ค.นี้ รฟท.จึงต้องต่ออายุสัมปทานให้ผู้ประกอบการเดิม เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42783
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2011 9:55 pm    Post subject: Reply with quote

“ฤา...จะสิ้นตลาดจตุจักรยุคกทม.”
เรื่อง : อัษฎาพร มณีพันธุ์
ภาพ : พงศ์ศักดิ์ ขวัญเนตร
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 1 กุมภาพันธ์ 2554 18:03 น.



ใครจะคิดว่าตลาดนัดห้องแถว หลังคามุงสังกะสี แถมยังไม่ติดแอร์ จะเป็นที่ดึงดูดใจให้คนทั้งในและต่างประเทศแห่มาเดินจนทำให้มีเงินหมุนเวียนสะพัดอยู่หลายพันล้านบาท ด้วยมูลค่าที่มากมายของมันกลายเป็นบ่อเกิดของปมปัญหาระหว่างสองหน่วยงานระดับบิ๊ก ที่ตอนนี้ยังแก้ไม่ตกว่าจะยกกรรมสิทธิ์ และรายได้มหาศาลไว้บนหน้าตักใคร

..กว่าจะเป็นตลาดนัดจตุจักร


คงต้องขอเกริ่นถึงความเป็นมาของตลาดนัดจตุจักรให้รู้กันคร่าวๆ ก่อนว่า แม่ค้าพ่อค้ายุคเริ่มแรกนั้นขนย้ายกันมาตั้งแต่ที่ยังทำมาค้าขายอยู่บริเวณสนามหลวง ซึ่งในตอนแรกก็ไม่มีใครอยากจะมา เนื่องจากว่ากลัวจะขายของไม่ได้เหมือนครั้งอยู่สนามหลวง และทำเลก็อยู่ไกลจากความคุ้นชินของบรรดาลูกค้าประจำ

แต่ความที่คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นมีนโยบายที่จะใช้สนามหลวงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมถึงจะใช้เป็นสถานที่จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และงานรัฐพิธีต่างๆ ซึ่งขณะนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มอบที่ดินย่านพหลโยธินตอนต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่กรุงเทพฯ เพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ เป็นจำนวน 74.57 ไร่ โดยทำสัญญาไว้ 30 ปี จนเกิดมามีปัญหาที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจะไม่ทำการต่อสัญญา เนื่องจากสัญญาที่จะหมดลงในเดือนมกราคม 2554

ยุคเด่นตลาดกลางวัน ยุคทองตลาดกลางคืน


นอกจากจะมีสินค้ามากมายตั้งเรียงรายอยู่บนพื้นที่กว่า 70 ไร่ ใน 27 โครงการ ตลาดกลางวันที่ผู้คนเบียดเสียดกันในทางเดินแคบๆ และการต้องงัดเอาความพยายามมาใช้ค้นหาของที่ดีและถูกใจที่สุดแล้ว ก็ต้องยอมรับว่านี่เป็นอีกหนึ่งสีสันที่ทำให้ผู้ซื้อหลายคนติดอกติดใจในตลาดนัดแห่งนี้อีกด้วย

นี่ยังไม่นับรวมตลาดกลางคืนที่เปิดขายตั้งแต่ 01.00-06.00 น. เป็นขุมทรัพย์สินค้าขายส่ง จากเดิมที่มีร้านค้าเปิดขายกันแค่ 100-200 ร้าน ปัจจุบันเพิ่มจำนวนเป็น 500 ร้านอย่างรวดเร็วภายในเวลาแค่ 2 ปี ซึ่งทั้งหมดอยู่ในโซนเสื้อผ้าแฟชั่น ตั้งแต่โครงการ 20-24 ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ราคาสินค้าตลาดกลางวันซื้อง่ายขายคล่องแค่ไหน ตลาดกลางคืนมีราคาที่ดึงดูดใจคนซื้อได้ยิ่งกว่า ยกตัวอย่างเบาๆ อย่างเสื้อยืดสกรีนที่ขายกันทั่วไปตัวละ 180-200 บาท มาที่นี่สามารถซื้อหาได้ในราคาโหลละ 1,320 บาท อันนี้เป็นราคาที่ดีทั้งคุณภาพและลายสกรีนนะ ถ้าจะหาที่ย่อมเยากว่านี้ก็มีให้ หรือเสื้อผ้าผู้หญิงที่ทั่วไปขายกันตัวละ 300-400 บาท มาที่นี่ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ตัวละ 50 บาทถ้วนเท่านั้น ติดตรงที่จะมาเมื่อไหร่ ขอให้นัดแนะเพื่อนฝูงมาซื้อพร้อมกัน เพราะร้านส่วนใหญ่ขายส่ง 3 ตัวขึ้น มาหลายคนพอหารกันจะได้ราคาถูกแบบพอดีๆ

ตลาดนัดไอเดีย


ขณะเดียวกัน ตลาดจตุจักรมีความหลากหลายของสินค้า ภาครัฐจึงพยายามทำให้ตลาดจตุจักรเป็น “ONE of the best destination in Bangkok” โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าและบริการด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแล้ว กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งในการปรับปรุงภูมิทัศน์ของตลาดจตุจักร ซึ่ง ปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ให้สัมภาษณ์ว่า

“ทางเราได้จัดระดมความคิดเห็นจากผู้ประกอบการและผู้ที่มาจับจ่ายซื้อสินค้าก่อนแล้วว่าเขามีความต้องการอะไรบ้าง นอกจากนี้ยังได้จัดประกวดตราสัญลักษณ์ ติดตั้งป้ายทั้ง 27 โครงการ มีการติดตั้งไดเร็กทอรี่ ทำป้ายแผนที่ขนาดใหญ่แสดงบริเวณต่างๆ ในตลาดจตุจักร ในส่วนของลูกค้าต่างชาติ เราได้จัดทำแผ่นพับที่มีภาษาอังกฤษ ติดตั้งแบนเนอร์โฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้าในโครงการต่างๆ ที่น่าสนใจ ร่วมถึงการปรับปรุงห้องน้ำให้มากและสะอาดขึ้น”

ฟังแล้วก็ได้แต่เสียดายที่โครงการดีๆ อย่างนี้หมดอายุไปตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2553 ไม่อย่างนั้น ผู้ที่มาเดินซื้อของคงจะมีกิจกรรมดีๆ อย่าง การแสดงมินิคอนเสิร์ตของศิลปิน ให้ดูกันเพลินๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าของดีๆ อย่างนี้จะมีมาอีกเมื่อไหร่??

ช๊อก! รถไฟไม่ต่อสัญญา


ในขณะที่ทุกอย่างกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี ก็มีข่าวที่สะเทือนตั้งแต่คนนั่งบริหารตลาดนัดอย่างกรุงเทพมหานครไปยันพ่อค้าแม่ค้าตาดำๆ ด้วยทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจะไม่ต่อสัญญาเช่าพื้นที่แก่กรุงเทพมหานคร แต่มีสิทธิ์ที่จะเข้ามาบริหารจัดการเอง แถมแว่วว่าจะยกเครื่องใหม่ทั้งระบบอีกด้วย

“ทางการรถไฟฯมีหนังสือตอบปฏิเสธไม่ทำสัญญากับ กทม.ตั้งแต่ปี 2549 และได้จ้างทีมงานลงไปศึกษาดูว่าถ้าเอามาทำเอง จะทำรายได้มากกว่าทุกวันนี้ และถ้าหากทางรถไฟฯเอามาทำเองก็จะให้ทางผู้ประกอบการที่ขายของอยู่ตั้งแต่เดิมได้มีสิทธิ์เซ็นสัญญาก่อน ส่วนเรื่องราคาค่าเช่า ทางรถไฟจะให้เช่าถูกกว่าค่าเช่าเดิม” สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าว

ซึ่งค่าเช่าที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยพูดถึงนั้น เป็นค่าเช่าที่ผู้ถือสิทธิ์เดิมให้เช่าช่วงต่อกันเอง ซึ่ง ประเมินอยู่ที่ล็อกละ 15,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตามทางการรถไฟฯ ยืนยันว่าต้องดูข้อมูลเพื่อหาราคาที่เหมาะสมกันอีกครั้ง

ค้านกับคำชี้แจงเรื่องค่าเช่าที่ อรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร (ตลาดจตุจักร) ได้อธิบายว่า “เราคิดค่าเช่าแผงละ 120 บาท ตั้งแต่ย้ายมาจากสนามหลวงใหม่ๆ เมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว แต่ถ้าใครทำผิดกติกา เช่น ไม่เปิดร้านบ่อยครั้ง จะถูกปรับกระทงละ 120 บาท ก็จะกลายเป็นเสียเดือนละ 240 บาท ถ้าผิดอีกก็ถูกปรับเพิ่มอีก 120 บาท เป็น 360 บาท เป็นอย่างนี้ทุกเดือนไป คิดเป็น 80% ของตลาด จะมีค่าเช่าแพงที่สุดราคา 3,000 กว่าบาทอยู่ 2 ราย พวกนี้พิสดารกว่าคนอื่น เซ้งบ่อยเปลี่ยนมืออยู่เรื่อย”

ฟังจบคนฟังอย่างเราถึงกับอ้าปากค้าง อุทานออกมาแบบเก็บไม่อยู่ เพราะจากที่เคยรู้ๆ มาค่าเช่าร้านอยู่ที่ 15,000 บาท และค่าเซ้งนั้นก็ต้องมีเงินอยู่ในมือเป็นจำนวนหกหลักขึ้น อันนี้ไม่นับทำเลริมรั้วที่เขาว่าขายดี๊ ขายดีนะ เพราะทำเลอย่างนั้นเขาเล่นกันถึงขั้นรับแลกด้วยบ้านหรือรถกันเลย

ข้อมูลสดๆ ยังไม่หมดเท่านี้ เพราะผู้อำนวยการสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร) ยังพูดให้ฟังเพิ่มเติมอีกว่า

“กองอำนวยการฯ ทำมา 30 ปี มีเงินอยู่ 200 ล้าน จากค่าปรับและการจัดอีเวนต์” ได้ฟังอย่างนี้ย้ำเข้าไปอีก เลยไม่รู้ว่าจริงๆ ขุมทรัพย์ของเงินที่ทางการรถไฟฯ มองเห็นมันอยู่ตรงไหน
ส่วนเรื่องการให้เช่าที่ต่อ แม้จะรับรู้ปัญหาเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้มากนัก เพราะเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นไปด้วยความยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้เช่าและผู้ให้เช่า

งานช้างสำหรับรถไฟ

ถ้าตัดสินกันแบบไม่พิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาจากฝั่งกองอำนวยการตลาดนัด ก็ดูเหมือนทางการรถไฟฯ จะสามารถเอาพื้นที่ตลาดนัดคืนจากกรุงเทพมหานครได้โดยง่าย เพียงแต่ยืนยันไม่ต่อสัญญา และเอากลับมาบริหารจัดการเอง

“การรถไฟฯจะทำได้อย่างไร คิดดูแค่เก็บขยะจากแผงแปดพันแผงคุณทำได้หรือเปล่า ก็ต้องกทม.อยู่ดี มีปัญญาเก็บหรือเปล่า วันหนึ่งเป็นพันๆ ตัน ถ้ากทม.บอกว่าไม่เก็บ จะทำอย่างไร”
และเมื่อพูดคุยกับทางฝั่งพ่อค้าแม่ค้าก็พูดอ้อมแอ้มตามประสาคนไม่มีทางเลือกมากนักว่า พอจะได้ทราบข่าวมาบ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่าทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันว่าอย่างไร แต่ถึงจะตกลงกันอย่างไร คนขายก็คงต้องยินยอมตามนั้นอยู่ดี

ส่วนทางออกของการแก้ไขข้อพิพาทครั้งนี้ อรุณ กล่าวว่า

“ท่านนายกฯ บอกว่า ค่าเช่าจะเอาอย่างไรก็ตกลงกัน ต้องตกลงกันแบบรัฐต่อรัฐ เลิกพูดได้แล้วว่าการรถไฟจะทำเอง คิดว่าคุณจะคิดเท่าไหร่กับค่าที่ตรงนี้ดีกว่า แล้วมาพิจารณากันว่าทั้งสองฝ่ายไหวที่เท่าไหร่ มีหลักว่ารัฐต่อรัฐเจรจากัน ไม่ใช่ถือว่ารถไฟเป็นพ่อค้า กทม.เป็นผู้ค้า เป็นเครือข่ายของรัฐตกลงกัน เหมือนพี่น้อง กระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวา คุณจะมาเอากำไรอะไรจากผมล่ะ”

รู้อย่างนี้ เห็นทีการรถไฟต้องกลับไปคิดอีกหลายตลบ.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44752
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/02/2011 11:10 pm    Post subject: Reply with quote

ฟื้นรถไฟหาดใหญ่-สงขลา
'ไพร' ชี้แก้น้ำท่วม-จราจร/63 ชุมชน ถอย 10 ม.

นสพ.โฟกัสภาคใต้ ปีที่ 11 (2) ฉบับที่ 677 (86) 29 ก.พ.- 4 ก.พ. 54

การรถไฟฯ เดินหน้าโครงการรถไฟรางคู่ทั่วใต้ นัดเคลียร์ชาวชุมชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ และสงขลา กรณีสัญญาเช่าและการบุกรุก แกนนำชุมชนยอมถอยฝั่งละ 5 เมตร เพื่อที่อยู่ใหม่และความเจริญ 'ไพร' เล็งแผนรองรับแก้น้ำท่วมและจราจร ด้านรองนายกฯ นครสงขลา ระบุยากที่จะใช้ทางรถไฟเก่า เชื่อชาวบ้านยังไม่ยอมย้ายออก

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยระหว่างตัวแทนชุมชนที่ดินรถไฟกับ 3 องค์กร คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชนหรือ พอช.) เครือข่ายสลัม 4 ภาค และสหพันธ์องค์กรชุมชนพัฒนาคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) ที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัยบนที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามโครงการบ้านมั่นคง เพื่อแก้ปัญหาชุมชนที่ดินรถไฟทั่วประเทศ ร่วมกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย

เส้นทางรถไฟร้างสายหาดใหญ่-สงขลา ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร ซึ่งได้ยกเลิกเดินรถเมื่อปี 2521 ทำให้มีผู้บุกรุกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งปัจจุบันถึงขนาดมีการสร้างที่อยู่อาศัยคร่อมราง จนไม่สามารถเหลือสภาพความเป็นทางรถไฟไว้ให้เห็นอีก

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม มีแผนที่รื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายนี้ขึ้นมาอีกครั้งตามแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงเมืองหาดใหญ่กับเมืองสงขลา ของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และจากการศึกษาพบว่า ระบบรถไฟชานเมืองที่วิ่งบนทางรถไฟเดิมมีความเหมาะสมมากที่สุด อันส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยที่ดินรถไฟทั้ง 63 ชุมชนตลอดเส้นทาง


โดยเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2554 นายอุดร ขันชะลี ผู้อำนวยการศูนย์ประจำการ การรถไฟได้ลงพื้นที่สำรวจชุมชนที่อาศัยอยู่บนที่ดินการรถไฟชุมชนกุโบว์ อ.เมืองสงขลา และชุมชนทุ่งเสา อ.หาดใหญ่เพื่อชี้แจงถึงแนวเขตที่ชุมชนต้องคืนให้กับการรถไฟ เพื่อขยายเส้นทางรองรับโครงการ รถไฟรางคู่สายหาดใหญ่-สงขลา ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้

นายอุดร กล่าวว่า แต่ละชุมชนให้เข้าใจว่ามันจะเกิดอะไรและต้องทำอย่างไร ซึ่งพบว่าจาก 63 ชุมชนขึ้นอยู่กับเครือข่ายสลัม 4 ภาค 12 ชุมชน ส่วนที่เหลือจะขึ้นกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) โดยทั้ง 2 องค์กร จะเป็นผู้เช่าที่ของการรถไฟแทนชุมชน อย่างการลงพื้นที่ อ.เมืองสงขลา มีการเสนอยื่นเช่ามา 12 ชุมชน ซึ่งเมื่อตรวจสอบบัญชีก็พบว่า ซ้ำกับที่ สอช. ได้ยื่นเช่าไว้ก่อนหน้านี้ ทางเราก็เลยเชิญผู้แทนชุมชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องมาถามความสมัครใจ ว่าจะให้ทาง สอช. เป็นผู้ยื่นเช่าหรือจะให้ทางเทศบาลเป็นผู้ยื่นเช่า โดยข้อสรุปที่ อ.เมืองสงขลา ให้ สอช.เป็นผู้ทำการเช่าแทน

สำหรับพื้นที่ อ.หาดใหญ่ เดิมนายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่เสนอขอเช่าไปก่อนหน้านี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนว่า ถ้าหากจะเช่าที่ริมทางรถไฟทั้งหมดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ให้ชุมชนจัดรูปแบบของโครงการในชุมชนให้กับทางรถไฟดูว่าจะใช้พื้นที่ส่วนไหนอย่างไรใหม่ เพราะเมื่อครั้งที่นายไพรเสนอไปนั้นยังไม่มีโครงการรถไฟรางคู่

"วันนี้ผมเรียนท่านประธานที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีฯ ไปว่า ให้เรียนนายกไพรไปด้วยว่าตอนนี้มันรถไฟรางคู่แล้วนะ ถ้าเกิดว่าจะขอพื้นที่ของการรถไฟก็ให้เร่งรัดทำแผนมา เราจะได้คุยกันว่าพื้นที่ตรงไหนที่เราจะให้ได้" นายอุดรกล่าว และว่า ระยะทางโครงการรถไฟรางคู่หาดใหญ่ สงขลา ตามแผนงานมันเป็นการรื้อฟื้นทางรถไฟขึ้นมาใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่า จะให้เป็นรางรถไฟหรือถนนรถยนต์ แต่ว่าใช้พื้นที่ของการรถไฟเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเวนคืนที่ของชาวบ้าน

นายอุดร กล่าวต่อว่า เวลานี้การบุกรุกเกือบจะเต็มพื้นที่ไปแล้ว แต่ที่เราจัดพื้นที่ให้ จะมีมาตรฐานการจัดพื้นที่ เช่น แต่ละครัวเรือนไม่เกิน 32 ตารางเมตร และก็จะมีพื้นที่สาธารณูปโภค อีกทั้งหากซึ่งหลังจากที่ได้ลงพื้นที่ ชาวชุมชนกับ สอช. เครือข่ายสลัม 4 ภาค และที่ชุมชนสังกัดจะต้องทำแผนผังที่จะขอเช่าร่วมกัน และให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของการรถไฟ ฝ่ายบำรุงทางของการรถไฟไปทำการตรวจสอบว่าพื้นที่ที่ขอเช่าดังกล่าวกีดขวางการเดินรถในอนาคตหรือไม่ อย่างไร หลังจากนั้นจึงจะรู้ว่าพื้นที่ทั้งหมดมีเท่าไร

ซึ่งโดยปกติแล้ว เขตทางรถไฟวัดจากศูนย์กลางรางแล้ว จะมีพื้นที่ข้างละ 40 ขณะนี้ผมให้คำตอบไม่ได้ว่าพื้นที่บุกรุกมีกี่ไร่แน่ ส่วนการวัดพื้นที่ให้เช่า เรานับจากศูนย์กลางของรางไป 20 เมตร ก่อนจะให้เช่าในเฉพาะบริเวณพื้นที่ 20 เมตรหลัง แต่ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีการบุกรุกเข้ามามาก แต่ก็อนุโลมให้

เมื่อสำนักนโยบายและแผนขนส่งของกระทรวงคมนาคมได้มีการศึกษาร่วมกันว่า จะทำทางเชื่อมเมืองหาดใหญ่กับเมืองสงขลาขึ้นมาใหม่อีกเส้นทางหนึ่งโดยใช้ทางรถไฟเดิม ปัญหาจึงเกิดกับผู้ที่บุกรุก แต่ที่ผ่านมาทางคณะกรรมการก็ได้มีการดำเนินการมาตลอด ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านตามชุมชนต่าง ๆ ที่บุกรุกก็เข้าใจแล้ว และยอดหลีกออกมาวัดจากกึ่งกลางรางข้างละ 5 เมตร ชาวบ้านเข้าใจและไม่ขัดขวางอะไร เพราะเรามีมาตรฐานในการจัดการ ไม่ว่าเป็นการเช่าเพื่อประกอบธุรกิจต่าง ๆ หรือกับคนจนที่เช่าเพื่อที่อยู่อาศั

สำหรับธุรกิจบนที่ดินรถไฟที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ บางแห่งก็ได้ทำสัญญา บางแห่งก็บุกรุกเข้ามา แต่ทุกสัญญาจะมีอยู่ข้อหนึ่งระบุว่า หากการรถไฟต้องการใช้พื้นที่คืน ให้แจ้งไปภายใน 30 วัน ผู้ประกอบการจะต้องคืนพื้นที่ให้กับการรถไฟ ลักษณะเดียวกันในส่วนของชาวบ้านที่ยังไม่ได้ทำสัญญาเช่า เราก็ต้องตกลงกันก่อน เพื่อไม่ให้เขาเสียหาย คุณจะได้ไม่ต้องไปรื้อทีหลัง

สำหรับความคืบหน้าของโครงการขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาของ สนข. แต่ในแผนพัฒนาจะเริ่มในระยะแรกที่จังหวัดหนองคาย คู่รถไฟของประเทศจีนจะมาทางประเทศลาวและเข้ามาทางจังหวัดหนองคายและยังมีรถไฟของประเทศจีนจากจังหวัดหนองคายลงไปประเทศมาเลเซีย ลงมาทางใต้อีกหนึ่งเส้นทาง

ส่วนการแก้ปัญหากับผู้บุกรุกที่ไม่ได้ขึ้นกับชุมชน นายอุดรกล่าวว่า ปกติแล้วการเข้าใช้ที่ของการรถไฟที่ไม่ได้รับอนุญาตตามระเบียบของการรถไฟ ก็ต้องมีการฟ้องร้องขับไล่ออกไป แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเกิดว่าชาวบ้านต้องการที่จะใช้เช่าที่ของการรถไฟ ก็ให้ยื่นหนังสือขอเช่าได้ที่ท้องที่ได้เลย อาจจะยื่นกับทางฝ่ายการเดินรถ หรือฝ่ายบำรุงทางที่หาดใหญ่ แล้วเขาก็จะพิจารณาว่า พื้นที่ที่ขอเช่าถ้ามันไม่กีดขวางการเดินรถ และอยู่ในอำนาจอนุมัติของใครก็จะให้เช่าไปชั่วคราวก่อน

กรณีที่มีการโก่งราคาค่าเช่าที่ดินรถไฟ ซึ่งปกติตารางเมตรละ 20 บาทต่อปีนั้น นายอุดรกล่าวว่า เราไม่สามารถควบคุมได้ เพราะให้ พอช. เขาไปจัดการแล้ว แต่เราสามารถตรวจสอบ พอช. ได้ว่า เวลาที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นแล้ว ถ้าคุณไม่ไปจัดการให้เรียบร้อย เราก็ขอยกเลิกสัญญา ซึ่งในปัจจุบันนี้การตรวจสอบนี้แทบจะไม่ต้องทำอย่างไรเลย เพราะถ้าเกิดมีคนทำผิดเมื่อไร ก็จะมีคนร้องเรียนมาที่เราได้ทันที

ด้านนางปรัชญา หนูคง หัวหน้าชุมชนที่ดินรถไฟเขารูปช้าง 2 อ.เมือง จ.สงขลา กล่าวว่า ทางชุมชนยินดีที่จะดำเนินการตามระเบียบของรถไฟ และก็เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว เพราะเมื่อมีถนนเพิ่มก็จะสะดวกมากขึ้นหรือเป็นรถไฟรางคู่ก็ดีเพราะจะนำความเจริญมาสู่ชุมชน

นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นรถไฟรางคู่หรือถนน ก็เป็นเรื่องที่ดีเพราะจะได้แก้ปัญหาจราจรในตัวเมืองหาดใหญ่ รวมถึงเพิ่มศักยภาพในกระบวนการขนส่ง แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือ อย่าให้เกิดผลกระทบกับประชาชนที่อยู่ในชุมชนพื้นที่ของการรถไฟ และถ้าทางชุมชนจะให้เทศบาลฯ ดำเนินการเป็นตัวแทนทำสัญญาเช่าเราก็ยินดี เพราะต่อไปทางเทศบาลก็จะสามารถดูแลเรื่องสาธารณูปโภคของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รถไฟได้ และที่สำคัญจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ได้

ด้านนายสมชาย เมฆาอภิรักษ์ รองนายกเทศมนตรีนครสงขลา กล่าวว่า ณ วันนี้ เส้นทางรถไฟเดิมมันเต็มไปด้วยผู้บุกรุก ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการ

"ผมมองว่าเส้นทางเลียบทะเลสาบสงขลาน่าจะดีกว่า โดยเข้ามาถึงเขตเทศบาลบริเวณท่าเทียบเรือประมงใหม่ อาจจะตั้งเป็นสถานี ซึ่งทางเทศบาลก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนเส้นทางเดิมน่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางที่ดีมาคิดกันว่าจะทำอย่างไรที่สามารถช่วยให้ประชาชนที่อยู่ที่ดินรถไฟได้มีระบบสาธารณูปโภคที่ดีขึ้นกว่าเดิม" นายสมชายกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
wiriya_aek
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 02/11/2009
Posts: 527
Location: สายสงขลา

PostPosted: 02/02/2011 12:16 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ฟื้นรถไฟหาดใหญ่-สงขลา
'ไพร' ชี้แก้น้ำท่วม-จราจร/63 ชุมชน ถอย 10 ม.

นสพ.โฟกัสภาคใต้ ปีที่ 11 (2) ฉบับที่ 677 (86) 29 ก.พ.- 4 ก.พ. 54

ด้านรองนายกฯ นครสงขลา ระบุยากที่จะใช้ทางรถไฟเก่า เชื่อชาวบ้านยังไม่ยอมย้ายออก

.......

ด้านนายสมชาย เมฆาอภิรักษ์ รองนายกเทศมนตรีนครสงขลา กล่าวว่า ณ วันนี้ เส้นทางรถไฟเดิมมันเต็มไปด้วยผู้บุกรุก ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการ

"ผมมองว่าเส้นทางเลียบทะเลสาบสงขลาน่าจะดีกว่า โดยเข้ามาถึงเขตเทศบาลบริเวณท่าเทียบเรือประมงใหม่ อาจจะตั้งเป็นสถานี ซึ่งทางเทศบาลก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนเส้นทางเดิมน่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางที่ดีมาคิดกันว่าจะทำอย่างไรที่สามารถช่วยให้ประชาชนที่อยู่ที่ดินรถไฟได้มีระบบสาธารณูปโภคที่ดีขึ้นกว่าเดิม" นายสมชายกล่าว



อันดับแรก จากการที่อยู่พื้นที่จริง(เทศบาลนครสงขลา) ผมมองว่า เทศบาลฯชุดนี้คงยากที่จะจัดการกับผู้บุกรุก เนื่องจากว่าคงไม่กล้าทำครับ เพราะฐานเสียงก็มีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

อันดับสอง เรื่องความคิดจะสร้างสายเรียบริมทะเลสาบนี้ ยังไม่ล้มเลิกความคิดกันเหรอครับ เคยมีความคิดนี้ออกมาเมื่อปีสองปีที่แล้วในเว็บไซต์ออนไลน์ของหาดใหญ่เว็บไซต์แล้ว การสร้างเส้นทางเรียบริมทะเลสาบนั้นต้องเวนคืนใหม่อีก ต้องถมคันทางใหม่อีก แล้วยังเป็นคันกันน้ำไม่ให้ไหลออกไปจากตัวเมืองอีกด้วย พื้นที่แนวถนนติณฯ แม้จะมีท่อลอดใต้ถนนเพื่อระบายน้ำจำนวนมากแล้ว ก็ยังระบายน้ำไม่ทันครับ แล้วทีสำคัญพื้นที่นั้นเป็นป่าชายเลนด้วยมิใช่หรือ เรามีคันทางเก่าอยู่ แล้วยังจะไปทำลายป่าชายเลนอีกทำไม เพราะตอนนี้ป่าชายเลนแถบนั้นก็โทรมลงมากแล้วเช่นกัน เท่ากับว่า เอื้อประโยชน์ให้ฐานเสียงแล้วไปทำลายธรรมชาติใช่หรือป่าว Rolling Eyes

แต่ก็ขัดๆที่ว่า นายกฯชุดนี้ เน้นด้านการอนุรักษ์เมืองเก่า แต่กลับไม่คิดจะฟื้นฟูสถานีรถไฟเก่า หรือเพราะว่าอยู่ในความดูแลทั้ง เทศบาลฯ การรถไฟฯ กรมศิลปากร ยิ่งมีหน่วยงานเกี่ยวข้องมากการดูแลยิ่งล่าช้าหรือไม่

หากบางข้อความค่อนข้างแรงเกินไปพร้อมรับคำตักเตือนครับ
_________________
:: ร่วมปลุกเส้นทางสายสงขลาให้กลับมามีชีวิตชีวา ในโอกาสที่จะใกล้ครบ 100 ปี หลังจากหลับใหลไปในความทรงจำกว่า30 ปี :: http://www.facebook.com/songkhlastation
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 36, 37, 38 ... 198, 199, 200  Next
Page 37 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©